ความคิดเห็นทั้งหมด : 37

ทำอย่างไรให้นักศึกษาแพทย์และแพทย์ที่จบมอ. รัก มอ.


    ผมขอถามความเห็นครับว่าเราจะทำอย่างไรให้นักศึกษาแพทย์และแพทย์ที่จบมอ. รักสถาบันแห่งนี้ครับ ขออนุญาตใช้กติกาของคุณ Phoenix ครับ ขอเป็นความคิดที่สร้างสรรค์ ไม่มีการใช้คำหยาบนะครับ

Posted by : free bird , Date : 2003-05-30 , Time : 11:35:43 , From IP : 172.29.1.172

ความคิดเห็นที่ : 1


   ตามแนวทาง pbl ปัญหาของคุณ free bird คือ นศพ และ แพทย์ไม่รัก มอ.หรือรักไม่มากเท่ากับที่คุณคาดหวัง???
สมมติฐานที่คิดว่าน่าจะใช่
1. นศพ ที่เข้ามาบางส่วนพลาดจากการสอบเข้าที่อื่น เช่น จุฬา ศิริราช หรือบางคนอยู่ไกลบ้าน มช หรือ มข ซึ่งอาจมีความคิดลึกๆ ว่า คะแนนเอนทรานซ์หรือความนิยมเป็นตัววัดคุณภาพสถาบัน
2. คิดว่า มอ. ยังคงแบ่งเป็นคณะๆ และมีความกลมเกลียวอยู่เฉพาะคณะของตน สังเกตได้จากตอนกีฬา 9 (10 คณะ) เกิดเรื่องวุ่นวายมากมาย และถ้าหากทำการสำรวจจะพบว่า เกือบทุกคณะร้องเพลงบูมมหาลัยไม่เหมือนกัน
3. ระบบ sotus อาจยังไม่แข็งแกร่ง
4. หรือเพราะ มอ. ไม่ได้ตั้งมายาวนานเป็นร้อยปี
ถ้าถามความเห็นส่วนตัว เรื่องนี้เป็นนานาจิตตัง แล้วแต่คนมากกว่า
ฝากคนที่อ่านไป sdl ด้วยละกัน (ฮา)


Posted by : ultra , Date : 2003-05-30 , Time : 11:48:40 , From IP : 172.29.2.144

ความคิดเห็นที่ : 2


    เรียนถามคุณ ultra ครับว่าถ้าคุณต้องการแก้ไขปัญหาตามที่คุณได้เขียนมาแล้วคุณจะมีแนวทางหรือวิธีการอย่างไรบ้างครับ

Posted by : free bird , Date : 2003-05-30 , Time : 11:51:45 , From IP : 172.29.1.172

ความคิดเห็นที่ : 3


   ผมยังมีความเชื่อว่า ลึกๆ แล้วทุกคนย่อมรักบ้านเกิดของตน ถ้าเราทำให้ มอ เป็นบ้านหลังที่สองของเรา เป็นมหาลัยของภาคใต้ที่ผลิตปัญญาชนออกไปพัฒนาบ้านเกิดแล้ว ก็น่าจะดี (อุดมคติสุดๆ) อีกประเด็นหนึ่งขอยกหนังตัวอย่าง เช่น ทำไมชาวจุฬาทุกคนจึงมีเลือดสีชมพู เพราะ พี่น้องรักกัน ไม่แบ่งแยกคณะ สังเกตได้จากตอนสมัครงาน หรือเพราะเอนเข้ายาก เป็นมหาลัยเก่าแก่น่าภูมิใจ มีชื่อเสียง ทำไมชาวศิริราชทุกคนจึงภูมิใจในศิริราช เพราะเป็นโรงเรียนแพทย์ที่ใหญ่ที่สุด เอนเข้ายาก หรือเพราะ "เมื่อก้าวขึ้นท่า เอ็งกับข้าพี่น้องกัน" หรือเพราะ.....
ทุกๆครั้งที่ผมดูรายการพบหมอศิริราช ผมอยากเห็นรายการพบหมอ มอ ทุกครั้งที่อ่านตำราของศิริราช จุฬา ผมมักนึกว่าทำไม่เราไม่อ่านของ มอ ทุกครั้งที่เห็น นพ.สุรพงษ์ หมอพรทิพย์ หรือผู้ใหญ่ในกระทรวง ผมอยากให้คนเหล่านั้นเป็นหมอ มอ.
ปล. ใจจริงผมรัก มอและอยากให้ทุกคนรัก ส่วนความคิดทั้งหมด หากคุณจะด่าว่า ขอให้โทษจิตใต้สำนึกของผมละกัน


Posted by : ีultra , Date : 2003-05-30 , Time : 12:18:39 , From IP : 172.29.2.144

ความคิดเห็นที่ : 4


   เรื่องการทำอย่างไรนี้เป็นสิ่งที่ผมคิดไม่ออก ถึงแม้ว่าผมอยากจะให้ทุกคนรักมอ.และสถาบันแห่งนี้ แต่เท่าที่ผมเคยรับรู้และสัมผ้สแพทย์ที่จบมอ.ก็รักมอ.นะครับ และก็ภูมิใจด้วยครับ แต่ผมอาจจะเจอแพทย์ที่จบจากมอ.น้อยไปจนไม่สามารถเอามาเป็นตัวแทนของคนที่จบทั้งหมดก็ได้

Posted by : ... , Date : 2003-05-30 , Time : 14:40:14 , From IP : 172.29.3.161

ความคิดเห็นที่ : 5


   ถึงจะไม่ใช่หมอ แต่ก็เคยเป็นลูกพระบิดาคนหนึ่งเหมือนกัน
อยากบอกว่ารักมอ. รักและภูมิใจในความเป็นลูกพระบิดา
ไม่มีที่ไหนที่จะสุขใจเหมือนบ้านเราหรอกค่ะ เมื่อก่อนเคยอยากเรียนที่ศิริราช แล้ววันหนึ่งก็ได้เข้ามาเรียนต่อจนได้ อะไรๆ ไม่ได้เป็นอย่างที่วาดไว้ซะทุกเรื่องหรอกค่ะขึ้นกับว่า อะไรล่ะคือความพอ ขอให้ทำงานหรือหน้าที่อะไรก็ตามที่ได้รับมอบหมายให้เต็มที่และมีความสุขกับงานที่ทำนะคะ


Posted by : เจี๊ยบ , E-mail : (patthamawadee_j@hotmail.com) ,
Date : 2003-05-30 , Time : 17:05:02 , From IP : 202.28.179.1


ความคิดเห็นที่ : 6


   "ทำไมชาวจุฬาทุกคนจึงมีเลือดสีชมพู เพราะ พี่น้องรักกัน ไม่แบ่งแยกคณะ" ... ประโยคนี้ไม่จริงเสมอไปหรอก มีความต่างเปรียบเทียบกันอยู่ในเชิง คณะที่คณะต่ำกว่าถูกเบียดจากคณะอื่นที่คะแนนสูงกว่าก็มีพฤติกรรมให้เห็น.. และก็คงจะมีที่สถาบันอื่นๆด้วยเช่นกัน แต่ขึ้นกับความคิดส่วนบุคคลมากกว่า(พวกความคิดแตบๆ) ขณะเดียวกันเมื่อไปอยู่ในสถานที่อื่นไม่ว่ามาจากทีใดความรู้สึกผูกพันธ์อันมีสถาบันเป็นตัวเชื่อมโยงย่อมก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกพ้องและเกื้อกูลกันตามมา
... การอ่านหนังสือ เลือกหนังสือที่อ่าน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าผลิตจากสถาบัน ขึ้นอยู่บเนื้อหาภายในเล่มมากกว่าและผู้อ่านอ่านแล้วเข้าใจใด้มาก+ง่ายแค่ไหน เพียงแต่ว่ามอ.ผลิตหนังสือค่อนข้างน้อย อาจารย์ไม่มีเวลามาเขียนหนังสือ และอาจารย์ส่วนใหญ่ก็แนะนำสนับสนุนให้อ่าย text กันมากกว่า ห้องสมุดก็ลงทุนซื้อ text ให้นศพ.อ่านกันตั้งเยอะ เป็นการบังคับอ่านภายในตัว หนังสือภาษาไทยก็ไม่ค่อย update เท่าไหร่ และอ่านหนังสือที่ไม่ได้ผลิตมาจากสถาบันที่ตัวเองเรียนอยู่ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายตรงไหน ไม่ใช่หรือ?


