ความคิดเห็นทั้งหมด : 39

ยังไม่มีอาจารย์ไปเยี่ยม intern ที่ รพ ต่างๆ เลย สงสัยเรื่อง QC intern รุ่นล่าสุดหนะค่ะ


   ปกติ จะมี อาจารย์ไปเยี่ยม ใช่ไหมคะ ปีนี้ยังไม่ไป

คือเพื่อนหมอตาม รพศ เขาอยาก complain การทำงานของ intern ที่ มอ. เพิ่งผลิดส่งไปให้ ไม่แน่ใจว่า QC ผ่านได้อย่างไร

ดูแลคนไข้แปลกๆ นำพาความยุ่งยากลำบากใจให้กับ staffs หลายคน ซึ่งเจอเหมือนๆกัน
เช่น
ชายหนุ่ม ขี่ MC ล้ม hand รถกระแทกหน้าท้อง ปวดท้องมาก V/S stable สงสัย blunt abdominal trauma ขอ emergency U/S โดยยังไม่มี manage อะไรเลยแม้ HCT หรือให้ IV

น่ากลัวจังเลย ถ้าญาตใครต้องไปเจอ


Posted by : หมอแก่ , Date : 2005-08-22 , Time : 22:25:25 , From IP : 172.29.7.98

ความคิดเห็นที่ : 1


   ปกติจะมีอาจารย์ไปเยี่ยม intern ด้วยเหรอ เพิ่งรู้ นึกว่าเยี่ยมแต่ extern


Posted by : guest , Date : 2005-08-22 , Time : 23:19:51 , From IP : proxy1.chula.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 2


   คุ้นๆ เหมือนกันนะ

เหมือนแถวยะลา
ไม่แน่ใจว่ามีการไปเยี่ยมไหม แต่สถานการณ์อย่างนี้อาจต้องระวังตัว

over investigate เป็นธรรมดาของหมอใหม่มั้ง อย่างนี้ หมอ x-ray ก็เหนื่อยแย่
แต่ line management ก็ผิดปกตินะ


Posted by : OmniSci , Date : 2005-08-23 , Time : 08:47:45 , From IP : 172.29.1.148

ความคิดเห็นที่ : 3


   คณะมีกำหนดการไปเยี่ยม Intern และสถาบันฝึกปฏิบัติงานทุกปี ปีการศึกษา 2548 นี้ กำหนดไปเยี่ยมประมาณเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2548 นี้ หากต้องการทราบกำหนดการตรวจเยี่ยมติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่หน่วยการศึกษาหลังปริญญา โทร 1542

Posted by : หน่วยการศึกษาหลังปริญญา , Date : 2005-08-23 , Time : 12:35:23 , From IP : 172.29.2.117

ความคิดเห็นที่ : 4


   เป็นอย่างนี้ทุกคน

ส่วนมาก

หรือว่าแค่คนเดียว????????


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2005-08-23 , Time : 15:40:40 , From IP : 61.19.25.2

ความคิดเห็นที่ : 5


   การขอ U/S ก่อนเจาะ Hct ให้ IV มันน่ากลัวมากขนาดนั้นเลยเหรอ
ขนาดที่ว่า ถ้าญาติใครเจอแล้วน่าเป็นห่วง

ยอมรับว่าบางเรื่อง(รึอาจทุกเรื่อง) เก่งสู้พี่ๆไม่ได้
แต่ก็ยินดีรับฟังคำแนะนำ คำสอน คำทักท้วงจากพี่ๆทุกคน


Posted by : incubus , Date : 2005-08-23 , Time : 17:17:21 , From IP : 203.188.5.76

ความคิดเห็นที่ : 6


   ที่โพสตั้งกระทู้มาไม่น่าจะใช่ ผมมองในแง่ดีว่า เขารีบโทร consult หมอ X-ray ในขณะที่พยาบาลยังแทง IV ไม่ได้หรือเปล่า หรือกำลังแทงอยู่หรือเปล่า (ก็ Vital sign stable นี่ รีบแทงทำไม) อีกอย่างสาเหตุ consult อาจจะเพราะ ญาติ consern และผู้ป่วยก็ดูปวดมากจริงๆ (sign หน้าท้องก็ไม่บอกมา)

ถ้าคุณหมอแก่ โพสมาบอกแค่นี้ ดูเหมือนตั้งใจให้มองในแง่ร้ายเกินไปมั้ง.... ให้ชัวร์บอกมาเลยสิ ว่าส่งคนไข้ที่มี guarding ไปห้อง ultrasound โดยที่ไม่ได้เปิด IV line ฮึ แบบนั้นก็สงควรตักเตือน สั่งสอน ไม่ใช่มาโพสด่าแบบนี้ อย่าลืมว่าหลายคนในที่นี้เคยโพสหลายๆครั้งว่า intern ยังอยู่ในกระบวนการเทรนนี่ง ไม่จบเสียทันที (ตอนนั้นผมยังค้าน) ซึ่ง Staff ก็ควรเอาใจใส่เพิ่ม สอนมากขึ้น ดูแลใกล้ชิดิขึ้น คุณก็ใช้งานเค้าคุ้มไม่ใช่เหรอครับ

เรื่องญาติ concern ก็ไม่ใช้เรื่องเล่น ลองตั้งท่าเอาเรื่อง intern จบใหม่รับผิดชอบไม่ไหวมั้ง ท่าซวยเจอ staff เอาตัวรอด โบ้ยความรับผิดชอบขึ้นมาอีก มิแย่หรือครับ ช่วงนี้ดอกรัก Fever ด้วยนะครับ

เห็นด้วยกับ over investigation ทุกประการ เหอะๆๆๆ จังหวะนี้เอาตัวรอดก่อนครับ ถ้าไม่อยากเป็นแพะ อยากโทษก็โทษ นโยบายรัฐบาลเถ้อะ ฮะๆ


Posted by : หมอเก๋า (เพื่อนสุรยุทธ) , Date : 2005-08-23 , Time : 17:42:33 , From IP : 172.29.7.177

ความคิดเห็นที่ : 7


   เห็นด้วยกับหมอเก๋า "อย่างแรง"

Posted by : ปีศาจลูกหมี , Date : 2005-08-23 , Time : 18:33:41 , From IP : 203.209.37.100

ความคิดเห็นที่ : 8


   เอาเป็นว่าช่วยกันสอดส่องและรับฟังดูแลดีไหมครับ อาชีพเรานั้นควรจะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเราดูแลซึ่งกันและกันอย่างดีที่สุดและไว้ใจได้ คนข้างนอกจะได้คิดจะมาเกี่ยวข้องน้อยลง

เวลาเรารับฟังก็ยังไม่ได้ตัดสินอะไรทันทีอยู่แล้ว เพราะเราคงต้องรับฟังรายละเอียด และจากทั้งสองฝ่ายก่อนเสมอ แต่อะไรก็ตามที่ทำให้เรา "พยายาม" ทำให้ดีขึ้น เราก็ขอรับไว้เป็นข้อมูล คนที่ไม่เข้าใจหรือเห็นอะไรแปลกๆจะได้รู้สึกว่าพวกเรา "ฟัง" อย่างตั้งใจ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสื่อสารสนทนา



Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-23 , Time : 20:31:04 , From IP : adsl-203-156-36-225.

ความคิดเห็นที่ : 9


   ถ้าคิดว่า intern คนนั้นทำอะไรที่ไม่สมเหตุสมผล ก็ควรที่จะบอกเขาโดยตรงสิครับ เพราะคงไม่มีใครจะทำเป็นทุกอย่างในช่วงเวลาที่เรียนอยู่ในชั้นคลินิกแค่ 3 ปี ขึ้นชื่อว่าแพทย์ยังจะต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือว่าคุณ "หมอแก่"ไม่เคยทำผิดครับ

Posted by : NaRoK , Date : 2005-08-23 , Time : 20:38:04 , From IP : p5-rygMT2.E.loxinfo.

