ความคิดเห็นทั้งหมด : 65

มาตรฐานการให้คะแนน PBL คืออะไร


   ขอเกริ่นก่อนว่าที่ มา post คราวนี้ไม่ได้ต้องการจะบ่นว่าตัวเองได้คะแนนน้อย(ทั้ง ๆ ที่น้อยจริง ๆ )เพราะทำใจได้ตั้งนานแล้วว่าเรียนระบบนี้การจะได้เกรดดี ๆนอกจากความรู้ที่ต้องมีแล้วคงต้องมีวาสนาด้วยพอสมควร
จึงขอปรึกษาอาจารย์ด้วยกรณีศึกษาดังต่อไปนี้
มีนักศึกษาปี 3 คนหนึ่ง ทำ PBL ทุกครั้งด้วยความตั้งใจสูง และได้คะแนนในแต่ละ Block ดังต่อไปนี้
Neuro 1 ได้ 4.4 พอดีค่า mean
Neuro 2 ได้ 5 เต็ม สงสัยดวงดี
Endrocrine ได้ 3.9 (ค่า mean 4.4 ค่า min 3.3 ค่า max 4.9)
อะไรคือมาตรฐานในการให้คะแนน
ขอยืนยันว่านักศึกษาคนนี้ทำ PBL เหมือน ๆ กันทุกครั้ง ไม่เคยหลับใน PBL อาจมีลุกไปเข้าห้องน้ำบ้าง ทำหน้าเซ็ง ๆ บ้าง แต่คะแนนออกมาต่างกันทั้ง 3 ครั้ง
ถามอีกครั้งนะครับว่าอะไรคือมาตรฐานของการให้คะแนนใน PBL


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-02 , Time : 15:28:36 , From IP : 172.29.4.32

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมว่ามันขึ้นกับ facilitator รึเปล่าครับ
อันนี้ถ้าพูดผิดขออภัยด้วย
fa ต่างคนต่างความคิด หยวนมากน้อยต่างกัน ความต้องการต่างกัน เช่นบางคนต้องการcontentมากๆ บางคนต้องการconcept เป็นต้น
มันคล้ายว่าเป็นมีคะแนนจิตพิสัยอยู่ส่วนนึงรึเปล่า???


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-02 , Time : 23:15:33 , From IP : 172.29.4.220

ความคิดเห็นที่ : 2


   ของผม Neuro1 4.5 ได้ A
Neuro2 4.1 ตกมีน สุดท้ายได้ B
Endocrine 4.7 ได้ A
ถามว่า รู้สึกยังไง
มันเจ็บปวดนะ เจ็บอย่างบอกไม่ถูกเลย
น้ำตาตกใน เศร้าอยูเป็นสัปดาห์
ทำไมน่ะหรือ
เพราะว่า ตั้งแต่เรียนมา ด้วยความตั้งใจ
PBL ทุกครั้ง เต็มที่ เต็มความสามารถ
สุดท้าย
เกิดอะไรขึ้น
ผมแย่เหรอ โง่? ขี้เกียจ?
ผมรู้ตัวเองดี ว่า ไม่ใช่
Standard อยู่ที่ไหน Judgement ล่ะ
Inspiration หดหาย
จากที่ชอบ จากที่เห็นดี
กลับกลายเป็น เบื่อ เกลียด ไม่อยากเรียน
แต่จะทำไงได้
คนรับผิดชอบ ไม่สนใจ เมินเฉย ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
หรือนี่คือ การแก้ปัญหา
อยากให้ระบบ มันดีกว่านี้
ไม่ใช่เพื่อตัวเอง เพราะกำลังจะขึ้นคลินิก
แต่เพื่อ รุ่นน้อง
จะได้ไม่ต้องเจออะไรๆ
ที่เสียความรู้สึก
แบบนี้


Posted by : OneInDaUniverse , Date : 2005-12-02 , Time : 23:39:04 , From IP : 172.29.4.129

ความคิดเห็นที่ : 3


   ไม่รู้สินะ
คุณอาจไม่ได้แย่ ไม่ได้โง่
คุณอาจจะเตรียมมาดี
แต่คุณเตรียมมาดีกว่าคนอื่นหรือไม่?


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-03 , Time : 00:10:27 , From IP : 172.29.4.220

ความคิดเห็นที่ : 4


   3วัน ผ่านไป
ยังไม่มีคนที่สามารถตอบ DogTor จิงๆสักที


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-05 , Time : 21:43:18 , From IP : 172.29.4.220

ความคิดเห็นที่ : 5


   assume ว่าหมายถึงคะแนนภาค "ปกิบัติ" อย่างเดียวเท่านั้นนะครับ

การให้คะแนนภาคปฏิบัตินั้นเป็นระบบ RUBIC scoring system คือมีเกณฑ์ต่างๆและแต่ละเกณฑ์ก็จะมีคะแนนเป็น ranking เช่น 1,2,3,4,5 โดยจะมีคำอธิบาย step-ladder ของ score ranking ว่าอะไรเรียกว่า 1, 2, 3, 4, หรือ 5

คำถามคือ "อะไรเป็นมาตรฐาน" ก็น่าอยู่ที่สองส่วนใหญ่ๆ (นับเฉพาะในมุมมองของผู้จะให้คะแนน) ก็คือความเข้าใจใน rubic scoring system และการสังเกตที่จะให้คะแนนประเมินออกมา จะเหนว่ามีส่วนที่เป็น subjective แน่ๆ โดย "หวังว่า" ยิ่งเราเขียนคำอธิบายของ rubic scoring ได้ละเอียด ใช้คำไม่กำกวม และชัดเจนเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้กลายเป็น objective ได้มากขึ้นเท่านั้น ขอยกตัวอย่าง (เทียม เพราะผมไม่มีใบคะแนนจริงตรงหน้า) หมวดตรงต่อเวลา มี 1-5 ถ้าเป็นแบบ subjective เช่น ตรงบ้าง ตรงนิดหน่อย ตรงดี เป็น 2, 3, 4 นี่ คงจะมี variation ได้เยอะในการให้คะแนน แต่ถ้าเป็น 2 = ไม่ตรงต่อเวลามากกว่า 50% 3 = ไม่ตรงต่อเวลา 20-50%, 4= ไม่ตรงต่อเวลา < 20% แต่มี late ไปบ้างนิดหน่อย (1, 5 ก็คือ absolute ได้แก่ ไม่เคยตรงเวลาเลย กับ ตรงเวลา 100%) ก็จะกลายเป็น objective มากขึ้น เป็นต้น

ทีนี้ในส่วนพฤติกรรมนั้น ผมว่ามันบอกยากครับว่าแต่ละคนจะ conscious เรื่องพฤติกรรมตนเองขณะที่อภิปรายเนื้อหา 6 ชั่วโมงได้มากน้อยแค่ไหน ตรงนี้อาจจะเป็นสาเหตุทำให้คะแนนออกมาไม่ตรงกับที่นักศึกษาคาดหวัง เพราะเราคิดว่าเราอภิปรายใน act II ได้เจ๋ง แต่ part I อาจจะมีช่วง stupor ไปวูบวาบบ้าง หรือเผลอพทาเข้าป่าหิมพานต์ไปไกลบ้าง หรือเราเน้น "คิด" ในใจอย่างเดียว ไม่เคยปริปาก ทั้งๆที่เราก็รู้สึกอยู่ในเหตุการณ์ แต่ว่าไม่ได้ contribute อะไรให้กลุ่มเลยก็เป็นไปได้ และยังมีสาเหตุอื่นๆอีกมากมาย

ถ้าน้องถามอาจารย์ส่วนใหญ่ คะแนนที่ต่ำนั้น ถ้าไม่เจออะไรที่จังจริงๆ ไม่มีอาจารย์คนไหนจะ sadist เก็บคะแนนไว้หรอกครับ คะแนนมีไว้ให้ ไม่ได้มีไว้เก็บขึ้นหิ้ง อาจารย์เอาไปทำอะไรไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้เอาไว้แจก ฉะนั้นผมคิดว่า policy ส่วนใหญ่ในทางปฏิบัติน่าจะเป็นทางสายกลาง แต่เมื่อไหร่มี "ต่ำมาก" โผล่มา มักจะพร้อมกับพฤติกรรมที่สังเกตได้ครับ

ผมเสนอวิธีที่จะช่วยได้ดีที่สุดคือการ "บริหารกระบวนการกลุ่ม" ครับ กระบวนการกลุ่มที่ดีนั้น ไม่ได้เน้นที่ได้ LO ครบเท่านั้น แต่จะเน้นที่ process of PBL ด้วย เน้นที่การ "มีส่วนร่วม" ของสมาชิกทุกคนในกลุ่มด้วย ประธานมีหน้าที่โดยตรงในการบริหารกลุ่มโดยตำแหน่ง ดูว่าใครพูดมากไป น้อยไป กระจายให้ทุกคนมีส่วนร่วม ใครที่พูดเยอะติดสตรีมแล้ว ก็ bypass ให้คนอื่นบ้าง อย่าติดอยู่ที่ให้คนเก่ง หรือคนที่เตรียมมาเยอะพูดไปเรื่อยๆเพราะน่าจะเสร็จเร็วดีอะไรทำนองนั้น เพราะนั่นเป็นแค่ content แต่ถ้าตั้งแต่ต้นจนจบมี one หรือ two man show ถึงแม้ LO จะออกมาสวยหรู มีเสียง discuss กันไฟแลบแค่ครึ่งนึงของกลุ่ม คะแนนกลุ่มก็ออกมาตกต่ำได้เหมือนกัน (คะแนนมีทั้ง individual และ group) ที่ว่ามานี้ผมเห็นตัวอย่างจากบางกลุ่ม PBL ที่น้องวๆทไกนเองมานะครับ น่ารักมาก มีการกระทุ้งคนเงียบๆให้พูด ในทางถามโดยตรง หรือเวียนกันพูดทุกคน ก็ work ดี ให้คะแนนง่ายดาย ไม่มีใครหายหกตกหล่นไป



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-05 , Time : 22:33:52 , From IP : 58.147.55.250

ความคิดเห็นที่ : 6


   ขออภัยถ้าผมกล่าวอะไรผิดไป
อาจารย์พูดเหมือนว่า เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ
สำหรับผมเวลาจะพูดอะไรขึ้นมานั้น ผมต้องคิดก่อนครับ คิดดีแล้วจึงพูดออกมา ว่าประโยคที่หลุดมาเนี่ย จะเป็นประโยชน์ จะน่าสนใจ ไม่ใช่การพูดทวนคำพูดคนอื่นหรือสรุปคนอื่น(พบได้ทั่วไป) หรือเป็นการพูดสิ่งที่รู้กันอยู่แล้ว เช่นในเลคเชอร์เป็นต้น อยากให้การพูดเนี่ยเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณครับ
และอยากให้เกณฑ์มันเป็นอะไรที่จับต้องได้หรือเป็นมาตรฐานกว่านี้ครับ เช่นที่อาจารย์ยกตัวอย่าง เวลา อยากให้นับเป็นนาทีเช่นสาย5นาที=4 สาย10นาที=3เป็นต้น
ส่วนเรื่องเนื้อหาที่จะมาพูดในPBLนั้น ผมไม่ค่อยอยากให้เน้นเนื้อหาจาก Lecture เป็นหลัก ซึ่งผมอยากให้ ฟาแต่ละท่านศึกษาเนื้อหาเลคเชอร์สักนิดก่อน หรือบอกใน act1ว่าไม่ต้องการเนื้อหาเลคเชอร์มาก
การทำเช่นนี้ผมว่าคือ สิ่งที่เรียกว่า PBL and SDL ในความคิดผม
อีกเรื่องนึงที่อยากจะพูดคือ บางครั้งการแสดงความมีส่วนร่วมของกลุ่ม นั้นมันเกิดจากการเตี๊ยม ทำให้ดูดีมาก แต่ความจริงมันไม่เป็นเช่นนั้น อยากให้ฟาเตรียมคำถามสัก10คำถาม ที่ควรจะตอบได้จาก PBL ในครั้งหนึ่งมา หรือ เป็นคำถามที่ทดสอบความคิดว่า นักศึกษาได้เข้าใจ และกันการเตี๊ยมได้บ้าง



Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-06 , Time : 00:00:02 , From IP : 172.29.4.220

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผมคิดว่าคงไม่สามารถยกตัวอย่างครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างทั้ง quantitative และ qualitative และทุกๆเกณฑ์ลงมาได้ และวัตถุประสงค์ของการตอบข้างบนมีแค่ต่อคำถามที่ว่าการประเมินแบบ subjective นั้นจะทำอย่างไรให้เป็น objective มากที่สุดแค่นั้นเอง จริงๆแล้ว "ทุกสิ่งทุกอย่าง" ยังขึ้นอยู่กับบริบทและวิจารณญาณของอาจารย์ผู้คุมด้วย เช่น มีป่วยหรือไม่ ไม่ร่วมพิธีไหว้ครู ส่งเสด็จ น้ำท่วมหอ ฯลฯ ทุกจะจาระนัยได้ การประเมินแบบนี้ถึงเขียนเป็น RUBIC อย่างไร ก็ยังต้องใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลหรือ part subjective มาช่วยอย่างสมดุล ถ้าสมเหตุสมผลเช่น ช่วยพาคนเป็นลมไปส่ง ER ต่อให้สาย 10 นาที 20 นาทีก็ไม่น่าจะถูกหักคะแนนความตรงต่อเวลา ใช่ไหมครับ

ถ้าเราดูว่าการอภิปรายเป็น psychomotor เราจะเรียกมันว่าการเตี๊ยม การฝึกแสดงออกจนชำนาญ การเป็นธรรมชาติ อย่างไรก็แล้วแต่เจตคติของคนเรียกแหละครับ ที่สุดแล้วการประเมิน psychomotor นั้น ขณะนี้ก็ยังเป็นต้อง แสดงออกให้ดูขณะมีการประเมิน อยู่ดี ก็เหมือนกับ OSCE นั่นแหละครับ จะเรียกว่าเตี๊ยม จะเรียกว่าซ้อมมาดี จะเรียกว่าทำทุกวันจนชำนาญ คนให้คะแนนไม่มีทางบอกได้ แต่ขอให้แสดงออกตอนให้คะแนนได้ มันก็ต้องให้คะแนนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ก่อน นี่เป็น fact of life ของการประเมิน เราหวังอีกนิดนึงว่านักศึกษาแพทย์นั้น เป็น adult learner เป็นบัณฑิตที่เข้ามาใฝ่รู้จริงๆ หาความชำนาญจริงๆ ไม่ได้มาเพื่อคะแนน สิ่งนี้เท่านั้นที่จะเป็นตัวการรันตีในแต่ละคน ใครจะสามารถหลอกเอาคะแนนไปจนจบ ได้เกียรตินิยมมาก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ความสำเร็จของอาชีพนี้นั้น ไม่ได้อยู่ที่ใบเกียรตินิยมเท่าไหร่นักหรอกครับ มันเป็น "จิตวิญญาณ" ของคนที่มีความสุขที่ช่วยเหลือคนอื่นมากกว่า