Posted by : V , Date : 2003-05-30 , Time : 18:22:00 , From IP : 172.29.2.172

ความคิดเห็นที่ : 7


   มีข้อมูลบางประการที่เคยมีผู้ debate ไว้เรื่องนี้

Dedate เรื่อง "ความรักสถาบันสอนได้หรือไม่"



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-30 , Time : 19:30:12 , From IP : 172.29.3.212

ความคิดเห็นที่ : 8


   ความรักนั้นต้องมี "เหตุผล" ให้รักไหม
ถ้าคำตอบคือใช่
ผมว่าอันหนึ่งของเหตุผลที่จะรักคือความภาคภูมิใจในสถาบัน

เห็นว่ามุมมองในส่วนของ"ภายใน"สถาบันได้พูดไว้ในกระทู้ที่ คุณ Phoenix ได้ link ไว้ก็มีไปแล้ว
ผมขอมองอีกมุมนะครับ แต่ขออนุญาตระบุสถาบันเพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ และขอให้อ่านดีๆ **ผมไม่ได้ดูถูกใครทั้งสิ้นครับ ***

"มุมมองจากมือที่สาม"
สมมตินะครับ สมมติ (แต่มองในแง่ความจริงในความรู้สึกของผม) ลองตอบคำถามนี้
1. คุณ นศพ. มอ. กลับบ้านที่ต่างจังหวัด ไปเจอกับลูกของคนข้างบ้าน ที่เป็น นสพ. จุฬา รุ่นราวคราวเดียวกัน กลับบ้านเหมือนกัน มุมมองจาก third party (คนข้างบ้านอีกหลังหนึ่ง) เขาจะมองว่าลูกบ้านไหนเก่งกว่ากัน ทั้งที่ยังไม่รู้จักใครเลย
2. คุณเป็นชาวบ้านมาจากภาคอื่นไม่สบายไปหาหมอ ไปเจอหมอที่มาจาก มอ. กับหมอ ที่มาจากจุฬา คุณจะตรวจกับใคร (โดยไม่รู้ความสามารถที่แท้จริงของหมอแต่ละท่าน)
3. อะไรที่ทำให้ "credit" ของอะไรก็ตามที่มาจากสถาบันหนึ่งดีกว่าอีกสถาบันหนึ่ง

ผมไม่ตอบครับ
คนละประเด็นกับคุณ V นะครับ ทั้งหมดเป็น "ความรู้สึก" ที่เกืดขึ้นก่อนที่จะรู้ความจริงว่า
สถาบันไม่ใช่เป็นตัวบอกความสามารถของนักศึกษาใครเก่งกว่าใคร หรือ ใครดีกว่าใคร

พชท จาก มอ. หลายครั้งเลยที่เก่งกว่า แพทย์ประจำบ้านในส่วนกลาง
นศพ. จาก มอ. หลายครั้งเลยที่เวลามา elective แล้วรู้เลยว่า มี "ประสิทธิภาพ"มากกว่า

เพียงแต่ความรู้สึก "แว๊บ" แรกของ 3rd party ที่มีต่อสถาบันนั้นๆ คงเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยต่อความภาคภูมิใจในสถาบันของตัว โยงถึงความรักนั้นด้วย ทั้งๆที่สิ่งที่สำคัญคือ ความรู้จักตัวเองว่าจริงๆแล้วเรามีความสามารถแค่ไหนต่างหาก

แล้วอะไรมีผลทำให้เป็นเช่นนั้น
ใช่เรื่อง Brand หรือเปล่า อะไรที่เป็นตัวทำให้ Brand นั้นๆ สร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคคลทั่วไปได้ ใช่การ "โฆษณา" หรือเปล่า ทั้งทางตรง (สร้างผลงานทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ให้เป็นที่แพร่หลาย แล้วลงตีพิมพ์หรือ สื่อออกไปว่ามันเป็นผลงานของเรา ยกตัวอย่าง เครื่องช่วยการกลืนของ อ.วิทูร ENT ที่ได้รับรางวัลจาก NECTEC, หรือตีพิมพ์ในวารสารที่เป็น international ) หรือทางอ้อมโดยผลิตและส่งเสริมบุคคลที่มีคุณภาพให้ได้พัฒนาตัวเองให้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไปให้ถึงที่สุด แล้ว Brand ของเราก็จะ "ติดตลาด"

อะไรทำให้คิดเช่นนี้

เคยสังเกตไหมว่า สถาบันที่คุณทั้งหลายยกขึ้นมาทำไมเขา "รัก" สถาบันของเขามาก (กว่าเรา?) แล้วสังเกตไหมว่า หน้าที่การงานของคนใหญ่คนโต หรือผู้มีอำนาจในด้านต่างๆในประเทศไทยท่านมาจากสถาบันใด (ส่วนหนึ่งคงต้องบอกว่ามาจากความสามารถจริงๆ แต่อีกส่วนคงมาจากระบบ "รักสถาบัน" ที่ทำให้ตำแหน่งต่างๆวนเวียนอยู่ใน "พวก" เดียวกัน-นี่คือตัวอย่างของประโยชน์หนึ่งของการรักสถาบัน) แล้วการโฆษณาว่าท่านเหล่านั้นมาจากสถาบันของตนก็ยิ่งทำให้มีความภาคภูมืใจ เช่นบอลประเพณี การที่นักการเมือง นักธุรกิจ ดารา นักร้อง ใส่เสื้อสถาบันของตน อันนี้ก็เข้าข่าย "โฆษณา" แล้วคิดว่านี่พอจะทำให้ "รัก"สถาบันได้ไหม

แล้วเรายังขาดอะไร??


Posted by : OmniSci , Date : 2003-05-31 , Time : 01:35:46 , From IP : proxy3.chula.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 9


   แย้งได้
เดียวมีประเด็นจะพูดต่อ


Posted by : OmniSci , Date : 2003-05-31 , Time : 01:42:27 , From IP : proxy3.chula.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 10


   ถาม ว่า

1 ภูมิใจใน มอ มั้ย ?
ภูมิใจมาก
2 คิดว่า จุฟา ศิริราช ดีกว่าเรามั้ย ?
ชื่นชมที่อื่น เท่า ๆ กับ ชื่นชมตัวเอง
3 รู้สึกอย่างไร ถ้า third party ข้างบ้านดูถูก มอ ?
เป็นเรื่องของ third party แต่ถ้าพี่แก มีปัญหามาก ก็ย้ายบ้านไปซะ
4 เคยมีผู้หวังดี ช่วยเตือนความจํา " มอ หน่ะ มันยังไหม่มาก ศิริราชเรามีมา เป็นร้อยยยยย ปี " ตอบเขาไปว่างัย ?
new kids on the block จ๊ะ....ไม่เก๋า... แต่สด
5 เจออาจารย์ มอ ข้างนอก อยากจะ .....
ไหว้งามงาม และชวนไปกินข้าว ( แต่อาจารย์เลี้ยงนะ ฮิฮิ )
5 เจอรุ่นพี่ รุ่นน้อง มอ แล้วเป็นงัย ?
โผเข้าหากัน เหมือนวันพบญาติ....นุ้กหนุก

แต่
......รัก มอ มั้ย .....กลับไป มอ แล้วรู้สึกเหมือนได้กลับไปนั่งในบ้านเก่าอันอบอุ่นมั้ย ? (ตอบแบบ ห้ามตอ นะ )

ไม่ และ ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน

อย่าว่ากันเลยนะ ความรักมันเป็น all or none rule ถ้าไม่อบอุ่น มันก็ไม่อบอุ่น

ลองมาคิดเล่น ๆ คนจะรักอะไรซักอย่าง เชื่อว่า ความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองในขณะที่อยู่ใกล้ สิ่งนั้น เป็น minimal requirement จึงจะเกิดความรักได้

หรือจะเป็นไปได้ว่า ขณะที่อยู่ มอ factor พวกนี้ไม่ได้มาบรรจบกัน

ไม่แน่ใจ นะ





Posted by : ชฎายุ , Date : 2003-05-31 , Time : 03:31:23 , From IP : TruPPPv92-227-112.in

ความคิดเห็นที่ : 11


   ไหนลองขยายความคำว่า
"new kids on the block จ๊ะ....ไม่เก๋า... แต่สด"
ให้ฟังหน่อยสิครับ
คงไม่ได้ตอบเขาไปอย่างนี้จริงๆใช่ไหมครับ

ผมเดาว่าความรู้สึกที่ถูก "ดูถูก" จากประโยคที่ผมเขียนไว้ข้างบนเกิดขึ้นในตัวคุณ ชฎายุ ซึ่งผมก็คาดไว้อยู่แล้วครับว่ามีทางเป็นไปได้สูงที่จะมีคนรู้สึกเช่นนี้
อย่างไรเสียผมก็ยังคิดว่า "ไม่มีใครดูถูกเราได้นอกจากตัวเราเอง" ครับ ถึงแม้คุณ ชฎายุจะพูดว่า ตัวเองภูมิใจ ในสถาบันตัวเองก็ตาม
แต่ความรู้สึกว่า"ถูกดูถูก" นี้อาจเกืดขึ้น กับ "พวกเรา" ได้ใช่ไม่ครับ เพราะอะไร
น่าสนใจใช่ไหมครับ

(การที่มีการตั้งกระทู้นี้แสดงว่า มีคนที่มีความรู้สึกว่า "พวกเรา" มีความรักในสถาบันน้อยกว่าสถาบันอื่นๆ ใช่ไหมครับ)


Posted by : OmniSci , Date : 2003-05-31 , Time : 04:14:23 , From IP : proxy3.chula.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 12


   ขอมองต่างมุมนะคะ ไม่มีใครผิดค่ะ
1.ถ้าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ทำไมบุคคลไม่รักสถาบัน
แต่อาจอยู่ที่ สถาบันทำให้บุคคลรัก
ได้สำเร็จหรือเปล่า(เสริมกับของคุณชฎายุ)
เพราะคิดว่าความรักเกิดจากความสุข
เช่นเรารักสถานที่เพราะสะอาดสวยงามน่าอยู่
เรารักคณะเพราะอาจารย์น่าเคารพรักจริงใจโอบอ้อมอารี
เรารักเพื่อนเพราะเพื่อนรักเราในแบบที่เราเป็นไม่ใช่แบบที่สังคม
หรือกรอบภายนอกบังคับให้เราเป็น


2.เป็นวัฒนธรรมของภาคหรือเปล่า
ไม่ได้ว่าคนใต้ไม่ดีนะคะ
แต่อาจจะอยู่สงบๆเรียบง่าย
ไม่สุงสิงสมาคมกัน
เลยไม่ได้มาเปิดเผยกันให้คนภายนอกเห็น
เพราะเท่าที่เห็นเวลาได้รางวัลหรืออะไรดีๆมา
ก็ไม่มีใครค่อยรู้ ไม่มีการเชิดชู
หรือ ประโคมข่าว กันเหมือนที่อื่น


3.ที่แน่ๆก็คือเราไม่ควรเอาตัวเองไปเทียบกับจุฬาหรือศิริราช
ว่าเค้าดีหรือแย่ยังไง(เห็นด้วยกับOmniSci)
เพราะเค้าก็ไม่เคยมาเทียบหรือว่าอะไรเรา
แพทย์เหมือนกันก็ควรรักสามัคคีกันไว้
ตรงนี้ไม่ค่อยสบายใจเพราะมอ.เองก็มีอะไรดีๆในตัวเยอะ
แต่ชอบเอาไปเทียบกับที่อื่นทำให้ปลูกฝัง
ความรู้สึกต่อต้านคนจากที่อื่นขึ้นในใจ