ความคิดเห็นที่ : 10


   หมอแก่ เพิ่งเข้ามาดู
เห้อ ความผิดของหมอแก่เองที่ไม่ได้ อ่านให้ดีก่อนจะส่งเข้ากระทู้ (นั่นไง หมอแก่ก็เคยทำผิดอยู่บ่อยๆ คะ คุณ narok นรก?)
จริงๆ หมอแก่บรยาย สรรพคุณอีกเล็กน้อยค่ะ แล้วตามด้วยประโยค น่ากลัวจังเลย ถ้าญาตใครต้องไปเจอ

เปล่ามีเจตนา จะ blame น้องๆเขา ผ่าน board นี้หรอกค่ะ อย่าเข้าใจจุดประสงค์ผิด ตั้งใจจะบอกว่า ผลิตผลรุ่นนี้ มี defect ชัดกว่ารุ่นก่อนหน้านี้ ซึ่งไม่ทราบจริงๆ ว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเขารู้ตัวหรือเปล่าว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งมันเป็นเรื่องใหญ่มากๆ ในสายตา หมอแก่ แล้วน้อง intern ที่อยู่ตัวคนเดียวในหมู่บ้านไกลๆ นั่นน่าสงสารไปใหญ่ ทำผิดทำถูกแค่ไหนไม่รู้ สงสารคนไข้ก็สงสาร

แล้วก็คาดว่า พี่ๆ staff เข้าก็สอนและไม่ได้ต่อว่าอะไรรุนแรงหรอก staff รพศ ก็ใจดีเหมือนกันแหละ


เห้อออ
แปลกจริงๆนะ พวกหมอนี่ สื่ออะไรออกมา ทำให้เหมือนไม่ยอมรับฟังปัญหา แตะต้องก็ไม่ได้ ไม่แปลกหรอกที่พวก สื่อมันชอบแหย จนแตกแยกกันหมด หมอที่ถูกสื่อแหย จนระเบิด ประชาชน ก็ยิ่งเกลียดหมอไปใหญ่

ข้างบนนี้ หมอแก่ ขอบคุณ Phoenix มากๆเลยค่ะ ที่เข้าใจ

ไปแล้ว


Posted by : หมอแก่ , Date : 2005-08-23 , Time : 21:45:47 , From IP : 172.29.7.169

ความคิดเห็นที่ : 11


   defect??????????????????????????????????????????????

ถ้าความตั้งใจแรกของคุณเป็นอย่างที่อธิบายมานี้
เราสามารถสื่อสารให้คนอ่านเข้าใจได้โดยตรง โดยไม่ต้องตีความ
เช่น รู้สึกไหมว่าInt รุ่นนี้ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการตรวจร่างกาย แต่กลับเน้น investigate รึว่า ทำไมเด็กรุ่นใหม่ over investigate กันเยอะจัง ซึ่งคนที่มาอ่านต่อสามารถแสดงความคิดเห็น และชี้แนะต่อได้ คณะอาจนำไปเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงการเรียนการสอน

อันนี้เป็นตัวอย่างเฉยๆนะ เพราะถึงตอนนี้ก็ยังไม่รู้เลย ว่าคุณต้องการ comment เรื่องอะไร

เห้อออ
แปลกจริงๆนะ พวกหมอนี่ สื่ออะไรออกมา ทำให้เหมือนไม่ยอมรับฟังปัญหา แตะต้องก็ไม่ได้ ไม่แปลกหรอกที่พวก สื่อมันชอบแหย จนแตกแยกกันหมด หมอที่ถูกสื่อแหย จนระเบิด ประชาชน ก็ยิ่งเกลียดหมอไปใหญ่

สรุปว่าเรื่องนี้ปัญหาใหญ่กว่าอาจอยู่ที่ communication skill


Posted by : incubus , Date : 2005-08-23 , Time : 22:34:18 , From IP : 203.188.5.76

ความคิดเห็นที่ : 12


   ผมในฐานะที่เป็น intern คนหนึ่งครับ ผมยอมรับหมอแก่บอกว่าพวกผม ดูมี
defect มากกว่ารุ่นอื่นนะครับ ผมยอมรับตัวเองครับ แต่อยากให้หมอแก่ ทราบ
หน่อยนะครับ ว่า ไม่มีหมอคนไหนที่จะเก่งพร้อมได้ตั้งแต่ต้นนะครับ
ผมคิดว่าทุกคนล้วนแต่เริ่มที่ 0 จนถึงระดับที่เก่งนะครับ....
ส่วนข้อที่ว่า หมอแก่ ไม่ได้ตั้งใจที่ blame นะครับ ถ้าบริสุทธิ์ใจจริง
ผมคิดว่าควรที่จะต้องบรรยายลักษณะของผุ้ป่วยก่อนนะครับ ให้ละเอียดนะครับ
ไม่ใช้บอกว่าแค่ว่าผู้ป่วยปวดท้อง แต่ v/s stable แล้วขอ emergency u/s ช่วยบรรยายถึงลักษณะอย่างอื่นด้วยได้ไหมครับ เพื่อประกอบความเข้าใจ และเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการเรียนรู้ของ intern ด้วยนะครับ ว่าถ้าลักษณะอย่างนี้
สถานการณ์อย่างนี้ น้องใหม่อย่างผมต้องดูแลอย่างไร เมื่อไรควรที่จะ consult
emergency
ผมคิดว่าการที่ intern consult ในบางครั้งมีสถานการณ์หลายอย่างที่เป็นตัวแปร
ได้นะครับ อย่างเช่น ผู้ป่วย guarding มาก หรืออาจารย์อยู่ไกล บอกตั้งแต่เนิ่นจะได้ทำอะไรได้ทันนะครับ ก็เหมือนกัน refer คนไข้นะครับ ต้องบอกอีกฝั่งไว้ก่อนตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ใช้ส่งไปแล้วค่อยบอก .... ไม่แน่ใจว่าเรื่องเดียวกันหรือเปล่า


Posted by : Intern จบใหม่ , Date : 2005-08-23 , Time : 22:44:09 , From IP : 58.147.123.246

ความคิดเห็นที่ : 13


   การเรียนการสอนในระบบปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากเมื่อก่อน
สถานการณ์ต่างกัน
บางที่อาจ clinical base บางที่อาจ imaging base
แต่ยังไงคงยึดที่ผู้ป่วยเป็นอันดับหนึ่ง
ส่วนจะให้น้อง ๆ เก่ง เหมือนพี่ ๆ ก็คงต้องค่อย ๆ ใจเย็น

ส่วนการ over investigate นั้น
อาจต้อง feed back ถึง staff ที่ ค่อนข้าง over investigate ในบางคน
ทำให้น้อง ๆ ที่จบไปเห็นเป็นแบบอย่าง

ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการ over investigate
เพราะประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่ร่ำรวย


Posted by : น้องใหม่คนหนึ่ง , Date : 2005-08-23 , Time : 23:14:46 , From IP : 172.29.7.171

ความคิดเห็นที่ : 14


   ปัญหาเรื่องนี้ (หมายถึงที่กระทู้นี้ยาวออกมา) น่าจะอยู่ที่การสื่อ และการ "เลือก" แปลความหมายครับ

ถ้าเราจับออกมาเพียงว่าผู้เริ่มต้นกระทู้มีปัญหาอยากจะ feedback อาจารย์ฝ่ายแพทยศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องปรับปรุงคุณภาพบัณฑิตแพทย์ จากประสบการณ์ (อันจำกัด) ก็คงจะไม่มีอะไรมาก เราก็รับไว้ และยินดีที่จะไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เพราะเรา "ทราบว่า" ข้อมูลที่ให้มานี้นั้น เป็น "ข้อสรุป" ของการตีความของผู้ใช้บริการของบัณฑิตผลิตผลของเรา และคณะฯนั้น ต้องการข้อมูลแบบนี้ อย่างมาก เพื่อนำมาประกอบการพัฒนา

