ความคิดเห็นทั้งหมด : 17

นักศึกษาแพทย์ห้องฉุกเฉิน


   ห้องฉุกเฉินมีแต่นักศึกษาแพทย์ ควรที่จะมีอาจารย์หมออยู่ประจำสักคน เพื่อที่จะให้นักศึกษาแพทย์ปรึกษา เพราะตรวจไม่ดีเลย วิเคราะห์โรคไม่ตรงด้วย

Posted by : คนไข้ , Date : 2005-10-22 , Time : 23:29:26 , From IP : 203.113.76.8

ความคิดเห็นที่ : 1


   เรียน คุณผู้ใช้นามว่าคนไข้
ปัจจุบันห้องฉุกเฉินมี อาจารย์แพทย์ประจำตลอด 24 ชั่วโมงแล้วครับ
ท่านอาจจะเข้าใจผิดว่าคนที่ตรวจเป็นนักศึกษาแพทย์ แต่แท้ที่จริงแล้วนั้นเราอนุญาตให้นักศึกษาแพทย์ปีสุดท้าย(ซึ่งต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกราย)และแพทย์เท่านั้นที่สามารถตรวจคนไข้ได้ครับ
ขอขอบคุณในข้อเสนอแนะและเราจะพายามปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้น

ห้องฉุกเฉิน


Posted by : ห้องฉุกเฉิน , Date : 2005-10-23 , Time : 09:16:19 , From IP : 172.29.1.97

ความคิดเห็นที่ : 2


   ที่คนไข้เข้าใจผิด อาจเป็นเพราะเห็นแพทย์ในห้อง ER ใส่เสื้อ นศพ หรือเปล่าครับ เลยอาจทำให้เข้าใจผิดได้ หรือไม่งั้นแพทย์ที่ห้อง ER หน้าเด็กเหมือน นศพ.ผมคิดว่าควรมีอะไรบ่งชี้ชัดๆไปเลยครับ ว่าคนไหนแพทย์ หรือ นศพ.หรือไม่งั้นก็แนะนำตัวก่อนตรวจคนไข้

Posted by : คนใช้บริการ , Date : 2005-10-23 , Time : 10:04:50 , From IP : 172.29.1.165

ความคิดเห็นที่ : 3


   "ตรวจไม่ดี และวิเคราะห์โรคไม่ตรง" เพราะอะไรถึงคิดอย่างนี้ครับ

รู้สึกว่าโพสนี้ไม่ตรงกับความจริงนะครับ แพทย์ที่จบแล้วประจำห้องฉุกเฉินมีอยู่เยอะทีเดียว 5+ คนล่ะครับ


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2005-10-23 , Time : 10:57:20 , From IP : 61.19.25.2

ความคิดเห็นที่ : 4


   ผมคิดว่า เราอาจจะเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งเดียวในประเทศด้วยซ้ำ ที่มี staff cover ห้องฉุกเฉินแบบ 7/24 ที่เข้าใจเช่นนี้เนื่องด้วยอนุมานจากประสบการณ์ส่วนตนเมื่อครั้งฝึกอบรม ที่ได้มีโอกาสเวียนไปปฏิบัติงานหลายแห่ง แต่ไม่ทุกแห่ง เข้าใจผิดก็ขออภัย

Posted by : Shonigega , Date : 2005-10-23 , Time : 12:14:57 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 5


   เรียนอาจารย์ Shonigega
ขณะนี้ที่ ER สงขลานครินทร์ มี Staff ตลอด 24 ชั่วโมงตั้งแต่ เดือน ก.ค. 48 ครับ และกำลังพยายามหา Staff เพิ่มเติมรวมทั้งพยายามพัฒนาการให้บริการอยู่ครับ (ในระบบราชการบางครั้งก็ต้องใจเย็นๆ นะ)
จะพยายามนำขอเสนอแนะจากทุกท่านมาเป็นแนวทางการปฏิบัติ