แต่ถ้ากับความภูมิใจตรงนี้น่าจะแยกออกจากความรัก
เข้าใจว่าเจ้าของกระทู้เน้นตรงความภูมิใจด้วยหรือเปล่า?
คงเป็นเรื่องของpromotion เช่นโฆษนา
หรือรายการทีวี แบบที่ให้คนภายนอกเค้ารู้จักเรา
แถมต้องสม่ำเสมอด้วยนะคะ
และ international ซึ่ง
ต้องเป็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหารว่าจะส่งเสริม
บุคลากร งานวิจัย และผลักดัน
ให้ต่างประเทศยอมรับได้อย่างไรด้วยคะ
ถ้าทำอยู่คนเดียว
แต่สถาบันไม่ช่วย
ก็ไม่สำเร็จ

อย่างน้อยๆเอาเฉพาะในคณะแพทย์
คนทำดีควรจะส่งเสริมมากๆ
แต่ละภาคไม่ควรขัดขากันนะคะ






Posted by : จัง , Date : 2003-05-31 , Time : 14:16:32 , From IP : 172.29.3.201

ความคิดเห็นที่ : 13


   ตอบไป อย่างนั้น จริง ๆ ครับคุณ OmniSci ...

ความหมายเหรอครับ แหมคุณ OmniSci นี่ไม่วัยสะรุ่นเอาซะเลย

ผมพูดในสิ่งที่คิด....ความภูมิใจเป็นสิ่งงดงาม สถาบันของเพื่อนผม เป็นที่พึ่งคนจน มาเป็นร้อยปี อย่าว่าแต่เขาเลย ผมเองยังพลอยภูมิใจไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน เขาก็รับรู้ถึง ความเป็นคลื่นลูกใหม่ ที่มีพลังน่าจับตามอง นั้นคือ สงขลานครินทร์

เกร็ดเล็กน้อย....เขาพูดว่า เรายังใหม่ ผมไม่คิดว่าเป็นการดูแคลน แม้แต่น้อย เราต่างเพียงแต่ present จุดแข็งของตัวเอง แล้วก็ สนุกไปตามประสาเพื่อนฝูง

Eleanor Rooselvelt พูดไว้ถูกใจผม...ไม่มีใครดูถูกเราได้ ถ้าเราไม่ยินยอม sign consent ให้เขาดูถูก

ข้อสังเกตุ ส่วนตัว

1. จบมาตั้งนาน ยังไม่เคยเห็น เพื่อน ๆ สถาบันอื่นดูถูกดูแคลนพวกเราเลยนะ
2. เพื่อน ๆ มอ ของผมก็เห็น มั่นอกมั่นใจ กันจะตาย

แต่เอ... ดูเหมือนคุณ OmniSci จะเชื่อว่าผมไม่ภูมิใจในความเป็น มอ อันนี้ว่ากันไม่ได้ ไม่อยากเชื่อก็ไม่ต้องเชื่อ

ประเด็นที่อยากจะบอกคือ ที่ว่าเขาไม่รักสถาบัน คงไม่ใช่ เพราะยังใหม่ ไม่ใช่ pride deficiency syndrome น่าจะเป็นอย่างอื่น ลองมาช่วยกันหา alternative diagnosis กันดีกว่า


Posted by : ชฎายุ , Date : 2003-05-31 , Time : 15:22:45 , From IP : TruPPPv92-227-207.in

ความคิดเห็นที่ : 14


   ยินดีที่ได้ยินคำตอบจากคุณ ชฏายุเช่นนั้น (ผมนึกว่าผู้หญิงซะอีก)

ผมมองกว้างๆ ครับ จากคนที่อยู่ "ข้างนอก"

และจากการ "สังเกต" ความรักสถาบัน ของคนในสถาบัน 2 แห่งที่ผมอยู่ในเวลาไล่เลี่ยกัน

เลยได้ข้อสรุปที่พอ "จับต้องได้" ตามนั้นครับ

ที่สุดแล้วผมเพียงเสนอแนะว่า สถาบันควรส่งเสริม คนในสถาบัน ที่มีศักยภาพ ได้เอาศักยภาพมาใช้ให้ได้เต็มที่ และ (ที่ผมคิดว่าสำคัญ) คือการแสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้ เก่งอย่างไรให้ "พวกเรา" ได้รับรู้

ไม่รู้ว่า มอ "เลี้ยง" และ "ดูแล" คนในสถาบันที่มีความสามารถได้ดีแค่ไหน

ประเด็นของผมอยู่ตรงนี้

อาจารย์หรือผู้บริหารที่มาจากที่อื่น (และที่นี่) มีความรักในสถาบันนี้แค่ไหน อยากพัฒนาให้ทัดเทียมที่อื่นมากแค่ไหน

เพราะผมเห็นว่า มอ มีคนเก่งอยู่จริง แต่ไม่ "รั้ง" เมื่อเขาจะจากไป


Posted by : OmniSci , Date : 2003-05-31 , Time : 16:14:19 , From IP : proxy3.chula.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 15


   อยากอ่านหนังสือที่ มอ. ผลิตเองครับ

ไม่อยากอ่านของที่อื่น หากเลือกอ่านได้จะิอ่านแต่ของมอ. เพราะว่าอ่านไปภูมิใจไป จริงๆครับ เวลาเอาไปพูดอ้างอิงก็บอกว่าเอามาจากของมอ.ครับ

แต่ปัจจุบันไม่ใช่อย่างนั้นเลย


Posted by : .... , Date : 2003-05-31 , Time : 17:30:49 , From IP : 172.29.2.240

ความคิดเห็นที่ : 16


   "รักสถาบัน" นั้นก็มีหลาย "วัตถุประสงค์" เหมือนกัน

ใครๆที่มีโอกาสได้ "ลากสัมพันธ์" กับที่บางที่ก็สามารถทำให้ "รู้สึก" เพิ่มคุณค่าในตัวเองได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะไป elective สั้นๆอยู่ที่ John Hopskin ฝึกอบรมอีกสามสี่วันที่ U or Pitzburgh ก็อาจจะคุยเหมือนกับเป็นเพื่อนซี้ Thomas Starzl มาหลายสิบปี ดังนั้นไม่แปลกอะไรที่ Ivy Leaque ในอเมริกา หรือ OxBridge ในอังกฤษจะ "ดูเหมือน" เป็นสถาบันที่มีคนรักมากมาย พร้อมที่จะ declare ว่าจบมา (หรือพึ่งเดินผ่าน) จาก

แต่ความรักนั้นถ้าเกิดจาก "ความกตัญญู" รู้คุณคนและสถาบันที่สอนแล้ว สิ่งเหล่านี้ไม่มีความหมายแตกต่างกันซักเท่าไหร่เลย ถามว่า "กตัญญู" นี้ราคากี่บาท มี "ค่านิยม" ในสมัยปัจจุบันกี่ตังค์ เป็นคำถามที่น่าจะทำ research ทาง quality จริงๆ

เคยมียุคไหนบางไหมที่ "การ review" สิ่งที่เกิดขึ้นขณะ training หรือ ฝึกอบรมจะ focus ไปบน "อะไรบ้างที่เราไม่ได้" หรือ "อะไรบ้างที่ครูเราเลวซะเหลือเกิน" อย่างในปัจจุบัน sample size ไม่ค่อยเยอะครับ ผมยอมรับ แต่มากพอที่จะทำให้จิตใจหดหู่ห่อเหี่ยวพอสมควร จะอีกไม่นานหรือไม่ที่เราจะเจริญริยตามตะวันตกบางที่ที่เริ่มมีการพูดถึง "นี่เป็นความผิดของพ่อแม่ฉัน ที่ฉันเป็นอย่างนี้"

"ความรัก" นั้นจะงอกงามถ้าเราใส่ปุ๋ยที่ดีลงไป แม้แต่ในที่ที่ยากจะงอกงามแต่เรา "สามารถ" ปลูกดอกรักได้อย่างแน่นอน หรืออย่างน้อยผมเชื่ออย่างนั้น แต่โชคร้ายที่ "ต้นแห่งความเกลียด" นั้นมันงอกงามเหมือนหญ้าแพรก และปุ๋ยแห่งความเกลียดนั้นมาได้ง่ายกว่าปุ๋ยรักเยอะ ความ "สะใจ" เวลาใส่ปุ๋ยเกลียดอาจจะเพิ่ม "ความมัน" แก่อารมณ์คนรึเปล่า? majorty ของกระทู้ยาวนั้นไม่ใช่กระทูความรัก แต่เป็นกระทู้ความเกลียด การต่อสู้กับความเกลียดดูจะเดินฉิวเฉียดอยู่บนขอบแห่งการพ่ายแพ้ การทำความดีอะไรซักอย่างนั้นไม่เคยมีนัยสำคัญ แต่ข้อผิดพลาดเรื่องราวใดก็ตามจะเป้น Headline ที่ดีกว่าเสมอ

ขอให้ทุกคนที่รักสถาบันนั้นจงภูมิใจในตนเองและสถาบันต่อไปครับ ภมิใจในสถาบันที่ได้ "สร้าง" คุณมาเป็นคุณในขณะนี้ ภูมิใจในตนเองที่มีใจสูงพอที่จะมองเห็นและ appreciate งานที่สถาบันและครูได้กระทำเพื่อคุณ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-31 , Time : 21:03:34 , From IP : 172.29.3.227

ความคิดเห็นที่ : 17


   กระทู้นี้ ไปโยงกับกระทู้ของ พชท ศัลย์ ได้สบายๆ เลยนะครับ เหมือนเกือบๆ พูดในเรื่องเดียวกัน

