ความคิดเห็นทั้งหมด : 30

ระบบ SDL ยิ่งเรียนยิ่ง........หรือเปล่า


   ระบบ SDL
ยิ่งเรียนยิ่งโง่
ใช้เวลามาก แต่ไม่ค่อยรู้อะไร
รู้แล้วๆๆๆๆๆ
ว่าอยากให้รู้จักอ่านเอง ค้นหาเอง
แต่คนวางระบบ ก็ควรจะรู้ไว้ด้วยว่ามันก็ยากเหมือนกันนะ
กับการที่จะให้รู้อะไรๆได้เอง ว่าต้องอ่านเนื้อหาอะไรแค่ไหน ถึงจะพอ
ยังไม่เคยทำงาน ไม่มีประสบการณ์ ไม่รู้ว่าเนื้อหาอะไรสำคัญ+จำเป็น

ถ้าต้องการรู้อะไรสักเรื่อง เช่น dyspepsia
ก็ต้องเริ่มต้นจาก
1. หาหนังสือ ทั้งไทย และ text(ถ้าหาทัน)
2. อ่านๆๆๆๆๆ มันทุกเล่มที่หามาได้
3. แล้วก็ค่อยมารวบรวมว่า อะไรที่เราควรเน้น ควรต้องรู้
บางทีอ่านไปแล้ว ก็จับประเด็นไม่ได้ด้วยซ้ำว่า อะไรจำเป็น อ่านมันดะไปหมด

กว่าจะรวบรวมความคิดเรื่อง dyspepsia ได้เนี่ยะ
ใช้เวลาไปเท่าไหร่ แล้ว

แล้วเรื่องอื่นๆอีกละ เป็นกระบุง เพราะอาจารย์ท่านไหนๆก็บอกว่า น้องก็ไปหาอ่านเอาเองแล้วกันนะ มีเยอะแยะไป (เยอะจนมึนไปหมดแล้ว)
ด้วยเวลาที่มีก็จำกัด


ยิ่งเรียนยิ่งโง่
เบื่อ
ค่าเรียนก็แพงแสนแพง
ไม่เชื่อแล้ว กับคำว่า
เรียนแพทย์สถาบันไหนๆก็เหมือนกัน


Posted by : ... , Date : 2005-10-25 , Time : 10:57:50 , From IP : 172.29.4.90

ความคิดเห็นที่ : 1


   อ้อ...
แล้ว evidence base เนี๊ยะ
ให้ทำไปทำไม
รู้เหมือนกันว่าเจตนาดี อยากให้มีประสบการณ์ในด้านนี้บ้าง

แต่ถามหน่อยเถอะ
ไปค้นมาแล้ว
นศพ.ที่คุณปั้นมากับมือเนี๊ยะ
มี Basic science ดีพอที่จะไปตัดสินได้มั้ย
ว่างานวิจัยพวกนั้น มันพูดถูกหรือผิด มันเชื่อถือได้หรือเปล่า

evidence base ทำให้......
เสียเวลานศพ.
เพิ่มงานเอกสารให้เจ้าหน้าที่
เปลืองกระดาษ
เปลืองเงินนศพ. ค่าprintงานวิจัย(ที่อ่านไม่รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง)
........
.......
......
...


เบื่อๆๆๆๆๆๆๆๆๆ



Posted by : ... , Date : 2005-10-25 , Time : 11:05:43 , From IP : 172.29.4.90

ความคิดเห็นที่ : 2


   1. SDL ไม่ใช่ระบบครับ ไม่ว่าเรียน "ระบบไหน" การมี self-directed learning เป็นส่วนสำคัญแสดงถึงความสนใจ ความรับผิดชอบตนเอง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้ที่มีการศึกษา ผู้ที่ mature แล้ว ในระบบ lecture เก่า นักศึกษาก็ต้องมาทำ SDL โดยการทบทวนค้นคว้าอ่านซ้ำเพิ่มเติมเหมือนกัน

ที่ว่าเรียนสถาบันไหนก็เหมือนกันนั้น อีกด้านหนึ่งก็คือถ้าไม่สามารถมี discipline ต่อตนเอง ทำ self-directed learning ได้ ก็คงจะล้มเหลวในชีวิตเหมือนกันทุกระบบมากกว่าครับ

2. ไม่มีใคร "ปั้น" นศพ.ได้ครับ มีแต่นักเรียนแพทย์ ที่ต้องการเป็นแพทย์ เข้ามาใช้ facility ของมหาวิทยาลัยเพื่อเรียนรู้และประสบความสำเร็จด้วยตนเอง นักศึกษาเป็นคน "ปั้น" ตนเอง จะล้มเหลวหรือจะสำเร็จนั้นมันอยู่ที่ตนเอง บัณฑิตถึงมีเหตุผลอันควรค่าแก่ความภาคภูมิใจตอนได้รับปริญญาไงล่ะครับ ว่านี่คือผลิตผลผลิตภัณฑ์จากน้ำพักน้ำแรงของตนเอง มหาวิทยาลัย อาจารย์ เพื่อนๆ และผู้ร่วมงานเป็น "บริบท" ที่ทำให้เราเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์แบบจากการที่สามารถทำงานเป็นทีม รู้จักอยู่ในสังคมประพฤติตามกฏระเบียบและงานที่ได้รับมอบหมายในชุมชนเล็กๆก่อนที่จะออกไปสู่สังคมใหญ่ และกฏหมายบ้านเมืองเป็นกรอบแทนกฏระเบียบ

การวิเคราะห์งานวิจัยว่าถูกผิดนั้นเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกการใช้เหตุใช้ผล เพื่อที่ว่าบัณฑิตจบได้จะได้สามารถวิเคราะหฺได้ว่าควรจะเชื่อโฆษณาอะไรก่อนจะซื้อสินค้า ควรจะ reference ไทยรัฐ เดลินิวส์ หรือว่า journal หรือว่าทำอย่างไรก่อนที่จะเชื่อ

หลังจาก "วิเคราะห์" ทั้งหมดแล้ว หากค้นพบว่านี่ไม่มช่ระบบที่เหมาะสมกับตัวเราเอง ก้ยังมีเวลาที่จะตั้งต้นใหม่ ลาออกไปเพื่อหาที่ที่เหมาะสมกับตัวเรา จะได้ไม่เสียเวลาอันมีค่าของเราไป ดีกว่าบ่นเฉยๆครับ ชีวิตมันจะ miserable ไปอีกนานมาก



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-25 , Time : 11:19:32 , From IP : 203.107.196.39

ความคิดเห็นที่ : 3


   แรกๆ ที่มีการใช้การเรียนแบบ self study ก้เป็นแบบนี้ทุกคณะ ทุกมหาลัยนั่นแหละ ผมเองกำลังมองว่า เมืองไทยยังไม่พร้อมน่ะ กับการเรียนแบบนี้ ถ้าเป็นแพทย์ เฉพาะทาง หรือ นักศึกษาป.โท ก็ว่าไปอย่างที่จะต้องเรียนแบบนี้ แต่ ป.ตรี ผมว่ายังไงก็ต้องมีวิชาที่สอนแบบเก่าๆ อยู่น่ะ ไม่รู้มีใครเห็นด้วยหรือเปล่าครับ

