ความคิดเห็นทั้งหมด : 62

ประเพณีรับน้อง = ประเพณีว๊าก !!!!!?!!???!!


   **ข้อความต่อไปนี้ได้นำมาจากกระทู้ใน mthai.com
นำมาตั้งกระทู้ในกระดานอภิปรายคณะแพทย์
เพื่อให้ทั้งพี่ว๊าก และรุ่นน้อง ได้มีมุมมองที่กว้างขึ้น **


ไม่ทราบประเพณีการว๊ากเนี่ยใครตั้งมาเหรอ เกลียดมากๆเลยนะ ไปรับน้องก็ไปสนุกกันไม่ใช่เหรอ เป็นการที่พี่กะน้องมาเจอหน้ากัน ทำกิจกรรมร่วมกันไม่ใช่เหรอ แล้วการว๊ากโผล่ขึ้นมาทำไม ว๊ากเพื่อให้น้องๆรู้จักกันเหรอ ว๊ากเพื่อให้น้องๆรักกันเหรอ แล้ววิธีอื่นไม่มีแล้วเหรอ

อยู่ระดับอุดมศึกษาแล้ว ทำไมยังจะต้องใช้วิธีต่ำๆถ่อยๆด้วยล่ะ พูดดีๆ ไม่ได้เหรอ พี่ๆที่ว๊ากรู้มั้ยการที่น้องๆบางคนเจอการว๊ากอ่ะ มันมีความรู้สึกที่แย่ๆ เสียๆ มากๆ ทำให้ไม่อยากไปรับน้องเลย แล้วพอไม่ไป พี่ก็ประชดประชัน ไม่รักเพื่อนเหรอ? ให้เพื่อนๆโดนแล้วน้องไม่รักเพื่อนเหรอ ทิ้งเพื่อน แล้วพี่ๆ ไม่คิดบ้างหรือค่ะ ที่น้องๆเค้าทำอย่างนี้เพราะอะไร เพราะพี่ๆไม่ใช่เหรอที่บังคับความรู้สึกให้น้องๆต้องทำแบบนี้อ่ะ แล้วที่พี่ๆพูดว่า แค่นี้น้องก็ยอมแพ้แล้ว น้องๆจะไปทำอะไรกิน ขอบอกว่า พวกหนูไม่ได้ยอมแพ้ไม่ได้ถอยหรืออย่างไร แต่พวกหนูทนไม่ไหว สุภาพจิตพวกหนูจะเข้าขั้นโรคจิตแล้วพี่ๆจะรู้มั้ย อะไรที่พวกหนูสู้ได้ หนูก็ทำ แต่อะไรที่พวกหนูสุดๆแล้ว พี่ยังจะให้พวกหนูทำอ่ะ พี่รักน้องแล้วหรือ


พี่บางคนก็บอกว่า พวกพี่ว๊ากอ่ะเค้าต้องเสียสละ เค้าต้องมาว๊ากพวกน้อง ต้องให้พวกน้องเกลียดเค้า พวกหนูก็อยากจะบอกว่า พวกพี่ไม่จำเป็นต้องว๊ากก็ได้นี่ค่ะ พูดกะพวกหนูดีๆก็ได้ อยากให้พวกหนูมีระเบียบ ก็ไม่ต้องตะโกนไม่ต้องด่าไม่ต้องเดินมากระแทกกระทัน พูดจะพวกหนูดีๆ พวกหนูก็ยังมีความเกรงใจ มีความเคารพรุ่นพี่นะค่ะ แต่รู่นพี่ทำแบบนี้กะพวกหนู พวกหนูนับวันยิ่งเริ่มเกลียดรุ่นพี่นะค่ะ แรกๆยอมรับว่ากลัวแต่โดนบ่อยๆมันเกลียดนะค่ะ มันเริ่มแอนตี้มากๆ อยากให้พวกหนูรู้จักกันรักกัน พี่ๆก็หาเกมมาเล่นสิค่ะ จะได้กระชับความสัมพันธ์ไม่ใช่มาสั่งให้ทำนู่นทำนี่


แล้วที่พี่ให้ตามล่าหาลายเซ็นรุ่นพี่อ่ะ (ไม่รู้ม.อื่น เป็นมั้ย แต่ม.เราเป็นอ่ะ) พี่คิดจะสั่งก็สั่ง ไม่ให้เวเลารุ่นน้องคิดจะเอาก็เอา ไปขอพี่แต่ละคน ก็ไม่ค่อยจะยอมให้ดีๆกันเลย ให้ไปตะโกนแนะนำตัว กลางสนามมั่ง ให้ไปทำอะไรบ้าๆบอๆ ตามฝูงชนมั่ง พอบอกไม่ไหว พี่ก็บอกว่า โห น้องแค่นี้ไม่ไหว ตอนพี่นะ(แล้วพี่ก็จะบรรยาย อะไรที่โหดๆ กว่าที่เราโดน) ขอถามรุ่นพี่ว่า ตอนพี่โดนรู้สึกยังไงค่ะ รู้สึกดีเหรอค่ะ กับความอายอ่ะค่ะ พี่รู้สึกยังไงค่ะ ทำไมต้องให้รุ่นน้องรู่สึกอย่างงั้นด้วยหรือ ไม่สงสารน้องหรือค่ะ ทำไมต้องแกล้งด้วยอ่ะ

พี่ๆจะรู้บ้างมั้ยค่ะ ถ้าก้าวแรกทำให้ความรู้สึกไม่ดีอ่ะ ก้าวต่อไปเราจะกล้าก้าวเหรอ วันแรกก็ไม่ชอบ รู้สึกไม่ดีแล้ว วันเรียนล่ะ จะรู้เรื่องเหรอ ทำไมล่ะไม่เข้าใจ


Posted by : GG , Date : 2003-06-06 , Time : 13:45:25 , From IP : 172.29.2.90

ความคิดเห็นที่ : 1


   ครั้งหนึ่งพี่ก็เคยคิดแบบน้องนะ แต่หลังจากที่ผ่านไปแล้วพี่ว่ามันดีกว่าการที่จะไม่มีการประชุมเชียร์นะ เพราะเราได้รู้จักรุ่นพี่ อย่าง ๆ น้อย ๆ ก็ว๊ากล่ะ(ประมาณว่าใครวะมาด่าอยู่ได้) รู้จักเพื่อนทั้ง ร้อยกว่าคน เพราะถ้าไม่มีการท่องชื่อพี่คงจำเพื่อนไม่ค่อยได้หรอกแต่นี่มีตัวคอยกระตุ้นไม่จำก็ไม่ได้ ใครน้าที่ชอบขาดเชียร์ ที่พี่รู้มามหาลัยอื่นที่เขาไม่มีประชุมเชียร์ก็จะอยู่กับแบบต่างคนต่างอยู่ คบกันในกลุ่มเล็กๆเท่านั้นเอง และอีกหลาย ๆ อย่างถือว่าเป็นประสบการณ์ชีวิตแล้วกันนะคะ

Posted by : possy , Date : 2003-06-06 , Time : 14:01:54 , From IP : 172.29.2.136

ความคิดเห็นที่ : 2


   ตอนที่พี่เข้ามเจอสถานการณ์เดียวกับน้องในตอนนี้ พี่รู้สึกว่าแย่มาก หดหู่เหมือนกัน แต่หลังจากที่เข้าไปร่วมกิจกรรมทุกครั้ง พี่พบว่ามันสอนอะไรให้พี่มากเลย อย่างน้อยๆมันก็ช้วยให้เรามองเห็นความสำคัญของเรื่องบางเรื่องที่เราอาจมองข้ามไป ถ้าพวกพี่ๆเขาไม่มากระตุ้นให้คิด แม้ว่าตอนแรกๆจะไม่ค่อยชอบหน้าพวกพี่เขาเท่าไรนัก แต่พอสิ้นสุดกิจกรรม มันทำให้พี่รู้สึกเปลี่ยนไป รู้สึกขอบคุณพวกพี่ๆมากๆเลย พี่ๆทำให้ชั้นปีของพี่รู้จักกันมากขึ้น ได้ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน และความเครียดที่เราได้เจอในห้องเชียร์ ทำให้เราเตรียมใจได้ระดับหนึ่ง เมื่อต้องเผชิญกับบความเครียดจากการเรียนและการสอบ หากน้องเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง น้องก็จะเข้าใจมัมได้ดี

Posted by : .. , Date : 2003-06-06 , Time : 14:13:30 , From IP : 172.29.2.234

ความคิดเห็นที่ : 3


   ระวังน้ำตาซึมนะน้อง จบวันไหนตื้นตันใจ ไม่เชื่อลองรอดู

Posted by : ~Kith~ , Date : 2003-06-06 , Time : 19:00:00 , From IP : 172.29.2.89

ความคิดเห็นที่ : 4


   ใจเย็นๆนะครับน้องๆ
อดทนต่อไปแค่ไม่กี่ครั้ง
แล้ววันหนึ่งน้องมองกลับมา
จะเห็นคุณค่าของความอดทนนี้นะครับ


Posted by : พี่ , Date : 2003-06-06 , Time : 19:12:06 , From IP : 208.147.1.2

ความคิดเห็นที่ : 5


   อืม มันเป็นการกระทำแบบไม่มีเหตุผลที่มีเหตุผลอะนะ

Posted by : สาวน้อยร้อยชั่ง , Date : 2003-06-06 , Time : 22:17:58 , From IP : 172.29.2.149

ความคิดเห็นที่ : 6


   บางอย่างที่มันดูเหมือนจะเป็นประสบการณ์แย่ๆ แบบว่า โอ๊ย..ไม่อยากไปเลย ตกเย็นทีไรก็ เฮ้อ..ประชุมเชียร์อีกแล้ว ทำบ้าอะไรกันก็ไม่รู้ อะไรแบบนั้น
แต่ซักวันนึงที่น้องผ่านมันมา น้องจะไม่รู้สึกเสียใจเลย เพราะมันทำให้น้องผูกพันกันโดยไม่ทันรู้ตัว รู้จักและยอมรับกันมากขึ้น อย่างน้อยทุกวันน้องก็มีเรื่องให้พูดถึงร่วมกันมากขึ้น จริงมั้ย

ทำใจให้สบายเถอะจ้ะ พี่เค้าไม่ได้จะด่าจะว่าอะไรเราหรอก มองมันให้เป็นเรื่องสนุกหรือเรื่องตลกดีกว่า เพราะจริงๆแล้วมันไม่ใช่เรื่องอะไรที่น่าซีเรียสเลย(จริงๆนะ) แล้วน้องก็จะรู้สึกมีความสุขขึ้น

เดี๋ยวมันก็ผ่านไป....เนอะ

^_^


Posted by : ใครซักคนนี่แหละ , Date : 2003-06-07 , Time : 00:35:55 , From IP : 203.113.76.10

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผมรู้สึกว่าน้องเขาตั้งใจจะถามว่าพี่ๆสามารถสร้างความประทับใจหรือบรรลุวัตุประสงค์ที่ว่ามาโดยวิธีสุภาพได้หรือไม่น่ะครับ คือว่าบางคนเขาอาจจะชอบให้พูดจากันดีดีก็เป็นไปได้ใช่ไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-07 , Time : 01:45:51 , From IP : 172.29.3.207