ที่จริงหลักเบื้องต้นของการประเมิน cognitive psychomotor และ attitude domain นั้นสามารถนำมาใช้ได้ตลอดเวลา ความสุขในการเรียนหรือการทำงาน หรือการมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ ต่อการทำงาน ต่อคนรอบข้างนั้นประเมินได้ยากจริง แต่เป็นศาสตร์แห่งชีวิตอีกอย่างหนึ่งที่เราหวังว่าว่าที่บัณฑิตของประเทศจะเข้าใจ และนำไปใช้กับชีวิตจริงได้ อย่าลืมว่าอาชีพแพทย์นั้นไม่ใช่ hard science อย่างเดียว แต่วิชาชีพแพทย์นั้นเป็น social science ไม่น้อยกว่า hard science เลย ถ้าใครเรียนไปโดยหวังแต่ cognitive หวังแต่คะแนน คนๆนั้นก็จะเป็นแค่เทคนิเชียนที่รู้มากสักนิดนึง แต่ไม่ได้เก็บเกี่ยวเอาจิตวิญญาณแห่งวิชาชีพไปด้วย มันก็เหมือนซากที่ไร้จิตใจ แสวงหาแต่วัตถุหรือ glory จอมปลอมเท่านั้น



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-06 , Time : 01:50:49 , From IP : 58.147.54.124

ความคิดเห็นที่ : 8


   ขอบคุณครับ
ชอบ paragraphสุดท้ายมากครับ พูดได้ถูกใจ(โก๋)มากครับ


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-06 , Time : 12:58:14 , From IP : 172.29.4.220

ความคิดเห็นที่ : 9


   ผมอยากเสนอแนะให้มีการเปรียบเทียบการทำ PBL ในแต่ละกลุ่มโดยมีอาจารย์ชุดเดียวกันเป็นผู้ตรวจสอบเพื่อจะได้มีมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน อาจจะให้มีการอัดวิดิโอไว้ก็ได้ เปรียบเทียบคำพูดเป็นประโยคเลย ถ้ามีการตรวจสอบแบบนี้จะได้ประโยชน์ในการแก้เนื้อหาที่ผิดไปใน Panel discussion ได้

Posted by : DogTor , Date : 2005-12-06 , Time : 14:27:02 , From IP : 172.29.4.176

ความคิดเห็นที่ : 10


   ถ้าทำแบบที่ DogTor เสนอ
มันจะเป็นการเปลืองทรัพยากรทั้งเงินและเวลาหรือเปล่าครับ
และถ้าไม่ใช่อาจารย์ท่านเดียวกันคุมทุกกลุ่มเนี่ย ยังไงๆมันก็ไม่ standard อยู่ดีหรือเปล่าครับ


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-06 , Time : 15:22:02 , From IP : 172.29.4.220

ความคิดเห็นที่ : 11


   "บริบทเป็นสิ่งสำคัญ"

เวลามีการบรรยายหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในที่ประชุมสัมมนา palliative care สิ่งหนึ่งที่วิทยากรทุกๆคนจะเน้นให้คนฟังทราบก็คือ "อย่าจด dialogue" ที่เขาได้ยกมาเป็นตัวอย่าง เพราะคิดว่ามันเพราะดี มัน work มันเป็น universal ใช้ในทุกสถานการณ์ เพราะบางครั้งบริบทมันทำให้ได้ผลตรงกันข้ามก็มีบ่อย แต่ให้ออกมาจากใจ จากสิ่งแวดล้อมมันพามาเอง

ฉันใดก็ฉันนั้น

การทำ PBL นั้น ไม่ได้ต้องการ script หรือ scene description ครับ ถ้าทุกคนไปหา contents มาตามที่รับมอบหมาย มีเจตคติที่ดีในการ share และเข้าใจกระบวนการกลุ่ม มันจะ run ไปของมันเองโดยธรรมชาติ และเป็นไปได้หลายร้อยพันรูปแบบก็ยังถูกต้องอยู่ ผมคิดว่าอย่าไปอาศัย script, guideline, textbook ให้มากเกินไปเลยครับ Einstein กล่าวว่า "Imagination is even more important than intelligence"



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-06 , Time : 21:46:47 , From IP : 58.147.11.118

ความคิดเห็นที่ : 12


   แต่การไม่มี script guideline มันอาจทำให้ได้ข้อมูลหรือเนื้อหาที่สำคัญไม่ครบ อย่างน้อยก็ควรจดสิ่งสำคัญไว้ก็พอ ที่เหลือ ปล่อยให้จินตนาการและประสพการณ์จัดการมันไป

Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-07 , Time : 07:07:03 , From IP : 172.29.4.220

ความคิดเห็นที่ : 13


   คำว่า "script" ในที่นี้หมายถึง "บทพูด" ซึ่งผมว่าไม่จำเป็นต้องมี

ความครบของเนื้อหานั้น ไม่ได้ถูกประเมินตอนให้คะแนน process ซะด้วยซ้ำ เพราะ LO ที assigned ลงอยู่ใน PBL เป็นส่วนหนึ่งของ LO ทั้งหมดในรายวิชา ซึ่งจะต้องนำไปประกอบกับ activity อื่นๆ เช่น จากบรรยาย จาก group discussion, etc

ที่ นศพ. ควรจะ conscious ขณะทำ PBL คือ "กระบวนการ PBL" เป็นกรอบโครงร่างกิจกรรม ได้แก่ term clarification, facts collection, hypothesis setting, etc รายละเอียดของการพูด การอภิปราย การแลกเปลี่ยนนั้นเป็นเรื่องของบุคคล เหมือนกับว่าเรารู้ว่าตอนเช้าตื่นมาต้องอาบน้ำ เข้าส่วม ล้างหน้า แปรงฟัน สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องการ "บท"



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-07 , Time : 08:35:22 , From IP : 172.29.3.106

ความคิดเห็นที่ : 14


   "ความครบของเนื้อหานั้น ไม่ได้ถูกประเมินตอนให้คะแนน process ซะด้วยซ้ำ"
นี่เพิ่งจะรู้ครั้งแรกนะเนี่ย
แสดงว่าพูดๆ ไปให้ถูกต้องตามกระบวนการ แต่เนื้อผิดก็ไม่เป็นไร เอากระบวนการเข้าว่า.... แปลกดี

"LO ที assigned ลงอยู่ใน PBL เป็นส่วนหนึ่งของ LO ทั้งหมดในรายวิชา ซึ่งจะต้องนำไปประกอบกับ activity อื่นๆ เช่น จากบรรยาย จาก group discussion, etc "
แสดงว่าเนื้อหาที่จำเป็นเราสามารถได้จากการบรรยาย(ซึ่งมีน้อยมาก) หรือเข้ากิจกรรมสนทนาในกลุ่มได้อยู่แล้ว
PBLจึง มีไว้แค่ให้ฝึกใช้กระบวนการกลุ่มเท่านั้นรือ??? ไปค้นคว้ากันมาผิดถูกยังไงไม่ต้องสนใจหรือ??? งั้นก็ follow lecture ไปเลยซิจะทำ PBL ทำไม


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-07 , Time : 09:23:47 , From IP : 172.29.4.106

ความคิดเห็นที่ : 15


   "ความครบ" กับ "ความถูกต้อง" นั้นไม่เหมือนกันครับคุณ Dogtor อันนึงเป็น quantitative อีกอันหนึ่งเป็น qualitative

เรื่อง cognitive นั้นจะถูกตรวจสอบ ทดสอบ ประเมินตอนสอบลงกอง ไม่ใช่ตอนจบ PBL ความถูกต้องครบถ้วนจะไปแสดงผลตอนนั้น ผมเข้าใจว่านักศึกษาแพทย์ต้องการผ่านประเมินทั้งสองตอน คือตอน PBL และตอนสอบลงกองด้วย ถ้าระดับว่าที่บัณฑิตแพทย์ไปค้นข้อมูลมา โดยความรับผิดชอบเราหวังว่าคงจะไม่ได้มีการวางยาเพื่อนโดยการทำเอาลวกๆ สุกเอาเผากิน ถ้ากลุ่มไม่ได้ใช้ประบวนการกลุ่มกลั่นกรองกันเอง facilitator จะไม่ได้แก้ไขใน contents ที่เป็นรายละเอียดมากๆให้แน่ๆ เพราะเราไม่ได้ใช้ระบบ content expert เป็น facilitator (หาที่ที่ใช้ content expert เป็น facilitator ยากครับ เพราะจะมีไม่พอ)

"LO ที assigned ลงอยู่ใน PBL เป็นส่วนหนึ่งของ LO ทั้งหมดในรายวิชา ซึ่งจะต้องนำไปประกอบกับ activity อื่นๆ เช่น จากบรรยาย จาก group discussion, etc "
คำว่า เป็นส่วนหนึ่ง แปลว่าถ้าตัดออก ก็จะขาดไปครับ ไม่ได้แปลว่าไม่มีส่วนเกี่ยว และตัดออกได้ เช่น คุณ Dogtor เป็นส่วนหนึ่งของ นศพ.ชั้นปี.... ถ้าตัดคุณออกไป ชั้นปีคุณก็จะมีคนมาไม่ครบเป็นต้น

การค้นหาความรู้หลัง ACT I นั้น นักศึกษาควรจะใช้ความพยายามในการ clarify ความถูกต้อง เช่น จากตำรามาตรฐาน จาก resource person ครับ ถ้าคุณ Dogtor พยายามเน้นเรื่องคะแนนกระบวนการ PBL อย่างเดียวก็จะได้แค่ 50% ของ LO เท่านั้น เพราะ contents ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง 50% ของที่กลุ่มควรจะได้ แต่กระบวนการความถูกผิดนั้น ไม่ได้เป็นหน้าที่โดยตรงของ facilitator ครับที่จะมาแก้ให้ อย่าลืมว่า ความรู้ นั้น เราหวังว่านักศึกษาอยากจะมีครับ เป็นที่มาของ self-directed learning หรือการเรียนแบบผู้ใหญ่ที่ mature แล้ว คุณ Dogtor สามารถใช้วิจารณญาณด้วยตนเองได้ครับว่า contents ที่หามานั้นควรจะมีการตรวจสอบความผิดถูก "ก่อน" อย่างไรบ้างหรือไม่ และ ในตอนนำเสนอในกลุ่มนั้น ควรมีการอภิปรายตรวจสอบความถูกผิดหรือไม่อย่างไร ก่อนจะเชื่อและนำไปใช้

การบรรยาย และ group discussion "เป็นส่วนหนึ่ง" ของ LO และต้องนำไปประกอบกับ contents ที่ได้จาก PBL จึงจะได้ jigsaw ครบของวัตถุประสงค์การเรียนทั้งหมด เวลาแค่หกปีมันก็ไม่เยอะครับ เพราะฉะนั้นทุกอย่างไม่ได้จัดอย่าง redundant แต่เป็นการเสริมซึ่งกันและกัน



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-07 , Time : 09:53:11 , From IP : 172.29.3.106

ความคิดเห็นที่ : 16


   คุณDogTor จะสอบแล้วยังจะมาโพสต์อีก T_T



Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-07 , Time : 09:56:35 , From IP : 172.29.4.220

ความคิดเห็นที่ : 17


   "ถ้าระดับว่าที่บัณฑิตแพทย์ไปค้นข้อมูลมา โดยความรับผิดชอบเราหวังว่าคงจะไม่ได้มีการวางยาเพื่อนโดยการทำเอาลวกๆ สุกเอาเผากิน ถ้ากลุ่มไม่ได้ใช้ประบวนการกลุ่มกลั่นกรองกันเอง facilitator จะไม่ได้แก้ไขใน contents ที่เป็นรายละเอียดมากๆให้แน่ๆ เพราะเราไม่ได้ใช้ระบบ content expert เป็น facilitator"
อยากให้อาจารย์ได้เข้าใจว่าการกลั่นกรองโดยนักศึกษาเองนั้นทำได้ยากเนื่องจาก
1. วัฒนธรรมคนไทย ไม่ใช่คนที่เถียงกันด้วยเหตุผลเพียงอย่างเดียว ยังมีความรู้สึกด้านจิตใจมาเกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น มีเพื่อนหาข้อมูลมาที่ไม่น่าเชื่อถือ ไอ้ครั้นเราจะไปหักน่าเพื่อนก็กะไรอยู่ ก็ได้แต่ปล่อยตามเลยไป ทำวางท่าพยักหน้าเออออ
2. การอธิบายบางอย่าง เช่น สาเหตุของอาการบางอาการ นั้นมิได้มีแค่สาเหตุเดียว หรือ อาจมีสาเหตุเดียว ก็ไม่อาจทราบได้ เช่น ผู้ป่วย cirrhosis สาเหตุของ macocyte ใน blood smear เกิดจากสาเหตุที่ liver เองfunction ได้ไม่ดี metaolism ของ lipoprotien เปลี่ยนไป เกิด macrocyte ได้ หรืออาจจะ develope เป็น megaloblastic anemia ที่เกิดจาก folate deficiency จาก insufficient intake ลำพังนักศึกษาที่อ่านแค่ตำราแต่ไม่มีประสบการณ์คงไม่ทราบหรอกว่าเราต้องไปดูค่า MCV ถ้า เกิน 110 น่าจะเป็น megaloblastic anemia
3. การอธิบายบางครั้งแม้ว่าจะมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่ถ้าขัดกับความคิดพื้นฐานของแต่ละคน คำอธิบายเหล่านี้ก็จะตกไป
4. ร้อยละ 80 ของการ PBL ต่างเอาเอกสารของพี่รหัส(ที่ซ้ำ ๆ)กันมาพูดทั้งน้น บังเอิญถ้าไปเอาข้อมูลใหม่ ๆ แปลก ๆ มา แต่ค้านเอกสารเก่าของพี่ที่สรุปไว้แล้ว คำอธิบายนั้นก็จะตกไปเช่นกัน

"แล้ว คุณ Dogtor สามารถใช้วิจารณญาณด้วยตนเองได้ครับว่า contents ที่หามานั้นควรจะมีการตรวจสอบความผิดถูก "ก่อน" อย่างไรบ้างหรือไม่ และ ในตอนนำเสนอในกลุ่มนั้น ควรมีการอภิปรายตรวจสอบความถูกผิดหรือไม่อย่างไร ก่อนจะเชื่อและนำไปใช"
ตอนนี้ผมเชื่อเนื้อหาใน PBL ได้แค่ ร้อยละ 50 เท่านั้นครับ ยังไงก็ต้องกลับไปอ่านใหม่อยู่ดี


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-07 , Time : 12:23:37 , From IP : 172.29.4.106

ความคิดเห็นที่ : 18


   โดยส่วนตัวผมค่อนข้างจะลังเลที่ generalize หรือ stereotype ว่าอะไรคือ "วัฒนธรรมของคนไทย" เพราะสิ่งที่ผมมีคือ self past experience เท่านั้น

การอภิปรายทางวิชาการที่เน้นเกรงอกเกรงใจเพื่อนจนกระทั่งละเลยความถูกผิดนั้นเป็น "วัฒนธรรมของคนไทย" จริงหรือ? เมื่อเราสงสัยว่าสิ่งที่เพื่อนพูดมา เขาน่าจะเข้าใจผิดแล้วเรา "เออออ" นี่เป็นการ "ช่วย" หรือ "ทำลาย" เขากันแน่? ผมเข้าใจว่าถ้าเรา "หวังดี" ต่อเพื่อนจริงๆแล้ว เราน่าจะช่วยให้เขาเข้าใจถูกจะดีกว่าไหมครับ? หรือว่าการหวังดีคือการรักษาหน้า แล้วปล่อยให้เขาเข้าใจผิดไปเรื่อยๆ?