Posted by : สมพร , E-mail : (sompon@hotmail.com) ,
Date : 2005-10-25 , Time : 11:42:39 , From IP : 192.168.60.147


ความคิดเห็นที่ : 4


   เห็นด้วยกับเรื่อง evidence baseไม่รู้จะทำไปเพื่ออะไร น่าเบื่อมากกกก

ถ้าไม่บังคับ แล้วให้ทำด้วยความสมัครใจล่ะก็ ...... อาจจะมีแค่ชื่อโครงการก็ได้ แต่ไม่มีผลงานของเด็กส่ง

ลองพิจารณาดูล่ะกันนะคับ เพราะเท่าที่คุยกับเพื่อนๆมา มีแต่คนทำส่งให้มันเสร็จๆไปก็เท่านั้น deadline วันนี้ตอนเที่ยง พึ่งจะเริ่มทำกันตอน 10.00 เรียกว่าอาจจะไม่ success เท่าไหร่มั้งคับ


Posted by : เครียดจัง , Date : 2005-10-25 , Time : 12:05:12 , From IP : 172.29.4.241

ความคิดเห็นที่ : 5


    ผมไม่ทราบว่าระบบตอนนี้เป็นยังไง ครับ
แต่ผมว่าการทำ SDL เป็นประโยชน์น่ะ
แต่ต้อง balance ก้นให้ดี ระหว่าง lecture and SDL


Posted by : คนเกือบแก่ , Date : 2005-10-25 , Time : 13:15:49 , From IP : 172.29.3.132

ความคิดเห็นที่ : 6


   ยิ่งเรียนยิ่งฉลาดครับ

Posted by : เด็กแนว , Date : 2005-10-25 , Time : 13:35:59 , From IP : 172.29.1.165

ความคิดเห็นที่ : 7


   การแพทย์เชิงประจักษ์ หรือ evidence-based medicine กำลังมีบทบาทต่อวิชาชีพของเรามากขึ้นเรื่อยๆครับ เพราะองค์ความรู้ในปัจจุบันมีการขยายตัวรวดเร็ว บวกกับเทคโนโลยีที่เป็นสื่อก้าวหน้าทำให้ความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูลจากแหล่งกำเนิไปยังผู้รับมันสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลตรงนี้มีทั้งที่กรองแล้ว มีทั้งที่ยังไม่ได้กรอง

science นั้นว่าด้วยศาสตร์ห่งการอธิบายปรากฏการณ์ที่สังเกตได้ เพื่อนำไปพยากรณ์ว่าหากมีบริบทคล้ายๆกันเกิดขึ้นใหม่มันจะมีผลอย่างไร key word ตรงนี้คือทฤษฎีต่างๆนั้นต้อง repeatable และ reproducible ถ้ายังไม่สมบูรณ์ก็ยังเป็นแค่สมมติฐานที่ใช้ได้ และรอเวลามีคนมาปรับปรุงเพิ่มเติมใหม่

ขั้นตอนต่างๆของการแพทย์เชิงประจักษ์นั้น เพื่อเพิ่มเติมทักษะความชำนาญรวมทั้งเจตคติของนักศึกษาแพทย์ ที่ตอนจะจบออกไปจะ commit หรือสัญญากับประชาชนว่าวิธีรักษาพยาบาลเขานั้นเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ มีคนศึกษาทำการทดลองแล้ว approve ว่าได้มาตรฐาน ปรับเข้ากับบริบทต่างๆของแพทย์ ผู้ป่วย และสังคมแล้วน่าจะดี น่าจะใช้ได้ ตั้งแต่ความสามารถในการรวบรวมค้นคว้าความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันที่กระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งต่างๆ เพราะบางคำถามที่เรามี ก็มีคนตอบไปแล้วก็มี หรือถ้าเกิดยังไม่มีใครตอบย เราจะตั้งคำถามเช่นไรที่จะตอบได้ ทดลองได้ ตรวจสอบได้ มีกระบวนการแสวงหาคำตอบได้อย่างไร และในบรรดาคำตอบที่มี ที่หามาได้ มันมีน้ำหนัก มีความเที่ยง ความตรงมากน้อยแค่ไหน

Skill ตรงนี้สำคัญ และเป็นรากฐานของความสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเป็นคุณสมบัติของบัณฑิตที่ประเทศชาติต้องการ สำคัญไม่แพความรู้ทางการแพทย์ด้านอื่นๆนั่นเลยทีเดียว เพราะถ้าแพทย์ไทยไม่มี skill ด้านนี้ เป็นการการันตีว่าเราจะเป็นประเทศ consume technology เท่านั้น ไม่มีโอกาสที่จะ "สร้าง" องค์ความรู้อะไรขึ้นมาได้ ถ้าขนาดความรู้ ความชำนาญในการตั้งคำถาม ในการออกแบบวิธีแก้ปัญหาหาคำตอบ ในการค้นหาคำตอบ ในการวิเคราะห์คำตอบและนำมาดัดแปลงในการปฏิบัติ

การที่มีนักศึกษาบางคนไม่สามารถทำกิจกรรมที่ assigned นั้น แปลได้หลายอย่างครับ แต่ยังไม่ถึงคิวที่จะแปลว่ากิจกรรมนั้นๆไม่มีประโยชน์ คงจะต้องมาพิจารณาดูว่าในชั่วโมง introduction of EBM นั้น มีคนมาเข้าฟังกี่เปอร์เซนต์ ฟังแล้วสนใจถามหรือเข้าใจกี่เปอร์เซนต์ รวมทั้งใน perspective ทั่วๆไปในเรื่องความรับผิดชอบ และความเข้าใจเอาใจใส่ในงานที่ได้รับมอบหมายด้วย ตรงนี้มันจะสะท้อนไปถึงตอนจบการศึกษาว่า "ความรับผิดชอบ" นั้นมีอยู่สักกี่มากน้อย เพียงพอที่พ่อแม่เพื่อนของเราจะถูกพามาฝากผีฝากไข้ได้สมกับปริญญาบัตรหรือไม่



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-25 , Time : 18:00:17 , From IP : 203.107.193.189

ความคิดเห็นที่ : 8


   น่าสงสารเมื่องไทย เด็กที่มีโอกาสที่ดี และสังคมต่างยกย่องว่าเป็นเด็ก
เก่ง แต่น่าเสียดาย กลับมีความคิดแบบนี้ คนโง่และเกียขคร้านมักจะ
หาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง น่าเสียดายที่สุด ออกไปซะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


Posted by : สายลมที่หวังดี , Date : 2005-10-25 , Time : 18:28:43 , From IP : gb.jb.9.25.revip.asi