ความคิดเห็นที่ : 8


   ขอโทษเถอะครับคุณน้อง การว๊ากมันต่ำทราม มันถ่อยมากเลยหรือครับ แล้วถ้าต่อไปคุณทำงานข้างนอกคุณคิดว่าคุณจะอยู่แต่ในหมู่ปัญญาชนพูดจาแต่ละคำภาษาดอกไม้หรือไง บางครั้งคุณอยู่ในสถานการณ์ที่คุณว่าคุณไม่ผิด แต่คุณถูกด่าถูกต่อว่าดูถูกเหยียดหยาม เหมือนคล้ายๆกับที่คุณโดนว๊าก คุณจะทำอย่างไรคุณจะร้องไห้หรือ จะทำการโดยกร้าวร้าวหรือ หรือคิดว่าจะใช้เหตุผล(ซึ่งถ้าคุณทำงานข้างนอกคุณจะรู้ดีว่ามันไม่ใช่ตำตอบที่ถูกเสมอไป กับเจ้านายหรือผอ.โรงบาลงี่เง่าบางคนที่คติว่าข้าพเจ้าคือความถูกต้องมีจริงนะหลายคนด้วยผมเจอมาแล้ว) คุณคิดว่าในสถานการณ์แบบนั้นต่อไปถ้าคุณเจอคุณจะทำอย่างไร ร้องไห้ ลาออก หรือคิดแบบวัยรุ่นงี่เง่าบางคที่จบลงด้วยการฆ่าตัวตาย ฯลฯ การประชุมเชียร์มันก็จะเป็นตัวสอนคุณไปในตัวเองแหละ ว่าภายใต้สถานการณ์กดดันงี่เง่าอย่างนั้นคุณจะทำอย่างไร และอีกประเด็นที่ว่าทำไมไม่ใช้กิจกรรมอื่นอย่างงั้นอย่างงี้ ก็ผมว่าหาไม่มีความกดดันอะไรทำนองนี้มาช่วยสร้างบรรยากาศ มันก็คงไม่ต่งจากพวกวิชาจริยะที่คุณเรียนมาที่โรงเรียนนั่นแหละ มาถึงก็บอกคุณต้องทำดีคุณต้องสามัคคีฯลฯ แต่สุดท้ายมันก็เหลวซะส่วนใฆญ่หรือคุณเห็นว่าไม่จริง อย่างผมก็มีประสบการณ์ทั้งจากการที่เป็ทั้ง freshy และพี่ว๊ากมาก็ได้อะไรหลายอย่างจากการประชุมเชียร์ เพราะผมมันคนเลือดร้อน ตอนประชุมเชียร์คิดแต่อยากจะต่อยพี่ว๊าก แต่ก็ต้องหัดเป็นคนมีความอดกลั้นต่อโทสะ ทำให้ผมอยู่รอดมาถึงทุวันนี้ไม่อย่างนั้นหากไม่ได้ผ่านจุดนั้นมาผมก็อาจได้เผลอไปต่อยอาจารย์ที่ผมไม่ชอบ หรือผิดใจกับผมตอนอยู่ที่ ward ก็เป็นได้ ผลลัพธ์คุณก็คงนึกออกนะครับว่าจุดจบมันจะอยู่อย่างไรกับคนประเภทนี้ ปัจจุบันผมก็เลยเป็นคนที่ใจเย็นขึ้นมากรู้จักอดกลั้นและระบายออกมาอย่างเหมาะสม แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าเดี๋ยวนี้พวกการประชุมเชียร์น่ะ ว๊ากพวกรุ่นหลังน่ะไก่อ่อนจะตาย ไม่ดุเหมือนรุ่นก่อนๆนี้ที่เจอมา ไม่เชื่อลองถามพวกพี่ๆพวกคุณที่อยู่ซักปี6ขึ้นไปดู พอพวกเขามาเห็นว๊ากเดี๋ยวนี้ก็บอกเลยว่าเด็กๆ เมื่อเทียบกับรุ่นก่อน เพราะฉนั้นอย่าคิดมากเลยไอ้น้อง

Posted by : พี่แก่แล้ว แต่เก๋านะ , Date : 2003-06-07 , Time : 04:26:50 , From IP : 172.29.3.155

ความคิดเห็นที่ : 9


   คงจะมีวิธีฝึกอบรมจิตใจและการตอบสนองต่อความเครียดได้หลายวิธี

ผมจบมหิดลนานพอประมาณแล้ว ผ่านรับน้องก็คงจะพอๆกับมาตรฐานเท่าๆกับคนธรรมดา มหิดลรุ่นนั้นไม่มีการว้าก (ว แหวนเป็นอักษรต่ำ ไม่มีใช้ตัวไม้ตรี แต่ผันเอกเป็นเสียงโท โทเป็นเสียงตรี) และที่อื่นๆที่ผมได้ไปผ่านอีกสองสถาบันหลังจากนั้นก็ไม่มีการว้าก ชีวิตการทำงานของผมมีการเจอคนทุกรูปแบบอย่างที่ว่าจริงๆ คือคนการศึกษาทุกระดับชั้น ใช้ภาษาต่างๆนานารวมทั้งที่ไม่ใช่ภาษาดอกไม้ หรือพันธุ์ไม้ใดๆทั้งสิ้น แต่ผมคิดว่าผมสามารถจัดการกับเรื่องเหล่านั้นดีพอสมควรโดยไม่ต้องผูกคอตายหรือลาออก ที่ว่านี้รวมทั้งเพื่อนรุ่นเดียวกันที่จบจากมหิดลอีกราวๆ 500-600 คนนั้น อย่างน้อยที่สุด 184 คนกำลัง doing OK และไม่เคยได้ยินมีใครบ่นเสียใจที่ชีวิตนี้ไม่ได้ถูกว้าก

เนื่องจากเป็นรุ่นที่โชคดีหรือไม่ดีก็ไม่ทราบ เราเลยไม่ทราบว่าขาดอะไรไป ส่วนรุ่นที่ถูกว้ากมา ก็เล่าให้เราฟังว่าทำให้เขาสามารถอดทนต่อสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น รุ่นผมก็เลยอยากจะ share ประสบการณ์ว่า การรับน้องมหิดลโดยพาไปออกค่าย เข้าหมู่บ้าน จัด scenario ต่างๆของปัญหาสาธารณสุขนั้นผมก็มีความประทับใจจนกระทั่งวันนี้ เจอหน้าพี่ที่รับน้องก็ยังกราบไหว้กันดีอยู่โดยที่แกไม่ได้ด่าหรือว้ากอะไรซักกะหน่อย

ทีนี้คงจะขึ้นอยู่กับคนจัด ว่าขณะที่เรากำลังว้ากหรือขณะที่เรากำลังพูดตามปกติดีดีนั้น message ที่เราต้องการจะ transfer ให้รุ่นน้องนั้นอย่างไหนดีกว่ากัน ผมมองเห็นว่าการว้ากคงจะให้แค่ procedure เท่านั้น contents คงจะถ่ายทอดยาก (ใครไม่เชื่อลองทำ lecture เรื่อง metabolic response to Injury โดยวิธีว้ากดู) และ procedure ที่ว่าคงจะ focus ได้วัตถุประสงค์ใหญ่ๆคือ ชีวิตที่ stress เพราะ maniac เป็นอย่างไร แต่ผมเคยฟัง brief มามากมายในชีวิตนี้ brief ที่ประทับใจและยืนยงนั้นเป็น brief ที่ผมจำเนื้อหาถ้อยความได้เป็นส่วนใหญ่ และเกิดในสถานการณ์ที่คนฟัง "สามารถ" รับได้อย่างมีความพร้อม ส่วนความพร้อมในการรับรู้นั้นมีองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่ใคร่มั่นใจว่าขณะที่เกิด stress ถูกด่า ถูกสั่งให้ทำสิ่งที่ไม่ต้องการ นั้นจะรวมอยู่ใน "ความพร้อม" ที่ว่าหรือไม่

My two cents



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-07 , Time : 11:52:19 , From IP : 172.29.3.223

ความคิดเห็นที่ : 10


   ว้ากเป็นวิธีการที่ถอดแบบมาจากระบบการฝึกเพื่อบัญชาการในทางทหาร ผู้ถูกฝึกไม่จำเป็นต้องมีมันสมองมากนักคอยฟังเพื่อรับคำสั่งและปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ วัตถุประสงค์เพื่อฝึกกำลังพลให้เกิดความพร้อมเพรียง เข้าใจคำสั่งและยุทธวิธีเพื่อทำการรบอย่างมีประสิทธิภาพ
ผมจึงไม่ค่อยจะแน่ใจว่า ประสิทธิภาพที่นำมาอวดอ้างนักหนาว่าช่วยให้เกิดความสามัคคี รู้จักสัมมาคารวะ ฝึกความอดทน มันจะจริงอย่างที่ว่ากันหรือป่าว เพราะแม้แต่ทหารเอง ที่เคารพกันก็เพราะยศและตำแหน่งทีสูงกว่า จะมีที่เคารพกันด้วยใจจริง ๆ นั้นก็มีปัจจัยอื่น ๆ มาเกี่ยวข้องด้วยมากกว่าเพียงแค่การฝึกเท่านั้น
นักศึกษาไม่ใช่ทหาร ผมก็ไม่เข้าใจอีกนะแหละว่าจะเอามาใช้กันได้อย่างไรในเมื่อนักศึกษาจำเป็นต้องมีสมองเอาไว้คิดไม่ใช่เอาไว้รรับคำสั่ง เพราะฉะนั้นสาร์นที่คุณต้องการจะสื่อออกไปให้น้อง ๆ เค้าเข้าใจจะมีสักกี่เปอร์เซนต์ที่เค้าจะตระหนักและซึมซับเข้าไปในโสตสำนึก
ความรู้สึกดีภายหลังการผ่านการว้าก ถ้าวิเคราะห์ให้ชัด กิจกรรมอะไรก็ตามที่ต้องทำร่วมกันเป็นหมู่คณะ โดยผ่านความรู้สึกที่หลากหลาย เป็นระยะเวลานานในระดับนึง เมื่อจบกิจกรรม ก็จะส่งผลทางด้านจิดวิทยาให้รู้สึกระลึกถึงเสมอ บ้างอาจภูมิใจ บ้างก็อาจเสียใจ บ้างก็อาจเฉย ๆ บ้างก็แค้นไปอีกนาน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นระบบประชุมเชียร์แบบว้าก
ว้ากเป็นระบบที่เน้นความเร็วและไม่ต้องสร้างกระบวนการคิดมากนัก ระบบนี้มีขั้นตอนในการเตรียมการไม่มาก ถ่ายทอดกันมาเป็นรุ่น ๆ ดำเนินการแบบเดิม ๆ คือมีทีมพี่ว้าก โดยถ้าให้ดีต้องฝึกความอึดเพื่อทุกครั้งที่สั่งทำโทษ ตนเองก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งตนเองด้วย (ไม่รู้มีแบบนี้อีกหรือป่าวหรือว่าแค่สั่ง) ให้ทีมว้ากเรียนรู้กระบวนการและกำหนดการทั้งหมด มีพี่นำเชียร์กับทีม staff ทีมปฐมพยาบาล ร่วมประสานงาน เอลืมทีมไหนไปอันนี้ต้องขออภัยด้วยเพราะมันนานมาแล้ว หลักการสร้างความสัมพันธ์ส่วนใหญ่เน้นไปที่ให้จำชื่อ เพื่อนพี่ให้ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ หรือการโดนทำโทษร่วมกัน
สุดท้ายผมก็ไม่รู้จะเขียนอะไรต่อ เพราะเห็นประโยชน์จากระบบนี้น้อยมาก ในการบรรลุวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เดี๋ยวหาว่าพูดลอย ๆ ผมแนะให้ทำแบบสอบถามวัดผลก่อนและหลังเกี่ยวกับความพึ่งพอใจ ประเมินในทุกด้านของวัตถุประสงค์ ลองปรึกษาภาควิชาจิตเวชดูสิครับเผื่อว่าจะช่วยออกแบบสอบเชิงจิตวิทยาดี ๆ ให้ได้ อ้อวัตผลหลังเสร็จกิจกรรมนี้แนะว่าทำตอนวันสุดท้ายของการว้ากนะครับ ไม่งั้นผลที่วัดได้จะไม่เที่ยงตรง เพราะโดนตัวตัวแปรอื่นเบี่ยงเบน
ผมเป็นคนนึงล่ะที่ผ่านการว้ากมาแล้ว ลองย้อนกลับไประลึกดูก็รู้สึกเฉย ๆ ถามตัวเองว่ารู้จักเพื่อน ๆ พี่ ๆ หลายคนและมีเพื่อนสนิท ๆ หลังจบมหาวิทลาลัยจนปัจจุบันเพราะอะไร ก็ตอบว่าเพราะไปช่วยงานเค้าเยอะ ไม่ว่าจะเป็นงานนอกหรือในคณะ เพื่อนสนิท(ไม่ใช้แค่รู้จัก) ที่เกิดจากตอนโดนว้ากไม่เห็นมีสักคน





Posted by : Mercury , Date : 2003-06-08 , Time : 01:52:52 , From IP : 172.29.1.195

ความคิดเห็นที่ : 11


   ศาสตร์ทุกสาขามีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ศาสตร์ทางการศึกษาก็ไม่ได้เป็นข้อยกเว้น

การมองไปที่คนรับนั้นกำลังเป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ของค่านิยมทางการศึกษา ซึ่งแบบเก่านั้นคือมุมมองส่วนใหญ่ออกมาจาก"คนให้" และถือว่าคนให้นั้นรู้ดีกว่า มีประสบการณ์มากกว่า (ในกรณีรับน้องผมไม่ทราบว่าห่างกันกี่ชั้นปีนะครับ แต่สงสัยความมี "นัยสำคัญ" ของประสบการณ์ที่มากกว่านั้นเพียงพอที่จะสอน "การดำรงชีวิต" ขนาดนั้นเลยรึเปล่า)

ออกจะเป็นการแปลกถ้ามี request จากน้องเองเรื่องรูปแบบของการแนะนำตัวรุ่นพี่และสถาบัน (ซึ่งผมเชื่อว่านั่นคือวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของประเพณีรับน้องใหม่) ให้ทราบ แต่ข้อเสนอหรือคำถามเหล่านั้นจะถูก ditch ทิ้งไป แค่บอกว่าเฉยๆก็จะดีเอง ฟังดูอาจจะติดอยู่กับระบบเก่าที่ไม่ค่อยอยากฟังเสียงคนรับเท่าไหร่นะครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-08 , Time : 02:32:52 , From IP : 172.29.3.204

ความคิดเห็นที่ : 12


   ผมรู้สึกว่าน้องหลายๆคนก็เริ่มที่จะเข้าใจจุดประสงค์ของการประชุมเชียร์แล้วนะ ขอให้น้องๆตั้งใจแล้วจะได้สิ่งที่มีค่ากลับไป


Posted by : Chester , Date : 2003-06-08 , Time : 12:11:21 , From IP : 172.29.2.94

ความคิดเห็นที่ : 13


   ผมก็เห็นด้วยเช่นกันว่า การประชุมเชียร์สามารถทำให้ได้ดีกว่านี้และลดการ "ว๊าก" (เพื่อเอาสนุก) ลงได้
แต่ทำงัยได้ เราไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับเขา เฮ้อ..