ปัญหามันเริ่มจาก "ตัวอย่าง" ที่กำกวม ที่มีคนเริ่มถามรายละเอียดว่ามันเป็นยังไงมายังไงแหละครับ เกิดทำให้มี demand ต้องการวิเคราะห์ ณ เดี๋ยวนี้มารายละเอียดเป็นอย่างไร ซึ่งที่จริงถ้าไม่ยกตัวอย่างเสีย มันก็จบ คำตอบของกระทู้ก็หยดเพียงแค่เราแจ้งว่าจะไปรับฟังรายละเอียดเดือนตุลา-พฤศจิกายน แค่นั้น

ทีนี้ในเมื่อตัวอย่างมันกำกวมผนวกกับ "ข้อสรุป" ที่ค่อนข้างจะ generalise (intern "รุ่นนี้") ผมว่าส่วนนี้ทำให้ประเด็นหลักมันจางไปเยอะ ชวนให้เอาประเด็นรอง (แค่ตัวอย่างเสริม) มาก่อกวนให้เกิด reponses ขึ้น ผมเคยเรียนบนกระดานนี้หลายครั้งว่าการ generalise หรือ sterotype หรือการขยายแปลผลตัวอย่างที่สุ่มมาอย่างไม่เพียงพอออกมา represent กลุ่มใหญ๋นั้น ไม่เคยเกิดผลดีเลยแม้แต่ครั้งเดียว นี่ก็คงจะจัดได้ในทำนองเดียวกัน

การเรียน การสอน การสร้างบัณฑฺตนั้นผลที่ได้มันก็ไม่หนี normal distribution ครับ มีส่วนใหญ่ตรงกลาง และส่วนน้อยหัวท้าย แถมถ้าเป็นบุคคล ยังสามารถมี internal variation ได้อีก คนทุกคนมีวันดี วันร้าย วันเบลอ วันแจ่มใส การ "ตัดสิน" คนๆเดียวว่าดีไม่ดียังยากแสนเข็ญ อย่าว่าแต่จะค้นหาสาเหตุเลยครับว่า defect มันอยู่และมันเริ่มจากที่ใด

แต่ผมเสนอให้พวกเรา (คณะแพทย์ มอ.) ตรงนี้อย่างนี้ครับ อารมณ์ของเราจะหงุดหงิดหรือดีนั้น บ่อยครั้งที่เรา "เลือกได้" ครับ พยายามดึงเอาสิ่งที่ตีความแล้วเกิดประโยชน์มาเหลือเอาไว้ ใส่ใจ และเก็บมาวิเคราะหฺปรับปรุง ส่วนอื่นที่ไม่ชัดเจนแต่ถ้าคิดต่อแล้วมันก่อให้เกิดงุดงิดหงุดหงิดเรามีทางเลือกเสมอว่าจะถือเป็นสรณะ เป็นอารมณ์ดีหรือไม่ เราก็คฝววรจะดูว่ามันเกิดประโยชน์หรือโทษต่อใจเราแค่ไหนอย่างไรครับ บางทีกว่าจะได้ "แก่น" ที่จะเกิดประโยชน์ในการพัฒนา เราจะต้องฝ่าและเหลากระพี้ออกไปก่อน



Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-23 , Time : 23:30:16 , From IP : adsl-203-156-36-225.

ความคิดเห็นที่ : 15


   สังคมกำลังต้องการหมอที่มีคุณภาพ ความรู้สูง ดูแลคนไข้ดี
รัฐบาลกำลังต้องการผลิตแพทย์ปริมาณมาก เพื่อทำงานในชนบท (กระทั่งจะมี 1 อำเภอ 1 แพทย์) โดยเลือกจากคนเก่งของอำเภอ (แต่อาจจะโหล่ใน รร จังหวัด)
staff ข้างนอก ก็ต้องการหมอเก่งๆ จะได้ไม่ต้อง refer มากตอนออกอยู่ชุมชน และได้ช่วยงานมากๆ ไม่มีปัญหาตอนทำงานใน รพศ
นักเรียนแพทย์ ก็ต้องการความรู้ เพื่อจะได้จบไปเก่งใน รพ ชุมชน บางคนก็อยากเรียนต่อ เพราะอยากเก่งบางสาขา

ส่วน มอ ไม่ต้องการ หมอ เก่งๆ แต่ต้องการหมอที่ค้นคว้าหาความรู้เองได้ (ปกติ จบที่ไหนเขาก็ต้องทำกันอยู่แล้ว) จับปลากินเอง
และไม่ต้องสอนอะไรมากใน รพ แพทย์ เพราะออก Extern (ยกตัวอย่าง Appendectomy) ไม่ต้องสอนใน มอ เพราะสครับเนิร์ส จะสอนเ extern เอง ตอนเทำ case ที่ รพช ฮ่ะๆ ผมประชด ความจริงนะครับ

ผมคิดว่า มอ ผลิตแพทย์โดยไม่สนใจเลยว่าสังคมต้องการแพทย์แบบไหน นักเรียนบ่น หมอข้างนอกบ่นก็ฟัง ไปงั้นๆ


Posted by : หมอเก๋า , Date : 2005-08-24 , Time : 02:42:17 , From IP : 172.29.7.254

ความคิดเห็นที่ : 16


   ผมเชื่อว่าทุกคนมีที่มาของข้อสรุปของตนเอง และน่าจะเป็นเรื่องของแต่ละคนที่จะตรวจสอบว่าที่มานั้นๆน่าเชื่อถือแค่ไหน มีหรือไม่มี bias สุดท้ายก็จะกลายเป็นอุปนิสัยใจคอและบุคลิกเวลาไตร่ตรองและวิเคราะห์ข้อมูล

ปกติแล้วตามหลักการศึกษาแบบ PBL ส่วนหนึ่งที่เราเน้นคือการใช้ "ความรู้เก่า" มาใช้ให้มากที่สุดเพื่อจัดการกับสิ่งที่เราเองอาจจะไม่เคยเรียน เคยทราบ หรือมีประสบการณ์มาก่อน สาเหตุที่เราคิดว่ามัน work ("เรา" ในที่นี้รวมทั้งนักการศึกษาที่ได้มีการวิจัยเกี่ยวกับ psycho-physiology of learning) ก็เพราะเราใช้วิธีนี้เกือบตลออดเวลา จากประสบการณ์เก่าๆ จากอุปนิสัยดั้งเดิม จากระบบความคิดที่มีอยู่แล้ว เมื่อเผชิญกับข้อมูลใหม่ เราจะเกิด short circuit ได้ข้อสรุปออกมาอย่างรวดเร็ว บางครั้งเราก็ไม่ทราบว่ามาได้อย่างไร บางครั้งเราไม่คิดซะด้วยซ้ำว่าเรามีกลไกและได้ใช้กลไกที่ว่า จึงรู้สึกว่าข้อสรุปมัน "วูบ" ออกมาเฉยๆ

