ความคิดเห็นทั้งหมด : 81

- - .....แปลกๆดีนะ ที่นี่เนี่ย....


   เอ่อ....

ก่อนอื่น
ไม่ได้เจตนาร้ายอะไรนะคับ

ถือว่าผมเป็นผู้ป่วยจิตเวชก้อได้อ่ะ ปต่ก้ออยากถามอ่ะนะ

แค่แอบสงสัยมานาน หลังจากได้อ่านกระทู้มาสักพัก

อืม...สังเกตุเห็นว่า ตอนนี้มีตัวป่วนบอร์ดมาใหม่ ป่ะ?

คือ คุณ X กะคุณ นศว

คุณ นศว นี่ยังOKเนอะ เพราะยังดูมีเหตุมีผล ไม่ได้จะว่าอะไรนะครับ มันก้อเป้นสีสันดี

ดูเหมือนเป็นบททดสอบทางอารมณ์และการแสดงออกของคุณหมอด้วย ในความคิดผมนะ

ผมเองแอบอ่านมานาน ได้ความรู้ไปเยอะ ..มาก จิงๆ ได้อะไรมีประโยชน์หลายอย่าง

แต่ก้อได้เจออะไรที่ทำให้ตงิดใจอยู่เยอะเหมือนกัน

เมื่อก่อนก้อเห็นมีคุณ แง่มๆ เห็นเข้ามาถามเรื่อง ซิ่วๆ จะเข้าที่นี่

ก้อแอบเห็นมี นศพ ท่านหนึ่ง ด่าไปซะงั้น แล้วคุณแง่มๆก้อสาบสูญไป

แปลกดี ไม่ใช่อะไร

ที่ว่า....ทำไม นศพที่นี่ บางคนถึงค่อนข้างอารมณ์ร้ายจัง

ดูแบบ ท่าจะโกรธง่ายนิดนึงนะคับ

ไม่รู้สินะครับ บางที ผมว่า การที่จะเป็นหมอเนี่ย บางครั้งเราต้องยึดหลักขันติไว้นะครับ

คิดซะว่า เค้าเป็นคนไข้ๆๆ

หมอเค้าไม่เลือกปฏิบัติต่อคนไข้ ไม่แบ่งแยก ชนชั้น ฐานะไม่ใช่เหรอคับ

แอบอ่านกระทู้ร้านคุณเดือน ก้อเห็นมีอนาคตคุณหมออารมณ์เสียกันอย่างเห็นได้ชัดกันหลายคน

ถึงขนาดแทบจะพูดว่า ไม่กินก้อได้ อย่ามาง้อให้รักษาละกัน

แอบฟังแล้วใจหาย

นี่ด้วย เรื่องนาวิก
จะไปฆ่าเค้าทั้งหมู่บ้านเลยเหรอคับ น่ากัวนะ

ก้อ ไม่ได้จะอะไรหรอกคับ แค่ ใจเย็นๆ นะ

เป็นกำลังใจให้ ต้องเรียนอีกเยอะ

จบมาต้องเป็นกำลังคนที่ดีของชาตินะคับ

สู้ๆเค้านะ ใกล้สอบละ


ปล. ไม่มีอะไร - -"


Posted by : แวะผ่านเข้ามาเมื่อนานมาแล้ว , Date : 2005-09-23 , Time : 22:22:07 , From IP : gb.jb.173.226.revip.

ความคิดเห็นที่ : 1


   เป็นผู้ป่วยจิตเวชจริงเหรอ ไปรักษาซะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

Posted by : bfy , Date : 2005-09-23 , Time : 22:50:07 , From IP : 172.29.4.188

ความคิดเห็นที่ : 2


   แหะๆ สมมุติค้าบบบ



ยังไม่ได้เอามีดไปไล่แทงเดะเซนโย


Posted by : แวะผ่านเข้ามาเมื่อนานมาแล้ว , Date : 2005-09-23 , Time : 23:23:26 , From IP : gb.jb.173.226.revip.

ความคิดเห็นที่ : 3


   อ่านะ
คาดหวังในตังเองเสมอ
แต่อย่าคาดหวังในผู้อื่น
ถ้าตนเองยังไม่บรรลุโสดาบันแล้ว
ผู้อื่นก็เช่นกัน
เหตุการณ์นั้นไม่ได้เกิดกับตัวท่าน ท่านจึงมองอีกอย่าง
เหตุการณ์นั้นเกิดกับตัวเขา เขามองอีกอย่าง
ท่านเห็นอย่างที่ท่านอยากเห็น
เขาก็เห็นอย่างที่เขาอยากเห็น
อย่าทำโง่เป็นไม่รู้ว่าใต้หน้ากากหมอก็มีเนื้อหนังเป็นคนเช่นท่าน




Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-09-24 , Time : 03:56:42 , From IP : ppp-210.86.142.220.r

ความคิดเห็นที่ : 4


   อย่าทำโง่เป็นไม่รู้ว่าใต้ "หน้ากากหมอ" ก็มีเนื้อหนังเป็นคนเช่นท่าน

Posted by ไม้บรรทัดเหล็กไหล() 2005-09-24 , 03:56:42 , ppp-210.86.142.220.r


ฟังแล้วยิ่งใจหายเข้าไปใหญ่ ไม่รู้ว่าหมอมีหน้ากาก หลงเข้าใจว่าท่านเป็นหมอด้วยจิตใจด้วยวิญญาณของผู้เสียสละ ที่แท้อยู่บนหน้ากากนี่เอง ถ้าท่านไม่บอกเราไม่รู้นะเนี่ย

ถ้าหากกำลังรักษาคนไข้อยู่ แล้วเกิดอยากถอดหน้ากากขึ้นมา คนไข้ไม่แย่หรือเจ้าคะ




Posted by : ไม้บรรทัดพลาสติก , Date : 2005-09-24 , Time : 10:33:53 , From IP : 172.29.7.245

ความคิดเห็นที่ : 5


   ก็ผมยังไม่บรรลุพระโสดาบันนี่คับ จากนศพ.คนหนึ่ง

Posted by : bfy , Date : 2005-09-24 , Time : 15:44:45 , From IP : 172.29.4.188

ความคิดเห็นที่ : 6


   อย่าเพิ่งโกรดกันนะคะ ใจเย็นค่ะพี่

บางกระทู้ หนูเข้าไปอ่าน บางครั้งอยากจะแสดงความเห็น แต่เอ๊ะ ไม่ดีกว่า (กลัวโดนด่า) เนี่ยที่เข้ามาตอบเนี่ย ตั้งรวบรวมความกล้าอยู่นานเลยแหละพี่


Posted by : น้องใหม่ , Date : 2005-09-24 , Time : 15:53:47 , From IP : 203.113.77.36

ความคิดเห็นที่ : 7


   เริ่มต้นจากเป็นแค่คนดีก็ได้ครับ เป็นคนมีศาสนา เชื่อฟังตามที่เราได้รับการอบรมสั่งสอนว่าอะไรคือความดี อะไรคือศีลห้า อะไรคือสัมมาวาจา สัมมาทิฎฐิ ส่วนพระโสดาบันนั้นยังไม่ต้องไปนึก

ในความเห็นของคุณ bfy ที่เป็น นศพ. คุณคิดว่าอย่างไรล่ะครับเรือ่งนี้ อยากจะ share ให้พวกเราทราบไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-09-24 , Time : 21:40:36 , From IP : 58.147.0.254

ความคิดเห็นที่ : 8


   ขอพูดในฐานะคนในคณะแพทย์คนหนึ่งนะครับ
ถึงแม้ว่าเราจะเป็นมนุษย์ธรรมดา...ไม่ได้มีหัวโขนของแพทย์ ก็น่าจะระงับอารมณ์ในการแสดงความคิดเห็นต่อธารกำนัล เพราะเป็นการแสดงออกถึงวุฒิภาวะทางปัญญาและอารมณ์ จริงอยู่แพทย์ซึ่งเป็นปุถุชน ย่อมมีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง ได้เป็นปกติวิสัย แต่การรู้จักยับยั้งชั่งใจ นั่นทำให้คนเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐ
ผมเองก็เคยทำอะไรไปตอนที่อารมณ์กำลังครอบงำ แล้วอาจต้องมาเสียใจทีหลัง เมื่อสติกลับคืนมา
อยากให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกท่าน ใจเย็น ๆก่อน แล้วค่อยๆ คิด ค่อยพูด ค่อยๆ ทำ จะได้ไม่ต้องเสียใจทีหลังนะครับ


Posted by : nigdejavu , E-mail : (nigdejavu@yahoo.com) ,
Date : 2005-09-25 , Time : 06:47:58 , From IP : 172.29.4.221


ความคิดเห็นที่ : 9


   พระโสดาบัน ก็คือพระอริยะบุคคลขั้นต่ำสุดไงคับ


ผมจะบอกว่าผมก็เป็นมนุษย์มีเนื้อหนังมังสาเหมือนกับคุณไม้บรรทัดเหล็กไหล คุณไม้บรรทัดพลาสติก ยังไม่ได้บรรลุแม้กระทั่งขั้นต่ำสุด(ของพระอริยะบุคคล)


จึงไม่แปลกถ้าจะรู้สึกไม่พอใจ และตอบโต้กลับไปหากมีใครมาทำให้ขุ่นข้องใจ

ยิ่งในชีวิตของเรา มีคนคอยคาดหวังซะสูงว่า จะต้องเสียสละสูงส่ง ห้ามใส่หน้ากาก ปั๊ดโธ่ เรายังไม่บรรลุพระโสดาบันนะเฟ้ย (ครับ)


บางคนอาจจะไม่เชื่อว่าเรายังไม่บรรลุ เราจึงอยากบอกอีกนิดว่า เราอยากได้แฟนแบบเนี้ย



จะเห็นว่ากิเลสยังหนาอยู่จริง ๆ


Posted by : bfy , Date : 2005-09-26 , Time : 01:32:31 , From IP : 172.29.4.188

ความคิดเห็นที่ : 10


   

แบบคนเนี้ย


Posted by : bfy , Date : 2005-09-26 , Time : 01:33:50 , From IP : 172.29.4.188

ความคิดเห็นที่ : 11


   เห็นด้วยกับคุณ nigdejavu

"วุฒิภาวะทางปัญญาและอารมณ์" ชอบมากเลยที่คุณกล่าวถึงคำนี้ เพราะเป็นคำที่บ่งบอกว่าเราสามารถเอาชนะใจตนเอง หรือระงับความอยากที่ไม่ควรได้มากน้อยแค่ไหน

แม้ว่าหลายคน (หรือทุกคน) จะยังละกิเลสไม่ได้ทุกสิ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเอาข้ออ้างเหล่านั้นมาจำกัดการเป็นคนดีได้ เราสามารถเริ่มต้นเป็นคนดีตามคุณ Phoenix ได้เสมอ โดยเริ่มที่ตัวเราและมีสิ่งแวดล้อมรอบข้างคอยสนับสนุน

ที่คุณ bfy กล่าวว่า "จึงไม่แปลกถ้าจะรู้สึกไม่พอใจ และตอบโต้กลับไปหากมีใครมาทำให้ขุ่นข้องใจ" มันก็ต้องพิจารณาที่การกระทำของเราด้วยว่าเราโต้ตอบกลับไปอย่างไร (แปลกในที่นี้ไม่ทราบว่าอ้างอิงตามอะไร ตามที่คนส่วนใหญ่ทำกัน หรือ ...) โดยส่วนตัวแล้วถ้าโต่ตอบโดยใช้อารมณ์ (โมโห, โกรธ) น้อยที่สุดและใช้เหตุผลมากที่สุดก็น่าจะเหมาะสม

คงไม่มีใครปราถนาที่จะเกิดเหตุหารที่ว่า ใครมาทำให้เราขุ่นข้องใจอย่างไร เราก็โต้ตอบกลับไปอย่างนั้น เพราะมันจะไม่สิ้นสุด และอาจทวีความรุนแรงขึ้นได้ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร ฟังดูเหมือนจะทำได้ยาก แต่อย่างที่บอกนั่นแหละว่าอย่าเอาคำว่า "เรายังละกิเลสไม่ได้" หรือ "ก็เรายังไม่บรรลุพระโสดาบันนะ" มาจำกัดความพยายามของเรา อาจเริ่มต้นจากสิ่งเล้กๆน้อยๆ ก่อนก็ได้ถ้าตั้งใจทำ


Posted by : ตีสองแล้วหรือเนี่ย , Date : 2005-09-26 , Time : 02:35:56 , From IP : 172.29.4.44

ความคิดเห็นที่ : 12


   จึงไม่แปลกถ้าจะรู้สึกไม่พอใจ และตอบโต้กลับไปหากมีใครมาทำให้ขุ่นข้องใจ

สงสัยต้อง define สักหน่อยไหมครับว่า "ตอบโต้อย่างไร" เราจึงจะตัดสินใจได้ว่ามันแปลกหรือไม่แปลก

เช่นคนตายไปสี่ เสนอให้ฆ่าเพิ่มอีกสักร้อยนี่คงจะแปลกพอสมควร ผมว่าเราสามารถตั้งเป้าหมายในชีวิตได้โดยไม่ต้อง exaggerate การเป็นคนดีของสังคมว่าเป็นเรื่องสูงส่งเกินมนุษย์ ไม่เชื่อลองถามพ่อแม่บุพการีครูบาอาจารย์ของเราดูครับว่า ท่านอยากให้เราเเป็นคนดีหรือไม่ และไม่ต้องดีขนาดพระอรหันต์ได้รึเปล่า

เอาแค่ตามหลักวิชาหน้าที่ศีลธรรมและหน้าที่พลเมืองก็พอ ปฏิบัติตามกฏหมาย ตามกฏประเพณีของชุมชน เราได้ยินคำว่า "เป็นคนดีเกินไป" มาบ่อยหนาหูขึ้นเรื่อยๆ จนเดี๋ยวนี้เวลาคนไปทำโครงการช่วยสุนามิ ก็แทบจะไม่กล้ามา present ผลงาน เพราะเพื่อนจะต่อว่า "เดี๋ยวจะเปนคนดีเกินไป" เป็นเรื่องน่าเศร้ามากทีเดียว

ถ้าไม่ทำตามที่เพื่อนคาดหวัง เอาแค่ที่พ่อแม่เราที่ส่งมาเรีบนคาดหวังได้ไหมครับ ถามท่านว่าที่ส่งมาให้เราเรียนหมอนี่หวังอะไรไว้บ้าง ถามท่านดูว่าพ่อแม่กลัวผมกำลังจะเป็นคนดีเกินไปแล้วรึยัง



Posted by : Phoenix , Date : 2005-09-26 , Time : 03:48:48 , From IP : 172.29.7.100

ความคิดเห็นที่ : 13


   ขออนุญาติโพสนะครับ (ขออนุญาติก่อนที่จะทำอะรัย 1ในการสอนของการเป็นคนดีคือ มีความเกรงใจ)
1 ที่นี่คือสาธารณะสถาน ใครจะมาจะไปสบายมาก เสรีเป็นของท่าน อนึ่งแม้ว่าจะเป็นสถานเสรี แต่เป็นหน้าตาของคณะแพทย์ มอ ทุกคำพูดเสมือนเป็นวาจาของ มอ -- แม้จะมาจากใครที่ไหนก็ไม่รู้โพส (มีวิธี prove ว่าเป็นใครหรือไม่)
การเหมารวม ถือว่าเป็นการให้ร้าย คณะแพทย์หรือไม่?? --ฝากคิด
2 สื่อในรูปแบบกระทู้ เป็นสื่อทางเดียว การรับสื่อในแต่ละบุคคล แตกต่างกันได้มากกกก ท้งที่อ่านข้อความเดียวกัน อาทิเช่น บอกจะเอาคืน 100 ศพ (ฟังดูไม่ดีเอามากๆ ใช่ไหมครับ) แต่นั่นแหละ ผมคิดว่า การตัดสินว่า ผู้พูดเป็นคนเลว จิตใจอำมหิตโหดเหี้ยยย-ม ดูจะด่วนสรุป(โดยเฉพาะ เมื่อสรุปว่า ไม่ดีและมีการกล่าวโทษ)ครับ ง่ายๆเลย ในวงสนทนาระหว่างเพื่อนกัน การพูดเช่นนี้ เข้าใจว่าพูดเล่น --(ได้อารมณ์ สะใจ กระมัง) สรุปทั้งนี้ทั้งนั้น สำคัญอยู่ที่ผู้รับจะแปล ตีความนั้นว่าอย่างไร ถามต่ออีกว่า สมควรโพสลักษณะการพูดเล่น/จริง?เช่นนี้หรือไม่ ผมไร้ซึ่งปัญญา ไม่สามารถตอบได้ รอให้ท่าน เจ้าของกระทู้ มาช่วยตอบแล้วกัน ส่วนเจ้าของบอร์ด(คณะแพทย์ ) ว่ายังไงครับ จำเป็นต้องออกกฎบัญญัติหรือไม่??? --ฝากคิด
3 ฝากคำถามว่า ที่กระผมโพสมาข้างต้น ผ่านการคิดจากเจ้าของกระทู้หรือยังครับ --ฝากคิด ข้อนี้ ขอให้คิดนานๆๆๆๆๆๆเรย (เพราะก่อน ตัดสิน ผู้อื่น สมควรผ่าน stage นี้มาแล้ว ตามคุณสมบัติคนดี ใช่หรือไม่??)
4 ขอบคุณสำหรับความห่วงใย และข้อเสนอแนะ(เพิ่มพูนคุณลักษณะความเป็นแพทย์ ว่าด้วยเรื่องขันติและความเป็นคนดี)จากคุณเจ้าของกระทู้ครับ -ฝากหมอ(และผู้โพส)นำไปคิด
5 ข้อความไม่ได้ต้องการประชดใดๆแม้แต่น้อย แต่ต้องการให้กระทบความคิดครับ ถ้าเป็นผลทำให้ผู้ใดขัดข้องใจ ก็ขอขมาลาโทษ ณ ที่นี้ด้วย


Posted by : qwerty , Date : 2005-09-27 , Time : 14:34:37 , From IP : 203.156.50.73

ความคิดเห็นที่ : 14


   ก้อ ที่ทั่นได้โพสมาก้อคิดไว้แล้วนาคับ


อ่อ ก้อไม่ได้เชิงเหมารวมนาคับ ก้อเหนว่า แทบทุกกระทุ้ จะมีคนที่ความเห็นค่อนไปทางรุนแรงมาฉะกัน ก้อเลยบอกไป

(ว่าๆไปก้อเหมารวมแหละ...โทดค้าบ)


อันสองนี่ ผมว่า มันก้อแล้วแต่จะเห็นนะครับ แต่ผมว่าคนส่วนใหญ่เค้าก้อคงจามองเหมือนผมแหละ

สาม คิดแล้วค้าบบบบ หลุดไปนิดนึง คงไม่ว่ากัน

4-5 มิได้คับๆ ดีใจที่มีคนแสดงความเห็น



การแลกเปลี่ยนความเห็นคือวิธีเรียนรู้ของปัญญาชนครับ





ปล. สอบกันเสร็จยังเนี่ย เกตAเน่อ


Posted by : เจ้าของกระทู้เองงับ , Date : 2005-09-27 , Time : 21:17:54 , From IP : gb.jb.173.65.revip.a

ความคิดเห็นที่ : 15


   อ่านะ
มิได้กล่าวอ้างว่าจะประชดใคร
เพียงแต่อยากให้ได้ไตร่ตรองคิด
ทุกคนมีเลือดมีเนื้อมีชีวิต
อารมณ์ความคิดแตกต่างกันไป
ท่านคาดหวังเขาได้ดั่งใจท่าน
แล้วเป็นดังหวังของท่านหรือไม่
คาดหวังตัวเองก่อนดีกว่าไหม
โลกคงสดใสดูดีก่าเดิม

ทุกคนเกิดมาล้วนมีหน้ากาก
ทำตามบทบาทที่ตนเป็นอยู่
ภายใต้หน้ากากที่เปิดออกดู
คือคนทุกผู้สับสนวุ่นวาย
เป็นเรื่องของเขาเมื่อถอดหน้ากาก
อย่าคาดหวังมากจะดีหรือร้าย
เริ่มที่ตนก่อนทำดีเอาไว้
อย่าแกว่งปากไปสอนใครเขาเลย


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-09-29 , Time : 00:36:21 , From IP : ppp-210.86.142.220.r

ความคิดเห็นที่ : 16


   ถ้าไม่คิดจะสอนใครแล้วผมว่าทำอาชีพหมอคงจะลำบากครับ

พวกเราสู้อุตส่าห์เรียนมากมาย ก็เพื่อนำไปเผยแพร่ แนะนำ ค่าเล่าเรียนก็ถูก subsidize โดยเวินภาษีรัฐบาลไม่รู้เท่าไหร่ เรียนจบแล้วก็คงจะต้อง "จ่ายคืน" ให้สังคมบ้าง หน้าที่ที่จะ improve ตนเองของหมอนั้น สมเด็จพระราชบิดาท่านมีพระราชดำรัสให้ไว้เป็นอันดับ แต่การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์นั้นท่านให้ไว้เป็นอันดับหนึ่ง เมื่อเวลาแพทย์เห็นผู้ป่วยสับสนวุ่นวาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกายหรือใจ "หน้าที่" ของเราก็คงจะต้อง "เสนอหน้า" เข้าไปช่วยเหลือ

ดังนั้นในความเห็น (ส่วนตัว) ของวผมแล้ว รักจะเป็นหมอคงจะต้องแกว่งปากไปสอนชาวบ้านชาวช่องเขาไปตลอดชีวิตแหละครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-09-29 , Time : 01:01:04 , From IP : 203.107.193.224

ความคิดเห็นที่ : 17


   อ่านะ
ไม่ได้กล่าวอ้างถึงใครนะครับเพียงอยากให้มองเป็นแง่คิด
(อ่านแล้วก็ให้คิดถึงท่านพุทธทาส แล้วกันนะครับ)
อ่านด้วยจิตขุ่นก็จะขุ่น อ่านด้วยจิตคิดก็จะได้ข้อคิดครับ

===ปล.โลกของคุณไม้บรรทัดพลาสติก ค่อนข้างดูดีนะครับ ทุกคนที่กระทำด้วยสัมมาอาชีพจะต้องชอบ รัก อุทิศตนเพื่ออาชีพของตนอย่างจริงจัง งืม ผมว่าถ้าเป็นอย่างที่คุณว่าได้มันก็ดีสิครับ เป็นหมอทั้งในกาวน์และนอกกาวน์ ใน รพ นอก รพ
เป็นด้วยจิตใจที่ดีงามเพื่อผู้อื่น เรียนหมอเพราะรักที่จะเป็นหมอ===
===โลกของผมนั้นขอเพียงใต้หน้ากากของทุกอาชีพทำดีที่สุดเมื่อสวมใส่มัน
ก็แสนที่จะประเสริฐเลิศล้ำเหลือกำหนดแล้ว มิได้เคยคาดหวังเลยว่าเมื่อเขาถอดหน้ากากออกจะเป็นเช่นเดิมหรือไม่เพราะเราควรปล่อยให้เขาใช้ชีวิตและแสดงความคิดเห็น แสดงอารมณ์ได้เช่นเดียวกับคนอื่นๆเพราะผมไม่เคยลืมว่าเขาเป็นคนเช่นผม===



Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-09-29 , Time : 01:02:07 , From IP : ppp-210.86.142.220.r

ความคิดเห็นที่ : 18


   ในขณะที่ "บทบาท" ของเรา ณ ต่างกรรม ต่างวาระมีได้หลายรูปแบบ เราจะสร้าง "บุคลิก" ของตัวเราขึ้นมาทีละน้อยที่ไม่ว่าจะสวมบทอะไรอยู่ มันก็เป็น "เรา" อยู่ดี

บุคลิกที่ว่านี้มันถอเข้า ถอดออกยากครับ ดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามัน "ต่าง" จาก true self ไปไกลมากเกินไป ฉะนั้นที่วงการแพทย์เรามีปรัชญาอะไรกันมานั้น ในยุคไหนๆก็ไม่มีใครสอนให้เรา "เสแสร้ง" ทำในสิ่งที่ไม่ใช่เรา แต่จะพยายามพัฒนาตนเอง เรียนรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม จริยธรรม ให้ self ของเรามันใกล้เคียงกับทุกๆบทบาท จะว่าไปที่เราขอๆกันมันไม่ได้อุดมคติอะไรมากมายเลย ก็แค่เป็นคนดีของสังคมแค่นั้น การมีคนขอให้เราช่วยกันเป็นคนดี ไม่น่าจะก่อให้ใครเกิดจิตขุ่นขึ้นมาได้ (รึเปล่า?) นะครับ

การฝึกทางจริยธรรมอย่างหนึ่งก็คือ เราอภิปรายกันบน "การกระทำ" อย่าเอา self เข้าไปเกี่ยว เพราะเอา self เข้าไปปุ๊บ มันคอยจะฉงนสนใจว่าเอ...ใครกำลังตำหนิว่าตูรึเปล่าหว่า? ถ้าเราทำอย่างนี้ได้ แม้แต่การสอนของเด็กขายพวงมาลัย หรือคนข้างถนนที่กำลังจะตาย ก็สามารถ "สะท้อน self" ของเรา ณ เวลาต่างๆได้ทั้งสิ้น

ความรู้สึก "สะท้อน" นี้สำคัญในการฝึกด้านจริยศาสตร์ ในขณะที่ feedback เป็นการสะท้อนมาจากคนอื่น ข้อสำคัญคือ reflection นั้นเป็นการสะท้อนจากภายในตนเอง ถ้าเราทราบว่า "จริงๆแล้ว" เราไม่ได้เป็นอย่างที่เสแสร้งแกล้งทำ ตรงนี้มันเกิด "ความเสี่ยง" ขึ้นครับ เช่น วันไหนไม่อยู่เวร เกิดมีความจำเป็นเรียกร้องเช่นสุนามิมา ถ้าเกิดหยิบหน้ากากมาสวมไม่ทัน เราก็จะใช้ self นำและก็จะเกิดพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป สาเหตุที่ตรงนี้ในอาชีพของเราสำคัญก็เพราะหมอนั้นถูก "คาดหวัง" ว่าเป็นหมอ 24 ชม. ถึงแม้ว่าจริงๆมันไม่ได้เป็นอย่างนั้น แต่สังคมรอบข้างเขา "คาดหวังแบบนั้น" ปัญหามันเกิดตรงที่ถ้าเราเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้สังคมผิดหวังได้มากขึ้น มันจะเกิดผลกระทบต่อทั้งตัวเราและวงการวิชาชีพทั้งหมด

สรุปแล้วการเป็นคนดีนั้นผมว่าดีจริงครับ ถึงมันจะเป็นส่วนหนึ่งของอาชีพหมอ แต่ผมว่าเรามองให้มันเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่พลเมืองทั่วไปก็ได้ คนทุกคนมีอารมณ์ ความคิด แต่สังคมก็ยังคาดหวังอะไรบางอย่าง "จากทุกคน ทุกอาชีพ" ว่าอะไรควร อะไรไม่ควรอยู่ ถ้าเราปล่อยให้ Id หรือ "ความดิบ" ของตัวตนเราออกมาเพ่นพ่านมากๆ มันคงไม่ค่อยดีเท่าไหร่



Posted by : Phoenix , Date : 2005-09-29 , Time : 21:18:01 , From IP : 58.147.127.254

ความคิดเห็นที่ : 19


   ถ้าเราปล่อยให้ Id หรือ "ความดิบ" ของตัวตนเราออกมาเพ่นพ่านมากๆ มันคงไม่ค่อยดีเท่าไหร่

อ่านะ
ประโยคนี้นะครับผมว่าคงจะมีคนส่วนน้อยเท่านั้นแหละครับ
ที่จะใช้เพียง Ego อย่างเดียวเพราะอ่านกระดานอภิปรายมาก็นานพอควร
Id ก็ยังเพ่นพ่านปะปนมาเสียแยะ
แต่ผมก็เฉยๆนะครับ เพราะผมคิดว่าเป็นปกติของมนุษย์
ผมไม่คาดหวังใครหรอกครับ
ผมคาดหวังเพียงตนเองเท่านั้น เพื่อที่จะปฏิบัติให้ผู้อื่นได้พอใจ
มันก็ไม่ได้ลำบากใจอะไรหรอกครับ เพราะถ้าเขาชอบผมก็สบายใจ
ผมไม่เคยแสดง Id ของผมให้ใครได้เห็น
แต่ผมสังเกตเห็น Id ของหลายคนได้ซึ่งคนกลุ่มเหล่านี้มีไม่น้อยเลย
มีทุกระดับชั้น ทั้งผู้ที่มีการศึกษาสูง หรือการศึกษาน้อย
ถามว่าผมเคยไปบอกให้เขารู้หรือไม่
ตอบไม่เคย....แล้วทำไมไม่บอกหละ
ตอบเขาเองก็รู้....ใครๆก็รู้....แต่ทำไมเขาไม่เปลี่ยน

ผมยอมรับมันได้ครับ....เพราะเขาก็เป็นคนปกติเช่นผม
ผมพยายามแล้วในสิ่งที่ใครๆได้คาดหวัง
แต่ผมไม่กล้าที่จะคาดหวังในตัวใครหรอกครับ


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-09-29 , Time : 21:58:12 , From IP : ppp-210.86.142.220.r

ความคิดเห็นที่ : 20


   ประเด็นคงไม่ได้อยู่ที่เรามีหรือไม่มีความคาดหวังในตัวคนอื่นอย่างเดียวกระมังครับ การที่ "คนอื่น" เขาอาจจะมีความคาดหวังกับ เรา บทบาทของเรา อาชีพของเรา นั้นมีนัยสำคัญหรือไม่?