Posted by : ArLim , Date : 2003-06-08 , Time : 16:01:50 , From IP : 172.29.2.142

ความคิดเห็นที่ : 14


   จะว่าไป ประชุมเชียร์ก็ได้อะไรหลายอย่าง
ชื่อที่เพื่อนๆ จะลืมไม่ลง พร้อมรหัส (สำหรับรายที่ขาดประชุมเชียร์)
เพลงคณะ ที่สามารถร้องได้ภายในไม่กี่นาที (ฝึกความจำในชั่วพริบตา)
ฝึกยืนให้นิ่งๆ เอามือชิดหู(ไม่รู้ว่าเวลาเป็นหมอต้องเอามือชิดหูตอนอยู่ในสถาณการณ์ไหน)
ที่บอกว่า การว้ากไม่ค่อยให้ใช้สมอง แค่ให้ทำตามคำสั่ง คงไม่จริง
เพราะการว้ากที่น้องเจอ พี่ๆ เค้าจะเน้นให้เรา comment ตลอด เพื่อปรับปรุงข้อผิดพลาด ให้เรารู้จักคิด และแก้ไข ขอบอกว่ามีประโยชน์มาก เวลาพวกเราทำงานก็จะมีการcoment กันตลอด ทำให้เพื่อนๆ รู้จักคิดและกล้าแสดงความคิดเห็น
แต่บางอย่าง ที่บอกว่าสอนความสามัคคี ช่วยเหลือกัน น้องคิดว่า อาจเป็นการทำเพื่อเอาตัวรอดมากกว่า อาจดูเหมือนว่า เรายกมือตอบเพื่อช่วยเพื่อนๆ ที่จริงเรายกมือเพื่อตัวเอง ถ้าเราไม่ตอบก็โดนว้าก โดนยกมือนาน อาจดูเหมือนเป็นการช่วยเพื่อนๆ แต่ที่จริงก็ทำเพื่อตัวเองนั่นแหละค่ะ


Posted by : Mashimaro , Date : 2003-06-08 , Time : 20:36:32 , From IP : 203.113.76.73

ความคิดเห็นที่ : 15


   แขนชิดหูค่ะ ไม่ใช่มือชิดหู ขอโทษด้วย :-P

Posted by : Mashimaro , Date : 2003-06-08 , Time : 20:37:41 , From IP : 203.113.76.73

ความคิดเห็นที่ : 16


   การว้าก ไม่จำเป็นต้องเข้มงวดตลอด ดูอย่างเช่นวันศุกร์ที่ผ่านมา ขอบอกว่าพวกน้องซึ้งมากๆ และประทับใจในพี่ๆ และเพื่อนๆ ทุกคน
ขนาดฝนตกหนัก พวกเราก็ยังมา บางคนเดินตากฝนมา เพื่อนผู้ชายหลายคนวิ่งตากฝนเท้าเปล่าเพื่อเช็คคน ตามรถมารับ(โน้ต เชียร์ ปีนฯลฯ) ใครมีรถก็มารับไปส่ง (เล็ก เอ๋ฯลฯ)ส่วนเพื่อนผู้หญิงก็เอาร่มไปรับเพื่อนๆ จากตึกบริหาร และเช็คจำนวนคน
พวกพี่ staff ก็แสดงความเป็นห่วงออกมา ทั้งเอาอาหารมาให้ เอาเสื้อมาให้เปลี่ยน ปิดแอร์ตอนประชุมเชียร์ และยังพูดแสดงความเป็นห่วงในสุขภาพของพวกเราตลอดการประชุม แม้จะทำหน้าดุ แต่พวกเราก็รู้ว่าพี่ๆ เป็นห่วง ขอบอกว่าซึ้งจริงๆ (มีน้ำตาซึม)


Posted by : Mashimaro , Date : 2003-06-08 , Time : 20:56:21 , From IP : 203.113.76.73

ความคิดเห็นที่ : 17


   ผมเชื่อมั่นว่าพวกเราเป็นนักศึกษามาตรฐานสูงเป็นระดับมันสมองของชาติ การพิจารณาไตร่ตรองวางแผนจะ reflect สิ่งเหล่านี้ คุณ Mashimaru ได้จำแนกออกมาชัดเจนแล้วว่า "ประเด็น" ไหนที่สามารถจับใจคน นั่นคือส่วนที่เปนความเอื้ออาทร ความเป็นห่วงใยของรุ่นพี่นี่เอง เราพึงสมควรที่จะ exaggerate ส่วนนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ (ถ้าทำตอนหน้ายิ้มแย้ม ผลก็คงไมต่างกันกระมัง หรือ....ดีกว่า?)

ทำดีแล้วครับ ถ้าน้องรู้สึกว่าพี่มีความห่วงใยและปราถนาดี รับรองไม่หลุดออกนอกเส้นทางไกลแน่นอน



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-08 , Time : 22:40:07 , From IP : 172.29.3.223

ความคิดเห็นที่ : 18


   ไม่เห็นด้วยเลยกับการว้าก ตั้งแต่เข้าปี1 จนเป็นรุ่นพี่ จนจบมาเป็นหมอตั้งกี่ปีแล้ว ไม่เห็นจะได้ประโยชน์อะไร ไม่เห็นเกี่ยวกับการเป็นแพทย์ที่ดี ที่ชอบอ้างกัน ทั้งคนว้าก ทั้งคนถูกว้าก ทำไปตามประเพณี ดูสูญเสียความเป็นมนุษย์ยังไงก็ไม่รู้

Posted by : โซดา โค้ก , Date : 2003-06-09 , Time : 00:20:05 , From IP : 172.29.3.219

ความคิดเห็นที่ : 19


   ไม่เห็นด้วยเลยกับการว้าก ตั้งแต่เข้าปี1 จนเป็นรุ่นพี่ จนจบมาเป็นหมอตั้งกี่ปีแล้ว ไม่เห็นจะได้ประโยชน์อะไร ไม่เห็นเกี่ยวกับการเป็นแพทย์ที่ดี ที่ชอบอ้างกัน ทั้งคนว้าก ทั้งคนถูกว้าก ทำไปตามประเพณี ดูสูญเสียความเป็นมนุษย์ยังไงก็ไม่รู้

Posted by : โซดา โค้ก , Date : 2003-06-09 , Time : 00:20:41 , From IP : 172.29.3.219

ความคิดเห็นที่ : 20


   เพราะผมเชื่อว่าน้อง ๆ ทุกคนมีสมองจึงได้ถามว่ามันเหมาะหรืออย่างไรที่จะเอาระบบการฝึกของทหารที่ไม่ได้ต้องการให้คุณใช้สมองมาเป็นแบบในการฝึก เกิด barrier กับการใช้ทักษะในการคิดโดยไม่รู้ตัว เพราะคุณจะถูกสั่งให้ฟังและปฏิบัติก่อนการคิด ทั้งที่ชีวิตจริงคุณต้องคิดและฟัง หรือ ฟังแล้วคิดจึงจะปฏิบัติตามลำดับ

และเท่าที่ผมอ่านความคิดเห็นของคุณ Mashimaru ก็ยิ่งรู้สึกถึงความจริงที่ว่า ความเครียดหรือความกดดัน หรือการโดนทำโทษไม่ได้เป็นสิ่งที่น้อง ๆ ต้องการ แต่ความห่วงใยเอื้ออาทร ระหว่างพี่และน้องตะหากคือสิ่งที่น้อง ๆ ต้องการได้รับ

จิตวิทยาที่สำคัญของการว้าก คือ การบีบคั้นให้เกิดความกดดันจนรู้สึกโดดเดี่ยวต้องการที่พึ่ง อันจะนำไปสู่ความรู้สึกต้องการร่วมกลุ่มในเวลาต่อมา แต่ผลที่ได้จะเกิดเพียงระยะสั้นเพราะเมื่อปราศจากความกดดันที่มาจากการว้ากของพี่ว้าก ก็ไม่จำเป็นต้องเกาะกลุ่มเนื่องจากเงื่อนไขของการเกาะกลุ่มนั้น เพียงเพื่อป้องกันตัวจากการถูกทำโทษ แม้แต่การจดจำเพื่อน ๆ ก็เพียงเพื่อการป้องกันตัวเองจากการถูกทำโทษเช่นกัน หาได้เป็นความต้องการรู้จักที่เกิดจากความรู้สึกรักในหมู่คณะ ชื่อที่จำได้ถนัดกลับเป็นชื่อบุคคลทีไม่ได้มาร่วมประชุมเชียร์

การว้ากจึงเน้นการหวังผลในระยะสั้น ด้วยเวลาอันรวดเร็วมากกว่าหวังผลต่อเนื่องในระยะยาว เหมือนการเล่นหุ้นก็เน้นเล่นเฉพาะตัวที่มีการเคลื่อนไหวมาก ๆ เน้นเก็งกำไรแต่ไม่ได้เน้นเล่นแบบระยะยาวที่จะช่วยส่งผลดีต่อตลาดหลักทรัพย์โดยร่วมมากกว่า

แต่ผมก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าเจตนาดีจากรุ่นพี่เพื่อหวังให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในการรู้รักสามัคคีนั้นมีอยู่จริง เพียงแต่ยังยึดมั่นและเชื่อมั่นในระบบเดิมมากเกินไป โดยที่ไม่ตระหนักว่า การส่งผ่านความรักความเอื่ออาทรของรุ่นพี่มาสู่รุ่นน้องนั้น สามารถทำได้โดยไม่ต้องว้าก เพียงแต่ต้องอาศัยกระบวนการที่ต้องใช้วิธีคิดมากกว่าแบบเดิม เพิ่มความเชื่อมั่นและความตั้งใจจริงที่จะเห็นน้อง ๆ ได้เข้ามาเรียนรู้ความเป็นแพทย์และการเป็นมนุษย์ตามพระราชดำรัสของพระบิดาอย่างแท้จริง

เอาเป็นว่าจะใช้ระบบไหน ก็ตามแต่จะดำเนินการกัน แต่ก็อยากให้คิดให้รอบคอบและสอดแทรกจิตวิณญาณความเป็นแพทย์ ความเป็นมนุษย์ และการประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีงาม เพื่อที่น้อง ๆ จะได้ตระหนักในความห่วงใย ความเอื้ออาทรที่พี่มีให้กับน้อง จนเกิดความศัรทธา สืบทอดเจตนาอันดีต่อ ๆ ไป


Posted by : Mercury , Date : 2003-06-09 , Time : 01:50:30 , From IP : 172.29.3.220

ความคิดเห็นที่ : 21


   ผมคิดว่าที่ยังมีคนติดอยู่กับพิธี "โบราณ" คือการว้ากนั้นเป็นเพราะ concept of Good versus Bad นั่นเอง คือไม่มีดีกรี เป็นแค่ขาวกับดำ ถ้าดีก็ดี ถ้าเลวก็เลว จริงๆแล้วเรื่องราวหลายเรื่องมี เลวที่สุด เลวปานกลาง เลวน้อย กลางๆ ดี ดีมาก และ ดีมากที่สุด

อย่างทีคุณ Mercury ชี้ให้เห็นว่าเวลาคนเรา suffering จาก unjustified idiotic actions นั้นสามารถเพาะให้เกิดการจับกลุ่ม ร่วมกับการพัฒนาเสาะหาวิธีเอาตัวรอด เป็นความจริงอีกเหมือนกันว่าในชีวิตจริงมี unjustified idiotic actions จาก many idiots ทั้งที่เป้น Boss เป็นเพื่อน หรือเป็นลูกน้องเรา

แต่ว่านั้นเป็นเรื่องจริงครับ ไม่ใช่แสร้งทำเป็น idiot bullier

ทำไมคนดีๆ มีการศึกษาสูง มารยาทดีงาม ผ่านการอบรมสั่งสอนอย่างเหนื่อยยากและอุทิศจากพ่อแม่ ไม่สามารถหาทางอื่นนอกเหนือจากเสแสร้งเป็น idiotic bullier หรือ ว้ากเกอร์ เพื่อน้อง mystifies คนจำนวนมากเหมือนกัน คำถามที่ควรเสาะหาคำตอบคือ "นอกเหนือจาก ว้าก แล้ว มีวิธีการในสอนให้เรามีความสามัคคี มีจริยธรรม สามารถตอบสนองต่อความเครียดได้อย่างเหมาะสมและ civilized" หากทำการศึกษาแล้วปรากฏว่าไม่มี การว้ากก็อาจจะสมเหตุผล แต่ที่ว่านี้ได้มีการศึกษาและคิดถึงคำตอบกันบ้างหรือไม่?

