ความคิดเห็นทั้งหมด : 11

ส่ง Intern กลับคืนโรงเรียนแพทย์


   คิดอย่างไร หากจะขอส่ง Intern กลับคืนโรงเรียนแพทย์ กรณีผู้ที่ไม่รับผิดชอบ ตักเตือนก็แล้ว รวมทั้งมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต โรงเรียนแพทย์ไม่ควรจะส่งไปโรงพยาบาลข้างนอก

Posted by : หมอคนหนึ่ง , Date : 2005-08-30 , Time : 14:24:05 , From IP : 172.29.2.209

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมไม่แน่ใจว่าโดยระเบียบแล้ว intern แต่ละคนอยู่ภายใต้ระเบียบสังกัดหน่วยราชการไหน เคยคิดว่าเป็นสาธารณสุข ถ้าเป็น รพ.จังหวัด ก็จะตามสายงานคือ แพทย์พี่เลี้ยง ผู้อำนวยการ รพ. และ สสจ. (เพราะเข้าใจว่า เมื่อมี elective รพ. หรือ สสจ.เป็นคน allocate ให้ด้วย) และที่แน่ๆก็คือจะต้องมีการประเมิน intern โดยแพทย์พี่เลี่ยงของ รพ.ที่ไป rotate ซึ่งก็จะมีประเมินผ่านหรือไม่ผ่าน ตามเกณฑ์ระเบียบข้าราชการทั่วๆไปไหมครับ?

ส่วนถ้ามีอาการผิดปกติทางจิตขณะอยู่ใน รร.แพทย์ และได้แสดงอาการตั้งแต่ข้างในนี้ ก็มีการประเมินและไม่ให้ผ่านในบางรายอยู่แล้ว ส่วนอาการเป็นมากขึ้นหรือกำเริบรุนแรงขณะที่ไปเป็น intern คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง



Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-30 , Time : 15:50:35 , From IP : 172.29.3.216

ความคิดเห็นที่ : 2


   เข้าใจว่า intern อยู่ภายในสังกัดที่ทำงานเช่นโรงเรียนแพทย์ก็มีคณะแพทยศาสตร์ดูแล หรือรพ.ก็มีผู้อำนวยการ สสจ และกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะมีอาจารย์ผู้ดูแลคอยสอนและประเมิน หากประเมินไม่ผ่านก็จะต้องมีการส่งผลเข้าแพทยสภาและมีการทำงานเพิ่มเติม ส่วนปัญหาอาการผิดปกติทางจิตต้นสังกัดน่าจะดูแลและถ้ามีอาการมากก็ให้การรักษา

Posted by : มณีแดง , Date : 2005-08-30 , Time : 23:37:15 , From IP : 172.29.7.22

ความคิดเห็นที่ : 3


   ผมเข้าใจคล้ายๆกัน (รึเปล่า?) ว่ารพ. ณ ที่ปฏิบัติการน่าจะทำหน้าที่ดูแลไป ณ ขณะนั้นๆ เช่น ที่ มอ.เองก็มี intern มาใช้ทุนจากทั่วประเทศ จุฬา รามา เชียงใหม่ ฯลฯ ถ้าเกิดมีปัญหาในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรับผิดชอบ ความรู้ หรือว่าเกิดมีสถาพจิตไม่ปกติ เราคงจะไม่ส่งแพทย์ใช้ทุนเรากลับโรงเรียนแพทย์เดิม แต่น่าจะจัดการตามกฏระเบียบและ facility ของที่นี่ไปเลย

เท่าที่เคยผ่านตาถ้าใช้กฏระเบียบข้าราชการ (หรือพนักงานของรัฐ) มาประเมินในเงื่อนไขการรับผิดชอบทำงาน การคัดกรองในระดับต่างๆก็สามารถทได้เข้ามงวดพอใช้ทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการพักราชการ ทำโทษทางวินัย ไปจนถึงปลดออกจากงาน แต่ผมคิดว่าใน "ระบบภายใน" ที่เราอยากจะเห็นคือการที่พี่ๆแพทย์พี่เลี้ยงของทุกๆที่ พยายามช่วยปรับน้องๆที่มาปฏิบัติงานร่วมกับเราอีกแรงหนึ่ง ถ้าเขาเบป่วยทางจิตก็น่าจะรักษา (ไม่น่าจะป็นการส่งไปเรียนใหม่) เรื่องความรับผิดชอบนี่เป็นเรื่องใหญ่ และจากการที่ intern ก็โตๆกันแล้ว ผมว่าระบบ slap gently on the wrist อย่างที่ทำกันในโรงเรียนอาจจะไม่ appropriate แล้ว เอาโทษทางวินัยไปเลยก็ได้ถ้าถึงขั้นไม่ดูคนไข้ ไม่รับผิดชอบ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-30 , Time : 23:50:30 , From IP : 58.147.13.101