ที่มาซึ่ง "ความถูกต้อง" นั้น ก็ด้วยการตรวจสอบกันหลายๆคน หลายๆ resources ครับ ตัวอย่างที่คุณ Dogtor ยกมานั้น ถ้าผมเองเป็น facilitator บอกได้เลยว่าผมไม่มีความสามารถพอที่จะไป correct ว่าถูกหรือผิด การเอาข้อมูลที่แตกต่างมาเปรียบเทียบกันนั้น กระบวนการคงไม่สิ้นสุดแค่ว่ามันต่างกัน จะเชื่ออะไรดี มันคงต้องย้อนไปที่ methodology ว่าเราควรจะเชื่ออันไหน ก็เหมือนกับเราไป LOTUS จะซื้อสบู่ มีโฆษณาหลากหลายยี่ห้อ ที่สุดเราก็ต้อง "ตัดสินใจ" ใช้ parameter ที่มันสำคัญต่อเรามากที่สุด ในกรณีที่คุณ Dogtor ยกมา แปลว่า "ของรุ่นพี่" มีน้ำหนักมากสุด ของเพื่อนๆที่ไม่ได้ใช้ parameter เดียวกันก็คงไม่เห็นด้วย

การอธิบายบางครั้งแม้ว่าจะมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่ถ้าขัดกับความคิดพื้นฐานของแต่ละคน คำอธิบายเหล่านี้ก็จะตกไป
อืม.... ไม่ค่อยแน่ใจว่าเขาใจความหมาย "ความคิดพื้นฐาน" ของคุณ Dogtor ถูกรึเปล่า ขยายความนิดนึงได้ไหมครับ?

ที่ว่า "ร้อยละ 80" นี่ เอาตัวเลขนี้มาจากไหนนะครับ? น่าสนใจทีเดียว

ตัวคุณ Dogtor เองจะตรวจสอบความถูกต้อง contents อีก 50% ที่เหลือนั้นคงไม่มีใครว่าอะไร แต่ผมคาดว่าเพื่อนในกลุ่มของคุณ Dogtor คงจะมีความคาดหวังในด้านความถูกต้องของข้อมูลที่คุณ Dogtor ได้รับมอบหมายให้ไปค้นมาพอสมควร ใช่หรือไม่ครับ? หรือว่าไม่มีใครในกลุ่มกะจะได้ contents จาก PBL session เลย? ถ้าเป็นเช่นนั้น ผมเกรงว่าจะเป็นการใช้เวลาที่ฟุ่มเฟือยไปสักนิด แทนที่จะได้ทั้ง contents และ process กลับจะได้แต่ process อย่างเดียว เพื่อป้องกันการวางยาแก่เพือนๆ ผมคิดว่าเราน่าจะประเมินความน่าเชื่อถือของสิ่งที่เรานำเสนอไปด้วยก็ดีครับ เช่น อันนี้เอามาจาก textbook ปี 2508 หรือ journal 2005 หรือจากอาจารย์ จากโพย จาก lecture หรือว่า make-up ขึ้นมาเอง อย่างนอ้ยที่สุดนี่คือการแสดง "ความรับผิดชอบ" ในงานที่เราได้รับมอบหมาย และเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมที่คุณเป็นสมาชิกอยู่ในกลุ่ม



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-07 , Time : 12:43:03 , From IP : 172.29.3.106

ความคิดเห็นที่ : 19


   "ผมคิดว่าเราน่าจะประเมินความน่าเชื่อถือของสิ่งที่เรานำเสนอไปด้วยก็ดีครับ เช่น อันนี้เอามาจาก textbook ปี 2508 หรือ journal 2005 หรือจากอาจารย์ จากโพย จาก lecture หรือว่า make-up ขึ้นมาเอง อย่างนอ้ยที่สุดนี่คือการแสดง "ความรับผิดชอบ" ในงานที่เราได้รับมอบหมาย และเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมที่คุณเป็นสมาชิกอยู่ในกลุ่ม "
อันนี้เห็นด้วยอย่างยิ่ง น่าจะเสนอให้ทำนะครับ

"ที่ว่า "ร้อยละ 80" นี่ เอาตัวเลขนี้มาจากไหนนะครับ? น่าสนใจทีเดียว "
ไม่ต้องตกใจครับ เดาขึ้นมาเอง ไม่ได้ทำการสำรวจอะไรหรอกครับ แต่ถ้าอาจารย์ไปถามเพื่อน ๆ คนอื่น ตัวเลขก็คงไม่ต่างจากนี้

"การอธิบายบางครั้งแม้ว่าจะมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่ถ้าขัดกับความคิดพื้นฐานของแต่ละคน คำอธิบายเหล่านี้ก็จะตกไป"
ยกตัวอย่างเช่น estrogen ที่สูงขึ้นในภาวะ cirrhosis ทำให้เกิด spider nervi ได้อย่างไร? บางคนก็เชื่อว่า estrogen ที่สูงขึ้นทำให้มีการสร้างหลอดเลือดมากขึ้น(คล้าย ๆ ใน uterus) ทำให้เกิด spider nervi..... บางตำรา(Medical Physiology ของ Ganong) กล่าวเกี่ยวกับการผลิต NO (ไนตริกออกไซด์) มากขึ้นจาก estrogen ที่มากขึ้นในหลอดเลือด โดย NO ทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด
สมมติถ้าไม่อ้างที่มา อาจารย์ว่าอะไรน่าเชื่อกว่ากัน

"การอภิปรายทางวิชาการที่เน้นเกรงอกเกรงใจเพื่อนจนกระทั่งละเลยความถูกผิดนั้นเป็น "วัฒนธรรมของคนไทย" จริงหรือ? เมื่อเราสงสัยว่าสิ่งที่เพื่อนพูดมา เขาน่าจะเข้าใจผิดแล้วเรา "เออออ" นี่เป็นการ "ช่วย" หรือ "ทำลาย" เขากันแน่? "
แม้ว่าใน PBL จะเน้น process แต่content เป็นสิ่งที่นักศึกษาห่วงมากกว่า เช่นใน act 2 ถ้าเพื่อนพูดอะไรผิดไป แล้วเราพยายามจะไปแก้ให้ถูกนั้น เช่นนี้แล้วดูเมื่อว่าเพื่อนจะเสียแต้มไป(ไม่รู้ว่ามีแต้มcontent ให้เปล่า) แล้วเราที่เป็นคนแก้ให้ถุกก็จะได้คะแนนไป ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่มีใครแน่ใจว่าของใครถูก พลันเสียเวลาไปกับการเถียงกันที่ไม่จบ(ไม่แน่ใจว่านี้คือกระบวนการกลุ่มที่ดีรึเปล่า) ส่วนตัวผมเองจะรอให้จบ PBL ก่อนแล้วค่อยไปถาม ไปคุยกับเค้า ว่าแท้จริงมันควรเป็นอย่างไร
แต่กระนั้น ถ้ามี expert สักคนมาควบคุมจะดีกว่าไหมละครับ


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-07 , Time : 14:29:34 , From IP : 172.29.4.106

ความคิดเห็นที่ : 20


   ประเด็นหนึ่ง ไม่มีคะแนนสำหรับการแก้ความถูกผิดของเพื่อนครับ รวมทั้งไม่มีหักคะแนนสำหรับการ present แล้วถูกเพื่อนแก้ด้วย (ยกเว้นเป็นการมั่วมาอย่างเห็นได้ชัด) ถ้าทั้งสองฝ่ายมี "ทีมา" ที่เกิดจากการค้นคว้า ตรงนี้น่าจะใช้ "วัฒนธรรมไทย" อีกประการหนึ่งคือ "ความเป็นกัลยาณมิตร" มาช่วยเหลือให้ความกระจ่างต่อกลุ่ม จะสร้างสรรค์ที่สุด ถ้าไปแก้กันนอกรอบ เพื่อนๆในกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ฟังก็เสร็จซิครับ

ประเด็นที่สอง ไม่มีคะแนน contents ใน process PBL ครับ และเรา "ไม่มี" content expert เพียงพอที่จะทำให้ทุกกลุ่มมี facilitator ที่เป็น expert content นั่งคุมแน่ๆ เนื้อหาของแต่ละ PBL นั้น ซับซ้อนและครอบคลุมมากกว่า 1 field อยู่แล้ว เช่น บางทีก็ว่าตั้งแต่ anatomy physiology ยัน paediatric oncology แถมมี epidemiology ปน ร่วมกับสมการ cardiac function หรืออย่างที่คุณ Dogtor ยกตัวอย่าง haematology นั่นแหละครับ ฉะนั้นตรงนี้จะไปประเมินกันตอนสอบลงกอง ซึ่งออกข้อสอบโดย content expert ตัวจริงเสียงจริง ทั้งนี้และทั้งนั้นแปลว่า "สมาชิกในกลุ่ม" นั้นแหละครับที่จะต้องพึ่งพาวิจารณญาณว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่ออย่างไร

ผมยังไม่ชัดเจนเรื่องความคิดพื้นฐานที่ยกตัวอย่างมาอยู่ดี ปกติพวกเราไม่ได้อยู่ดีๆก็เชื่ออยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องที่ไม่ใช่เกี่ยวกับศรัทธา ศิลป์ ฉะนั้นจะเชื่ออะไรมันต้องมีที่มา ดังนั้นถ้าในกรณีที่มีหลาย resources ให้ลองใช้ "เหตุผล" ช่วยตัดสินดีไหมครับ นี่แหละที่เราต้องการให้เกิดใน PBL เพราะถ้าเป็น lecture คือ one-directional lecture คนที่มีข้อมูลที่แตกต่างจะไม่มีโอกาสได้เถียงเลยว่ามันค้านกับสิ่งที่ตนเองคิด แต่ระบบ small group และ PBL ตรงนี้จะเป็น "จุดแข็ง" ที่มีการเอาข้อมูลแตกต่างมาเทียบได้ ถ้าเราจะกลับไปใช้ระบบเดิมคือ lecture แล้วห้ามเถียง นั่นจะเป็นการย้อนยุคไปใช้ระบบเก่าซึ่งเป็นจุดอ่อนซะมากกว่า



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-07 , Time : 16:13:43 , From IP : 172.29.3.106

ความคิดเห็นที่ : 21


   หา!!! ไม่มีคะแนนcontentหรือครับ
งั้นพูดอะไรก้อได้สิครับ
เราได้ความรู้ผิดได้สิครับ เพราะปกติในPBLจะมีการแบ่งหัวข้อกัน บางที่ก็ไม่อ่านของคนอื่น ซึ่งจะไปแก้อะไรก็ไม่ได้
อย่างงี้มันดีแล้วหรือครับ????


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-07 , Time : 18:25:09 , From IP : 172.29.4.220

ความคิดเห็นที่ : 22


   คะแนน content จะออกมาตอน "สอบลงกอง" ครับ ได้บอกไปแล้วว่า facilitator นั้น ประเมินแต่ PBL Process อย่างเดียว

อาจจะมีบางครั้งที่มีใคร present เข้าป่าชัดเจนที่ facilitator อาจจะช่วย rescue ไว้ให้ แต่ contents ที่เป็นรายละเอียดมากๆ เช่น Kreb cycle หรือพวกสมการ basic science นี่ ผมคิดว่าอาจารย์ที่เป็น specialist ส่วนใหญ่ที่ออกนอก field นั้นๆไปนานแล้ว คงจะแก้ให้ไม่ได้ เช่น genetics, immunology ซึ่งของปัจจุบันมัน advanced กว่าสมัยที่อาจารย์เรียนหลายเท่าแล้วครับ

การแบ่ง assignment ที่ถูกต้องของ PBL ก็คือ ทุกเรื่องควรจะมีคนอ่านอย่างน้อยสองคนขึ้นไป และต่างคนต่างค้นด้วย เพื่อเป็นการตรวจสอบ และขณะที่มา present นั้น เพื่อนๆควรจะวิเคราะห์ข้อมูลของคนอื่นว่ามันฟังเข้าท่าไหม ส่วนที่เป็น deep มากๆ OK อาจจะไม่รู้ หวังพึ่งเพื่อน นี่เปนเหตุผลว่าทำไมควรจะช่วยกันอ่านครับ สมมติมี 15 LO นักศึกษา 11 คน ก็แบ่งเช่น LO1 ก็ให้นศพ.1,2 LO2 ก็ให้ นศพ2,3 ไปเรื่อยๆ คนนึงก็จะอ่านสองเรื่องขึ้นไป

กระบวนการไปค้นคว้าเพื่อจะมา present นี้เป็น highlight ของระบบ PBL ครับ เพราะคนที่ค้น กำลังรับผิดชอบเรื่องนั้น ต้องทำความเข้าใจต่อตนเองจนพึงพอใจ และต้องกลั่นกรองออกมาเป็นสิ่งที่สอนต่อได้ ถ้าจะให้ระบบนี้มัน success จริงๆ แต่ถ้าเราทำไปยังงั้นๆ อ่านมาโดยไม่ได้วิเคราะห์ตรวจสอบ มา present แล้วไม่มีใครถามเพื่อเข้าใจ ก็จะเป็นจุดบอดได้