ทำไมจะให้น้องทราบว่าพี่เห็นใจ เป้นห่วงน้องนั้น น่าละอายหรืออย่างไรจึงต้องปกปิด เป็นสิ่งลึกลับที่น้องต้องไขปริศนาจึงจะทราบ ต้องให้น้องเข้าใจว่าทั้งหมดที่พูดจาภาษากเลวรากนั้นพี่พี่แสร้งทำดอกนะ พี่รู้ว่าไม่ดีแต่น้องต้องเข้าใจว่าพี่แสร้งทำ? เป็นกระบวนการตรรกศาสตร์ที่ยากต่อการทำความเข้าใจจริงๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-09 , Time : 03:30:52 , From IP : 172.29.3.210

ความคิดเห็นที่ : 22


   อย่างที่คุณ Phoenix ถามทิ้งท้าย...เป็นคำถามที่หาคนตอบได้ยากจริงๆ

การว้ากมีผลเสียอย่างไร ?
เสียสุขภาพจิตระยะสั้น สร้างความทรงจำที่ไม่อยากจดจำสำหรับบางคน บดบังเจตนาที่ดีของรุ่นพี่ที่่ต้องการให้แก่น้องๆ

การว้ากทำไมถึงยังคงมีเกิดขึ้น ?
เหตุผล(ข้างคู)ของพี่ๆคือ การว้ากสามารถสอนน้องๆได้หลายๆอย่าง การว้ากทำให้น้องๆเคารพและยำเกรงรุ่้นพี่ เหตุผล(จริงๆ)ที่ปิดไว้คือ ว้ากเอาสนุกและมันส์ ไม่มีใครคิดรูปแบบใหม่เพื่อลดปริมาณการว้ากลง มักง่าย

ถ้าจะปรับปรุงหรือแก้ใหม่ก็ทำได้ เรื่องนี้ก็แล้วแต่รุ่นที่ทำประชุมเชียร์ให้น้องแล้วล่ะ ว่าจะมีความคิดและจิตสำนึกกันแค่ไหน


Posted by : ArLim , Date : 2003-06-09 , Time : 05:16:57 , From IP : maliwan.psu.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 23


   อย่ามองอะไรสุดกู่อย่างนั้นสิครับArlim แต่ละอย่างมันก็ต้องมีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกันไป โดยส่วนตัวArlimคงจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับประชุมเชียร์ตอนปี 1 แต่สำหรับผม ตอนนั้นแม้จะโดนด่ายังไง เมื่อยยังไง แต่ผมก็ไม่เคยรู้สึกเกลียดพี่ว๊าก รู้ว่าเขาทำอะไรอยู่ ตอนนี้มันก็เป็นความทรงจำที่ดีๆ แต่ก็ไม่รู้นะบางคนก็อาจจะเกลียดเอามากๆกับการถูกบังคับ แต่ผมว่าอย่างน้อยก็ดีนะ สำหรับใครที่เกิดมาไม่เคยเลยที่จะโดนใครเขาสั่ง บังคับ พูดจากวนประสาท ยั่วโมโห อย่างน้อยก็เป็นการฝึกไว้ไง ได้ประโยชน์ครับ เชื่อผมเถอะ

Posted by : Chester , Date : 2003-06-09 , Time : 11:25:31 , From IP : 172.29.2.80

ความคิดเห็นที่ : 24


   How about me ?


Posted by : Chester , Date : 2003-06-09 , Time : 11:27:40 , From IP : 172.29.2.80

ความคิดเห็นที่ : 25


   ผมมี reservation ในการที่จะเชื่อที่คุณ ArLim ว่าการว้ากจะช่วยให้น้องเคารพยำเกรงรุ่นพี่

คนระดับบัณฑิตมหาวิทยาลัยคิดอย่างไรกับพวกที่แหกปากตะโกนโว้กเว้กใส่ผู้อื่น? มีการกระทำที่ inappropriate ทางด้านการแสดงออกกายวาจาใจ กับระดับการศึกษาที่มีอยู่? เราจะเคารพยำเกรงคนเหล่านั้น? I think not.

ลองเอาใจเขามาใส่ใจเราดู ผมพยายามจะมองในมุมของว้ากเกอร์หลายต่อหลายครั้ง ผมตอบไม่ได้ครับว่าเพราะเหตุใดน้องจึงจะมาเคารพยำเยงผม ถ้าผมประพฤติตนดังกล่าว แต่ผมพอจะมองออกอย่างที่น้อง Mashimaru พูดคือ ถ้ามีใครแสดงความเป็นห่วงเป็นใยออกมาผมพอจะมองเห็นและประทับใจได้



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-09 , Time : 19:14:44 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 26


   อืม คุณ Chester แปลความหมายของผมผิดดแล้วล่ะ
ผมไม่ได้มีประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อประชุมเชียร์หรือเกลียดอะไรเลย เพียงแต่ผมได้เห็นอย่างที่คุณ Phoenix พยายามบอกมาตั้งแต่ต้นๆว่า การว้าก มันไม่ใช่หนทางที่เหมาะสมที่สุด

เมื่อตอนผมยังอยู่ปี 1 ผมเป็นคนที่เข้าประชุมเชียร์ทุกครั้ง comment ทุกครั้งที่มีความคิดเห็น .. และด้วยความเข้าใจในตอนนั้นว่า พวกเขากำลังสอนให้เรามี Pride Seniority Unity
เน้นครับ รุ่นผมเน้นเรื่อง Unity มาก แต่ผมกลับรู้สึกถึงความเป็น Unity ในรุ่นผมน้อยกว่ารุ่นอื่นอย่างไรไม่รู้ (หรือผมจะรู้สึกไปเอง)

เรื่องการเคารพหรือมีสัมมาคารวะต่อรุ่นพี่นั้น ผมก็เห็นด้วยว่า การว้าก ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ได้เรื่อง Seniority มา จะมีคนสักกี่คนในห้องประชุมเชียร์ที่จะรู้จักชื่อพี่ว้ากทั้งหมด หรืออย่างน้อยก็รู้จักต่อเนื่องเกิน 2 ปี (พี่ว้ากก็อยู่ extern พอดี)
ผมว่าผมรู้ชื่อและรู้จักพี่ว้ากสมัยผมเกือบทั้งหมดนะครับ และร่นพี่ก็คงคุ้นหน้าผมเหมือนกัน เพราะผมก็พยายามทักทายทุกครั้งที่เจอ

การจะทำอย่างไรให้รุ่นน้อง(อย่างน้อยๆ)เห็นหน้าก็ทักทายรุ่นพี่นั้น ผมว่าน่าจะรู้วิธีที่เหมาะสมกันเองอยู่แล้วนะครับ


Posted by : ArLim , Date : 2003-06-09 , Time : 22:27:06 , From IP : 172.29.2.103

ความคิดเห็นที่ : 27


   ที่ว่าไม่ใช่เป็นวิธีที่ดีที่สุดนั้นผมไม่เถียงครับ แต่ที่อยากเสริมก็คือการว๊าก สำหรับผมแล้วการสอนให้เคารพรุ่นพี่ หรือseniorityที่พูดๆกันเป็นแค่ส่วนเล็กๆเท่านั้น สำหรับผมแล้วคิดว่า ความสามัคคี กันเองในชั้นปีเป็นเรื่ิองที่สำคัญกว่าครับ


Posted by : Chester , Date : 2003-06-09 , Time : 23:58:11 , From IP : 172.29.2.125

ความคิดเห็นที่ : 28


   ขอบคุณพวกพี่ๆ นะคะที่เข้าใจจุดประสงค์ของน้อง แต่น้องอยากเสนอแนะข้อคิดเห็นเล็กน้อยค่ะ
น้องรู้สึกว่า การว้าก บางครั้งก็ช่วยไม่ได้เสมอไปค่ะ ที่สั่งให้เพื่อนๆ ไปจำชื่อคนที่อยู่รอบข้างแปดทิศ(ซึ่งไม่แน่ใจว่าเพื่อนที่ยืนเข้าแถวหรือในห้องเชียร์ ถ้าตอนเข้าแถวเค้าจำกันได้ค่ะ แต่ตอนอยู่ในห้องเชียร์ไม่รู้ เพราะหันหลังไม่ได้)และไปจำชื่อพี่รหัสและอาจารย์ประจำชั้น เท่าที่คุยกับเพื่อนๆ ไม่มีใครที่ไม่อยากจำหรอกค่ะ แต่สถานการณ์แบบนั้น บางครั้งมันกดดันเกินไป ทำให้เสียความมั่นใจ อันที่จริงก็จำได้ แต่ไม่กล้า เพราะกลัวผิดเดี๋ยวโดนหนัก หลายคนเลยค่ะ เพราะอันที่จริงพวกเราก็ท่องมาไม่ใช่ว่าไม่ได้ท่อง แต่น้องขอยอมรับค่ะ ว่าพวกเรายังไม่มีความเป็น Unity เท่าที่ควร น่าจะทำได้ดีกว่านี้ เวลาผ่านไป ความสามัคคีรักใคร่จะเกิดขึ้นเองโดยที่ไม่ต้องสร้างสถานการณ์กดดันขึ้นมาเลย น้องคิดว่า การทำกิจกรรมร่วมกันจะสร้างความผูกพันได้ง่ายและดีกว่า อย่างเช่น การจัดงาน Freshy Family Night พวกเราได้นั่งคุย นั่งทำงานกันทั้งวันทั้งคืน ไม่สนิทกันก็ให้มันรู้ไป ถ้ามีกิจกรรมแบบนั้นให้เราทำอีก เราน่าจะเป็น Unity กันมากกว่านี้ค่ะ สำหรับ Seniority เท่าที่คุยกับพี่ๆ รู้สึกว่าปี2ปี3ก็ไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ารุ่นนี้จะประสบผลรึเปล่านะคะ
น้องขอ comment แค่นี้ก่อน ต้องไปแต่งกลอนวันไหว้ครู
ขอบคุณที่ให้เสนอความคิดเห็นค่ะ ไม่ชอบใจอย่างไรก็ขออภัยด้วยนะคะ ความรู้+ประสบการณ์ยังน้อย


Posted by : Mashimaro , Date : 2003-06-10 , Time : 03:14:48 , From IP : 203.113.76.11

ความคิดเห็นที่ : 29


   ท่าทางว่าน้องMashimaroจะเป็นขาประจำอีกคนแล้วล่ะ

ผมไม่ได้เห็นว่าควรจะยกเลิกการว้ากไปเลยนะ เพราะผมยังเห็นว่าอย่างน้อยการว้ากก็ยังคงเป็นสีสันอย่างหนึ่งของการประชุมเชียร์ สำหรับน้องใหม่ที่ได้เข้ามหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่ควรว้ากกันรุนแรงและนานเกินไป จนไม่สร้างความรู้สึกที่ไม่ดี เอาแค่ได้บรรยากาศบ้าง ผมว่าก็น่าจะพอดีนะ
รับน้องภาคสนามก็คล้ายๆกัน สนุก สีสันน้องใหม่ (ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยก็คิดถึงเรื่องรับน้องเหมือนกัน) แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้มีการเล่นเกินเลย หยาบคาย และอันตราย

น้องMashimaroไม่ต้องกลัวเลยครับ กิจกรรมมีให้น้องทำจนเอียนแน่ๆ ขึ้นอยู่ว่าน้องๆจะอยากทำกันหรือเปล่าล่ะ


Posted by : ArLim , Date : 2003-06-10 , Time : 05:14:55 , From IP : maliwan.psu.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 30


   เคยเห็นบรรยากาศที่ "ขลังและเคร่งขรึม" ไหมครับ? เป็นบรรยากาศในการถ่ายทอดความ seniority และ order ได้ดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากร่วมกับการเลือกเฟ้น "ถ้อยคำ" และ "บุคคล" ที่จะมาอบรมได้เหมาะสมจะยิ่งสามารถถ่ายทอด Tradition and Unity ได้ดีที่สุด

สถาบันแพทย์เป็นสถาบันที่ทรงเกียรติ มีประวัติศาสตร์ยาวนานควบคู่กับมนุษยชาติ สมาชิกของสถาบันนี้สามารถ (และควร) มีความภาคภูมิใจที่ได้เข้า "club" และควรจะทราบตั้งแต่เริ่มเหยียบเข้ามาในสถาบันว่าจะมี high expectation ตลอดเวลา ทั้งทางด้านความรู้ การแสดงออกทางกายวาจาใจ และจริยธรรม เป็นสถาบันที่สมาชิกยินดีที่จะพูดและถกกันเรื่องจริยธรรมได้อย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ แต่ด้วยความภาคภูมิใจและจริงจัง

ไม่มีอะไรจะสาน unity ได้ดีเท่ากับการที่สมาชิกมี "ความรู้สึกร่วม" และเทอดทูน "คุณค่า" อย่างเดียวกัน ไม่มีอะไรที่จะทำให้เราภาคภูมิใจในตนเองและสถาบันได้เท่ากับรู้ว่าสิ่งที่เราเทอดทูนนั้นคือ "คุณธรรม"

