ความคิดเห็นทั้งหมด : 9

Zen ในสวนโมกข์ เรื่องที่ 5


   มีโอกาสซื้อหนังสือมาสองสามเล่ม เรื่องหนึ่งคือ "นิทานเรื่องสั้น ท่านพุทธทาสภิกขุ พร้อม ๑๐ นิทานเซ็น จากโรงมหรสพทางวิญญาณ"

จึงขอเชิญกัลยาณมิตรทุกท่านร่วมกันเสพย์เทอญ

ความเชื่อฟัง


ธฺยานาจารย์ชื่อเบ็งกะอี เป็นผู้มีชื่อเสียงในการเทศนาธรรม คนที่มาฟังท่านนั้นไม่ใช่เฉพาะแต่ในวงของพวกนิกายเซ็น พวกนิกายอื่น หรือคนสังคมอื่นก็มาฟังกัน ชนชั้นไหนๆก็ยังมาฟัง เพราะว่าท่านไม่ได้เอาถ้อยคำในพระคัมภีร์ หรือในหนังสือ หรือในพระไตรปิฏกมาพูด แต่ว่าคำพูดทุกคำนั้น มันหลั่งไหลออกมาจากความรู้สึกในใจของท่านเองแท้ๆ ผลมันจึงเกิดว่า คนฟังเข้าใจ หรือชอบใจ แห่กันมาฟังจนทำให้วัดอื่นร่อยหรอคนฟัง

เป็นเหตุให้ภิกษุรูปหนึ่งในนิกายนิชิเรนโกรธมาก คิดจะทำลายล้างอาจารย์เบ็งกะอีคนนี้อยู่เสมอ วันหนึ่ง ในขณะที่ท่านกำลังแสดงธรรมอยู่ในที่ประชุม พระที่เห็นแก่ตัวจัดองค์นั้นก็มาทีเดียว หยุดยืนอยู่หน้าศาลาแล้วตะโกนว่า "เฮ้ย! อาจารย์เซ็น หยุดประเดี๋ยวก่อน ฟังฉันก่อน ใครก็ตามที่เคารพท่าน จะต้องเชื่อฟังคำที่ท่านพูด แต่ว่าคนอย่างฉันนี้ไม่มีวันที่จะเคารพท่าน ท่านจะทำอย่างไร ที่จะทำให้ฉันเคารพเชื่อฟังท่านได้"

ท่านอาจารย์เบ็งกะอีก็ว่า "มาซี ขึ้นมานี่ มายืนข้างๆฉันซี แล้วฉันจะทำให้ดูว่า จะทำอย่างไร"

พระภิกษุนั้นก็ก้าวพรวดพราดขึ้นไปด้วยความทะนงใจ ฝ่าฝูงคนเข้าไปยืนหราอยู่ข้างๆท่านอาจารย์เบ็งกะอี ท่านอาจารย์เบ็งกะอีก็ว่า "ยังไม่เหมาะ มายืนข้างซ้ายดีกว่า" พระองค์นั้นก็ผลุนมาทีเดียว มาอยู่ข้างซ้าย ท่านอาจารย์เบ็งกะอีก็บอกอีกว่า "อ๋อ! ถ้าจะพูดให้ถนัดต้องอย่างนี้ ต้องข้างขวา" พระองค์นั้นก็ผลุนมาข้างขวา พร้อมกับมีท่าทางผยองอย่างยิ่ง พร้อมที่จะท้าทายอยู่เสมอ

ท่านอาจารย์เบ็งกะอีจึงว่า "เห็นไหมล่ะ ท่านกำลังเชื่อฟังฉันอย่างยิ่ง และในฐานะที่ท่านเชื่อฟังอย่างยิ่งแล้วฉะนั้น ท่านจงนั่งลงฟังเทศน์เถิด" นี่เรื่องก็จบลง
=========================================

ขอกั๊กเอาวิสัชนาอภิปรายของท่านพุทธทาสไว้ก่อน เชิญพวกเราตีความว่าเราเรียนรู้อะไรจากนิทานเรื่องนี้ได้บ้างครับ

Namaste



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-21 , Time : 20:33:38 , From IP : 58.147.17.216

ความคิดเห็นที่ : 1


   http://hits.mpeg-search.com/Songs/index.php?show=songs&query=gwen&offset=15&arc=

Posted by : gwen , Date : 2005-12-22 , Time : 00:46:14 , From IP : 172.29.4.218

ความคิดเห็นที่ : 2


   เข้าใจว่างี้ครับ
พระเซนมองเห็นพระนิซิเรน
พระนิชิเรนยังมองไม่เห็นพระเซน
พระเซนได้บอกโดยไม่บอกแก่พระนิชิเรนว่า
ท่านกำลังเชื่อฟังมัน มันตอนนี้กำลังเชื่อฟังเรา
ไยตอนนี้ท่าถึงไม่ถูกเรียกว่ากำลังเชื่อฟังเรา
เหตุใดท่านจึงไม่นั้งลงฟังเราเทศน์ซะละ







Posted by : delpiero , Date : 2005-12-22 , Time : 13:48:01 , From IP : 203.156.130.252

ความคิดเห็นที่ : 3


   ทำไมใช้คำว่าเสพย์ละครับ ดูยังไงชอบกล???