ประเด็นหนึ่งที่ผมมองเห็นคือ คำว่า "มอ." นี้เป็น collective term ของคนจำนวนมาก และจากคุณสมบัติเบื้องต้นหลายๆอย่าง (เท่าที่ทราบ) คนกลุ่มนี้อาจจะไม่ใช่กลุ่มที่จะมี "ความเหมือน" ในด้าน background ความคิด รวมทั้งความง่าสยในการชักจูงเท่าไหร่นัก และผมคิดว่ามันเป็นคุณสมบัติที่มีในหลายๆสถาบันที่มีคนเรียนมากๆอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นในขณะที่เพื่อความง่าย (แต่อาจจะ oversimplifying) ที่จะคิดว่า collective แล้ว "มอ." ทำอย่างนี้โดยคิดหรือโดยไม่คิดอย่างไรนั้น อาจจะช่วยตัดปัญหาในการวิเคราะห์ที่มันยุ่งยากหรือต้องใช้ข้อมูลมาก แต่ส่วนจะตรงหรือไม่อย่างไร ก็คงขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการทำใจให้เชื่อในข้อสรุปที่ได้มาแหละครับ

แต่ในเวลาแค่สองสามปีที่ผ่านมา เท่าที่ผมสังเกตเห็น ที่ว่าคณะแพทยศาสตร์ มอ. มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอนต่างๆตามข้อมูล feedback หรือไม่นั้น จริงๆแล้วถ้าเป็นคนภายในคงจะทราบดี หรือหาข้อมูลได้ไม่ยากว่าเราทำไปมากน้อยแค่ไหน หรือว่าเราอยู่กับที่ การที่เปลี่ยนอย่างไรก็มีคนบอกว่าไม่เปลี่ยนนั้นมีได้หลายสาเหตุครับ ส่วนหนึ่งก็คือคนที่พึงพอใจที่เราเปลี่ยนไปตรงกับเขาก็จะไม่บ่นอะไร ส่วนคนที่บ่นก็คือคนที่เราไม่ได้เปลี่ยนให้ถูกใจเขา ทีนี้ฝ่ายใดมากน้อยนั้นก็น่าสนใจที่จะวัดเหมือนกัน แต่ก็ไม่ง่ายเท่าไหร่



Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-24 , Time : 03:06:09 , From IP : adsl-203-156-36-225.

ความคิดเห็นที่ : 17


   หมอแก่ไม่สบายใจเลย
ก็เป็นความผิดของหมอแก่เองหละค่ะ อย่างที่ Phoenix บอก (ขอบคุณอีกทีนะค่ะ)

หมอแก่ขอโทษ ทุกท่าน ด้วยก็แล้ว กัน ที่สื่อให้เข้าใจอย่างนั้น (อย่างที่บอกมันเป็นการยกตัวอย่าง อีกอันแล้วดันลบออก)

ขอโทษค่ะ


Posted by : หมอแก่ , Date : 2005-08-24 , Time : 04:43:31 , From IP : 172.29.7.234

ความคิดเห็นที่ : 18


    intern เป็นช่วงที่แพทยสภาต้องการให้แพทย์ได้นำความรู้ที่มีมาปรับใช้กับผู้ป่วยจริงโดยมีพี่ๆคอยดูแลอยู่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย แพทย์ และระบบงานดังนั้น จึงมีการกำหนดการประเมินอยู่แล้ว หากมีข้อผิดพลาดก็อยากให้พี่เตือนน้อง หากส่วนมากผิดพลาดเหมือนๆกันและเป็นความผิดของระบบการฝึกอบรม เข้าใจว่าทางแพทยศาสตร์ศึกษาก็พร้อมที่จะรับฟังปัญหาและแก้ไข ส่วนการตรวจเยี่ยมช่วง ตุลาคม- พฤศจิกายนก็คงจะได้คุยกับทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับการฝึก intern อีกครั้ง ปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ถ้าทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน

Posted by : มณีแดง , Date : 2005-08-24 , Time : 11:51:09 , From IP : 172.29.3.176

ความคิดเห็นที่ : 19


   เรื่องการ over investigation ในตอนนี้ บางครั้งหมอใหม่ก็ต้องโดน force จากญาติ บางคนมาหาก็บอก ขอ xray หมอใหม่จะมั่นใจบอกว่า รับรองได้ว่าไม่มีสิ่งผิดปกติจริงๆหรือ ถ้าเป็นแพทย์อาวุโสแล้วลองย้อนกลับไปคิดถึงความทรงจำเก่าๆ สิ เหล่านี้ขึ้นอยู่ประสบการณ์ที่เรียนรู้มาของแต่ละคน clinical แบบนี้ เช่น ปัสสาวะแสบขัดจ๋าๆ ตามความเข้าใจของคนไข้ที่บอกมา UA normal ก็ยังมี หมอใหม่เองหลังจากที่ investigate แล้วก็ควรเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ทั้งจากประวัติ ตรวจร่างกาย และ lab ตั้งแต่ clinical stronge lab positive ไปจนถึงclinical weakly แล้ว lab จะเป็นอย่างไร จนสุดท้ายเราก็จะรู้ว่าเมื่อไหร่เราจะได้ benefit จาก lab จนทำให้น้องๆ therapuetic treatment โดยไม่ต้องใช้ lab เลย
น้องๆ อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ ไม่มีใครอยากให้คนไข้เสียโอกาสหรอก


Posted by : jingjai , E-mail : (pppp) ,
Date : 2005-08-24 , Time : 16:44:42 , From IP : 203.156.51.118


ความคิดเห็นที่ : 20


   อยากให้คุณหมอแก่ไปอยู่เวร ER บ้างจัง

อยากรู้ว่าจะ manage สู้ intern จบใหม่ได้มั้ย

เห็นมาเยอะแล้ว หมอแก่ๆ นี่แหละตัวสร้างปัญหา

ขอโทษที่ blame กลับ


Posted by : ปีศาจลูกหมี , Date : 2005-08-24 , Time : 17:09:33 , From IP : 58.147.41.206

ความคิดเห็นที่ : 21


   อืม... พวกเรา "ทุกคน" ในที่สุดก็คงจะเป็นหมอแก่เข้าสักวันหนึ่ง ผมไม่ยักทราบว่าจะเกิดประเพณี "วัดรอยเท้า" แข่งขันการ manage case ที่ ER

ดูท่าที่คุณหมอแก่ "ขออภัย" มาสองครั้งยังไม่ทำให้คุณปิศาจลูกหมีหายคาใจได้รึเปล่าครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-24 , Time : 20:54:44 , From IP : 172.29.7.251

ความคิดเห็นที่ : 22


   ผมบังเอิญผ่านมาแล้วทั้งสองระบบ ประเด็นสำคัญที่ต้องยอมรับก็คือ staff โรงพยาบาลข้างนอกส่วนหนึ่ง abuse ทั้ง extern และ intern ...

abuse อย่างไร ?

ขอยกเป็นตัวอย่างก็แล้วกันนะครับ

1. คนไข้มา ER ให้ส่ง CT emergency ไปเลย ไม่ต้อง consult staff ก่อน ยังไง staff ก็ไม่มาดูอยู่แล้ว ...พอส่งขึ้น ward ก็ให้เพื่อน ๆ กันที่เป็น extern, intern ดู film ถ้าไม่เห็นอะไรก็รอ staff มาดู film พรุ่งนี้ ถ้าเห็นอะไรแปลก ๆ ก็โทร.บอก staff แล้ว staff ก็จะสั่งการรักษาทางโทรศัพท์อีกที ...นี่เฉพาะกรณ๊ที่ตาม staff ได้ ถ้าตามไม่ได้ก็รักษากันเองไปตามความรู้ที่มี

เรื่องนี้บอกอะไรเราบ้าง ?