ความคิดเห็นที่ : 9


   ทำไมเล็คเชอร์ต้องน้อยหว่า ?? เยอะๆ ไม่ได้หรอ ตัดชั่วโมง SDL ไปก็ได้ ไม่หวง

Posted by : ไม่เข้าใจ , Date : 2005-10-25 , Time : 21:58:05 , From IP : 203.113.77.68

ความคิดเห็นที่ : 10


   มีการวิจัยระบบการศึกษาในผู้ใหญ่ (andragogy) พบว่าการเรียนเมื่อตนเองเป็นคนอยากเรียน ในเรื่องที่ตนเองต้องการ ณ เวลาที่ตนเองอยากจะได้ผลสัมฤทธิ์ดีที่สุด ยิ่งผ่านการค้นคว้า วิเคราะห์ ย่อย elaborate ด้วยตนเองด้วยแล้ว ความรู้จะทนทานนานกว่าการเรียนแบบ passive ถึง 15 ปี

Seld-directed learning เป็นการให้ความสำคัญว่า candidate บัณฑิตแพทย์นั้นเป็นผู้ใหญ่ท่มีความรับผิดชอบตนเองสูง (เพราะจบไปแล้วต้องไปรับผิดชอบชีวิตของพ่อแม่ลูกเมียคนอื่นเขา) ฉะนั้นการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยมีแหล่งความรู้ประเภทต่างๆให้บริหารจัดการตามความถนัด ตามความชอบ เมื่อเวลาที่ต้องการ ก็จะเสริมตรงนี้

ผมคิดว่าระบบการศึกษาแบบนี้ของ มอ. เป็นที่รู้กันตั้งแต่ตอนก่อนสมัครเข้ามาเรียน และมีการ orientate ไปเรียบร้อยแล้ว ลองจัดเป็น frequently asked questions แล้วส่งให้คณะกรรมการวิชาการของชั้นปีดูซิครับ บางทีอาจจะพบว่าเพื่อนๆเขามีคำตอบในเรื่องนี้ ส่วนเรามีปัญหาอย่างไรจะได้ขอความช่วยเหลือโดยลู่ทางที่มีอยู่เรนียบร้อยตามระบบ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-25 , Time : 22:40:43 , From IP : ppp-203.118.113.11.r

ความคิดเห็นที่ : 11


   evidence base เป็นเรื่องที่ดี แต่ถามว่ามาถูกที่ ถูกเวลาไหม
ข้อเท็จจริง (ซึ่งไม่ใช่คำแก้ตัว)
1. ผู้ที่ถูก assign ให้ทำคือปี 4 กำลังเพิ่งขึ้นมาชั้นคลินิก เรียน med เรียน surg ค่อนข้างหนัก เวลาที่ทบทวน basic knowledge+new clinical knowledge ก็มากพอแล้ว จะให้มานั่งหา paper ก็คงไม่มีใครสนใจ
2. ที่จริงแล้วการ appraise paper มีแทรกอยู่ใน CRT ของ med แล้ว เรื่อง strept sore throat ถ้าหวังเพียงให้เข้าใจ รู้หลักการ ก็น่าจะเพียงพอ
3. การสอน evidence base เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ๆ หวังให้ประชุม 1 ครั้งก็ผ่านไป 1 step ย่อมเป็นไปไม่ได้ ในเมื่อทุกคนไม่ได้เรียนรู้เท่ากัน และที่สำคัญหลักการบางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำ หรือที่รู้มาก็ไม่รู้ถูกหรือผิด >>>
อะไรคือ review articles
RCT กับ metaanalysis เป็นอย่างไร อะไรดีกว่ากัน
ถ้างานวิจัยนั้นไม่ตรงกับ case เราซะทีเดียว ตรงเพียงบางส่วน จะเลือกว่าเป็น base ไหม

ที่พอจะประมวลได้จากกระทู้หลายๆ อันข้างบนคือ ในเมื่อ ฉัน ผม ดิฉัน หนู ยัง ไม่รู้ basic knowledge ที่ควรรู้เลย (จะโทษ SDL...ฯลฯ) กรุณาอย่าเพิ่มภาระ evidence base เข้ามาอีกนะคะ/ครับ

พยายามจะ mature ที่สุดแล้วค่ะ


Posted by : อ้อ , Date : 2005-10-25 , Time : 22:48:06 , From IP : 172.29.4.211

ความคิดเห็นที่ : 12


   ผมคิดว่ามันคงจะมี variety ของความหนักเบา คนทำได้ไม่ได้อยู่ใช่ไหมครับ ใน 180 คน (หรือ 150 คน ไม่นับพวกหาดใหญ่) ปัญหานี้มันตกอยู่ที่สักกี่เปอร์เซนต์ของนักศึกษาทั้งหมด? นี่เป็นประเด็นที่หนึ่ง

ประเด็นที่สองสำหรับ "คนที่ทำได้ ไม่มีปัญหา" นั้นเป็นพวกไหน? และเขาทำอย่างไร? วิธีที่เขาใช้ เรานำมาใช้บ้างได้หรือไม่? ความจิรงกระบวนการขั้นตอนต่างๆของ EBM นั้น มันไม่ได้ "ใหม่" ร้อยเปอร์เซนต์ หลักการก็เป็นการใช้เหตุและผลก่อนจะเชื่อเท่านั้นเอง การตั้งคำถามให้มีวิธีหาคำตอบ การค้นคว้าไม่ว่าจะเป็นทางห้องสมุดหรือ internet (นั่งพิมพ์กระทู้นี้ก็อาจจะ search หา paper ได้หลาย paper เหมือนกันนะ ถ้าพิมพ์ช้าๆ)

EBM เป็นทั้ง knowledge psychomotor และ attitude ครับ สำคัญตรงสองประการหลังนี้แหละ เหมือนๆกับวิชาประเภท Ethics, health promotion, Palliative care พวกนี้จะเกิดก็ต่อเมื่อนักศึกษาทำซ้ำ มีการ appraise เพื่อทราบซึมซับว่ามัน "ดีอย่างไร" มันจึงจะไปเปลี่ยนอคติเดิมที่ไม่ยอมทำ ไม่ยอมใช้ รังเกียจว่ามันเป็น extra burdens ได้ มิฉะนั้นคนจะมี ethics เฉพาะใน class มีพูดถึง health promotion เฉพาะตอนเขียนรายงาน ทำ palliative care ต่อเมื่อเป็น scenario แห้งเท่านั้น การเรียนอะไรที่ต้องการให้เกิด psychomotor และ attitude ต้องทำเป็น longitudinal learning experience มีการ repeat และมีการ appraise ตัวอย่างของการที่เราทราบว่า "ล้มเหลว" อยู่ก็คือเจตคติที่ยังไม่เปลี่ยน ยังไม่คิดว่าเรื่องนี้มันสำคัญระดับเท่ากับเรื่องอื่นๆ มันก็จะถูก demote ลงไปทำทีหลัง ไม่ตั้งใจทำ หรือไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันเท่ากับเรื่องอื่นๆ สุดท้ายถ้าเป็น lecture หรือมีปรากฏอยู่เพียงใน block ใด block หนึ่งอันเดียว โอกาสที่จะเกิดตรงนี้ในระยะยาวมันก็จะลดน้อยลงไปอีก