ขอบคุณครับ


Posted by : Rookie , Date : 2005-10-23 , Time : 16:52:53 , From IP : 172.29.1.97

ความคิดเห็นที่ : 6


   น่าภูมิใจและขอเป็นกำลังใจครับ

Posted by : Shonigega , Date : 2005-10-23 , Time : 17:09:57 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผมว่าอาจารย์แพทย์ที่ ER
น่าจะติดป้ายชื่อ ว่าเป็นอาจารย์แพทย์ประจำ ER
หรือใส่เสื้อกาวน์ยาวที่มีป้ายชื่อปักจะได้ดูแตกต่างจาก Extern

เพราะตอนไป ER ก็ไม่รู้ใครเป็นใคร


Posted by : Young staff , Date : 2005-10-23 , Time : 18:49:59 , From IP : 172.29.1.165

ความคิดเห็นที่ : 8


   ที่บอกว่าวิเคราะห์โรคไม่ตรงเพราะว่าทานยาแล้วไม่ทุเลาลงเลย จึงไปหาหมอในวันปกติ แพทย์ผู้ตรวจแจ้งให้ทราบ

Posted by : คนไข้ , Date : 2005-10-23 , Time : 21:47:33 , From IP : 203.113.76.10

ความคิดเห็นที่ : 9


   คุณ"คนไข้" 203.113.76.10

อ๋อ! ที่แท้แพทย์ผู้ตรวจที่บอกว่าวิเคราะห์โรคไม่ตรงคนนี้ คือ
อาจารย์หมอธีรพงศ์ สุขไพศาล นั่นเอง...

เพราะคุณ"เพ็ญศรี" ก็ 203.113.76.10 เหมือนกันนนนนน...อิอิ...





Posted by : อิอิ , Date : 2005-10-23 , Time : 22:58:46 , From IP : 172.29.7.157

ความคิดเห็นที่ : 10


   อย่าแฉแบบนี้ดิ เด๋ววันหลังก็อดจับได้แบบนี้อะดิ
เงียบๆดีกว่า :)


Posted by : ห้า , Date : 2005-10-23 , Time : 23:13:00 , From IP : 172.29.3.132

ความคิดเห็นที่ : 11


   มันเป็นธรรมชาติอยู่อย่างหนึ่งที่แพทย์คนที่ได้ตรวจทีหลังมักจะ "ดูเหมือน" เก่งกว่าแพทย์คนที่ตรวจตอนแรกๆ แต่นี้อาจจะไม่จริงเสมอไป

โรคจำนวนมากมีจุดเริ่มต้นของอาการและอาการแสดงเพียงเล็กน้อยและเหมือนๆกัน จนกระทั่งมีการ "ดำเนินโรค" ไปสักพักหนึ่งอาการและอาการแสดงจำเพาะโรคก็จะเริ่มเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ บวกกับประโยชน์ตามหลังที่ "ทราบว่า" โรคนี้มีคนคิดว่าเป็นอะไรบ้าง และให้การรักษาอย่างไรไปบ้างแล้วก็ยังไม่ได้ผล ก็สามารถที่จะบีบวงวินิจฉัยได้แคบลง แม่นยำมากขึ้น หรือแม้กระทั่งอาจจะได้พบผป.ตอนที่กำลังจะหายตามยาที่ได้ให้ไปแล้ว ก็สามารถได้ประโยชน์ตรงนี้เพิ่มเติมอีกโสตหนึ่ง

ตรงนี้อาจจะทำให้ผป.และญาติเข้าใจถ่องแท้ยาก และจะได้ข้อสรุปว่าหมอคนหลังเก่งกว่า ดีกว่าหมอคนแรกๆ แต่เมื่อพิจารณาว่าแพทย์ ณ ห้องฉุกเฉินสามารถให้การวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้น จนกระทั่งหมดภาวะฉุกเฉิน และญาติสามารถพาผป.มาพบหมอในเวลาราชการตามปกติ ผมคิดว่าตรงนี้ก็น่าจะเป็นผลงานที่น่าชมเชยพอสมควร รวมทั้งการชี้แจงโดยแพทย์ท่านสุดท้ายผู้โชคดีว่ามันไม่ใช่ความผิดของแพทย์คนแรกๆ (เสมอไป) ที่จะให้การรักษา วินิจฉัยผิดพลาด มันมีองค์ประกอบหลายอย่างที่เรา "ต้องทราบ" ก่อนที่จะ "ตัดสินค่า" ของใครไป และเพื่อเป็นการดูแลคนในวงการอย่างที่เขา "สมควร" จะได้