ผมว่า staff เรากำลังปฏิบัติเหมือน intern เป็น staff คนหนึ่ง ถามว่าเป็นการ "ให้เกียรติ" ได้ไหม ขอตอบว่าถ้า extern, intern เป็นการเรียนรู้ ผมคงไม่ยอมให้เกิดขึ้นได้แน่ แต่สภาวะเช่นนี้ก็ยังมีเกิดอยู่ในหลายโรงพยาบาล กลายเป็นว่าเราให้คนที่มีความรู้น้อยที่สุด ไปรักษาผู้ป่วยที่ต้องการแพทย์เฉพาะทางที่สุด !!!

staff มอ. ทราบไหม ? ตอบได้ว่าทราบ แต่ปัญหาก็คือ extern และ intern เป็นกลุ่มคนที่ต้องถูกผลิตออกมาในจำนวนคงที่อยู่เสมอ ไม่ว่า staff หรือโรงพยาบาลจะดีหรือแย่เพียงใด ก็จะต้องรองรับนักเรียนแพทย์และแพทย์ฝึกหัดกลุ่มนี้อยู่นั่นเอง ...ไม่มีไม้เรียวมาคอยกำกับว่าถ้าดูแลไม่ดี คราวหน้าจะไม่ส่งมาแล้วนะ

ทางแก้... เหมือนอย่างที่ มช. ทำเมื่อหลายปีก่อน แต่ละโรงพยาบาลก็จะได้ extern ไปเฉพาะแผนกที่สามารถรับนักเรียนได้ แผนกไหนที่รับไม่ได้ เช่น จำนวน staff ไม่เพียงพอ หรือการดูแลไม่เหมาะสม ขาดกิจกรรมวิชาการ ก็จะถูกตัดออกจากระบบการเรียนการสอน extern เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ staff มีการพัฒนา จะได้มีคนมาช่วยทำงาน และ staff ก็จะได้พัฒนาตนเองด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน

โรงพยาบาลที่รับ extern และ intern ก็เช่นกัน ฝ่ายวิชาการ หรือบางแห่งเป็นศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา ก็ต้องเข้มงวดมากกว่านี้ การประสานงานระหว่าง มอ. กับโรงพยาบาลสมทบก็ต้องทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้



Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-08-25 , Time : 00:36:15 , From IP : 58.147.44.115

ความคิดเห็นที่ : 23


   2. ระบบการเรียนการสอน สอดคล้องกับสภาพการทำงานที่นักเรียนจะต้องพบในอนาคตหรือไม่ ?

เท่าที่ลองถามนักเรียนดู เดี๋ยวนี้ มอ. เริ่มให้ใช้

laptop round ward
ตาม lab ทาง lan
สรุป chart ทาง desktop

พอออกมาอยู่ข้างนอก ก็เหมือนกับถอยหลังกลับไปสิบยี่สิบปี progress note ก็ไม่เขียนกัน แต่อยากได้ประสบการณ์การเรียนรู้มาก อยากทำหัตถการ แต่ไม่รู้ indication ไม่รู้ contraindication ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร

ทาง มอ.ก็บอกว่า ที่ มอ. เป็นสถาบันฝึกอบรม resident ต้องให้ resident ได้ฝึกปฏิบัติ ให้นักเรียนไปฝึกเอาข้างนอก ส่วนข้างนอกก็บอกว่า ถ้าไม่มีพื้นฐานมาก่อนก็คงฝีกกันยาก เหมือนกลายเป็นต่างฝ่ายต่างยกมือมาดันกัน แล้วให้นักเรียนของเราอยู่ตรงกลาง ซึ่งหาทางออกยาก

เด็กบางคนจนขณะนี้ (กลางเดือนสิงหาคม) ยังปรับตัวเข้ากับการทำงานโรงพยาบาลรอบนอกไม่ได้เลย

ทางแก้... มอ.ไม่มีทางถอยไปใช้ระบการเรียนการสอนและการทำงานแบบเดิมแน่ โรงพยาบาลสมทบที่รับ intern extern ก็คงไม่ชอบเด็กที่ทำอะไรไม่เป็นเลยมาทำงานด้วย คงต้องมาคุยกันเพื่อหาสมดุล


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-08-25 , Time : 00:46:41 , From IP : 58.147.44.115

ความคิดเห็นที่ : 24


   อาจนอกเรื่องไปนิด แต่ขออนุญาตใช้ห้องนี้ด้วยครับ

Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-08-25 , Time : 00:47:35 , From IP : 58.147.44.115

ความคิดเห็นที่ : 25


   key words ที่ต้องชัดเจนก่อนในส่วนที่คุณพี่น้องฯ เสนอมาตอนหลังนี่คือ staff บางคน และการสรุปความเกี่ยวข้องระหว่าง "วิธีการบันทึก" กับ "เจตคติการบันทึก" เพื่อนำไปสู่การแก้ไข และป้องกันการเสียความรู้สึกของคนที่ทำงานดีอยู่แล้ว

สถาบันเสริมที่ intern และ extern ถูกส่งไปปฏิบัติงานนั้นกระจายอยู่ทั่วประเทศ และผม "เข้าใจเอง" ว่าในยุคแรกที่ implement เน้นที่บรรยากาศจริงในการทำงานผนวกกับระบบ supervision โดยแพทย์พี่เลี้ยง ไม่ใช่ทุกสถาบันที่กล่าวมานี้พัฒนาตนเองกลายเป็นวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และที่กำลังจะทำก็ยังไม่ได้ผ่าน quality assurance procedures ทั้งหมด คงต้องรออนุมัติเป็นรายๆอีกพักใหญ่

===============

การที่ผมเน้น "บางคน" สำหรับเรื่องนี้ เป็นเหตุผลเดียวกับกระทู้นี้แหละครับ คือการหลีกเลี่ยง generalize หรือการเชื่อม "ระบบ" เข้ากับ "บุคคล" รพ.ทุกแห่งที่ รพ.มอ.ส่ง intern และ extern ไปประจำในเขตภาคใต้ตอนล่างนี้ เรามีการไปตรวจสอบประเมินทุกปี โดย form ที่ใช้คล้ายๆกับประเมิน มอ.เราเองนี่แหละครับ แต่ละ รพ.ที่เราไปเยี่ยมจะมีการทำ self-assessment และ feedback เด็กของเรากลับมาด้วย การเก็บข้อมูลเป็น bi-directional นั่นคือเราขอข้อมูลและสัมภาษณ์แยกระหว่างทีม staff และ intern/extern ในการรับทราบปัญหา ซึ่งแน่นอนที่มีมุมมองต่างออกไปอย่างมากมายได้บนประเด็นเดียวกัน ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ก่อนที่เราจะ "ตัดสิน" อะไรจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องได้ข้อมูลให้มากที่สุด ยิ่งมีปฏิสัมพันธ์มาเกี่ยวข้อง ยิ่งต้องได้รับข้อมูลจาก "ทั้งสองฝ่าย" ก่อน

ประเด็นสำคัญที่อยากจะเพิ่มตรงนี้ก็คือ staff ที่รับผิดชอบการดูแลน้องๆของเราข้างนอก หลายท่านทำงานกับเรามาเป็นสิบปี และมีการอุทิศตนและ serious ในงานที่ท่านได้กรุณารับได้ ดังนั้นขณะที่เราตระหนักว่าทุกแห่งมีคนดีมาก ดีน้อย ธรรมดาๆ ไม่ค่อยดี ไม่ดี นั้น การพิจารณาตัดใคร ทำโทษใคร เป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยความ delicate และ fair เหมือนๆกับว่าเราคงไม่ให้นายกรัฐมนตรีลาออกถ้าประเทศไทยยังมีโจร มีน้ำท่วม มีฆาตกรอยู่ และเท่าที่เรามีการประเมินมา ในขณะที่มีบางประเด็นที่เราเสนอให้ปรับปรุง บางเรื่องเขาก็ทำได้เหนือความคาดหวังเสียอีก และเรืองที่เราขอให้ปรับปรุงจากคราวที่ไปเยี่ยมล่าสุด ก็จะมีการ response มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงให้ในครั้งต่อไป การตัด รพ. ออกจากระบบนั้นซับซ้อนอีกขั้นหนึ่งโดยเป็นข้อจำกัดทางการบริหารจัดการ ที่ต้องเชื่อมโยงกับการกระจาย intern ของกระทรวงสาธารณสุข การขอกำลังของ สสจ. ของ รพ.จังหวัดอีกด้วย การเวียนของ intern นั้นกำหนดว่าเวียนใน รพ.ที่มีครบ major ward ถ้าจัดระบบให้ rotate บาง ward ใน รพ.นี้ stamp ว่า ward นี้ disqualified ให้ไป rotate ที่ รพ.จังหวัดอื่นแทน ในการบริหารจัดการคงจะยุ่งยากทีเดียว