คำถามที่คุณอ้อถามมานั้น ลองตรวจสอบกับเพื่อนร่วมชั้นปี หรือลองไปถามอาจารย์ที่ปรึกษา (นั่นคือประโยชน์ที่เรา assign ให้มีอาจารย์ที่ปรึกษา) ดูครับ ผมคิดว่ามีคำตอบให้ และหรือใน sheet หรือในบทเรียนของ อ.ทิพวรรณ ก็มีพูดถึงไว้

Basis อย่างเดียวที่ขอให้มีก่อน คือ เจตคติต่อวิชานี้ว่ามันจำเป็นต่อการเป็นแพทย์ครับ ที่เหลืออะไรที่ต้องการมันจะถูกแรกผลักดันจากเจตคติที่ว่านี้แก้ไขไปได้ในที่สุด



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-25 , Time : 23:04:55 , From IP : ppp-203.118.113.11.r

ความคิดเห็นที่ : 13


   เรียนอาจารย์แพทย์ ม.อ.ที่นับถือ
กระผมขอแสดงความคิดเห็นในฐานะที่เป็นแพทย์คนหนึ่งที่จบเฉพาะทางมาแล้ว กระผมไม่ได้จบ ม.อ.ครับ แต่จบจากที่อื่นจากการศึกษาแบบเก่า(ตอนเป็น นศพ.) และจบแพทย์เฉพาะทางจากที่อื่นด้วยแต่ตอนนี้ทำงานอยู่ภาคใต้ refer case เข้า ม.อ.บ่อยๆ ได้รู้จักและพูดคุยกับน้องๆนักศึกษาแพทย์ของ ม.อ.บ่อยครั้ง ส่วนใหญ่น้องๆจะไม่ชอบวิธีการเรียนแบบ self directed lerning, problem base lerning และทุกครั้งที่กระผมได้มีโอกาศพูดคุยเรื่องนี้ก็จะบอกกับน้องๆว่า ถึงแม้ว่าตัวกระผมเองจะจบแพทย์จากการศึกษาแบบเก่า แต่กระผมเห็นด้วยว่าการเรียนแบบ SDL,PBL นั้นเป็นหัวใจของการเรียนรู้และพัฒนาของเรา ปัจจุบันนี้ถึงแม้กระผมจะไม่ได้อยู่ในโรงเรียนแพทย์แต่กระผมก็ใช้กระบวนการ SDL & PBL ในการเรียนรู้ของตัวกระผมเอง กระผมเริ่มฝึกฝนกระบวนการดังกล่าวตอนเป็นแพทย์ประจำบ้านแบบ S,O,A,Pในทุก problem lists ฝึกฝนทุกวันจนชินและได้รับรู้และเห็นถึงความสำคัญของกระบวนดังกล่าวด้วยตัวเองครับ
กระผมคิดว่าสำหรับกระผมแล้วมันค่อนข้างสายเกินไปที่มาเรียนรู้ตอนเป็นแพทย์ประจำบ้าน ถ้ากระผมได้ฝึกตอนเป็น นศพ.กระผมน่าจะเก่งในการช่วยเหลือผู้ป่วยมากกว่านี้
อยากจะเรียนอาจารย์ ม.อ.ครับว่า กระผมก็เป็นแพทย์คนหนึ่งที่เห็นว่าการเรียนแบบ SDL น่าจะเป็นการเรียนที่เหมาะสมในปัจจุบัน แต่กระผมคิดว่าอาจารย์ที่เป็น พี่เลี้ยงที่ดีในระบบนี้ต้องเก่งกว่าอาจารย์ที่สอนแบบเก่า, ใช้ความสามารถมากกว่าแบบเก่าในการที่จะทำให้ นศพ.เกิดความอยากเรียนรู้, อยากค้นคว้าทางด้านวิชาการและเกิดความสนุกในการคิดวิเคราะห์ปัญหาซึ่งนำไปสู่การวางแผนการรักษาผู้ป่วยอย่างถูกทาง
กระผมขอเป็นกำลังใจให้กับ อาจารย์ ม.อ.ทุกท่าน (อย่างชื่นชม) และน้องๆ นศพ.ทุกคนครับ


Posted by : แพทย์แบบเก่าที่คิดใหม่ , E-mail : (----------------------------) ,
Date : 2005-10-25 , Time : 23:13:17 , From IP : 203.188.22.221


ความคิดเห็นที่ : 14


   นักศึกษาที่ mature ต้องมาคู่กับอาจารย์ที่ mature ใช่มั้ยครับพี่ "แพทย์แบบเก่าที่คิดใหม่"

เห็นด้วยกับพี่ครับ

ปล. คำว่า mature นี้อาจไม่เหมือนกันระหว่าง นศ กับ อาจารย์


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2005-10-26 , Time : 00:22:11 , From IP : 61.19.25.2

ความคิดเห็นที่ : 15


   นักศึกษาที่ mature ต้องมาคู่กับอาจารย์ที่ mature ใช่มั้ยครับพี่ "แพทย์แบบเก่าที่คิดใหม่"

เห็นด้วยกับพี่ครับ

ปล. คำว่า mature นี้อาจไม่เหมือนกันระหว่าง นศ กับ อาจารย์


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2005-10-26 , Time : 00:22:28 , From IP : 61.19.25.2

ความคิดเห็นที่ : 16


   ในวันข้างหน้าน้องจะรู้ว่าสิ่งที่อาจารย์พยายามให้น้อง
จะเป็นประโยชน์กับน้องมาก
และน้องจะรู้สึกเสียใจที่ post กระทู้ในวันนี้
เหมือนที่พี่ ๆ เป็นเมื่อวันวาน......
สู้ ๆ เข้านะ


Posted by : รุ่นพี่ที่ผ่าน SDL , Date : 2005-10-26 , Time : 18:29:15 , From IP : 203.113.77.36