ยืมคำของพี่ว่าวมาใช้

สังคมดีไม่มีขาย อยากได้ต้องช่วยกันสร้าง

คงต้องเน้นตรงที่"ช่วยกัน"
เพราะถึงอย่างไร "ตบมือข้างเดียวมันไม่ดัง" ครับ


Posted by : OmniSci , Date : 2003-06-01 , Time : 08:47:07 , From IP : proxy3.chula.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 18


    ผมขออนุญาติแสดงความคิดเห็นครับ ผมตั้งกระทู้นี้มิได้มีเจตนาจะบอกว่า มอ. ไม่ดีครับ ผมก็เป็นเด็กที่จบจาก มอ.เหมือนกันครับ ผมเห็นด้วยกับหลายๆท่านที่ได้วิจารณ์ไว้ครับ ผมไม่คิดว่าเราต้องเปรียบเทียบกับสถาบันอื่นครับหากเพียงแต่เราต้องคิดฝันว่าเราอยากเป็นอย่างที่สถาบันใหญ่ๆในกรุงเทพหรือไม่ ผมไม่คิดว่าเราต้องดีกว่าหรือแย่กว่าใครๆครับ ผมต้องการให้เราหมายถึงทุกๆคนมีความรักในสถาบัน มอ. ดีกว่าเดิมครับ อาจเป็นไปได้ว่าเราไม่มีความภาคภูมิใจในสถาบันครับ แล้วเราจะทำอย่างไรกันดีล่ะ ผมคิดว่าเราคงไม่สามารถบังคับให้ใครทำอะไรหรือเป็นอย่างที่เราต้องการได้ทุกคนหรอกครับ หากเพียงแต่เรามีจุดยืนหรือจุดมุ่งหมายที่คล้ายๆกันก็อาจเพียงพอในระดับหนึ่ง ผมมีความคิดว่าหากเรารัก มอ.มากกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ ก็อาจไม่มีกระทู้ล่อเป้าหลายๆกระทู้ครับ ผมขอความเห็นเกี่ยวกับวิธีหรือกลยุทธ์ที่จะทำให้เรารัก มอ.มากกว่าที่เป็นอยู่ครับ ยังไม่ได้รับคำตอบเลยครับ

Posted by : free bird , Date : 2003-06-01 , Time : 10:19:47 , From IP : 172.29.1.172

ความคิดเห็นที่ : 19


   คุณ free bird ครับ
การที่บอกว่าไม่ได้รับคำตอบหมายความว่า
ไม่ได้รับคำตอบที่ "พอใจ" หรือเปล่า
ผมว่า ก็มีหลายความคิดเห็นนี่ครับที่บอกไปแล้ว ทั้งที่คุณ Phoenix Link ไป
ที่คุณจัง หรือคุณชฏายุได้พูดไว้ ก็มีประเด็นครับ น่าคิด

กระทู้แบบนี้ จะหา "definite diagnosis" คงยาก
หรือ มันอาจมีหลายอย่างประกอบกัน แบบที่หลายท่ายบอกว่าไม่มีใครผิด
ถ้าเป็น คน และ ถือว่ากำลังป่วย ก็คงต้องบอกว่าหลายโรค
จะให้กินยาขนานเดียวแล้วหาย ก็คงไม่ใช่

และเพียงแต่"พวกเรา"หรือเปล่า ที่รู้สึกเช่นนี้ และคิดว่ามันเป็น "ปัญหา"
บางคนหรือหลายคนอาจคิดว่า (หรือ)มองไม่เห็นว่ามันเป็นปัญหา
อย่างที่คุณจังบอกว่า "เรา" รักสงบ เรียนจบก็จบ ต่างคนต่างทำงานมีครอบครัว มีความสุขกับชีวิต ไปถามเขาสิว่ารัก มอ หรือเปล่า แล้วถ้าเขาบอกว่า รักและภูมิใจมากเลยครับ ชีวิตมีความสุขดี แล้วก็ไมต้องการอะไรอีก

ปากบอกว่ารัก และภูมิใจ คงไม่ยาก จะจบแค่นั่นได้ไหม เป็นคนดีของสังคมทำงานไป ไม่เดือดร้อน

มันเป็น "ปัญหา" จริงหรือเปล่า

ผมว่าคุณ free bird คงมีคำตอบอยู่บ้างใช่ไหมครับ ผมรอฟังอยู่



Posted by : OmniSci , Date : 2003-06-01 , Time : 13:13:02 , From IP : proxy3.chula.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 20


   ผมขอลองตอบคุณ Free Bird ดูก็แล้วกัน

1. กระทู้ล่อเป้านั้นมีที่ใช้อยู่เหมือนกัน....

คุณสมบัติของกระทู้ล่อเป้านั้น ประการหนึ่งคือเป้า attractive จนคนเข้าร่วมสังคายนากันมากมาย ทีนี้ถ้าเรื่องที่สังคายนาเป็นเรื่องสร้างสรรค์ การล่อเป้านั้นก็สามารถประสบความสำเร็จได้ไม่น้อยไปกว่ากระทู้ล่อเป้า negative ที่สร้างแต่ความทุกข์ความเดือดร้อน

ถามว่าในทางปฏิบัติเราล่อเป้าดีดี แล้วมันจะล่อคนได้จริงรึเปล่า ผมไม่ทราบเหมือนกันแต่น่าจะลองทำดูนะครับ เรื่องอะไรก็ตามถ้าเจตนาเราดี คิดว่าทำไปมีแต่ประโยชน์ เดินหน้าไปได้เลย ลองทำดู ไม่สำเร็จก็แค่เข้าทุน แต่ถ้าสำเร็จคนดีใจจะไม่มีเพียงแค่ตัวเราแต่กับคนอื่นอีกเป็นจำนวนมาก

ทีนี้จะให้กระทู้ดีดีเป็นกระทู้ล่อเป้าได้นั้น ส่วนหนึ่งต้องพึ่งพาจิตใจและ attitude ของสมาชิกในชุมชนมากพอสมควร หากหมกมุ่นแต่เรื่อง negative โลกนี้มันไม่น่าอยู่ซะแล้ว ใจคงจะคอยโหยหากระทู้ล่อเป้าแบบมืดซะล่ะมากกว่า แต่บางทีแค่กลุ่ม focus group ไม่กี่คนก็สามารถก่อตั้งกระแสที่แรงพอให้แก่สังคมได้เหมือนกัน ผมไม่เหนว่ากลุ่มนี้จะ work out แต่เรื่องไม่ดีได้แค่นั้น เรื่องดีดีก็น่าจะ work เช่นกัน

2. ถ้าไม่ถึงกับล่อเป้า ก็เริ่มต้นที่นำเอาสิ่งดีดีมาพูดให้เป็นที่แพร่หลาย
ฟังดูเหมือนจะง่าย แต่ในทางปฏิบัติ ปรากฏการณ์ที่ผ่านมาไม่ใคร่ promising ซักเท่าไร สัมมาวาจา ที่ผมเคย post ไปแล้วครั้งหนึ่งนั้น กลายเป็น rare commodity ซึ่งน่าเป็นห่วง และน่าจะมีการ reverse the trend ผมจำได้ว่าเราเคยมีกระทู้ตั้งนิยาม "สภากาแฟ" ของเราก่อนที่จะย้ายหมู่บ้านมาที่หมู่บ้านใหท่นี้โดยคุณ Garnet ผมจำได้ดีว่าบรรยากาศนั้นดีมาก เหมาะสำหรับผู้แวะเวียนหมุนผ่านมาจะอ่าน ผ่อนคลาย และแวะพักมา chit-chat เบาๆบ้าง การเมืองบ้าง ขบขันบ้าง ผมว่าเราเคยทำกันมาแล้วครั้งหนึ่ง ก็น่าจะสามารถทำกันได้อีก บรรยากาศที่มันหดหู่นั้น ผมหวังว่าสักพักมันก็จะจางหายไป Life has to go on
ถึงแม้สภากาแฟอาจจะยังไม่ใช่ magic bullet เรื่องการรักสถาบัน แต่ผมคิดว่ามันอาจจะตอบคำถามบางอย่างของคุณ Free Bird ได้ และเป็นจุดเริ่มต้นบางอย่าง เป็น "จุดร่มเย็น" ในโลกอันร้อนระอุนี้ ไม่แน่ความเย็นนี้จะสามารถแผ่ซ่านไปยังมุมร้อนรุ่มที่อื่นได้ในที่สุด เราก้ได้แต่หวังล่ะครับ




Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-01 , Time : 13:14:03 , From IP : 172.29.3.222