================

ในด้านที่ว่า มอ.ใช้ laptop ราวน์ (ไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไรเหมือนกัน ผมเห็นตอนราวน์ก็ไม่ต้องใช้ laptop ทำอะไรนะครับ) หรือเขียน progress note บน computer นั้น เป็นคนละเรื่องกับ attitude ในการจะเขียนหรือไม่เขียน progress note, summary chart ยิ่งถ้าใครมาลองใช้ระบบ comp มาสรุป chart ดู ในตอนแรกๆจะรู้สึกไม่สู้เขียนลงกระดาษง่ายกว่าเยอะ ผมสนใจในบทสรุปที่ว่า "เด็กบางคนยังปรับตัวไม่ได้" ครับ ว่ามีอาการเป็นอย่างไร ว่าเป็นจากการขาด technology ตาม lab online ไม่ได้แล้วไม่ยอมตามระบบเดิม ไม่ยอมใช้ข้อมูลพวกนี้มาประกอบการรักษา อันนี้คงต้องแก้ไข หรือเป็นเพราะจะหาข้ออ้างอะไรก็ได้มาอธิบายข้อบกพร่องในการดูแลคนไข้ของตนเอง อันนี้ก็จะเป็นอีกเรืองนึงต่างหาก หรือเป็นการ "บ่น" ว่าไม่มีโน่นไม่มีนี่ ถ้าเป็นเรื่องนี้อาจจะไม่ใช้การปรับตัวซะทีเดียว แต่เป็น "ลักษณะ" ของเด็กยุคนี้ที่จะ complain เยอะ แต่บางคนก็บ่นไปแล้วก็ทำไปได้ ผมว่าเด็กส่วนใหญ่เข้าใจนะครับตั้งแต่ก่อนออกไปข้างนอกว่า ระบบคอมพิวเตอร์ online ที่ใน มอ.นี้ไม่ใช่ normal utility ในรพ.ข้างนอก ฉะนั้นจริงๆแล้วไม่น่าจะมีใครแปลกใจ หรือ cultural shock มากมายเมื่อออกไปแล้วไม่เจอคอมพิวเตอร์ ก็อยากจะขอข้อมูลเพิ่มเติมนิดนึงว่าปรับตัวไม่ได้ที่ว่านั้น เป็นอย่างไรครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-25 , Time : 09:07:45 , From IP : 172.29.3.175

ความคิดเห็นที่ : 26


   จุดอ่อนอย่างหนึ่งของ computer record คงเป็น copy/paste ไม่ว่าจะเป็น admission note progress note หรือ clinical detail ในใบ request imaging
ซึ่งประโยชน์ในการลดเวลาการทำงานก็คงมีอยู่
แต่หากละเลยที่จะอ่านหรือทำความเข้าใจกับสิ่งที่ copy มันก็เปล่าประโยชน์
copy มาทั้งยวง พิมพ์ผิดตรงไหน ก็ยังผิดตรงนั้น สาระประโยชน์ ที่แท้จริงคืออะไรไม่รู้ทราบหรือเปล่า
ต่างกับการเขียนด้วยมือตรง อย่างน้อยมันก็ผ่านระบบประสาทของผู้บันทึกบ้าง

ไม่คิดว่าการไม่มี computer ใช้ที่ รพ อื่น ซึ่งอาจทำให้ไม่สะดวกที่จะบันทึกด้วยการเขียน นั้นจึงทำให้ไม่เขียนเอาซะเลย จะเป็นสิ่งที่ถูก และไม่น่าจะเป็นข้ออ้างได้





Posted by : OmniSci , Date : 2005-08-25 , Time : 16:26:02 , From IP : 172.29.1.148

ความคิดเห็นที่ : 27


   ทาง มอ.ก็บอกว่า ที่ มอ. เป็นสถาบันฝึกอบรม resident ต้องให้ resident ได้ฝึกปฏิบัติ ให้นักเรียนไปฝึกเอาข้างนอก ส่วนข้างนอกก็บอกว่า ถ้าไม่มีพื้นฐานมาก่อนก็คงฝีกกันยาก เหมือนกลายเป็นต่างฝ่ายต่างยกมือมาดันกัน แล้วให้นักเรียนของเราอยู่ตรงกลาง ซึ่งหาทางออกยาก



แล้วประเด็นนี้ละครับ


Posted by : หมอเก๋า , Date : 2005-08-25 , Time : 19:05:49 , From IP : 192.168.35.131

ความคิดเห็นที่ : 28


   โจทย์ตัวตั้งไม่ได้อยู่ที่ฝึก resident หรือว่าฝึกนักศึกาแพทย์ครับ อยู่ที่ยังไงๆ "ผู้ป่วย" จะต้องไม่เสียประโยชน์ หรือเกิดความเสี่ยงเกินไป ถ้าตรงนี้ทั้ง resident และนักศึกษาแพทย์เข้าใจก่อน จะได้เข้าสู่วิธีการแก้ไขปัญหาโดยเอตัวตั้งที่ว่านี้เป็นหลัก

สิ่งที่คุณหมอเก๋ายกมานั่นคือการเรียนรู้ด้าน psychomotor หรือจลนพิสัย ที่ต้องเกิดจากการฝึกฝน ทำซ้ำ "หลังจาก" ที่ผู้ฝึกฝนทราบข้อบ่งชี้ ข้อห้าม ภาวะแทรกซ้อน และวิธีการแก้ไขเป็นอย่างดีแล้ว ทำความเข้าใจใน step ต่างๆของหัตถการก่อนจะฝึกทำ ซึ่งที่จริงก็เป็นกระบวนการฝึกอะไรก็ตามที่เป็น psychomotor เพียงแต่เพิ่มความสำคัญตรงที่ว่า subject สุดท้ายที่เราจะทำจริงนี่ (คือผู้ป่วย) สามารถมีการันตีเรื่องความเสี่ยงในระดับที่พึงพอใจ ระดับไหนที่เรียกว่าพึงพอใจ? เอาภาษาชาวบ้านก็คือระดับที่ถ้าพ่อแม่เราป่วยแล้ว ให้ทำก็พอจะวางใจได้ ไม่ใจหายใจคว่ำเกินไปนั่นแหละครับ นั่นแปลว่าหัตถการที่ยิ่งมีความสำคัญ ความซับซ้อน หรือภาวะแทรกซ้อนมัน serious มากๆ มือใหม่ก็อดแน่ๆ เหลือแต่หัตถการที่ simple ไม่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดตอ่ผลการรักษา หรือภาวะแทรกซ้อนไม่รุนแรงที่พอจะให้ "เด็กฝึกหัด" ได้ลองทำ

