ความคิดเห็นทั้งหมด : 12

Debate XVIII: Outcome-, and Competency-based, plus Criterion-referenced


   A new model of medical education. Now we want to know (or assess) with outcome-based, competency-based, and with criterion-referenced.

No longer do we need to assess what we have taught but we need to know what students have learnt. What they know, how they think, can they do, and for what the purpose or professionalism they do have.

The problem is how we can do this? Answers may come from all of us here.

Same rule. Be civilised. Be constructive. For the sake of our next generation.






Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-23 , Time : 19:18:42 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 1


   เอ่อ อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่
ช่วยขยายความ(เหมือนที่แล้วมา)ได้หรือเปล่าครับ


Posted by : ArLim , Date : 2003-06-24 , Time : 01:10:50 , From IP : dial-119.ras-2.ska.s

ความคิดเห็นที่ : 2


   ผมเผอิญได้มีโอกาสไปฟังแผนและทิศทางหลักสูตรแพทยศาสตร์ศึกษาของประเทศไทย และมีการเปรียบเทียบกับต่างประเทศ (อังกฤษ) รวมทั้งได้ยินเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักสูตรของสถาบันรามาและจุฬาฯ ก็เลยคิดว่าอยากจะได้รับฟังความเห็นจากพวกเราในเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น

ประเด็นที่หนึ่ง การร่างหลักสูตร
ย้อนกลับไปที่หลักปรั๙ญาของหลักสูตร เรา "ต้องการ" อะไรจากบัณฑิตแพทย์ หรือแพทย์ที่จบออกมาแล้วควรจะทำอะไรได้บ้าง ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ถ้าตอบอย่างกำปั้นทุบดินก็บอกว่าเอามารักษาโรคน่ะซิ แค่นั้นอาจจะยังไม่พอที่จะเขียนหลักสูตร 6 ปี (หรือบวกลบ) นะครับ
มีสอง element คือหลักสูตรสร้าง "บัณฑิต" และสร้าง "แพทย์" ซึ่งไม่เหมือนกันทีเดียว ผมเคยกล่าวไปหลายครั้งแล้วว่าบัณฑิตยั้ยควรจะมีทั้ง "ความรู้ ความงามในการแสดงออกซึ่งกายวาจาและใจ และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม" ก็เขียนหลักสูตรไป ให้ได้ที่ว่า ส่วน "แพทย์" ล่ะ? ผมคิดว่าเราควรจะทราบก่อนว่าอะไรคือ "ฺีMajor Burdens" ทางสาธารณสุขของประเทศไทย อันนี้แหละที่ต้องเป็นพื้นฐานที่หลักสูตรจะงอกออกมา จากการที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าอะไรคืองานของบัณฑิตแพทย์ หลักสูตรจะต้อง guarantee ว่าบัณฑิตที่จบออกมา "สามารถทำงานนั้นได้" ซึ่งอันนี้แหละครับที่จะเป็นพื้นฐานของการร่างและเขียนหลักสูตร ตลอดจนการ assess บัณฑิต

ประเด็นที่สอง การจัดประสบการณ์การสอนการเรียน
จากสาม domains ของการเรียนรู้ cognitive, psychomotor, and affective domains เรากำลังต้องการจะ MAKE SURE ว่าทั้งสามพิสัย นักศึกษาจะ "ได้ และทำได้ และเห็นว่าสมควรจะทำ"ตรงนี้แหละครับที่ผมอยากจะโยนปัญหาลงมาว่า "สอนอย่างไร เรียนอย่างไร" ในเวลาและแหล่งปัจจัยอันจำกัดจะทำให้สำเร็จ
ในส่วนของ "ความรู้" นั้น FACT คือต่อไปนี้ เป็นไปไม่ได้ที่นักศึกษาจะ "รู้ทุกอย่าง" อีกต่อไป เพราะความรู้มันมากมายมหาศาลเหลือคณานับ ฉะนั้น Higher Order of Cognitive Learning เป็นสิ่งที่เราจะต้องเน้นมากขึ้น จากต่ำสุด recall interpretation application analysis synthesis and evaluation/internalization เราต้องการอย่างน้อยที่สุดคือ application จากที่ได้วางปรัชญาไว้ว่าแพทย์จะจบมา solve burden ทางสาธารณสุขของประเทศ

ประเด็นที่สาม ประเมินอย่างไร
คือหัวข้อที่ได้ตั้งไว้ outcome-based, competency-based, and criterion-referenced assessment เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าที่เราสอนที่นักศึกษาเรียนนั้น "ได้ผล" จริงรึเปล่า? จะรู้ได้อย่างไรว่านักศึกษา "คิดเป็น" ไม่เพียงแต่คิดเป็น ต้องทำ critical thinking, analysis, and appraisal ได้ด้วย นักศึกษาต้อง "ทำเป็น และทำด้วยความชำนาญ" นักศึกษาต้องมี "จรรยาบรรณ หรือ professionalism" นั่นคือต้องขวนขวายความรู้ให้ตนเองได้ upgrade ตนเองได้ หาสิ่งที่ดีที่สุด effective ที่สุด cost effective ที่สุด มารักษาผู้ป่วยได้