ถ้าเราเอา "ตัวเรา" เป็นตัวตั้งทั้งหมด อะไรที่เราทำ คนอื่นน่าจะทำ อะไรที่เราไม่ทำ คนอื่นไม่น่าจะทำ อะไรที่เราคิด คนอื่นไม่น่าจะคิด ต่างคนต่างอยู่น่าจะเป็นเรื่องที่ดี แต่จริงๆแล้ว มีใครบ้างที่ต่างคนต่างอยู่ ไม่มีผลกระทบจากการกระทำและความคิดซึ่งกันและกัน?

ขออนุญาตเอาอาชีพแพทย์เป็น model ก็แล้วกัน

อาชีพเรานั้น (เดาว่าอยู่ในวงการเดียวกัน ถ้าไม่ใช่ช่วยแก้ให้ด้วยก็แล้วกันนะครับ) รับประกันได้อย่างหนึ่งว่า เรา ถูกคาดหวัง อยู่ตลอดเวลาครับ จะชอบหรือไม่ชอบก็แล้วแต่ คนไข้ ญาติ ทุกคนที่เดินเข้ามาหาที่ รพ. ที่คลินิก ที่บ้าน ฯลฯ ทุกคนคาดหวังว่าเรามีบทบาทหน้าที่ที่จะทำให้เขาพ้นทุกข์ และนั่นเป็นสิ่งที่ใครๆเขาก็คิดว่าเรามาทำอาชีพนี้ทราบอยู่แล้วว่าจะถูกคาดหวังเช่นนี้

ผมคิดว่าพวกเรา "ถูกคาดหวัง" ไว้ตั้งแต่สอบเข้ามาซะด้วยซ้ำ จากพ่อแม่ จากญาติพี่น้อง แม้แต่การสอบสัมภาษณ์ก่อนที่จะรับเข้ามาเรียน ที่ถามว่าเป็นหมอทำไมอะไรนั่นแหละครับ ว่าเราจะกำลังจะทำอย่างที่พ่อหมอ แม่หมอ บรรพบุรุษหมอเขาทำกันมาตั้งแต่แรกเริ่มวิชาชีพนี้หรือไม่ การที่เรามีการสอบ การประเมิน การที่แพทยสภามี "เกณฑ์มาตรฐาน" ของบัณฑิตแพทย์ไว้นั้นก็เป็นการคาดหวังเหมือนกัน หวังว่าเราจะมี "คุณสมบัติ" ของบัณฑิต "และ" ของแพทย์ตอนที่เราจบ หวังว่าเราจะทำงานตามความรู้ ความชำนาญ "อย่างมีจรรยาบรรณ"

Id อาจจะออกมาเป็นพักๆครับ ตอนที่ไม่ได้ถูกอะไรที่ "สูงกว่า" ควบคุม ที่จริงแล้ว Id ของมนุษย์นั้นไม่ได้เลวเกินไป อย่างที่อาจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาสบรรยายเมื่อวันก่อน มนุษย์นั้นมีอะไรหลายๆอย่างที่เหนือกว่าสัตว์ เช่น เราไม่ร่วมเพศตามข้างถนนหนทาง เรารู้จักคอยให้แม่ทานอาหาร ทานน้ำก่อน เมื่อมีคนฝากฝังอะไร เราก็ reliable ที่จะไม่ขโมย ไม่โกง เพราะมนุษย์ integrate ความคาดหวัง กฏ ค่าปกติ ของ "สังคม" เข้ากับพฤติกรรมได้ คนที่ไม่สามารถ integrate ค่าปกติ กฏระเบียบของสังคม มากด id ไว้ ก็จะแสดงออกโดย "ความดิบ" โดย "ความอยาก" หรือความรู้สึกพื้นฐานเบื้องต้นของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ความกลัว ความโกรธ ความเห็นแก่ตัว เพื่อความอยู่รอด เพื่อสืบพันธุ์

มันแปลกสักหน่อยไหมครับที่จะยอมให้ใครๆคาดหวังในตัวเรา แต่เราจะไม่คาดหวังในตัวคนอื่น? เป็นเพราะอะไรทั้งๆที่คนอื่นก็ "เป็นคนปกติเช่นเดียวกับเรา" แต่ทำไมเราถึงมี "กฏพิเศษ" ที่แตกต่างกันออกไป

ที่สังคมของเรามีการสอน การศึกษา นั่นเป็นเพราะเรา "คาดหวัง" ว่าคนรุ่นต่อๆไปจะดีกว่า แข็งแรงกว่า มีความสุขในระดับยหนึ่ง นั่นเป็นพื้นฐานของการเกิดสังคม เมื่อเรามีครอบครัว เราคาดหวังคนรอบข้าง เพื่อนร่วมงานจะทำตามบทบาทและหน้าที่ เมื่อลูกเราป่วยแล้วเราพาไปหาหมอ เราก็คาดหวังว่าหมอจะดูแลลูกเราให้ดี เมื่อพ่อแม่เราต้องการความช่วยเหลือต้องเข้า รพฬ เราจะ "คาดหวัง" อะไรจากหมอ จากพยาบาล จาก รพ.หรือไม่?

จริงหรือที่เราสามารถอยู่ได้โดย "ไม่คาดหวังอะไรจากใคร?"



Posted by : Phoenix , Date : 2005-09-30 , Time : 00:46:27 , From IP : 58.147.127.254

ความคิดเห็นที่ : 21


   อ่านะ
ความคาดหวังของผมหมายถึง
เขาคงไม่ได้เป็นที่สุดของสิ่งนั้นครับ
เช่นเขาคงไม่ได้หมอที่ดีที่สุด
เขาไม่ได้เป็นครูที่ดีที่สุด
เขาไม่ได้เป็นดังหวังของเราทุกครั้งไป
เขาไม่จำเป็นที่จะทำหน้าที่ของเขาได้ดีที่สุด
เพราะไม่รู้ว่าเขาอยู่ในเส้นทางด้วยความเต็มใจหรือไม่
แต่เขาก็ได้ทำหน้าที่นั้นแล้วตามหน้ากากที่สวมใส่
อาจเต็มใจหรือไม่ก็แล้วแต่บุคคล

เขาอยู่ใต้บทบาทนั้นก็ต้องแสดงออกไป
เขาทำได้ดีผมก็ปรบมือให้
เขาทำได้ไม่ดีผมก็พร้อมที่จะเข้าใจ
ไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องดีเท่าเทียมกัน

ส่วนเรื่องความเป็นคนนั้น
ผมมักคิดแยกอยู่เสมอนะครับ
ผมว่าเราน่าจะใช้อารมณ์ได้เช่นเดียวกับคนอื่น
รัก โลภ โกรธ ดี เลว ชั่ว เป็นได้ตามปกติ
แยกออกชัดเจน ระหว่างในหน้าที่ กับนอกหน้าที่
ผมไม่รู้สึกรังเกียจกับพวกที่พูดไม่รู้จักกาลเทศะ
แต่ทำงานอย่างตั้งใจ
แต่กับคนที่วาจาดีเอาแต่ประโยชน์ส่วนตน ทำตามที่ผู้ป่วยคาดหวัง
แต่กลับทำให้เพื่อนร่วมงานต้องแบกภาระ
ประเภทนี้ก็ต้องทำใจมาหลายรอบแล้ว ก็บอกแล้วไงครับคาดหวังน้อยทำใจง่าย
หรือว่าผมผิดปกติหว่า
แต่เพื่อนฝูงก็รักผมดี ไม่เคยมีปัญหากับใคร

สรุปผมอาจจะใช้คำผิด ความคาดหวังผมคงมี
แต่ผมคงทำใจรับกับความผิดหวังได้ครับ


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-09-30 , Time : 01:44:10 , From IP : ppp-210.86.142.220.r

ความคิดเห็นที่ : 22


   Sigmund freud ได้อธิบายโครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ว่าประกอบด้วย

Id หรือ Pressure seeking principles เป็นสิ่งที่อยู่ "ติดตัว" มนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด เป็นความต้องการแสวงหาความสุข ความพึงพอใจ ในPsychoanalytical theory,Id เป็นบุคลิกภาพชนิด Primitive impulses เช่น ความต้องการทางเพศ ความก้าวร้าว และความหิวกระหาย ในขณะที่ Humanistic term จะ represent Id ว่าเป็น "Ideal self"

Ego หรือ Reality principles เป็นส่วนของ "ความคิด สติ ปัญญา"

Super ego คือความดีงาม ความรู้รับผิดชอบชั่วดี จริยธรรม คุณธรรมที่ถูกกำหนดและหล่อหลอมมนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ เป็นสิ่งที่เราได้จาก "การเรียนรู้" ปลูกฝัง สั่งสอนในภายหลัง นับตั้งแต่เกิดมา
Freud เชื่อว่าการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์จะมีแนวโน้มไปเด่นสักทาง ใน 3องค์ประกอบนี้ และลักษณะบุคลิกภาพที่พึงประสงค์คือสามารถใช้ ego ควบคุม Id และ Superegoให้อยู่ในสมดุล สมควร และพอเหมาะพอดี

ตั้งแต่เกิดมาเราก็รู้จักหิว ร้อน หนาว ไม่สุข ไม่อุ่น ไม่สบาย เวลาอยากให้ใครมาช่วยประคบประหงมเอาให้ถูกใจบางก็จะแหกปากร้อง บางคนก็แค่อื๊อๆแอ๊ๆ เอาให้ได้อย่างใจ แล้วแต่ใครจะสำแดงความก้าวร้าวออกมาในระดับใดจะได้ตามต้องการ นี่คือประโยชน์ของ Id ที่ช่วยให้เราได้รับ basic needs ในระยะพึ่งพา ต่อมาเราเริ่มโตขึ้น เริ่มเรียนรู้วิธีการอื่นๆที่จะตอบสนองความต้องการของตนเองนอกไปจากการใช้ "ความก้าวร้าว" การเรียนรู้อาจเกิดจากประสบการณ์ สิ่งแวดลอมทั้งกายภาพ สังคมและวัฒนธรรม อาจเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือได้รับถ่ายทอดสั่งสอนมาดังนั้น การพัฒนาลักษณะบุคลิกภาพก็จะเป็นเรื่องเฉพาะคนว่าไปเรียนไปรู้อะไรมา ส่วนการ "เลือก" ว่าจะแสดงอะไรออกมาก็เป็นเรื่องของความคิด สติ ปัญญา ขณะนั้นในการชั่งน้ำหนักระหว่าง ความต้องการ กับ ความสมควร

คนที่อารมณ์ร้าย เวลาไม่ได้อย่างใจก็เลือกที่จะใช้ความก้าวร้าวเป็นเครื่องมือนำมาซึ่งการ...ได้อย่างใจ ปล่อยให้ Id ออกมาเพ่นพ่านบ่อยๆ ควบคุมไม่ได้ ก็น่าจะหาว่าเป็น เด็กไม่รู้จักโต ได้ แล้วใครจะชอบใจให้เด็กมาผ่าท้อง ตัดลำไส้ สั่งยาให้กิน
จะไม่แสดง ไม่ใช้ Id เอาเสียเลยคงไม่ค่อยเป็นสุข เพราะนัยหนึ่ง Id คือการแสวงหาความสุข ความพึงพอใจ เพียงแต่ว่าต้องชั่งให้ดีว่าสุขของเรา ควรจะได้สุขมั้ย ไปทำใครเดือดร้อนหรือเปล่า ก็จะเป็นหน้าเป็นตาดีๆของ Id

การเป็น...คนดี...เกินไป อาจทำให้ชีวิตลำบากนิดหน่อย ตรงที่ ความดีบางอย่างไม่พอแค่ดีในเนื่อในหนัง ความดีบางอย่างถูกกำหนดโดยผู้คน วัฒนธรรมสังคมรอบข้าง มีการประเมิน ตัดสินตามความสามารถในการคิด ไตร่ตรอง แยกแยะ ตามประสบการณ์เคยลำบากหรือสบาย ตามสังคมบ่มเพาะผิดชั่วชอบดี แล้วประนาม ลงโทษ เสร็จถ้าเกินไปหรือน้อยไป ด้วยว่ามนุษย์ใดไม่สามารถดำรงลำพังได้ ดังนี้การถูกประเมิน ตัดสิน ตีค่าว่าดีเกินไปหรือดีน้อยไปก็จะเป็นเรื่องที่น่าเศร้า เอาอย่างไม่เลวจนเกินไป ไม่ใฝ่ลำบากให้มากนัก ก็คงจะดี ที่พอดี ตัวเรากับเขาด้วย



Posted by : Lucifer , Date : 2005-09-30 , Time : 02:26:42 , From IP : 172.29.4.212

ความคิดเห็นที่ : 23


   สิ่งหนึ่งที่ "การสะท้อน" มีพลังเหนือ "การ feedback" คือ เป็นวิธีที่ตรวจสอบ แยกแยะความสามารถในการรับรู้

สฬายตนะของเรานั้นมีขีดจำกัด ลำพัง concrete actions ต่างๆอย่างเดียว เมื่อมารวมกับพื้นฐาน คติ อคติ ของความคิดของเรา ลักษณะพฤติกรมการใช้เหตุผลของเรา ความเชื่อ ศรัททธาของเรา ในที่สุดก็จะออกมาเป็นระบบความคิดและบุคลิกตัวตนของเราเอง (ใส่หรือไม่ใส่หน้ากากก็เถอะ)

ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวจะเห็นว่า feedback หรือ reflection ก็ตาม น่าสนใจจากมุมมองและข้อจำกัดที่ว่านี้เสมอ นั่นคือสิ่งที่เราคิด รู้สึก หรือเขื่อนั้น ไม่จำเป็นที่ "ผู้อื่น" จะรับรู้ได้ถูกต้องแม่นยำ แต่นั่นคือสิ่งที่คนเขารับรู้กัน ในขณะเดียวกันเรื่องที่เรารับรู้ หรือเชื่อว่าคนอื่นเขาเชื่อ เขาทำอย่างนั้นเพราะอย่างนั้น เพราะคิดอย่างนี้ บ่อยครั้งที่เรากำลัง "เลย" ขีดจำกัดของเราไปในการเดา

ทีนี้ถ้าความถูกผิดเป็นเรื่องของการรับรู้ เป็นเรื่องที่มีการันตีไม่ได้แล้ว "อะไร" เป็นสิ่งที่เราจะนำมาใช้ "นำ" ได้บ้างล่ะ?

อาจจะเป็นที่ "ผลแห่งการกระทำ" ได้หรือไม่?

สิ่งที่คนอื่นเขาคิดและคาดหวังจากเรา ถึงมันไม่ได้ถูกต้องตรงตามที่เราคิด เราศรัทธา เรากระทำจริงๆ แต่มันมีผลต่อ "outcomes" ที่ตัวเราเองคิดว่าสำคัญหรือไม่? ถ้ามี ไม่ว่ามันถูกหรือผิดก็น่าจะเป็นเรื่องที่ concern เช่น มันมีผลต่อความไว้วางใจในอาชีพการงานเราหรือไม่ หรือมีผลต่อภาพพจน์ ภาพลักษณ์โดยรวมของวิชาชีพทั้งหมดรึเปล่า? จริยศาสตร์นั้นไม่เพียงแต่เป็น "เกราะ" ปกป้องความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเราโสตเดียว แต่เป็นเกราะปกป้องของวิชาชีพทั้งหมดด้วย ถ้าจะ exaggerate ให้เห็นชัดก็เช่น การแต่งตัวให้เรียบร้อยมาทำงานบนหอผู้ป่วย ไม่เพียงแต่เพื่อบุคลิกของเราเอง แต่เพื่อบุคลิกของสถานที่ ของวิชาชีพโดยรวมด้วย

สิ่งที่เราคาดหวังหรือรับรู้ในเรื่องของคนอื่นล่ะ? ถ้าความถูกต้องแม่นยำมัน questionable จะลองใช้ "ผลแห่งการกระทำ" มาตรวจจับได้เหมใอนกันหรือไม่?

คนเราเป็นนายของความคิด และก็สามารถตกเป็นทาสแห่งความคิดได้ด้วย หัวหน้าหมู่บ้านกาลามกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า "จะทราบได้อย่างไรว่าที่เราทำ เราคิด เราเชื่อนั้นดีงามถูกต้องแล้ว?" คำตอบที่เป็นข้อสรุปก็คือเราต้องใช้ปัญญามาไตร่ตรองว่าผลมันเป็นอย่างไรด้วย และไม่เชื่อว่าดีเพราะ "ที่มา" มันเข้าท่าเท่านั้น ท่านสอนให้เราทราบว่า "ผลแห่งการกระทำ" นั้นมันย้อนและแสดงออกมาซึ่งความถูกต้อง และสำคัไม่ยิ่งหย่อนกว่าการที่มันมาอย่างไร

ถ้าเราคิดและสรุปคนอื่นเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้แล้ว สุดท้ายทำให้เราปรับปรุงตนเอง เกิดข้อคิด ข้อปฏิบัติ เกิดความมั่นใจ ฯลฯ ไปในทางที่ดี ผลสรุปนี้ไม่ว่าสถูกหรือผิดก็น่าจะ fail-safe ได้ขนาดหนึ่ง ในขณะเดียวกันผลสรุปอีกแบบนั้น สุดท้ายทำให้เราต้องมีจิตใจเศร้าหมอง เกิดความทุกข์ เกิดความทนไม่ได้ หรือกล้ำกลืนฝืนทน นั่นก็คงจะเป็นเรื่องที่ไม่สร้างสรรค์ไปในทางบวก เรื่องที่ไม่สร้างสรรค์ที่เกิดจากความคิดของเราเอง แถมยังไม่รู้ว่าถูกหรือผิดอีกต่างหากนี้ทำให้ "ขาดทุน" ทั้งขึ้นทั้งล่อง เป็นการลงทุนทั้งเวลา ทั้งสติปัญญาที่สูญเปล่า

ผมจึงเห็นว่า "ที่มา" แห่งขอ้สรุปนั้นเราควรจะรักษาให้ wholesome หรือบริสุทธิ์และดีงาม และ เราควรอย่างยิ่งที่จะตรวจสอบด้วยว่ามันส่งผลลงเอยไปอย่างไร เราต้องเรียนรู้ว่าสมมติฐานของเราที่ว่าดีนั้นมี "ผลแห่งการกระทำ" มา backup ได้หรือไม่ ที่เรามองเห็นว่าเป็นประโยชน์ของเรา ของคนอื่น เท่านั้นนั้น จริงๆแล้วเรา "สามารถ" บอกยังั้นได้จริงหรือ หรือมันเป็นเพียงอคติจากสิ่งที่เรา "อยากจะ" คิดไปในทางนั้นเอง? สิ่งที่คนอื่น "สะท้อน" ตัวเราก็คงจะสำคัญ ไม่ถึงกับที่เรามั่นใจว่าเราถูกต้องแล้วจะไม่ concern อะไรเลย เพราะบางทีนั่นมันกระทบกว้างกว่าตัวเราเองก็ได้ ตัวอย่างผลของการ stereotype หรือ over-conclusion ในสังคมมีมากมาย บางอย่างรุนแรงน่ากลัว



Posted by : Phoenix , Date : 2005-09-30 , Time : 05:07:39 , From IP : 58.147.77.167

ความคิดเห็นที่ : 24


   อ่านะ
คุณ Phoenix คิดว่าคนเรามีปฏิสัมพันธ์กันด้วยเนื้อแท้จริงๆหรือครับ

ผมอยากจะให้เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน
แต่สังคมนี้ผมเห็นมีพวกใส่หน้ากากเยอะแยะ
ต่อหน้าอาจารย์ทำอย่างกับเพื่อนทำอีกอย่าง
เห็นเขาก็ดูดีได้ในสังคมที่ให้คุณโทษกับเขาได้
แต่สังคมเพื่อนนั้นก็มีรอยแผลอยู่ในใจ
เอาเปรียบ เสนอหน้า โยนงานให้ แอบอ้างว่าทำเอง
ผู้ที่โดนเอาเปรียบก็พออยู่ได้ครับ ถ้าทำใจไม่คิดอะไรมาก
ผู้ที่เอาเปรียบเขากลับทำหน้าตาเฉยแบบไม่มีอะไรเกิดขึ้น
บุคลิคภาพดี น่าเชื่อถือ ดูดี มีสัมมาคารวะ
ภายใต้หน้ากากที่เห็นแก่ตัว
ตอนนี้ท่านเป็นอาจารย์ให้คุณให้โทษเขาได้
ท่านก็จะเห็นแต่ในสิ่งที่ท่านชอบ ที่เขาต้องการให้ท่านเห็น
แต่เมื่อท่านหมดอำนาจ ไม่อยู่ในสถานะจะควบคุมเขาได้
เขาก็คงจะแย้มหน้ากาก
มันเป็นสิ่งที่ท่านต้องเตรียมใจไว้ด้วยครับ

ผมว่าผมคงไม่ใช่พวกมองโลกในแง่ร้ายเกินไปหรอกนะครับ
เพราะแค่เอาความจริงที่เห็นมาเล่าสู่กันฟังเท่านั้นเอง
และพฤติกรรมแบบนี้ไม่ใช่ผมคิดเองอยู่คนเดียวนะครับ
มันเป็นสิ่งที่ใครๆก็รู้ เพราะถ้าท่านไม่สามารถให้คุณโทษกับเขาได้
เนื้อแท้ที่เป็นตัวตนของเขาก็จะปรากฎแก่ท่าน

สิ่งที่เห็นด้วยตา สวยหรือน่าเกลียด
รับรสด้วยลิ้น หวานหรือขม
สำเหนียกด้วยหู ไพเราะหรือต่ำทราม
รับรู้สัมผัสด้วยผิว ร้อนหนาวหรืออุ่น
มันมีความหมายอย่างที่ท่านสัมผัสได้ จริงหรือ




Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-10-01 , Time : 22:49:41 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 25


   ผมไม่เห็นความจำเป็นต้องทำวิจัยว่าขณะนี้ระดับ "จริย" ของสังคมเป็นอย่างไร เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินชรีวิตของผมครับ

ผมเข้าใจว่าผมเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ผมมีเป้าหมายอยู่ว่าสังคมระดับเล็กๆ คือตัวผม ครอบครัว คนรอบข้าง "น่าจะ" อยู่ในบรรยากาศแบบไหน ผมก็จะ promote เชื้อเชิญชวน และโฆษณา ประชาสัมพันธ์ให้ทำแบบนั้น เพระผมเชื่อว่า "สังคมนั้นเราทุกคนมีส่วนสร้าง" ถ้าเราปล่อยให้เป็น passive ใครเฮไปทางไหนก็เฮไป ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงปรับปรุง ผมคิดว่าชีวิตมันออกจะไร้สาระไปหน่อย แต่นั่นมันชีวิตผมใช่ไหมครับ

แต่ละคนก็จะมีบทบาทในการ promote สังคมที่ตนเองเห็นว่าอยากได้แหละครับ ของคุณไม้บรรทัดเหล็กไหลอยากได้แบบไหนก็ทำไป ผมก็ทำตามหน้าที่บาบาทและความคิดของผม เราถึงได้มานำเสนอสองแบบเปรียบเทียบกัน มีการชี้แนะเหตุผลของแต่ละฝ่ายยังไงล่ะครับ

