ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

ไม่เชื่อถือผู้บริหาร อบต.จะทำได้ทุกคน


   ทางด้าน นายสถาพร กอไพศาล อบต. วังเย็น อ.เมืองนครปฐม ให้สัมภาษณ์ถึงการ ถ่ายโอนการศึกษาให้ท้องถิ่นดูแลว่า เรื่องนี้อยากขอให้เอาประโยชน์ของนักเรียนมาเป็นที่ตั้ง หากจะคัดค้านทำไมเพิ่งมาทำตอนนี้ ความจริงกระบวนการคัดค้านผ่านมานานแล้วตั้งแต่กฎหมายกระจายอำนาจ หากจะล้มตอนนี้ก็ต้องไปเริ่มใหม่ทั้งหมด เพราะกฎหมายผ่านสภามาทุกขั้นตอน ส่วนเรื่องไม่ไว้ใจผู้บริหาร อบต.และการทำงานไม่น่าไว้ใจ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องเลือกตั้งเข้ามาใหม่ แต่ระดับ ผอ.โรงเรียนใครจะไปเปลี่ยนแปลงได้ ตนอยากถามว่ากระทรวงศึกษาฯถูกมองเป็นแดนสนธยามายาวนาน ถ้าใครเข้าไปแตะก็จะมีปัญหา ถ้าประชาชนไม่เข้าไปมีส่วนร่วม ผู้บริหารยังเป็นคนเก่าที่ใครแตะไม่ได้ แล้วเวลาตั้งแต่เช้ายันเย็นที่ต้องเอาลูกไปไว้ที่โรงเรียน จะไว้ใจผู้บริหารของโรงเรียนได้เพียงไร (บางคนไม่ได้จบปริญญาตรี)


Posted by : คนไทย , Date : 2005-11-07 , Time : 16:27:13 , From IP : 172.29.3.90

ความคิดเห็นที่ : 1


   แต่บางโรงเรียนก็ห่วยจริงๆ ซึงถ้าชุมชนได้บริหารเองอาจะดีก็ได้นะครับ


Posted by : มองต่างมุม , Date : 2005-11-08 , Time : 00:29:47 , From IP : 172.29.7.143

ความคิดเห็นที่ : 2


   Concept ของการ Decentralization ไม่ใช่เรื่องใหม่ (หลักการว่าด้วยการกระจายอำนาจออกจากส่วนกลาง) และเหมือนๆกับหลักการทุกชนิดก็คือ มีทั้งข้อดี ข้อเสีย และเงื่อนไข ในการที่จะทำให้สำเร็จ

ข้อด้อยของ Centralization
ทำไมถึง "ควร" จะเปลี่ยนแปลง? ระบบขั้นตอนที่ทำให้การ "รวมอำนาจ" เกือบๆจะเหมือนกับโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ก็คือ ความอืดอาดยืดยาดของระบบ beaurocracy ที่ต้องมี "สายลำดับงาน" มากมาย ระบบข้าราชการบริหารแต่ดั้งเดิมเป็น antithesis ของระบบบริหารธุรกิจเอกชนหลายด้าน เช่น one-stop service นี่ก็เห็นชัดสุด ระบบข้าราชการจะไม่สามารถคิดออกได้เลยว่าทำไมมันจะทำได้สะดวก ขั้นตอนน้อยที่สุด (หรือไม่มีเลย) เพราะการทำงานดั้งเดิมนั้น ขี้หมูราขี้หมาแห้งหัวหน้าหน่วยงานทุกลำดับชั้นต้องรับทราบเรื่องราวความเป็นไปโดยละเอียดเพื่ออนุมัติ หนังสือเอกสารจะเดินทางจากโต๊ะหนึ่งไปอีกโต๊ะหนึ่งเป็นสิบๆขั้นก่อนที่จะเดินทางกลับมา (ทางเดิม) ที่บางทีอาจจะค้นพบว่าเรื่องที่ไม่อนุมัตินั้นหมดความจำเป็นไปแล้ว (หรือส่วนใหญ่จะเป็นสายเกินไปซะแล้วมากกว่า) กับอีกด้านหนึ่งก็คือ concept ที่เชื่อว่าส่วนกลาง "รู้ดีที่สุด" ว่าทุกๆที่มีแหล่งปัจจัยแค่ไหน เท่าไหร่ อย่างไร และ "ต้องการ" อะไรมากที่สุดสำหรับท้องที่ ท้องถิ่นนั้นๆ รัฐบาลจะเป็นคนจัดแจง แบ่งทุน และ "พี่ทำให้ น้องอยู่เฉยๆ เดี๋ยวดีเอง"

