หาดใหญ่/22พ.ย.อย่าลื้ม-อย่าลืม!! ( copy from www.songkhlatoday.com )
หาดใหญ่/22พ.ย.อย่าลื้ม-อย่าลืม!!
โลกกำลังเผชิญวิกฤติภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นพายุร้าย แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์ น้ำท่วม ฯลฯ (แม้แต่ภัยสงคราม ก็เป็นวิธีการที่ธรรมชาติใช้ในการควบคุมมนุษย์อีกรูปแบบหนึ่ง)
ใครจะไปนึกว่าแค่ปี พ.ศ.2548 ปีนี้ปีเดียว น้ำท่วมหนักที่เชียงใหม่ ถึง 3 รอบ การไม่ตระหนก แต่ก็ไม่ประมาท เป็นคำตอบที่พอมีให้เราเลือก
คนหาดใหญ่เจอวิกฤติน้ำท่วมหนักครั้งล่าสุดระหว่าง 21-23 พฤศจิกายน 2543 ถัดจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน 2544 ต่างก็ตกอยู่ในอาการขวัญผวา กลัวเหตุการณ์จะซ้ำรอยเดิม แต่แล้วก็ผ่านมาได้
ในปีถัดมา เมื่อยังไม่มีน้ำท่วมใหญ่กลับมาอีก และปีถัดมาก็ยังไม่มี ปฏิกริยาความเตรียมพร้อมที่ขึ้นสูง ก็ค่อยลดลง จนเหลือเท่าก่อนปี 2543
เดือนพฤศจิกายนนี้ จะครบรอบปีที่ 5 ของเหตุน้ำท่วมหาดใหญ่ ครั้งล่าสุด น่าอุ่นใจอยู่อย่างหนึ่ง ที่มีระบบคลองระบายน้ำ (ซึ่งยังไม่มีเหตุการณ์จริงให้ได้ทดสอบ...และอย่ามีนั่นแหละประเสริฐแล้ว) และหน่วยราชการก็ยังเตรียมการบางอย่างให้เห็น เช่นเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ขึ้นป้ายศูนย์อพยพกรณีฉุกเฉินแล้ว เป็นต้น
การไม่ประมาท เป็นคาถาสู้ภัยธรรมชาติ วิธีอื่นยังไม่มี (แม้ประเทศพัฒนาแล้วอย่างอเมริกา ก็ไม่เห็นว่า จะแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีล้ำยุคได้จริงแบบในหนังฮอลลีวู๊ดสักหน่อย)
อย่าลืมว่าน้ำท่วมหาดใหญ่ ในรอบ200 ปี ตรงกับ 22 พฤศจิกายน 4ครั้ง นอกจากนั้นก็อยู่ ในช่วงเดือนใกล้เคียง (อ้างอิง-เอกสารการสัมมนาเรื่องอุทกภัยภาคใต้โศกนาฎกรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เล่ม 1 โดยสมาคมอนุรักษ์ศิลปและสิ่งแวดล้อม 18-19 มกราคม 2532 ที่กรุงเทพฯ )
พ.ศ.2376 ตรงกับสมัย ร.3 เกิดน้ำท่วมใหญ่ พระยาสงขลารีบเข้ากรุงเทพฯ นำความกราบบังคมทูน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท และขอรับพระราชทานซื้อข้าวสารออกมาเจือจานราษฎรในเมืองสงขลา 1,000 เกวียน
พ.ศ.2505 ( 28-30 ต.ค.) พายุโหม ฝนตกหนัก พายุโซนร้อนจมเรือประมง คนตายกันเป็นร้อย
พ.ศ. 2509 (7 ธ.ค.) น้ำท่วมหาดใหญ่เสียหายเป็นล้านๆบาท ทางรถไฟขาด ถนนจมมิดต้องใช้เรือยนต์วิ่งรับคน ตลาดทุกแห่งปิดตัว ร้านค้าน้ำท่วม สนวยามจม ในเมืองน้ำสูง 1.50 เมตร คนนับหมื่น ในเมืองขาดอาหาร
พ.ศ. 2512 (1 ธ.ค.) ทางหาดใหญ่-สงขลา น้ำท่วม 9 ตอน ถนนสายหาดใหญ่-นาทวี-สะเดา ท่วมหลายตอน ท่วมสนามบิน บ้านเรือนรอบเมืองหาดใหญ่จมน้ำ
พ.ศ.2516 (10-12 ธ.ค.) ฝนตกหนักกระหน่ำ เป็นเวลา 4 วัน น้ำบ่าเข้าท่วมถนนสายต่างๆในหาดใหญ่ การจราจรหยุดชะงัก
พ.ศ.2517 (22 พ.ย.) พายุและฝน กระหน่ำ 5 วัน รอบอำเภอหาดใหญ่ท่วม น้ำสูงบนถนนวัดได้ 50 ซม.