อาจจะแปลกสำหรับคุณไม้บรรทัดฯว่า "ความจริง" นั้นในแต่ละประสบการณ์ของแต่ละคนมันสามารถมีหลาย versions มากมาย perception ของแต่ละบุคคลนั้นปรุงแต่งเยอะครับ จากการเลี้ยงดู อบรม การประสบการณ์อดีต จากปรัชญาความเชื่อ ศรัทธาศาสนาความคิด เรื่องๆเดียวกันมันถูก "รับรู้" ว่าจริงในคนละแบบ แต่ละคนมันก็ออกมาเป็น "ข้อสรุป" ส่วนตัวและชี้นำพฤติกรรม เจตคติ มุมมมองต่อตนเอง ครอบครัว และคนรอบข้างไปตามข้อสรุปนั้นๆ

ผมเชื่อในมงคล 38 ประการ ผมเชื่อคนเราสามารถดีได้ และสามารถ "สร้างสังคม" ที่ตนเองคิดว่าดีได้และคิดว่าเป็น "หน้าที่" ซะด้วยซ้ำไป จริงแท้แค่ไหนนั้ไม่สำคัญ แต่นี่คือสิ่งที่ผมเชื่อ และมันก็จะส่งผลต่อการกระทำ ผมเชื่อว่าคุรไม้บรรทัดฯก็จะมรการสร้างวิ๔ชีวิตของตนเอง ของครอบครัว ของคนรอบข้างแบบหนึ่ง เราทั้งคู่คิดว่าเรื่องเหล่านี้ "จริง" พอๆกันแหละครับ แต่พฤติกรรมความคิดมันออกมาไม่เหมือนกัน ก้แค่นั้น



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-02 , Time : 09:48:20 , From IP : ppp-203.118.120.92.r

ความคิดเห็นที่ : 26


   นศพ.ไม่ใช่หลวงพ่อวัดไหนคุณธรรมเพื่อสุขภาพเรามีเต็มที่เราเห็นใจนอกนั้นอย่ายุ่งน่า

Posted by : gg , Date : 2005-10-04 , Time : 11:05:29 , From IP : 172.29.4.170

ความคิดเห็นที่ : 27


   เห็นด้วยครับว่าแค่มีคุณธรรมเพื่อสุขภาพก็น่าจะพอ สุขภาพในที่นี้หมายถึงสุขภาพทั้งทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณใช่ไหมครับ ทั้งของคนไข้และของประชาชนทั่วไป (ที่อาจจะกำลังเป็นคนไข้ในอนาคต) ทำได้แค่นี้ก็เหลือเฟือจริงๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-04 , Time : 13:36:26 , From IP : 172.29.3.223

ความคิดเห็นที่ : 28


   เช่นเดียวกับทุกๆครั้งที่มี resistance ทำนองนี้เกิดขึ้น ออกจะน่าประหลาดใจว่าอาจารย์ช่างเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังใจและแรงศรัทธาอย่างมั่นคงต่อบทบาท หน้าที่ ความคิด ความต้องการในการpromote ให้สังคมเป็นไปในแบบที่อาจารย์ต้องการ
ด้วยความเคารพนะคะ....หนูชื่นชมและประทับใจ....กับการอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นในกรณีนี้อย่างพิเศษ และสงสัยเสมอว่าพลังใจ สติ และปัญญาอย่างล้นเหลือนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร เคยมีช่วงเวลาที่มันแห้งๆ ไปบ้างมั้ยคะ



Posted by : Lucifer , Date : 2005-10-05 , Time : 02:11:30 , From IP : 172.29.4.168

ความคิดเห็นที่ : 29


   ผมขออนุญาตเรียกว่าเป็นความ "เห็นแก่ตัว" ส่วนตัวของผมจะตรงกับแรงบันดาลใจมากกว่าไหมครับ

ที่พวกเราทั้งหมดแสดงความเห็นออกมา แต่ละคนก็มี "model" ของสังคม ของพฤติกรรม ของชุมชนในแบบที่ตนเองอยากจะใช้ชีวิตอยู่ เพราะถ้าเป็นอย่างอื่นมันไม่สะดวก ไม่สบายใจ ไม่ชอบ ฯลฯ เพราะว่าพฤติกรรมของเราเอง ของคนในครอบครัว ของคนรอบข้าง เพื่อนร่วมงาน มันมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเราแน่ๆ นอกเหนือจากเราอยากเพื่อตัวเราเองแล้ว เรายังอยากเผื่อลูก เผื่อเมีย เผื่อพ่อแม่ญาติพี่น้องเราด้วยว่าจะให้เขามีสังคมแบบไหน

ผมไม่คิดว่าแบบไหนดีที่สุด แต่ผมแค่รู้ว่าแบบไหนที่ผม "ต้องการอยากได้" ในทำนองเดียวกันคนที่มีความคิดไม่เหมือนกัน ผมก็อยากจะคิดว่าแต่ละคนเขาก็สามารถอยากได้ไม่เหมือนกัน ในเวทีของผู้มีการศึกษาเราก็ควรที่จะแลกเปลี่ยนความคิด ปรัชญา ต่างๆเหล่านี้อย่างศิวิไลซ์ มีเหตุผลอะไรก็งัดกันขึ้นมาวางแผ่บนโต๊ะ คนรอบๆข้างก็เลียบเคียงกันเข้ามาชม มาคิด มาวิเคราะห์ บางคนก็จะเพ่มความเห็น บางคนก็ขออ่านอย่างเดียว เสร็จงานก็แยกย้ายกลับไปพร้อมทั้งแนวความคิดที่ตตนเองมีปัญญาบารมีจะสรุปได้ ตัวใครตัวมันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ทีนี้ใครจะเห็นว่าเรื่องสำคัญมากน้อย เขาก็จะมีแรงในการเสริมสร้าง input ด้านของเขามากเท่านั้น คนที่คิดว่าของตนเองดีจริงๆ มักจะอดรนทนไม่ได้ต้องเชื้อเชิญให้คนอื่นร่วมใช้ ร่วมได้ ร่วมมีด้วย (ตรงนี้อาจจะใช้ไม่ได้ถ้าของดีนั้นคือ "เงิน"!!!) มาทำอย่างนี้กันเถอะ ดีแน่ เป็นมงคลต่อลูกหลาน พ่อแม่ทราบก็จะซาบซึ้งสรรเสริญ เป็นการกระทำที่แสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีได้ ฯลฯ ในที่สุดแต่ละคนก็จะสร้างวงจรองกรรม และจะได้รับวิบากในที่สุด



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-05 , Time : 09:45:50 , From IP : 172.29.3.213

ความคิดเห็นที่ : 30


   อ่านะ
สงสัยผมคงผ่านประสบการณ์ชีวิตมาน้อยเกินไปหละมั้งครับ
เพราะอ่านของคุณ Phoenix ทีไรก็มักจะรู้สึกขัดๆตะขิดตะขวงใจทุกที
ช่างเป็นประโยคที่ครุกรุ่นด้วยแรงใจและความคิดที่น่านับถือ
ความตั้งใจที่จะ -ดี- และความเชื่อมั่นที่จะสร้างสิ่งดีๆเหล่านี้ต่อผู้อื่น
ท่าทางอย่างนี้ผมว่าต้องเป็นอาจารย์แน่ๆเลยใช่ไหมครับ
ขอแสดงความเคารพอย่างสูงนะครับ

แต่ว่าไอ้ตัวผมเองนั้นค่อนข้างจะหัวแข็งเสียด้วย
และเชื่อในสิ่งที่เห็น สิ่งที่พบเจอด้วยตนเอง
คงต้องปล่อยให้ประสบการณ์มันสอนผมเองแล้วแหละครับ
หวังว่าสักวันผมคงจะ -ดี- ได้ทั้งในมุมมองของตนเองและผู้อื่น
กาย จิต วิญญาณ สังคม อย่างที่อาจารย์คาดหวังนะครับ

เกิดเป็นคนคิดถึงตน เป็นที่หนึ่ง
จะนึกถึงผู้อื่น นั้นทีหลัง
ต้องเติมเต็มส่วนของตน เต็มกำลัง
จึงจะนั่งนึกถึง คนอื่นต่อมา
คนถัดไปนึกถึง เป็นพ่อแม่
นึกถึงเมียลูกงอแง ญาติโยมข้า
เพื่อนมนุษย์ตามลำดับเต็มอัตรา
เพื่อนสัตว์โลกที่เกิดมาร่วมกรรมเวร

คนขอทานซมซานเอาตัวรอด
ไม่คิดดอดไปสำนึกถึงผู้อื่น
แค่ตัวเองลูกเมียก็สุดฝืน
ต้องกล้ำกลืนทนลำบากตรากตรำไป

ผู้มีพร้อมทั้งทรัพย์และปัญญา
ถึงจะคิดเติมคุณค่าให้ตัวได้
มีเวลาคิดถึงผู้อื่นเรื่อยไป
เผื่อแผ่ให้โลก(คง)สดใสดีกว่าเดิม



Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-10-11 , Time : 19:50:56 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 31


   ผมมันคนปัญญาน้อนแต่งกาพย์กลอนได้ไม่คมคาย

แต่ตั้งแต่วันแรกที่ได้เข้าเรียนแพทย์ ก็เจอกับพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชบิดาแห่งวงการแพทย์ไทย

ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นกิจที่สอง
ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
ลาภ ทรัพย์ และเกี่ยรติยศจะตกแก่ท่านเอง
ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพไว้ให้บริสุทธิ์


ครับในสังคมปัจจุบันผมคิดว่าเรามี hard evidence มากมายว่า "เกิดอะไรขึ้น" กับบรรดาพวกที่แสวงหาความ "พร้อมทั้งทรัพย์และปัญญาก่อนแล้วค่อยมีเวลาคิดถึงผู้อืน" ผมคิดว่าคนที่สมัครเข้ามาเป็น "ลูกพระราชบิดา" นั้น หาเวลาทำความเข้าใจกับการที่เมื่อเราคิดถึงคนอื่น ทำเพื่อคนอื่น สิ่งเหล่านี้จะ "สามารถ" ทำให้เราพร้อมทั้งทรพย์และปัญญาก็เป็นได้นะครับ ทำความเข้าใจ "ทำไม" ท่านถึงบอกว่าการถือประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นอันดับหนึ่งนั้นจะเป็น "เหตุ" ที่ทำให้เรามีลาภ ทรัพย์ เกียรติยศที่เราใฝ่ฝันอยากได้



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-11 , Time : 22:10:01 , From IP : 172.29.7.23

ความคิดเห็นที่ : 32


   หนูคงไม่เคยบอกอาจารย์ว่า....
หนู....ไม่ชอบ.....มากๆๆๆๆๆๆๆๆ ถ้าจะมีใครสักคนเดินมาบอกหนูว่า
เห็นมั้ย.....บอกแล้ว.....ทีนี้เชื่อหรือยัง
แต่ถ้ามีจริงๆหนูก็คงจะมีมีปฏิกิริยาตอบสนองไปทำนองว่า
"เออ....ขอบใจ"
แต่วันนี้หนูอยากบอกอาจารย์ว่า
เห็นมั้ย....บอกแล้ว....ว่าโลกแห่งความเป็นจริงมันโหดร้าย.....เชื่อหนูหรือยัง

การเป็นคนดี...เป็นยากค่ะยิ่งเป็นคนดีเกินไปก็ยิ่งลำบาก เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยจะมีใครเค้าใฝ่ลำบากกัน มันง่ายกว่าเยอะที่จะหันหลังให้คุณงามนามสกุลความดีแล้วก็ให้เหตุผลว่ามัน...เกินไป แต่ก็ทุกทีแหละค่ะ หลังจากนั้นมโนสำนึกของเราจะไม่ปล่อยให้เราเป็นสุขได้นานด้วยการหลอกตัวเองว่า...มันดีแล้ว...มันก็แค่ดี...มันยังไม่เกินไปหรอก แล้วก็ค่อยมาเสียดายว่าทำไมต้องไม่ยอมให้มันเกินไปด้วย(วะ)
ตามความเห็น(ส่วนตัว)นะคะ หนูว่าอาจารย์อยู่เป็นผู้ใหญ่บ้านคุกคูก็ดีแล้วนี่คะ หนูอาจจะไม่ได้แวะไปบ่อยนัก แต่ก็หวังอยู่ว่าอยากจะย้ายทะเบียนบ้านเข้าสักวัน เผื่อวันที่โลกแห่งความเป็นจริงมั นน่าเบื่อๆๆๆๆเอามากๆ จะได้มีที่พักผ่อนบ้างน่ะค่ะ

เพื่อนๆบ่นบ่อยว่าหนูพูดไม่รู้เรื่องวันดีคืนดีก็แนะนำให้หนูเงียบไปเลยจะดีกว่า
วันไหนหนูเห็นแก่ตัวร้ายๆ หนูก็จะ พูดๆๆๆๆๆๆๆให้คนทนไม่ได้ชักตายไปเลย
อาจารย์เห็นว่ายังไงคะ?


Posted by : Lucifer , Date : 2005-10-12 , Time : 19:19:05 , From IP : 172.29.4.94

ความคิดเห็นที่ : 33


   ดีครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-12 , Time : 19:30:40 , From IP : 172.29.7.117

ความคิดเห็นที่ : 34


   Homicidal attempt น่ะหรือคะ?
-"-


Posted by : Lucifer , Date : 2005-10-12 , Time : 22:10:01 , From IP : 172.29.4.94

ความคิดเห็นที่ : 35


   มิได้ครับ ผมหมายถึงที่สำรวจ สะท้อนตนเองได้ว่ากำลังใช้อารมณ์



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-13 , Time : 08:39:14 , From IP : 172.29.3.235

ความคิดเห็นที่ : 36


   อ่านะ
พอดีไปเบิ้ลเวรมาครับเรยไม่ได้มาอ่าน
วันนี้ก็มาอ่านอีกแล้วครับ
****************************************************
ผมคิดว่าคนที่สมัครเข้ามาเป็น "ลูกพระราชบิดา" นั้น หาเวลาทำความเข้าใจกับการที่เมื่อเราคิดถึงคนอื่น ทำเพื่อคนอื่น สิ่งเหล่านี้จะ "สามารถ" ทำให้เราพร้อมทั้งทรพย์และปัญญาก็เป็นได้นะครับ ทำความเข้าใจ "ทำไม" ท่านถึงบอกว่าการถือประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นอันดับหนึ่งนั้นจะเป็น "เหตุ" ที่ทำให้เรามีลาภ ทรัพย์ เกียรติยศที่เราใฝ่ฝันอยากได้
***************************************************
จากข้อความอันนี้ของคุณ Phoenix
ตามที่ผมมองนะครับ ที่พระราชบิดาของเราทรงรับสั่งเช่นนั้น
แล้วเราก็รู้สึกสดับรับรู้กินใจไปด้วยนั้น
ผมว่าเนื่องจาก พวกเราส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีพื่นฐานแน่น
(ครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม ปัญญา)
เราเป็นกลุ่มที่นับว่าเคยผิดหวังในชีวิตน้อยมาก
โลกของเราจึงค่อนข้างสดใส จิตใจผ่องแผ้ว มีจิตใจที่เอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น
การที่ท่านตรัสเช่นนั้น ก็เป็นสิ่งกระตุ้นให้จิดใจของผู้มีพื้นฐานอันมั่นคงได้มีกำลังใจในการที่จะกระทำประโยชน์ต่อผู้อื่น

ผมว่าประโยคแต่ละประโยคก็เหมาะสมกับสถานะการณ์บางอย่างบุคคลบางกลุ่ม
แต่ก็มิได้บอกว่าทุกบุคคลทุกกาลเวลาประโยคเดิมนั้นจะใช้ได้เสมอไป


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-10-13 , Time : 21:38:20 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 37


   ผมไม่คิดว่า "ปัญญา" ขึ้นกับเศรษฐานะครับ เหมือนๆกับการที่คนเราจะ "ทำอะไรเพื่อคนอื่น" นั้น จำเป็นต้องร่ำรวยอะไร เอาแค่ "พอใช้" ตามพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็น่าจะพอในเรื่อง "เศรษฐศาสตร์แห่งความพอดี"

Altruism หรือการเห้นแก่ประโยชน์ของผู้ป่วยมาก่อนประโยชน์ส่วนตนนั้น เป็นคุณสมบัติที่ "แพทย์" พึงมีมาตั้งแต่สมัย Hippocrates จนกระทั่งในปี 2002 มีการประชุมใหญ่ของ ABIM (American Board of Internal Medicine) ACP (American College of Physician) และ European Federation of Internal Medicine ที่สวิสเซอร์แลนด์ เรื่อง medical professionalism ก็ยังสรุปว่า 3 หลักการของจรรยาบรรณแพทย์ (medical professionalism) นั้นประกอบด้วย
๑) Primacy of welfare of patients หรือการเห็นแก่ประโยชน์ผู้ป่วยเป็นหลัก โดยที่ ต้องไม่ถูก compromized โดย market force, administrative exisgencies, political หรือ social vanity พูดง่ายๆก็คือ altruism นั่นเอง
๒) Principle of Autonomy
๓) Principle of Justice
คุณสมบัติของแพทย์เหล่านี้ไม่เปลี่ยนแปลงมานับพันๆปีแล้วครับ ผมไม่เคยได้ยินว่ามันถึงยุคที่จะสลับเอาประโยชน์ส่วนตัวเป็นอันดับหนึ่งเรียบร้อยแล้ว

และผมคิด (อย่างค่อนข้างมั่นใจ) ว่าถ้าถามโรงเรียนแพทย์ทุกโรงในประเทศไทยว่ามีใครแปล หรือตีความพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชบิดาว่าเรื่องนี้เป็นเฉพาะกลุ่ม elite เท่านั้น หมอทุกคน "ไม่จำเป็น" ต้องทำ และการเห็นประโยชน์ส่วนตนเป็นอันดับหนึ่งเป็นเรื่องที่ดี ผมคิดว่าคำตอบคือไม่มี อย่างน้อยที่สุดจากที่ผมเคยมีโอกาสได้เลียบๆเคียงๆในที่ประชุมแพทยศาสตรศึกษา ของ 13 สถาบันหลักและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ใหม่ๆที่พึ่งตั้ง แต่ถ้าถ้าคุณไม้บรรทัดเหล็กไหลอาจจะหา reference ในการตีความอย่างที่ว่ามาสนับสนุน ผมคิดว่าน่าสนใจที่เราจะมาวิเคราะห์กัน

ในกลุ่มนักศึกษาแพทย์ไม่ว่าจะเป็นรุ่นผม หรือรุ่นน้อง หรือรุ่นลูกศิษย์ เราเจอเด็กที่ไม่ได้ร่ำรวย และมีเด้กที่ยากจน แต่ก็ยังมีใจเข้าถึงอุดมคติที่ว่านี้ได้ พื้นฐานที่ต้องการคือการถูกอบรมว่าการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นั้นเป็นเรื่องที่ดี สมควรทำ และเมื่อทำจะมีบุญกุศลตอบสนอง ลองสุ่มๆถามอาจารย์แพทย์ที่คุณไม้บรรทัดเหล็กไหลเคารพนับถือก็ได้ครับว่าเด็กที่ยากจนนั้นจำเป็นที่จะมี moral deficit หรือไม่สามารถเจริญตามรอยพระบาทของสมเด็จพระราชบิดาหรือไม่

การที่มีคนเชื่อว่าคตินี้เป็นจริงนั้น อาจจะเป็นเพราะเขา "อยาก" ให้สิ่งนี้มันเป็นจริงก็ได้นะครับ การที่เราเป็นคน passive ปล่อยตัวปล่อยใจตาม materialism ตาม capitalism นั้นเป็นกับดักที่ไม่เพียงต่ออาชีพเราเท่านั้น แต่ต่อทุกๆอาชีพ คำว่า "พอ" ถูกเปลี่ยนนิยามไปตาม marketing force หรืออาจจะมีบางคนที่คิดว่าเขาน่าจะมีส่วนช่วยทำให้สังคมมันเป้นไปอย่างที่เขาเห็นว่าดี และเขาก็มีนิยามว่า "ดี" คืออะไรเล็กๆอยู่ในศีรษะ

ผมคงจะไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนใจใคร เพราะนั่นเป็น mission ที่ไม่สามรถทำได้ง่ายๆผ่านทางกระดานข่าวแบบนี้ เรื่องนี้เราเรียกว่าแต่ละคนมี conviction (strong belief in something) ว่าอะไรดี เราอยู่ในข่ายไหน อยู่ในข่ายยกเว้นไม่ต้องดีมากก็ได้ อยู่ในข่ายขอมีส่วนร่วมสร้างสังคม อยู่ในข่ายของเอาตัวรอดก่อนสังคมมาทีหลัง อยู่ในข่ายไม่รู้ข่ายอะไรแต่ใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ ฯลฯ สุดท้ายเราก้จะสร้างสังคมคนรอบข้างที่มีความคิดเห็นคล้ายๆกับเรา ที่เรายอมรับเขาได้ และเขายอมรับเราได้ ก็ตรงตาม กรรมะ และวิบาก อย่างแท้จริง



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-13 , Time : 22:03:45 , From IP : 203.107.193.109

ความคิดเห็นที่ : 38


   อ่านะ
***************************************************
ผมไม่คิดว่า "ปัญญา" ขึ้นกับเศรษฐานะครับ เหมือนๆกับการที่คนเราจะ "ทำอะไรเพื่อคนอื่น" นั้น จำเป็นต้องร่ำรวยอะไร เอาแค่ "พอใช้" ตามพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็น่าจะพอในเรื่อง "เศรษฐศาสตร์แห่งความพอดี"
***************************************************
อันนี้แหละครับ "พอใช้"

ความคิดผมนะ
มนุษย์ต้องมีสิ่งนี้ก่อนจึงจะไป คิดถึงผู้อื่นได้

***************************************************
การที่มีคนเชื่อว่าคตินี้เป็นจริงนั้น อาจจะเป็นเพราะเขา "อยาก" ให้สิ่งนี้มันเป็นจริงก็ได้นะครับ การที่เราเป็นคน passive ปล่อยตัวปล่อยใจตาม materialism ตาม capitalism นั้นเป็นกับดักที่ไม่เพียงต่ออาชีพเราเท่านั้น แต่ต่อทุกๆอาชีพ คำว่า "พอ" ถูกเปลี่ยนนิยามไปตาม marketing force หรืออาจจะมีบางคนที่คิดว่าเขาน่าจะมีส่วนช่วยทำให้สังคมมันเป้นไปอย่างที่เขาเห็นว่าดี และเขาก็มีนิยามว่า "ดี" คืออะไรเล็กๆอยู่ในศีรษะ
****************************************************
ผมคิดว่า "พอใช้" มาก่อน"อยาก" นะครับ
ส่วนข้อความอื่นๆผมเห็นด้วยกับท่านครับ


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-10-13 , Time : 22:28:49 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 39


   ถ้าเอาแค่ "พอใช้" นั้น มันไม่ต้องการ mission อะไรมากมายนัก ที่สมเด็จพระราชบิดาท่านทรง "แนะนำ" เชื้อเชิญให้พวกเรา "เชื่อ" ก็คือ
ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง
ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพไว้ให้บริสุทธิ์


นั่นคือถ้าแพทย์ทำอะไรๆเพื่อนประโยชน์ต่อผู้ป่วยก่อนนั้น สิ่งที่ตามมาก็คือผู้ป่วยจะ "ไว้วางใจ" และเกิด "ความร่วมมือ" ในการรักษา เราก็จะกลายเป้นแพทย์ที่ประสบความสำเร็จ ประกอบอาชีพได้ "พอมี พอกิน และพอใช้" ครับ

ท่านเสนอว่าสิ่งที่คุณไม้บรรทัดเหล็กไหลต้องการนั้น เรา "สามารถ" ได้จากการปฏิบัติตามหลัก altruism และกับดักที่น่ากลัวถ้าเรา reverse condition คือเราขอมีลาถ ทรัพย์ อะไร "ก่อน" จึงจะยอมไปช่วยคนอื่นนั้น ทำๆไปคนไข้จะไม่เชื่อถือศรัทธาเราครับ ถ้าเราทำไปไม่ใช่เพราะอยากจะให้เขาคลายทุกข์ แต่ทำไปเพราะนับหัวว่ามันนี้ตรวจได้กี่คน charge DF ไปได้เท่าไหร่แล้ว พอจะไปเที่ยวดิสนีย์แลนด์รึยัง สิ่งเหล่านี้มันจะออกมาตามอวจนภาษา ตามกิรกยาท่าทางของเรา คนอื่นเขารับรู้ได้ (ถึงแม้ว่าจะมีคนยืนยันว่า "หน้ากาก" ที่สวมนั้นมันพอดี แนบเนียนขนาดไหนก็ตาม)



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-13 , Time : 22:37:08 , From IP : 203.107.193.109

ความคิดเห็นที่ : 40


   อ่านะ

"พอใช้" อยู่ที่ใจนะครับ ผมว่า ทุกคนคงจะมีคุณค่าของคำนี้ต่างกัน
แต่คนส่วนใหญ่ ก็พอมีบ้าง

แต่ลองมองไปถึงคนที่ "ติดลบ" มีชีวิต มีหนี้สิน มีโรคภัยไข้เจ็บ ไม่มีเงินทอง ไม่มีบ้าน ไม่มีการศึกษา ไม่มีข้าวกิน
ผมคิดว่าถ้าพวกเขายังไม่สามารถตอบสนองปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิตได้
คงจะยากนะครับที่เขาจะไปคิดถึงผู้อื่นก่อนตนเอง

-ผมมองเล่นๆตามความคิดเล็กๆของผม

มนุษย์ก็เคยเป็นสัตว์มาก่อน มีเพียงสัญชาตญาณดิบเอาตัวเองรอด
อาจจะมีการรวมเป็นกลุ่มพวกเพื่อความอยู่รอดของกันและกัน
สืบเผ่าพันธุ์ตามสัญชาตญาณ
แต่อาจมีการพัฒนาการของสมองที่ดีเลิศกว่าสัตว์อื่น
ทำให้เป็นผู้ปกครองโลก
เมื่อมีทั้ง อาหาร ที่อยู่อาศัย มีสิ่งจำเป็นต่อชีวิตพร้อมแล้ว
จึงมีความคิดพัฒนาจิตใจ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันดำรงเผ่าพันธ์ต่อไปได้
ยิ่งไปกว่านั้นอาจจะส่งผลความเอื้อเฟื้อต่อสิ่งอื่น สัตว์ สิ่งของ ต้นไม้
ก็แล้วแต่ความเจริญหรือความพร้อมของแต่ละบุคคล


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-10-15 , Time : 01:23:40 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 41


   ทัศนะของคุณไม้บรรทัดเหล็กไหลน่าสนใจดีนะคะ
น่าสนใจว่า....นิยามความพอใช้ พอดี พอได้ คืออะไร ลองยกตัวอย่างดูสักหน่อยได้มั้ยคะ
ที่สนใจอีกเรื่องคือ...เมื่อไรคือ....พอแล้ว....หรือพอที่จะมีเผื่อคนอื่นได้บ้าง
เชื่อว่าคุณคงมี ทั้งอาหารและ ที่อยู่อาศัยแล้ว แล้วสิ่งจำเป็นต่อชีวิตมีพร้อมหรือยังคะ สิ่งจำเป็นต่อชีวิตของคุณไม้บรรทัดเหล็กไหลมีอะไรบ้างคะ ลองยกตัวอย่างให้อ่านหน่อยค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-10-15 , Time : 22:09:19 , From IP : 172.29.4.95

ความคิดเห็นที่ : 42


   ชักไม่มั่นใจว่าเรายังพูดถึงนักศึกษาแพทย์หรือบัณฑิตแพทย์กันอยู่รึเปล่านะครับ จากที่ว่า แต่ลองมองไปถึงคนที่ "ติดลบ" มีชีวิต มีหนี้สิน มีโรคภัยไข้เจ็บ ไม่มีเงินทอง ไม่มีบ้าน ไม่มีการศึกษา ไม่มีข้าวกิน

เพราะถ้าไม่ได้พูดถึง เราคงไม่มาอภิปรายปรัชญาอาชีพแพทย์เป็นโจทย์กันอยู่ จริงไหม?