ความคิดเห็นที่ : 21


   อยากเสนอความคิดเห็นนะครับ ถูกใจหรือไม่ถูกใจก็ต้องขออภัยด้วยครับ
บางเรื่องในนี้มันเกี่ยวข้องกับกระทู้ศัลยกรรม
แต่ก็เลือกที่จะโพสในนี้เพราะอยากให้อ่านกันไม่เครียด
ผมว่ามอ.ขาด HERO นะครับ ฟังดูอาจจะงงผมจะขยายความนะครับ ขอยตัวอย่างศิริราชแล้วกันนะครับ ในสมัยแรกๆ มีพระบิดา เป็นตัวอย่าง ทั้งความมุ่งมั่นตั้งใจและ การใช้ชีวิต พวกเราคงเคยศึกษากันมาบ้าง หลายๆคนคงประทับใจและรักพระบิดาทำให้ความรักและยกย่องเทิดทูนนี้ ได้ถ่ายทอดมายังสถาบันที่ท่านเกี่ยวข้อง ปัจจุบันนี้ ที่หอสมุดก็ยังมี พิพิธภัณฑ์ แสดง หนังสือ เครื่องมือแพทย์ ส่วนพระองค์แสดงให้ชมอยู่ หลังจากนั้นก็เป็นยุคของ ลูกศิษย์ของท่านซึ่งเป็นอาจารย์ที่เป็นตัวอย่างที่ดี ทั้งเก่ง มีความรู้และมีเมตตา มาผมได้รับฟังเรื่องของคณาจารย์เหล่านี้เหล่านี้มาจากอาจารย์ของผมอีกที่ หลายๆยุคสมัยเช่นเรื่องของ อาจารย์ อวย เกตุสิงห์ อาจารย์ เกษมเป็นต้น ซึ่งในสมัยนั้นกรุงเทพยังไม่วุ่นวายแออัด
เหมือสมัยนี้ เนื่องจากคนยังไม่มาก การใช้ชีวิตยังไม่มีอะไรซับซ้อน ไม่ต้องแข่งขัน ค่าเงินยังไม่สูง ทำให้การไม่ต้องเปิดคลีนิค รับราชการอย่างเดียวก็ยังสามารถอยู่ได้ หมอในสมัยนั้นจึงเป็นหมอและที่พึ่งของคนไข้รวมทั้งครูได้อย่างเต็มที่
ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์ผมเล่าให้ฟังว่าเป็นExternต้องรับผิดชอบ คนไข้2ชั้น ตึกก็ใหญ่มากมองเห็นคนไข้สุดลุกหูลูกตา สองทุ่มลงไปกินข้าวเย็นแล้วก็ยังรับไม่หมด มันท้อใจแต่พอสี่ทุ่มขณะรับคนไข้อยู่ ก็เจอกับอาจารย์ของท่านซึ่งขับรถมาจากบ้านมาดูคนไข้เช่นเดียวกันและอาจารย์ยังได้ซื้อข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงคนที่กำลังทำงานอยู่ด้วย บางครั้งอาจารย์ก็พาลูกศิษย์นั่งรถไปทานอาหารที่ศรีย่านด้วยกันตอนดึกๆ คงก็ทราบกันว่าอาจารย์หมอศัลย์สมัยก่อนนั้นดุมาก แต่ก็ยังมีลูกศิษย์เคารพรักนั้นเพราะจริยาวัตรของท่านเป็นตัวอย่างอันดี อาจารย์บางท่านผ่าเข้าตัดเลิกดึกดื่นตี1ตี2ก็ยังตื่นตี5มาroundเช้าได้ ก่อนลูกศิษย์เสียอีกเมื่อเป็นเช่นนี้ลูกศิษย์ก็เกิดความอายและเกรงใจ ทั้งที่เป็นคนหนุ่มกว่ากลับทำไมได้เท่าอาจารย์ อาจารย์บางท่านset case ผ่าตัดแปดโมงครึ่งเมื่อลูกศิษย์เข้าOR ตอนแปดโมงครึ่งกลับพบว่าอาจารย์กำลังลงมีดอยู่ ซึ่งการมาแปดโมงครึ่งทำให้เข้าช้าไปและไม่ได้เข้าช่วยในcaseนั้นๆ ตัวอย่างเหล่านี้ทำให้ลูกศิษย์ไม่ท้อเมื่อเจองานหนัก เพราะเค้ารู้สึกว่าเค้าไม่ได้ทำงานหนักคนเดียว ยังมีอาจารย์ที่พร้อมอยู่ข้างๆจะยอมแพ้กับความเหนื่อยได้อย่างไร
ผมชอบคำๆนึงที่phoenixเคยเขียนว่า การทำตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดีนั้นสำคัญ
ผมเห็นว่าเพราะมันมีค่าและมีประโยชน์มากกว่าคำพูด หรือ คำสั่ง และ คนที่ปฏิบัติตามก็ทำเพราะความรักและความศรัทธาจากหัวใจ ในปัจจุบันอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ที่กรุงเทพคงจะยากที่จะเป็นเช่นเดิมเพราะสภาพชีวิตและสังคมเปลี่ยนไป แต่สิ่งดีๆที่ท่านอาจารย์อาวุโสได้ทำไว้ ก็ยังเป็นเสมือนมรดกอันมีค่าที่คนที่มาสืบทอดต้องรักษาและรับผิดชอบกับชื่อเสียงนั้นๆ จากเวลาร้อยปีผมว่าความรักในระยะแรกก็งอกเงยกลายเป็นศรัทธา ตรงนี้ผมคิดว่ามอ.ของเราได้เปรียบในเมืองมาก คณะแพทย์ของเราถึงแม้จะพึ่งเกิดเมื่อเทียบกับที่อื่นแต่สภาพชีวิตของชนบท ไม่แข่งขันหรือรีบเร่ง ไม่มีคนมากมายเยอะแยะ เหมือนในเมือง โอกาสใกล้ชิดดูแลกันมากขึ้น เราน่าจะทำให้เกิดความรักสถาบันขึ้นได้ง่ายกว่าสถาบันในเมืองตอนนี้เสียอีก

อีกเรื่องก็คือเรื่องสถาบันความจริงแล้วจะรู้สึกเจ็บปวดทุกครั้งที่เราไปเทียบกับสถาบันอื่น เพราะความจริงแล้วเราก็เป็นลูกพระบิดาเหมือนกันเหมือนครอบครัวเดียวกัน คนเกิดก่อนก็เป็นพี่ คนเกิดหลังก็เป็นน้อง อาจารย์ที่มาก่อตั้งที่นี้ก็มาจากสถาบันเก่าๆทั้งนั้นไม่ได้งอกขึ้นมาเองเฉยๆเห็นมั้ยครับเราก็มีรากเหง้าร่วมกัน ทำไมจะต้องเปรียบเทียบให้พี่ให้น้องมาเหนือกว่ากัน พี่ย่อมแก่กว่าเก๋ากว่า น้องก็ย่อมสดกว่าใหม่กว่า เคยมีพ่อแม่คนไหนเอาพี่กับน้องย่อมเอามาเทียบกันหรือครับ


Posted by : ยาวไปหน่อยนะ , Date : 2003-06-01 , Time : 16:08:12 , From IP : 202.57.166.74

ความคิดเห็นที่ : 22


   เห็นด้วยว่าการเปรียบเทียบไม่มีประโยชน์อะไร คำถามคงเป็นแค่การรักสถาบันนั้นดีและควรจะมีหรือไม่ ถ้ามีแบบไหนถึงจะดี มากกว่าจะมีให้ดีกว่าหรือเทียบเท่าสถาบันอื่น

ผมสนใจในประเด็นที่ "ความรู้สึก" ขาดอะไรไปบางอย่างชอบกลที่ว่าเหมือนกัน ปกติแล้วเราไม่ได้รู้สึกอะไรบางอย่างจนกว่าเราจะ "ขาด" สิ่งนั้นไป การที่กระทู้นี้ผุดขึ้นมาอยู่เป็นระลอกๆ จะเกี่ยวข้องแค่ไหนคงจะบอกยาก

สถาบันและบัณฑิตที่เข้าไปเรียน "ควร" มีวัตถุปรสงค์หรือมาตรการแนวรุกเพื่อปลุกความรักหรือไม่ หรือควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติดีกว่า? ตรงนี้ก้มีแนวทางปฏิบัติให้เห็นทั้งสองแบบ แบบ pro-active เช่น military institute, Old and famous institute เช่น Eton, Ox-Bridge เป็นต้น ผมไม่แน่ใจว่ามอ.ออ.เป็นแบบไหน เพราะไม่เคยเข้ากิจกรรมสันทนาการของคณะเลย อาจจะต้องเข้าไปสัมผัสดูสักที ไว้มีเวลาสักหน่อย



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-01 , Time : 23:40:39 , From IP : 172.29.3.216

ความคิดเห็นที่ : 23


    ผมขออนุญาติแสดงความคิดเห็นครับ ผมขอยืนยัน นั่งยัน และนอนยันครับว่าผมมิได้ตั้งกระทู้นี้เพื่อล่อเป้าหรือต้องการคำตอบที่ผมพอใจครับ หากเพียงแต่ต้องการถามความเห็นและความคิดของเพื่อนๆที่อยู่ในกระดานข่าวว่ามีความคิดดีๆที่ผมจะนำไปใช้ได้หรือไม่ครับ ผมยอมรับความเห็นทุกคนครับ ผมไม่ได้มองว่าปัจจุบันเป็นปัญามากน้อยเพียงใด แต่อยากคิดว่าถ้าเราต้องการทำให้ดีขึ้นเราควรจะทำอย่างไรกันดี มอ. ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นของพวกเราทุกคนครับ ผมก็อยากให้ มอ. ดีขึ้นเรื่อยๆครับ ผมคิดว่าคงไม่มีคำตอบเหมือนเราทำข้อสอบหรอกครับ (ขนาดเฉลยข้อสอบยังมีบางครั้งไม่ตรงกันเลยครับ) หากแต่ต้องการความคิดที่หลากหลายจริงๆครับ ผมคิดว่าการทำตัวเป็นต้นแบบก็อาจเป็นวิธีหนึ่งที่ดี แล้วเรามีวิธีอื่นไหมล่ะครับ ขออภัยคุณ Omnisci ด้วยครับ ถ้าผมไม่มีคำตอบให้คุณเนื่องจากเหตุผลดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วครับ

Posted by : free bird , Date : 2003-06-02 , Time : 10:19:58 , From IP : 172.29.1.172

ความคิดเห็นที่ : 24


   ถ้าอยากจะให้ลูกศิษย์รักสถาบัน อาจารย์ก็น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้ ไม่ควรแบ่งแยกหรือทะเลาะกันเอง การจะรักสถาบันได้ขึ้นกับหลายๆอย่าง เพื่อนฝูง สภาพแวดล้อม การทำงาน ความสัมพันธ์รุ่นพี่รุ่นน้องและ อาจารย์ เรียกง่ายๆว่าเป็นความผูกพันอันลึกซึ้งมากกว่า แต่การรักสถาบันไม่ใช่เป็นการยึดถือสถาบันนะ