ขั้นตอนก่อนที่จะได้ "ลองทำ" มันก็ต้องมี pre-requisite pass ก่อน ได้แก่ ถูกทดสอบว่ามีพื้นฐานความรู้ที่จำเป็นแล้วหรือยัง ได้ขวนขวายยทำความเข้าใจใน step ในขั้นตอนที่จำเป็นมาก่อนเป็นการแสดง attitude ที่ดีในการต้องการจะเรียนแล้วหรอืไม่ มีความรู้ในกายวิภาคของตำแหน่งที่จะลงมือกรีดเฉือนคว้านพอหรือเปล่า ถ้า "ความรู้ผ่าน" ขั้นต่อไปของการฝึกก็น่าจะเป็นได้ "ดู" จากวิดีโอสอนแสดง หรือดูของจริง ขั้นต่อไปก็ "ซ้อมทำ" กับหุ่น model จนช่ำชอง ท่าทางใช้ได้ ทะมัดทะแมงมือไม่สั่นพริ้วเป็นใบไม้ไหว แล้วจึง "เข้าช่วยทำ" กับคนคุมที่ qualified ช่วยจนรู้ว่าเขารู้ step จริงๆแล้วค่อย "ทำ under closed supervision" และสุดท้ายก็ "ทำเอง"

ที่ว่ามาก็เป็นแบบ universal กว้างๆ ทีนี้มันก็จะเหมือนกับเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงอื่นๆ ถ้าอันไหนมันเสี่ยงน้อยมาก ก็อาจจะลัดบางขั้นตอนได้ เช่น ตัดไหม dry-dressing off NG tube ก็ไม่ต้องครบทุกขั้นตอนก็พอไหว ส่วนที่ยากขึ้น ซับซ้อนขึ้นก็ต้องมีขั้นตอนต่างๆเพิ่มไปตามลำดับ

เพราะอะไร?

เพราะเพื่อความปลอดภัยของคนไข้ครับ นั่นคือสิ่งที่เราต้องหลีกเลี่ยงการ compromise ให้น้อยที่สุด และสิ่งที่ผมว่าข้างบนนั้น apply ทั้งระดับ resident และนักศึกษาแพทย์ และผมเห็นด้วยว่าสำหรับนักศึกษาแพทย์นั้น จะต้อง acquire "พื้นฐาน" จากข้างในนี้แหละครับ ก่อนที่จะออกไปข้างนอก เพราะหุ่น model และคนคุมอะไรต่อมิอะไรมันน้อยกว่า นั่นคือเหตุผลที่ resident และแพทย์ใช้ทุนของเราจึงได้มีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยอาจารย์แพทย์สอน ช่วยอาจารย์แพทย์คุมน้องๆ นศพ.ด้วย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-25 , Time : 19:43:44 , From IP : adsl-203-156-39-56.j

ความคิดเห็นที่ : 29


   เฮ้อ..เหนื่อย ขี้เกียจอ่าน ย้าว...ยาว
Discuss กันสั้นๆ นิดนึงได้ป่ะ แบบว่าสมาธิสั้น..


Posted by : ฉันเอง , Date : 2005-08-25 , Time : 22:22:18 , From IP : 172.29.1.149

ความคิดเห็นที่ : 30


    You may judge others only according to your knowledge of yourself.
Tell me now, who among us is guilty and who is unguilty?
Kalil Gibran
เธออาจพิพากษาผู้อื่นก็แต่โดยอาศัยความรู้เรื่องของตนเองเท่านั้น
บัดนี้ได้โปรดบอกฉันซิว่า“ในหมู่เรานั้น ใครมีมลทิน และ ใครไม่มี”
ระวี ภาวิไล

อ่านเรื่องเป็นหลักเป็นการของอาจารย์phoenixแล้วก็ลองอ่านเรื่องบ้านๆ ของเด็กๆดูหน่อยนะคะ

หนูเชื่อเช่นเดียวกับอาจารย์ Phoenix ค่ะ ในส่วนที่ว่า ทุกคนมี “ที่มา” ของข้อสรุปของตนเอง
เนื่องจาก เรามี การรับรู้ ตีความ แล้วจึงสื่อออกมา
เรื่องมันก็เลยจะเกิดตรงที่ว่า บางทีเราก็.....“ตีความโดยความรู้เรื่องของตนเองเท่านั้น” บางทีเราก็ลืมไปว่า อีกคนเค้าก็ “ตีความโดยอาศัยความรู้ของเค้า” เหมือนกัน
ก็เลยดูเป็นเหตุเป็นผลดีกับการเห็นด้วยว่า พวกเราควรจะ พยายาม – ฟัง อย่างตั้งใจเพื่อรับรู้เรื่องของผู้อื่น บ้าง

อีกอย่างหนูสังเกตเห็นว่า “เรา” (ตัวเราเอง? รวมเพื่อน,พี่,น้อง ของเราด้วย? หรือใครเอ่ย?) ใช้เวลาน้อยไปหน่อยในการที่จะบอกว่า “ไม่ใช่ความผิดของฉันซะหน่อย ..... เป็นเพราะ ....นู่น....นี่....นั้น....โน้น ... ต่างหาก”
เช่น เราเรียนไม่รู้เรื่องก็เป็นเพราะ...ก็ทำไมอาจารย์ไม่สอนล่ะ
หัตถการทำไม่เป็น...ก็มันไม่มี case ให้หัดนี่นา จะไปทำเป็นที่ไหน...
Etc.
ซึ่งเห็นว่าออกจะเป็น convenient excuse ไปหน่อยในการปฏิเสธ “ความรับผิดชอบ” ค่ะ
เรา...ในฐานะที่ อีก 2-3 ปีจะกลายเป็น อภิสิทธิชน ผู้ถูกยกให้สูงไว้ด้วย “ความรับผิดชอบ” ควรจะใช้เวลามากกว่านี้หน่อยและให้เหตุผลที่ฟังดูเข้าทีกว่านี้หน่อยในการปัดความรับผิดชอบออกให้พ้นตัวเรา ไปเข้า
ครูบาอาจารย์ของเรา น่ะค่ะ เช่น นะคะ เช่น.....
หัตถการทำไม่เป็น .... ก็ case มีน้อย แต่เพื่อนเราที่ต้องหัดต้องทำด้วยกันมันก็หลายคน มันก็ต้องแบ่งกัน ของแบบนี้มันเป็น skill ต้องทำบ่อยๆ ถึงจะคล่องมือ เคยทำมาบ้างแต่ไม่เคยมือด้วยเหตุผลนี้พอดีขึ้นบ้างมั้ยคะ

แล้วก็ลองแก้ปัญหาด้วยตัวเองดูบ้างเช่น... ไม่มีcase ให้ทำ ก็อาศัยดูแล้วจำที่พี่ทำ อาจารย์สอน ยังไม่มีโอกาสทำก็ดูๆจำๆไปก่อน ถึงคราวทำเองจะได้มีความคุ้นบ้าง จะดีมั้ยคะ?

ออกไปรพช. พี่ช่วยฝึกช่วยเกลาฝีไม้ลายมือหน่อยกว่าจะจบพ้นสภาพนศพ. หรือ หมอฝึกหัด ก็น่าจะเข้าท่าเข้าทางบ้างนะคะ

หนูจะให้ความเห็นคุณหมอเก๋าเรื่อง
ถ้าต่างฝ่ายต่างยกมือมาดันกันแล้วให้นักเรียนอยู่ตรงกลาง ?
คนซวยคือคนไข้ค่ะ เพราะไม่รู้แน่ว่า เป็นความรับผิดชอบของใคร

ก็เลยไปออกความเห็นอีกหน่อยว่า ถ้างั้น น้องไม่รู้ก็ดูและฟังพี่ หรือรู้แล้ว ก็ยังควรจะต้องดูและฟัง ?!?
พี่ก็อย่าด่วนรำคาญน้อง โทษไปว่าครูบาอาจารย์ไม่สอนเลยนะคะ เห็นน้องไม่ถูกไม่ควร ไม่ถูกหูถูกตาก็กรุณาสั่งสอนด้วยประสบการณ์แลกกันเถอะค่ะ เห็นแก่ประโยชน์จะเกิดกับคนไข้ คนทุกข์ยากเค้ามาพึ่งหมอ หมอมัวแต่เกี่ยงก่นกันเองเดี๋ยวเค้าไม่รู้ไปพึ่งใคร ไปพึ่งคนนอกมายุแหย่ เฮ้อ..... เดี๋ยวก็จะต้องโยนจากเรื่อง clinical skill ไป communication skill อีก