"อาชีพแพทย์" จะประสบความสำเร็จเบื้องต้นได้นั้น (รวมทั้งการดำรงชีวิต การหาเงินปลดหนี้ หาบ้าน หาเงิน มีครอบครัว) เราก็ต้องรักษาผู้ป่วยให้ได้ใช่ไหมครับ ขั้นตอนกระบวนการการรักษาผู้ป่วยนั้น เราต้องได้ประวัติ ตรวจร่างกายผู้ป่วยอย่างละเอียดถี่ถ้วนจึงจะประสบความสำเร็จพอสมควร ในการที่เราจะซักประวัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการที่ผป.จะยอมให้เราตรวจร่างกายโดนยละเอียด ในการที่เขาจะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตัวนั้นมีรากฐานมาจาก ความไว้วางใจครับ ไว้วางใจว่าไอ้การที่ยอมเล่าประวัติทั้งหมด ไอ้การที่ยอมให้แพทย์ตรวจร่างกาย ยอมถอดเสื้อถอดผ้าให้ตรวจเช็คทุกทวารที่มี นั้นก็เพราะแพทย์คนนั้นกำลัง "ทำเพื่อประโยชน์ของเขาอยู่" เขาถึงยอม ผลที่ตามมาคือเราให้การวินิจฉัยได้ถูกต้อง แล้วที่ตามต่อมาก็คือเรารักษาเขาหาย ทำให้เขาดีขึ้น ผลที่ตามมาก็คืออาชีพเราดำเนินอยู่บนทางสำเร็จ ผลที่ตามต่อมาก็คือเรามีเงินใช้ เรามีบ้าน มีครอบครัว มีความนับถือตนเองว่าเราได้ประพฤติตามธรรมะแห่งวิชีพแล้วกำลังเสพย์ผลแห่งการกระทำนั้นๆอยู่

สันดานดิบนั้นทำให้มนุษย์เหมือนสัตว์เดียรัจฉานธรรมดาๆ เช่น สัตว์ไม่รอให้พ่อแม่กินอาหารก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามันหิว มันจะคิดว่าขอกูรอดตายก่อน พ่อแม่จะเป็นอย่างไรไม่สำคัญ สัตว์ไม่อาจจะไว้ใจให้เฝ้าอาหารของเราได้เหมือนฝากมนุษย์ เพราะพอมันหิวปุ๊บ สันดานดิบก็จะ overrule อย่างอื่นหมด สังคมสัตว์จึงเปน struggle to survive และไม่สามารถจะ construct strong community ได้ (อาจจะยกเว้นก็เพียง commune-style animals บาง species เท่านั้น) แต่สาเหตุสำคัญที่มนุษย์สร้างสังคมและสามารถ add-on ความสามารถของต่างคนเข้าหากันเพื่อประโยชน์ของ commune ได้นี่เองที่เรามีอะไรต่อมิอะไรมากกว่าสัตว์เดียรัจฉานธรรมดาๆ แน่นอนที่สุดเราก็ยังสามารถเลือกที่จะกลับไปใช้ชีวิตแบบนั้นเมือ่ไหร่ก็ได้ ก็เหนกันเช่นพวกฉุดคร่าผู้หญิงไปข่มชืนแล้วฆ่า พวกที่เบียดเบียนไม่สนใจว่าคนอื่นจะเป็นอย่างไรขอให้ตนเองได้ประโยชน์ก่อน กฏหมายของทุกสังคม ทุกประเทศก็มีบทลงโทษ "พวกที่ไม่เอาสังคม" พวกนี้เหมือนกันทั้งหมด

อาชีพบางอาชีพนั้น "เสี่ยง" มากหากไม่มีคุณธรรม ไม่มีจริยธรรม เพราะทำงานเกี่ยวกับ "ชีวิต" ของคนอื่น เกี่ยวกับัสงคม เกี่ยวกับ way of life เช่น หมอ พระ ครู เป็นต้น ถ้าเมือ่ไหร่อาชีพเหล่านี้เลิกประพฤติตามปฏิญญาวิชาชีพ ความแข็งแกร่งของชุมชนนั้นจะลดลง ศาสนาจะเรียวลง สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจกลายเป็นทาสแห่งอวิชชา โลภ และหลง แม้กระทั้งยังสามารถกล่าวเหยียดหยามเล่นคำถึงปรัชญาแห่งวิชาชีพทั้งหมดได้ หาข้อยกเว้นต่างๆนานาเพื่อไม่กระทำ ตรงนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผมครับ ดังนั้นผมจึง campaign ให้ทำอีกอย่างหนึ่งแทน




Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-16 , Time : 21:00:34 , From IP : 58.147.70.119

ความคิดเห็นที่ : 43


   อ่านะ
ผมจะลองยกตัวอย่างให้ดูนะครับ

ทำไมประเทศไทย ผลิตแพทย์ออกมาไม่รู้ตัง้เท่าไหร่แต่กลับไม่พอเสียที
ต้องรับสมัครเพิ่มขึ้นแทบทุกปี

ตามที่ผมมองนะครับ
เพราะแพทย์มีทางเลือกครับ
เลือกว่าจะยึดติดทำเพื่ออุดมการณ์
หรือจะคิดทำเพื่อตนเอง

ตัวอย่าง แพทย์ที่ขอทุนโรงพยาบาลไปเรียนต่อสาขาเฉพาะทาง
เรียนจบกลับมา โรงพยาบาลเอกชนเสนอเงินเดือนให้เดือนละ 2.5แสน
ถ้าคิดจะลาออกต้องเสียเงินให้โรงพยาบาล 7 แสน
ถามท่าน ท่านไปไหม เป็นผมนะ คนเลวๆอย่างผมคงจะไป

ทำไม เหตุผลที่เห็นแก่ตัวไงครับ งานสบาย เงินดี แม้จะมีคนด่าตามหลังก็ช่างมันสิเค้าไม่ได้จ่ายเงินเดือนให้ผมนี่ เรียนกว่าจะจบอายุตั้ง 30 กว่าแล้วขอทำงานสบายทำเพื่อตัวเองและครอบครัวดีกว่า

ตอบคุณ Lucifer นะครับ
มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความทะเยอทะยาน ความโลภ
ปัจจุบันคำว่าพอใช้ ผมว่านะ มันไม่ใช่แค่ ปัจจัย 4 หรอก
มันต้องมีสิ่งตอบสนองต่อกิเลสด้วย
บ้านที่ใหญ่โต รถที่หรูหรา เสื้อผ้าเครื่องประดับ ความนับหน้าถือตาในสังคม
ผมไม่ได้พูดเพื่อให้ใครเชื่อ
แต่ลองมองดูรอบตัวท่านในมุมของผมบ้างเท่านั้นเอง

บัณฑิตจบใหม่ เกือบร้อยทั้งร้อยหาเงินผ่อนรถ ถัดมาก็ผ่อนบ้าน
บ้านและรถที่ผ่อนก็มักจะเป็นรุ่นที่แพงสุดที่สามารถผ่อนได้
ไม่ได้คิดแบบพอเพียงหรอกครับว่าเอามาเพื่อใช้งาน
สมัยนี้เขามักคิดถึงความเท่ โก้ หรู เป็นส่วนประกอบด้วยเสมอ

ทั้งหมดทั้งสิ้นผมก็คิดเองเออเอง ไม่เห็นด้วยหรืออย่างไรก็ว่ากันไป
ไม่โกรธหรอกครับ


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-10-17 , Time : 21:58:56 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 44


   เราคงจะไม่ตัดสินกันตรงนี้ว่าอะไรดีหรือเลวกระมังครับ?

ผมไม่ใคร่เข้าใจว่าทำไมการที่เราประกาศว่าเรา "เลว" อย่างนั้น อย่างนี้นั้น ทางจิตวิเคราะห์จะแปลว่าอะไร การที่เราชิงด่าประณามตนเองไปแล้ว เป็น "ตั่ว" ที่จะทำอะไรก็ได้กระนั้น หรือว่าคำว่า "เลว" ไม่ได้มีความหมายอะไรต่อมโนสำนึก หรือความผิดถูกอีกต่อไป

ในพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชบิดานั้น ไม่ได้มีตรงไหนที่บอกว่าไม่ใสนใจนฃตนเอง ไม่ให้ทำให้ตนเองมีความสุขอย่างที่เราต้องการเลยนะครับ ท่านบอกแค่ "วิธี" ที่ท่านคิดว่าดีนั้นคือเราจะเป็นแพย์ที่ประสบความสำเร็จได้นั้นทำแบบไหนดี ท่านคิดว่าการทำเพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์นั้นเราจะเป็นหมอที่ "ประสบความสำเร็จ"

เรายังคง "สามารถ" โก้ หรู เปิดคลินิก ทำงานที่ รพ.เอกชน มีบ้านราคาหลายล้านบาทก้ได้ มีรถกี่คันก็ได้ และไม่ต้องสละกฏที่ว่านี้เลย เพราะว่าจริงๆแล้ว มันเป็นหนทางที่จะนำไปสู่สิ่งที่พูดมาทั้งสิ้น เพราะแพทย์ที่ทำเพื่อคนอื่นนั้นจะอยู่บนวิถีทางแห่งความไว้วางใจของผู้ป่วย ชื่อเสียง ความสำเร็จในการเป็นแพทย์มันแขวนอยู่บนสิ่งนี้ครับ

ถ้าให้เลือกระหว่างเป็นแพทย์ที่ดำเนินตามพระราชดำรัสของสมเด็จและพระราชบิดา แล้วมีทุกอย่างที่ว่ามานั้น กับการที่เป็นแพทย์พาณิชย์ทำงานไม่ได้เพราะคนไข้ และเพราะเงิน เงิน เงิน เท่านั้น แล้วก็มีทุกอย่างที่ว่ามาเหมือนกัน เราจะเลือกแบบไหน?

ตรงนี้อาจจะไม่ไช่ "ความจำเป็น "หรือ "ความพอ" ส่วนตัวแล้วกระมัง แต่เป็นแค่วิธีการเลือก วิธีที่แต่ละคนมอง "ดี เลว" แล้วก็ "เลือก" เป็นเลือกทำ เราคงไม่จำเป็นต้องอ้างว่าคนอื่นยืทำอย่างนี้กี่เปอร์เซนต์ มีคนอื่นไม่ทำอย่างนี้กี่เปอร์เซนต์หรอกครับ ไม่มีใครมาจ้ำจี้จำไชบอกให้คุณทำอย่างนั้นอย่างนี้ การที่เราอ้างคนอื่นนั้นเป็นแค่ "สะท้อน" ความต้องการเหมือน เป็นแค่ความต้องการที่จะ dilute ความรับผิดชอบต่อสังคม ช่วยๆกันหารหน่อย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-17 , Time : 23:34:56 , From IP : 58.147.70.119

ความคิดเห็นที่ : 45


   ว่าที่บัณฑิต...(คิดว่าจะเรียนจนจบครบกำหนด)คนหนึ่งใช้ชื่อในBoardว่าLuciferชื่อจริง..ไม่บอก แต่จะบอกว่า.....ไม่เห็นด้วยค่ะ

เรื่องส่วนตัว

มีรถ third hand คันหนึ่งพ่อซื้อให้ใช้ กันแดดกันฝน พ่อว่าจบแล้วค่อยหาเอาใหม่อยากได้ดียังไงก็หาเอาเองนะลูก ก็บอกไปว่าหาใหม่คงเป็นจักรยานอ่ะพ่อ น้ำมันแพงจนน้ำตาจะร่วง เก็บตังค์ไว้พาพ่อไปกินข้าวดีกว่า ....พ่อลูบหัวเล่นราวกับเห็นหัวลูกเป็นหัวหมา แต่หน้าตาพ่อมีความสุข....ไม่โก้ไม่เท่ไม่หรูแต่ก็....พอค่ะ
คุณไม้บรรทัดเหล็กไหลเคย...พอ...กับอะไรแบบนี้มั้ยคะ

^_^

แล้วก็ตอนเด็กๆ มีเพื่อนดีค่ะ
มันชอบให้..ไม่ค่อยคิดถึงตัวเอง..เห็นแต่มันให้กันจัง แล้วก็ต่างคนต่างให้ทีนี้ทุกคนก็ได้รับเลยไม่ค่อยขาดไม่ค่อยขอแล้วก็เลยไม่ค่อยอยาก...ไม่รู้จะเกี่ยวกับการขาดความทะเยอทะยานหรือเปล่า ที่เคยอยากอย่างเดียวก็อยากเป็นหมอแหละค่ะ...พอเกือบจะสมอยากแล้วก็เลยตั้งท่าว่าจะพอ...เฮ้อ...งั้นหนูก็ไม่น่าจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มมนุษย์ที่เป็นสัตว์สินะคะ...

เรื่องไม่ส่วนตัว

ตัวอย่าง แพทย์ที่ขอทุนโรงพยาบาลไปเรียนต่อสาขาเฉพาะทาง
เรียนจบกลับมา โรงพยาบาลเอกชนเสนอเงินเดือนให้เดือนละ 2.5แสน
ถ้าคิดจะลาออกต้องเสียเงินให้โรงพยาบาล 7 แสน
ถามท่าน ท่านไปไหม เป็นผมนะ คนเลวๆอย่างผมคงจะไป

ตอบว่า ไม่ทราบค่ะ ยังไม่เคยมีใครมาเสนอให้ แต่ถ้าให้คิดก็คงไม่อยากไปไม่ชอบให้ใครเอาเงินฟาดศีรษะ อาจจะไม่เจ็บแค่ที่หัวน่ากลัวจะมีreferไปที่ใจ ตอนนี้ยังไม่อยากลองค่ะ


เหตุผลยังไม่เข้าท่าเท่าไร
ลองหามาวางใหม่นะคะ ว่างๆหนูจะเข้ามาชม มาคิด มาวิเคราะห์แล้วก็ให้ความเห็นอีก

บุญรักษานะคะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-10-18 , Time : 08:17:08 , From IP : 172.29.4.250

ความคิดเห็นที่ : 46


   ผมคิดว่าการตีความหมายของ "เศรษฐศาสตร์แห่งความพอดี" ตามพระบรมราโชวาทไม่ได้หมายความอย่างที่คุณไม้บรรทัดฯ ว่ามาครั้งหลังนี่ครับ ที่แน่ๆคงไม่ได้หมายความว่า
"บัณฑิตจบใหม่ เกือบร้อยทั้งร้อยหาเงินผ่อนรถ ถัดมาก็ผ่อนบ้าน
บ้านและรถที่ผ่อนก็มักจะเป็นรุ่นที่แพงสุดที่สามารถผ่อนได้
ไม่ได้คิดแบบพอเพียงหรอกครับว่าเอามาเพื่อใช้งาน
สมัยนี้เขามักคิดถึงความเท่ โก้ หรู เป็นส่วนประกอบด้วยเสมอ
"

ผมเลยไม่แน่ใจว่าคุณไม้บรรทัดฯตอนนี้เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับพระบรมราโชวาทอย่างตอนแรกซะแล้ว ตอนนี้มันจะกลายเป็น greed กลายเป็น materialism ที่หาเท่าไหร่มันก็คงจะ "ไม่พอ" อาชีพแพทย์นี่ไปๆมาๆอาจจะไม่เพียงพอต่อ demand ต่อปรัชญา "ความพอ" แบบที่คุณไม้บรรทัดฯสรุปมา (ว่า "เขา" คิดแบบนี้ "เสมอ")

ปัจจุบันมันมี concept แปลกๆประเภทผิดถูกไม่ว่า เอาเป็นว่าข้ารวยน่าจะดี การโกง การฉ้อราชย์บังหลวง การเอาเปรียบเบียดเสียนกัน ระบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก ถูกคนที่กล้าและไม่กล้าประกาศตนว่าเลว ตั้งหน้าตั้งตากอบโกยไม่หยุดยั้ง ผมคิดว่ายากแก่การทำใจพอสมควรที่จะจินตนาการว่าเขาเหล่านี้กำลังสั่งสอนลูกว่าอย่างไรบ้าง โลภเป็นเรื่องที่ดี เงินเป็นพระเจ้า ใช้ของแพงแปลว่าประสบความสำเร็จ ฯลฯ ตกลงบางอย่างที่เป็น "ยาพิษ" สำหรับคนๆหนึ่ง กลับกลายเป็น glory สำหรับอีกคนหนึ่ง ผมยิ่งยากจะจินตนาการเวลาที่เขาจะแปลหรืออธิบาย concept ของ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ให้แก่ลูกๆว่าเขาเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างไร แต่ผมก็เชื่อนะครับว่ามีคนที่ทำได้ ทำอยู่ จะทำ แล้วเราก็จะมี variants ของ next generations ที่มีมุมมองต่อเรื่องพวกนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-18 , Time : 16:26:53 , From IP : 172.29.3.141

ความคิดเห็นที่ : 47


   อ่านะ
ตอบคุณ Lucifer
ผมขอนำเสนอความจริงที่เห็นให้ได้ทราบกันก่อนนะครับ
สิ่งที่เห็นคือ มีโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ส่งแพทย์หลายคนไปเรียน
cadio neuro surg uro x-ray ในจำนวนที่ไม่น้อยเลย
หวังว่าสักวันหนึ่งโรงพยาบบาลของเขาจะได้มีแพทย์เฉพาะทางเพิ่มขึ้น
เพื่อลดปริมาณงานของแพทย์ที่มีอยู่จะได้กลับมาช่วยกันทำงาน
ผลที่ได้ มาทำงานให้บ้างก็ 1 ปี บ้างก็ 2 ปี บางคนยังไม่เหยียบโรงพยาบาลเลย
ลาออก จ่ายเงินให้โรงพยาบาล ไปอยู่เอกชนกันหมด
สุดท้ายไม่เหลือใคร ที่ส่งไปเรียนหายหมด
ผมว่า............พูดไม่ออกครับ
ขอชื่นชมคุณ Lucifer ที่มีความคิดที่มีอุดมการณ์อันสูงส่ง

ความคิดผมนะ
ความคิดและการกระทำเปลี่ยนได้เสมอตามเหตุและปัจจัย
ทุกคนมีเหตุผลเสมอที่จะเอามาอ้างในการกระทำของตนเองที่ได้ทำไป
ถูกไม่ถูกไม่รู้ แต่มันคงจะดีที่สุดสำหรับตนเองในเวลานั้นๆ

ผมขอเป็นกำลังใจให้คุณ Lucifer มีความเข้มแข็ง
ยึดมั่นต่ออุดมการณ์อันสูงส่งนี้ไว้ให้ได้
และถ้าวันนึงเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นกับตัวคุณเอง
ขอให้ย้อนมานึกถึงคำพูดของผมสักนิดผมก็ดีใจมากแล้ว

ถามว่าผมเคยพอไหม
ค่าขนม อนุบาล ได้ 3 บาท เฉลี่ยของเพื่อนๆ 10 บาท
ประถม 10 บาท ********** 40 บาท
มัธยม 20 บาท ********** 60 บาท
มหาลัย 3000/เดือน ******** 5000 บาท
รถ เคยมีจักรยาน ปัจจุบัน ไม่มียานพาหนะ
ถามว่าผมอยู่ได้ไหม อยู่ได้ครับ
อยู่ได้ถึงขนาดมีเงินให้เพื่อนที่มันได้เดือนละ 10000 มายืมใช้
ตัวผมเองนะ สมถะเกือบจะติดอันดับแรกๆของคนรุ่นนี้เลยหละครับ

แต่สิ่งที่ผมนำเสนอนั้นผมสะท้อนสังคมให้ท่านลองมองดู
ว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ก็เท่านั้นเอง


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-10-20 , Time : 02:16:41 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 48


   อ่านะ
ตอบคุณ Phoenix

"บัณฑิตจบใหม่ เกือบร้อยทั้งร้อยหาเงินผ่อนรถ ถัดมาก็ผ่อนบ้าน
บ้านและรถที่ผ่อนก็มักจะเป็นรุ่นที่แพงสุดที่สามารถผ่อนได้
ไม่ได้คิดแบบพอเพียงหรอกครับว่าเอามาเพื่อใช้งาน
สมัยนี้เขามักคิดถึงความเท่ โก้ หรู เป็นส่วนประกอบด้วยเสมอ "

ผมเพียงเสนอว่าสิ่งที่เห็นในปัจจุบันมันเป็นเช่นนี้
ไม่ใช่ความคิดผมหรือการกระทำของผมเป็นเช่นนี้
****************************************************
ขอเหน็บแนมเล็กน้อย(ไม่ได้ว่าคุณ Phoenic นะครับ)
ความเพียงพอก็ดูง่ายๆ
"ลูกสอบหมอได้อยากได้อะไรเป็นรางวัลไหมลูก"
20ปีก่อน "จักรยานครับ จะได้มีไว้ใช้ตอนไปเรียน"
10ปีก่อน "รถมอเตอร์ไซค์ครับ จะได้มีไว้ใช้ตอนไปเรียน"
ปัจจุบัน "รถยนต์ครับ จะได้มีไว้ใช้ตอนไปเรียน"
ตอนนี้บินหลาของเราก็เลยหาที่จอดรถไม่ค่อยได้
(บางคนมีทั้ง จักรยาน มอไซด์ รถยนต์ มีทุกอย่าง)


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-10-20 , Time : 02:31:16 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 49


   ความจริงที่คุณไม้บรรทัดเหล็กไหลว่านั้น หนูยังไม่เคยเห็นว่ามีค่ะ เคยแต่ได้ยินว่ามี และได้ยินว่า...จะ...มี ก็เห็นด้วยว่าความคิดและการกระทำของแต่ละคนก็ทำไปตามเหตุและปัจจัย ทุกคนมีเหตุผลเสมอที่จะเอามา "อ้าง" ในการกระทำของตนเองที่ได้ทำไปและมันคงจะดีที่สุดสำหรับตนเองในเวลานั้นๆ งั้นก็ไม่ประเมินคุณค่าของการกระทำ ส่วนเรื่องความรู้สึกก็คงจะเป็น...เห็นใจค่ะ ทั้งคนส่งเรียน เพื่อนร่วมงาน กับคนไข้ที่น่าจะมีคนรับผิดชอบดูแล

ยังจำคำคนหนึ่งเคยเตือนไว้ว่า
โลกโหดร้าย เราอยู่บนโลกที่ทรัพยากรจำกัด การแข่งขันเพื่อแย่งชิง มีอยู่ตลอดเวลา เราถูกคุกคามอยู่ตลอดเวลาจากการแข่งขัน และการที่เราไม่รู้สึกเช่นนั้น เพราะกรอบของการเป็นสถาบันการศึกษาในระบบราชการ คุ้มกันความเป็นคนดี ได้เสมอ

ก็เห็นด้วยค่ะ หนูยังขอตังค์แม่ใช้ ไม่ต้องรับภาระอะไรนอกจากเรียนหนังสือ รถมีใช้ บ้านมีอยู่ ที่สำคัญก็ระลึกเสมอว่า ยังอยู่ในสถาบันการศึกษาซึ่งคุ้มกันสิ่งที่คุณไม้บรรทัดเหล็กไหลเรียกว่า "อุดมการณ์" ไว้อย่างดี ที่ยึดมั่นถือมั่นไว้ได้ก็เพราะสถาบันการศึกษานี้ปกป้องคุ้มภัยไว้ เลยยังไม่เห็นความจำเป็นต้องแข่งอะไรกับใคร ยังเชื่ออยู่ว่าแข่งไปยังไงก็ไม่ชนะ ไม่ใช่ ที่หนึ่งของทั้งหมดอยูดี อีกคนก็เคยให้กำลังใจไว้ว่า you may only a person in the world but you can mean the world for a person(ภาษาอังกฤษไม่ค่อยแข็งแรง เอาความเป็นสาระแล้วกันนะคะ) ก็เลยยังรู้จัก "พอ"และยังมีโอกาสได้เป็น"คนดี" อยู่

วันหนึ่งหนูคงต้องออกไปจากหมู่บ้านนกคุกคู*นี้ ยังหวังว่าเหตุและปัจจัยในโลกของความเป็นจริงจะไม่ทำให้หนูอ่อนแอและปล่อยอุดมการณ์อันสูงส่งของหนูไป
(* เป็นศัพท์เฉพาะของอาจารย์Phoenixค่ะ....หนูเชิญอาจารย์clarifyและเชิญชวนหน่อยว่าหมู่บ้านนี้น่าอยู่อย่างไร)

แต่การหวังและปล่อยให้ชีวิตมันPassiveไปเรื่อยๆ คงไม่ช่วยค่ะ หนูอยากได้ ก็เลยต้องเริ่ม เริ่มประกาศ เริ่มทำให้ใครๆเห็น เห็นว่าเรามีชีวิตส่วนตัวทีเป็นความสุขของเราได้ แล้วก็ยังมีอีกส่วนที่พอเหลือเฟือสำหรับคนอื่นได้ด้วยเช่นกัน ไม่จำเป็นต้องเลือกเอาแต่เรา คนอื่นช่างมัน หรือเอาคนอื่นชนิดเอ็นดูเขาเอ็นเราขาด มีความพอเหมาะพอดีที่แบ่งกันได้ อยู่แต่ว่าจะรู้จักพอ..บ้าง หรือรู้จักอยากจะแบ่งบ้างหรือเปล่า

ถ้าวันนึงเกิดเหนื่อย อยากจะเลิกเป็นคนดีขึ้นมา จะย้อนกลับมานึกถึงคำพูดของคุณไม้บรรทัดเหล็กไหลค่ะ และจะดีใจมากถ้าคุณไม้บรรทัดเหล็กไหล อยากจะพอ อยากจะดีในแบบที่เป็น"อุดมการณ์"อันสูงส่งของหนูด้วย













Posted by : Lucifer , Date : 2005-10-20 , Time : 06:25:09 , From IP : 172.29.4.250

ความคิดเห็นที่ : 50


   กระทู้นี้มันเริ่มที่ประเด็นไหนนะคะ...แล้วว่ากันไปว่ากันมามันยังเรื่องเดียวกันอยู่หรือเปล่าเนี่ย
แปลกๆดี จริงแฮะ

= =" !!