ความคิดเห็นที่ : 17


   ส่วนตัวแล้วเห็นด้วยกับ SDL นะ มันเป็นทักษะที่ทุกคนควรมี (หรือต้องมี?) ประโยชน์ที่ได้ข้อแรกก็จะตกอยู่กับตัวเอง ส่วนประโยชน์ข้อที่สองเกิดจากการนำสิ่งที่ได้ข้อแรกมาทำคุณประโยชน์กับผู้อื่น ถ้ามองโดยภาพรวม ในชีวิตคุณไม่มีใครจะสามารถมาป้อนข้อมูลในสิ่งที่คุณไม่รู้ให้แก่คุณได้ตลอดเวลา บางส่วนที่คุณไม่รู้คุณก็ต้องขวนขวายหาเอง และคุณจะภูมิใจในสิ่งที่คุณทำ เพราะมันเกิดขึ้นจากความพยายามของตัวคุณเอง
.
แต่.. ถ้าเราเอาแต่ ideal ของ SDL มาพูดกันว่ามันมีแต่ข้อดี แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นล่ะมันเกิดจากอะไร คนที่เข้ามาอ่านเวบบอร์ดนี้เป็นประจำจะพบว่า มีกระทู้ทำนองนี้ คือ นักศึกษามีปัญหากับ SDL อยู่เสมอ อาจจะนานๆ ถี่ เอ๊ย! นานๆ ที สมมติทุกอย่างเป็นไปตาม ideal หมดแล้วปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไรล่ะ?
.
ปัญหาที่ ideal คงไม่ใช่แน่ๆ แต่ข้าพเจ้าคิดว่า SDL นี่เป็นทักษะอย่างหนึ่ง ซึ่งแต่ละคนคงมีความสามารถ หรือทักษะในเรื่องนี้ไม่เท่ากัน มันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และการฝึกฝน ดังนั้นถ้าคุณจะมีทักษะด้านนี้ดีก็ต้องเริ่มจาก"ตัวคุนเอง" โดยมี "สิ่งแวดล้อมหรือบริบท" เป็นตัวสนับสนุน ข้าพเจ้าจึงคิดว่าปัญหาน่าจะเกิดจากที่
.
1) สิ่งแวดล้อมหรือบริบทต่างๆ ที่สนับสนุนการเรียนรู้แบบ SDL
เข้าใจว่า คณะคงจัดรูปแบบการเรียนที่ส่งเสริมการสร้างทักษะ SDL เช่น มีสื่อความรู้ต่างๆ ให้ทั้งหนังสือ text Thai & Eng, Internet เป็นต้น ระยะเวลาที่ให้ศึกษาแบบ SDL, จัดให้ นศ เวลาว่างเพื่อที่จะ SDL, ภาระของนักศึกษาที่มีอยู่ (นศ บางคนบอกว่ามีภาระิื่อื่นที่หนักอยู่แล้วไม่มีเวลา SDL) บริบทที่กล่าวมาอาจไม่ใช่ทั้งหมด แต่ล้วนแล้วสามารถทำให้เกิดปัญหากับ SDL ของ นศ ได้ถ้ามีความบกพร่องเกิดขึ้นในด้านนั้นๆ
.
2) ตัวคุณเอง ว่าคุณได้พยายามฝึก SDL แล้วหรือยัง ลดความขี้เกียจลงหน่อย เพิ่มความขยันขึ้นอีกนิด ก็น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะประโยน์ที่ได้ (ทั้งความรู้ + ทักษะ) ก็จะตกกับตัวคุณเอง
.
เพราะฉะนั้น ถ้าคุณคิดว่า SDL ของคุณ (ไม่แน่ใจว่าส่วนน้อย หรือส่วนใหญ่ของ นศ) มีปัญหา ลอกวิเคราะห์ดูว่า ปัญหาเกิดขึ้นจากจุดไหน จากตัวคุณเอง หรือบริบท ถ้าเป็นที่ตัวคุณเองคุณก็คงจะรู้ตัวเองว่า ควรเปิดใจและเริ่มต้น SDL ได้แล้วขยันขึ้นหน่อย แต่ถ้าปัญหาเกิดขึ้นที่บริบทคุณก็ต้องวิเคราะห์ว่ามันคืออะไร เพื่อที่จะได้ช่วยกันเสนอแนะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยปรับปรุงให้ดีขึ้น
.
สำหรับผู้อื่นที่เข้ามาเสนอแนะ ตัวคุณเองอาจเคยผ่านประสบการณ์แบบนี้มาแล้ว คุณก็น่าจะรู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมันคืออะไร ก็ควรบอกกับรุ่นน้องเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นและคุณผ่านมาได้อย่างไร คิดซะว่าเป็นคำแนะนำที่ดีแก่รุ่นน้อง ไม่ใช่เข้ามาบอกแต่ว่า SDL มันดีอย่างโน้นอย่างนี้ ควรบอกด้วยว่าปัญหาที่คุณเคยพบคืออะไร ผ่านมาได้อย่างไร เกิดประโยชน์กับคุณอย่างไร อย่างที่บางท่าน (จากต่างแดน) กล่าวไว้ หรือเสนอแนะข้อคิดเห็นที่ดีให้น้องๆ น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า มากกว่าการที่กล่าวในเชิงตำหนิรุ่นน้องที่เข้ามาบอกว่าเกิดปัญหากับ SDL ของพวกเขาว่าเกิดจากตัวเขาเองแล้วมาโพสต์ในกระดาน
.
สำหรับคนที่มีปัญหากับ SDL ก็ควรเข้ามาอภิปรายด้วยข้อเท็จจริงและเหตุผล ไม่ควรถืออารมณ์ของตัวเองเป็นหลัก วิเคราะห์ด้วยว่าปัญหาคืออะไร น่าจะเกิดจากอะไร และแสดงความคิดเห็นในเชิงบวก คือเชิงร่วมกันแก้ปัญหา ไม่ใช่เชิงต่อว่า ว่า SDL ไม่ดี


Posted by : ผู้พบเห็นเหตุการณ์เช่นนี้เป็นป , Date : 2005-10-27 , Time : 01:41:49 , From IP : 203.121.165.162

ความคิดเห็นที่ : 18


   sdl เป็นแนวทางที่ดีในการทำให้คนมีความสามารถกับคนไม่มีความสามารถในการเรียนด้วยตนเอง มีความแตกต่างกัน ส่วนlacture ล้วนก็แนวทางพวกกิน sheet ไงกินเข้าไปๆ ไม่เห็นยาก เหมือนทหารแนวหลังคนอื่นยกทัพนำไปก่อนต่อให้เข้าประตูเมืองได้เหมือนกันแต่เกียรติยศ ความภาคภูมิหามีไม่

Posted by : i will go pataya , Date : 2005-10-27 , Time : 17:47:27 , From IP : 172.29.4.87

ความคิดเห็นที่ : 19


   จะยังไงก็ตามนะ ข้อด้อยอย่างหนึ่งของ SDL คือเสียเวลาผู้เรียนเยอะมาก จนบางครั้งก็รู้สึกว่าไม่คุ้มที่จะต้องมาอ่านและประมวลผลเองทั้งหมด

เคยมีประสบการณ์ไหมว่าความรู้บางเรื่องนี่อ่านสารพัดที่จะอ่านแล้วก็จับอะไรไม่ได้ หรือถ้าจับได้ก็เชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องไม่ได้ จำได้บ้างก็เป็นประโยคๆผ่านไปสามวันก็ลืม เข้าใจผิดๆถูกๆก็ไม่รู้ แต่พอไปฟังอาจารย์ brief เรื่องเดียวกันนั้นแหละให้ฟังสักสองชั่วโมง โอ้ รู้สึกได้ทันทีว่าท่านเป็นปรมาจารย์โดยแท้ อะไรจะทำให้ทะลุปรุโปร่งได้ปานนั้น ที่อ่านมาทั้งหมดยังไงก็ไม่เท่ากับชั่วโมง lecture หรือ bedside