ใครเห็นเหมือนไม่เหมือนกันบ้าง อย่างไร ก็เชิญ discuss ต่อนะคะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-08-25 , Time : 22:25:54 , From IP : 172.29.4.157

ความคิดเห็นที่ : 31


   ลองมาอ่านใหม่ ปัดยังไงก็ไม่ออกจากตัวเอง และไม่เข้าอาจารย์แฮะ

จากหนังสือ...เม่เล่าให้ฟัง
ตอนท้ายๆ สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสฯ เขียนไว้เรื่องแม่ท่านเล่าว่า

"จงตำหนิความไม่ดีของตนเอง ดีกว่าไปตำหนิความไม่ดีของคนอื่น"

อ่านเจอแล้วก็เลยจำไว้สอนตัวเอง...น่ะค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-08-25 , Time : 23:02:33 , From IP : 172.29.4.157

ความคิดเห็นที่ : 32


   ขอตอบคุณหมอเก๋าเพิ่มเติมอีกนิด เพราะรู้สึกว่าข้างบนที่ผมเขียนไปยังไม่ได้ address สิ่งที่คุณหมอเก๋าถามมาโดยตรง

ประเด็นแรก อยากจะให้มีการ clear position หรือแหล่งที่มาของ ทาง มอ.ก็บอกว่า ที่ มอ. เป็นสถาบันฝึกอบรม resident ต้องให้ resident ได้ฝึกปฏิบัติ ให้นักเรียนไปฝึกเอาข้างนอก หน่อยครับ ผมคิดว่าถ้าจะให้เปรียบเทียบ "ระบบ" ที่คณะฯจัดสรร เสริม และสนับสนุนแล้ว undergraduate training หรือ พบ. เป็น primary target ของคณะแพทย์ มอ. เป็นหน้าที่ที่รัฐบาลและเป็น "เหตุผล" ที่คณะแพทย์ exists อยู่แต่แรกเริ่ม
อีกประการคือหัตถการต่างๆนั้น มีแนวโน้มที่หัตถการที่แพทย์ทั่วไปควรทำได้ และที่แพทย์เฉพาะทางควรจะฝึกหัดทำนั้น มันจะต่างกันเป็นคนละ set มากขึ้นเรื่อยๆ "แนวโน้ม" น่าจะเป็นแพทย์สองกลุ่มนี้จะ "แย่ง" case ที่ตนเองจำเป็นต้องฝึกน้อยลง

ประเด็นที่สอง ส่วนข้างนอกก็บอกว่า ถ้าไม่มีพื้นฐานมาก่อนก็คงฝีกกันยาก ตรงนี้ผมว่าเป็น fair comment ครับ ใครก็ตามที่ยังไม่มีพื้นฐานอะไรมาเลยนั้น มาฝึกจะยากแน่นอน ฉะนั้นผมเห็นด้วยในประเด็นที่ว่า extern หรือ นศพ. ควรจะได้ "พื้นฐาน" ต่างๆติดตัวไปให้มากที่สุด เพราะระบบเอื้อในการฝึกหัดข้างนอกนั้นน้อยกว่าข้างในนี้แน่ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ สื่อการสอน หุ่นจำลอง ฯลฯ แต่เมื่อมันมีจับพลัดจับผลูหลุดอออกไปบ้าง รอดสายตาไปที่ที่บางคนไม่มีพื้นฐ่านอะไรเลย เราก็คงจะต้องพึ่งพี่ๆแพทย์พี่เลี้ยงข้างนอก ยอมเสียเวลาตอนแรกๆสักหน่อยช่วยสอนน้องๆ ประเทศเราก็ใช้ระบบพี่สอนน้องนี่แหละครับมาเป็นร้อยๆปีแล้ว นึกเสียว่าเพื่อคนไข้ในอนาคตของน้องๆเหล่านี้ ส่วนทางคณะฯจะต้องพยายามหาวิธีกรอง
detect และจัดการเรือ่ง basic skill พวกนี้ให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น



Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-26 , Time : 03:14:32 , From IP : adsl-203-156-39-56.j

ความคิดเห็นที่ : 33


   พระพุธเจ้าตรัสว่า..การสอนคนมี 3 วิธี
1. สอนโดยยกย่อง ชื่นชม ยินดี
2. สอนโดยตำหนิติเตียน เตือน
และ 3. สอนโดยการทำตนเป็นแบบอย่าง


Posted by : ส บางมด , Date : 2005-08-26 , Time : 12:38:20 , From IP : 172.29.1.243

ความคิดเห็นที่ : 34


   แล้วจะทำอะไรกับ extern รุ่นนี้ล่ะ


Posted by : extern , Date : 2005-08-26 , Time : 23:22:25 , From IP : ppp-210.86.223.225.r

ความคิดเห็นที่ : 35


   ขยายความคำถามสักนิดสิครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-27 , Time : 00:08:43 , From IP : adsl-203-156-36-29.j

ความคิดเห็นที่ : 36


   ...

Posted by : .. , Date : 2005-08-28 , Time : 12:39:04 , From IP : 172.29.4.88

ความคิดเห็นที่ : 37


    แพทยสภาสรุปรายละเอียดการดำเนินโครงการเพิ่มพูนทักษะ โดยได้สรุปรายชื่อแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มพูนทักษะของโรงพยาบาลในหน่วยงานทุกสังกัด พ.ศ. 2547 ทั่วประเทศ ในส่วนของแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเข้าร่วมโครงการเพิ่มพูนทักษะ ประจำปีการศึกษา 2547 ผลสรุปผ่านการประเมินผลหมดทุกคน
คณะแพทยศาสตร์ มอ. ใคร่ขอแสดงความยินดีกับแพทย์ทุกท่าน


Posted by : Postgrad , Date : 2005-08-29 , Time : 15:00:47 , From IP : 172.29.2.217

ความคิดเห็นที่ : 38


   เข้าใจแล้วนะครับ คุณหมอแก่

Posted by : ขอบคุณครับ , Date : 2005-08-31 , Time : 01:41:19 , From IP : 172.29.7.98

ความคิดเห็นที่ : 39


   ขอแจ้งกำหนดการเดินทางไปตรวจเยี่ยม Intern และสถาบันฝึกปฏิบัติงานแพทย์เพิ่มพูนทักษะประจำปีการศึกษา 2548 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เครือข่ายที่ 6 มีดังนี้คือ
สายที่ 1 วันที่ 26-27 ตค. 48 ไปรพ.สตูล, รพ.หาดใหญ่, รพ.พัทลุง,รพ.สงขลา
สายที่ 2 วันที่ 1-2 พย. 48 ไปรพ.มหาราชนครศรีธรรมราช, รพ.ค่ายวชิราวุธ.
รพ.สุราษฏร์ธานี, รพ.ทุ่งสง
สายที่ 3 วันที่ 9-11 พย.48 ไปรพ.ตรัง, รพ.กระบี่,รพ.พังงา,รพ.ตะกั่วป่า,
รพ.วชิระภูเก็ต
สายที่ 4 วันที่ 15-16 พย.48 ไป รพ.ปัตตานี,รพ.นราธิวาส,รพ.สุไหงดก-ลก
สายที่ 5 วันที่ 22-23 พย.48 ไป รพ.ยะลา,รพเบตง


Posted by : Postgrad , Date : 2005-09-02 , Time : 09:35:18 , From IP : 172.29.2.188

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.01 seconds. <<<<<