Posted by : Lucifer , Date : 2005-10-20 , Time : 06:31:28 , From IP : 172.29.4.250

ความคิดเห็นที่ : 51


   เรา "อาจจะ" สามารถมองเห็นโลกที่ "คนอื่น" มองเห็นได้จริง (รึเปล่า?) แต่เป็นผม ผมจะลังเลหลายตลบก่อนที่ผมจะกล้าประกาศออกมาว่าผมเชื่อว่าคนอื่นคิดอย่างไรอยู่ หรือสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ "จริงๆแล้ว" คนเขาคิดกันอย่างไรบ้าง backgroud ในการคิดของแต่ละคนนั้นลึกลับซับซ้อนมากครับ ขนาดตนเองคิดออกมาอย่างนี้ ตอนเช้ายังอาจจะคิดออกมาอีกอย่าง หรืออย่างเดียวกันแต่คนละเหตุผลเลย

จิตแพทย์บางคน (ทำไมผมถึงได้มีโอกาสพบจิตแพทย์หลายคนนักก็ไม่รู้!!!) เคยบอกผมว่าที่เราคิดๆกันนั้น ไม่ว่าจะคิด "แทน" คนอื่น หรือคิดของตนเองออกมาดังๆ ส่วนหนึ่งมันมาจากตัวตนของเราเอง เพียงแต่มันอาจจะสะท้อนไปมาหลายตลบกว่าจะออกมาเป็นข้อสรุป เช่นคนที่ paranoid จัดๆว่าใครจะมาโกง มาทำร้ายนั้น ลึกๆตนเอง อาจจะคิด หรือเคยคิด โกงหรือทำร้ายคนอื่น

กลับมาประเด็นเดิม ไม่ว่า "ใคร" หรือ "ความจริง ใครๆ" จะคิดอย่างไร ผมไม่เห็นว่าเราจำเป้นจะต้องเลียนแบบไปหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราใช้มโนสำนึกออกมาเองได้ว่าสิ่งนั้นมันเลว มันไม่ดี ใช่ไหมครับ ดูออกจะเป้นเหตุผลที่แปลกๆถ้าเราจะบอกว่าหลังจากที่เรา "คิดแทน" คนอื่นว่าเขาทำกันเลวๆ เอารัดเอาเปรียบ เห็นแก่ตัวกัน สังคมมันเป็นอย่างนี้ ไนเลยเราจะไม่เอาตาม มันก็ฟังดูกระไรอยู่

ผมคิดว่าวลีที่พวกเราคุ้นเคยและได้ยินค่อนข้างบ่อย รวมทั้งผมเองก้ใช้ไม่น้อย ได้แก่ "จริงๆแล้ว" "ที่จริง" และอื่นๆทำนองนี้ (ที่ผมเองพยายามหลีกเลี่ยง) เช่น "คนส่วนใหญ่คิดว่า" หรือ "สังคมคิดว่า" หรือ "ผมทราบว่า ..... คิดว่า " เพราะทั้งหมดมันเป็นความคิดหรือ perception ของเรา และจริงสำหรับเราซะล่ะมากกว่า (ยกเว้นเราเป็นคนทำวิจัย ทำ poll สำรวจมาเรียบร้อยว่าคนส่วนใหญ่ represent โดย sample size เท่าไหร่ๆ) แต่ที่เราใช้คำเหล่านี้สาเหตุหลักน่าจะมาจากการต้องการให้น้ำหนักมันมากขึ้น มีข้อ excuse ที่จะเชื่อ จะทำ จะปฏิบัติตามได้ง่ายขึ้น (ก็ "ส่วนใหญ่ทำ" เราก้ทำได้ คิดตามยังงั้นได้) ผมไม่ทราบหรอกนะครับว่า "เฉลี่ยแล้ว" เพื่อนๆตอนเรียนหนังสือเขามีฐานะอย่างไร ได้ค่าขนมวันละเท่าไหร่ แต่ผมคิดว่าไหนๆเราก็ทำตัวสมถะ ประหยัดมัธยัสถ์แล้ว อาจจะไม่ใคร healthy ที่จะคิดว่าคนอื่นมันสุรุ่ยสุร่าย โก้ เน้นใช้ของแพงไม่บันยะบันยังไปหมด มันน่าจะเป้น extreme ของอีกด้าน แต่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นตรงกลางๆไหมครับ? ทีนี้เวลาเราจะ generalize เราจะใช้ extreme end ที่ 2.5% กับ 97.5% หรือจะเอาตรงกลาง 95% ของทั้งหมดดี?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-20 , Time : 22:34:39 , From IP : 203.107.200.32

ความคิดเห็นที่ : 52


   อ่านะ
คุณสามารถสังเกตุความพอเพียงของคุณได้ง่ายๆ
-คุณซื้อเสื้อตัวนี้เพราะ--ราคาเท่าไร--จะใส่กี่ครั้ง--ใส่ในโอกาสใด--โก้
-คุณซื้อมือถือเครื่องนี้เพราะ--เอาไว้โทร--เล่นเกม--ฟังเพลง--ถ่ายรูป--โก้
-คุณจะซื้อรถสักคันหนึ่งเพราะ--ประหยัด--ทน--ราคาไม่ตก--น่าเชื่อถือ--โก้
-โก้ หรู ทันสมัย อย่างน้อยก็ต้องมีเหตุผลนี้ประกอบสักเล็กน้อย

สมัยนี้ ตัวผม ตัวคุณ ทุกคนในสังคมของคนปกติ(ยกเว้นคนป่า ซาไก แต่ก็ไม่แน่นะ) ถูกหยิบยื่นวัฒนธรรม ป้อนความกระหายความอยาก กิเลสเข้าไปในหัวสมองตั้งแต่เกิด จากสื่อจากสิ่งแวดล้อมจากคนรอบข้าง อาจจะมีสิ่งเล็กๆคำพูดดีๆที่สวยหรูมากระตุ้นจิตใจให้คุณรู้สึกยึดมั่นในสิ่งนั้น คุณก็คาดหวังว่าจะเป็นเยี่ยงนั้น แต่ในธารสายน้ำแห่งกิเลสอันเชี่ยวกราดนี้ คุณก็ยังคงต้องก้มลงดื่มมันเพราะความกระหายเป็นเรื่องธรรมดาของสิ่งมีชีวิต แต่ก็อย่าเผอเรอลืมตัวถูกดูดกลืนเข้าไปในสายธารแห่งกิเลสเพราะคุณอาจจะทนแรงน้ำไม่ไหวจมหายไปเลยก็ได้ จงค่อยๆประคับประคองเรือลำน้อย(อุดมการณ์อันสูงส่ง)ล่องลอยเวียนวนต่อไปในกระแสกิเลสจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต(ตาย)
ก็จะมีเรือลำน้อยและกองกระดูกของท่าน(อนุสาวรีย์หรือความดีที่ทำไว้)เป็นหลักฐานยืนยันว่าท่านนั้นเคยมีชีวิตอยู่อย่างองอาจ
อย่าไปหวังว่าจะถึงฝั่งสวรรค์อันสวยงามเพราะว่ามันไม่มีฝั่งแล้วท่านจะไปถึงได้ไง

คุณ Lucifer ครับ ผมว่าคุณคงจะต้องเป็น นศพ.ใช่ไหมครับ ก่อนจะออกมาสู่โลกกว้างขอให้ทำใจไว้เยอะๆเลยนะครับเพราะเรื่องที่ผมเล่าให้คุณฟังนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นความจริงที่เห็นกันจนชาชินเลยหละครับ


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-10-22 , Time : 11:46:51 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 53


   ถ้าเราคิดว่าอะไรสักอย่างหนึ่งเป็น "สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้" นั่นก็จะเป็น destiny ที่เราจะถูก condemned ให้ดำเนเนไปทางนั้นเพียงสายเดียว

materialism หรือ capitalism นั้น ในความเห็นของผม "ไม่ใช่วัฒนธรรม" เพราะแปลตามตัวแล้ววัฒนธรรมน่าจะเป็น "ธรรมะที่ทำให้พัฒนา" ความหมายของพัฒนา ถ้าตามองค์การอนามัยโลกขอยืมมาใช้หน่อย คุณภาพชีวิต จะต้องเกิดจากองค์รวม คือกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ของบางอย่างคล้ายขนมหวาน serve เฉพาะกาย เพาะใจชั่วครั้งคราว แต่ถ้าส่งผลทำลาย fabric ของสังคม ทำลายจิตวิญญาณที่ดีงามของความเป็นมนุษย์ promote ความเห็นแก่ตัว โลภ ดูถูก หรือลดค่าความเอ้อเฟื้อเผื่อแผ่ การมองเห็นคุณค่ามนุษย์ด้านจิตวิญญาณ นั่นคือ มะเร็งสังคม ไม่ใช่วัฒนธรรม

ที่น่ากลัวของมะเร็งสังคมนี้ก็คือ การสร้างภาพพจน์ว่ามันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ มันเป็นกระแสอะไรบางอย่างที่สุดวิสัยจะต้านเป็นมะเร็งที่อาการแสดงเป็น brain metastasis ไม่ได้มาด้วยระยะแรกๆ วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับมะเร็งพวกนี้ก็คือ การสร้างภูมิคุ้มกัน การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) ปกป้องมะเร็งทางใจ มะเร็งทางสังคมนี้ไม่ให้มันเกิดขึ้นในตัวเรา ไมให้มันเกิดขึ้นในตัวบุตรหลานเรา ในตัวลูกศ๋ษย์ รุ่นน้องของเรา ปกป้องโดยชี้วิธีการคิด สอนกระบวนการไตร่ตรอง ไม่ใช่เพรียกบอกเขาว่าเรื่องนี้เป็น fact ทีหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงเพราะคนบางคนคิดว่ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีอาการของ brain metastasis ไปแล้วก็เลยพยายามบอกคนอื่นๆว่า brain metastasis เป็นเรื่องธรรมดา เป็น Plague ที่ระบาดไม่มียารักษา

ไม่แปลกใจบ้างหรือว่าถ้าหากมันเป็นวัฒนธรรม มันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ทำไมถึงมีคนที่ "ไม่ติดเชื้อ" นี้อยู่มากมาย ยังมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับระบบ materialism นี้อยู่อย่างมากมาย มีคนที่ anti-ca[pitalism อยู่อย่างมากมาย ถ้ามัน inevitable จริงๆ มันก็ควรจะไม่มีการโต้เถียงกันเรื่องนี้เลย

พระพุทธเจ้า (ที่ยึดเหนี่ยวที่หลงเหลืออยู่ รวมทั้งคำสอนสมเด็จพระราชบิดา สำหรับ "บางคน" นะครับ) สอนว่า มรรคานั้นมีอยู่แล้วที่ได้เรียบเรียงสั่งสอนไว้ ให้มีศรัทธาพอที่จะเดินตามมรรคานี้ไปจะถึงฝั่งในที่สุด ให้รู้ว่าระหว่างที่เดินนี้มันมีอวิชชามากมายที่จะฉุดลงข้างทาง ที่จะปลุกปั่นบอกว่าฝั่งนั้นไม่มีจริง

ธรรมะสำหรับผู้ครองเรือนนั้นก็สามารถทำให้เรามีชีวิตอยู่ มีบ้าง มีงาน มีเงินได้โดยที่ไม่ได้ยึดสิ่งเหล่านี้เป็นอันดับหนึ่ง ทำงานโดยที่ไม่ได้มี motto ว่า "ถ้าไม่มีเงินให้ ก็เลิกพูดไปเลย" ก็สามารถอยู่ได้ มีเกียรติในสังคมนี้ได้ ใช้มือถือ ใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้รถได้ โดยทรงคุณธรรมวิชาชีพของแพทย์ ไม่ขัดแย้งกันแม้แต่น้อย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-22 , Time : 12:22:36 , From IP : 172.29.7.127

ความคิดเห็นที่ : 54


   ถ้าเราคิดว่าอะไรสักอย่างหนึ่งเป็น "สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้" นั่นก็จะเป็น destiny ที่เราจะถูก condemned ให้ดำเนเนไปทางนั้นเพียงสายเดียว

materialism หรือ capitalism นั้น ในความเห็นของผม "ไม่ใช่วัฒนธรรม" เพราะแปลตามตัวแล้ววัฒนธรรมน่าจะเป็น "ธรรมะที่ทำให้พัฒนา" ความหมายของพัฒนา ถ้าตามองค์การอนามัยโลกขอยืมมาใช้หน่อย คุณภาพชีวิต จะต้องเกิดจากองค์รวม คือกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ของบางอย่างคล้ายขนมหวาน serve เฉพาะกาย เพาะใจชั่วครั้งคราว แต่ถ้าส่งผลทำลาย fabric ของสังคม ทำลายจิตวิญญาณที่ดีงามของความเป็นมนุษย์ promote ความเห็นแก่ตัว โลภ ดูถูก หรือลดค่าความเอ้อเฟื้อเผื่อแผ่ การมองเห็นคุณค่ามนุษย์ด้านจิตวิญญาณ นั่นคือ มะเร็งสังคม ไม่ใช่วัฒนธรรม

ที่น่ากลัวของมะเร็งสังคมนี้ก็คือ การสร้างภาพพจน์ว่ามันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ มันเป็นกระแสอะไรบางอย่างที่สุดวิสัยจะต้านเป็นมะเร็งที่อาการแสดงเป็น brain metastasis ไม่ได้มาด้วยระยะแรกๆ วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับมะเร็งพวกนี้ก็คือ การสร้างภูมิคุ้มกัน การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) ปกป้องมะเร็งทางใจ มะเร็งทางสังคมนี้ไม่ให้มันเกิดขึ้นในตัวเรา ไมให้มันเกิดขึ้นในตัวบุตรหลานเรา ในตัวลูกศ๋ษย์ รุ่นน้องของเรา ปกป้องโดยชี้วิธีการคิด สอนกระบวนการไตร่ตรอง ไม่ใช่เพรียกบอกเขาว่าเรื่องนี้เป็น fact ทีหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงเพราะคนบางคนคิดว่ามันหลีกเลี่ยงไม่ได้ มีอาการของ brain metastasis ไปแล้วก็เลยพยายามบอกคนอื่นๆว่า brain metastasis เป็นเรื่องธรรมดา เป็น Plague ที่ระบาดไม่มียารักษา

ไม่แปลกใจบ้างหรือว่าถ้าหากมันเป็นวัฒนธรรม มันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ทำไมถึงมีคนที่ "ไม่ติดเชื้อ" นี้อยู่มากมาย ยังมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับระบบ materialism นี้อยู่อย่างมากมาย มีคนที่ anti-ca[pitalism อยู่อย่างมากมาย ถ้ามัน inevitable จริงๆ มันก็ควรจะไม่มีการโต้เถียงกันเรื่องนี้เลย

พระพุทธเจ้า (ที่ยึดเหนี่ยวที่หลงเหลืออยู่ รวมทั้งคำสอนสมเด็จพระราชบิดา สำหรับ "บางคน" นะครับ) สอนว่า มรรคานั้นมีอยู่แล้วที่ได้เรียบเรียงสั่งสอนไว้ ให้มีศรัทธาพอที่จะเดินตามมรรคานี้ไปจะถึงฝั่งในที่สุด ให้รู้ว่าระหว่างที่เดินนี้มันมีอวิชชามากมายที่จะฉุดลงข้างทาง ที่จะปลุกปั่นบอกว่าฝั่งนั้นไม่มีจริง

ธรรมะสำหรับผู้ครองเรือนนั้นก็สามารถทำให้เรามีชีวิตอยู่ มีบ้าง มีงาน มีเงินได้โดยที่ไม่ได้ยึดสิ่งเหล่านี้เป็นอันดับหนึ่ง ทำงานโดยที่ไม่ได้มี motto ว่า "ถ้าไม่มีเงินให้ ก็เลิกพูดไปเลย" ก็สามารถอยู่ได้ มีเกียรติในสังคมนี้ได้ ใช้มือถือ ใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้รถได้ โดยทรงคุณธรรมวิชาชีพของแพทย์ ไม่ขัดแย้งกันแม้แต่น้อย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-22 , Time : 12:23:37 , From IP : 172.29.7.127

ความคิดเห็นที่ : 55


   อ่านะ
บางอย่างผมว่า ไม่ต้องถึงขนาด Poll หรือทำ EB หรอกครับ
เรามีชีวิตในสังคม สิ่งแวดล้อม สื่อ ลองสังเกตุดูอย่างใจเย็นๆ
นั่งในห้างสรรพสินค้า หน้าโรงหนัง ร้านโทรศัพท์ ร้านข้าวในมหาลัย
ที่จอดรถ คนเดินถนนผ่านไปมา เพื่อนร่วมงาน คนไข้ สังคมที่ใช้ชิวิตกันอยู่ทุกๆวัน
สิ่งแวดล้อมที่เห็นอยู่ ข่าวสารจากทีวี วิทยุ

-ผม(คนโง่อย่างผม)เอาแค่นี้และครับมาประเมินสภาวะของสังคม
และกำหนดแนวทางการดำเนินชิวิต ตั้งสมมติฐานพื้นฐานทางความคิดของผู้อื่น
และสิ่งที่ผมเข้าใจนั้นมันก็มักสัมพันธ์กับพฤติกรรมของคนปกติทั่วๆไปเป็นสิ่งที่ทำให้ผมไม่เคยแปลกใจเลยว่าทำไมคนคนนั้นจึงตัดสินใจทำสิ่งนั้น

เพราะลึกๆแล้วทุกคนมีแรงกิเลสชนิดเดียวกันที่ผลักดันอยู่และทำให้เกิดพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อกิเลสนั้นๆ


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-10-22 , Time : 12:27:20 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 56


   พฤติกรรมของมนุษย์ที่ว่านี้มัน uniform หรือมัน predictable จริงๆหรือ?

เอาแค่ง่ายสุดเราสองคนสงสัยก็จะมี "พฤติกรรม" ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ต่อแรงกระตุ้นออกมาเหมือนกันหรือต่างกันครับ จากเท่าที่เรา "ไม่เห็นด้วย" ในการมองและได้ข้อสรุป

มนุษย์เรามี highly selective ในการเลือก "มองเห็น" เฉพาะสิ่งที่ตนเองอยากจะเห็น สิ่งที่ตนเองเชื่อ สิ่งที่ตนเองอธิบายได้จากความรู้เดิม จนกว่าเราจะปิดกว้างรับรู้ถึง "ความน่าจะเป็นอื่น" ที่จะอธิบาย เราก็คงจะยากที่ได้ข้อสรุปที่แตกต่างกัน

แรงกิเลสที่เป็น universal force ที่ว่านั้น ทำให้เกิดพฤติกรรมตอบสนองกี่แบบครับ? การที่ UNESCO ตระหนักรับรู้ให้พระพุทธทาสเป็นบุคคลของโลกนี่ เป็นเพราะ "อะไรที่ท่านเชื่อ ท่านทำ ท่านสอน" มันเป็นจริง มันสมควรแล้ว ถูกต้องแล้ว และ "น่าประหลาดใจ" ขนาดไหนสำหรับโลกของคนที่นับถือเงินเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง?

"อวิชชา" คือ การไม่ทราบอริยสัจสี่ การไม่ทราบว่าสิ่งที่เกิดในปัจจุบันเป็นผลมาจากการกระทำในอดีต การไม่ทราบว่า "อนาคต" นั้นเกิดจากผลการกระทำของเราในปัจจุบัน ถ้าใครที่เชื่อ ก็จะมีพฤติกรรม "ในปัจจุบัน" อย่างหนึ่งเพื่อ "หวังผล" ในอนาคตอย่างหนึ่ง เขาคงจะไม่งอมืองอเท้า รับรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นมันหลีกเลี่ยงไม่ได้ รับรู้ว่าสังคมมันมี "กระแส" เหมือนกับว่าเราเองไม่ได้เป็นผู้สร้างกระแสคนหนึ่งด้วย

ทราบหรือไม่ว่าเมื่อเรา "พยายาม" เราก็สร้างคนแวดล้อมเราด้วยคนที่มีความคิดเห็นคล้ายๆกับเราขึ้นมาทีละน้อย ไม่แปลกอะไรครับที่แต่ละคนจะเห็น "คนปกติทั่วๆไป" ที่แตกต่างกัน เพราะว่าคนๆหนึ่งจะแวดล้อมสังคมตนเองด้วย "ความปกติ" ที่ไม่เหมือนกัน โจรก็จะแวดล้อมตนเองด้วยโจรจึงจะ stable พระก็คงจะ harmony กว่าเมื่อแวดล้อมอย่างหนึ่ง คนที่ยึดในพรหมวิหาร ในศีลธรรม ในปรัชยาวิชาชีพก็จะแวดล้อมด้วย "ความปกติ" อีกแบบหนึ่ง และผมเชื่อว่าเราทุกคนมี liberty และมีหน้าที่เลือกได้ครับว่าเราอยากจะได้ "ปกติ" แบบไหน แบบทักษิณ แบบฮิตเลอร์ แบบพอลพต ก็จะแวดล้อมด้วย "พฤติกรรมคนปกติ" ที่เขาสร้างขึ้นมาแวดล้อม สร้างขึ้นมาให้ "อยู่ได้" ตามแบบที่ตนเองอยากได้

"กิเลส" นั้นเป็น option ครับ ไม่ไช่สิ่งที่ inevitable เลือกได้ว่าเราจะยอมให้สิ่งนี้มันผลักรุนหัวเราไปเรื่อยๆหรือไม่ก็ได้ เลือกที่เราจะแสดงให้ลูกหลานเราดูว่าทิศทางที่ศีรษะเรารุนไปนั้นมันมี "อะไร" รุนอยู่ กิเลส? เงินตรา? โลภ? ศีลธรรม ความพอ? หรือจรรยาบรรณ?หลังจากที่เราได้เลือกแล้วนี้เองที่เราจะเกิดพฤติกรรม ที่เราจะเกิดมุมมองว่าอืม...ในยุคนี้ๆฉันมีอะไรยึดเหนี่ยว ฉันมีอะไรที่จะไปบอกพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่สอนฉันมาตอนเด็กว่านี่คือสิ่งวที่ฉันคิดว่ามันเป็นมงคล มันไม่เป็นกาลกิณี มันเป็นวิถีที่ทำให้ใจสงบ

สัมมาทิฏฐื สัมมาสติ และสัมมากัมมันตะ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-22 , Time : 18:05:57 , From IP : 58.147.22.163

ความคิดเห็นที่ : 57


   อยากจะบอกว่า....คำว่าพอเพียง ก็คือ คำว่าเพียงพอนั่นเอง ดังนั้นความเพียงพอของแต่ละคนย่อมมีโอกาสแตกต่างกัน....ควรแล้วหรือที่เราจะนั่งดูว่าคนนั้น จับจ่ายใช้สอยสิ่งใด แล้วกล่าวว่าล้วนมาจากกิเลส...สิ่งไหนที่เราเรียกว่ากิเลส .... เราเข้าใจจิตใจเขาขณะนั้นเชียวหรือ.....

เพียงพอ...คือมีสุข...ตราบใดที่เราทำแล้วมีสุข...นั่นก็คือสิ่งที่เรียกว่าเพียงพอ...ไม่มีใครบอกความเพียงพอของเราได้...ในขณะเดียวกันก็ไม่มีใครบอกได้ว่าความเพียงพอที่เหมาะสมของทุกคน คือเท่าไร....ขอเน้น..ความเพียงพอ คือ ความสุขของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณสัมผัสได้

ดังนั้นการมีชีวิตอยู่ คือการอยู่อย่างมีสติ...อยู่กับปัจจุบันขณะ....แล้วจะรู้ว่า ตัวเราเป็นใคร...ทุกสิ่งล้วนอนัตตา....ขอเพียงรู้ปัจจุบัน...เราจะเริ่มซึมซับถึงความสุข...แต่ถ้าเราไม่รู้ปัจจุบันขณะ...จิตใจเฝ้าหาแต่อนาคต...เราก็จะพบความสุขยากกว่าคนอื่นมาก(หลายคนอาจไม่พบเลย) นั่นเป็นเพราะ...เรายังไม่รู้ปัจจุบันของตนเองเลย....ก้าวย่างที่เดิน..ถามเถอะว่า เดินเพื่อเดินอย่างมีสุข...หรือเดินเพื่อจุดหมาย...ตราบใดที่คนเราไม่รู้จักคำว่าเดินเพื่อเดินอย่างมีสุข...เราก็ไม่ค้นพบแม้กระทั่งตัวเราเอง...ถามหน่อยเถอะว่า การเดินเพื่อจุดหมาย แท้จริงแล้วจุดหมายอยู่ที่ไหน...เมื่อถึงที่หนึ่งแล้ว ... นึกถึงที่ต่อไป... แล้วไหนคือจุดหมายที่แท้จริง

อาจจะตอบกระทู้นี้ช้าไป...แต่อยากจะบอกว่า...การเดิน...อย่างน้อยก็ควรรู้ว่าเดินเพื่ออะไร.... ปัจจุบันขณะ ...คือ ...ปัจจุบันขณะ....