สิ่งเหล่านี้แหละครับที่ผมคิดว่าน้องใหม่ควรจะรับทราบ (รวมทั้งพี่เก่าบางท่านด้วย)



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-10 , Time : 11:58:51 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 31


   อืม "ขลังและเคร่งขรึม" น่าสนใจมากเลยนะครับ และน่าจะเป็นหนทางเลือกในห้องประชุมเชียร์ที่ดีกว่าการว้าก (และได้ประโยชน์กว่าการว้าก)

ลองยกตัวอย่างได้ไหมครับคุณ Phoenix ว่ามีที่ไหน ระบบไหนเขาทำกันแบบนี้บ้าง จะได้ไปดูงาน : D
มันยากกว่าการว้ากเยอะเลยนะครับ


Posted by : ArLim , Date : 2003-06-10 , Time : 17:56:52 , From IP : maliwan.psu.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 32


   ถ้าจะยกตัวอย่างให้ไปดูที่ Cambridge เดี๋ยวจะถูกขว้างหัวเอา ลองจินตนาการตามผมก็แล้วกันนะครับ

ภายในห้องประชุมใหญ่ มีรูปอดีตคณบดีคณะแพทย์รายล้อม ตรงกลางเวทีมีพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระราชบิดา พร้อมทั้งพระราชดำรัสที่เป็นปรัชญาแพทย์ไทย บนเวทีกลางนั่งรายล้อมด้วยอาจารย์แพทย์ทุกท่าน (หรือส่วนใหญ่) แต่ที่สำคัญคืออาจารย์ที่เป็นเสาหลักของมอ.ออ.ตั้งแต่อดีตจวบปัจจุบันมาเป็นสักขีพยานการรับ "เพื่อนแพทย์รุ่นน้อง" เข้าสู่สถาบัน

คณบดีคณะแพทยศาสตร์กล่าวต้อนรับ และหลังจากนั้น High light น่าจะเป็น Essence of being a Doctor โดยอาจารย์อาวุโสผู้ดูแลนักเรียนแพทย์ ตรงนี้ควรทราบว่าเป็นการ transform จากความเป็นเด็กนักเรียนมาเข้าสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นมาก นั่นคือการเรียนรู้เพื่อที่จะไปรับผิดชอบชีวิตผู้อื่น ว่าอย่างไรคือวิถีการดำเนินชีวิตที่ถูกคน expect และอะไรคือ "คุณค่า" ของวิชาชีพที่พวกเขาได้เลือกเข้ามาเป็น

หลักการและเหตุผล

อาชีพแพทย์ไทยเป็นระบบพี่สอนน้อง และความเอื้ออาทรเป็น element ที่สำคัญมาก พี่อยากให้น้องได้ดี มีความรู้ มีจริยธรรม น้องเมื่อถูกดูแลสั่งสอนอย่างที่ว่าเกิดความกตัญญู และกตเวทีโดยการเกิดความรับผิดชอบและหน้าที่ที่จะสั่งสอนน้องแพทย์รุ่นต่อๆไป การมีอาจารย์อาวุโสมาร่วมพิธีจะมีผลกระทบต่อบรรยากาศอย่างมาก อาจารย์เหล่านี้ไม่ต้องว้าก ไม่ต้องตะเบ็งเสียง แค่จริยวัตรของท่านก็เพียงพอที่จะ command ความเคารพนับถือจากเด็กใหม่ได้เกินพอ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญลักษณ์แสดงความ "ศักดิ์สิทธิ์" ของพิธีการรับคนเข้ามาฝึกอบรมเป็นแพทย์ ว่าไม่ใช่เรื่องเล่นๆอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องที่ต้องการความรับผิดชอบสูงสุด แต่ขณะเดียวกันก็เป็นอาชีพที่มีเกียรติและศักดิ์ศรีมากที่สุดอาชีพหนึ่งที่ทุกคนจะภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของอาชีพนี้ในที่สุด

หลังจากนั้นระบบกลุ่มย่อยก็จะรับผิดชอบโดยรุ่นพี่และอาจารย์รุ่นน้องลงมา แต่เนื่องจากการเปิดประชุมได้วางรากฐาน และ Theme ของคณะเราไว้เรียบร้อยแล้ว คุณพี่เด็กๆก็ๆม่ต้องแสดงอำนาจบ้าๆโดยไปก่นด่าน้องอีกต่อไป แค่ reinforce ใน concept ของ "หน้าที่และความรับผิดชอบ" ใน session ย่อยๆเหล่านั้นก็พอ คงไม่ใช่การรับน้องที่สนุกสนาน แต่ผมมีความคิดเห็นส่วนตัวว่านี่คือวิธีหนึ่งที่เราสามารถ "แนะนำตัวและสถาบัน" ได้ นั่นคือให้เขาเข้าใจปรัชญาการเป็นแพทย์ตั้งแต่แรกเริ่ม



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-10 , Time : 19:08:41 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 33


   ผมว่าที่คุณPhoenix เสนอมาก็ดีนะครับ แต่ก็คงมาทดแทนการประชุมเชียร์ไม่ได้ทั้งหมดนะ
กิจกรรมนั้นควรเป็นอีกอย่างหนึ่งที่เสริมเข้ามาในกิจกรรมรับน้อง น่าจะเหมาะกว่าครับ
ทำให้รักและรู้สึกถึงความขลังของสถาบัน ได้ประโยชน์กันคนละอย่างครับ


Posted by : Chester , Date : 2003-06-10 , Time : 23:40:42 , From IP : 172.29.2.124

ความคิดเห็นที่ : 34


   เราสามารถอภิปรายกันได้ครับคุณ Chester ในประเด็นที่ว่าอะไรคือประโยชน์ที่รุ่นน้องสามารถจะได้จากการถูกตะคอกดุด่าโดยไม่มีเหตุผลหรือ inproportional และไม่สามารถจะได้จากวิธีอื่น นำเสนอมาได้เลยครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-11 , Time : 00:35:39 , From IP : 203.155.144.42

ความคิดเห็นที่ : 35


   บางที่ผมก็เหนื่อยใจนะครับเวลาจะตอบ กระทู้ที่มีลักษณะหัวข้ออภิปรายเดิม ๆ เพราะเนื้อหาในที่สุดก็จะออกมาคล้ายแบบเดิมนะครับ เอาเป็นว่าผมถามดีกว่าว่าคุณ Chester เคยร่วมกิจกรรมแบบไหนมาบ้างครับ และชอบกิจกรรมอะไรที่สุด และคิดว่ากิจกรรมที่คุณ Chester ชอบนั้นมีลักษณะไหน เพราะเท่าที่อ่านมาดูเหมือนคุณ Chester จะติดกับประชุมเชียร์แบบว้ากมากเป็นพิเศษ เหมือนกับจะยืนกระต่ายขาเดียวว่า ว้ากนี่แหละสุดยอดแล้ว ไม่มีอะไรมาแทนได้

ผมมีข้อวิเคราะห์อย่างนึงนะครับ มอ. เปิดสอนมา ปีนี้ก็ 36 ปีแล้ว เท่าที่ผมจำความได้ว้ากก็มีมานานไม่น้อยกว่า 15 ปีแล้วเช่นกัน และในช่วง 15 ปีนั้นผมก็ไม่เคยเห็น คณะไหนจะทดลองเอาระบบอื่น ๆ มาใช้ในการประชุมเชียร์เลย ถึงจุดนี้จึงไม่มีข้อพิสูจน์ได้ว่า ว้ากดีที่สุดหรือไม่เพราะยังไม่เคยมีคณะไหนกล้าคิดใหม่ทำใหม่เลยแม้แต่น้อย ในขณะที่ผมเองก็ยังไม่เคยเห็นว่าคณะไหนจะสามารถแสดง ความภาคภูมีใจในความเป็นลูกสงขลา, น้องแสดงความเคารพ รุ่นพี่ด้วยใจ, และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันรักกันเหมือนพี่น้อง นั้นเท่ากับชี้ให้เห็นว่า มากกว่า 15 ปีที่ระบบว้ากดำเนินการอยู่ หาได้สร้างโสตสำนึกในความรู้รักสามัคคีให้กับน้อง ๆ แต่ละรุ่นได้ จริงตามวัตถุประสงค์

ถ้าคุณต้องการระบบที่จะมาทดแทนนั้น ในส่วนของคุณ Phoenix ก็จัดได้ว่าเป็นพิธีกรรมที่ดี อีกอันหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งผมได้เคยเสนอเอาไว้คร่าว ๆ แล้วในกระทู้เก่า ลองค้นหาโดยใช้ ชื่อผม (Mercury) ดูแล้วกันครับเพราะในนั้นมีการตอบกันประมาณ 100 กว่าความคิดเห็น ลอง Click ดูนะครับ





Posted by : Mercury , Date : 2003-06-11 , Time : 00:58:19 , From IP : 172.29.1.195

ความคิดเห็นที่ : 36


   โอยทำไมมองผมแบบนั้นล่ะครับคุณ Mercury อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่าอย่างที่ คุณPhoenix เสนอรูปแบบกิจกรรมนั้นมา ผมก็เห็นด้วยแต่มันก็คงได้ประโยชน์และความรู้สึกที่ดีๆอีกแบบหนึ่ง ขอย้ำอีกแบบหนึงแต่ไม่ได้หมายความว่าอะไรดีกว่าอะไรครับ เฮ้อ.. การที่มีอาจารย์ที่มีจริยวัตรที่ดีมาร่วมพีธีก็เป็นสิ่งที่ดีทำให้เรารู้สึกเคารพ รู้สึกว่าอาชีพนี้เป็นสิ่งที่ทรงเกียรติ เกิดความเลื่อมใส ศรัทธา ก่อเกิดอุดมการณ์ที่จะมุ่งมั้นปฏิบัติให้ได้อย่างท่านๆ จะรู้สึกว่ามันเป็นหน้าที่ที่เราน้องใหม่ต้องธำรงรักษาไว้ ซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ซึงสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทั้งสิ้น ผมเคยได้ยินอาจารย์ท่านหนึ่ง เสนอความเห็นว่า เราควรจะจัดกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญให้ได้บรรยากาศ อย่างที่คุณPhoenix เสนอมา ให้เกิดขึ้นนอกเหนือจากการรับขวัญน้องปี 1 ที่เกิดขึ้นอยู่ทุกปี และนี่ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้กิจกรรมบายศรีของปีนี้ย้ายมาจัดในวันเสาร์ตอนเย็น แทนที่จะเป็นวันศุกร์ค่ำอย่างที่เคยทำมา เพื่อที่อาจารย์จะได้มีเวลามาร่วมงานกันมากขึ้น บรรยากาศอย่างที่คุณ Phoenix อยากจะให้เกิดมันก็จะได้ใกล้เคียงความจริงขึ้นไปอีกนิดนึง ถึงแม้ว่าอาจไม่มากเท่า..


Posted by : Chester , Date : 2003-06-11 , Time : 12:26:33 , From IP : 172.29.2.166

ความคิดเห็นที่ : 37


   เรื่องของบายศรีสู่ขวัญ ผมว่าน่าจะสามารถทำบรรยากาศ และสร้างความรู้สึกได้ใกล้เคียงกับที่คุณ ฟินิกซ์ เสนอทีเดียว

ถ้าสามารถทำอย่างนั้นได้นี่ขอตบมือให้ผู้จัดงานหลายๆแปะทีเดียวครับ เพราะว่าไม่ง่ายเลย


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2003-06-11 , Time : 15:26:07 , From IP : 172.29.2.172