Posted by : delpiero , Date : 2005-12-22 , Time : 13:54:03 , From IP : 203.156.130.252

ความคิดเห็นที่ : 4


   ในความคิดผม ต่างจากคุณDelpiero จากประโยค
ท่านจะทำอย่างไร ที่จะทำให้ฉันเคารพเชื่อฟังท่านได้
แสดงให้เห็นว่า พระนิชิเรนรูปนั้นยังทำตามที่ตนได้กล่าว เพราะ ถึงแม้จะทำตามตามที่พระเซนบอกแต่ยังขาดความเคารพเชื่อฟังจากใจ พูดง่ายๆคือโดนหลอกให้ทำนั่นแหละ
แต่น่าสนใจตรงหลังจากนี้ ถ้าพระนิชิเรนรูปนั้น ทำตามและเลื่อมใสในพระเซน จะหมายถึงการเคารพเชื่อฟัง

ปล ขอขอบคุณอาจารย์Phoenix ที่ทำตามคำเรียกร้อง



Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-22 , Time : 18:21:40 , From IP : 172.29.4.173

ความคิดเห็นที่ : 5


   1. เรื่องของธรรมะหรือคำสอนนั้นมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาไม่ใช่แต่เฉพาะช่วงที่พูดหรือกล่าวออกมาแค่นั้น ดังแสดงให้ประจักษ์ในนิทานว่าแม้ขณะที่การโต้ตอบระหว่างอาจารย์เบ็งกะอีกับภิกษุในนิกายนิชิเรนนั้นซึ่งมีความโกรธอยู่เป็นพื้นฐานทำให้ขาดสติ แต่ท่านอาจารย์เบ็งกะอีก็ยังมีความสามารถที่ทำให้ภิกษุดังกล่าวที่โกรธและขาดสติทำตามที่อาจารย์สั่งได้ ซึ่งบ่งบอกถึงความสามารถ ความนิ่ง ความแน่วแน่ที่มีอยู่ตลอดเวลา (แบบไม่ต้องเตรียมตัว) ของอาจารย์เบ็งกะอีเป็นอย่างดี
2. เรื่องธรรมะหรือเรื่องต่างๆนั้นพูดให้เข้าใจหรือเห็นถ่องแท้ยาก การคิด คำนึง คำนวณตามเหตุผลอาจจะใช้ไม่ได้ ต้องประสปสิ่งนั้นด้วยตนเองในสถานการณ์นั้นๆจึงจะเห็นแจ่มแจ้ง ถ้าไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น พระภิกษุรูปนั้นอาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเองเข้าใจอะไรผิดยังไง มีความอวดดีและหลงตัวเองอย่างไร ในเหตุการณ์ต่อไป(ถ้ามีเรื่องต่อ) พระภิกษุรูปนั้น (ถ้าคิดได้และเห็นแจ้ง) น่าจะเลิกผยองและนั่งลงฟังคำสอนจากอาจารย์เบ็งกะอี
............................. (ขอแค่นี้ก่อนนะครับ)...........................


Posted by : Top Secret , E-mail : (..............................) ,
Date : 2005-12-23 , Time : 00:15:51 , From IP : 61.19.202.46


ความคิดเห็นที่ : 6


   3. การจะเข้าถึงสภาวะอะไรก็ตามไม่ใช่เกิดจากการตีความหมาย หรือครุ่นคิดหาเหตุผล เพราะการที่ตีความหมายและการหาเหตุผลเป็นการเอาประสปการณ์หรือความรู้ในอดีตมาเป็นตัวเปรียบเทียบ อาจทำให้เกิดการ bias ได้ เช่นกันจากเนื้อหาในนิทานดังกล่าวเรามาคิดตีความซึ่งถ้าสมมติว่าเป็นเรื่องจริงเราก็ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้น ข้อมูลที่ได้มาอาจจะเพียงบางส่วน และความจริงบางอย่างไม่สามารถที่จะสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นจริงๆแล้วสิ่งที่กระผมวิเคราะห์ออกมาในข้อ 1 และ 2 เป็นสิ่งไม่จริง (เพราะเป็นการตีความ)

Posted by : Top Secret , E-mail : (..............................) ,
Date : 2005-12-23 , Time : 13:57:07 , From IP : 203.188.39.231