A walk of>>>>wishdom


Posted by : ปัจจุบันขณะ , Date : 2005-10-23 , Time : 04:40:13 , From IP : 172.29.4.214

ความคิดเห็นที่ : 58


   ศ.นพ.ประเวศ วะสี เคยให้ข้อวิจารณ์ไว้ครั้งหนึ่ง รู้สึกจะลงในบทความมหาวิทยาลัยวันศุกร์ทำนองนี้ ว่าถึง "ความต่าง" ของวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก เนื้อหาโดยสรุปคือวัฒนธรรมตะวันตกจะเป็นการแสวงหาความสุข ส่วนปรัชญาตะวันออก (พุทธ)จะเป็นการแสวงหาความพ้นทุกข์

Key ที่ขยายความต่างให้ชัดเจนระหว่างคติสองประการนี้คือ ทางพุทธจะวิเคราะห์ว่าบางที "ความสุข" ก็เป็น "สาเหตุของทุกข์" ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการยึดมั่นถือมั่นไม่สามารถปล่อยวาง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความสุขนั้นๆเหมือนยาเสพติดที่ต้องเพิ่มขนาด เพิ่มขนาน และแปรตามค่านิยม แปรตามตัวแปรต่างๆภายนอกที่ไม่คงที่

เศรษฐศาสตร์แห่งความพอเพียงนั้น คง"ไม่ได้" หมายถึงความสุขที่ไร้ขอบเขต แต่ความพอตรงนี้น่าจะมี "บริบท" จำกัด เช่น ตามอัตภาพ ไม่ใช่ความพอที่ผลักดันโดยโลภที่ไม่มีที่สิ้นสุด หรือพูดอีกแบบนึงก็คือเป็นความพอที่มีการพัฒนา "เบื้องหลัง" ของความพอให้ดีซะก่อน

ความสุขในปัจจุบันส่วนหนึ่งเป็นความสุขทางกาย ที่ภาระในการต้องตะเกียกตะกายแสวงหาให้ได้มานั้นไม่ได้ถูกพิจารณาว่าเป็นภาระ หรือความทุกข์ทางใจ ตรงนี้เป็น lapse ของ concept ของคุณภาพชีวิตที่เป็นองค์รวม (holistic) ว่ามันต้องไปด้วยกันทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ มันจึงจะเป็นคุณภาพชีวิตที่แท้จริง คำว่า "ความสุข" นั้นหมายถึง "สุขสงบ" หรือสุขแบบ "เย็นๆ" (nirvana) มากกว่า "สุขรื่นเริง" หรือสุขแบบ "ร้อน" มิฉะนั้นสุขแบบร้อนนี้จะเสมือนการดื่มยาพิษแก้กระหาย มันบรรเทาความชุ่มชื่นได้แค่ตอนดื่ม แต่ก่อให้เกิดพิษต่อทั้งกายและใจในเวลาต่อมา เมื่อยาพิษหมดก็ต้องดิ้นรนแสวงหาเพิ่มเติมไม่มีที่สิ้นสุด ต้องเพิ่มขนาด เพิ่มขนาน ไม่มีที่สิ้นสุด

ความสุขที่ร่างกายสัมผัสได้นั้น อาจจะไม่สุขเท่าความสุขที่จิตใจสัมผัสได้ ถ้าเคยมีโอกาสไปดูผู้ป่วยระยะสุดท้าย และจะช่วยให้เขาเหล่านี้เผชิญความตายได้อย่างสงบ สิ่งที่ช่วย sheer up นั้นไม่ใช่อดีตที่เขาเคยเป็นนักกีฬา อดีตที่เคยเป็นนางงาม หรือฐานะที่ร่ำรวย แต่กลับเป็น คุณความดีภายใน เช่น การเป็นครูสอนนักเรียน การที่เคยช่วยเหลือญาติพี่น้องลูกน้องคนด้อยโอกาส การที่มีลูกที่เชื่อฟัง ตั้งใจเรียน สืบทอดมฤดกทางปรัชญาความคิดความดีงาม สิ่งเหล่านี้ที่จะคงทนถาวรและคงอยู่แม้ร่างกายใกล้จะแตกดับก็ยังเป็นน้ำทิพย์จรรโลงใจให้เกิดความสงบได้ ตรงกันข้ามกับคนที่มีแต่ "ความสุขทางกาย" พอถึงเวลาจะวางมันกลับวางได้อย่างลำบากยากเข็ญ มันเต็มไปด้วย unfinished business ลูกหลานก้ struggle ที่จะดำรงไว้ซึ่งความโลภ ซึ่งปรัชญาแห่งการแสวงหาสิ่งที่ไม่เคยอื่มตัวหรือพอเพียง ความสงบในวาระสุดท้ายนี้มันช่าง remote และยากที่จะทำได้

หากที่เราทำมาทั้งหมด ไม่ได้ทำให้เกิดแม้แต่แค่การตายตาหลับ ตายอย่างมีศักดิ?ศรี ตายอย่างมีศิริมงคล สิ่งที่เราได้ทำนั้นมันเป็นความสุขทีจริงแท้แค่ไหน?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-23 , Time : 10:16:08 , From IP : 203.107.192.209

ความคิดเห็นที่ : 59


   อ่านะ
คุณความดีภายใน คือยังไงครับ

อย่างตัวผมนี่คิดว่าคงไม่มีหรอกครับ
ใช้ชีวิตก็คิดแต่สุขกายสุขใจของตนเท่านั้น
อะไรที่ทำแล้วสุขไม่ว่าเพื่อตนเอง(ส่วนมาก) หรือเพื่อผู้อื่น(ส่วนน้อย)
ทุกสิ่งที่กระทำไปก็เพื่อสุขกายสุขใจของตนเป็นที่หนึ่งทั้งนั้น
คิดแค่เพียงเท่านี้เกิดมามีเพียงชีวิตเดียวต้องตักตวงความสุขให้ตนอย่างเต็มที่
สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นผลจากการกระทำของข้าทั้งปัจจุบันและอดีต
จะทำดีหรือชั่วข้าไม่รู้ขอให้ข้าสุขไว้ก่อน
ตายไปขอขอเป็นเพียงเถ้าธุลีไม่จำเป็นต้องมีใครจดจำเพราะไม่ได้หวังให้ใครจำ
ขอให้ตายอย่างสุขแล้วที่ได้ใช้ชีวิตอย่างที่อยากจะเป็น


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-10-24 , Time : 00:26:34 , From IP : ppp-210.86.142.220.r

ความคิดเห็นที่ : 60


   วาทะ Eistien ค่ะ
ลอกมาให้ชมและวิเคราะห์สักหน่อย

"A hundred times everyday I remind myself that my inner and outer life are based on the labors of others.So I must reward them as much as I receive."

"ข้าพเจ้าเตือนสติตัวเองวันละหลายร้อยครั้งว่า ชีวิตภายในและภายนอกของข้าพเจ้าเกิดขึ้นมาจากสิ่งอื่น และข้าพเจ้าต้องตอบแทนให้มากพอๆ กับที่ข้าพเจ้าได้รับมา"

วาทะ..คุณไม้บรรทัดเหล็กไหล

คิดแค่เพียงเท่านี้เกิดมามีเพียงชีวิตเดียวต้องตักตวงความสุขให้ตนอย่างเต็มที่

เฮ้อ...อีกคนแล้ว...
คงไม่พยายามเปลี่ยนใจค่ะ คนก่อนที่พูดอย่างนี้กับหนู หนูก็ยังเปลี่ยนใจเค้าไม่สำเร็จเหมือนกัน ตอนนี้เลยได้แต่....ดู.... สงสารบ้าง เบื่อบ้าง แต่รำคาญหนักๆก็ตอนเธอมาคร่ำครวญว่าเป็นทุกข์เนื่องจากไม่ได้อย่างใจ

อืม...คุณไม้บรรทัดเหล็กไหลเริ่มคิดแล้วก็ลองคิดต่อหน่อยดีมั้ยคะ
คิดว่า
เกิดมามีเพียงชีวิตเดียว ตักตวงให้ตนอย่างเต็มที่ มีอะไรตอบแทนกับที่ได้รับมาบ้าง

วาทะ Eistien อีกค่ะ
"Only a life lived for others is a life worth while."
มีเพียงชีวิตเพื่อผู้อื่นเท่านั้นที่มีคุณค่าแก่การมีชีวิต

คิดต่อหน่อยนะคะ
ถ้าแปลความตามวาทะว่า...การตักใส่ตัวไปเรื่อยๆ ไม่คืนบ้างนอกจากจะอกตัญญูแล้วยังไม่มีคุณค่าแก่การมีชีวิตอีก
หนูก็ไม่คิดว่าจะบอกว่าใครควรจะพอที่ไหนหรอกค่ะ ก็แล้วแต่คน คิดแต่ว่าถ้าเอามามาก ก็ควรจะคืนให้มากเท่าที่เอามาเท่านั้นเอง

แล้วก็

หนูไม่ใคร่หวังจะ ถึงฝั่งสวรรค์หรือลงนรกไปไหนเลยนะคะ ตั้งใจว่าจะ "พอ" ตั้งแต่สิ้นลม ให้จบเวร สิ้นกรรม ตั้งแต่สิ้นใจ นอกเสียจากว่าชาตินี้ยังใช้หนี้ที่เอามาปรนเปรอความสุขตัวเองไม่หมด ก็คงต้องเป็นเวรกลับไปชดให้คืนชาติหน้า






Posted by : Lucifer , Date : 2005-10-24 , Time : 02:18:47 , From IP : 172.29.4.203

ความคิดเห็นที่ : 61


   ความสุขสงบของคนๆหนึ่งนั้นมีได้หลายวิธี

บางคนก็สุขสงบเมื่อไป shopping เมื่อไปกินข้างข้างนอก เมื่อชนะเกม เมื่อดูหนัง ฯลฯ นั่นเป็นลำดับต้นๆ ที่ simple ไม่ได้ซับซ้อนอะไร กินอิ่ม นอนหลับ ทีนี้คนเรานั้นไม่ได้อยู่แบบ day by day basis (คืออยู่ไปวันๆ) เราทำอะไรที่ซับซ้อนกว่านั้นได้ (เป็นสิ่งที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์ชั้นต่ำประเภทอื่นๆ) เช่น อยากเป็นหมอก็ต้องเรียนตั้ง 6 ปี อยากเป็น specialist ก็ต้องต่ออีกตั้งสี่ห้าปี บางคนเรียนจบอายุก็ 38 มากกว่า 50% ของอายุเฉลี่ยทั่วๆไปเพื่อที่จะ "รู้" อะไรบางอย่าง เป้นความสุขที่ซับซ้อนกว่าการกินได้นอนหลับ

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เด็กทารกมนุษย์จะไม่สามารถยังชีวิตรอดได้ในโลกปัจจุบันเลยถ้าปราศจากความช่วยเหลือ แตกต่างจากสัตว์เดียรัจฉานจำนวนมากที่อายุไม่กี่วันก็เริ่ม "ล่า" อาหารให้ตนเองได้ นอกจากนี้ "สติปัญญา" ของมนุษย์นั้นมีการเจริญมาจากรูปแบบที่เป็น interactive และแบบ "ต่อยอด" คือสอนสั่งต่อๆกันมา ความรู้เก่าๆไม่ได้สาบสูญแต่นำมาต่อยอดไปข้างหน้าได้ สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนที่เราได้เห็น "ธรรมะ" บางอย่าง เช่น กตัญญูกตเวที หิริโอตับปะ เบญจศีล เปญจธรรม ที่มี "คุณค่าร่วม" กับคำสั่งสอนของศาสนาหลักอื่นๆในโลกนี้

มนุษย์เรา (บางส่วน) รู้สึกมีความสุขที่ได้มีส่วนในการประกอบะรรมะเบื้องต้นเหล่านี้ เป็นความสุขที่ได้มาหลังจากวิเคราะห์ "ตนเอง" ว่ากิจที่ทำไปมัน wholesome หรือไม่ ตรงนี้คงจะอธิบายให้เข้าใจเป็นสากลยาก เพราะผมเข้าใจว่ามีคนประกาศว่ารู้ว่ามันเลวก็ยังจะทำมันอย่างนั้นอยู่ มันเป็นความ "ต่าง" ตรงที่รากฐานแห่งความคิดของแต่ละปัจเจก

"ความสุขตนเอง" นั้นจะดีหรือไม่? ถ้าสามารถมีรากมาจากการทำดีต่อผู้อื่นได้ด้วย? มิฉะนั้นแล้วเราคงจะอธิบายยากมากหรือเป็นไปไม่ได้ที่จะอธิบาย concept ของกตัญญูกตเวที เนื่องจากกตัญญูกตเวทีเป็นธรรมที่ pure บริสุทธิ์ จากจิตอิสระที่เลือกที่จะปฏิบัติ และผลจากการกระทำนั้นเป็น pure abstract เป็นตัวอย่างของ "คุณความดีภายใน" ที่ผมพูดถึง เป็นตัวอย่างที่ อ.แสวง บุญเฉลิมวิภาสชอบยกตัวอย่าง เช่น การเสียสละให้แม่ได้กินข้าวก่อนทั้งๆที่เราหิว ตรงนี้อ.แสวงบอกว่าสัตว์ทำไม่เป็น ทำไม่ได้ ไม่รู้คุณค่า อุปมาอุปมัยกับคนก็คงจะทำนองเดียวกัน ถ้าไม่เข้าใจตั้งแต่แรกว่าทำอย่างนี้มันดีอย่างไร แสดงว่า gene บางกลุ่มมัน turn on และ turn off แตกต่างกันตามบริบท

สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน "ไม่ได้เกิด" ขึ้นเพราะกรรมะของ "ข้า" คนเดียวครับ กรรมและวิบากเป็นเรื่องซับซ้อนและมีปฏิสัมพันธ์กันมากมาย ทำไมคน 770 คนต้องมาตายพร้อมกันเมื่ออัฒจรรย์ฟุตบอกถล่มที่ liverpool ทำไมคนเป็นแสนจมน้ำตายพร้อมกันที่ Soul Asia ตอน tsunami ถ้าใครคิดว่าตนเอง "ควบคุม" ทุกสิ่งทุกอย่างได้เพียงลำพังนั้น คงจะเข้าใจผิด ในขณะเดียวกันถ้าใครคิดว่าตนเองสามารถ "สุข" ตามลำพังได้อย่างแท้จริง โดยไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นเลย ไม่ต้องคำนึงถึงคุณงามความดีอะไรทางสังคมเลยนั้นก็จะไปเจอปัญหาภายหลัง

มนุษย์เราทุกคนมีศักยภาพที่จะรู้ "ความชั่วดีเลว" ครับ ต่อให้ปากแข็งประกาศว่าไม่รู้อย่างไรก็ดี การโกหกตนเองว่าไม่รู้ดีชั่วนั้นเป็นจุดเริ่มที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ในตนเองเท่าไหร่ เพราะขนาดตนเองยังไม่สามารถยอมรับตรงๆว่ารู้ว่าอะไรดีไม่ดี สิ่งที่เหลือรวมทั้ง "ความสุขของตนเอง" นั้น จะทราบได้อย่างไรว่ามันโกหกเหมือนกันหรือไม่?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-24 , Time : 13:31:56 , From IP : 203.107.201.99

ความคิดเห็นที่ : 62


   ต่ออีกนิดนึง...

เมื่อวันก่อนมีสนทนาให้ความรู้แก่ประชาชนที่ห้อง M104 ในหัวข้อ "ครอบครัวผูกพัน ชุมชนเข้มแข็ง" ว่ากันถึงเรื่องผลกระทบของความสัมพันธ์ของหน่วยสังคมที่เล็กที่สุด (ครอบครัว) ต่อวงกว้าง (สังคม หรือชุมชน) มีประเด็นที่ถกกันคืออะไรคือ "รากของความต่าง" ของคนในสังคมและผลกระทบต่อเนื่องในวงกว้าง

ก็มีความรู้ประสบการณ์มา shared กันต่างแบบกันนะครับ แต่อย่างหนึ่งก็คือพื้นฐานทางครอบครัวนี้ดูจะเป็น reference ที่มีหลายคนอ้างอิงถึง เช่น ที่บ้านเคยใส่บาตรแต่เล็กแต่น้อย ที่บ้านมีห้องพระเคยสวดมนต์ ที่ รร.เคยอยู่ประจำมีกิจกรรมระหว่างเพื่อนฝูงทั้งในและนอกห้องเรียน สำหรับครอบครัวเรามี term จำเพาะเช่น cohesiveness ภายในครอบครัว ที่เป็นความใกล้ชิด (ทั้งทาง physical และทางอารมณ์ ของสมาชิกในครอบครัว) ที่ปรากฏว่าปฏิสัมพันธ์ตรงนี้มันเป็นรากของอะไรต่อมิอะไรได้หลายอย่าง

สังคมไทยนั้นพ่อแม่ส่งมาเรียนหนังสือซะเยอะ ไม่มากก็น้อยผมคิดว่าเด็กๆคุ้นเคยกับการถูก "คาดหวัง" จากพ่อแม่ผู้ปกครองรวมทั้งครูบาอาจารย์กว่าที่เราจะเรียนจบ พ่อแม่หลายคนส่งให้ลูกเรียนสูงซะยิ่งกว่าตนเอง เพราะไม่อยากจะให้ลูกลำบากเหมือนตนเอง อยากให้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาส่งให้ลูกสามารถได้งานที่ดี หาเลี้ยงตนเองได้ดี และลึกๆก็คือทั้งหมดนี้อาจจะทำให้มีคนมากตเวที มาทดแทนอะไรสักนิดหน่อยตอนท่านแก่เฒ่าชราลง รูปแบบนี้ได้ถูก repeated ซ้ำแล้วซ้ำอีก เราก็พยายามจะสั่งสอนลูกหลานของเราคล้ายๆกัน เพราะเราทุกคนรู้ดีว่าถึงวันหนึ่ง เราอาจจะพึ่งความสามารถของตนเองในการจัดการเรื่องราวทั้งหมดไม่ได้อีกต่อไป แล้วก็ไม่อยากจะต้องไปลงเอยที่บ้านพักคนชราเพราะหาลูกหลานที่จะมากตัญญูก็ไม่ได้ เงินก็ไม่มีจะจ้างให้ลูกหลานมาช่วยดูแลแล้ว (เพราะใช้ส่งมันไปเรียนสูงๆจนหมดแล้ว) ถ้าให้ดีไปกว่านั้นก็คือ ลูกหลานที่จะมากตัญญูทดแทนคุณนั้น ไม่ได้มาเพียงเพื่อรักา status ทางสังคม "ให้ตนเองดูดี" เท่านั้น แต่เป็นความรู้สึกที่แท้จริงว่าอยากจะมากตัญญู อยากจะมากตเวทีอย่างจริงใจ

พวกนี้เป็นแค่ "ความรู้สึก" จากการกระทำที่เหมือนกัน คนก็อาจจะมาดูแลปรนนิบัติได้อย่างดี แต่บางคนก็ทำเพราะเป็น special nurse บางคนทำเพราะมีคนดูอยู่ บางคนก็ทำเพราะเห็นว่ามันดี ทำแล้ว "มีความสุข" ก็ได้เหมือนกัน ทีนี้ทำเพราะอะไร แบบไหน มันดีกว่ากัน มันขึ้นกับ "ระบบความคิด" ของแต่ละปัจเจกบุคคลกระมังว่าอะไรควรไม่ควร

สงสัยส่วนหนึ่งที่อาจจะช่วยก็คือต้องให้ลองมีลูกหลานเป็นของตนเอง เราจะเริ่มรู้สึกว่าเด็กๆเขาก็คาดหวังจะเลียนแบบเรานี่แหละครับ เราสอนให้เขากตัญญูก็ต้องทำให่เขาเห็นก่อน เขาก็จะมากตัญญูกะเราในอนาคต vice versa ถ้าเราอยากสอนให้เขาเป็นคนโลภ บูชาเงิน บูชาความเห็นแก่ตัว เมล็ดพันธุ์ความคิดต่างๆเหล่านี้ก็จะผลิดอกออกผลมาในที่สุด ตอนเราเฒ่าแก่ชรา ทำอะไรไม่ได้แล้ว ถึงตอนนี้เราแต่ละคนก็จะเสพผลไม้ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เราได้หว่านไปแล้วมาเป็นสิบๆปี



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-24 , Time : 17:28:09 , From IP : 203.107.196.225

ความคิดเห็นที่ : 63


   เรื่อง "สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน "ไม่ได้เกิด" ขึ้นเพราะกรรมะของ "ข้า" คนเดียว"
นี้หนูเคยพยายามทำความเข้าใจมาครั้งหนึ่งแล้วค่ะ
อาจารย์อานนท์(ขออนุญาตพาดพิงค่ะ..._/ll\_) ให้ดูการ์ตูนเรื่องที่มีอยู่ว่า
เจ้าหมาตัวหนึ่งเอาหนังกะติ๊กมาจ้องจะยิงเครื่องบิน พอดีเครื่องบินบินผ่านจังหวะมันง้างหนังยางยิงพอดี.... เครื่องบินร่วง..... เจ้าหมานั่นดีใจใหญ่ว่ามันยิงเครื่องบินร่วงด้วยหนังกะติ๊ก

ไม่ได้จดไว้ว่าอาจารย์พูดว่ายังไงต่อ แต่จำได้ว่า ...มีเหตุปัจจัยอยู่หลายอย่างที่เกี่ยวอยู่กับความสำเร็จที่เราคิดว่าเราเป็นคน..ทำ.. สิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นความบังเอิญที่เราคิดว่ามันเกิดเพราะเรา แต่เรื่องกลายเป็นว่าถึงเราไม่ทำมันก็เกิด

เห็นด้วยค่ะ แล้วก็คิดเองต่อว่า...

เวลาที่เราทำอะไรสำเร็จไปสักอย่าง แล้วมองอยู่แต่ว่าตัวเรานี้เก่ง เจ๋งตลอด จะกลายเป็นมนุษย์ยอดหยิ่งไป นับเป็นความเขลาอย่างน่ากลัวที่มองข้าม เหตุและปัจจัยสนับสนุนอื่นนอกจากตัวเรา ถ้าอะไรๆมันไม่เกี่ยวกันอย่างที่มันเป็นเราอาจไม่โชคดีก็ได้ เลยควรจะสำนึกขอบคุณความบังเอิญเหล่านั้นบ้างเพื่อลดอัตตาที่มันพองๆลงหน่อย











Posted by : Lucifer , Date : 2005-10-25 , Time : 04:28:26 , From IP : 172.29.4.203

ความคิดเห็นที่ : 64


   แบบฝึกหัดเรื่อง "กรรมและวิบาก" นั้นอยู่ได้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงระดับ post-graduate หรือเรียนไปจนตลอดชีวิตก็ว่าได้

มันไม่ใคร่ตรงไปตรงมาเหมือนแทงบิลเลียดชิ่งลงหลุมหรือแคนนอนกระแทกลูกต่อไปให้เห็นได้ มันเหมือนกับการ "ระเบิด" กลุ่มลูกแดงในเกมสนุกเกอร์มากกว่า คือมีทั้งบางลูกที่เรา "เล็ง" แต่มีอีกมากมายหลายลูกที่เราไม่ได้เล็งแต่มีผลกระทบต่อแผนการหรือสิ่งที่เกิดขึ้นมาได้

คนเราอยู่ในสังคม นี้เป็นความจริงเบื้องต้น (ในระดับปุถุชนคนธรรมดา) ผลกระทบจากการกระทำความคิดของเรานั้นมีต่อคนรอบข้างด้วย ไม่เพียงแต่ตัวเราเองเท่านั้น จะโดยตั้งใจไม่ตั้งใจเราจะมีแนวโน้มสร้างกลุ่มหรือคล้อยตามกลุ่มที่มีความคิดเห็นอย่างเดียวกันขึ้นมา (cronyism) เมื่อเรามีตำแหน่งสูงขึ้น เราก็จะพยายามฉุดลากผลักดันคนที่มีความคิดเห็น idea ต่างๆที่สอดคล้องกับเราขึ้นมาทำงานด้วย เพราะเราอยากจะ "อยู่" ในสิ่งแวดล้อมที่ under control อยู่เสมอ มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

กว่าที่เด็กทารกจะเติบใหญ่ กว่าที่นักเรียนจะศึกษาจบ กว่าที่ประชาชนจะสร้างครอบครัวมีลูกมีหลาน กว่าที่ประเทศจะถูกก่อสร้าง (หรือล่มจม) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีบทบาทอย่างมากที่จะ shape สิ่งที่เกิดขึ้น จะให้เจริญ หรือจะให้ทรุดโทรม

บางที "คุณค่า" ของตัวเรา อาจจะวัดไม่ได้จากที่คนอื่นเขารู้สึก (หรือถูกหลอกให้รู้สึก) อย่างไร อยู่ที่ว่าตัวเราสามารถประกาศ (ในใจ) ว่าเราเองนี้มันดี มันเลว มันชั่ว มันสมควรแล้ว เช่นไรมากกว่า (ถ้า insight เราดีพอใช้ได้นะครับ) จะมีประโยชน์อะไรที่เราจะ dependent คุณค่าของเราตาม "ภาพลวง" ที่เราสร้างให้คนอื่นรับรู้ และเมือ่ไหร่ก็ตามที่วิเคราะห์ตนเองกี่ครั้งๆก็จะต้องบอกว่า "เรามันเลว เรามันเลว แต่ไม่เป็นไร คนอื่นไม่รู้ เขายังนับหน้าถือตา ยกย่องสรรเสริญในสิ่งที่เราไม่ได้เป็น ไม่ได้ทำอยู่"

ที่ว่าเราจะ "รู้สึก" อย่างไรก็สามารถแค่ "ไม่ไปคิดถึงมัน หยุดคิดถึงมัน" นั้น ทำได้ตลอดไปจริงหรือ? ปฏิเสธหนี้สินนั้นบางทีอาจจะยังง่ายกว่าการปฏิเสธความรู้สึกผิดชอบชั่วดี "ของเราเอง" ท.เลียงพิบูลย์ ประพันธ์สาธกไว้มากมายหลายตัวอย่างในหนังสือชุด "กฏแห่งกรรม" ของท่าน เมื่อเวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วย เมื่อเวลาจิตเราต้องการเครื่องยึดเหนี่ยว ไอ้ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเหล่านี้มันออกมาเพ่นพ่านเต็มไปหมด เมล็ดอะไรที่เราหว่านไว้แต่แรกมันดูจะผลอดอกออกผลงอกเงยทันตา ทันใจในชาตินี้ทั้งสิ้น



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-25 , Time : 11:07:13 , From IP : 203.107.196.39

ความคิดเห็นที่ : 65


   อ่านะ
พฤติกรรมของมนุษย์ที่ว่านี้มัน uniform หรือมัน predictable จริงๆหรือ?