ที่ฟังๆมาบางท่านก็ว่าความรู้ทางการแพทย์นั้นควรเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ที่สั่งสมมาของผู้สอนมากกว่า เพราะส่วนอาจารย์ท่านเองกว่าจะมีความรู้ความชำนาญมากขนาดนั้นก็ต้องผ่านการลองผิดลองถูกการสั่งสมมาก่อนมากมาย แล้วการที่จะต้องให้ลูกศิษย์ต้องไปผ่านการลองผิดลองถูกสั่งสมซ้ำรอยอาจารย์ ในขณะที่ความรู้ก็รุดหน้าขึ้นทุกวัน ก็เหมือนกับเปลืองทรัพยากรไปเปล่าๆ ในขณะที่อาจารย์ท่านมี"แก่น"ที่กลั่นกรองมาและพร้อมจะถ่ายทอดเรียบร้อยแล้ว เออฟังดูแลวก็น่าคิด

เห็นด้วยว่า SDL ยังไงก็ต้องจำเป็นใช้อยู่แล้ว แต่เพิ่มสัดส่วนการสอนของอาจารย์ให้หน่อยก็ดี เพราะไม่งั้นอะไรๆก็อ่านเองได้หมดนั่นแหละ ไม่รู้จะมีไปทำไม


Posted by : - -" ??? , Date : 2005-10-27 , Time : 19:12:04 , From IP : 172.29.4.144

ความคิดเห็นที่ : 20


   อ่านะ
SDL ผมว่าดีนะสำหรับคนขยัน คนที่เรียนเพราะชอบจริงๆ อยากรู้จริงๆ
แต่สำหรับพวกเรียนเพื่อจุดประสงค์อื่นอย่างผม คงไม่ดีเท่าไหร่(เช่นตัวผม)
แต่จะบอกว่าไม่ได้อะไรเลยก็ไม่ใช่
เพราะมาถึงจุดหนึ่งแล้วบางอย่างก็ต้องรู้ให้ได้
และมักจะรู้ด้วยตนเอง(หาอ่านเอง)ไป discussion กับคนที่รู้จริง(พี่ๆที่ conc หรืออาจารย์)ก็จะได้ไอเดียที่เอาไปใช้จริงได้
ถ้าเอาไปคุยกับเพื่อนหรือคนที่ไม่รู้ก็เสียเวลาเปล่าเพราะจะมีแต่สิ่งที่ไม่แน่ใจ
ที่สำคัญถ้าได้เอาไปใช้และกลับมาอ่านทุกวันรับรองมั่นใจขึ้นแน่นอน
ไม่รู้สนะแม้ผมจะจบจาก PBL SDL ที่มีแต่คนบอกว่าไม่ได้เรื่อง
แม้ไม่ได้เก่งอะไรมากมายแต่ทุกวันนี้ผมก็เป็นหมออย่างมั่นใจในระดับหนึ่ง


ค่าเทอมที่นี่แพงมาก ไม่มีใครเคยออกมาชี้แจงเลย ว่าเอาไปทำอะไรบ้าง
ทำไมเก็บค่าเทอมแพงกว่าที่อื่นมาก ทั้งที่สวัสดิการ ก็แย่กว่าที่อื่น

ถามไปก็เท่านั้น ไม่มีใครตอบได้หรอก



Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-10-27 , Time : 19:42:26 , From IP : ppp-210.86.142.220.r

ความคิดเห็นที่ : 21


    SDL ใช้แยกคนที่ความสามารถกับคนไม่มีความสามารถออกจากกันได้จริงหรือครับ??? แยกได้ยังไงเหรอครับ??? ถ้าคุยถึงประเด็นความรับผิดชอบจะเข้าใจได้ง่ายและตรงประเด็นมากกว่ามั้ย???
เลคเชอร์ล้วนๆ ไม่ยาก ไม่มีความภาคภูมิตรงไหนล่ะครับ คือผมอ่านความคิดเห็นของคุณ will go pataya ไม่ค่อยเข้าใจน่ะครับ???

แค่สงสัยน่ะครับ ....



Posted by : """ , Date : 2005-10-27 , Time : 19:47:34 , From IP : 172.29.4.224

ความคิดเห็นที่ : 22


   เมื่อจบออกมาน้องจะเห็นถึงความต่างว่าเราสามารถค้น journal อ่านและพอจะวิเคราะห์เองได้บ้าง หรือไม่ก็รู้ว่าควรเลือกอ่านจาก journal ไหนที่เชื่อถือได้ แล้วน้องจะเห็นว่าเฮ้ย..เราทำได้ว่ะ ขณะทีเพื่อนที่อื่นไม่รู้จัก metaanalysis, cochrane หรือแม้แต่ pubmed แต่พี่ก็มีความเห็นเหมือนหลายๆคนว่า บางครั้งเราอาจยังไม่พร้อม ยังต้องการความรู้มากมายที่อาจารย์น่าจะให้ก่อนเพื่อเป็นแนวทางให้เราไปค้นหาเพิ่มเติม (แต่ถ้าเราไม่เริ่มตั้งแต่ตอนนี้จะไปเริ่มตอนไหนล่ะ) จะดีมากเลยถ้าอาจารย์ยังคงเน้น lecture ควบคู่ไปกับการฝึก SDL ของนศพ.

Posted by : รุ่นพี่ , Date : 2005-10-27 , Time : 21:02:36 , From IP : 203.188.6.9

ความคิดเห็นที่ : 23


   ในสมัยก่อนที่มี lectures จำนวนมาก (หมดทุกอย่างเลย) ยกเว้นพวก genius แล้ว คนที่มี performqnce ดีกว่าคตนอื่นคือคนที่ "ขยัน" กว่าคนอื่น

"ขยัน" ในที่นี้ได้แก่ เอาตำรา สมุดจดเล็คเชอร์มาทบทวนนอกเวลา ขึ้น ward ไปเฝ้าผู้ป่วย ช่วยพี่เขาส่งเครื่องไม้เครื่องมือเวลามีหัตถการ ในที่สุดก็ได้ทั้ง clinical skill และความรู้ และความชำนาญ extra-curriculum activities เหล่านี้นี่แหละที่ "แบ่งสิ่งที่นักศึกษาจะได้" นอกเหนือจากที่ทุกคนอยู่ในระบบเดียวกัน สมัยนั้นยังไม่มีชื่อเก๋ๆเรียก แต่ถ้าเรามาพิจารณาดูให้ดีแล้ว ทั้งหมดนั้นก็คือ self-directd learning นั้นเอง

การเรียนแพทย์นั้นไม่มีทางที่จะทำสำเร็จจากการเรียน 9-5 โมงต่อวันแน่ๆ และเมื่อจบแล้วอาชีพของแพทย์ (ส่วนใหญ่) ก็จะต้องรับผิดชอบมากว่า "เวลาราชการ" อยู่ดี ซึ่งส่วนใหญ๋ก็จะทำได้ เพราะตอนเรียนก็เป็นแบบนั้นมาโดยตลอด พวกเราเป็นอาชีพที่นอกเหนือจากทำงานเต็มเวลาราชการแล้ว ยังมีเวร มีงานอื่นๆมาเสริม นับแล้วมากกว่าอาทิตย์ละ 35 ชม.