Posted by : 1234 , Date : 2003-06-02 , Time : 15:10:27 , From IP : 172.29.3.149

ความคิดเห็นที่ : 25


   ความรักนั้นเกิดขึ้นจากฝ่ายเดียวได้ก็จริง แต่ต้องการปุ๋ยจากทั้งสองปาร์ตี้จึงจะงอกงาม

เหมือนๆกับนิยามของกลุ่ม ของประเทศ นั่นคือทั้งสองฝ่ายควรจะ share the same value หรือ purpose เพื่อที่จะได้ร่วมกันดำเนินไปได้ ตกลงกันให้ดีว่าเรากำลังไปทิศทางไหน และต้องการให้แต่ละฝ่ายทำหน้าที่อย่างไร ถึงเวลาแก้ปัญหาก็สามารถจับเข่าคุยกันได้ ความสามารถในการที่จับเข่าคุยกันได้นี้สำคัญมากๆ คนที่เรามีอคติมาก่อน มีบ่อยครั้งอย่างไม่น่าเชื่อที่หลังจากโอกาสที่ได้คุยและรู้จักตัวตนจริงๆ ความเห็นถูกเปลี่ยนเป็นตรงกันข้าม

อคตินี้น่ากลัวมาก และเป็นอุปสรรคที่มองไม่เห็น ทำให้กำจัดลำบาก เพราะยากที่คนหนึ่งๆจะรู้ตังหรือยอมรับว่ามีอคติ (ถ้ายอมรับว่ามีอคติ มันก้ไม่เกิดซะแต่แรก) มีตั้งแต่ข่าวลือ (มีน้อยข่าวลือที่จะเป็นเรื่องดี แต่คนชอบฟังมากกว่าข่าวลือดีดีเยอะ) การแปลผล realiability of the source และวัตถุประสงค์ของแหล่งข่าว ทั้งหมดนี้อาจจะถุกแก้ลุล่วงไนเพียงครั้งเดียวโดยวิธีแก้ปม "Cut the Gordian knot" คือตัดใจละวางอคติทั้งหมด ตายเป็นตาย ขอคุยกันให้รู้เรื่องวันนี้ล่ะวะ หากไม่ทำอย่างนี้อคตินั้นก็จะเจริญเติบโตได้ (ปุ๋ยคือข่าวลือนี่แหละ หาง่าย ราคาถูก และมันสืในการแสวงหาอีกต่างหาก)

วิธี่จะ reconciliation นั้นมีมากมาย แต่ทุกวิธีลงเอยเหมือนกันคือตัวต่อตัว and Face-to-Face ภาษาที่สมบูรณ์นั้นต้องเห็นหน้าค่าตาครับ ฟังน้ำเสียง จังหวะจะโคน สบถสาบาน ยิ้มและน้ำตา มันถึงจะ "สื่อ" ได้ครบถ้วน ใครเคยจีบแฟนสำเจโดยไม่เจอหน้าตัวต่อตัว? ทำไมเราถึงตื่นเต้นเป็นพิเศษเมื่อเราจะเจอหน้าแฟนตัวต่อตัว เป็นเพราะทุกคนรู้ดีว่าเวลานั้นแหละที่เราจะสื่อมากที่สุด เราเลย"กลัว"ว่าแฟนจะ detect อะไรๆที่เราไม่มั่นใจว่าดีพอ พอๆกับ"กลัว" ที่จะผิดหวังหากได้พบสิ่งที่ "under-expectation"

ไปๆมาๆความรักสถาบันคงจะต้องเริ่มจากบุคคลต่อบุคคลก่อนจึงจะสำเร็จ อะไรที่เป็นอุปสรรคในการ "เข้าถึง" ระหว่างบุคคลต่อบุคคล อันนั้นแหละครับที่จะเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดของการรักสถาบัน



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-02 , Time : 23:17:04 , From IP : 172.29.3.208

ความคิดเห็นที่ : 26


   ขออณุญาติแสดง ความเห็นต่อ นะครับ ท่านประทาน free bird และผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ( แหะแหะ ติดโรคมาจาก รัฐสภาครับท่าน :)

วันที่เราแพ้
วันที่เราผิดหวัง
วันที่เราถูกเพื่อนรุมแกล้ง
วันที่เราหนีเรียนอย่างยาวนาน
วันที่เราสารภาพว่าไปสูบกัญชา

แต่ " บ้าน " รับฟัง เสนอแนะ เข้าใจ และไม่เคย เอาข้อมูลเหล่านั้นขึ้น black list
พ่อแม่ จบการศึกษาแค่ไหน สนมั้ย ?
พ่อแม่ จะเป็น hero ในสายตาคนอื่น แคร์มั้ย ?

แต่เรารักพ่อแม่ อยากกลับไปเยี่ยม อยากดูแล แค่นึกถึงก็อบอุ่น

มอ มี hero มากมาย เกินสธายาย หัวก้าวหน้า ขยัน ไฟแรง รักคนไข้ และที่สําคัญคือ " เสียสละ " อันนี้ เห็นกันชัด ๆ

....คุณสนหรือ ว่าอาจารย์ เราเป็นที่รู้จักแค่ไหนในกรุงเทพ...ผมคนนึงล่ะ .. ที่ไม่สน...เราชื่นชมของเราซะอย่าง

แต่อย่างที่บอก ... ความชื่นชมในสถาบัน... ไม่เคยเอามา connect ได้กับความรู้สึกอบอุ่น เพราะ ไม่ค่อยรู้สึกถึง คําว่า " support "

มีปัญหาขณะเรียน... หันหาใคร..แล้วใครคนนั้นจะรําคาญมั้ย....ดูคนไข้ไม่เป็น ไม่ทัน ...สมควรถูกช่วยเหลือ ...หรือ สมควรถูกอัดและส่งต่อวอร์ดอื่น...ปัญหาชีวิต...เฮ้ย เกี่ยวเหรอ ...เดี๋ยวก็โดนหาว่า วอกแวกหรอก

เรียนจบแล้ว มีทางเลือกในชีวิตอย่างไรบ้าง อยู่ มอ ต่อ...ชุมชน...เรียน ...เรียนอะไร...clinical specialty...epidemiology... research...เรียนที่ไหนดี...อยากชุบตัวเมืองนอกมั่ง มีโอกาสมั้ยเนี่ย ...

ถ้าเลือกได้แล้ว มีใครจะ สนับสนุนมั้ย หรือว่า จะต้องเป็น ศิษย์คนสนิท...ศิษย์สายเลือด....ผู้ที่จะกลับมาเป็นอาจารย์ มอ เท่านั้น จึงจะหลีกเลี่ยง คําว่า

" ผมไม่รู้จักคุณ " ได้

เรียน board และ subboard ต่างที่กัน

subboard งานหนัก เล่นเอาแทบ nervous breakdown แต่ faculty ที่นั่น
" ฟัง " " เข้าใจ " และ " focus กับ การเติบโต " หลังจบ " ไม่ใช่เรื่องการฝากงาน แต่พูดถึง growth ทางความคิดและเนื้อหาของชิ้นงาน

board : ตรงข้ามแทบทุกอย่าง

ผลคือ ... ถวายหัว ให้ subboard ... ไม่เว้นแม้แต่เรื่อง เล็กน้อย... ประหยัดกระดาษซีร้อก... ดูแลห้อง conference....คอยปิดฟืนปิดไฟปิดนํ้าก็อกให้สนิท...ทําเองด้วยความเต็มใจ

และสําคัญที่สุดคือ ...มิตรภาพอันถาวร...และความรักในอาชีพที่ทําอยู่เป็นอย่างมาก

ส่วนที่เรียน board : no comment

คือกําลังพูดถึง support system ที่มี structure แน่นอน ที่ไม่ต้องวิ่งหาเอาเอง และ ใจกว้างพอ ที่จะทําให้ นศพ เกิด " trust "

การให้การศึกษาที่ complete คงไม่ใช่แค่ ... สอนให้รู้ " วิธีการ " ในการดูแลคนไข้ อย่างมีเมตตา แต่จะต้อง ให้โอกาส ชี้นํา ให้ผู้เรียนรู้ถึง potential ของตัวเขาเองว่าเขามีความสามารถจะทําอะไรได้บ้าง เมื่อเขาเดินจากไป

เพื่อจะเติบโต ได้ในทางที่เขาถนัด รักในสิ่งที่เป็น
และเกิดความผูกพันธ์ กับสังคมแพทย์ส่วนรวม และสถาบันที่ให้กําเนิดเขาได้

ปล. 1. กําลังพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลายปีก่อน ตอนนี้อาจเปลี่ยนแล้ว
2. ถ้าอ่านแล้ว รู้สึกว่า มอ ไม่ดี แสดงว่า ผมเขียนไม่เป็น เพราะกําลังพูดถึง room for improvement สําหรับสถาบันที่มีศักยภาพที่นึง
3. เอาข้อมุลเพื่อนหลายคน + ข้อมูลของตัวเอง มาพูด แต่ก็ยังถือเป็นส่วนน้อยมากกกก ของ " ศิษย์ มอ " จึงอาจผิดทั้งหมด นะจ๊ะ

ควรไม่ควร ก็แล้วแต่ท่านประธานกั๊บ :)


Posted by : ชฏายุ , Date : 2003-06-02 , Time : 23:35:11 , From IP : 202.183.228.67

ความคิดเห็นที่ : 27


   เรียนคุณชฎายุ,

ผมเข้าใจว่าเป็นความแตกต่างระหว่าง"หน่วยนั้น" กับ "หน่วยอื่น" ที่คุณชฎายุเคยมีประสบการณ์หรือได้ยินมามากกว่ากระมังครับ? คงจะไม่ใช่ระหว่าง "board and sub-board" ยิ่งพอว่า sub-board นั้นหนักกว่า board มากมายแล้ว ผมว่าอาจจะไม่ได้ cover ทุก board ทุก field หรอกนะครับ?