พ.ศ. 2518 ( 2 ครั้ง 5-17 ม.ค. และ ปลายปี 6-9 พ.ย.) น้ำบ่าเข้าท่วมหาดใหญ่ การคมนาคมถูกตัดขาด การค้าหยุดชะงักหมด ท่วมถนนเพชรเกษมสูง 1.50 เมตร หน้าค่ายเสนาณรงค์สูงถึงเอว รั้วค่ายถูกน้ำพัดพังยาว 200 เมตร ร้านค้าขนของหนีน้ำกันอลหม่าน หังน้ำลดเกิดอหิวาต์ระบาดคนตายและป่วยอีกระลอก
พ.ศ. 2519 (22 พ.ย.) ฝนตกติดต่อ 7 วัน น้ำท่วมในเขตเทศบาลสูง 1.50 เมตร
พ.ศ.2524 (4 ธ.ค.) ระดับน้ำในเมืองหาดใหญ่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สวนยางหลายแห่งอยู่ใต้น้ำ
พ.ศ. 2527 ( 5 ธ.ค.) ฝนตกหนักมาก มีน้ำท่วมบางแห่ง ถนนสายเล็กผ่านไม่ได้
พ.ศ.2531 (22 พ.ย. ) ระดับน้ำท่วมในหาดใหญ่สูง 1-2 เมตร เสียหายทางเศรษฐกิจ 2,000 บาท
พ.ศ.2543 (22 พ.ย. ) ระดับน้ำท่วม 2-3 เมตร เสียหาย มากว่าหมื่นล้านบาท
เอามาเล่า ไม่ใช่การทำนาย แต่เป็นสถิติ ต้องไตร่ตรองเอาเอง ความลับบางอย่างเป็นเรื่องของธรรมชาติที่มนุษย์ไม่อาจล่วงรู้ได้ แต่มีคนโอ้อวดว่ารู้ก็เท่านั้นเอง (ทั้งที่เราเป็นเพียงมนุษย์ตัวจ้อย)
ผ่านมาแค่ 5 ปีหลายคนอาจลืมไปแล้ว ว่าเคยเกิดอะไรขึ้นในเมืองหาดใหญ่ ลองทบทวนความจำกันดูหน่อยปะไร ใช่แคะรอยแผลให้เจ็บปวดแต่เพื่อให้ตระหนักต่อคงามไม่ประมาท
คืนวันที่ 21 พ.ย. 2543 น้ำที่ไหลบ่าเข้าท่วมอำเภอหาดใหญ่ อย่างฉับพลันทำให้เกิดความสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตามมาอย่างใหญ่หลวง หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้น
สังเวย - ผู้เสียชีวิตรายแรก ใครยังจำเขาได้บ้าง นฤพนธ์ ปิ่นมณี หรือหยอย นักพัฒนาเอกชนหนุ่ม ถูกไฟฟ้าดูด ที่ถนนช่องเขาทางไป มอ. ระหว่างที่เดินลุยน้ำจะไปช่วยเพื่อนที่ หาดใหญ่ใน
คนเลว - คนกลุ่มหนึ่งทุบกระจกห้างโวค เซเว่นอีเลเว่น บิ๊กซี และแอมเวย์ ขนสินค้าออกไปเกลี้ยง ส่วนพ่อค้าแม่ค้าขูดรีดขายมาม่าซองละ 100 บาท มิจฉาชีพทุกรูปแบบออกซ้ำเติมคนที่เผชิญชะตากรรมน้ำท่วม คนเจ้าเล่ห์อำพรางตัวรับของแจกน้ำท่วมหลายรอบ ส่วนคนที่แอบอ้างว่าจะรับซื้ออาหารให้คนติดน้ำเชิดเงินหนี
ผีโผล่ - มีความสับสนเรื่องจำนวนคนตายมาจนถึงวันนี้ แต่ที่แน่ๆ หลังน้ำลด มีการพบศพอยั่ตามที่ต่างๆอย่างน่าสยดสยอง ศพที่เก็บได้ส่วนหนึ่งเอามาวางไว้ชั่วคราวที่ลานจอดรถจดของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กลิ่นเหม็นโชยไปไกล ยังมีข่าวลือเรื่องคนตายในลิฟท์ตามโรงแรมชื่อดังหลายแห่ง บางแห่งพบว่าตายอยู่รถที่จอดค้างในชั้นใต้ดิน
