ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

ข้อสงสัยที่อยากให้คุณหมอทั้งหลายช่วยตอบ


   มีข้อสงสัยค่ะ รบกวนถามผู้รู้สักนิด
กรณีที่เรารับ refer ผู้ป่วยที่ได้รับ diagnosis ว่าเป็นมะเร็งจากโรงพยาบาลเดิม เช่น CA breast, hematologic malignancy ในฐานะที่ราเป็นแพทย์ที่จะต้องดูแลผู้ป่วยต่อ เราจำเป็นต้อง confirm diagnosis ซ้ำหรือไม่ บังเอิญมีโอกาสได้อภิปรายกับเพื่อนๆแล้วต่างคนต่างมีความเห็นที่แตกต่างกัน ไม่ทราบว่าเรามีแนวคิดในการพิจารณากรณีเช่นนี้อย่างไรคะ หรือสามารถค้นหาข้อมูลจากที่ไหนได้บ้างคะ
ขอขอบคุณล่วงหน้าคะ


Posted by : นศพ.กลุ่มนึง , Date : 2005-12-06 , Time : 22:10:32 , From IP : 172.29.4.148

ความคิดเห็นที่ : 1


   
เพื่อให้โรงพยาบาลปลายทางสามารถ double check ได้ว่าที่เราทำไปทั้งหมดนั้นครบถ้วนแล้วหรือยัง และก่อนจะให้การรักษาที่ invasive อื่น ๆ โรงพยาบาลปลายทางสามารถตรวจสอบได้ว่าการวินิจฉัยนั้นถูกต้องหรือไม่ จึงมีเหตุผลสมควรเป็นอย่างยิ่งที่โรงพยาบาลปลายทางจะต้องได้ definite diangosis ก่อนให้การรักษาครับ

เพราะผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้น chemotherapy และบางส่วนอาจได้รับ radiation therapy และอีกจำนวนหนึ่งต้องได้ reoperation ดังนั้นถ้าผมเป็นโรงพยาบาลปลายทาง ผมก็อยากจะได้ข้อมูลทุกอย่างให้ครบถ้วนก่อน เพื่อให้การตัดสินใจสำหรับการรักษาที่เป็นอันตรายนั้นถูกต้องที่สุดครับ

สมัย training อยู่ อาจารย์เคยบอกว่าแพทย์ที่ถูกฟ้องในอัตราส่วนที่สูงมากของอเมริกา นอกจากศัลยแพทย์แล้วก็ยังมีพยาธิแพทย์ด้วย (ผมเป็นศัลยแพทย์) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการได้ definite diagnosis นั้น บางครั้งก็ต้องใช้ confrim diagnosis โดยแพทย์ที่เชี่ยวชาญมากกว่าเรา และความผิดพลาดก็ยังมีอยู่เสมอ แม้อยู่ในมือของผู้เชี่ยวชาญแล้ว

บ้านเราคงไม่มีปัญหามาก ถ้าโรงพยาบาลแรกบอกว่าเป็น CA แล้ว refer ไปอีกแห่ง แต่ปลายทาง review แล้วบอกว่าเป็น benign ถ้าเป็นเมืองนอก หลายแห่งคงหาเรื่องฟ้องกันไปแล้ว ดังนั้น ผมจึงถือว่าเป็นสิ่ง "ต้องทำ" เมื่อจะ refer ผู้ป่วยเหล่านี้

1. สรุป cuorse ของการรักษา ให้ได้ใจความ ถ้าใบ refer ไม่พอ เขียนบันทึกข้อความเพิ่ม
2. ลอกผล lab ที่สำคัญ แยกไว้ต่างหาก เพื่อสะดวกสำหรับการ review
3. ให้ผู้ป่วย/ญาติ ไปยืม film ทั้งหมด และนำไปด้วย
4. ตามผล patho และให้ยืม slide พร้อม parafin box ทุกครั้ง และตรวจสอบ ชื่อ-HN-SN ทุกครั้งว่าตรงกัน
5. บอกผู้ป่วย-ญาติ เรื่อง diagnosis และสิ่งที่พวกเขาจะต้องพบเมื่อไปยังโรงพยาบาลที่รับ refer บอกให้ทราบถึงรายละเอียดที่พอจะบอกได้
6. โทรศัพท์ไปบอกก่อน โดยพยายามจะทำทุกราย (ทุกวันนี้ทำได้เกิน 90% ยกเว้นในรายที่ผู้ป่วยหรือญาติติดต่อแพทย์ ณ โรงพยาบาลปลายทางไว้แล้ว)

สำหรับผม มีเพียงเท่านี้ครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-12-06 , Time : 22:56:12 , From IP : 58.147.105.49

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<