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-23 , Time : 23:51:36 , From IP : 203.107.193.48

ความคิดเห็นที่ : 12


   สิ่งนึงที่อาจทำให้การบริการของ ER เรายังไม่เป็นที่ประทับใจของผู้ใช้บริการคือเรื่อง communication skill ของบุคลากร ทั้งการสื่อสารของบุคลากรกับผู้ป่วยและญาติ การสื่อสารระหว่างหมอกับพยาบาล ระหว่างพยาบาลกับผู้ช่วยเหลือ
มีประเด็นที่อภิปรายในห้องเรียนที่แคนาดาที่น่าสนใจคือ เราจะ breaking bad news กับญาติผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินอย่างไร มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และมีบางความเห็นที่น่าสนใจ เช่นเราน่าจะมีแนวทางสำหรับแจ้งข่าวร้ายที่ ER และสอนบุคลากรของเราด้วย
ส่วนใหญ่จะสนใจเรื่อง breaking bad news ใน end of life care หรือเมื่อวินิจฉัยโรคที่รุนแรงหรืออาจรักษาไม่หายขาดเช่นมะเร็งหรือ HIV infection ประเด็นนี้ที่ ER จึงมักถูกมองข้าม สถาบันเรามีการฝึกอบรมด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน(รวมไปถึงศัลยศาสตร์ซึ่งต้องมารับ consult ที่ห้องฉุกเฉินด้วย) คงต้องฝากผู้รับผิดชอบพิจารณาด้วยครับ


Posted by : FP , Date : 2005-10-24 , Time : 10:44:05 , From IP : toronto-HSE-ppp40318

ความคิดเห็นที่ : 13


   ขอขอบคุณ อาจารย์ Phoenix ที่ช่วยอธิบายความจริงบางอย่างครับ
สำหรับเรื่องราวและข้อเสนอแนะต่างๆที่ได้รับจะพยายามปรับปรุงครับ

ขอบคุณในทุกข้อเสนอแนะ


Posted by : Rookie , Date : 2005-10-24 , Time : 21:30:07 , From IP : 172.29.1.97

ความคิดเห็นที่ : 14


   เป็นกำลังใจให้คนทำงานทุกคนครับ

Posted by : เด็กแนว , Date : 2005-10-25 , Time : 13:21:14 , From IP : 172.29.1.165

ความคิดเห็นที่ : 15


   เป็นกำลังใจให้ทุกๆคนที่ ER นะครับ

Posted by : TaRzAn , Date : 2005-10-31 , Time : 21:49:15 , From IP : 172.29.4.101

ความคิดเห็นที่ : 16


   อวดว่ามี staff cover 24 ชม ระบบดีอย่างนั้นอย่างนี้
ทำไมเวลาจะรับ refer หรือควรดูแลโรงพยาบาลอื่นที่ต้องการพึ่ง มอ ถึงยากเหลือเกิน
ดีแต่โม้...


Posted by : คนที่รู้ตื้นลึก , Date : 2005-11-13 , Time : 07:38:31 , From IP : adsl-203-156-37-65.j

ความคิดเห็นที่ : 17


   อาจจะง่ายขึ้นในการแก้ปัญหาไหมครับ ถ้าหากจะเพิ่มเติมตัวอย่างของประสบการณ์ที่ว่า refer ยาก หรือการดูแลโรงพยาบาลอื่นที่ต้องการพึ่ง มอ. (? หมายถึงทำอะไรครับ?) ยากนั้น ได้แก่เหตุการณ์ไหน เกิดขึ้นเมื่อไหร่ อย่างไร เราจะได้ทราบว่ามันเป็นปัญหาของระบบตรงจุดไหนและแก้ไขได้ ไหนๆก็ทราบรายละเอียดของเรื่องราวแล้ว



Posted by : Phoenix , Date : 2005-11-13 , Time : 09:22:47 , From IP : 58.147.107.105

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<