ผมเคยเห็น "chief" ตามนิยามที่แท้จริงของระบบ traning ศัลยศาสตร์สองที่คือที่ศิริราชและจุฬา (ที่มอ.ออ.นี่ ผมคิดว่ายังไม่ classified ว่ารับผิดชอบเท่า chief ที่เคยเห็นมานะครับ) เขาเหล่านั้น "อุทิศ" ตนจริงๆและทำงานจนไม่คิดว่าจะมีอะไรเหนื่อยกว่านั้นอีกแล้ว (ถ่าลองไม่ได้หลับได้นอนหลายๆวันติดต่อกันและรับผิดชอบขนาดนั้น มันไม่สามารถจะต่างกันได้ซักเท่าไหร่) เอาแค่ในประเทศไทยก็แล้วกัน ผมไม่เคยเห็นระบบ training จริงๆแบบ pyramidal system ที่ว่าคนจบศัลยแพทย์ไม่เพียงแต่ "ผ่านเกณฑ์" เท่านั้น แต่ต้อง "ดีที่สุด" ในรุ่นอีกด้วย คือเขาจะไม่ให้จบทั้งรุ่นแต่จะคัดแค่ 1-2 คนเท่านั้น แค่นี้ฟังก็หนาวแล้วครับ

ความประทับใจหลังจาก "survive" ประสบการณ์ที่ว่าน่าจะคงอยู่จนวันตาย รักไม่รักก็เถอะ แต่คงไม่มีวันลืมแน่ๆ เก็บไปเล่าให้ลูกหลานอีกหลาย generation ว่าเคยผ่านมาแล้ว เหมือนพวกหลักสูตร S.E.A.L. หรือ หน่วยทำลายใต้น้ำของกองทัพไทย

ไม่แน่ใจว่าเอามา apply กับมอ.ออ.จะสำเร็จหรือสำรากก่อนกัน แต่เห็นด้วยอย่างแรงที่แรงดลใจในความก้าวหน้าที่ทำให้รู้สึกว่าเราเติบโตขึ้น ทั้งความรู้ ทั้งจริยธรรม ทั้งการแสดงออกทางกายวาจาใจ และมีความรับผิดชอบสูงมากขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่มีค่ามากๆ ที่จริงแล้วการศึกษาระดับ post-graduate นี่มีผลต่อความคิดความอ่านของเรามากมายจริงๆ เพราะเราจะมีประสบการณืมากพอที่จะเห็นชิวิตและเห็นปรัชญาจากสิ่งที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าอาจจะยังมี "แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน" วันๆเอาแต่ despise คนอื่นที่ได้ดีกว่าตน หวังแต่สิ่งร้ายๆให้เกิดต่อคนที่ตนเองเกลียด แต่บัณฑฺตหลังปริญญาที่ผมได้มี honour เข้าร่วมโปรแกรมด้วย ทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้องทุกคนมีส่วนสร้างผมให้เป้นผมในทุกวันนี้ ไม่มีการแทงกัน (มีแต่ชวนกันไปแทง!!!) มีสุขร่วมเสพย์ มีทุกข์ร่วมทุกข์ สุดท้ายผมรักสถาบันทุกๆที่ที่ผมผ่านการศึกษามา และภูมิใจที่จะป่าวประกาศว่าผมเป็นใคร มาจากไหน ฝึกอบรมที่ไหน



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-03 , Time : 00:53:12 , From IP : 172.29.3.208

ความคิดเห็นที่ : 28


    ขอนุญาติแสดงความคิดเห็นครับ ขอขอบคุณทุกคนที่ช่วยกันคิดและเสนอแนวทางให้ผมมากมายครับ ผมคิดว่าเราคงทำอะไรได้พอสมควรแต่ไม่ทั้งหมดหรอกครับ ผมดีใจที่ได้อ่านประโยค " คุณสนหรือ ว่าอาจารย์ เราเป็นที่รู้จักแค่ไหนในกรุงเทพ...ผมคนนึงล่ะ .. ที่ไม่สน...เราชื่นชมของเราซะอย่าง " อย่างน้อยก็มีอย่างน้อยหนึ่งคนที่คิดคล้ายๆผม เห็นด้วยครับที่บอกว่าอาจารย์ควรเป็นตัวอย่างที่ดีกับรุ่น้อง แต่ทำอย่างไรครับที่จะให้อาจารย์เป็นตัวอย่างที่ดี ผมคิดว่าแต่ละคนมีข้อดีข้อเสียปะปนกันครับ หากแต่นักศึกษาต้องรู้หรือตระหนักเองว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ดีเหมาะกับเราและนำไปปฏิบัติได้ ผมคิดว่าการลอกเลียนแบบอาจารย์เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากคนแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ การที่ใครพยายามลอกเลียนแบบใครอาจก่อให้เกิดผลเสียกับคนที่พยายามลอกเลียนแบบได้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผลดีตรงที่คนมีความรักในสิ่งๆหนึ่งครับ ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่นักศึกษาหรือคนที่จบจาก มอ. ควรจะมีคือความคิดแบบมีเหตุผลและรู้จักวิเคราะห์สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งหมดโดยมีอาจารย์เป็นตัวอย่างครับ


Posted by : free bird , Date : 2003-06-03 , Time : 10:54:15 , From IP : 172.29.1.172

ความคิดเห็นที่ : 29


   ความรัก คือ อะไร
คุณรู้จักความรักที่แท้จริงหรือไม่
เราคงจะอยู่กันคนละเส้นทางถ้าคุณยังไม่รู้ว่าความรักที่แท้เป็นอย่างไร
จำเป็นต้องมีคนมารักสิ่งเดียวกันหรือไม่
คุณรู้จักการแสดงความรักในลักษณะที่หลากหลายและกว้างขวางเพียงพอแล้วหรือยัง
คุณรักผู้ป่วยมากพอที่จะละความเป็นตัวคุณแล้วทำหน้าที่ของคุณให้ดีที่สุดหรือไม่
คุณรักศิษย์ของคุณหรือผู้ที่ต้องการเรียนรู้มากพอที่จะไม่แบ่งชนชั้น หรือเชื้อชาติหรือเปล่า
คุณรักเพื่อนร่วมงานพอที่จะรับได้ว่าวันหนึ่งเขาอาจมีความคิดเห็นไม่ตรงกันหรือต้องอยู่คนละสถาบัน
คุณรักลูกหรือครอบครัวพอที่จะรับได้ว่าเขามีธรรมชาติที่ต่างจากเราหรือเรามีความแตกต่างกัน
สังคมต้องการอะไร และ เราเป็นส่วนไหนของสังคม
เราต้องการให้สังคมเป็นอย่างที่เราต้องการ
วันหน้าด้านหนึ่งของสังคมนั้นจะสะท้อนถึงลูกหลานเราหรือไม่
ขอบคณค่ะ



Posted by : คน , Date : 2003-06-03 , Time : 11:46:20 , From IP : 172.29.1.27

ความคิดเห็นที่ : 30


   ขออนุญาตแสดงความเห็นด้วยคน อาจจะเป็นความเห็นที่ค่อนข้างแปลกกว่าคนอื่น เพราะผมจากรั้วสีบลูมา ๖ ปีเศษแล้ว จึงอาจจะมองภาพของแพทย์ ม.อ. ในปัจจุบันไม่ออก
ประเด็นสำคัญที่พวกเราไม่รักสถาบันหรือรู้สึกหวงแหนความเป็น ม.อ. เริ่มตั้งแต่ประวัติศาสตร์ของคณะแพทย์ เรามาจากอาจารย์ร้อยพ่อพันแม่คือจบจากโรงเรียนแพทย์หลากหลายทั้งศิริราช จุฬาฯ เชียงใหม่ รามาฯ ขาดศูนย์รวมทางจิตใจ หลายๆท่านยังผูกพันกับสถาบันเก่า หลายๆท่านเอา ม.อ.เป็นทางผ่านเพื่อไปเรียนต่อ แล้วขอย้ายไปอยู่โรงเรียนแพทย์ใหญ่ใน กทม.
น.ศ.พ.รุ่น๑-๒ ของเราส่วนใหญ่เป็นพวกฟอสซิลจากที่อื่น เมื่อได้เข้าเรียนแพทย์ ม.อ. ก็เลยก้มหน้าก้มตารีบๆเรียนให้จบเร็วๆ จนลืมสนใจรุ่นน้องๆที่ตามหลังมา มีอาจารย์บางท่านจบ ม.อ.รุ่นแรกๆ แต่เวลาเล่าเรื่องราวอะไรให้ น.ศ.พ.ฟังหรือกล่าวอ้างอะไรก็จะยกแต่รามาธิบดี เพราะไปจบเทรนนิ่งจากรามาฯ ไม่เคยแม้แต่ครั้งเดียวที่จะพูดถึงตอนเป็นน.ศ.พ.ที่ ม.อ.


Posted by : ศิษย์เก่าเคยเป็นอาจารย์ , Date : 2003-06-03 , Time : 21:36:11 , From IP : 203.113.67.38

ความคิดเห็นที่ : 31


   แล้วเราจะแสดงออกอย่างไรว่า รัก มอ
วัตถุประสงค์ของกระทู้นี้น่าจะเกี่ยวกับการแสดงออกบ้างไม่มากก็น้อย (นั่นสิ ไม่น้อยก็มาก)

หรือไม่ต้องแสดงออก
รู้สึกก็พอ
เมื่อมีคนถามก็ตอบ

"ครับผมรัก มอ."