เงื่อนไขที่จำเป็นของ Decentralization
การกระจายอำนาจสู่ท้องที่ที่จะ overcome อุปสรรคหลักๆของความเชื่องช้า ไร้สมรรถภาพของ redtape หรือ beaurocracy แบบข้างบนดูจะเป็นวิธีในอุดมคติ แต่ต้องแน่ใจว่ามีเงื่อนไขที่จำเป็นครบซะก่อน ได้แก่
@ ชุมชนเข้มแข็ง ระบบ local government เป็นนักบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และ มีคุณธรรม
@ ชุมชนรู้จักตนเอง ถ้าไม่เชื่อส่วนกลางว่ารู้ดีสุด ก็ต้องทดแทนด้วยการที่ชุมชนนั้นๆ รู้ดีสุดว่าเราต้องการอะไร แค่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่
@ ระบบประเมิน และแผนสำรองจากส่วนกลางเป็นแผน "ประกันภัย" ว่าจะไม่ถูกลอยแพหรือ "ตายเดี่ยว" เกิดขึ้น การกระจาอำนาจเป็นแบบ free franchise ที่ไม่ถึงกับตัดขาดจากระบบแม่ แต่เป็นคล้ายๆลูกที่โตแล้ว มีปีกกล้าขาแข็ง ที่บางครั้งก็ต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแล ตรวจสอบได้จากส่วนกลางเป็นเนืองๆ

ข้อด้อยของ Decentralization
@ "ถ้า" ทำไปโดยขาดเงื่อนไขข้างบน จะเป็น major disaster ได้ง่ายๆ และล่มเร็วกว่าระบบรวมอำนาจมาก จริงๆแล้ว "ข้อดี" ของระบบ beaurocracy ก็คือ "เป็นระบบที่มีความยับยั้งชั่งใจ" หลายขั้นตอน ขะลอการตัดสินใจที่เสี่ยงสูงไว้ได้ โอกาสที่คนไม่กี่คน ruin ทั้งระบบจะยากกว่าการที่ flexible สุดขีดที่คนไม่กี่คน เซ็นไม่กี่แกร็ก งบประมาณก็ผลาญไปเกลี้ยงอะไรแบบนั้น
@ "ถ้า" ชุมชนไม่ mature ไม่สามารถทำการ "วิเคราะห์ตนเอง" ว่าเราคือใคร ต้องการอะไร มีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร และคนในชุมชน "ต้องการ" อะไรกันแน่ ก็ท่ากับไม่ได้แก้ประเด็นที่ว่าการรวมอำนาจไม่ได้ optimize resources ไป ก็เหมือนกับเอามือสมัครเล่นมาบริหาร โยนเงินให้ก้อนนึง มันก้มันล่ะซิขอรับท่าน คล้ายๆเตะหมูเข้าปากหมา ประเด็นนี้รู้สึกจะเป็นที่น่าเป็นห่วงกันเยอะ จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือภาควิเคราะห์ต่างๆ

จะเห็นว่า "หลักการ" นั้นมันดีหมดแหละครับ มันอยู่ที่ "ตอนนำไปใช้" มากกว่า ว่าเราทำตาม step ตามขั้นตอนที่หลักการนั้นๆมันต้องมีเงื่อนไขครบก่อนรึเปล่า ก็เหมือนๆกับการเรียนแบบ PBL เรานี่แหละ เมื่อไหร่ก็ตามที่มีจุดโหว่ ผมว่าเกือบร้อยทั้งร้อยเท่าที่ผ่านมา ประเด็นสาเหตุหลักอยู่ตรงที่ "เงงื่อนไขในการนำไปใช้" นั้น มันไม่ถึง specification หรือถูกนำไปใช้อย่างผิดๆบ้าง ตัวผู้เรียนในที่นี้ก็เหมือนกับ local government หรือ อบต. แหละครับ ถ้าเป็น good governance ที่รู้ตนเอง บริหารจัดการเป็น ทราบว่าตนเองต้องการอะไร มันจะดีกว่า centralization หรือนัยหนึ่ง teacher-centred style อย่างมาก แต่ถ้าตัว local government หรือคนเรียน ไม่สามารถบริหารจัดการได้ ไม่เข้าใจตนเอง ไม่สามารถวิเคราะห์ความต้องการของตนเองได้จริงๆ มันก็ล่มเพราะสาเหตุเดียวกันนี่แหละ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-11-08 , Time : 02:57:29 , From IP : 58.147.51.108

ความคิดเห็นที่ : 3


   อบต.บางคนยังอ่านเกียร์ 4low 4 high บนรถfour wheel ไม่เปนเลย นับประสาอะไร ไม่อยากพูด คนคิดโปรเจคนี้ใช้ mesenteric ganglion ไหนคิด ฟะ

Posted by : i will go pataya , Date : 2005-11-09 , Time : 22:59:59 , From IP : 172.29.4.241

ความคิดเห็นที่ : 4


   ผมเคยเห็น professor ทาง immunology บางคนเปลี่ยนฟิวส์ยังไม่เป็นเลย มี liver transplant surgeon ที่เคมบริดจ์ไม่รู้จัก magneto-optical drive แต่รู้สึกว่าไม่มีคนสงสัยว่าท่านทั้งหลายจะสามารถทำงาน "ของท่าน" ได้หรือไม่นะครับ อาจจะเป็นเพราะความสามารถบางด้านมันอาจจะไม่ได้ทำให้เก่งหมดทุกด้านได้หรือไม่ครับ หรือการอ่านเกียร4low 4 high นั้นอาจจะไม่ใช่ minimal requirement ของศึกษาศาสตร์ก็อาจจะเป็นได้ (รึเปล่า?)



Posted by : Phoenix , Date : 2005-11-10 , Time : 08:50:03 , From IP : 172.29.3.163

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<