ขอ "แค่นี้" แหละครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-24 , Time : 13:32:20 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 3


   ถามอย่างนี้ ก็ไม่รู้จะตอบอย่างไร
ในเมื่อที่เรียนๆมา 3 ปี ก็เพิ่งจะได้ลองนำมาใช้ในปีที่ 4 นี้เอง
ขอคนที่ประสบการณ์เต็มที่มาตอบดีกว่า


Posted by : ArLim , Date : 2003-06-24 , Time : 15:27:25 , From IP : dial-57.ras-2.ska.s.

ความคิดเห็นที่ : 4


   ไม่ได้ขอความรู้ครับ แต่เป็นขอ "ความเห็น" ไม่มีถูกไม่มีผิด ขอเพียงเป็นความเห็นพร้อมเหตุผลประกอบ (ไม่ต้อง quote reference)



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-24 , Time : 15:54:56 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 5


   OK let"s go for it bit by bit, shall we

มี section ใหญ่ที่ว่าถึงความสามารถของบัณฑิตในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแตกแขนงออกไปตั้งแต่ acknowledgement ว่าความรู้เป็นสิ่งที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆและ "ต้อง" แสวงหาตลอดไป appreciation ว่านี่เป็นหนึ่งใน"หน้าที่และจรรยาบรรณ"ของอาชีพของเรา และ ability ที่สามารถจะทำดังกล่าว พูดง่ายๆคือ บัณฑิตที่จบมาแล้วจะต้องมี attitude และ willing ที่จะประพฤติและคงความเป็นบัณฑิตไปตลอดชีวิต

ความสามารถในการคิด เป็นประเด็นสำคัญมากมากมากฯฯ สอนให้คิดเป็นประเด็นที่พูดง่ายแต่สอนยากและประเมินยาก (ม่ว่าจะประเมินการสอนหรือการเรียน ยากทั้งคู่) แต่เป็นวิชาใหม่ที่น่อไปนี้เราจะต้องพยายามทำให้เกิดขึ้นให้ได้

สิ่งเหล่านี้จะ "ไม่เกิด" ถ้าเด็กเราไม่มี "เวลา" คิด ซึ่งสามารถเป็น complication จาก assignment overload ของ daily work และเป็นเหตุผลหนึ่งที่หลักสูตรถูก trimmed ลงจากเดิมมากมาย สังเกตได้โดยพี่หมอพ่อหมดแม่หมอกำลังมองอย่างเป็นห่วงว่า "ไข่หมอ" ของเราดูๆจะ "ต้องรู้" น้อยลงรึเปล่า อันนี้กำลังจะเป็นการ "แทง" ครั้งใหญ่ ถ้าผลตอบแทนจากการมี contents ลดลงทำให้เด็ก "คิดเป็น" มากขึ้นก็ถูกรางวัลใหญ่ ถ้า fail ก็อาจจะเกือบหมดตัวหรือย้อนหลังไปหลายปี

ทีนี้จะทำให้มันเกิด (ความคิด) ครูต้องใช้ "คำถามเปิด" ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ อันนี้เป็นที่ทรมานใจปนระทึกใจมากสำหรับคนที่เป็น FACILITATOR เพราะเวลาที่กำลังติ๊กต็อกๆงวดลงเรื่อยๆ บอกใบ้ก็แล้ว ถามนำก็แล้ว แทบจะเล่น hangman ก้แล้ว ร่ำๆจะร้องตะโกนเฉลย พ่อเจ้าปรคุณรุนช่องก้ยังทรมานอาจารย์โดยการเดินเฉียดไปเฉียดมาไม่ยอม touchdown ซะที เหนือย!!! แต่เป็นความรู้สึกที่สนุกดีและสะใจหากเด็กกลุ่มไหน "pull it off"

กระบวนความคิด ตรรกะต่างๆนั้นเปรียบเสมือนอาวุธมีคมที่ต้องการการลับการใช้ จึงจะอยู่ในสภาพดี สงสัยนักเรียนเราต้องหัดเป็นคน sceptic เชื่ออะไรยากๆ กล้า challenge กับ information ที่เพื่อนๆไปหาไปค้นมา พร้อมๆกันก็จะได้ communication skill ในการถกเถียงอภิปราย แล้วจะค้นพบว่าอ่านหนังสือดื่มด่ำอยู่คนเดียวนั้นไม่ใช่วิธีเดียวที่จะสำเร็จ แต่ยังมีวิธีอื่นที่สนุกกว่าอีกมากมาย