ความรู้ระดับ นศพ.ต้องรู้นั้น จะมีเขียนไว้ในตำรามาตรฐาน หรือ references ที่จัดไว้ให้ จะต่างจากระดับแพทย์ใช้ทุนหรือ resident ที่ต้องอ่าน journal ที่หลากหลายในหัวข้อที่ยังไม่ settle ว่าอะไรจริง ไม่จริงครับ เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่าเราต้องตีความอะไรมากมายว่าอะไรดี ไม่ดี คัดเอา facts และ contents จาก designated reference หรือ reference person ก็รับรองว่าเพียงพอ บวกกับ mini-lecture ที่จะจัดไว้ในกรณีเรื่องที่ซับซ้อนขึ้นมาเล็กน้อย หรือที่ต้องใช้เวลามากเกินไป ก็เอาตาม lecture นั้นมาใช้ได้เลย

ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ เป็นเครื่องมือ และเป็นความชำนาญอย่างเดียวที่จะการันตีคุณสมบัติที่จะไปสู้กับยุค information overload ที่รุ่นพวกคุณกำลังจะเจอแน่ๆ ถ้าเรายังหวังพึ่งกินแต่อาหารที่ย่อยมาแล้วนั้น ปาก ฟัน กระเพาะ ลำไส้เราก็จะไม่ได้ฝึก ไม่แข็งแรงครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-07 , Time : 18:51:09 , From IP : 58.147.3.3

ความคิดเห็นที่ : 23


   แต่ถึงอย่างไรก็ตาม บล็อคหน้าก็จะเป็นบล็อคสุดท้ายที่มีPBLสำหรับผมแล้ว
หวังว่าคงจะไม่สายเกินหรอกนะ อย่างน้อยก็ได้ใช้ตั้ง 1 บล็อค




Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-07 , Time : 19:37:56 , From IP : 172.29.4.220

ความคิดเห็นที่ : 24


   ถึงตอนนี้พอเข้าใจแล้วว่า content ไม่นำมาคิดคะแนนใน PBL
แล้วที่ผมตั้งใจอ่านแต่ละครั้งละ จันทร์ถึงศุกร์ไม่เคยได้อ่าน lecture นั่งแปล text แต่ละหัวข้อไม่ต่ำกว่า 2 เล่ม (anatomy ดู Gray กับ Moore , Physio ดู Guyton กับ Ganong, pato ดู Robbin , Huether บางครั้งก็ดูหนังสือเฉพาะทาง , ยาก็ดู Katzung คู่กับ Goodman) เพื่อหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และง่ายต่อการเข้าใจ เสร็จแล้วก็มาย่อให้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมไว้พูดใน PBL แต่กลับได้คะแนนที่น้อยกว่าคนที่เอาเอกสารพี่มาพูดบ้าง พูดซ้ำเพื่อนบ้าง ถามคำถามเพื่อนบ้าง เอา lecture มาพูดซ้ำบ้าง (เพื่อนก็เข้าใจเพราะฟังเป็นรอบ 2) พอคนนี้พูด lecture จบ 1 ประโยค เพื่อนคนอื่น ก็เสริมอีกประโยค สนุกกันจัง อย่างนี้เป็น PBL ที่สร้างสรรค์ไหมละครับ
ผมไม่ขอเสนอให้อาจารย์แก้ไขหรือปรับปรุงระบบอะไรหรอกในเมื่อผู้ใหญ่ทั้งหลายเห็นดีเห็นงามกับมัน เพราะผมไม่สนใจเรื่องเกรดเลย ผมถือว่าผู้รู้ในสี่งที่ต้องรู้ ควรรู้และน่ารู้ ก็พอแล้ว แต่กลับเพื่อนคนอื่น ๆ ละ คนที่เขาต้องการเกรดเพื่อไปเรียนต่อในที่ดี ๆ ทั้ง ๆ ที่มีความสามารถ แต่กลับโดนโชคชะตา(ฟาใจร้ายกดคะแนน)เล่นงานเข้าไป เข้าใจว่าคนที่มีความสามารถจริง ๆ ต้องสามารถปรับตัวได้ แต่ต้องปรับไปเป็นคนเล่นละครก็แปลกดีเหมือนกัน
ผมสามาถทำ PBL แบบเต็มความสามารถโดยไม่คำนึงถึงเพื่อนคือแย่งเพื่อนพูดจนหมด เพื่อเอาคะแนนเดี่ยว ๆ ผมทำได้โดยไม่ต้องสนใจขบวนการกลุ่ม แต่ถึงกระนันผมก็ไม่ทำ ปล่อยให้เพื่อนพูดในสิ่งที่เขาเตรียมมา(และเราก็เตรียมมา) เพื่อให้ทุกคนได้พูดเท่ากัน แต่ถึงกระนันคะแนนในกลุ่มผมก็น้อยทุกคนอยู่ดี
เดี๋ยวจะไปบอกเพื่อน ๆ ให้เถียงกันให้มากกว่านี้ เผื่อคะแนนจะได้ขึ้นบ้าง


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-07 , Time : 23:09:08 , From IP : 172.29.4.51

ความคิดเห็นที่ : 25


   คุณ DogTor น่าจะไปเป็นฝ่ายค้านให้รัฐบาลนะครับ ดูท่าทางคุณจะหาช่องโหว่อะไรๆได้ดีเหลือเกิน
ผมว่าผมใจทั้งคู่นะ คุณDogTorต้องการจะอยากจะได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่วนคุณPhoenixต้องการอธิบายว่าเน้นProcess
มันมีทางที่จะ compromise กันไหมครับ ทางสายกลางของPBLจะทำอย่างไร???
ผมว่านะครับ ยังไงๆ ถ้าคุณDogTorมีความรู้ที่แน่นพอโดยไม่แหว่งในสิ่งที่ควร ยังไงๆคุณก้อไม่น่าจะเดือดร้อนนะครับ ใครมีชีตพี่มีไป ขอให้ถูกก้อพอครับ คุณสงสัยContentตรงไหนก็แย้งสิครับ อย่าปล่อยให้ผ่านไป คุณมีข้อมูลที่มีหลักฐานน่าเชื่อถือ เพื่อนๆจะได้มีความรู้ที่ถูก Processก็ดีขึ้น และเกรดของคุณDogTorก้อน่าจะดีด้วย


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-07 , Time : 23:22:27 , From IP : 172.29.4.220

ความคิดเห็นที่ : 26


   ผมคิดว่าพวกเราสามารถมองอะไรให้ไกลไปกว่าการประกาศเกรดแต่ละ block อาจจะเป็นวิธี (สำหรับบางคน) ก็ได้ครับ

คำว่า ทีม ในปัจจุบันนี้มันดูนามธรรมยังไงไม่รู้เหมือนกัน ยิ่งการที่เรามองเห็นทุกอย่างเป็นของฉัน ของเขา แต่ไม่มี "ของเรา" ความหมายของทีมมันก็คงจะยังไม่เกิดขึ้น

เวลาที่เราได้ "ประสบการณ์" นั้นเป็นของส่วนตัวครับ ไม่ว่า facilitator หรือใครก็ตามจะให้คะแนนสูง ต่ำ กลาง fair ไม่ fair นั้น ตัวเราเองสามารถ "เลือก" ได้ว่าอะไรคืทอวิถีชีวิตที่เราจะดำเนิน อะไรจะเป็นประสบการณ์ชีวิตที่เราจะเรียนรู้ อะไรที่เราจะเกลียด อะไรที่เราจะเอาอย่าง อะไรที่เราจะจำไปบอกลูกหลานว่านี่คือสิ่งที่เราเชื่อ อะไรที่เรากลับไปบอกพ่อแม่ว่านี่คือสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการอบรมสั่งสอน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็น free will และเป็นทางเลือกที่ทุนต้องเลือกครับ

ผมคิดว่าถ้าเราจะเอาพระราชดำรัสของในหลวงมาดัดแปลงใช้ ก็น่าจะเป็นสิริมงคลไม่น้อย เศรษฐกิจแบบพอเพียงคือการพึงพอใจในผลงานที่เรามี อยู่ได้ด้วย performance ที่เราได้เรียนรู้และสร้างขึ้นมา ตรงนี้แหละครับที่แม้ปัจจัยภายนอกจะสั่นคลอนล้มละลายอย่างไร เราก็ยังมีคุณความดีภายในที่เราภาคภูมิใจ และอยู่กับมันได้ ถ้าเราประพฤติตนดีแล้ว มีความพร้อมของตนเองแล้ง ยังเป็นทุกข์อยู่เพราะคนอื่นที่เราไม่เห็นว่าเขาควรได้ กลับได้ ผมว่ามันเป็นความทุกข์ที่ไม่จำเป็นต้องเกิด เหมือนพวก religious fanatic ที่เคร่งครัดในศรัทธาความเชื่อของตน แต่กลับไม่เสพย์สุขจากจิตวิญญาณของตนเอง กลับไปทุกข์ที่คนอื่นไม่เชื่อ ไม่เหมือนตนเอง

ผมเคยอ่าน textbook ภาษาอังกฤษเหมือนกันตอนเด็กๆ เกรดก็ไม่ได้ดีเด่อะไรหรอกครับ แต่ความชำนาญในการอ่าน textbook นั้นก่อให้เกิดกุศลบุญตอนที่จำเป็นต้องอ่านตำราภาษาอังกฤษมากๆในเวลาจำกัด บุญที่สวร้างไว้มันตามมาทันอีกประมาณ 15 ปีต่อมา ซึ่งไม่ได้คิดได้ฝันอะไรตอนเรียน เดชะบุญที่ไม่ได้เคยโกรธเคืองคนอื่นที่ได้เกรดดีไม่ดีอย่างไร

สิ่งหนึ่งที่แน่ๆก็คือ ในระบบ PBL นั้น ถ้าใครไม่ได้เรื่อง "การทำงานเป็นทีม" ไปด้วย ก็ขาดทุนไปกว่าครึ่งครับ จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่ ความจริงใจและจริงจังในงานที่เราได้รับมอบหมายก็เหมือนกัน นิสัยความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อสังคม มันไม่ได้มีมาแต่กำเนิดครับ มันเป็นสิ่งที่ต้องฝึกเพื่อให้เกิดความชำนาญ มันเป็นสิ่งที่ต้อง appraise เพื่อให้เกิดเจตคติ มันถึงจะหล่อหลอมไปในบุคลิกของเราเองในภายหลัง เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ mature ทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ ไม่ใช่ "แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน" แค่นั้น

อย่างที่เรียนให้ทราบตอนแรก เราจะเรียกการฝึกบ่อยๆในการทำงานเป็นทีมว่าเป็นการแสดงละคร หรือเป็นการฝึกภาคสนาม หรือเป็นอะไรนั้น มันช่วยในการตั้งเจตคติตั้งแต่แรกแล้วล่ะครับ ทีนี้เมล็ดอะไรแบบไหนที่เราหว่านลงไป มันก็จะผลิดอกออกผลมาแน่ๆ ไม่เห็นตอนนี้ก็เห็นอีกสิบปี ยี่สิบปี วิธีคิดตอนนี้มันจะฝังไปเป็นบุคลิกในตอนที่เราโตขึ้น ถ้าเราจะเลือกแล้ว ผมแนะนำให้ "เลือกดีๆ" ครับ เป็นห่วงเรื่องอะไรที่เรากำลังเรียน กำลังฝึกอย่างแท้จริง จะคุ้มค่ากว่า เรือ่งเกรดน่ะ ผมว่านับวันมันจะลดความสำคัญในการตัดสินความสำเร็จของแพทย์ในอนาคตลงไปเรื่อยๆ เพราะจิตวิญญาณของวิชาชีพนี้มันวัดไม่ได้ครับ ไม่ได้อยู่ในเกรด อยู่ในความเป็นบัณฑิตที่แท้จริง คือมี medical professionalism, ethics, teamworking, self-motivated and life-long learning

คงจะทำให้ชัดกว่านี้ยากทีเดียว แต่ยินดีจะแลกเปลี่ยนต่อไปนะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-08 , Time : 01:17:23 , From IP : 58.147.7.92

ความคิดเห็นที่ : 27


    คุณDogTor จะสอบแล้วยังจะมาโพสต์อีก T_T



Posted by หัวเขียว() 2005-12-07 , 09:56:35 , 172.29.4.220


แล้วคุณหัวเขียวไปยุ่งอะไรกับชีวิตเค้ามากมายครับ

รำคาญคำพูดแบบนี้จังเลย เค้าจะสอบแล้วถ้าเค้าแบ่งเวลาอ่านหนังสือได้มันก็เป็นเรื่องส่วนตัวของเค้าครับ

คุณก็ว่างมากนักเหรอยังไงครับมาโพสต์อยู่ได้

ไปหาจิตแพทย์บ้างก็ดีน่ะ



Posted by : gu ker baw , Date : 2005-12-08 , Time : 01:23:36 , From IP : 172.29.4.230

ความคิดเห็นที่ : 28


   คุณ gu ker baw ครับ
เพื่อนแซวเพื่อนขำ ๆ ครับ ไม่มีอะไรมากขนาดนั้น ผมไม่ได้คิดอะไรด้วยซ้ำ ขำ ขำ น่า

"เรือ่งเกรดน่ะ ผมว่านับวันมันจะลดความสำคัญในการตัดสินความสำเร็จของแพทย์ในอนาคตลงไปเรื่อยๆ"
ผมว่ามันยังไม่ชัดเจนอย่างที่อาจารย์กล่าวไว้นั้นแหละครับ ความสำเร็จในวิชาชีพแพทย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเกรดนันตรงนี้ผมเห็นด้วย แต่ในมุมมองนศพ.แล้วนั้น การเรียนต่อในสาขาดี ๆ เพื่อปูทางไปสู่อนาคตเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน(ไม่ทราบว่ามองแคบไปหรือเปล่า) แม้ว่าคุณค่อของเกรดจะดูเหมือนลดลง แต่ในตัวนศพ. นั้นก็ยังสำคัญอยู่ดี เช่น ในกรณีเรียนต่ออย่างที่กล่าวไปแล้ว กรณีโดนพ่อแม่ดุเพราะคาดหวังไว้สูง(ก็ลูกฉันออกจะเก่ง ทำไมได้ 4 จุดอ่ะ) ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่ายังมีอยู่ไหมในสังคมปัจจุบัน
ยังไงเกรดก็ยังสำคัญครับ ไม่งั้นไม่นั่งอ่านหนังสืออยุ่หรอก ฮือ ฮือ ฮือ


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-08 , Time : 09:56:17 , From IP : 172.29.4.51

ความคิดเห็นที่ : 29


   คุณ gu ker baw ครับ คุณก็น่าจะไปหาจิตแพทย์เช่นกันนะครับ ไปด้วยกันเลยเอาไหม? อิอิ
ดูท่าทางคุณจะเป็นประเภท Pestimistic มากเลยนะครับ พยายามหาอะไรๆจรรโลงใจบ้าง จะได้มองๆได้ดีขึ้นครับ คิดและมองอะไรๆหลายๆด้านสักนิด ชีวิตมีความสุขขึ้นอีกโขเลยทีเดียว


ปล แล้วมันเกี่ยวกับคุณตรงไหนล่ะเนี่ย ผมจะไปเตือนเพื่อนเนี่ย???