SDL นั้นไม่ใช่ "ระบบ" ถ้าจะพดถึงระบบการเรียน อาจจะต้องพูดถึง PBL แทน ที่อยากจะให้พิจารณาเพิ่มเติมอีกอย่างหนึ่งก็คือ คำว่า "ไม่มีเวลา" หรือ "เสียเวลา" นั้นเป็น relative term สำหรับแต่ละคน ทุกๆคนมีเวลาวันละ 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่มี priority จัดไว้แตกต่างกัน ณ เวลาหนึ่งๆ คนนึงอาจจะต้องดู Academy fantasia สำคัญที่สุด อีกคนอาจจะต้องขอดู ManU กับ Chelsea เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ขณะเดียวกันบางคนอาจจะขอไปออกกำลังกาย ขอไปเที่ยวกับแฟน หรือขอไปเฝ้าคนไข้ตนเองที่ ward ไป discuss case กับพี่ที่อยู่เวรบน ward ผลของการจัด priority ที่ไม่เหมือนกัน ก็จะทำให้แต่ละคน "ได้" ไม่เท่ากัน บางคนก็จะได้ vote เอา V ไหนดี บางคนก็จะได้ลุ้นว่ารุด แวน นิสเทลรอยด์ หรือใครเป็นคนยิงประตู บางคนได้ออกกำลังกายเรียกเหงื่อ บางคนได้แฟน บางคนก็ได้เพิ่มความรู้ ความชำนาญ ทักษะต่างๆในการเป็นแพทย์เพิ่ม สำหรับตรงนี้ นักศึกษาที่กำลังจะรับผิดชอบตนเอง และชีวิตคนอื่น "ต้อง" มีความสามารถบริหารจัดการกับชีวิตตนเองได้ว่าอะไรคือ priority ภายในหกปีที่อยู่กับอาจารย์และเพื่อนๆในมหาวิทยาลัย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-27 , Time : 22:53:18 , From IP : 58.147.21.121

ความคิดเห็นที่ : 24


   เยี่ยมมากค่ะ

Posted by : อ้อ , Date : 2005-10-28 , Time : 14:45:29 , From IP : 172.29.4.211

ความคิดเห็นที่ : 25


   โห... อ.นกไฟตอบตรงใจมากค่ะ เป็นความจริงทุกประการเลยนะเนี่ย

Posted by : นศพ.คนหนึ่ง , Date : 2005-10-28 , Time : 15:32:17 , From IP : 172.29.4.148

ความคิดเห็นที่ : 26


    SDL ใช้แยกคนที่ความสามารถกับคนไม่มีความสามารถออกจากกันได้จริงหรือครับ??? แยกได้ยังไงเหรอครับ??? ถ้าคุยถึงประเด็นความรับผิดชอบจะเข้าใจได้ง่ายและตรงประเด็นมากกว่ามั้ย???
เลคเชอร์ล้วนๆ ไม่ยาก ไม่มีความภาคภูมิตรงไหนล่ะครับ คือผมอ่านความคิดเห็นของคุณ will go pataya ไม่ค่อยเข้าใจน่ะครับ???

แค่สงสัยน่ะครับ ....



Posted by """() 2005-10-27 , 19:47:34 , 172.29.4.224

คืองี้ครับผมค่อนข้างไม่ชอบความตรงไปตรงมาของข้อสอบเท่าไหร่นะครับจำได้ว่าตอนblock แรกๆยังพอมีแต่พอนิวโรสองนี้หายเกลี้ยงจำได้เลยว่าจำล้วนๆเรยก็เลยค่อนข้างไม่ชอบระบบเดิมไปโดยมิได้ไตร่ตรอง ........ คืออยากให้ lacture นั่นแหละครับแต่ข้อสอบแบบที่มีทั้งข้อที่ควรตอบได้ น่าจะตอบได้ และ ถ้าตอบได้ถือว่าสุดยอด .....เหมือนที่เคยได้ยินมาเนี่ยนะครับ แบบนี้น่าจะมันดีนะครับมันท้าทายง่ะ (เราก็มะเก่งหรอก แต่ไม่ชอบนอนกินมันเบื่อง่ะ)


Posted by : i will go pataya , Date : 2005-10-30 , Time : 22:30:29 , From IP : 172.29.4.61

ความคิดเห็นที่ : 27


   ระบบ lecture กับการออกข้อสอบเป็นสองส่วนแยกออกจากกัน และการจะแก้ปัญหา ผมคิดว่ามันไมค่อยจะเกี่ยวกับจะมีหรือไม่มี SDL ด้วย

cognitive ระดับต่ำสุดคือ memory นั้น ไม่ได้ถือว่าไม่สำคัญอย่างสิ้นเชิง เราจะ "คิด" ต่อยอดอะไร เราองเริ่มจาก "ฐาน" ความรู้เดิม ซึ่งถ้าจะให้ดีมันอยู่ในหัวเราแต่แรกก็จะประหยัดเวลาไปได้เยอะ ข้อสอบประเภทกายวิภาค และที่ยังเป็นความจำอยู่ก็ยังมีความสำคัญมาก เช่น ภาวะอุบัติเหตุฉุกเฉินมา มี clinical signs มี basic film ต้องตรวจ ต้องอ่าน ตรวจ แปล จะให้ไปค้นทุกอย่างคงจะไม่ดี ยังไงๆก็ต้องมีบางส่วนติดตัวอยู่ตลอดเวลา

ข้อสอบมีแบบ "ต้องรู้ และควรรู้" ครับ ไม่มีแบบต้องตอบได้ ควรตอบได้ ไม่น่าตอบได้ ไม่เหมือนกันทีเดียว ข้อสอบที่ "ต้องรู้" นั้น สามารถจะเป็นแบบ memory ก็ได้ หรือแบบวิเคราะห์ก็ได้ ข้อสอบหาช้างเผือก หรือ crem de la creme นั้นไม่ควรจะเน้น มีหรือเยอะมาก เพราะยังไงๆ เราใช่ข้อสอบเพื่อประเมินผ่านเกณฑ์เป็นนัยสำคัญ สัดส่วนของข้อสอบจึงต้องสะท้อนวัตถุปแระสงค์การเรียนเสมอ ข้อสอบประเภทวิเคราะห์นั้นจะไปเจอแน่ๆตอน comprehensive examination ครับ ไม่ต้องห่วง

หรือเอาไว้ตอนจะ ranking นักศึกษา ค่อยใช้ข้อสอบหาช้างเผือกประเภทต้องใช้ทั้ง memory knolwedge บวกวิเคราะห์สังเคราะห์เต็มที่ก็ได้ ตอนนี้ขอให้ดีใจที่ทำโจทย์ได้และรู้สึกว่ามันง่ายๆไปพลางๆก่อนก็ดีครับ




Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-30 , Time : 23:05:39 , From IP : 58.147.23.8