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-25 , Time : 00:49:43 , From IP : 172.29.3.207

ความคิดเห็นที่ : 6


   ความเห็นกับความรู้สึก คงไม่เหมือนกันมั๊งครับ

ผมมีแต่ความรู้สึกต่อระบบการเรียนแบบใหม่นี้(จากประสบการณ์ตรงที่ได้เรียนมาเอง) ไม่ทราบว่าจะดีมั้ยที่จะเอามาโพสครับ



Posted by : เหอๆๆ , Date : 2003-06-25 , Time : 14:34:43 , From IP : 172.29.2.94

ความคิดเห็นที่ : 7


   ไม่ post ก็ไม่รู้ว่าเป็นยังไงน่ะครับ ลองให้ความรู้สึกมาแล้วลองพยายามอธิบายความรู้สึก พร้อมทั้งสิ่งที่คิดว่าควรจะเป็นหรือปรับปรุง ดีไหมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-25 , Time : 16:03:50 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 8


    การเรียนแบบใหม่ เปรียบเหมือน ให้เดินเข้าไปในป่ากว้าง กับผองเพื่อน
แล้วรอดูต่อไปว่าจะรอดมาได้หรือไม่
โดยมีแผนที่สำหรับเดินป่าให้ (lesson plan และ objective )
แต่บางครั้งการเข้าป่าโดยที่ยังไม่มีข้าวกินสักห่อ ก็ลำบากมาก
เพราะคนที่เคยเรียนแต่แบบเก่า มาตั้งแต่ยังเล็ก เหมือนมีแม่คอยป้อนข้าวให้
แล้วต้องมาหัดคิดเอง ทำทุกอย่างเองโดยที่ไม่มีพื้นฐานการต่อสู้แบบนี้เลย
แน่นอนว่าถ้าออกจากป่าแห่งการศึกษามาได้(จบออกมาได้)ก็คงคิดเป็นมากกว่าเดิม
แต่ไม่แน่ใจเช่นกันว่าจะเพียงพอหรือไม่ สำหรับความรู้
แม้ว่าจะสอบผ่านมาทุกblock ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม อยากให้มีระบบนี้ต่อไป แต่ถ้าอย่างนั้นแล้วควรที่จะให้เกิดการศึกษาแบบนี้ตั้งแต่ประถม จะดีมากๆๆ เพราะเรียนแบบนี้ตอนแก่ ลำบากเหมือนกัน


Posted by : คนแก่หัดเดินป่า , Date : 2003-06-25 , Time : 20:21:12 , From IP : 172.29.2.149

ความคิดเห็นที่ : 9


   คิดว่าชั่วชีวิตนี้มีโอกาสที่เราจะออกจาก "ป่าการศึกษา" ได้ไหมครับ อาชีพแพทย์เนี่ย?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-25 , Time : 21:50:59 , From IP : 203.155.144.48

ความคิดเห็นที่ : 10


   เป็นการหัด "เดินป่า" เลยล่ะครับ ทั้งชีวิตนี้คงไม่ออกจากป่าแล้ว เป็น รพินทร์ ไรพวัลย์ ไปเลยก็ดี

สนุกครับ เรียนแบบนี้ผมชอบ ผมมีปัญหาเรื่องการเรียนแบบเก่า เล็คเชอร์อย่างเดียว หรือให้นั่งเรียนทั้งวัน ฟังฝ่ายเดียว ผมจะหลับตั้งแต่สองสามนาทีแรก เป็นมาตั้งแต่ม.ต้นแล้ว

ผมว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดีนะครับ แต่ยังไม่อยากบอกว่า ดีที่สุด


Posted by : ArLim , Date : 2003-06-25 , Time : 22:42:23 , From IP : dial-42.ras-2.ska.s.

ความคิดเห็นที่ : 11


   ปัญหาในขณะนี้ของ "ระบบใหม่" ผมว่าเรายังเป็นห่วงเรื่อง Contents อยู่ไม่น้อย

ผมพิจารณาจาก "วัตถุประสงค์การเรียน" ที่ต้องตั้งให้ครบของแต่ละ scenario ใน PBL นั่นแหละครับ บางอันผมว่าไม่ได้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภาแน่นอน แต่ก็ explicitly put them in หรือ deliberately ถามเอาดื้อๆถ้า scenario ไม่สามารถจะ "ลาก" ไปถึงได้