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-08 , Time : 11:30:06 , From IP : 172.29.4.220

ความคิดเห็นที่ : 30


   ผมเห็นด้วยและยอมรับครับว่ายังมีการพิจารณาเกรดประกอบอยู่บ้าง แต่รับรองว่าไม่ใช่ทั้งหมดแน่ๆ และประสบการณ์การทำงานเป็นทีม extra-curriculum activity บางอย่าง หรือหนังสือ recommendation ที่บอกถึงคุณสมบัติ "พิเศษ" ไม่ใช่คุณสมบัติ generic ทั่วๆไป เราค่อยๆดูไปก็แล้วกัน

นอกเรื่องนิดนึง "สาขาดีๆ" นั้นเป็น relative term ใช่ไหมครับ ทุกๆสาขามีดีไม่ดีต่างกัน แต่คงไม่ได้ถึงขนาดอดเลือกสาขาดีๆเพราะเราไม่ดีพออะไรแบบนั้น เกณฑ์ที่ว่านี้ไม่ได้พูดถึง "คุณค่า" ของตัวคนหรอกนะครับ แต่เป็นความ "เข้ากันได้ (compatibility)" ของคนกับงานมากกว่า ฉะนั้น "ทุกคน" เลือกสาขาดีๆของตนเองได้ทั้งสิ้น ก็เพราะเราคงจะ compatible กับอะไรอีกอย่างมากกว่า โดยที่ไม่จำเป็นต้อง ranking ดีไม่ดีแบบนั้น

ขอยกตัวอย่างเช่นสายการบิน NorthWest ของอเมริกา เวลาสอบสัมภาษณ์ airhostess หรือ air-stuart นั้น เขาจะให้ candidate เล่าเรื่องตลกให้กรรมการฟังคนละ 5 นาที ตรงนี้เกรดตอนเรียนคงจะไม่สำคัญ แต่บุคลิก และอารมณ์ขัน รวมทั้ง communication skill ก็จะเป็น issue ที่สำคัญ

อาชีพแพทย์สาขาต่างๆก็เหมือนกันครับ มันมีความต้องการที่ไม่เหมือนกันทีเดียว ตัวเราเองต้องค้นหาให้ทราบว่าอะไรเป็นจุดแข็ง จุดอ่อน ของเรา และมีความ "เข้ากันได้" กับสาขาไหนๆบ้าง และที่แน่ๆ generic properties บางเรื่องก็ยังใช้ทั่วไปอยู่ หนึ่งในจำนวนนั้นคือถ้าเราสามารถแสดงออกได้ว่าเรามีความชำนาญ และเจตคติที่ดีในการทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมรอบข้าง resume แบบนี้มักจะเป็นที่ต้องการเกือบทั้งหมด ส่วนใครต้องการเกียรตินิยมเท่านั้นจึงจะมาเรียนกับฉันได้ ก็ว่ากันไปตามรายละเอียด ความเหมาะสมของแต่ละแบบแหละครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-08 , Time : 11:52:48 , From IP : 172.29.3.106

ความคิดเห็นที่ : 31


   คะแนน pbl ออกปั๊บนึกในใจ รึเราโง่เกินไปรึเปล่าตอนสอบ mc มาเน้นๆ แต่พอทำพีบีแอล คอแนนตกมีนกราวกรูด รึเราลืมสมองไว้ที่อ่างล้างมือ ก็ไม่ใช่ แสดงว่าเราทำเหมือนเดิม พออีกบล็อคต่อมายังทำเหมือนเดิม เออ ได้เต็มบางตัว เออ แปลกดี เออน่าชีวิตมันไม่สมบูรณ์แบบ หรอก คิดว่าคะแนนพีบีแอลเหมือนซื้อหวย............ได้ไงหนอ อ่านแทบตาย ถอดเนื้อหาเองกับมือ ไม่หลับไม่นอน กะว่าเราลงลึกที่สุด................เนื้อหาดี discuss ดี ไม่เคยด่าใคร ไม่หลับ ไม่อ่านชีทพี่ ไม่ดูโพย หาเองกะมือ ตกมีนพีบีแอลอ่ะ ............ คิดดู............ชีวิตนี้..................หรือผมหวังมากไปกับ something หรือความยุติธรรมมันไม่มีจริง..................เอาล่ะๆๆ พรุ่งนี้จาดูชีทพี่ ดูโพยมาก่อน เนื้อหาไม่หา พูดโม้ๆ มั่วๆ เหมือนลืมสมองไว้ที่อ่างล้างมือ............ลองดูถ้าคะแนนขึ้นผมคงเลิกวิธีเดิมๆ

Posted by : i will go pataya , Date : 2005-12-08 , Time : 13:04:19 , From IP : 172.29.4.147

ความคิดเห็นที่ : 32


   อาจจะเป็นเพราะผมติดนิสัย (ไม่ดี) เขียนยาวไป ข่าวสารที่ต้องการสื่อเลยตกหล่นหมด

คนเราสามารถจะ "ล้อเล่น" กับตนเองได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้นเองครับ คุณ I will go pataya จริงๆแล้ว "เวลา" ที่พวกเราแต่ละคนมันช่างน้อยนิด พระพุทธเจ้าถึงมีปัจฉิมโอวาทว่าขอให้พุทธสาวกของท่านดำรงชีวิตโดยถึงพร้อมซึ่งความไม่ประมาทเทอญ

เราจะลอง experiment ปู้ยี่ปู้ยำเวลาอันมีค่านี้ไปแค่ไหน และเพื่ออะไร ก็เป็นสิ่งน่าคิด โอกาสที่พวกเราจะได้เป็น "นักเรียน" อยู่นั้นเหลืออยู่ไม่มากแล้วล่ะครับ เผลอแป๊บเดียวเราจะต้องออกไปรับผิดชอบชีวิตของคนอื่น รวมทั้งครอบครัว พ่อแม่ของเราเอง ถึงตอนนั้นความรู้ที่แท้จริง ความชำนาญที่แท้จริง เจตคติแห่งวิชาชีพที่แท้จริงเท่านั้นที่จะช่วยชีวิตคนได้

ยังไงๆวิถีชีวิตของแต่ละคน แต่ละคนต้อง "เลือก" ก่อนอยู่ดี we all get what we deserve and only what we deserve.



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-08 , Time : 15:55:32 , From IP : 172.29.3.226

ความคิดเห็นที่ : 33


   อยากให้การให้คะแนนใน PBL ยุติธรรมมากกว่านี้
จริงอยู่ที่ PBL ให้อะไรกับผมมาก มันคือคุณภาพที่จะเกิดขึ้นกับระบบความคิดและความรู้เพื่อต่อยอดในอนาคต
แต่นักเรียนนักศึกษาทุกคนก็ย่อมหวัง "ผล" จากความพยายาม
เพื่อเป็นกำลังใจในการเรียนต่อไป
ถ้า PBL ยังเป็นแบบนี้ เชื่อว่า นศพ.คงจะไม่มีความสุขในการเรียน PBL
ปล.ผมเพิ่งทราบว่า PBL ไม่คิดคะแนนเรื่อง Content จริงหรือครับ ผมชักไม่เชื่อ


Posted by : OneInDaUniverse , Date : 2005-12-08 , Time : 17:36:14 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 34


   เนื่องจากผมไม่มีได้มีเสียอะไรกับการที่ใครจะเชื่อหรือไม่ นั่นอาจจะเป็นเหตุผลประกอบอย่างหนึ่งที่จะใช้เชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่ครับ

PBL act II นั้น นศพ.ถก assigned ให้ไปหาข้อมูลมาเล่าให้เพื่อนฟัง "จนกระทั่ง" กลุ่มสามารถทำความเข้าใจกับ scneario ที่เป็น problem ทั้งหมด โดย objective นั้น contents มันต้องมีอยู่แล้ว แต่ไปประเมินตอนสอบลงกองแค่นั้นเอง

สุดท้ายมันก็ขึ้นอยู่กับนักศึกษาเองแหละครับว่าอยากจะได้ประสบการณ์การเรีนแค่ไหนอย่างไรตอนทำ PBL ACT I&II คะแนน process น่ะถูกประเมินแน่ๆในทั้งสอง session ส่วน contents ถึงจะไม่ได้ประเมินตอนนี้ จะทำอย่างไร problem ใน scenario จึงจะถูกไขปัญหาได้ทั้งหมด?

"ผล" จากความพยายามนั้น มีแน่ครับ ใครขยันไปค้นคว้า อ่านตำรา ทำความเข้าใจ นั่นแหละครับ "หัวใจ" ของการเรียนที่จะเป็นบัณฑิตคงสภาพไปตลอดชีวิต การที่เราซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ต่อความรับผิดชอบ ทำทุกอย่างอย่าง
เต็มกำลังความสามารถ นั่นแหละครับที่จะติดตัวไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพของประเทศ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-08 , Time : 19:54:12 , From IP : 58.147.7.92

ความคิดเห็นที่ : 35


   คือว่า ผมสงสัยน่ะครับ ว่าทำไม PBL จึงไม่เอาคะแนน Content มาคิดเลย
ทั้งๆที่ทั้งสองส่วน content และ process ก็มีความสำคัญพอๆกัน แล้วนำมาคิดเป็นเกรดหรือคะแนน
ทำไม PBL ต้องถ่วงคะแนนในการคิดเกรดถึง 50% ทั้งๆที่ ไม่ได้วัดความรู้เลย วัดแค่ Process กลุ่ม activity มาก ก็ได้คะแนนดีไป
หรือ PBL จะเหมือนละคร ที่ต้องแสดงให้ถูกใจคนดู
ทำไมจึงตัดสินกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งด้วยคะแนน Process เพียงอย่างเดียว ทั้งๆที่ Content อาจจะ Clear และชัดเจน โดยไม่มีการถกเถียงและตั้งคำถามกันมากมาย เหมือนกลุ่มที่ดูเหมือนจะพูดกันมาก แต่จริงๆแล้ว พายเรือวนอยู่ในอ่าง
ทำไมต้องวัดผล Content ตอนสอบลงกอง วัดตอน PBL ไม่ได้หรือไม่ดีอย่างไร
ถ้าเช่นนั้น คนที่ไม่อ่าน Content ไปเลย แล้วไปตั้งคำถาม ถกเถียงกับเพื่อนๆ ทั้งๆที่ความรู้ก็แทบจะไม่มีในเรื่องนั้นๆ สมควรหรือไม่ที่จะได้รับคะแนน
ความจริงก็คือ มีคนจำพวกนี้อยู่บ้างเหมือนกัน

ผมคิดแล้วก็เศร้าอ่ะครับ เหมือนกำลังถูกเอาเปรียบยังไงก็ไม่รู้
ผมคงต้องทำใจ ใช่ไหมครับอาจารย์
เหมือนที่อาจารย์พูด อาจต้องหวังผลในระยะยาว(รึเปล่า)



Posted by : OneInDaUniverse , Date : 2005-12-09 , Time : 07:12:15 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 36


   คะแนน content "จะ" ถูกประเมินตอนสอบครับ คิดสียว่าก็คล้ายๆ lecture นั่นแหละครับ เราไม่ได้สอบทันทีตอนทุกปลายชั่วโมงใช่ไหมครับ เราก็สามารถ hold ความรู้จากชั่วโมงนั้นได้ตั้งหลายวันอยู่จนสอบลงกอง

หลัง ACT II นั้นไม่ได้แปลว่าความรู้ contents จะตกตะกอนหรือครบถ้วนเสมอไปอีกด้วย บ่อยครั้งที่ปลาย ACT II นักศึกาจะสรุปว่ามีอีกบางเรื่องบางประเด็นสำคัญพอที่จะต้องไป clear เพิ่มเติม ถ้าเราเอาเกณฑ์ประเมินผ่าน content มาสอบทันที ก็เหมือนกับมี exam ทุกครั้งของ PBL ผมว่านักศึกษาจะยิ่งลำบากกว่านี้อีกมากนะครับ และคะแนนสอบ contents ทันทีตอนทำ ACT II นี่ ผมว่าเรยังไม่พร้อมกันส่าวนใหญ่นะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-09 , Time : 07:34:32 , From IP : 58.147.7.92

ความคิดเห็นที่ : 37


   ต่อจากเมื่อกี๊นี้ (ต้องไปดูฝนหน่อยว่าน้ำจะท่วมรึเปล่า)

ความสำคัญของเนื้อหานั้นเราให้ 50% ครับ ไม่ได้ไม่ประเมินเลย ความรู้ cognitive นั้นต้องมีการตกตะกอนก่อนจึงจะทดสอบได้ contents ที่ present ใน PBL ACT II ของนักศึกษาแต่ลคนเป็น fragments อย่างมาก ในการประเมิน cognitive เราต้องมี table of specification ว่ารายวิชานั้นๆ นักศึกษา "ต้องรู้" อะไรในสัดส่วนเท่าไหร่ที่เหมาะสม ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่นำเสนอในห้องอภิปราย การออกข้อสอบประเมิน cognitive หรือส่วน contents นั้นใช้แค่ observation ไม่ได้ครับ เพราะมันจะมีปัญหาเรื่อง validation and accuracy ว่าเที่ยง ว่าตรงหรือไม่ เช่น อ่านชีทมานั้น เข้าใจหรือเปล่า การสอบลงกองประเภท short, full assay หรือ MEQ หรือ MCQ ที่ออกแบบอย่างดี มีการตรวจสอบโดยกรรมการหลายขั้นตอนจึงจะเป็นข้อสอบที่ดี ที่ประเมินแล้วแม่นยำบอกได้ว่าในส่วนของ contents นัน้ นักศึกษาแต่ละคนรู้จริงหรือไม่

เรื่องแสดงละครก็เหมือนกัน เราเคยชื่นชมดาราภาพยนต์ไหมครับ คนที่โด่งดังมีชื่อเสียงด้านการแสดงนั้นเป็นเพราะอะไร? ถ้าตัดพวกสวย หล่อ ล่ำออกไป ที่เหลือคือ performance ที่เขาแสดงได้ เหมือนจริงยังกับเป็นตัวจริง ดาราตัวร้ายบางคนยังถูกเข้าใจว่า "ตัวจริง" เขาเป็นอย่างนั้น ถูกพ่อค้า แม้ค้าเอาของปาก็มี

ทำไมเขาแสดงได้เก่งขนาดนั้น?