ความคิดเห็นที่ : 4


   คิดว่าคนที่ตั้งหัวข้อคงเป็นผู้ที่ต้องการสิ่งที่ค่อยส่งเสริมให้ตนเองดี หรือไม่ก็ต้องให้ตนเองสบายมากกว่า เพราะไม่เห็นเสนอวิธีการแก้ไขที่โรงพยาบาลของท่านเลย แล้วคิดว่าหากส่งกลับมาแล้วจะทำอะไรต่อ และหากท่านพบอีกก็จะส่งกลับมาอีกใช่มั้ย
เราควรหาว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้เป็นเพราะอะไร หากเกิดจากสุขภาพจิตก็ควรใรบการรักษา ซึ่งการรักษาต้องใช้เวลาหวังว่าผู้ที่เปิดประเด็นคงมีความรู้น่ะว่าปัญหาพวกนี้ต้องใช้เวลา ซึ่งท่านก็น่าจะเข้าใจไม่น่าจะมาเปิดประเด็นให้บอกถึงความรู้ของตนเองเลย
หวังว่าคงไม่โกรธ และหัดเรียนรู้การเป็นแพทย์ที่ดีด้วยน่ะ
จากนักเรียนแพทย์สมัยใหม่ แต่หัวใจไทยๆคนเดิม


Posted by : นักเรียนแพทย์ , Date : 2005-08-31 , Time : 00:13:50 , From IP : 172.29.4.140

ความคิดเห็นที่ : 5


   ของฝากถึง Intern ทุกคนหากท่านทราบว่าตนเองอยู่ในค่ายของการไม่รับผิดชอบควรจะปรับปรุงน่ะครับ เนื่องจากเรามีหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยเป็นหลัก ต้องเปรียบเหมือนเขาเป็นญาติคนหนึ่ง หากตนเองป่วยก็ควรรักษาตนเองไปด้วย และรับผิดชอบงานของตนเองให้ดีด้วย หากคุณทำได้คุณก็จะเป็นหมอที่ดีกว่าเพราะดูแลทั้งตนเองและผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
บางคนยังไม่เข้าใจในเรื่องความรับผิดชอบว่า หากตนเองทำงานเรียบร้อยแล้วก็สามารถกลับหอได้ แต่จริงๆแล้วควรจะอยู่ให้จนหมดเวลาทำงานน่ะครับ จะมาบอกว่าใช้เวลาเป็นก็คงไม่ถูกซะทีเดียว
อย่างเรื่องการลางาน ต้องไม่คิดว่าต้องใช้โอกาสให้หมดเช่น เดือนลาได้ 2 ครั้งก็ลาหมดแบบนี้ก็ไม่คสรน่ะครับ เพราะเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบที่ไม่เพียวพอ แม้ว่าจะไม่ถึงกับไม่รับผิดชอบก็ตาม หากท่านทำงานแบบไม่ลาเลยสักครึ่งปี แล้วลาไปพักผ่อน 1 สัปดาห์ แบบนี้การมองเรื่องขอความรับผิดชอบมันต่างกันน่ะครับ อยากให้เข้าใจ
ส่วนผู้ที่เป็นแบบนี้เพราะไม่ชอบอาชีพนี้ อย่างน้อยคงไม่สามารถกลับไปเริ่มใหม่ได้ในทันทีน่ะครับ เลิกเอาเวลาที่คิดว่าไม่อยากทำมาเป็นเวลาที่เราดูแลคนไข้ดีกว่า เพราะคิดไปก็ไม่มีประโยนช์อะไรครับ หากเมื่อไรที่ตัวองคิดว่าไม่ไหวแล้วก็ค่อยออกมาก็ได้ครับ แต่เป็นการเริ่มในงานใหม่อย่างช้าๆ คิดแบบนี้คงอยู่ในสังคมแพทย์ได้ดีกว่าน่ะครับ
ส่วนคนที่ค่อยจะจับผิดคนอื่น ผมว่าเลิกดีกว่าน่ะครับ เพราะว่าหากท่านเป็นแบบนี้ท่านก็ไม่ได้ดีกว่าคนที่ท่านเอยถึงเลย หวังว่าคงเข้าใจน่ะครับ
การนินทาดีตรงไหน ไม่เข้าใจ ทำไมชอบกันมากขณะนี้ หากผมจบแล้วผมอาจเลิกวิจัยงานชิ้นนี้ก็ได้ครับ จะได้รู้ว่า neurotransmittor ตัวไหนที่ทำหน้าที่นี้
หวังว่าผู้อ่านคงไม่โกรธน่ะครับ ตั้งใจให้คิดน่ะครับ ไม่ได้มีเจตนาว่าใคร
อยากให้โลกนี้สงบครับ
จาก นักเรียนแพทย์ที่เห็นสิ่งต่างๆมามากครับ


Posted by : cP , Date : 2005-08-31 , Time : 00:41:27 , From IP : 172.29.4.140

ความคิดเห็นที่ : 6


   ไม่โกรธครับ









ถุยยยยยยยยยยยยยย


Posted by : ขอบคุณมากครับ , Date : 2005-08-31 , Time : 01:39:16 , From IP : 172.29.7.98

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผมขออนุญาตเสนอมุมมองด้านอื่เกี่ยวเนื่องกับ "เวลาทำงาน" ของแพทย์ต่อจากคุณ "นักเรียนแพทย์" และคุณ cP (คนเดียวกันรึเปล่าครับ?)