ความคิดเห็นที่ : 7


   ฝนหยุดแล้ว เมฆลอยล่องลม ฟ้าแจ่มอีกครา ถ้าใจของท่านผ่องใสทุกสิ่งในโลกพลอยสดใส ลืมโลกที่สับสน และลืมตัวท่านเอง แล้วดวงเดือนและดอกไม้ จะจูงมือท่านเข้าสู่หนทางแห่งสัจธรรม เป็นบทกวีของเรียวกัน พระเช็นผู้ยิ่ใหญ่
ช่างเข้าบรรยากาศในขณะนี้ ผมได้อ่านบทกวีของเรียวกันทีไร หัวใจก็ดื่มด่ำทุกที


Posted by : ผู้ชายธรรมดา , Date : 2005-12-23 , Time : 15:45:49 , From IP : 172.29.3.171

ความคิดเห็นที่ : 8


   จริงแล้วถ้ามองเผินแล้ว เรื่องเล่าเรื่องนี้เปรียบเหมือนพระเซ็น เอาชนะพระอีกองค์ด้วยกล แต่ถ้าถามว่าเราได้อะไรจากเรื่องเล่านี้บ้างอืม..
ผมมองว่าพระนิกายนิชิเรน ซึ่งยังมองไม่เห็นธรรม ถูกความหลงครอบงำ เพราะท่านยึดมั่นและยึดติดกับชื่อเสียง ซึ่งอาจทำให้ลืมสิ่งที่ตั้งใจหรือจุดมุ่งหมายของการบวช --> ขาดสติ --> เมื่อมาพบ พระเซ้นก็ยังขาดสติอีก ถูกพระเซ็นหลอกให้ทำตามโดยไม่รู้ตัว ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำพระนิกายนิชิเรน จึงหยุดและนั่งฟังพระเซน


Posted by : ชีซี , Date : 2005-12-23 , Time : 23:26:04 , From IP : 172.29.4.186

ความคิดเห็นที่ : 9


   ขออนุญาตเผยแพร่เชิงอรรถของนิทานเรื่องนี้ตามหนังสืออีกสักหน่อยนะครับ

=================================


นิทานเรื่องนี้มันสอนว่าอย่างไร เหมือนพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า นิวาโต เอตมฺมงคงฺมุตฺตมํ "วาโต" ก็เหมือนกับสูบลมอัดเป่งจนพอง ถ้า "นิวาโต" ก็คือ "ไม่พอง ไม่ผยอง เป็นมงคลอย่างยิ่ง" ข้อนี้ย่อมแสดงว่า มีวิชาความรู้อย่างเดียวนั้นไม่พอ ยังต้องการไหวพริบ และปฏิภาณอีกส่วนหนึ่ง พระองค์นี้ก็เก่งกาจของนิกายนิชิเรนในญี่ปุ่น แต่มาพ่ายแพ้อาจารย์ที่แท้จะไม่รู้หนังสือ เช่นนี้ ซึ่งพูดอะไรก็ไม่ได้อาศัยหนังสือ เพราะบางทีก็ไม่รู้หนังสือเลย แพ้อย่างสนิทสนม เพราะขาดอะไรก็ลองคิดดู

พวกฝรั่งก็ยังพูดว่า "Be wise in time" ฉลาดให้ทันเวลาโดยกระทันหัน ซึ่งบาลีก็มีว่า "ขโณ มา โว อุปจฺจคา" หรือ "ขณะสำคัญเพียงนิดหนึ่ง นิดเดียวเท่านั้น อย่าได้ผ่านไปเสียนะ ถ้าผ่านไปละก็แย่ทีเดียว" นี้เรียกว่ามันเป็นปฏิภาณ ปฏิภาณที่ครูบาอาจารย์จะต้องมีอย่างยิ่ง มิฉะนั้นจะคุมเด็กไม่อยู่ เราลองคิดดูซิว่าเด็กๆของเรามีปฏิภาณเท่าไร เรามีปฏิภาณเท่าไร มันจะสู้กันได้ไหม ลองเทียบ IQ ในเรื่องนี้กันดู

ซึ่งเกี่ยวกับปฏิภาณนี้ ให้มีปฏิภาณไหวพริบจนสามารถสอนเด็กให้เข้าใจเรื่องกรรม เรื่องอนัตตา เรื่องนิพพานได้อย่างไรทีเดียว นี่คือข้อที่จะต้องอาศัยปฏิภาณ

=================================


น่าคิดไตร่ตรองว่าที่เราเรียนๆสอนๆกันอยู่นี้ เราได้ใช้ไม่ใช้ปฏิภาณในการเรียนการสอนสักเท่าไร เราได้ "พลาด" โอกาสทองไปสักกี่มากน้อยที่จะเรียนให้ดี สอนให้ดี เราได้ใช้เวลาสั่งสมเรื่องคิดปฏิภาณหรือคร่ำครวญอย่างไร เกิดประโยชน์ต่อตัวเราอย่างไรบ้าง เป็นเรื่องที่แต่ละคนคงจะใช้เวลาสะท้อนตนเองตามเห็นสมควร



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-25 , Time : 12:39:23 , From IP : 58.147.122.187

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<