มีสองวิธีใหญ่ๆ คือ ๑) บุคลิกนั้นเป็นตัวตนจริงของเขา และ ๒) บุคลิกนั้นผ่านการฝึกฝน ซักซ้อมมาอย่างดีจนกลืนเป็นตัวตนของเขา ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน อย่างน้อยนักแสดงผู้นั้นก็ประสบความสำเร็จในหน้าที่ แสดงเป็นตำรวจก็มีพฤติกรรมแบบตำรวจ แสดงเป็นคนดีก็ดีเหลือหลาย แต่จะเกิดจากข้อ ๑ หรือ ๒ นั้น บอกไม่ได้ เราได้แต่อนุมานว่าถ้าเกิดจาก ๒) อย่างน้อยการฝึกมาขนาดนั้นมันน่าจะแทรกซึมลงไปในบุคลิกจริงได้บ้าง

แต่ถ้าคนที่ reject ปฏเสธที่จะทำตามบทบาทหรือหน้าที่ที่มีต่อตนเอง ต่อกลุ่ม ต่อระบบ เรา "ควร" จะประเมินเขาว่าอย่างไรล่ะครับ? ถ้าเขาไม่ได้ participate หรือ attribute อะไรให้แก่ทีมเลย หรือต่อต้านกลุ่ม คะแนนควรจะเป็นเช่นไร?

การประเมิน psychomotor นั้น มีวิธีเดียวคือต้องแสดงออกมาได้ครับ เช่น OSCEนั้น ถ้าใครมาถึงก็พูดฉอดๆว่าจะทำอะไรๆจนจบ คะแนนคือ zero ครับ ฉันใดก็ฉันนั้น ผมแนะนำให้เราศึกษาว่าอะไรคือ "กระบวนการกลุ่ม" อะไรคือ "หน้าที่ความรับผิดชอบ" และให้แสดงออกมาตามนับขณะประเมิน มันก็จะได้ทั้งประสบการณ์จริงที่ควรจะศึกษา ฝึกฝน และสำหรับบางคนก็รวมทั้งคะแนนด้วย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-09 , Time : 08:18:59 , From IP : 172.29.3.226

ความคิดเห็นที่ : 38


   เรื่องที่ผม concern มากๆก็คือ ความไม่เท่าเทียมกันน่ะครับ
เพราะว่า Facilitator ต่างคนกัน ก็ให้คะแนนไม่เหมือนกัน ใช่ไหมครับ
Facilitator เป็นผู้ชม performance ของเรา ชอบหรือไม่ บางส่วนก็มาจากความชอบและ style ของ Facilitator คนนั้นๆ
บางคนชอบให้พูด basic sciences เยอะๆ ถึงแม้มันจะ Basic เกินไป เช่น การเกิดไข้ อันนี้ basic มากๆ
บางคนให้พูดตาม scenario ไปตามลำดับ
บางคนให้พูดเนื้อหาใน Act I จนเรื่องที่ไม่รู้จริงๆจึงค่อยหามาพูดใน Act II
ต่างคนต่างสไตล์ ต่างเกณฑ์ คะแนนเลยออกมา vary อย่างมาก
เพื่อนผมพูดไว้ว่า การเรียน PBL ก็เหมือนเป็นดารา ที่ต้องแสดงให้ดีเป็นที่ประทับใจ และต้องดวงดีด้วย
ผมควรทำยังไงดีครับ ความรู้ก็สำคัญ แต่คะแนนมันก็มีผลต่อจิตใจผมนะ T-T



Posted by : OneInDaUniverse , Date : 2005-12-09 , Time : 16:44:44 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 39


   เข้าใจผิดครับ Facilitator ไม่ถึงกับให้คะแนน free style ขนาดที่คุณ Onindauniverse ว่ามา เราใช้ระบบ RUBIC SYSTEM ในการประเมินจลนพิสัย (psychomotor) เหมือนๆกับ OSCE ครับ รูสึกจะมีอยู่ 4-5 หมวดพฤติกรรม แต่ละพฤติกรรมมี descriptive key มห้ไว้ส่า range 1-5 คะแนนนั้นคืออะไรบ้าง Facilitator จะทำความเข้าใจระบบการให้คะแนนก่อน และจะให้คะแนนตามนั้นครับ ไม่ได้ให้เรื่อยๆเปื่อย ไม่มีหลักเกณฑ์ และที่แน่ๆที่สุดไม่เกี่ยวกับ "ปริมาณ" ของเรือ่ง basic science ด้วย ผมเข้าใจว่าบางครั้ง บาง scenario ที่ facilitator อาจจะ "ช่วย" เน้นให้ว่า contents อะไรสำคัญสำหรับบทนั้น ก็ guide ให้ แตนั่นจะเป็นในฐานะกึ่งๆ expert content role ครับ

ทางที่ดีที่สุด คุณ OninDaUniverse เดินไปชั้น 7 แล้วขอดู key แบบประเมิน PBL จากหน่วยกิจการนักศึกษามาศึกษาก่อนดีไหมครับ จะได้เข้าใจที่มาของคะแนนดีขึ้น



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-09 , Time : 18:27:44 , From IP : 58.147.59.66

ความคิดเห็นที่ : 40


   ดีๆๆครับ ผมขอด้วยคน ผมว่าควรจะแจกในนศพ.ตั้งแต่แรกเริ่มก่อนเรียนชั้นปี 2 ก็ดีนะครับ เพื่อเป็นการปรับตัวของนักศึกษา
ผมยืนยันว่าผมไม่เสนอให้มีการเปลี่ยนระบบหรือแก้ไขอะไรทั้งสิ้น แต่คะแนนสอบของข้อสอบเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภาที่พวกผมต้องสอบนั้น คงเป็นตัวบอกอะไรได้บ้าง รอดูกันต่อไปดีกว่า.............สู้ สู้


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-09 , Time : 21:28:45 , From IP : 172.29.4.51

ความคิดเห็นที่ : 41


   แนะนำให้ไป "ขอ" ครับ ไม่ได้บอกว่าแจก ผมคิดว่าอะไรที่แจกไป ส่วนใหญ่จะไม่ได้อ่านซะล่ะมากกว่า แต่ถ้าสนใจแล้วไปขวนขวายหาคำตอบเอง มักจะเป็นจุดเริ่มที่ดีในการศึกษาครับ (คุ้นๆไหมครับว่านี่คือ "ระบบ" อะไร?)



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-10 , Time : 02:30:29 , From IP : 58.147.59.66

ความคิดเห็นที่ : 42


   key แบบประเมินมันมีอยู่ อันนนี้ก็รู้อยู่แล้วครับ

แต่ปัญหา มันอยู่ที่ facilitator เข้าใจ ตีความหมาย แต่ละข้ออย่างไร และมีผลต่อการให้คะแนน แม้ key จะเขียนไว้ชัดเจน แต่บางอย่างมันเป็นสิ่งจับต้องไม่ได้ เหมือนต้องใช้ความรู้สึกตัดสิน เหมือนการให้คะแนนยิมนาสติก ซึ่งโกงกันได้ หรือเกิดความลำเอียงได้ไม่ยาก

และส่วนใหญ่การให้คะแนนจริงๆจะอยู่ในรูป

คะแนนแปรผันตรงตามปริมาณคำพูด ครับ


Posted by : Venomancer , Date : 2005-12-10 , Time : 16:54:58 , From IP : 172.29.4.68

ความคิดเห็นที่ : 43


   ถึงตอนนี้ก็คงเป็น subjective ทั้งสองฝ่ายแล้วครับ น่าสนใจที่ว่าคนที่ได้คะแนนดีๆนั้น เป็นเพราะ acting ทั้งนั้นหรือ?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-10 , Time : 18:33:02 , From IP : 58.147.59.66

ความคิดเห็นที่ : 44


   คืออย่างที่ผมกล่าวไว้ตั้งแต่ตอนต้นกระทู้
ไม่ว่าผมจะทำ PBL กี่ครั้ง กี่ครั้งก็คงไม่ต่างกันมาก
แต่คะแนนทั้ง 3 ครั้งต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ถ้าจะสรุปให้ตัวผมเป็นตัวแปรต้นที่เหมือนเดิมทุกครั้ง
แต่ทำไมเมื่อตัวแปรต้นเหมือนกันแต่ตัวแปรตามต่างกัน
หรือเพราะตัวแปรควบคุมที่ไม่เหมือนกัน ต่างมาตรฐานกัน
ที่อยากสื่อก็แค่นี้แหละครับ


Posted by : DogTor , Date : 2005-12-11 , Time : 12:49:29 , From IP : 172.29.4.216

ความคิดเห็นที่ : 45


   ผมคงจะสามารถแนะนำได้เพียงหลักการเท่านั้นแหละครับ รายละเอียดว่าทำเหมือนกันขนาดไหน อาจารย์แต่ละท่านเหมือนและต่างกันขนาดไหน ตรงนั้นเป็นตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้

เราจะเรีบนรู้และปรับปรุงอะไรจากเรื่องนี้ได้บ้าง?

ถ้าจะมี role model ลองพิจารณษดูจากเพื่อนของเราก่อนดีไหมครับ คำถามเดิมที่ผมถามก็คือมีคนทีคุณคิดว่าได้คะแนนดีและสมควรจะได้บ้างหรือไม่ เขาทำอย่างไร อะไรทำนองนี้ ยิ่งคนที่ได้คะแนนดีสม่ำเสมอ (ดีจริงๆในสายตาของคุณเอง) ยิ่งน่าจะมีอะไรที่สามารถเรียนรู้ได้ในทางปฏิบัติ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-11 , Time : 13:11:54 , From IP : 58.147.59.66

ความคิดเห็นที่ : 46


   ถ้าผมขอเสนอสักอย่างได้ไหมครับ
ผมอยากให้ลดคะแนนส่วน Process มาหน่อยนึง เพราะ 50-50 มันสูงไปนะครับ
อยากให้น้ำหนักด้าน Product มันมากขึ้น เพราะผมว่าสิ่งที่เราจะนำไปใช้ในอนาคตคือส่วนของ Product มากกว่า Process ถูกหรือไม่ครับ
การที่น้ำหนักด้าน Process ซึ่งมีน้ำหนักคะแนนที่สูงขนาดนี้ ซึ่งอย่างที่รู้ๆกันแล้วว่า มันไม่แน่นอน vary ไปตาม facilitator ซึ่งอย่างที่คุณ OneInDaUniverseได้กล่าวไว้แล้ว ว่าแต่ละคนให้แตกต่างกัน หรือจะดูจากคะแนนของทุกคนก็ได้เพราะ ส่วนมากแล้วเนี่ย การพูดในPBLมักจะเดิมๆใครพูดมากก็พูดมากอย่างนั้น พูดน้อยก็พูดน้อยอย่างนั้น ซึ่งคะแนนไม่ควรที่จะแตกต่างกันมากอย่างที่พบเห็นได้ทั่วไปใช่ไหมครับ เพราะอาจารย์ได้บอกแล้วว่าไม่มีส่วน Quanlity เพราะไม่มีการประเมิน Content แต่จะมีการให้ตะแนนส่วน Quantity หรือปริมาณการพูดนั่นเอง
ดังนั้นแล้วเนี่ย การที่น้ำหนักคะแนนสูงขนาดนี้มันจึงเป็นเสมือนตัวที่สำคัญอย่างมาก เหมือนกับมีสิ่งที่ตัดสินชะตาที่ไม่แน่นอนเอาซะเลย ในความคิดผมนะครับ
ดังนั้นจากที่ได้กล่าวมา ผมอยากให้มีการพิจรณาเพิ่มน้ำหนักด้าน Product มากขึ้นสักหน่อยครับ เพราะมันจะเป็นตัวตัดสินที่น่าจะดีกว่า Process ซึ่งไม่แน่นอน


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-12 , Time : 19:37:46 , From IP : 172.29.4.44

ความคิดเห็นที่ : 47


   เรื่องที่คุณหัวเขียวเสนอมาถูกนำมาอภิปรายผมว่าหลายครั้งแล้วครับ ทั้ง pro และ con และผลสรุปยังคงไว้เหมือนเดิม

"จุดแข็ง" ของระบบ PBL ที่เราใช้อยู่นี่เพราะเรามีวัตถุประสงค์พิเศษเพิ่มเติมจากสมัยก่อน นั่นคือ ๑) Life-long learning ๒) Self-directing Learning และ ๓) Team-working skill ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจาก process ในขณะที่เรา acquire ความรู้ด้าน cognitive เป็นขบวนการที่เพิ้มขึ้นมาแตกต่างจากการได้ cognitive โดยผ่านการ lecture และกลับไปอ่านหนังสือที่หอคนเดียว

ทีนี้ "น้ำหนัก" ของการประเมินก็จะขึ้นอย่กับ "ความสำคัญ" ของสิ่งที่นักศึกษา suppose ว่าควรจะได้เรียนรู้ ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งก็คือ cognitive ที่เราเรียนๆกันอยู่ ณ ปัจจุบัน มีแนวโน้มว่ามันจะเปลี่ยนไปอย่างมากมายในอนาคตอันใกล้ เช่น เมื่อ nanobiology ลงมาในระดับ application, implementation โฉมหน้าของการแพทย์อาจจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เพื่อ "เตรียม" บัณฑฺตของประเทศที่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ psychomotor และ attitude จะเป็นสอง domain สำคัญที่สุดสำหรับความพร้อมที่ว่านี้

ผมคิดว่าพวกเราอย่าได้ underestimate ความสามารถในการทำงานเป็นทีม หรือคิดว่าเป็นสิ่งง่ายๆ ไม่ต้องฝึกอย่างจริงจังก็ทำได้ หรือคิดว่าไม่สำคัญเท่าไหร่เมื่อเปรียบเทียบกับ contents ยิ่งถ้าคิดว่า contents ที่พูดๆกันอยู่นี้ อาจจะล้าสมัยในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า skill ที่จะ "ติดตัว" เราไปในอนาคตอาจจะมีความสำคัญมากกว่าหรือไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันเลยก็เป็นได้