ในความเห็นของผมการกำหนดเวลาทำงานของแพทย์เป็น 9-5 หรือ 8-4 หรือ 8.30-4.30 ฯลฯ นั้นไม่ตรงกับลักษณะการทำงานจริงของเราทีเดียวครับ ตามระเบียบราชการที่ว่าคนเราทำงานวันละ 7 ชม.บวกอาหารเที่ยงอีกชั่วโมงนั้น เมื่อนำมานับงานจริงๆแล้วปรากฏว่าพวกเราทำงานกันเกิน 100% ไปเยอะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการอยู่เวร การราวน์ การถูกตามในภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นจะว่าไปตัว "กำหนด" เวลาการทำงานจริงๆของเราอยู่ที่โจทย์ คือ "คนไข้" ครับ ไม่ใช่การตอกบัตร 8-4 โมงอะไรทำนองนั้น ฉะนั้นแพทย์เป็นอาชีพที่ต้อง "บริหารเวลา" ให้เป็น และความรับผิดชอบนั้นวัดตรงงานที่ทำ ไม่ใช่ที่เวลา office

ส่วนการลาพักผ่อนเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบมากน้อยแค่ไหน คงจะขึ้นอยู่กับความเชื่อของเราว่า "การพักผ่อน" นั้นมีประโยชน์อย่างไรมากกว่าครับ คนที่ทำงานไปพักไปก็คงจะไม่รู้สึกจำเป็นมากหรือแตกต่างว่ามีหรือไม่มีลาพัก (ไม่นับประเภทกิจส่วนตัว) ที่ในต่างประเทศในบริษัทที่เน้นด้านคุณภาพงาน คุณภาพคน ถ้าใครไม่ลาพักผ่อนเลย อาจจะถูกเพ่งเล็งเป็นว่ากำลังจะมีประสิทธิภาพลดลง มี creativity ลดลง เพราะ battery ไม่ได้ recharge ใหม่สม่ำเสมอก็ได้ พวกนี้เวลาทำงานจะเครียด และทำจริงจัง และมนุษย์ก็เหมือนเครื่องจักรกลแบบหนึ่งแหละครับ มันต้องมีเสื่อม มีซ่อม มี update tune เครื่องกันใหม่ เพื่อที่จะคงประสิทธิภาพ หรือเพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดี ใช้งานได้ระยะยาวขึ้น ไม่เจ๊งเร็วจากการโหมใช้

ผมเองไม่กล้าบอกว่าสังคมแพทย์พึงทำตัวอย่างไรจึงจะอยู่ได้ เพราะความรู้ทางสังคมศาสตร์ค่อนข้างจำกัด แต่ผมเอาหลักกว้างๆว่าทำยังไงก็ได้ที่เรานำเอาประโยชน์ของคนไข้เป็นหลักก็น่าจะ OK แล้วครับ ไม่จำเป็นที่คนทุกคนต้องทำเหมือนกัน ในพระราชดำรัสฯ สมเด็จพระราชบิดายังเตือนกลายๆว่าการพัฒนาตนเอง ก็เป็น "อันดับสอง" นะครับ แสดงว่าหมอก็พึงดูแลตนเองและครอบครัวสังคมรอบข้างด้วย มันถึงจะเสริมกับงานข้อแรกได้




Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-31 , Time : 08:56:52 , From IP : 172.29.3.216

ความคิดเห็นที่ : 8


   เห็นด้วยอย่างยิ่งกับอาจารย์ Phoenix ครับ

Posted by : ซุนหงอคง , Date : 2005-08-31 , Time : 23:59:17 , From IP : 172.29.4.98

ความคิดเห็นที่ : 9


    เช็คจากที่มาของกระทู้แล้ว อยู่ในจ.สงขลา ก็ขอให้ปรับปรุงตัวนะครับ
ศิษย์เก่า


Posted by : 987 , Date : 2005-09-01 , Time : 20:26:30 , From IP : 203.156.52.36

ความคิดเห็นที่ : 10


   ในสงขลามีอยู่สามรพ.ที่มี intern เป็นที่ไหนหว่า ยอมรับมาซะดีๆ :D

Posted by : เหอๆๆ , Date : 2005-09-03 , Time : 23:10:48 , From IP : 61.19.25.2

ความคิดเห็นที่ : 11


   IP อยู่ในสงขลา และอยู่ใน มอ. !!!

Posted by : ปีศาจลูกหมี , Date : 2005-09-08 , Time : 00:31:47 , From IP : 203.209.37.214

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<