เอาแค่ง่ายสุดเราสองคนสงสัยก็จะมี "พฤติกรรม" ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ต่อแรงกระตุ้นออกมาเหมือนกันหรือต่างกันครับ จากเท่าที่เรา "ไม่เห็นด้วย" ในการมองและได้ข้อสรุป

มนุษย์เรามี highly selective ในการเลือก "มองเห็น" เฉพาะสิ่งที่ตนเองอยากจะเห็น สิ่งที่ตนเองเชื่อ สิ่งที่ตนเองอธิบายได้จากความรู้เดิม จนกว่าเราจะปิดกว้างรับรู้ถึง "ความน่าจะเป็นอื่น" ที่จะอธิบาย เราก็คงจะยากที่ได้ข้อสรุปที่แตกต่างกัน

อ่านะ
ผมว่ามนุษย์มีอะไรที่คล้ายๆกันบ้างนะครับ
เพราะอย่างน้อยก็มีวิชาที่ว่าด้วยเรื่องความต้องการของผู้บริโภค
มีวิชาที่จะสร้าง Brand สร้างความต้องการของคนให้ไปในทางเดียวกัน
มีวิชาที่จะสร้างสื่อ สร้างดารา สร้าง เพื่อตอบสนองกิเลสของคนในกลุ่มอายุที่ต้องการ ไป concert ไปรวมกลุ่ม เพื่อตอบสนองความต้องการด้านจิตใจ

ตัวอย่างมันมี แล้วแต่ท่านจะมองมุมไหนเท่านั้นเอง


ตอบคุณ Lucifer
ชีวิตนี้ท่านมีความบังเอิญกี่ครั้ง บังเอิญที่ท่านเกิดมามีพ่อแม่ที่มีฐานะ
บังเอิญที่ไม่เกิดเป็นลูกขอทาน
บังเอิญที่สอบเข้าแพทย์ได้ บังเอิญที่เพื่อนๆรักท่าน บังเอิญที่ท่านเป็นคนดี
อืม ผมว่า น่าคิดนะ
อย่าเชื่อเพราะเขาเป็นอาจารย์เรา อย่าเชื่อเพราะเขาเป็นนักปราชญ์ชื่อก้องโลก
อย่าเชื่อเพราะว่าผมเป็นคนบอกท่าน จงเชื่อในตัวท่าน

ส่วนเรื่องแนวคิดที่จะทำเพื่อผู้อื่นของท่านนั้น
ผมคงจะพูดให้คนที่ไม่เคยขาดมาก่อนอย่างท่านเข้าใจยากครับ

ผมไม่ได้ไม่เชื่อว่าท่านคิดอย่างนั้นและจะทำเช่นนั้น(เพื่อคนอื่น)
แค่อยากเพียงให้ท่านรู้ว่ายังมีคนที่คิดตรงข้ามกับท่านอยู่(เพื่อตนเอง)
และมีเยอะเสียด้วย


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-10-27 , Time : 20:27:36 , From IP : ppp-210.86.142.220.r

ความคิดเห็นที่ : 66


   ผมคิดว่า "ประเด็น" ได้ blur ไปอีกแล้ว ทำให้การอภิปรายเป็นแบบขนาน และ ตัว conflict ทางความคิดไม่ได้สอดประสานกันด้านเทียบเคียบตรรกะสักที

เรา "ไม่ได้" ปฏิเสธว่าคนมีหลายแบบ และในโลกนี้มีคนที่โลภสุดขีด หรือมีใครยืนยันว่าโลกนี้มีแต่คนเสียสละเพื่อคนอื่นเท่านั้น แต่เรากำลัง เสนอ model ที่แต่ละฝ่ายแต่ละคนคิดว่าดีกว่าอีก model หนึ่ง มากกว่า ใช่ไหมครับ คงต้องเอาประเด็นนี้ให้เคลียร์ก่อน

เพราะถ้าจะบอกว่าโลกนี้มีคนหลายประเภท นั่นเป็น fact ครับ ไม่ต้องถกกันยืดยาว แต่ถ้ามีใครเสนอว่าในหลายๆ models นั้น แบบโลภทีทำเพื่อเงินตัวเดียวเป็น model ที่ดีที่สุด และน่ายึดปฏิบัติ ผมคิดว่าคุณ Lucifer และผมทำคล้ายๆกันคือ "ให้เหตุผล" ว่าทำไมอีกแบบน่าจะดีกว่า คุณไม้บรรทัดฯอาจจะนำเสนอทำนองว่า "ทำไม" แบบที่คุณคิดว่าดีนั้นมันดีอย่างไร โดยข้อมูลที่ว่ามีคนคิดแบบนี้ด้วยนั้น เราทั้งสองฝ่ายทราบครับว่ามีจริง

เห็นด้วยว่ามีศาสตร์ที่สามารถ "ชักจูง" คนให้คล้อยตาม ตรงนี้ก็เป็น fact เหมือนกัน แต่เราควรจะใช้ศาสตร์นี้มาชักชวนให้คนทำงานเพื่อเงิน เพื่อตนเองเท่านั้น หรือทำงานเพื่อคนอื่นบ้างตามหลักของสมเด็จพระราชบิดาฯต่างหากที่เป็นประเด็นอภิปราย ไม่ใช่ว่ามีศาสตร์ในการจูงใจคนหรือไม่



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-27 , Time : 20:43:20 , From IP : 58.147.21.121

ความคิดเห็นที่ : 67


   "ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวจะเห็นว่า feedback หรือ reflection ก็ตาม น่าสนใจจากมุมมองและข้อจำกัดที่ว่านี้เสมอ นั่นคือสิ่งที่เราคิด รู้สึก หรือเขื่อนั้น ไม่จำเป็นที่ "ผู้อื่น" จะรับรู้ได้ถูกต้องแม่นยำ แต่นั่นคือสิ่งที่คนเขารับรู้กัน ในขณะเดียวกันเรื่องที่เรารับรู้ หรือเชื่อว่าคนอื่นเขาเชื่อ เขาทำอย่างนั้นเพราะอย่างนั้น เพราะคิดอย่างนี้ บ่อยครั้งที่เรากำลัง "เลย" ขีดจำกัดของเราไปในการเดา"

เป็นข้อความที่อาจารย์ phoenix ได้ post ไว้ข้างบนค่ะ

reply ล่าสุดของคุณไม้บรทัดเหล็กไหลดูเหมือนจะเป็นการ "เดา" reflection ของหนูนะคะ ...ขอให้คุณไม้บรรทัดเหล็กไหลหยุดการอนุมานสักครู่ก่อน และทบทวนดูสักหน่อยว่า ...เริ่ม...จะเลยขีดจำกัดแล้วหรือยัง
และขออีกข้อว่า...กรุณาอย่าขอให้เล่าว่า...ใช่หรือไม่อย่างไรนะคะ เรื่องบางเรื่องไม่ใช่ secret ก็จริงแต่เป็นมารยาทอย่างหนึ่งที่ควร keep เป็น ส่วนตัว และ ส่วนครอบครัว

เรามีเรื่องราวของชีวิตต่างกันค่ะ แต่ละคนเติบโตมาด้วยผู้คน สิ่งแวดล้อมที่ต่างกันนั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรา...คิด...ไม่เหมือนกัน แต่นั่นเป็นคนละเรื่องกับการ "เลือก" ค่ะ
ลูกของครอบครัวที่พร้อมเหลือเกินบางครอบครัว...อาจจะ...ไม่เคยคิด...ที่จะให้ (หนูจะลองเดาดูว่า...เพราะอะไร) อาจเป็นเพราะถูกเลี้ยงมาให้ขาดความรับผิดชอบในตัวเอง อยากได้อะไรเป็นหน้าที่พ่อแม่ต้องหาให้ เป็นความชอบธรรมที่จะ..ต้องได้..อย่างที่ต้องการ แล้วก็เลยเป็นนิสัย เป็นสันดานว่าต้องได้จากคนอื่นๆ ด้วยเหมือนกัน(โดยไม่รู้ตัว) ไม่ทันสำเหนียกว่าคนอื่นไม่ใช่พ่อแม่ จำเป็นอะไรเค้าต้องให้ แต่อยากได้ ก็ต้องแย่ง เอาเปรียบ ฉกฉวย ด้วยสันดานถือว่าเป็นความชอบธรรม...ที่จะได้ ทีนี้คนที่อยู่ด้วยก็คงจะลำบาก ถ้านิสัยเหมือนกันก็ลำบากออกแรงแย่งกัน(จะเป็นไปได้หรือที่ไม่มีสักวัน...เหนื่อย...เกินกำลังออกแรงแย่งกับคนอื่น) ส่วนที่ไม่เหมือนก็ลำบากเพราะถูกเอาเปรียบ ถูกแย่งอยู่เรื่อย .... ใครจะเป็นสุข .... ก็ไม่แน่ค่ะ บางคนชอบ...ก็คงต้องรอจนถึงวันกลับขั้ว กลายเป็นคนถูกแย่ง ถูกเอาเปรียบดูสักที

ลูกของบางครอบครัวที่พร้อมเหลือเกินบางครอบครัวเช่น กรมหลวงสงขลาฯ ท่านเป็นลูกกษัตริย์ เป็นเจ้าฟ้า อยู่สุข สบายอย่างไรท่านก็คงอยู่ได้ แต่ท่านก็เลือก...ที่จะ "ให้" เพียงแต่ตัวท่านเมื่อไร ครอบครัวท่าน ลูกท่าน หลานท่าน ก็ยังให้และทำเพื่อ "คนอื่น" อย่างเราๆ ได้อยู่เย็นเป็นสุขกันตลอดมา

ปัจจัยสำคัญที่สุดคงอยู่ที่ "ตัวเอง" เลือกจะเชื่อ เลือกจะอยู่ เลือกจะเป็น อื่นๆ คงเป็นปัจจัยเสริมหรือไม่ก็เป็นข้ออ้าง เห็นด้วยหรือยังคะ?

เรื่องสอบเข้าแพทย์ได้นี่เป็นเรื่องบังเอิ๊ญ บังเอิญ เชียวค่ะ ...ไม่ private เล่าได้
บังเอิญตั้งใจอยากจะเป็นหมอ บังเอิญเพื่อนมาบอกว่าที่นี่รับสมัคร ก็เลยส่งใบสมัครเอาวันสุดท้ายพอดี บังเอิญอ่านหนังสือตรงข้อสอบ บังเอิญกรรมการสอบสัมภาษณ์กรุณา บังเอิญเกิดมาในครอบครัวที่ถึงจะไม่ร่ำรวยแต่รู้ว่า "ที่ไหน" จะพอและดี ก็ขอบคุณความตั้งใจของตัวเอง ขอบคุณเพื่อนที่ตั้งใจจะบอก ถึงตัวมันจะสอบไม่ได้ ขอบคุณกรรมการสอบสัมภาษณ์ทั้ง 3 ท่านที่ตั้งใจ และ อดทน ฟังว่าหนูอยากจะเป็นหมอเพราะอะไร ขอบคุณที่สุดก็บังเอิญเกิดมาเป็นลูกพ่อ ลูกแม่ ที่ให้โอกาส "เรา" เติบโตมาด้วยกัน มีความบังเอิญอีกหลายอย่างที่ไม่ได้กล่าวถึงแต่ก็สำนึกและขอบคุณสำหรับทุกๆวัน ที่ทำให้เจริญและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

หนูไม่ค่อยชื่นชมความสามารถในวิชา physics ของ Eistien ค่ะ เท่าที่เคยพยายามเรียน หนูให้ความเห็นว่า ไม่เพียงความสะดวกสบายที่ทำให้คนบางคนขี้เกียจ หรือพยายามทำให้ตัวเองด้อยความสามารถทางความคิดลงจนกระทั่งบางทีก็ไม่สามารถมีปัญญาเนื่องจากไม่ค่อยคิดแล้ว ยังจะนำพาฉิบหาย วินาศ สันตะโร มาสู่มนุษยชาติด้วยสมการเพียงแค่สมการเดียว จนกระทั่งพบว่า เขามีแนวคิดควรแก่การยกย่อง นับถือ และเห็นว่าน่าปฏิบัติตาม Eistien เข้าใจธรรมชาติ อย่างที่ไม่เคยมีมนุษย์หน้าไหนเคยเข้าใจมาก่อน แต่กระนั้นก็ไม่เคยอวดจะเอาชนะธรรมชาติที่เขาเข้าใจ วาทะของเขาแสดงความเคารพต่อสิ่งที่เขารู้จักเสมอ แค่ 2 คุณสมบัตินี้ก็น่าอยากคุกเข่าขอคารวะเป็นศิษย์แล้วค่ะ ครูที่จะให้ทั้งความรู้ สติและปัญญาอย่างนี้น่าเรียนด้วยออกนะคะ ว่าครูท่าน "คิด" ได้อย่างไร

ส่วนเรื่องจะเชื่อใคร อย่างไร นั้น หนูเห็นว่า เรื่องที่คิดหรือเห็นไม่เหมือนนี้ออกจะง่ายกว่าที่จะตัดสินใจเชื่อหรือไม่ เพราะมันเห็นชัดอยู่ว่า จะประเมินค่าอย่างไร ส่วนเรื่องที่คิดหรือเห็นเหมือนกันจะยากกว่าสักหน่อยตรงที่ต้องย้อนกลับมาถามตัวเองด้วยเสมอว่า...แน่หรือว่าที่เชื่อและใช่นั้นไม่ได้เชื่อเพราะบวกราคา "ตัวเอง" เกินจริงไป

ขอบคุณสำหรับคำเตือนค่ะ หนูทราบว่ามีคนที่คิดตรงข้ามกับหนูอยู่มาก บ่อยครั้งที่หนูออกจะเหนื่อยและอ่อนแรงต่อการทำอะไรเพื่อเขาเหล่านั้น นั่นเป็นที่มาที่หนูประหลาดใจ ชื่นชมและยินดีทุกครั้งที่ทราบว่า อาจารย์ของหนูมีกำลังปัญญาและ ความพยายามที่จะสร้างและแบ่งปันความรู้ ความคิด เพื่อให้เราได้อยู่ในสังคมที่เป็นสุขอย่างพอเพียงด้วยสันติ และหนูกำลังเดาล่วงหน้าอีกเช่นกันว่า หาก "ช่างมัน แล้วแต่มึง" ไปเรื่อยๆ เราคงจะอยู่ด้วยกันอย่างลำบากร่วมกันขึ้นเรื่อยๆ หนูไม่อยากลำบากอย่างนั้นสักเท่าไร เลยจะเชิญชวนให้เรารู้จักให้คนอื่นบ้าง ต่างคนให้ เราต่างจะได้รับ ไม่ต้องออกแรงแย่งกัน สบายออกนะคะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-10-28 , Time : 03:21:09 , From IP : 172.29.4.147

ความคิดเห็นที่ : 68


   ผมขอเติมคำวิจารณ์บทกาลามสูตรของคุณไม้บรรทัดฯสักเล็กน้อย นึกว่าเป็นการแลกเปลี่ยนก็แล้วกันนะครับ

บทพระสูตรนี้ถูกยกมาบ่อยมาก อาจจะเป็นเพราะมันแปลกดีที่ศาสดาคนไหนๆมาถึงก็ "ห้ามเชื่อ" ไว้ก่อน แต่โดยส่วนตัวผมรู้สึกว่าบทนี้ถูกยกมาไม่ครบและความหมายเพี้ยนไปจากที่ผมเข้าใจ พระสูตรนี้เริ่มต้นด้วยผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านกาลามมาเฝ้าแล้วถามคำถามว่าจะเลือกปฏิบัติธรรมตามอย่างของใครถึงจะถูกต้อง ถึงจะดี พระสมณโคดมก็วิสัชนาว่า "อย่า...." อย่างโน้นอย่างนี้มากมาย ลงเอยสรุปว่าให้ไตร่ตรองโดย "ปัญญา" ว่าสิ่งที่รับฟัง อ่าน หรือเห็นมานั้นมันเป็นกุศล มันดี มันเป็นธรรมะให้พ้นทุกข์หรือไม่ก่อน พระสูตรนี้ตอนเด็กๆผมเรียกว่า "กฏแห่งการไม่เชื่อ 10 ประการ" ตอนโตมาผมคิดว่าตรงบท "ไม่เชื่อเพราะ..." นั้นเป็นแค่กระพี้ของพระสูตรนี้เท่านั้น ตรงท่านสอนให้ใช้ "ปัญญา" จึงจะเป็นแก่น เพราะความหมายต่อเนื่องคือ เราต้องพัฒนาตนเองให้เกิดปัญญาก่อน ไม่ใช่เอาตัวเราเป็นหลักได้โดยทันทีทันใด ท่านสอนว่าอุปสรรคของปัญญาก็คือการ "ไม่รู้อริยสัจสี่" และไม่รู้ว่าสิ่งที่กระทำในอดีตนั้นมีผลต่อปัจจุบัน มีผลต่ออนาคต สิ่งที่กระทำในปัจจุบันจะส่งผลวิบากต่ออนาคต มันมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน

อวิชชาอย่างหนึ่งที่ผมเคยพบเวลาคน quote พระสูตรนี้เป็นไปได้ขนาดบางคนจำมาเพื่อจะปฏิเสธครูบาอาจารย์เท่านั้น ปฎิเสธธรรมะคำสอนแต่โบราณ ว่าเชยบ้าง ว่าเพราะอยู่ในหนังสือบ้าง ว่าเพราะเล่าต่อกันบ้าง จึงไม่สมควรเชื่อ ไม่สมควรปฏิบัติ เป็นความเท่ห์ที่จะคิดว่าตนเองเป็นนักปฏิวัติ ไม่เหมือนคนอื่น มีความunique (หารู้ไม่ว่า "วัยรุ่น" เกือบทุกคนคิดว่า "ตนเอง" unique เป็น "ความเหมือน" กันที่เป็นสากล) บางคนถึงขนาดบอกว่าการกระทำตามอำเภอใจนั้นเป็นการประพฤติตามกาลามสูตร ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องน่าเศร้า และส่งผลเสียในระยะยาว สิ่งนี้เกิดขึ้นบ่อยเวลาที่เราไม่ใคร่ขวนขวายหา "กัลยาณมิตร" มาพูดคุยตรวจสอบ เกิดขึ้นบ่อยเวลาที่เราเริ่มคุ้นเคยกับการประณามตนเองว่าเลว ว่าโง่ desensitize ตนเองจนกระทั่งสามารถทำเลว แกล้งโง่ก็ได้ ใครจะทำไมได้ ตูด่าตนเองทุกวันอยู่แล้ว

ขณะนี้มีคนที่ "ไม่สามารถ" จะเข้าใจเรื่องที่ละเอียดอ่อน แต่สำคัญนี้มากพออยู่แล้วเพราะ life style ที่ถูกผลักดันชักจูงฉุดลากไปในทางที่ไม่ให้คิด ไม่มีเวลาให้คิด แต่ถ้าส่งผลถึงคนที่ "พอมีเวลาคิด และสามารถคิดได้" ถึงขนาดไม่คิด ไม่ยอมทำ ไม่ยอมวิเคราะห์ให้เหตุผลว่าที่ตนเองทำอยู่ขณะนี้นั้น มันช่วยครอบครัว เพื่อนบ้าน และสังคมบ้างหรือไม่ ไม่ยอมทำอะไรเพื่อทำให้คนอื่นเลยยกเว้นตนเองได้เงิน มันก็น่าเสียดายเวลาที่พอมี สติปัญญาที่เป็นรากฐานให้จบอุดมศึกษา

บัณฑิตนั้น หมายความว่า "ผู้ที่ถึงพร้อมซึ่งความรู้ความชำนาญในวิชา ผู้ที่ถึงพร้อมซึ่งความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม และผู้ที่มีความสามารถในการแสดงออกที่งามทั้งกาย วาจา ใจ" ไม่ได้จำเป็นต้องสำเร็จการศึกษาจากสถาบันสูงๆเสมอไป บางทีได้ปริญญาก็ไม่ได้เป็นบัณฑิต บางทีเป็นชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ทำงานทำความสะอาด กวาดถนน ก็เป็นบัณฑิตได้



Posted by : Phoenix , Date : 2005-10-28 , Time : 10:01:05 , From IP : 172.29.3.163

ความคิดเห็นที่ : 69


   อ่านะ
อันดับแรก ขอกล่าวคำขอโทษที่อาจจะพูดทำให้คุณ Lucifer ขุ่นใจไปเล็กน้อย

แต่ถึงอย่างไรก็ตามผมก็ยังมีความเชื่ออยู่เสมอว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุและปัจจัย
ไม่มีสิ่งบังเอิญอย่างแน่แท้(ถ้าลองขบคิดดู)
ผมยังคงคิดเสมอว่า นกเพนกวินกระโดดลงน้ำที่ขั้วโลกใต้อาจจะมีความสัมพันธ์กับคลื่นสึนามิที่ขั้วโลกเหนือก็ได้(ต้องคิดลึกๆหน่อยนะครับเพราะอาจไม่เข้าใจ)
คล้ายๆกับมีคนบ้าคนหนึ่งหยิบหนังสติ๊กยิงเครื่องบิน ทันใดนั้นเครื่องบินก็ตก
เขาคิดว่าเขาเก่งจริงๆที่ยิงเครื่องบินตก(ท่านคิดว่าเขาบ้าและโง่)
แต่ท่านทราบได้อย่างไรว่าถ้าเขาไม่ได้ง้างหนังสติ๊กยิงเครื่องบิน
เครื่องบินก็จะตกเหมือนกัน
มันเป็นสถานการณ์ ณ เวลานั้นกลับไปแก้และพิสูจน์ไม่ได้
รู้แต่เพียงว่า ขณะเครื่องบินตก มีคนบ้าง้างหนังสติ๊ก มีผีเสื้อกำลังกระพือปีก มีหลายคนกำลังจะตาย มีทารกมากมายกำลังจะเกิด ผมไม่มั่นใจเลยครับที่จะบอกไปว่ามันเป็นเหตุบังเอิญ


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-11-01 , Time : 00:49:39 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 70


   อ่านะ
เรา "ไม่ได้" ปฏิเสธว่าคนมีหลายแบบ และในโลกนี้มีคนที่โลภสุดขีด หรือมีใครยืนยันว่าโลกนี้มีแต่คนเสียสละเพื่อคนอื่นเท่านั้น แต่เรากำลัง เสนอ model ที่แต่ละฝ่ายแต่ละคนคิดว่าดีกว่าอีก model หนึ่ง มากกว่า ใช่ไหมครับ คงต้องเอาประเด็นนี้ให้เคลียร์ก่อน

ผมยอมรับเสมอครับว่า model ของท่านทั้งสองดูดีมาก
เป็นสิ่งที่น่าเอาเยี่ยงอย่างนำไปปฏิบัติ
แต่สถานะการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันอาจจะไม่อำนวย
ต่อการก่อกำเนิดบุคคลเช่นท่านขึ้นมาเพิ่มอีกในโลก
ทำให้มีบุคคลที่นึกถึงผู้อื่นก่อนตนเช่นท่านน้อยลงทุกที

สังคมแห่งการแข่งขันในปัจจุบันนี้มันยากจริงๆครับ
ที่จะทำให้ผมทำใจนึกถึงผู้อื่นก่อน
ถึงอย่างไรก็ตามครับ แม้ผมจะทำไม่ได้(เพื่อผู้อื่น)
แต่ก็ดีใจที่ยังมีคนคิด(เพื่อผู้อื่น) แม้จะมีเพียง 2 คน(เท่าที่เห็น)

ปล.ผมพอจะทราบนะครับว่าคุณ Phoenix เป็นใครและขอแสดงความเคารพมา ณ.ที่นี้ดวย

ปล.ส่วนมุมมองของคุณ Lucifer นั้นก็ดูดีนะครับ แต่ผมว่ายังอาจจะขาดประสบการณ์แห่งความจริงไปเล็กน้อย(ท่านอาจเห็นด้านมืดน้อยไปหน่อย)
ผมฟังสำนวนดูแล้วคุ้นๆมากเหมือนความคิดคล้ายๆคนรู้จักที่เคยคุยกัน(ไม่แน่ถ้าผมเดาอาจจะใช่ก็ได้)


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-11-01 , Time : 01:05:22 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 71


   ผมคิดว่าประเด็นได้เลยมาจากการที่ "แพทย์" ต้องเห็นแก่ primacy of welfare of patients ถูก generalize ออกมาเป็น "ทุกคน" ในสังคมต้องเห็นแก่คนอื่นก่อน ทำให้ข้ออภิปรายมันบานปลาย

แน่ล่ะครับ ถ้ามองสังคมของพ่อค้า นักธุรกิจ business models ที่มีในตลาด อย่าง balanced score card ของ Kaplan & Norton เองก็มี Finance เป็น Top priority แต่ถ้าเคยมีใครสังเกต ว่า version หนึ่งของ Balanced score card for non-profit organization มันก็มีครับที่ customer อยู่บน top priority และหนึ่งใน non-profit organization ที่เป็นที่รู้กันก็คือ health system

แม้แต่นักธุรกิจเอง หรือนักทฤษฎีบริหารธุรกิจเองก็ดี ก็ยังทราบว่า "สังคม" ไหนๆ หากเอา finance มาเป็น top priority สำหรับเรื่อง health care แล้ว มันจะทำให้สังคมนั้นๆอ่อนแอลงที่ "ระดับราก" จะมี investor ได้สักกี่คนในประเทศหนึ่งๆ จะมี rich men ได้สักกี่คนในประเทศหนึ่งๆ ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศ จะไปได้สักนานเท่าไหร่ หากคนไม่เจือจานดูแล "สุขภาพ" ซึ่งกันและกัน เราจะมีความสุขไปได้สักกี่มากน้อย หากแวดล้อมเราด้วย "ฐาน" ของคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกพวกที่ฉลาดหว่า โลภกว่า มือยาวกว่า คว้าไปกิน ปรนเปรอ เพื่อเสวยสุขส่วนตัว

เมื่อถึงคราวที่มีคนไข้มาหาแพทย์ แล้วถูกขอดู credit card หรือขอเงินมัดจำ นั่นแหละครับแรงผลักให้เราดำเนินห่างออกจากสังคมที่ stable ไปเรื่อยๆ เมื่อถึงคราวที่แพทย์สามารถประกาศออกมา ณ ที่สาธารณะว่า ทุกอย่างที่ทำก็เพราะเงิน ไม่ได้เพราะจรรยาบรรณวิชาชี ไมได้เพราะว่าอยากให้คนอื่นมีสุขภาพที่ดี ไม่ใช่เพราะว่ามีความปราถนาให้คนอื่นพ้นทุกข์ มันจะเหลืออะไรน้อยลงไปเรื่อยๆที่เราจะสั่งสอนลูกหลานใช่ไหมครับ สอนให้บวกเลข คิดดอกเบี้ย เอากำไรก็น่าจะพอเพียงรึเปล่า หรือว่า เบญจศีล เบญจธรรม มันไม่มีความหมาย ไม่มีค่าควรแก่การปฏิบัติ "เมือ่เราโตพอ" แล้วอีกต่อไป?