ความคิดเห็นที่ : 38


   ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวด้วยคน คงไม่รังเกียจนะคะ ดิฉันเป็นแม่นิสิตแพทย์ปี 1 มอ. ที่ได้รับรู้ความรู้สึกของลูกและเพื่อนๆของลูก เกี่ยวกับการ "ว๊าก" ของรุ่นพี่ พวกเขาไม่ happy เท่าที่ควร ซึ่งดิฉันเห็นด้วยว่าแทนที่จะใช้วิธี "ว๊าก" แต่กลับใช้วิธีการเข้าถึงอย่างสุภาพ จะน่าประทับใจกว่านะคะ
ดิฉันมีประสบการณ์ เพราะเคยเป็นนิสิตปี 1 ม.ธรรมศาสตร์และการเมือง พวกเราไม่มีการว๊าก ไม่มีรุ่นพี่ รุ่นน้อง แต่เราจะมีแต่ "เพื่อน" เสมอภาค ภราดรภาพ ซึ่งเป็นที่ประทับใจมาก รุ่นพี่ หรือ รุ่นน้อง ล้วนเสมอภาคกัน เป็นเหมือนเพื่อนกัน คงไม่ต้องอธิบายความหมายที่ลึกซึ้งของคำว่า "เพื่อน" นะคะ และยังมีกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมอีกมากมายที่สามารถผูกพันพวกเราทุกรุ่นให้เข้ากันได้ สามัคคีกันได้ รู้จัก รักใคร่ ปรองดองกันได้ เป็นหนึ่งเดีัยว
อยากให้ทุกมหาวิทยาลัยในปัจจุบันรับน้องกันแบบที่ดิฉันเคยได้รับมาจาก ม.ธรรมศาสตร์และการเมือง (ไม่ทราบว่าปัจจุบันเขายังคงรูปแบบดังว่ารึเปล่านะคะ)
เมื่อ 2 ปีก่อน มี ม.หนึ่งทางภาคใต้นี่แหละ พารุ่นน้องไม่รับน้องในจังหวัดที่ดิฉันอยู่ จับน้องๆ แต่งตัว ทาหน้า ทาตา พวกผู้ชายก็จับมาแต่งตัวเป็นตุ๊ด ให้มาเต้นระบำ ร้องกรี๊ดๆ กันข้างถนนหน้าตลาดสดเทศบาล ดูแล้วน่าทุเรศสิ้นดี อนาถใจที่ปัญญาชนที่จะเป็นอนาคตของชาติ คิดพิธีรับน้องกันได้งี่เง่าขนาดนั้น พวกแม่ค้าในตลาดสด หลังจากตกใจแล้ว ก็ได้แต่ส่่ายหน้า ระอาใจ มิน่าประเทศไทยมันถึงได้แค่ที่เห็นๆ กันอยู่นี่แหละ ไม่สามารถพัฒนาคนและทุกอย่างให้ได้ทัดเทียมชาติอื่นๆ ตอนนี้เป็นห่วงว่าอนาคตจะตกต่ำกว่าลาว เขมร หละก้อ ขายหน้าแย่
ก็ขอฝากข้อคิดไว้แค่นี้นะคะ ไม่ถูกใจใครบ้าง ก็ขออภัยด้วยแล้วกัน


Posted by : แม่นิสิตแพทย์ปี 1 , Date : 2003-06-11 , Time : 20:17:26 , From IP : 203.113.71.196

ความคิดเห็นที่ : 39


   Concept ของปัญญาชนหรือบัณฑิตเปลี่ยนไป หรือเป็นอย่างไรในปัจจุบัน? อืม...น่าคิดและอาจจะลองเป็น Debate ได้ทีเดยว แต่ผมเกรงว่าจะเกิดสถานการณ์ "Silent Majorty" แบบที่แล้วๆมาทุกครั้งที่ขอให้วิจารณ์พฤติกรรมหรือความคิด "ของตนเอง" (ถ้าให้วิจารณ์คนอื่นจะถนัดกว่าเยอะ เท่าที่สังเกต)

จากหลายๆประเพณี หรือรูปแบบแปลกๆที่ผมไม่คุ้นเคยแต่ถูกนำมาปฏิบัติกัน ทำมห้ผมรู้สึกว่ามีการ "เข้าใจผิด" ว่าปัญญาชนหรือบัณฑิตนั้นมีความหมายเดียวกันกับการเป็นวัยรุ่นที่ COOL อย่างที่ผมเคยเล่าและเปรียบเทียบให้ฟัง ขณะที่ฝรั่งมันมีปัญหาเรื่อง precocious puberty เด็กๆแก่เร็วพยายามวัดรอยเท้าผู้ใหญ่ ผมรู้สึกว่าปัญหาของบ้านเราเป็นตรงกันข้ามคือบางส่วนยังอยากเป็นเด็ก พยายามคิดอะไรแบบเด็กๆ มีค่านิยมแบบเด็กๆ และ "ไม่อยากโตและรับผิดชอบ" แบบผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในที่นี้ผมหมายถึงทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิและจิตวุฒิ สามารถมองเห็นปัญหาและเรื่องราวแบบองค์รวม สามารถมองไปได้ไกลกว่าหนึ่งอาทิตย์จากปัจจุบัน เช่นมองไปยังโลกที่ลูกหรือรุ่นต่อไปของเรากำลังจะโตขึ้น และเขาเหล่านั้น "ต้องการ หรือสมควร" จะเห็น Role model เช่นไร

ทำอย่างไรจึงจะปลูกฝัง concept ให้เด็กไทยทราบว่าเขากำลังจะต้องโตเป็นผู้ใหญ่ และอะไรคือบทบาทของผู้ใหญ่ที่เขาควรจะยึดปฏิบัติ? เรามีผู้ใหญ่มามายเกินไปจริงๆที่ "แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน" โตยังไงก็ยังไม่รู้จักเข้า queue โตยังไงก็ไม่รู้จักเคารพกฏจราจร โตยังไงก็ยังไม่รู้จักหลักการและเหตุผล นั่นเป็น "สินค้าตัวอย่าง" ของผลิตผลที่มาจากเด็กที่ไม่ทราบบทบาทของคนที่เขาต้องเป็นและติดตามมาเป็นเรื้อรังจนสายเกินแก้



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-11 , Time : 23:37:12 , From IP : 203.155.144.42

ความคิดเห็นที่ : 40


   และแล้วการรับน้องปีนี้ก็หนีการมีว๊ากไม่ได้อีก ผู้ที่กระทำทั้งหมด จงสำเหนียกในสิ่งที่ตัวเองกระทำ ว่าได้ก่อให้เกิดอะไรกับรุ่นน้อง สำรวจให้รู้ว่าสร้างความลำบากใจไม่พอใจแก่ใครบ้าง แล้วรีบเลิกซะก่อนที่จะถูกด่า

Posted by : ศิษย์แก่ , Date : 2003-06-12 , Time : 15:48:20 , From IP : 172.29.3.131

ความคิดเห็นที่ : 41


   ประเด็นคงไม่ใช่เลิกเพราะกลัวถูกด่าหรอกครับ และผมก็ไม่เห็นด้วยกับการด่ากันสาดเสียเทเสีย เอาเป็นว่าอาจจะเกิดการผิดหวังขึ้นได้ หลังจากที่ได้อุตส่าห์มีกระทู้เรื่องนี้ที่มี input มากพอสมควร (แต่มีการ defend ของการว้ากไม่มากเท่าไหร่นะครับ ถ้าจะตั้งข้อสังเกต) ผลก็ออกมาคล้ายรัฐบาลทำกับเรื่องเขื่อนน้ำมูล (มีการทำวิจัยกันหลายปี หลายกลุ่มวิจัย สุดท้ายรัฐบาลส่งหน่วยเฉพาะกิจมาประเมินไม่ถึงอาทิตย์แล้วก็ออกกฏหมายที่ไม่เป็นไปตามคำแนะนำของทีมวิจัยทีมไหนทั้งสิ้น)

ผมไม่ทราบว่าออกมาในรูปแบบไหนนะครับปีนี้ อยากจะให้ผู้จัดและน้องๆที่ถูกรับมา feedback อะไรๆให้ฟังหน่อยก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-12 , Time : 16:55:58 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 42


   รูปแบบปีนี้กิจกรรมประชุมเชียร์ก็คงยังเป็นกิจกรรมหลักสำหรับการรับน้อง โดยส่วนตัวคิดว่าแน่นอนว่ากิจกรรมในปีหลังๆ ไม่ได้โหดร้ายป่าเถื่อนอย่างรุ่นเก่าๆ ที่จริงก็มีการcontrolจากอาจารย์หรือการที่ได้รับแรงกดดันจากผู้ปกครองหลายๆท่านที่เป็นห่วงลูกหลานของตนเป็นพิเศษประกอบกับอาจจะมีpowerพอควร ผมว่าเท่าที่ดูก็ไม่ได้โหดอะไรมาก เน้นการกดดันด้วยคำพูด ไม่มีคำหยาบคาย ด่าทอกันเล่น ทุกอย่างที่พูดก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในช่วงเวลาเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสริมอีกมากมาย เช่น panel discussion จากท่านอาจารย์และรุ่นพี่เพื่อเสริมประสบการณ์ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ที่คิดว่าอาจจะหนักหน่อยก็คงเป็นงานต่างๆที่น้องๆจะต้อ ทำทั้งจาก staff สั่งเอง หรือ เป็นกิจกรรมที่ปี 1 ต้องทำอยู่แล้วทุกปี น้องๆอาจจะเหนื่อยหน่อยครับ แต่ผมว่าเหนื่อยแบบมีสาระนะได้ประโยชน์ เราไม่ได้ไปวิ่งๆ คลานๆ ลุกนั่งอย่างที่อื่นเขา ...แม้ไม่ได้เป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่ผมก็คิดว่าน้องจะได้อะไรที่เป็นประโยชน์พอสมควรทีเดียว


Posted by : Chester , Date : 2003-06-12 , Time : 17:18:20 , From IP : 172.29.2.164

ความคิดเห็นที่ : 43


   ขอบคุณที่ชี้แจงครับ ขอเพียง "ทุกๆ" กิจกรรมที่ให่น้องทำมีวัตถุประสงค์ในทางสร้างสรรค์ที่ชัดเจน แลัทำโดยวิธีที่มีประสิทธิภาพ ก็คงเป็นหลักการที่น่าเป็นที่พอใจ

อย่าลืมทำเรื่อง feedback ของน้องมาให้ฟังด้วยก็จะดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ไม่พอใจ แม้ว่าจะเป็น minority สเหตุเพราะคนไทยมีนิสัยอ่อนน้อม ขี้เกรงใจ ถ้าไม่เหนือบ่ากว่าแรงไม่ค่อยยอมรับว่าแย่ แต่ถ้าอดไม่ไหวพูดออกมาก็ควรจะรับฟังและวิเคราะห์กัน



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-12 , Time : 19:03:46 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 44


   ถึงเวลาแล้วครับ สำหรับความเปลี่ยนแปลงของคนรุ่นใหม่ ถามว่าเสียดายหรือไม่กับพิธีการ,ประเพณีเก่าๆ ก็เสียดายอยู่เหมือนกัน ทั้งที่พยายามคิดถึงข้อดีข้อเสียด้วยตัวเองและอ่านความคิดเห็นของผู้มีปัญญาทั้งหลาย เห็นว่าประโยชน์ที่ได้อาจจะน้อยกว่าที่ตั้งใจ แต่ยังไงเสียก็ยังมีแฝงอยู่บ้าง เอาเป็นว่า ถ้าจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใดในปีหน้า อาจจะทำให้บางท่านที่เห็นประโยชน์ทำใจไม่ได้ จึงอยากเสนอความคิดเห็นเล็กๆให้ได้พิจารณากัน
คงต้องเป็นภาระของMED31ที่จะต้องวางแผนกัน ในปีหน้าจะรับน้องกันอย่างไร จำประสบการณ์ในปีนี้ให้ดี ส่วนไหนที่ประทับใจก็เก็บไว้และนำไปใช้กับรุ่นน้องต่อๆไป ส่วนไหนที่เห็นว่าแย่ก็ตัดทิ้งไปซะ ส่วนการว้าก ขอให้ทำแค่พอประมาณ พอเป็นพิธี ถ้าเป็นไปได้ค่อยๆลดจำนวนลง แล้วหาวิธีอื่นๆที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์และให้ความรู้สึกที่ดีกว่ามาทดแทน


Posted by : รู้รักสามัคคี , Date : 2003-06-13 , Time : 13:56:51 , From IP : r211-skaHS1.S.loxinf

ความคิดเห็นที่ : 45


   ลูกบอกว่า ลูกได้ที่นั่งด้านหลัง (ชั้นบนๆ) เลยฟังไม่รู้เรื่องว่าพูดอะไรกันบ้าง เสียงมันก้อง มันสะท้อน ทำให้เบื่อ รู้สึกว่าที่ไปนั่งมันเสียเวลาเปล่าๆ ถ้าแก้ไขตรงนี้ได้ ก็จะบรรลุวัตถุประสงค์บ้างนะคะ

Posted by : แม่นิสิตแพทย์ปี 1 , Date : 2003-06-13 , Time : 14:01:33 , From IP : 203.145.12.121

ความคิดเห็นที่ : 46


   ครั้งหนึ่งพี่เคยไม่เข้าใจการรับน้อง การว้าก อยากจะล้มล้าง แต่รอนรับไทด์ของคณะ ทำไมนำตาของพี่ซึมออกมา ห้ามไม่ๆได้จริง ๆ ทำไมตอนนี้ดวลาที่พี่คิดถึงมัน พี่จะตื้นตันใจ และขนลุก ซึ่งมันอธิบายไม่ได้จริง ๆ พี่แน่ใจว่า น้อง ๆ หลายคนจะรู้สึกเช่นเดียวกับพี่ และมาเป็นพี่ว้ากอีก อยากให้รอวันนั้น เพราะพี่เคยผ่านมาแล้ว พี่ทุกคนรักน้องทุกคนนะครับ........พี่....