ความคิดเห็นที่ : 28


   pbl เนี่ยติดกล้องวงจรปิดดีมะครับเหงคะแนนแล้วสงสารแม่จังมีลูกดวงซวย

Posted by : i will go pataya , Date : 2005-11-02 , Time : 12:15:09 , From IP : 172.29.4.102

ความคิดเห็นที่ : 29


   นอกจาก "ดวง" แล้ว อาจจะมีคำอธิบายอื่นๆที่เราจะได้สามารถ "พัฒนา" ได้ไหมครับ เพราะยังไงๆเราก็แก้ชะตา ตกฟาก ที่มันซวยไปแล้วไม่ได้แน่ๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-11-02 , Time : 21:35:21 , From IP : 58.147.68.148

ไม่ต้องเหวี่ยงแหแล้วล่ะ.... และมันก็ผ่านไปได้ด้วยดี... ตอนนี้กลับมาอยู่ข้างในพี่คิดว่าพี่เลือกที่จะอ่าน เลือกที่จะดูคนไข้เป็นขึ้น...ที่อาจารย์เคยบอกให้พี่ไปหาแล้วพี่ไม่เคยได้หา/อ่าน พี่ก็รู้สึกว่าอยากหาอยากอ่าน อะไรที่เกี่ยวกับคนไข้ที่เราดูแล และพี่มั่นใจว่าพี่สามารถหาได้ อ่านเป็น พี่ไม่รู้นะคะว่าพี่คนอื่นจะเป็นเหมือนพี่รึเปล่า หรือพี่ประสบความสำเร็จรึเปล่า แต่พี่รู้ว่าตอนนี้พี่ไม่เหมือนตอนปี 4 ปี 5 --> พี่ไม่กลัวกับการที่เราไม่รู้อีกแล้ว พี่สามารถหาคำตอบได้ทาง net มากมาย มาdiscussกับรุ่นพี่หรืออาจารย์ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนไข้เรา พี่ไม่รู้ว่าระบบนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ มันอาจต้องมองกันในอนาคต ...แต่พี่มั่นใจว่าพี่รู้ว่าต้องขวนขวายหาความรู้เองได้อย่างไร...และไม่นึกต่อต้านระบบPBL เหมือนแต่ก่อน..... ลองดูค่อยๆเรียนรู้ ต้องอาศัยเวลา ประสบการณ์ เค้าสอนให้น้องตกปลาเอง,,,เมื่อน้องตกเป็น น้องจะค้นพบว่ามันไม่ได้ยากเลย... " />
ความคิดเห็นที่ : 30


   น้องๆ คะพี่เป็นคนหนึ่งทีผ่านระบบ PBL เพิ่งกลับมาจาก รพ สมทบ... พี่ก็เหมือนกับน้องๆหลายคนที่ไม่ชอบระบบ PBL เลย...บังคับให้เราต้องค้นคว้าอะไรก็ไม่รู้ , เกิดคำถามในใจพี่มากมายที่พี่ยังไม่ได้รับคำตอบ...ผ่านแล้วก็ผ่านไป..ไม่รู้จะอ่านอะไรดี มันมากมายไปหมด .. เสียเวลาค้นหาข้อมูลมากมาย...และคิดเสมอว่า ทำไมไม่บอกกันบ้างวะ...ปล่อยให้ไปหาอยู่ได้....ตอนสอบก็อ่านไม่ทัน..ท่องโพยไว้ก่อน...เอาตัวรอดมาได้เหมือนเพื่อนๆหลายคน, ตอน round ward ก็ไม่ค่อยได้พูด disscus (ไม่ค่อยกล้า กลัวไม่ถูก) แถมอาจารย์ยังให้ไปอ่านอะไรก็ไม่รู้ ยากชะมัด อ่านไม่จบ หลับก่อนประจำ....คิดว่าตอนออกไป externจะเอาอะไรไปรักษาคนไข้เนี่ยะ
สรุปว่าปี4 ปี5 พี่ดูคนไข้ไม่เป็นเลยค่ะ""
ปี 6 พี่ออกโรงพยาบาลสมทบก่อน พี่กลัวมาก """"ช้านจะรักษาหรือทำคนไข้ตายมั๊ยเนี่ยะ...พี่จึงพยายามดูคนไข้ให้ดี เปิดหนังสืออ่านมากขึ้น ค้นหาเรื่องที่เกี่ยวกับคนไข้เรา ความรู้จากโรงพยาบาลสมทบที่พี่หมอสอนน่ะมีแต่น้อย...ความรู้ส่วนใหญ่ก็มาจากที่พี่พยายามค้นหาเพื่อที่จะรักษาคนไข้ของพี่...เรียนรู้ไปเรื่อยๆ 6 เดือน... caseที่ทำผิดพลาดพี่ก็จะจำจำจำ และบอกตัวเองว่าห้ามผิดอีก....ตอนนี้พี่เริ่มรู้สึกว่าพี่ดูคนไข้เป็น ยังค้นหาข้อมูลด้วยตัวเองเหมือนเดิม แต่เริ่มรู้แล้วว่าต้องค้นอะไร --->ไม่ต้องเหวี่ยงแหแล้วล่ะ.... และมันก็ผ่านไปได้ด้วยดี...
ตอนนี้กลับมาอยู่ข้างในพี่คิดว่าพี่เลือกที่จะอ่าน เลือกที่จะดูคนไข้เป็นขึ้น...ที่อาจารย์เคยบอกให้พี่ไปหาแล้วพี่ไม่เคยได้หา/อ่าน พี่ก็รู้สึกว่าอยากหาอยากอ่าน
อะไรที่เกี่ยวกับคนไข้ที่เราดูแล และพี่มั่นใจว่าพี่สามารถหาได้ อ่านเป็น
พี่ไม่รู้นะคะว่าพี่คนอื่นจะเป็นเหมือนพี่รึเปล่า หรือพี่ประสบความสำเร็จรึเปล่า
แต่พี่รู้ว่าตอนนี้พี่ไม่เหมือนตอนปี 4 ปี 5 --> พี่ไม่กลัวกับการที่เราไม่รู้อีกแล้ว
พี่สามารถหาคำตอบได้ทาง net มากมาย มาdiscussกับรุ่นพี่หรืออาจารย์ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนไข้เรา
พี่ไม่รู้ว่าระบบนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ มันอาจต้องมองกันในอนาคต ...แต่พี่มั่นใจว่าพี่รู้ว่าต้องขวนขวายหาความรู้เองได้อย่างไร...และไม่นึกต่อต้านระบบPBL เหมือนแต่ก่อน.....
ลองดูค่อยๆเรียนรู้ ต้องอาศัยเวลา ประสบการณ์ เค้าสอนให้น้องตกปลาเอง,,,เมื่อน้องตกเป็น น้องจะค้นพบว่ามันไม่ได้ยากเลย...


Posted by : นู๋ว่าน , Date : 2005-11-10 , Time : 21:26:38 , From IP : 172.29.4.42

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.012 seconds. <<<<<