ซวยซ้ำ - หญิงสาวคนหนึ่งโทรเข้าไปยังสถานีวิทยุ มอ.ว่า เฮลิคอปเตอร์ ที่ไปหย่อนสิ่งของช่วยเหลือ ได้โยนพลาดไปลงหลังคาบ้าน ทั้งที่ไม่ได้ร้องขอทำให้หลังคาบ้านรั่วยิ่งสร้างปัญหาเพราะน้ำรั่วเข้าบ้าน อีกรายชายชราหนีน้ำไปอยู่บนหลังคาบ้าน มดคันไฟก็หนีน้ไปอยู่ที่เดียวกัน ผลสุดท้ายแกต้องเข้ารักษาตัวด้วยอาการมดคันไฟรุมกัดอย่างรุนแรง
คลอดบนหลังคา - น้ำท่วมสูงเป็นอุปสรรคสำหรับหญิงท้องแก่ในการไปโรงพยาบาล และไม่มีใครไปใครไปช่วยได้ มีอย่างน้อย 2 ราย ที่คลอดบน โดยฟังวิธีการคลอด จากรายการวิทยุ ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะสื่อสารวิธีเดียวที่เหลืออยู่
สวท.สงขลา - กลายเป็นสถานีวิทยุ ที่มีบทบาท สำคัญในการสื่อสารช่วยเหลือประชาชน นักจัดรายการวิทยุทำงานติดต่อกันมากกว่า 24 ชั่วโมง บางครั้งได้รับแจ้งเรื่องเศร้า ก็พลอยร้องไห้ออกอากาศไปด้วย
ความอดอยาก - ร้านอาหารแห่งหนึ่งต้องขออาหารกินผ่านรายการวิทยุ แต่ บางคนโชคดี เพราะมีวัวลอยน้ำมา ก็ช่วยกันฆ่าช่วยกันแกง สิ่งลอยน้ำบางอย่างกินไม่ได้เช่นตู้ก๋วยเตี๋ยว ที่ไม่มีก๋วยเตี๋ยวติดมา.....
ฯลฯ
บันทึกของผู้คนบางคน
คุณมณทิพย์ (บันดาลสินค้าไม้ ถนนเพชรเกษม ) - บอกว่า ในเวลา 3 ทุ่ม ของคืน21 พ.ย. ยังปกติ น้ำจะเอ่อสามแยกคอหงส์ประมาณ 4-5 ทุ่ม น้ำเข้าบ้าน รถเทศบาลขนทรายมาแจกตอนเที่ยงคืน โทรศัพท์ไปถามที่หาดใหญ่ในยังไม่มีน้ำ กลางคืนน้ำไหลเข้าเมือง 6 โมงเช้า วันที่ 22 น้ำไหลออกไปทางสามแยก น้ำนิ่งอยู่ถึงเที่ยงวันที่ 22 ครึ่งน่อง ตี 2 วันที่ 23 น้ำสูง 0.9 เมตร ที่ในบ้าน บริเวณถนนระ
ดับ 1 เมตร ลดลงตอนกลางคืน เที่ยงคืนวันที่ 24 พ.ย.น้ำเริ่มลงช้าๆ ไหลไปทางสามแยกคอหงส์ตลอด ขาดน้ำดื่ม แต่มีน้ำฝนที่รองรับไว้ใช้ มีเรือแล่นผ่าน แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ
อาจารย์อัมพร (มอ.) - เล่าว่า คืน 21 พ.ย. ประมาณ 2 ทุ่มไปรับประทานอาหารที่ย่านศรีภูวนารถ ร้านไพลินสเต็ค มีฝนตกหนัก 5 ทุ่มกลับมาทางวัดฉื่อฉางเห็นรถตีกลับไม่สามารถไปได้ พยายามกลับทางด้านถนน 30 เมตร ไปทางช่องเขา ประมาณ ตี 1 ในเมืองยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ตี3 ครึ่งบริเวณไดอาน่าน้ำครึ่งน่อง น้ำจากหน้า มอ.