ความสามารถในการสื่อสารนั้นเป็นสิ่งที่ต้องฝึกเหมือนกัน เพราะเป็น psychomotor อย่างหนึ่ง พอๆกับเจตคติที่คิดว่าเรื่องนี้สำคัญนั่นแหละครับ เมื่อเรามีความคิดอะไรอย่างหนึ่ง พอต่างจากเพื่อน เราจะนำเสนออย่างไร ให้เกิดเป็น constructive debating ไม่ใช่การ destructive arguing เราจะพูดจากับคนไข้อย่างไรที่อาจจะปฏเสธการรักษาที่เราเสนอไป เราจะคุยกับคนไข้อย่างไรเกี่ยวกับ prognosis เมือเราทราบว่าเขากำลังมีชีวิตอยู่อีกไม่นาน รวมทั้งกับครอบครัวเขาด้วย การฝึกพูด ฝึกแสดงออก นั้นสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้มัน "ซึม" เป็นบุคลิกของเรา ใครจะเรียกมันว่าเป็น การแสดง เป็นการเสแสร้ง อย่างไรก็ตารมแต่สะดวก แต่ที่แน่ๆ "การฝึกฝน" นั้นนำมาซึ่ง "ความชำนาญ" และเจตคตินั้นนำมาซึ่งการให้ "คุณค่า" ของสิ่งที่เราทำ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-12 , Time : 20:31:34 , From IP : 58.147.125.185

ความคิดเห็นที่ : 48


   สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อคือ
ผมคิดว่าน่าจะให้คะแนน Product มันสูงกว่านี้น่ะครับ เพราะมันเป็นรูปธรรมมากกว่า Process ซึ่งเป็นนามธรรม
ผมไม่ได้ว่า Process ไม่ดีนะครับ ให้คะแนน Process ด้วยก็เหมาะสมแล้ว อย่างที่อาจารย์บอก แต่ผมเกรงว่ามันจะมากไปน่ะครับ


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-12 , Time : 21:31:02 , From IP : 172.29.4.44

ความคิดเห็นที่ : 49


   ผมคิดว่าเราพูดตรงกัน แต่ไม่เห็นตรงกันตอนสุดท้ายว่า "จุดไหน" คือสมดุล

ที่ผมว่าก็คือ "สัดส่วน" ของการประเมินน่าจะมาจากสัดส่วนของ "ความสำคัญ" ไม่ได้อยู่ที่อะไรเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม

ยกตัวอย่างเช่น Medical Professionalism นั้น ประกอบด้วย Altruism (principle of primacy of welfare of patient), principle of autonomy และ principle of justice ทั้งสามประการเป็น "นามธรรม" ล้วนๆ แต่จัดเป็น "คุณสมบัติ" หรือ "องค์ประกอบรากฐาน" แห่งวิชาชีพแพทย์ทีเดียว เหมือนๆกับศีลธรรม ปรัชญาความดีฯลฯ มีน้ำหนักมากในการประเมิน เช่น สอบ cognitive ถึงจะผ่านอย่างไร แต่จะใครมีพฤติกรรมที่ dubious หรือน่าสงสัยในจริยธรรมที่สำคัญๆ คณะฯจะต้องมีการ "พิจารณา" อย่างละเอียดละออว่าปล่อยไปจะเป็นภยันอันตรายของประชาชนมากกว่าประโยชน์ที่จะได้หรือไม่

qualitative measurement นั้น วัดยากกว่าจริง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะ "ลดความสำคัญ" ลงนะครับ สิ่งหนึ่งที่เป็น "รูปธรรม" มากที่สุดก็คือการให้ "น้ำหนัก" ลดลงนั่นเอง ถ้าเราไม่ได้มีการประเมินอะไรที่เป็นนามธรรมเลย เราอาจจะลงเอยด้วยคนที่ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งที่มี cognitive เต็มตัว แต่ออกไปเป็น full commercial doctor หรือคน anti-social ที่ไม่สามารถอยู่ร่วมในสังคมตามปกติได้เลยก็เป็นได้ มี case จริงมาแล้วที่อังกฤษ คดีที่อื้อฉาวที่สุดที่หมอคิดว่าสามารถชี้ชะตาและกำหนดชะตากรรมผู้ป่วยได้ เที่ยวไปเยี่ยมบ้านและฉีดยาคนที่ตนคิดว่าสมควรตายไปเกือบสองร้อยคนกว่าจะจับได้ และไม่มีความสำนึกผิดเลยแม้แต่น้อยตอนถูกจับได้ ถ้าจำไม่ผิดชื่อ Dr Harold Shipman เป็นคดีฆ่าต่อเนื่องที่สยองขวัญที่สุดของเกาะอังกฤษ เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง

"น้ำหนัก" ของการเป็นแพทย์ที่ดีนั้น ผมว่ามันประมาณนี้แหละครับ ตรงนี้จะมี range of debating ได้เยอะ จะเป็น 50/50 40/60 60/40 แต่รับรองได้อย่างหนึ่งก็คือ "น้ำหนัก" ของการประเมิน น่าจะเปรตาม "น้ำหนัก" ของความสำคัญครับ ไม่ใช่ "ความยาก" ของการะประเมิน



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-12 , Time : 22:00:29 , From IP : 58.147.125.185

ความคิดเห็นที่ : 50


   ขอประทานโทษครับ ตอนแรกผมแปล altruism ว่าขนขึ้น ขำๆน่ะครับ

จากที่อาจารย์กล่าวมาเนี่ย ตอนนี้ผมเห็นด้วยทั้งหมดเลยนะครับ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาตอนนี้นะครับคือตัว ความยากที่อาจารย์กล่าวนั้นแหละครับ ซึ่งเป็นตัวตัดสินชะตา ของ นศพ
อาจารย์จะมีวิธี่จัดการอย่างไรครับ กับความยากในการประเมินให้ผลลัพธ์ออกมาแล้วมันเป็น มาตรฐานเดียวกัน???


Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-12 , Time : 22:22:28 , From IP : 172.29.4.44

ความคิดเห็นที่ : 51


   ประการสำคัญน่าจะเริ่มที่ นักศึกษาแพทย์ไว้ใจอาจารย์ และฝ่ายแพทยศาสตรศึกษาของคณะแพทย์เราก่อนครับ ว่าท่านเหล่านั้น "หวังดี" ต่อนักเรียน และ "เข้าใจ" ในหลักการศึกษา (อาจารย์แพทย์ทุกคน "ต้อง" ผ่านการอบรมแพทยศาสตรศึกษา)

ปัญหาที่พวกเรายกมาทั้งหมดนี้ เคย และได้รับ การพิจารณา และอภิปรายมากมากมาย และอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงมาตลิดเกือบยี่สิบปี ขณะที่ นศพ. แต่ละรุ่นจะได้ประสบการณ์ 1 model แต่ในแบบ longitudinal แล้ว ก็คงจะมีอาจารย์ที่อยู่ที่นี่ ไม่ได้ไปไหนนั่นแหละครับ ที่คอยรับฟัง คอยตรวจสอบ และคอยปรับปรุงมาโดยตลอด

การให้คะแนน ก็เป็น psychomotor อย่างหนึ่งเหมือนกัน อาจารย์คณะแพทย์ของเราที่เก่าๆหน่อย ผมว่าน่าจะมีประสบการณ์การให้คะแนน PBL หลายสิบครั้ง และเคยผ่านการสัมมนาเพื่อรับฟังปัญหาที่พวกนักศึกษายกมา ไม่ว่าจะเป็น standard ของการให้คะแนน ปัญหาเรื่อง subjective หรือ ปัญหาเรื่องนามธรรม รูปธรรมอะไรทั้งหลายแหล่ มีทั้งเวทีเฉพาะ เวทีเปิด เวีอะไรต่อมิอะไรมากมายที่อาจารย์สามารถและได้เข้าไปร่วมให้ความเห็น พวกอาจารย์ก็ "ต้องการ" ระบบที่ลดความบกพร่องให้เหลือน้อยที่สุดเหมือนๆกับนักเรียน achievement หรือความสำเร็จของนักเรียนเรานั้นเป็น achievement ของอาชีพครูส่วนหนึ่งด้วยเหมือนกัน

"วิธี" ที่คุณหัวเขียวว่ามาก็คือการปรับ "มาตรฐาน" ของ RUBIC system การให้คะแนนให้เป็น subjective น้อยที่สุด ประการหนึ่ง และการ "ยกผลประโยชน์" ให้นักศึกษาประการหนึ่ง นี้เป็นมาตรฐานที่เรายืม methodology ของการวิจัยเชิงคุณภาพมาใช้ ผมเข้าใจว่า นศพ.ตอนปี 5 หรืออะไรนี่ ตอนผ่าน fam med จะได้เรียนเรื่องนี้อีกครั้ง

"การวิจัยเชิงคุณภาพ" ได้แก่ การวิจัยเชิงสังคมศาสตร์ หรือ metaphysic subject ที่ เครื่องมือสำคัญวัดความเห็น ความรู้สึก หรือประสาทส่วนที่ quantitative ยาก

และเราเน้นที่ outcomes ปลายว่า "โดยภาพรวม" เป็นอย่างไร คนที่ "ไม่ผ่าน" PBL นั้น จะมี record บันทึกของ facilitator หรือไม่ก็มีการซักถามเหตุผลครับว่าอะไรเกิดขึ้นเป็นรายๆ ส่วนคนที่ผ่าน ก็แล้วแต่ใครจะเรียกว่ามันเป็นการ "ฝึก" ที่สม่ำเสมอ แสดงสม่ำเสมอ หรือเสแสร้งสม่ำเสมอก็แล้วแต่ ที่แน่ๆก็คือสามารถ express competency ได้ตอนประเมินในเรื่องของกระบวนการ PBL เรื่องของกระบวนการกลุ่ม เรื่องของกระบวนการ self directing learning และ self searching

"ชะตา" ของ นศพ.ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตรงนี้หรอกครับ ถ้าคุณหมายถึงการจะเป็นหรือไม่เป็นแพทย์ที่ดีผมว่ามันจะอยู่ตรงตอนที่พวกน้องขึ้นไปดูผู้ป่วยบนหอผู้ป่วยจริงมากกว่า ว่าใครจะมีความสามารถรับรู้ได้ว่านี่คือ "งาน" ที่ตนปวารณาตัวมาทำจริงๆ ยอมอดหลับอดนอนมาทำงานไม่เป็นเวล่ำเวลาอีกหลายสิบปีจริงๆ ตอนนั้นผมว่าจะ "ใกล้เคียง" กับคำ "ตัดสินชะตา" มากกว่าคะแนน PBL ตอน pre-clinic เยอะ





Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-12 , Time : 23:08:13 , From IP : 58.147.125.185

ความคิดเห็นที่ : 52


   อืม...

Posted by : DogTor , Date : 2005-12-12 , Time : 23:38:44 , From IP : 172.29.4.216

ความคิดเห็นที่ : 53


   อ่ะนะ

Posted by : หัวเขียว , Date : 2005-12-13 , Time : 16:29:21 , From IP : 172.29.4.44

ความคิดเห็นที่ : 54


   ขออีกเรื่องนะครับเปลี่ยน scenario เนี่ย ยากมั๊ยครับ ไม่อยากให้มีวัฒนธรรมโพยพี่ ชีทพี่อ่ะครับ

Posted by : i will go pataya , Date : 2005-12-13 , Time : 21:43:22 , From IP : 172.29.4.181

ความคิดเห็นที่ : 55


   ยุ่งพอประมาณครับ เพราะเราต้องเอา Table of specification, curriculum, LO มาวางแผ่ แล้วพิจารณาดูว่าจะเอาอะไรมาลงใน scneario 1 scenario จึงจะไม่มากไม่น้อย และที่เหลือต้องมองหา subjective อะไรที่ยากจนควรจะต้อง lecture มาประกอบกัน

แต่ที่ถามนี่ในฐานะคนให้โพย หรือคนอ่านโพยล่ะครับ? ทั้งสองอย่างสามารถหยุดได้โดยการไม่ใช้มันครับ เพราะการเปลี่ยน scneario คงไม่ยั่งยืนถาวร นศพ. เป็นนักศึกษาเผ่าพันธุ์ที่สร้างคลังข้อสอบเองได้รวดเร็วมาก รุ่นผมที่ศิริราชสอบ comprehensive เสร็จ อีกสองสามชั่วโมงน้องรุ่นต่อไปมารับ full paper ทั้งฉบับได้เลย เพราะเราช่วยกันจำออกมา (บาปกรรมจริงๆหนอ) พอๆกับสอบบอร์ดศัลยศาสตร์เหมือนกัน รุ่นน้องปีถัดไปมารวมกันในห้องพัก ณ รพ.ที่เป็นสนามสอบรอจดข้อสอบเลยทีเดียว

ผมคิดว่าถ้าเรามีเจตคติจะไม่ใช้มันซะอย่าง ก็ไม่ต้องไปขอให้ใครต่อใครทำหรือไม่ทำอะไร ดีไหมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-13 , Time : 22:03:59 , From IP : ppp-203.118.117.3.re

ความคิดเห็นที่ : 56


   เท่าที่อาจารย์ Phoenix ได้คุมกลุ่ม PBL 1 Eng Act 1 วันนี้
อาจารย์ได้สัมผัสด้วยตัวเองแล้ว อาจารย์เห็นว่าศักยภาพกลุ่มนี้ สมควรที่จะตก mean PBL ไหมครับ (Endocrine ตกยกกลุ่ม)
แล้วอย่างที่อาจารย์พูดไว้ว่า ฟาแต่ละคนเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
เหมือนที่ผมคิดไว้เลยครับ ต้องทนทำใจ
ตอนนี้เหมือนหมด inspiration เมื่อเจอฟาที่มีกิตติศัพท์ไม่ค่อยดีมาคุม PBL
ต้องคอยปรับเปลี่ยน style ทุกๆ PBL ต้องมาปรึกษากันก่อนในกลุ่มว่าจะดำเนิน Process ยังไง ให้ราบลื่น ไปได้สวย
ผมว่าวิชาการแสดงนี่ ในคณะเรา ไม่ค่อยสำคัญใช่ไหมครับ
ตอนนี้ Human Life Cycle เนื้อหาค่อนข้างเบา
เคยมีอาจารย์แพทย์ที่มีคุณวุคนหนึ่ง คุมกลุ่มผม แล้วบอกว่า อาจารย์ชอบมากนะ ที่กลุ่มมี Process และมี discussion แบบนี้
แต่...
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ว่ากล่าว Process ของกลุ่มอย่างเสียๆหายๆ(จนผมไม่อยากจำคำว่ากล่าวนั้น)
ผมก็แค่อยากจะแชร์ประสบการณ์ ที่อาจารย์ไม่เคยพบด้วยตัวเอง
อาจารย์จะไม่เชื่อก็ได้ ผมแค่อยากจะบอกในฐานะที่เจอประสบการณ์ตรง แค่นั้นเองครับ