ถ้าเรา "ไว้ใจ" ในระบบใหม่ Default learning objectives จะต้องถูก trimmed down ลงอีกครับ ผมมีความรู้สึกส่วนตัวคิดว่า ถ้า learning iobjectives ถูก set มากเกินไป จะทำให้ "คุณภาพ" มันแย่ลง คือเน้นปรืมาณเข้าว่า เน้นบันทึกเข้าว่า เน้นประเมินรูปแบบใหม่ๆเข้าว่า แต่ไม่ได้ให้เนื้อที่ที่นักเรียนจะได้ "ย่อย" ที่ที่ได้ไปค้นคว้ามาสักเท่าไหร่

Learning Objectives ในหลายๆ scenario นั้นควรเป็นสิ่งที่นักเรียนค้นพบเองโดยกระบวนการธรรมชาติ คือ เห้นว่ามันเป็นปัญหา (เพราะมีเยอะ) และควรจะแก้ไข (เพราะมีผลทำให้อายุเวลาการทำงานลดลง อาจจะต้องตกงานด้วยและอนมัติกฎอัยการศึก แต่ว่านักเรียนก็จะสูญเสีย Fat CHANCE ที่จะได้ทอย HAgrid หรือศึกษาเรื่อง Curse of Animagus ก็จะน่าสนใจมากที่เดียว



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-27 , Time : 00:18:10 , From IP : 203.155.144.36

ความคิดเห็นที่ : 12


   -มีคนเคยพูดว่า "ควรสอนให้เขาปลูกข้าว แทนที่จะยื่นข้าวให้เขากิน" "ควรสอนให้เขาหาปลา แทนที่จะยื่นปลาให้เขา." ผมคิดว่าเป็นความคิดที่ดี แต่ถ้าคนกำลังหิวคงไม่มีจิตใจไปหัดปลูกข้าวหรือหัดหาปลา ผมจึงมักจะให้คนที่หิวกินข้าวก่อน อิ่มแล้วค่อยไปหัดปลูกข้าวต่อ (แต่ถ้ามันอิ่มแล้วขอนอนก่อนก็ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร)
-ผมเรียนระบบเก่า มีเอกสารประกอบการเรียน มีวัตถุประสงค์ของแต่ละวิชาว่าต้องการให้รู้แค่ไหน ตอนเรียนบางคนก็หลับ พอกลับถึงห้องก็อ่านเนื้อหา กลางวันนอน กลางคืนอ่าน พอรู้เรื่องระดับหนึ่ง อยากรู้ตรงไหนก็ไปหาอ่านเพิ่ม ถ้าไม่รู้เรื่องอีกก็ไปหาคนที่เขาจดlectureไว้ ขอยืมไปถ่ายเอกสาร ถ้ายังไม่รู้เรื่องอีกก็ไปถามอาจารย์เลย และก็จะหยุดอยู่แค่นั้น คิดว่าอาจารย์ถูกต้องที่สุดแล้ว พอโตขึ้นก็คิดว่า ถ้าเราทำตามที่อาจารย์สอนตลอดก็คงไม่สามารถทำอะไรได้ดีขึ้น ไม่สามารถเก่งกว่าอาจารย์ ( ไม่ได้คิดวัดรอยเท้านะครับ แต่คิดว่าเพื่อการพัฒนาขึ้น ไม่งั้นก็จบแค่เท่าอาจารย์) ไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้ ดังนั้นผมจะสอนให้น้องเข้าใจและมีความรู้ใกล้เคียงผมมากที่สุด อะไรที่ผมเคยรู้มาแล้วน้องไม่ต้องไปเสียเวลาพิสูจน์มันอีก ยกเว้นสงสัยว่ามันเป็นจริงอย่างที่พี่สอนหรือเปล่า น้องควรจะเก่งขึ้นเรื่อยๆและมาช่วยกันทำให้สังคมเราดีขึ้น ในขณะเดียวกันพี่หรืออาจารย์ก็ไม่ควรหยุดนิ่งและไม่ควรจำกัดความคิดของนักศึกษาถ้าความคิดเขาไม่ได้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ผมคิดว่าระบบใหม่เป็นสิ่งที่ดีครับ แต่อาจต้องให้เวลาเขาหน่อย อย่าไปกดดันเขามาก แต่ก็ไม่หย่อนยานจนไม่มีคุณภาพ มันคงยากตรงนี้ล่ะครับ ส่วนน้องๆก็ไม่ควรเรียกร้องมาก เราโตแล้ว ลองคิดว่าถ้าเราอยากรู้เรื่องเนี๊ยะและไม่เคยมีใครสอนเราเลย( เพราะไม่เคยมีใครคิดศึกษามาก่อน) เราควรทำอย่างไร จะมาบ่นในกระดานข่าวดีมั๊ยว่าทำไมไม่มีใครมาสอนเรื่องนี้เราเลย



Posted by : megumi , Date : 2003-06-27 , Time : 05:41:46 , From IP : 172.29.3.206

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.008 seconds. <<<<<