ผมเชื่อเหมือนกันครับว่า ทุกสิ่งย่อมเกิดจากเหตุ เมื่อมี "กำไร" ก็คนกำลัง "ขาดทุน" อยู่อย่างแน่นอน เราอาจจะไม่ค่อยรู้สึกความทุกข์ของคนอื่น แต่เราอาจจะอธิบายลูกเราได้ยากนิดนึง เวลามีคนไข้เดินร้องไห้ออกจากคลินิกของพ่อ เพระพ่อบอกว่าคนไข้คนนั้นเขามีเงินไม่พอที่พ่ออยากจะได้ ถึงตอนนั้นเราอาจจะจำเป็นต้องนิยาม "ความสุข" ให้ลูกหลานของเราใหม่ ถึงตอนนั้นเราอาจจะต้องขอ "ปรับ" จรรยาบรรณของสมเด็จพระราชบิดาว่ามันเป็นของที่เก่าแล้ว หรือมีไว้เฉพาะแค่บางคนเท่านั้น "จริงๆแล้ว" มันทำไม่ได้หรอก

ผมเคยเสวนากับเพื่อนแพทย์ท่านหนึ่งว่า ตอนผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์ candidate เป็นนักศึกษาแพทย์ ผมเคยรู้สึกแปลกใจที่เดี๋ยวนี้เริ่มมีคนบอกว่าแรงบันดาลใจที่จะมาเรียนแพทย์คือเงินดี ไม่ได้ว่ารุ่นผม หรือตัวผมไม่เคยคิดนะครับ แต่สมันก่อนเราไม่เคยคิดจะตอบแบบดี ประกาศแบบนี้ดังๆตอนสอบสัมภาษณ์แค่นั้น แต่ที่ผมกำลังไม่เคยคิดจะได้ยินอีกอย่างก็คือ การที่มีคนประกาศว่าคำสอนของสมเด็จพระราชบิดานั้นใช้การไม่ได้ จะไม่เชื่อ ออกมา ก็นับว่าเป็นสังคมเปลี่ยนไปเร็วกว่าที่คาด

แต่ถ้าใช้กฏแห่งกรรมและการกระทำมาใช้ต่อ ถ้าเราทำอะไรเพราะและเพื่อสิ่งที่เราคิดว่าถูก ว่าควร มันก็อาจจะช่วยชะลอ "การเปลี่ยนที่ไม่พึงประสงค์" อย่างน้อยนั่นก็เป็น "การกระทำ" ที่เรามีบทบาทมีส่วนร่วม ผมเคยพูดเสมอว่า ครูและหมอนั้นมี ความเหมือน ที่สำคัญมากอยู่ประการหนึ่ง คือ การมองโลกในแง่ดี optimism หมอจะต้องมองคนไข้ข้างหน้าว่า คนๆนี้เราสามารถทำอะไรสักอย่าง ให้เขามีความสุขมากขึ้น ให้เขามีความทุกข์ลดลง และการกระทำนั้น "เรา" มีบทบาทหน้าที่ที่จะทำ ไม่ว่าคนไข้ข้างหน้าจะมีพื้นฐาน ความเป็นมาอย่างไร ส่วนครูนั้นจะต้องมองเด็กนักเรียนเบื้องหน้าว่า เขามีหน้าที่และบทบาทที่จะชี้นำสิ่งที่เราคิดว่าถูกต้อง เพราะเราศึกษา และสั่งสมประสบการณ์มามากกว่า ไตร่ตรองคิดดูมามากกว่า และปราถนาจะให้เขาเป็นคนดี มีความรู้ที่ดี ต่อๆไป ไม่ว่าเขาจะมีพื้นฐานสติปัญญาแบบไหน

สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อและมี conviction ว่าถูกต้องก็คือ ผมสามารถพูดและเขียนแบบนี้ ณ ที่ไหนก็ได้ identity ผมไม่ได้เป็นความลับอะไร จะนับป็น integrity หรือ accoutability ก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่เวลาผมแสดงความเห็นว่าเชื่อแบบไหนนั้น ผมไม่ต้องอาศัย anonymity ถึงสามารถกล่าวในสิ่งที่ผมเชื่อ บางอย่างผมเองก็อาจจะทำไม่ได้ 100% แต่ผมเชื่อว่าถ้ามี "คนเชื่อ" และทำตาม ยิ่งทำได้ครบ ได้ดีมากกว่าผม นั้นน่าจะเป็นเรื่องที่ดี ที่เรามีความเห็นที่ต่างกันนั้น ผมต้องการให้เกิดการเปรียบเทียบสอง models ที่ ณ สถานที่แห่งนี้มีผู้ทรงภูมิปัญญาอยู่มากมาย สามารถใช้วิจารณญานของแต่ละคน ไตร่ตรองและเลือกปฏิบัติได้ ตามหลักของ advocacy นั้น เราไม่จำเป็นต้องสำเร็จอรหันต์ เราก็สามาถจขะ "รณรงค์" ในสิ่งที่เราเชื่อว่าดีได้ ผมเชื่อว่าวิธีหนึ่งนั้นเป็นเสมือนยาพิษ เป็นเสมือนมะเร็ง ถึงแม้มันจะ


Posted by : Phoenix , Date : 2005-11-01 , Time : 01:55:41 , From IP : 58.147.54.16

ความคิดเห็นที่ : 72


   ผมคิดว่าประเด็นได้เลยมาจากการที่ "แพทย์" ต้องเห็นแก่ primacy of welfare of patients ถูก generalize ออกมาเป็น "ทุกคน" ในสังคมต้องเห็นแก่คนอื่นก่อน ทำให้ข้ออภิปรายมันบานปลาย

แน่ล่ะครับ ถ้ามองสังคมของพ่อค้า นักธุรกิจ business models ที่มีในตลาด อย่าง balanced score card ของ Kaplan & Norton เองก็มี Finance เป็น Top priority แต่ถ้าเคยมีใครสังเกต ว่า version หนึ่งของ Balanced score card for non-profit organization มันก็มีครับที่ customer อยู่บน top priority และหนึ่งใน non-profit organization ที่เป็นที่รู้กันก็คือ health system

แม้แต่นักธุรกิจเอง หรือนักทฤษฎีบริหารธุรกิจเองก็ดี ก็ยังทราบว่า "สังคม" ไหนๆ หากเอา finance มาเป็น top priority สำหรับเรื่อง health care แล้ว มันจะทำให้สังคมนั้นๆอ่อนแอลงที่ "ระดับราก" จะมี investor ได้สักกี่คนในประเทศหนึ่งๆ จะมี rich men ได้สักกี่คนในประเทศหนึ่งๆ ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศ จะไปได้สักนานเท่าไหร่ หากคนไม่เจือจานดูแล "สุขภาพ" ซึ่งกันและกัน เราจะมีความสุขไปได้สักกี่มากน้อย หากแวดล้อมเราด้วย "ฐาน" ของคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกพวกที่ฉลาดหว่า โลภกว่า มือยาวกว่า คว้าไปกิน ปรนเปรอ เพื่อเสวยสุขส่วนตัว

เมื่อถึงคราวที่มีคนไข้มาหาแพทย์ แล้วถูกขอดู credit card หรือขอเงินมัดจำ นั่นแหละครับแรงผลักให้เราดำเนินห่างออกจากสังคมที่ stable ไปเรื่อยๆ เมื่อถึงคราวที่แพทย์สามารถประกาศออกมา ณ ที่สาธารณะว่า ทุกอย่างที่ทำก็เพราะเงิน ไม่ได้เพราะจรรยาบรรณวิชาชี ไมได้เพราะว่าอยากให้คนอื่นมีสุขภาพที่ดี ไม่ใช่เพราะว่ามีความปราถนาให้คนอื่นพ้นทุกข์ มันจะเหลืออะไรน้อยลงไปเรื่อยๆที่เราจะสั่งสอนลูกหลานใช่ไหมครับ สอนให้บวกเลข คิดดอกเบี้ย เอากำไรก็น่าจะพอเพียงรึเปล่า หรือว่า เบญจศีล เบญจธรรม มันไม่มีความหมาย ไม่มีค่าควรแก่การปฏิบัติ "เมือ่เราโตพอ" แล้วอีกต่อไป?

ผมเชื่อเหมือนกันครับว่า ทุกสิ่งย่อมเกิดจากเหตุ เมื่อมี "กำไร" ก็คนกำลัง "ขาดทุน" อยู่อย่างแน่นอน เราอาจจะไม่ค่อยรู้สึกความทุกข์ของคนอื่น แต่เราอาจจะอธิบายลูกเราได้ยากนิดนึง เวลามีคนไข้เดินร้องไห้ออกจากคลินิกของพ่อ เพระพ่อบอกว่าคนไข้คนนั้นเขามีเงินไม่พอที่พ่ออยากจะได้ ถึงตอนนั้นเราอาจจะจำเป็นต้องนิยาม "ความสุข" ให้ลูกหลานของเราใหม่ ถึงตอนนั้นเราอาจจะต้องขอ "ปรับ" จรรยาบรรณของสมเด็จพระราชบิดาว่ามันเป็นของที่เก่าแล้ว หรือมีไว้เฉพาะแค่บางคนเท่านั้น "จริงๆแล้ว" มันทำไม่ได้หรอก

ผมเคยเสวนากับเพื่อนแพทย์ท่านหนึ่งว่า ตอนผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์ candidate เป็นนักศึกษาแพทย์ ผมเคยรู้สึกแปลกใจที่เดี๋ยวนี้เริ่มมีคนบอกว่าแรงบันดาลใจที่จะมาเรียนแพทย์คือเงินดี ไม่ได้ว่ารุ่นผม หรือตัวผมไม่เคยคิดนะครับ แต่สมันก่อนเราไม่เคยคิดจะตอบแบบดี ประกาศแบบนี้ดังๆตอนสอบสัมภาษณ์แค่นั้น แต่ที่ผมกำลังไม่เคยคิดจะได้ยินอีกอย่างก็คือ การที่มีคนประกาศว่าคำสอนของสมเด็จพระราชบิดานั้นใช้การไม่ได้ จะไม่เชื่อ ออกมา ก็นับว่าเป็นสังคมเปลี่ยนไปเร็วกว่าที่คาด

แต่ถ้าใช้กฏแห่งกรรมและการกระทำมาใช้ต่อ ถ้าเราทำอะไรเพราะและเพื่อสิ่งที่เราคิดว่าถูก ว่าควร มันก็อาจจะช่วยชะลอ "การเปลี่ยนที่ไม่พึงประสงค์" อย่างน้อยนั่นก็เป็น "การกระทำ" ที่เรามีบทบาทมีส่วนร่วม ผมเคยพูดเสมอว่า ครูและหมอนั้นมี ความเหมือน ที่สำคัญมากอยู่ประการหนึ่ง คือ การมองโลกในแง่ดี optimism หมอจะต้องมองคนไข้ข้างหน้าว่า คนๆนี้เราสามารถทำอะไรสักอย่าง ให้เขามีความสุขมากขึ้น ให้เขามีความทุกข์ลดลง และการกระทำนั้น "เรา" มีบทบาทหน้าที่ที่จะทำ ไม่ว่าคนไข้ข้างหน้าจะมีพื้นฐาน ความเป็นมาอย่างไร ส่วนครูนั้นจะต้องมองเด็กนักเรียนเบื้องหน้าว่า เขามีหน้าที่และบทบาทที่จะชี้นำสิ่งที่เราคิดว่าถูกต้อง เพราะเราศึกษา และสั่งสมประสบการณ์มามากกว่า ไตร่ตรองคิดดูมามากกว่า และปราถนาจะให้เขาเป็นคนดี มีความรู้ที่ดี ต่อๆไป ไม่ว่าเขาจะมีพื้นฐานสติปัญญาแบบไหน

สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อและมี conviction ว่าถูกต้องก็คือ ผมสามารถพูดและเขียนแบบนี้ ณ ที่ไหนก็ได้ identity ผมไม่ได้เป็นความลับอะไร จะนับป็น integrity หรือ accoutability ก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่เวลาผมแสดงความเห็นว่าเชื่อแบบไหนนั้น ผมไม่ต้องอาศัย anonymity ถึงสามารถกล่าวในสิ่งที่ผมเชื่อ บางอย่างผมเองก็อาจจะทำไม่ได้ 100% แต่ผมเชื่อว่าถ้ามี "คนเชื่อ" และทำตาม ยิ่งทำได้ครบ ได้ดีมากกว่าผม นั้นน่าจะเป็นเรื่องที่ดี ที่เรามีความเห็นที่ต่างกันนั้น ผมต้องการให้เกิดการเปรียบเทียบสอง models ที่ ณ สถานที่แห่งนี้มีผู้ทรงภูมิปัญญาอยู่มากมาย สามารถใช้วิจารณญานของแต่ละคน ไตร่ตรองและเลือกปฏิบัติได้ ตามหลักของ advocacy นั้น เราไม่จำเป็นต้องสำเร็จอรหันต์ เราก็สามาถจขะ "รณรงค์" ในสิ่งที่เราเชื่อว่าดีได้ ผมเชื่อว่าวิธีหนึ่งนั้นเป็นเสมือนยาพิษ เป็นเสมือนมะเร็ง ถึงแม้มันจะ advanced แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราควรจะบอกว่ามะเร็งในดี ใครๆก็เป็นกัน เรามาสูบบุหรี่ มากินเหล้ากัน น่าจะมันกว่า ดีกว่าต่อเรา ต่อครอบครัว ต่อสังคม ใช่หรือไม่?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-11-01 , Time : 01:57:08 , From IP : 58.147.54.16

ความคิดเห็นที่ : 73


   คุณไม้บรรทัดเหล็กไหลจะสบายใจขึ้นบ้างมั้ยคะ...ถ้าหนูจะบอกว่า.....

หนูแน่ใจว่าเห็นด้านมืดมามากพอที่จะ....เบื่อ....และนึกอยากจะหาความสำราญจากความสว่างบ้าง

อาทิตย์นี้ยุ่งขิงเชียวค่ะ (มือมันจะหงิกๆงอๆเหมือนขิงน่ะค่ะ) แต่จะหาเวลามาต่อประเด็นอื่นๆ ให้


Posted by : Lucifer , Date : 2005-11-01 , Time : 05:47:51 , From IP : 172.29.4.164

ความคิดเห็นที่ : 74


   อ่านะ
ผมคิดไม่ค่อยออกแล้วหละว่าจะบอกท่านอย่างไรดี
ถึงจุดประสงค์ของคำพูดของผม
ผมไม่เคยที่จะคิดปฏิเสธเลยว่าการที่จะเป็นแพทย์ที่ดีนั้น
จะต้องมีแนวคิดและการกระทำดังที่ท่าน Phoenix ได้กล่าวอยู่เสมอมา
แค่เพียงอยากบอกว่าแพทย์ที่ทำได้สมบูรณ์พร้อมนั้น(ทั้งกายใจ)
คงจะมีน้อยเพราะอย่างไรก็ตาม
ค่านิยมของสังคมได้อัดเอาความเชื่อเรื่อง ทุนนิยม ใส่หัวตั้งแต่เกิด
เกือบทุกคนคิดเสมอว่า ต้องมีบ้านสวย รถหรู เสื้อผ้าBrand ร้านอาหารไฮโซ
เงิน ซื้อ ทุกอย่างไม่ได้.....แต่.....ซื้อได้เกือบทุกอย่าง
สิ่งเหล่านี้ผมคิดว่ามันเข้ามาเจือปนในชิวิตของทุกคนรวมถึงแพทย์
ทำให้มีความคิดและพฤติกรรมที่แสดงออกมาในรูปของ
การหาประโยชน์(อย่างถูกกฏหมาย)จากวิชาชีพ
ไม่ว่าจะเปิดคลินิค รับงานนอกงานใน ทำงานหามรุ่งหามค่ำ

เพื่อผู้ป่วย........จริงหรือท่าน


Posted by : ไม้บรรทัดเหล็กไหล , Date : 2005-11-04 , Time : 22:36:50 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 75


   ประเด็นที่ว่ามีแพทย์ "มากหรือน้อย" ที่ทำแบบไหนกันบ้างนั้น เราสามารถ "ตอบคำถามนี้" และนำมายึดเป็น "มาตรฐาน" ได้หรือไม่ ผมว่า controversy at best

อย่างที่เราอภิปรายกัน ทุกๆมุมมองเราไม่มีทางเลือกนอกจากมองจาก มุม" ของเราเป็นปฐมภูมิ นั่นจะเป็นสิ่งที่เราเห็นก่อน คิดก่อน นำมาไตร่ตรองก่อน หลังจากนั้นก็มองไปรอบๆข้าง เริ่ม "คิดแทน" คนรอบข้างว่า เอ.. เขาคิดอย่างไร เขาทำไปเพื่ออะไร หลังจากนั้นเราก็เริ่ม "คบคน" และ "เลือกคบคน" criteria มีหลากหลาย แต่อย่างน้อยก็ไม่ควรจะขัดแย้งหรือตรงกันข้ามกับ "คุณค่า" หรือ ปรัชญาเรามากเกิน นานๆไปเราก็จะเริ่มส่งสมสะสม "สังคม" คนรอบข้างของแต่ละคนขึ้นมา

ถามว่ากลุ่มคนรอบข้าง สังคมของ "เรา" นี้ represent สังคมส่วนใหญ่จริงหรือไม่? (คำพูดยอดฮิตตามหนังสือพิมพ์ วงสนทนา ผมคิดว่าน่าจะเป็น "คนส่วนใหญ่คิดว่า.... สังคมคิดว่า....) ตอนพูดเราก็ค่อนข้างมั่นใจ ก็เพราะคนส่วนใหญ่ที่ "เราคบหา เราเห็น" นั้นมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่ในการวิจัยเราอาจจะพบว่า sample ชุดนี้มันมี selection bias ตั้งแต่แรกเริ่ม เพระเรา "ไม่ได้ randomize" คนรอบข้างที่เราคบด้วย ที่เราสมาคมด้วย ที่เราชอบพูดคุยด้วยเลย เรา select ไม่มากก็น้อยอยู่ตลอดเวลา

"ค่านิยม" ของสังคมก็เป็น "ตัวแปรหลอก" ที่ปัจเจกบุคคลจินตนาการออกมาเพื่อบอกว่าทีค่เราทำนั้นมันไม่แปลก มันยอมรับได้ ดูง่ายๆ ไอ้มวัฒนธรรมสวมหมวกกันน็อคมาตะเบ๊ะยามหน้าประตูโรงพยาบาลเพ่อจะได้ขี่รถเครื่องเข้ามาได้นั้น ทำมาจนเราจะเรียกว่า "ปกติ" ก็ว่าได้ ไม่เห็นมีใครตื่นเต้นตกใจ คิดว่า "ทั้งประเทศ" เขาทำกันแบบนี้ไหมล่ะครับ? คิดว่าทั้งโลกเขาทำกันแบบนี้ไหมล่ะครับ? กบสระนี้ก็ยังคิดวนเวียนอยู่ว่าสระนี้คือจักรวาล กฏที่เรา observe เป็นกฏสากลอยู่ร่ำไป

สิ่งที่เรา "ควร" ทำ อาจจะไม่ใช่มานั่งวิเคราะห์ว่า "ขณะนี้" มครทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่หรอกครับ methodology มันมีขีดจำกัดและข้อจำกัดในตัวเองอยู่แล้ว มันอยู่ที่สมาชิกของสังคม จะรณรงค์ จะผลักดันไปในทิศทางไหนกันดี? อะไรคือสังคมที่เราแต่ละคนอยากจะอยู่ อยากจะให้ลูกหลานเราอยู่ต่างหาก ไอ้การที่เราพูดเอง เออเองว่าขณะนี้เป็นยังงี้ๆ ไม่มีทางเปลี่ยนแปลง ทำไปก้ไร้ประโยชน์นั้น เรา "ไม่ได้ทราบจริงๆ" เลยว่ามันเป็นอย่างงี้ๆ มันไม่มีทางเปลี่ยนแปลงจริงหรือไม่ มันเป็นเพียงข้ออ้างทำให้สิ่งที่เราเชื่อ เรา"ต้องการ" จะทำไม่ให้มันน่าเกลียดเกินไปเท่านั้น แต่รู้ทั้งรู้ในใจลึกๆมันก็ปฏิเสธไม่ได้อยู่ดี



Posted by : Phoenix , Date : 2005-11-05 , Time : 10:29:12 , From IP : 58.147.76.219

ความคิดเห็นที่ : 76


   หนูสนับสนุนเรื่อง "ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุและปัจจัย" มาตลอดค่ะ ไม่เคยมีบรรทัดไหนเลยที่แสดงว่าหนูปฏิเสธข้อความนี้ ส่วนเรื่องความบังเอิญกับเจ้าหมานั่น หนูรับมาด้วยพิจารณาแล้วว่า ส่วนแก่นที่เป็นข้อคิดคำสอนเป็นมงคลแก่ชีวิต ไม่ทันได้เอาใจใส่ว่าเจ้านั่นจะเก่ง โง่หรือบ้า แต่ถ้าจะให้เอาใจใส่จริงๆ นึกกลับไปหนูว่า มันตลกค่ะ หนูจำได้ว่า หัวเราะ คิดให้ดีหนูก็ไม่ควรนะคะ กลายเป็นว่า เยาะเย้ยมันไป ทั้งๆที่ก็ไม่ทราบว่า "ถ้าเขาไม่ได้ง้างหนังสติ๊กยิงเครื่องบิน
เครื่องบินก็จะตกเหมือนกัน มันเป็นสถานการณ์ ณ เวลานั้นกลับไปแก้และพิสูจน์ไม่ได้ รู้แต่เพียงว่า ขณะเครื่องบินตก มีคนบ้าง้างหนังสติ๊ก มีผีเสื้อกำลังกระพือปีก มีหลายคนกำลังจะตาย มีทารกมากมายกำลังจะเกิด" หนูก็ไม่มั่นใจเหมือนกันว่ามันเป็นเหตุบังเอิญหรือไม่ใช่ ด่วนเดาไปจะกลายเป็นว่า คนที่บ้าและโง่คือหนูเอง

แค่นี้ก่อนแล้วกันนะคะ ช่วงนี้จำกัดจำเขี่ยเรื่องเวลาเหลือเกิน ถ้าให้คุณไม้บรรทัดเหล็กไหลมากไป ไม่คิดถึงตัวเอง คงได้ตัดคอใส่พานให้ใครรับประทานกันบ้าง
อาจารย์ Phoenix เชิญคุณไม้บรรทัดเหล็กไหลที่กระทู้ "เรื่องดีๆ ที่อยากให้อ่านกัน" ...ได้อ่านหรือยังคะ...


Posted by : Lucifer , Date : 2005-11-07 , Time : 17:16:37 , From IP : 172.29.4.202

ความคิดเห็นที่ : 77


   ชีวิตเป็นสิ่งเดียวที่เราต้องเดินไปข้างหน้าเพื่อเรียนรู้กฏ ของผมใช้ชีวิตด้วยหลัก2อย่างคือ 1.มีกฏ(ที่รู้แล้ว) 2.ไม่มีกฏ(เรียนรู้แสวงหา กฏเกณฑ์ใหม่ๆ)

Posted by : films , Date : 2006-11-21 , Time : 01:31:09 , From IP : 58.147.78.167

ความคิดเห็นที่ : 78


   วิธีในชีวิตทุกอย่าง วิธีในงานทุกอย่าง ทั้งวิธีในงานหลักและวิธี ในงานอดิเรก วิธีในความสำพันธ์กับครอยครัวเพื่อนแฟน วิธีในการงาน วิธีในเสรีภาพ วิธีในงานที่ยึดเป็นอาชีพ วิธีในการบริหารจัดการ วิธีในธุรกิจ วิธีในการเป็นส่วนกับสังคม วิธีในประสิทธิภาพผมรับมาแล้วก็นำมันมาเป็นของผม ทั้งหมดและตอนนี้ผมก็เป็นเจ้าของวิธีพวกนั้นโดยสมบูรณ์

Posted by : 123 , Date : 2006-12-11 , Time : 19:18:41 , From IP : 124.157.208.47

ความคิดเห็นที่ : 79


   jfjlvlahbhtsihjlsdhlktskjbndskjbdsjlkbnysmn
sdfHjdfzl:bjxcz;kbvmxckb87r8-p946okยกิปส ให


Posted by : เด็ก , E-mail : (gggggggggg@hotmail.com) ,
Date : 2006-12-13 , Time : 11:51:38 , From IP : 203.155.2.133


ความคิดเห็นที่ : 80


   jfjlvlahbhtsihjlsdhlktskjbndskjbdsjlkbnysmn
sdfHjdfzl:bjxcz;kbvmxckb87r8-p946okยกิปส ให


Posted by : เด็ก , E-mail : (gggggggggg@hotmail.com) ,
Date : 2006-12-13 , Time : 11:51:51 , From IP : 203.155.2.133


ความคิดเห็นที่ : 81


   ควย

Posted by : robin , E-mail : (@.eddie.com) ,
Date : 2006-12-20 , Time : 14:20:14 , From IP : 203.155.2.133


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.033 seconds. <<<<<