Posted by : OneInDaUniverse , Date : 2005-12-14 , Time : 00:22:08 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 57


   น่าเห็นใจพอควรนะ ที่น้องๆต่างรู้สึกเหมือนว่าชีวิตมันอยู่ในกำมือใครสักคน หรือชีวิตไม่ได้รับความยุติธรรม และตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน จนทำให้น้องๆต้องพยายามหาทาง asertive และต่อสู้เพื่อเรียกร้องเรื่องเหล่านี้ออกมา คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีและพี่ต้องขอบคุณน้องๆที่พยายามคิดและไตร่ตรองเรื่องเหล่านี้แบบสุมขุม ไม่ก้าวร้าว และพยายามคิดด้วยเหตุผล พี่คิดว่าถึงจุดนี้พวกน้องๆก็ดูเหมือนเติบโตขึ้นมาได้อีกระดับหนึ่งแล้วนะ
สิ่งที่อยากจะฝากน้องๆก็คือ ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไรกับน้องๆก็ตาม ยังมีอาจารย์อยู่ส่วนหนึ่งที่เชื่อมั่นในศักยภาพทางการเรียนรู้ของพวกน้องๆ และพยายามที่จะempowerพวกน้องๆให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยกลุ่มเพื่อนด้วยกันเอง หรือแม้นแต่การเรียนรู้ด้วยตนเอง อดทนไว้นะ หวังว่าชีวิตช่วงนี้ของพวกน้องๆคงต้องผ่านไปได้ด้วยดี แล้วเจอกันในชั้นคลินิกนะ


Posted by : aries , Date : 2005-12-14 , Time : 12:09:44 , From IP : 172.29.3.198

ความคิดเห็นที่ : 58


   มีปัจจัยอีกมากมายหมายอย่างในโลกแห่งความเป็นจริงนี้ รวมทั้งนอกรั้วมหาวิทยาลัยที่เราควบคุมไม่ได้ และไม่ใช่สิ่งที่เราเห็นด้วย แต่เราก็ยังต้องดำรงคงชีวิตอยู่ต่อไป

แต่ขอให้ดูที่ "ระบบ" ครับ ส่วนใหญ่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ระบบ แต่เรามักจะต้องการเปลี่ยนตัวระบบ แทนที่จะแก้ไขปัญหา แล้วก็จะพบว่า "ทุกระบบ" มีปัญหาทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลงเอยไปที่ตัวบุคคล เนื่องจาก "คน" นั้น deem to err ได้ทั้งสิ้น

น้องอยากจะ share หรือไม่ ผมอยู่ตรงนี้ก็ยินดีรับฟังเสมอครับ อย่างนึงที่อยากจะให้พวกน้องได้รับฟังบ้างก็คือ อย่าได้เอา individual error มาเป็นอุปสรรคทำให้น้องไม่ได้ get อะไรบางอย่างจากสิ่งที่โดยหลักการมันดี หรือมีคุณค่า มันจะน่าเสียดาย ในเมื่อยังมีคนอื่นที่เชื่อในระบบ และได้อะไรดีๆกลับไป เราจะสามารถแสวงหาสิ่งที่เรา "น่า" จะได้นี้ให้ได้ หรือเราจะมองเห็นเฉพาะอุปสรรคและท้อแท้

มีอีกกระทู้นึง และในอดีตหลายๆกระทู้ ที่มีคำถามอย่างเดียวกันคือ ทำดี ทำตามหลักการ ทำตามระบบนั้นมันมีดีอย่างไร ในเมื่อมันมี "ตัวอย่าง" บางคนที่ทำไม่ดี ในเมื่อมันมีตัวอย่าง "คนที่ไม่ได้ทำดี" ให้เห็น ลัทธิเอาอย่าง นี้เป็น selective perspective ครับ ที่เราจะหา "ข้ออ้าง" หรือ "ข้อยกโทษ" ที่จะไม่เชื่อในหลักการ ในระบบ ในปรัชญา เพราะในขณะเดียวกันมันมีตัวอย่างของคนที่ทำดี ของคนที่ทำตามปรัชญา ตามระบบ (บางครั้งเป็นแม้กระทั่งคนในครอบครัว) เราก็จะยังเลือกไม่มองเห็นตัวอย่างเหล่านี้ร่ำไป

คะแนน ณ เวลานี้ เทอมนี้ นั้น มันไม่ได้ "ตัดสินชะตากรรม" ของเราหรอกครับ ชะตากรรมของเรามักจะตัดสินโดย collective attitude และ พฤติกรรมของเรามากกว่า จงตักตวง เสพย์ ดูดซึม ย่อย สิ่งที่น้องเข้ามาเรียน เข้ามาฝึก และคาดหวังจะเก็บเอาไปใช้ ให้ได้เถิด เวลาเรียนที่มีอยู่นั้นมันน้อยนิด และเวลาที่เราใช้ไป ไม่ว่าจะเป็นทำ หรือ ไม่ทำ มันค่อยๆเพาะกลายเป็นบุคลิก เป็นรูปแบบของความคิด ของวิจารณญาณไปทีละน้อย

คำถามของน้องที่ว่า performance ของกลุ่มเป็นยังไง ผมว่าคนที่ qualified ที่สุดที่น่าจะตอบคำถามนี้ได้คือตัวพวกน้องเอง จงมีศรัทธาและคงความสามารถในการ self assessment ได้ ทำการ self appraisal ได้ เราก็เป็นคนที่มีศักยภาพไม่แพ้ใครเหมือนกัน ตอบผมสอบ Ph.D. นั้น supervisor ผมสอนสั้นๆว่า จงเข้าไปสอบโดยความคิดที่ว่า ในเรื่องที่เรา focus ค้นคว้าอยู่ 4-5 ปีนี้ ไม่มีใครอีกแล้วที่จะรู้ดีไปกว่าเรา รวมทั้ง examiner ด้วย มิฉะนั้นจะเป็นการดูถูกตนเอง หรือพูดในนัยกลับก็คือ เมือเราได้ทุ่มเทอะไรเข้าไปจริงๆจังๆ ให้ตระหนักถึงคุณค่าของผลงาน ซึ่งคือตัวเราเองให้ได้ มี self-respect ต่อ "งาน" ทีเราได้ทำให้ได้ อย่าต้องรอให้คนอื่นมา approve

Self respect เป็นจุดเริ่มต้นของ maturation เป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นอิสระ เป็นไทต่อตนเอง มี self reliance เราจะไม่เป็นเหยื่อของลัทธิเอาอย่าง เหยื่อของกระแสอะไรที่เราวิเคราะห์แล้วไม่เห็นด้วยโดยง่าย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-14 , Time : 21:50:18 , From IP : 203.107.193.96

ความคิดเห็นที่ : 59


   อาจารย์ครับถ้าเปลี่ยน scenario ยาก แล้วถ้าเทียบ out come จากคุณภาพที่ดีขึ้นของ นศพ.จากการที่มี นศพ.ที่ขยันค้นคว้ามากขึ้น เพราะแน่นอนล่ะการอ่านหนังสือข้างนอกอ่านสิบใช้ได้แค่ สาม แต่ได้กำไรสมองถึงเก้า นั่นหมายถึงถ้าอ่านชีทพี่ ก็อาจจะได้แค่สามตามพีบีแอล แล้วอีกเก้าที่เขาควรมี พึงมีล่ะครับ สงสารคนไทยเถอะครับ เพื่อหมอขยันๆที่จะมีเพิ่มขึ้นอีกหลายคน ผมขอร้อง

Posted by : i will go pataya , Date : 2005-12-14 , Time : 23:12:27 , From IP : 172.29.4.191

ความคิดเห็นที่ : 60


   ขออีกเรื่องนะครับ เรื่องคะแนนพีบีแอลผมเสนอให้มีกล้องวงจรปิดเพื่อ recheck การให้คะแนนของ fa และการประเมิณโดยคณะกรรมการกลางอีกครั้งครับ

Posted by : i will go pataya , Date : 2005-12-14 , Time : 23:14:49 , From IP : 172.29.4.191

ความคิดเห็นที่ : 61


   ขอบคุณมากนะครับ อาจารย์ทั้งสองท่าน
อาจารย์วิเคราะห์ได้ถูกแล้วครับเกี่ยวกับเรื่องราวที่ผมเผชิญ
แต่ตอนนี้ ผมคิดว่ามันเป็นประสบการณ์มีค่า ที่สอนให้ผมรู้จักเจ็บกับสิ่งที่ไม่เคยเจอ ให้รู้จักเผชิญและแก้ปัญหาที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น
รู้จักเผื่อความคาดหวังไว้ 50/50 ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่เรามั่นใจแค่ไหนก็ตาม
ถึงมันจะเป็นประสบการณ์ที่ไม่น่าจดจำซักเท่าไหร่ แต่ผมก็ชอบ PBL นะครับ



Posted by : OneInDaUniverse , Date : 2005-12-15 , Time : 05:24:40 , From IP : 172.29.4.254

ความคิดเห็นที่ : 62


   เรื่องโพยนี่มีการอภิปรายมาหลายครั้งแล้วเหมือนกัน ทั้งข้อดี ข้อเสีย และอุปสรรค

ในขณะที่ผมเข้าใจเหมือนกันว่าถ้ามีโพย มันก็อยากจะใช้ เพราะมันง่สย สะดวก ใช้เวลาน้อย ฯลฯ แต่ตรงนี้มันเป็นอุปสรรคอย่างไรต่อสิ่งที่คุณ I will go pataya ต้องการ, i.e. จากคุณภาพที่ดีขึ้นของ นศพ.จากการที่มี นศพ.ที่ขยันค้นคว้ามากขึ้น ล่ะครับ? ผมเข้าใจว่าการที่ นศพ.จะขยันไปค้นคว้าเอง หรือจะอ่านจาก sheet ที่มีเท่านั้น เป็น free will และเป็น voluntory ซะอีก ไม่ใช้เป็นเพราะ "จำเป็นต้องขยัน" และ "กำไรสมอง" นั้นตกอยู่กับใครล่ะครับ ถ้าไม่ใช่ตัวนักศึกษาเอง ถ้ามีหนังสือดีมีน้อยวางขายในเมืองหาดใหญ่ เราจะตั้ง condition หรือไม่ว่าจะซื้อเมื่อมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้เท่านั้น หรือเราควรจะรีบตีรถไปเข้าคิวซื้อเพราะมันน่าจะทำ?

ทีวีวงจรปิดเคยเสนอไปแล้วครับ ยังไม่โดนใจกรรมการ และต้องใช้ resource ทั้งคนทั้งเวลาอีกเยอะ (x2 เท่าของเวลาปกติ นั้นคือมีคนมาดู video ที่ว่าอีก 6 ชั่วโมง extra) เมื่อเปรียบเทียบกับการฝึก ปรับ อบรม เพื่อให้ standard facilitator improved ขึ้น อย่างหลังนี่อาจจะคุ้มกว่า

คุณ OneinDaUniverse คิดดีแล้วครับ เราปรับเอาอุปสรรคมาเป็นโอกาสเรียนรู้ นั่นเป็นการเผชิญหน้าปัญหาที่ทำให้เราแกร่งขึ้น เข้มแข็งขึ้นทุกครั้งที่มีปัญหา ใน model coping mechanism เราก็ขะ up มาตรฐานการเผชิยปัญหาให้ดีขึ้นๆไปเรื่อยๆ สิ่งที่จะได้นั้น ตอนนี้มันมองไม่เห็นหรอกครับ แต่อีกหน่อยเวลาเราโตขึ้น มีความรับผิดชอบอะไรๆมากขึ้น performance มันจะแยกคนตรงความสามารถในการ "เผชิญ" ปัญหา มากกว่าความสามารถตอนไม่มีปัญหาอะไรเลย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-12-15 , Time : 09:40:30 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 63


   เลือกจดจำในมุมที่มันดีๆของเรื่องราวที่เกิดขึ้นในกลุ่มพีบีเอลของพวกเราสิ จะได้ไม่เจ็บปวดมากนัก
ส่วนเรื่องการประเมินในเรื่องเดียวกันในมุมที่ต่างกันนั้น คงบอกกันยากว่าใครถูกใครผิด ใครประเมินแม่นหรือไม่แม่นกว่ากัน คงต้องปล่อยให้เป็นattitudeของปัจเจกบุคคล ซึ่งการจะพิสูจน์ว่าใครผิดถูกมันก็คงยากเพราะมองกันคนละมุม
แต่สิ่งสำคัญ น้องต้องหนักแน่น มี strong self นะ และอดทนรอ รอ รอ ให้ถึงเวลาที่เหมาะสม น้องจะพิสูจน์ตัวเองและตอบตัวเองได้ในอนาคต ว่าสิ่งที่น้องมองตัวเองในตอนนี้มันประเมินตนเองแม่นหรือไม่ได้ ซึ่งพี่ว่าก็ตอนน้องเป็นหมอเต็มตัวที่เติบโตกว่านี้ คงรอไหวนะ แล้วจะเป็นกำลังใจให้


Posted by : aries , Date : 2005-12-15 , Time : 09:50:05 , From IP : 172.29.7.155

ความคิดเห็นที่ : 64


   สุขภาพดีไม่มีขายอยากได้ต้องอ่าน nelson

Posted by : i will go pataya , Date : 2005-12-18 , Time : 10:02:05 , From IP : 172.29.4.167

ความคิดเห็นที่ : 65


   ตอนนี้ น่าจะได้ถึงเวลาของพวกน้องๆแล้วหรือเปล่าที่จะออกไปทำงานที่เป็นจิตวิญาณของพวกน้องหน่ะ... ช่วยภัยน้ำท่วมงัย....ลองวางเรื่องการเรียน คะแนน ความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมเอาไว้ก่อน แล้วลงมือสู่สนามทดสอบชีวิตจริงของน้องได้เลย
ความปิติ ความสุขใจที่ไม่มีขาย มันรอน้องอยู่.... ลองดูนะ


Posted by : aries , Date : 2005-12-19 , Time : 18:38:34 , From IP : 172.29.7.210

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.026 seconds. <<<<<