Posted by : พี่ว้าก คนหนึ่ง , Date : 2003-06-13 , Time : 15:14:15 , From IP : 172.29.2.94

ความคิดเห็นที่ : 47


   ครั้งหนึ่งพี่เคยไม่เข้าใจการรับน้อง การว้าก อยากจะล้มล้าง แต่รอนรับไทด์ของคณะ ทำไมนำตาของพี่ซึมออกมา ห้ามไม่ๆได้จริง ๆ ทำไมตอนนี้ดวลาที่พี่คิดถึงมัน พี่จะตื้นตันใจ และขนลุก ซึ่งมันอธิบายไม่ได้จริง ๆ พี่แน่ใจว่า น้อง ๆ หลายคนจะรู้สึกเช่นเดียวกับพี่ และมาเป็นพี่ว้ากอีก อยากให้รอวันนั้น เพราะพี่เคยผ่านมาแล้ว พี่ทุกคนรักน้องทุกคนนะครับ........พี่....

Posted by : พี่ว้าก คนหนึ่ง , Date : 2003-06-13 , Time : 15:14:21 , From IP : 172.29.2.94

ความคิดเห็นที่ : 48


   อยากให้หลายๆคนที่เข้ามาเสนอความเห็นในกระทู้นี้ได้เข้าใจว่าการทำกิจกรรมขึ้นมาแต่ละอย่าง ไม่ใช่แค่การคิดรูปแบบขึ้นมาแล้วงานจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น สำเร็จ แต่ยังมีปัจจัยที่ละเอียดอ่อนมากกว่าที่คิดหลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านเวลา มันยากที่จะทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะของน้องในเวลาอันสั้นโดยที่ปล่อยให้เขาทำความรู้จักกันตามธรรมชาติ แต่ถ้าคำกล่าวที่ว่าเราจะสามารถพิสูจน็ความผูกพันธ์ของเพื่อนในเวลาคับขันและผ่านความยากลำบากมาด้วยกันมีส่วนจริงอยู่บ้าง เราก็จะขอบอกว่าเราต้องการให้เกิดสิ่งนั้นขึ้น ไม่ใช่แต่เวลาของน้องๆที่มีอยู่จำกัดแต่ staff เองก็ยังมีเรื่องอื่นๆที่เป็นหน้าที่รับผิดชอบอีกมากมาย ในปีนี้เราก็พยายามที่จะปรับเปลี่ยนให้กิจกรรมนี้ดีขึ้น อยากจะใช้รูปแบบกิจกรรมอย่างที่มีคนเสนอความคิดเห็นเหมือนกันแต่ต้องเข้าใจว่ารูปแบบกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต้องผ่านการเตรียมงานมาล่วงหน้าพอสมควรและจากประสบการณ์ของเหล่าstaff การรับน้องอย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ก็สามารถตอบโจทย์ที่เราอยากให้เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการและมีการพูดคุยกันถึงข้อบกพร่องของการทำกิจกรรมนี้ในปีที่ผ่านมา แต่เนื่องจาก ณ ตอนนี้โครงการเพิ่งดำเนินมาเพียงครึ่งทางเท่านั้น ก็เลยไม่อยากให้ใครหลายๆคนมองอะไรเพียงแค่ด้านเดียว การจะตัดสินว่ากิจกรรมใดดีหรือไม่ ควรจะมองให้ลึกกว่านี้ และค่อยประเมินมันตอนมาถึงจุดสิ้นสุด และอยากฝากไปถึงท่านผู้ปกครองที่ฝากข้อความไว้ ท่านเองก็มีความภูมิใจในการรับน้องของสถาบันที่ท่านเคยศึกษามา แต่ก็ไม่เคยผ่านการรับน้องในแบบที่แพทย์มอ.ทำ ก็เลยไม่อยากให้ตัดสินว่าสิ่งที่พวกเรากำลังทำอยู่ตอนนี้เป็นสิ่งไม่ดี ไร้ความคิด เพราะมันก็มีความคิดและเหตุผลในตัวของมันเอง คนที่เคยผ่านสถานการณ์นี้เท่านั้นที่จะแปลความได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าไม่สามารถจัดกิจกรรมให้ทุกคนพอใจได้ และขอขอบคุณทุกความคิดเห็นซึ่งน่าจะนำมาคิดทบทวน ใช้ปรับปรุงกิจกรรมนี้ในปีหน้า

Posted by : ต้น , Date : 2003-06-13 , Time : 17:24:41 , From IP : 172.29.2.103

ความคิดเห็นที่ : 49


   คุณต้นครับ,

ผมคิดว่าความเห็นที่เสนอมานั้นไม่ได้เกี่ยวกับการที่เราเคยภาคภูมิใจในการรับน้องของตัวเราเองอย่างไรเป็นประเด็นสำคัญ แต่เป็นการปกฐกว่าการรับน้องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่างหากที่ควรจะออกมาในรูปแบบใด

การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นศาสตร์ที่มีการพัฒนามานานพอสมควร และเป็นศาสตร์ที่เป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นข้อความหนึ่งที่ว่า คนที่เคยผ่านสถานการณ์นี้เท่านั้นที่จะแปลความได้ ออกจะเป็นการให้เหตุผลที่หย่อนน้ำหนักอยู่บ้าง หากคุณต้นได้ร่วมอ่านการอภิปรายแต่ต้นก็คงจะพบว่าผู้ให้ความเห็นทั้งสองด้านเคยได้รับประสบการณ์ว้ากเช่นกันแต่มีความประทับใจต่างกัน ในการจะนำมาวิเคราะห์เพื่อหา "สิ่งที่ดีที่สุด" แก่รุ่นน้องนั้นเป็นเรื่องที่สมควรกระทำ และทำอยู่เรื่อยๆทีเดียว ข้อสำคัญคือเรื่องนี้เป็นเรื่องพฤติกรรมการตอบสนองของคนเท่านั้นเองครับต่อการกระตุ้นสองรูปแบบ ไม่ได้ลึกลับซับซ้อนมาก ฉะนั้นการวิเคราะห์แจกแจงเหตุผลนั้นไม่น่าจะเป็นสิ่งเหนือบ่ากว่าแรงแน่นอน คนที่เห็นด้วยก็มีเยอะ เพียงแต่ไม่ค่อยได้เรียนเรียง logic ออกมา present เท่านั้นว่าทำไมการกระตุ้นแบบนี้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่น้องควรจะได้รับในเวลาไม่กี่วันที่มีอยู่

การอภิปรายนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ "ทั้งสองฝ่าย" เสนอความเห็นและเหตุผลครับ ไม่ใช่การนำเสนอเพียงฝ่ายเดียว เป็น platform ที่เราควรจะใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ขณะที่เหตุผลของเวลาและจำนวนคนที่จำกัดมีส่วนอย่างมากในการกำหนดรูปแบบของงาน แต่ประเด็นที่ว่าอะไรคือ "สิ่งที่ดีที่สุด" ที่รุ่นน้องแพทย์สมควรจะได้นั้นน่าจะเป็นหลักการที่เป็นตัวนำการอภิปรายมากที่สุด ใช่ไหมครับ?

การนำเสนอผลงานนั้นเป็นเรื่องที่ดี และเป็นเรื่องที่ถ้าเราทำอย่างมี conviction ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ถูกจริยธรรมแล้ว เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจที่เราจะได้มา share ประสบการณ์กันในที่สาธารณะ ว่าครั้งหนึ่งเราเคยมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ทำเพื่อผู้อื่นจริงๆ และจะเป็นประโยชน์ รวมทั้งตัวอย่างต่อรุ่นน้องต่อๆไปอีกด้วย



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-13 , Time : 18:10:02 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 50


   ได้เข้าไปสังเกตการณ์ในห้องประชุมเชียร์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา
ก็เห็นว่ายังดีที่ไม่มีการทรมานแบบก่อนๆ เช่นให้น้องบูมเป็นสิบๆรอบไม่มีหยุด อย่างมากก็ให้แขนชิดหูหรือยกมือสองข้างค้างเอาไว้ ซึ่งก็ไม่นานนัก แต่ส่วนใหญ่จะเป็นคำต่อว่า(ว้ากนั่นล่ะ)ของพี่ๆมากกว่า แต่ก็เป็นคำว้ากที่มีเหตุผลแต่เน้นให้รุนแรงขึ้น บางคนอาจจะมีคำเหน็บแนมประชดประชันใส่น้องๆยาวเป็นชุด ซึ่งในฐานะผู้ที่ไม่ใช่น้องปี 1 ที่ถูกว้ากเองฟังแล้วก็รู้สึกขำดี แต่ตัวน้องๆที่โดนเองฟังแล้วคงสะอึกหรือไม่ก็กดดันพอสมควร
ผมคิดว่าถ้าจะเอาแนวทางการว้ากละก็ ที่ทำๆอยู่ก็ถือว่าโอเค แต่รู้สึกว่าจะเล่นการว้ากมากไปหน่อย (ในวันที่ผมไปดูนะ) แต่วันก่อนหน้าผมก็มีกิจกรรมแล้วล่ะ ยังงัยน้องๆก็คงได้ประโยชน์จากกิจกรรมที่พี่ให้ล่ะนะ
ปีนี้ก็มีสมุดที่ให้น้องๆเขียนถึงความรู้สึกและข้อคิดเห็นส่งกลับมาทุกวันที่เข้าประชุมเชียร์ด้วย ว่าชอบหรือไม่ชอบ หรือไม่เห็นด้วยกับอะไร ซึ่งสิ่งที่น้องๆเขียนนี้ก็จะส่งกลับให้อาจารย์ดูด้วยล่ะครับ
ผมว่าเราน่าจะพูดถกกันบ้างนะครับว่า อยากให้น้องๆได้อะไรบ้างจากการประชุมเชียร์ เพราะแต่ละวิธีการ น้องๆก็จะได้สิ่งที่ต่างกันไป ถ้าอยากให้น้องๆได้ความสามัคคีที่ยังยืน แค่การประชุมเชียร์ไม่พอหรอกครับ สิ่งที่น่าจะให้ได้สำหรับการประชุมเชียร์ น่าจะเป็นอะไรที่เหมือนกับจุดเริ่มต้นให้น้องๆสานต่อไปได้หลังจากจบประชุมเชียร์แล้วมากกว่า
ที่จริงมันเป็นโครงการ "สอนน้องใหม่ใช้ชีวิต" นะ สอนน้องๆเรื่องอะไรบ้างล่ะ เห็นอาจารย์แป๊ะมาเล่าประสบการณ์เมื่อวันก่อนเท่านั้นเอง แล้วเรื่องการจัดการเวลา การทำกิจกรรม การคบหาเพื่อนในมหาลัย การมีความรัก การจัดการตัวเองเมื่อต้องมาอยู่มหาลัย ฯลฯ เรื่องเหล่านี้จะสอนได้หรือเปล่า
อาจจะมีสอนบางเรื่องก็ได้มั้ง ผมยังไม่เห็นตารางกิจกรรมทั้งหมดที


Posted by : ArLim , Date : 2003-06-14 , Time : 15:33:52 , From IP : maliwan.psu.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 51


   เห็นด้วยกับคำพูดของ ArLim ที่ว่า "ที่จริงมันเป็นโครงการ "สอนน้องใหม่ใช้ชีวิต" นะ สอนน้องๆเรื่องอะไรบ้างล่ะ เห็นอาจารย์แป๊ะมาเล่าประสบการณ์เมื่อวันก่อนเท่านั้นเอง แล้วเรื่องการจัดการเวลา การทำกิจกรรม การคบหาเพื่อนในมหาลัย การมีความรัก การจัดการตัวเองเมื่อต้องมาอยู่มหาลัย ฯลฯ เรื่องเหล่านี้จะสอนได้หรือเปล่า อาจจะมีสอนบางเรื่องก็ได้มั้ง ผมยังไม่เห็นตารางกิจกรรมทั้งหมดที"
เพราะนี่เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับชีวิตที่เจริญแล้วทางวุฒิภาวะ และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินชีวิตเพื่อให้สังคมส่วนรวมอยู่เย็นเป็นสุข


Posted by : แม่นิสิตแพทย์ปี 1 , Date : 2003-06-15 , Time : 14:55:45 , From IP : 203.145.12.248

ความคิดเห็นที่ : 52


   ผมว่าถ้าเราได้เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการทั้งหมดนั้น และได้เห็น ได้ผ่านทุกกิจกรรมก็คงจะตอบได้ด้วยตนเองว่าโครงการสอนน้องใหม่ใช้ชีวิต สอนอะไรน้องได้บ้าง ด้วยระยะเวลา แค่ 3 ชั่วโมง ตลอด 12 ครั้ง เป็นความจริงที่เราก็รู้กันอยู่ว่า จะสอนให้หมด อย่างทุกๆประเด็นที่ท่านๆกล่าวกันมานั้น มิอาจทำได้หรอก ถึงจะให้เวลาการประชุมเชียร์ไปตลอด 6 ปีก็ตาม เพราะความจริงการเรียนรู้ จากประสบการณ์ตัวเอง ได้คิดเอง แก้ปัญหาเอง จะทำให้เราค่อยๆได้เรียนรู้มากขึ้นด้วยตัวเอง อย่างที่บอกล่ะครับว่า นี่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่ง ที่พี่ๆคิดว่าดี และอาจจะให้น้องๆได้ประโยชน์จากมันบ้าง...