ทะลักเข้ามา ตี 4 น้ำจากคลองเรียนแรงมาก ไฟฟ้ายังไม่ถูกตัด เริ่มตัดไฟแถวศรีภูวนารถ ระดับน้ำท่วมเอว บริเวณทุ่งเสาน้ำแรงมาก เกือบสว่างพบคนมาเลย์แถวสี่ยแกเซรามิก เดินกลับบริเวณคลองเรียน 2 น้ำลดลงถึงตาตุ่ม ที่ปั๊มเชลล์หน้าไปรษณีย์ ได้ของกินเล็กน้อย วันที่ 24พ.ย.ที่ในม อ. ไม่มีข้าวกิน ปอเต็กตึ้งออกมาช่วยเหลือ มีการช่วยเหลือจาก อบต.คลองแห, คอหงส์, บางกล่ำ วันหนึ่งอาหารเป็นหมื่นๆชุด
โฟกัสภาคใต้ฉบับ 19-23 พ.ย. 2544 เคยนำเสนอเรื่องราวของ ด.ญ.ชลธิชา
ซีวิไล หรือ "น้องน้ำ" ซึ่ง 24 พ.ย.นี้ เธอจะมีอายุครบ 5 ขวบ
สุพัตรา ผู้เป็นแม่ของน้องน้ำ ติดอยู่บนบ้านไม้ 2 ชั้น ริมคลองอู่ตะเภา บ้านบางหัก เลขที่ 37 ถนนสาครมงคล 2 ซอย 11ใน คืน 23 พ.ย.น้ำยังท่วมสูง เธอปวดท้องคลอดลูกคนแรก คืนนั้นต้องทนปวดเพราะไม่สามารถ ฝ่ากระแสน้ำที่เชี่ยวกรากไปไหน
เช้า 24 พฤศจิกายนเฉลิม ซีวิไล ผู้เป็นสามีออกไปหาเรือแจวมาได้ลำหนึ่งหลั
งจากพบเรือของทางราชการ 3-4 ลำ ต่างปฏิเสธอ้างว่าไม่มีน้ำมัน บางลำวิ่งผ่าน และแม้จะป่าวไปว่ายินดีจ้างเท่าไรก็ได้ ก็ไม่มีใครสนใจ
เรือแจวได้มาจากคนใจดีที่มาเยี่ยมญาติคนหนึ่ง เขาเกณฑ์พรรคพวกพี่น้อง 8
คนช่วยเดินลุยน้ำจูงเรือไปโรงพยาบาลหาดใหญ่ที่ฝากครรภ์ไว้ เดินทางมาระยะ
หนึ่งไม่สามารถไปต่อได้ ชาวบ้านโบกมือให้เฮลิคอปเตอร์มาช่วย แต่ไร้ผล
โชคดีมีเรือท้องแบนอีกลำหนึ่งอาสาจะพาไปต่อ แต่คนที่ช่วยเข็นเรือเหลือเพียง 4 คน
เพราะไปไม่ไหว
ถึงหัวสะพานลอยตรงข้ามสนามกีฬาจิระนคร ไม่สามารถไปต่อ เฉลิมอุ้มภรรยา วิ่งขึ้นสะพานมาลงอีกฝั่งหนึ่ง ทั้งไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อ โชคยังเข้าข้างอีกครั้ง มีเรือนาวิกโยทินผ่านมานำตัวส่งโรงพยาบาลหาดใหญ่ ซึ่งใช้เวลาตั้งแต่ออกเดินทาง 6 ชั่วโมงกว่า และ คนที่ช่วยนำตัวส่งถึงจุดสุดท้ายเหลือ 2 คนที่เหลือไม่สามารถทนเดินทางเพราะอ่อนล้า แต่โรงพยาบาลหาดใหญ่ก็น้ำท่วม สุพัตราถูกส่งฮ.มาคลอดที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เธอรอถึงห้าโมงเย็นก่อนหมอจะตัดสินใจผ่าท้องคลอด
ภาวนาว่าอย่าให้ประวัติศาสตร์น้ำท่วมซ้ำรอยที่หาดใหญ่ แต่ถ้ามีเราก็ต้องช่วยกันรับมืออย่างไม่หวั่นไหว
Posted by : superman , Date : 2005-10-30 , Time : 13:43:12 , From IP : 172.29.1.167
|