Posted by : Chester , Date : 2003-06-15 , Time : 17:52:25 , From IP : 172.29.2.110

ความคิดเห็นที่ : 53


   ปัจจัยด้านเวลาในที่นี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องสำคัญมาก (หากมิใช่สำคัญที่สุด) ในการที่ผู้จัดทำจะกำหนดวัตถุประสงค์และต่อมาก็รูปแบบ

อย่างที่คุณ Chester และหลายๆท่าน (หรือเกือบทุกคน) ได้ว่ามา ในเวลาที่จำกัดนั้น เราไม่สามารถจะตั้งวัตถุประสงค์ไว้มากเกินไป เพราะมีแต่จะล้มเหลว ยกเว้นสโมสรมีแผนและโครงการต่อเนื่องระยะยาว (เป็นไปได้ แต่คงต้องอาศัยความสามัคคีของหลายรุ่นรวมทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาฝ่ายกิจกรรมนักศึกษามาช่วยต่อเนื่องกันทุกปีเป็นเวลาสองสามปีเป็นอย่างน้อยจึงจะเป็นรูปเป็นร่าง)

Facts ก็คือ short-time impression ที่ผ่านมา ได้มีผลทั้งบวกและลบ อันนี้ผู้ที่กำลังจะรับผิดชอบการจัดงานรุ่นต่อๆไปพึงตระหนักให้ดี ทั้งปริมาณ (กี่คนชอบ กี่คนเฉยๆ และกี่คนที่เกลียดมากๆ) และคุณภาพ (ชอบมาก ฉันจะ devote ตัวเองเป็นว้ากเกอร์ตลอดชีวิตนักศึกษาเพื่อน้อง หรือเกลียดมาก ฉันหมดความรู้สึกศรัทธาในระบบและว้ากเกอร์ทุกคนจนกว่าจะตายกันไปข้างนึง) ตามหลักทางสายกลางอาจจะต้องยอมรับที่ที่มีความรุนแรงปานกลางๆ ไม่รักไม่เกลียดมากอาจจะได้ effectiveness มากที่สุด

อย่างคนโบราณว่า จิ้งจกทักก่อนออกจากบ้าน ท่านยังแนะนำให้ฟังเลย ถ้ามีเสียงทักเยอะๆ แถมยังไม่ใช่จิ้งจก คิดว่าอาจจะมีคุณค่าพอที่จะรับฟังบ้างหรือไม่? และอะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุด? การเป็นแพทย์นั้นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เป็นเรื่องที่มีเกียรติและมีศักดิ์ฐานะของสถาบันที่ทุกคนที่มีส่วนร่วมมีหน้าที่ต้องรักษาค้ำชูด้วยกันทั้งหมด ความสนุกสนานชั่วแล่นน่าจะไม่ใช่ essence ที่จะ reflect ถึงสิ่งที่น้องใหม่จะนำไปใช้ในอนาคตรึเปล่า? ผมเชื่อว่าคนที่รับหน้าที่แทนเพื่อนม่ทำงานนั้น สามารถมองออกถึงเจตนาดีของรุ่นพี่ๆที่มาให้ความคิดเห็นกันในกระทู้เรื่องนี้ กี่ครั้งกี่ครั้งก็จะติดไฟหวอทั้งนั้น เพราะทุกคนรู้สึกเป็นเรื่องใกล้ตัวและอยากมีส่วนช่วยเท่าที่เวลาและโอกาสจะอำนวย



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-16 , Time : 00:32:43 , From IP : 172.29.3.230

ความคิดเห็นที่ : 54


   ดูเหมือนเถียงกันได้ไม่จบสิ้น ก็ขอเสนอว่า ปีน่าจัดโครงการขึ้นมาล่วงหน้า เตรียมรูปแบบให้พร้อม แยกเป็นช่วงไหนจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง ชี้แจงบางส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ตรงไหนจะมีว้ากให้บอกด้วย ตรงไหนจะมีเกมส์กลั่นแกล้งก็บอก แล้วให้น้องเลือกเองว่าจะเ้ข้าหรือไม่ ระหว่างที่น้องเพิ่งมาถึงใหม่ๆ ก็ให้โฆษณาชักชวนได้ ชักจูงให้เข้าร่วมได้ แล้วก็มาประเมินผลดูว่าระบบว้ากจะเป็นอย่างไร

Posted by : ศิษย์แก่ , Date : 2003-06-16 , Time : 10:51:59 , From IP : 172.29.3.131

ความคิดเห็นที่ : 55


   บอกหมดก็ไม่สนุกสิคะ ต้องมีลุ้นบ้าง เอ..วันนี้จะให้เราทำอะไรบ้างนา จะรอดมั้ยเนี่ย อะไรประมาณเนี่ย
เท่าที่ดูมานะคะ พวกพี่ๆ พยายามอย่างมากที่จะให้เราเข้าใจถึงจุดประสงค์ในทุกอย่างที่ทำลงไปและต้องการให้เราบรรลุตามวัตถุประสงค์ด้วย แต่ดูเหมือนเราไม่ค่อยจะให้ความร่วมมือเลย คนที่ตั้งใจก็ทำแทบตาย ทั้งพี่ทั้งน้องต่างก็เหนื่อย วันนี้ที่พี่พูดว่าผิดหวัง พวกเราก็เสียใจค่ะ เพื่อนพูดกับน้องว่าเสียใจที่ทำไม่ได้ทั้งที่น่าจะทำได้ ที่พี่พูดมาถูกต้องหมดเลย เพราะเห็นแล้วว่าพี่ได้ลองทุกวิธี น้องคิดว่าวันนี้จะทำให้หลายๆ คนคิดได้ และให้ความร่วมมือมากขึ้นค่ะ
ขอบอกอีกอย่างคือ วันนี้ที่พี่เข้มงวดน้อยลงมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ กดดันน้อยลง จะเห็นได้ชัดว่าวันนี้มีการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น กล้าพูด กล้าทำมากขึ้น เพราะกลัวผิด กลัวโดนด่าน้อยลง(แต่ก็ยังโดน ToT) ข้อเสียคือ ยุกยิกกับยกมือไม่ชิดหู ถ้าไม่อยากให้ยุกยิกก็เข้มงวดเฉพาะเรื่องนี้สิคะ ใครยุกยิกก็ทักเหมือนเดิม รู้สึกว่าจะเห็นเท่านี้ ร้องเพลงก็ร้องดีขึ้น แก้ไขข้อผิดพลาดได้ไว ถ้ายังมีข้อเสียอีกช่วยบอกด้วยค่ะ จะได้ไปปรับปรุง คือมองไม่ค่อยเห็นค่ะ เพราะอยู่หน้าๆ เลย
ขอพูดอีกเรื่อง ขออวยพรให้พี่ๆ ปี4ที่ไปฝึกงานโชคดี เดินทางโดยสวัสดิภาพ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ วันนี้หายไปเยอะ เงียบเหงาจังเลยค่ะ
ป.ล.เมื่อวันศุกร์ทำไมไม่ไปคณะเภสัชศาสตร์คะ งง


Posted by : Mashimaro , Date : 2003-06-17 , Time : 03:52:09 , From IP : 203.113.76.11

ความคิดเห็นที่ : 56


   พอดีว่าได้เข้าร่วมวันที่น้อง Mashi บอกพอดีเลย เห็นดีด้วยว่าลดการด่าแล้วน้องกล้าพูดมากกว่าเดิม กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้น เป็นเรื่องที่ดี เพราะนี่เป็น 1 ในสิ่งที่อยากให้น้องๆได้รับ
รู้ว่าการประชุมเชียร์ไม่สามารถสอนให้ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ก็อยากให้การประชุมเชียร์เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีให้แก่น้องๆ และเรื่องของความรู้สึกผมก็คิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเหมือนกัน
ถ่ายรูปมาเยอะเหมือนกัน ถ้าหาทางโพสต์ได้ จะเอามาโพสต์ให้ดูกัน


Posted by : ArLim , Date : 2003-06-18 , Time : 00:19:13 , From IP : maliwan.psu.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 57


   ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นนิดนึ่งนะคะ ความจริงก็ไม่เคยเห็นว่าที่มอ.นี้มีการว๊ากกันอย่างไร แต่ที่สถาบันที่ดิฉันเคยเรียนมา เราก็มีระบบการว๊ากเช่นกัน โดยใช้หลัก SOTUS ซึ่งการว๊ากนี้ทำให้พวกเรารักกัน เห็นอกเห็นใจกัน ตอนแรกๆอาจเหนื่อยมากๆ แต่ก็ไม่มีใครเป็นอันตรายเพราะมีพี่ๆคอยดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด คนที่เป็นโรคประจำตัวก็จะมีพี่ๆคอยประกบตัวดูแลเป็นพิเศษ การทำโทษก็เป็นวิธีที่ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย และอัตราการทำโทษก็ไม่ได้มากเกินที่ร่างกายจะรับไหว พี่ว๊ากก็ใช้คำพูดที่สุภาพไม่หยาบคาย (ถึงจะเป็นการด่าก็เป็นการด่าด้วยถ้อยคำที่สุภาพชนเค้าใช้กัน) การทำโทษแต่ละครั้งก็มีการอธิบายเหตุผลให้ฟัง บางครั้งเราก็มีบ้างที่คิดว่ารุ่นพี่ว๊ากหาเรื่องด่า(อย่างเช่นหาว่าเราร้องเพลงไม่ดัง ทั้งๆที่โก่งคอกันเสียงแหบเสียงแห้งแล้ว มีคนอู้บ้างล่ะ) แต่เมื่อเราผ่านกิจกรรมนั้นมาแล้วมาพูดกันเองกับเพื่อนๆ ก็พบว่าสิ่งนั้นเป็นจริง (มีคนอู้จริงๆด้วย เค้าก็ยอมรับเองว่ากินแรงเพื่อน) ยิ่งพอเราเป็นรุ่นพี่แล้วมานั่งดูก็จะเห็นตรงนั้นชัดเจนขึ้นมาก โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าการว๊ากเป็นสิ่งดี ทำให้พวกเรารักเพื่อนรักพี่รักน้องรักสถาบันรักครูอาจารย์มากขึ้น(เพราะเป็นกิจกรรมที่เราทำร่วมกัน คนเราจะเห็นใจกันที่สุดก็ตอนลำบากไม่ใช่เหรอคะ) แต่ก็คิดว่าการที่จะทำให้น้องๆ มีความรู้สึกเช่นนี้ได้ก็ขึ้นกับความสามารถของพี่ว๊ากเกอร์ ด้วย(ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีการวางแผนกันอย่างดี และก็มีการอบรมกันก่อนด้วย จากรุ่นพี่ๆที่เคยเป็นว๊ากเกอร์มาก่อน ไม่ใช่ว่าใครจะมาเป็นก็ได้ ทุกคนต้องผ่านการฝึก การอบรมมาแล้วเป็นอย่างดี) การมีวาทะศิลป์ในการพูด หลังจบกิจกรรมก็มีการเปิดใจกัน ไม่มีใครโกรธพี่ว๊ากเลย

Posted by : คนเคยถูกว๊ากมาก่อน , Date : 2003-06-18 , Time : 10:29:22 , From IP : 172.28.91.69

ความคิดเห็นที่ : 58


   Key words

"การทำโทษก็เป็นวิธีที่ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย และอัตราการทำโทษก็ไม่ได้มากเกินที่ร่างกายจะรับไหว พี่ว๊ากก็ใช้คำพูดที่สุภาพไม่หยาบคาย (ถึงจะเป็นการด่าก็เป็นการด่าด้วยถ้อยคำที่สุภาพชนเค้าใช้กัน) การทำโทษแต่ละครั้งก็มีการอธิบายเหตุผลให้ฟัง "

ถ้าเติม "ต่อร่างกายและจิตใจ" ลงไปคำเดียวก็ perfect



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-18 , Time : 14:03:38 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 59


   เรียนคุณ Arlim ที่เคารพอย่างสูง ได้โปรดอย่าเพิ่งpost รูปห้องเชียร์ในตอนนี้นะขอรับ รอให้ประชุมเชียร์เสร็จก่อน แล้วค่อยมาpost จะเป็นการดีกว่าครับ


Posted by : Chester , Date : 2003-06-19 , Time : 10:37:33 , From IP : 172.29.2.80

ความคิดเห็นที่ : 60


   เลิกได้แล้วระบบรี้ sotus
ทำยังกับคนไร้การศึกษายังงั้นล่ะ ไม่อยากว่าหรอก แต่ก็อัดอั้นมานาน


Posted by : ผ่านมา , Date : 2003-07-15 , Time : 05:49:37 , From IP : maliwan.psu.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 61


   อย่างเลิกเลยฮะผมชอบพี่ๆหล่อทั้งนั้น

Posted by : สาวแตก , Date : 2006-01-05 , Time : 09:39:43 , From IP : ip1684-112.cc.psu.ac

ความคิดเห็นที่ : 62


   อยากให้มีอีกค่ะ

Posted by : ปัทมาเด็กมอ , Date : 2006-01-05 , Time : 09:42:24 , From IP : ip1684-112.cc.psu.ac

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.014 seconds. <<<<<