Posted by : OmniSci , Date : 2003-06-04 , Time : 02:39:09 , From IP : 172.29.3.202

ความคิดเห็นที่ : 32


   ผมขอเสนอวิธีหนึ่งครับ

"เรามาทำตัวเป็นตัวอย่างที่อยากให้คนอื่นเขามองหมอมอ.ออ.เป็นอย่างไร ก็ทำอย่างนั้นกันดีกว่า"

ไม่ต้องไปขอไปเรียกร้องคนอื่นให้ทำโน่นทำนี่หรอกครับ ทำมันของเราเองนี่แหละใครจะทำไม

ถ้าเราอยากจะให้คนรู้สึกหมอมอ.ออ.พูดเพราะ ตัวเราก็พูดเพราะ
ถ้าเราอยากจะให้หมอมอ.ออ.มี communication skill ที่ดี เราก็ต้อง improve ของเรา
ถ้าเราอยากจะให้หมอมอ.ออ.เป็นนักวิ่งออกกำลังกายก็เริ่มจากเราวิ่งก่อน
ถ้าเราอยากจะให้หมอมอ.ออ.เป็นคนทำงานหนัก ก็ทำงานให้หนักที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
ถ้าเราอยากให้หมอมอ.ออ.เป็นักวิจัย ก็ผลิตผลงานวิจัยออกมาไม่หยุด
ถ้าเราอยากให้หมอมอ.ออ.มีหลักการและเหตุผล เราเองก็ต้องยึดมั่นในหลักการและเหตุผล

ถ้าเราไม่อยากให้หมอมอ.ออเป็นพวกแทงหลังคน ก็ไม่กระทำ และประณามคนที่ทำ
ถ้าเราไม่อยากให้หมอมอ.ออ.พูดส่อเสียดหย่บคาย ก็ไม่กระทำ และประณามคนที่กระทำ
ถ้าเราไม่อยาก ฯลฯ so on and so on........

อะไรจะเกิดขึ้น?

เราก็จะมี "หมอโมเดล" ในรูปแบบต่างๆที่ตนเองคิดว่าเป็นสัญญลักษณ์แห่งความดี ความถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่เหมือนกัน!!! (คือดี) เด้กรุ่นน้องในอนาคตสักวันหนึ่งอาจจะได้เห็นมอ.ออ.ที่ไม่มีตัวอย่างที่ไม่ดีเหลืออยู่อีกเลย เขาจะไปเลียนแบบใครได้ ก็จะต้องเลียนแบบจากคนเหล่านี้ ไม่มีพวกขี่รถไม่เคารพกฏ ไม่มีพวกนินทาว่าร้ายคนลับหลัง ไม่มีพวกชวนทะเลาะกัน มีแต่พวกชวนกันทำงาน และทำงานให้หนักยิ่งขึ้นสมกับอาชีพที่มี priviledge มีแต่พวกที่เห็น "ผลงาน" เป็น virtue มีแต่พวกที่เห็นแต่ "ประโยชน์ของคนไข้" เป้นอันดับหนึ่ง ทุกอย่างต้องเริ่มที่ "INDIVIDUAL" ครับ อย่าไปขอร้องคนอื่นให้วุ่นวาย อย่าไปยื่นเงื่อนไขให้มีระบบอะไรอำนวยมากมายเพื่อจะทำดีเลย

In My Humble Opinion



Posted by : Phoenix , Date : 2003-06-04 , Time : 03:41:43 , From IP : 172.29.3.230

ความคิดเห็นที่ : 33


    ขออนุญาติแสดงความคิดเห็นครับ คุณ Phoenix ไม่หลับไม่นอนเหรอครับ อย่างไรก็ดีเห็นด้วยอย่างยิ่งกับความคิดคุณ Phoenix ครับ ผมคิดว่านอกจากที่เราพยายามทำสิ่งเหล่านี้แล้วก็ควรจะทำให้เพื่อนๆได้ทำด้วยครับ

Posted by : free bird , Date : 2003-06-04 , Time : 10:51:37 , From IP : 172.29.1.172

ความคิดเห็นที่ : 34


   งงกับกระทู้นี้เพราะไม่เคยเป็นเด็กมอ. แต่การผูกพันกับที่ สถาบันเป็นเรื่องระหว่าง ตน กับสิ่งแวดล้อม ปัจจัยสำคัญน่าจะเป็นที่ ตน มากกว่า ถ้าหวังว่า "ฉัน" จะได้อะไร โดยที่ในความเป็นจริงสถาบันให้โอกาสนักเรียน รวมทั้งอาจารย์ มากมายนอกจาก อาชีพ (ในกรณีที่คุณเอาใบปริญญาและ license ไปทำมาหากิน)จากสถาบันอยู่แล้ว มันคงแปลกนะถ้าคุณคิดว่าเพื่อนร่วมรุ่นที่คุณสามารถนั่ง mouth อาจารย์อยู่ได้เป็นวันๆคุณไม่ได้จากการมาอยู่ใต้หลังคาเดียวกัน ร่วมเงาสถาบัน ตัวสถาบันเป็นอะไรที่ไม่มีตัวตนจริง นักเรียนทุกคนก็เป็นส่วนที่เป็นสถาบัน ไม่ว่าปัจจุบัน หรืออดีต และเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้สร้างความภาคภูมิให้แก่สถาบัน

Posted by : ป้าเอง , Date : 2003-06-06 , Time : 00:13:14 , From IP : 172.29.3.212

ความคิดเห็นที่ : 35


    ผมขออนุญาติแสดงความคิดเห็นครับ ขอตอบคุณ ป้าเอง ครับ ผมตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่ออยากจะพัฒนาหรือหาวิธีที่จะทำให้เด็กหรือแพทย์ที่จบ มอ.มีความรักในสถาบันมากขึ้นกว่าเดิมครับ ผมไม่ได้คิดว่าของเดิมไม่ดีแต่อยากทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมครับ ผมเข้าใจดีครับว่าคนเป็นปัจจัยที่สำคัญครับแต่ใคร่ขอความคิดเห็นในการพัฒนาให้เกิดตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งกระทู้นี้มากกว่าครับ ผมไม่ด้คิดว่าเราจะต้องได้อะไรจากสถาบันหรอกครับแต่อยากทำอะไรให้ มอ. มากกว่าครับ

Posted by : free bird , Date : 2003-06-06 , Time : 10:40:42 , From IP : 172.29.1.172

ความคิดเห็นที่ : 36


   กระทู้นี้ HOT จริงๆมีคนแสดงความคิดเห็นมาเยอะแยะ
ผมเป็นคนนึงที่จบจากคณะแพทย์ มอ. แต่ตอนนี้อยู่ไกลก็เลยไม่ค่อยได้กลับไปเยี่ยม
ถ้าถามผมถึงเรื่องความรัก มอ. นี่ผมก็ยังลังเล แต่ถ้าถามถึงความภูมิใจละก็ต้องตอบว่าผมมีความภูมิใจที่จบจาก มอ. อาจสงสัยว่าทำไม....เป็นเพราะว่า มอ. สอนผมหลายอย่าง ทั้งในเรื่องความรับผิดชอบที่ผมต้องตื่นมา round ward ทำแผลคนไข้ตั้งแต่เช้า ต้องอ่านหนังสือมา round เพราะกลัวอาจารย์ป๋องจะหยิกพุง ต้องดูคนไข้ให้ complete และต้องทำหัตถการให้เนี๊ยบเพราะกลัวจะเป็นลูกชังของอาจารย์ธนพล ต้องเตรียมคิดสัดส่วนผสมยาเพราะกลัวอาจารย์มยุรีจะผิดหวัง
ต้องเอาอกเอาใจพี่พยาบาลจะได้ช่วยทำแผลและเก็บ sputum ให้
ตกเย็นต้องมาเล่นบอลเพราะจะมี บอล league ซึ่งแพ้ไม่ได้
หลังเล่นบอลก็ไปนั่งโรงช้างเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับเพื่อนต่างคณะ (โดยเฉพาะสาวๆ)
พอค่ำก็ไป sugar beat เพื่อประสานความสัมพันธ์กับเด็ก วจก. รวมทั้งเด็กพาณิชย์และเทคนิค
สิ่งที่ผมได้ทำในสมัยเรียนนั้นอาจทำให้ผมไม่ใช่เด็กดีในสายตาอาจารย์แต่มันทำให้ได้ส่งผลถึงการทำงานของผมที่มีเสียงตอบรับมาว่า
ดูแลคนไข้ดี ดูละเอียดและรวดเร็ว
ทำหัตถการต่างๆได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดหรือแม้กระทั่งทำแผลทุกชนิด
มนุษยสัมพันธ์ดีกับทุกคน
มีวิสัยทัศน์ในการบริหารงานโรงพยาบาล
ซึ่งถ้าหากเทียบคุณภาพของเด็ก มอ. ธรรมดา ที่ได้เกรดเฉลี่ย 2.7 กับคนที่จบ รามา ศิริราช จุฬา ต้องบอกว่าเรากินขาด
...ผมภูมิใจที่เคยใช้ชีวิตอันมีค่าในช่วงหนึ่งที่ มอ.ครับ....


Posted by : เอก , Date : 2003-06-14 , Time : 03:29:31 , From IP : 203.113.51.6

ความคิดเห็นที่ : 37


   ถึงน้องๆที่รักทุกคน แม้พี่จะจบไปได้ไม่นาน(แค่หนึ่งปีเท่านั้น)แต่พี่อยากจะบอกน้องๆว่าในชีวิตการทำงานนั้นสถาบันการศึกษามิได้เป็นตัวบ่งบอกถีงความดีเลวเก่งหรือโง่แต่ประการใด ในโลกของการทำงานในแต่ละวันน้องจะต้องคิดแล้วว่าในแต่ละวันน้องจะทำอะไรให้ชีวิตประสบความสำเร็จเพราะฉะนั้นพี่ว่าน้องควรตัดความคิดเหล่านี้ไปซะเพราะน้องรู้หรือไม่ว่าแม้น้องจะมีคะแนนสอบเอนทรานซ์น้อยกว่าบางคน หรือจบในสถาบันที่น้องเฝ้ายำ้คิดว่าเหนือกว่าเก่าแก่กว่าหรือมีเกียรติมากกว่านํ้นแท้จริงแล้วน้องกับพวกเค้าก็มีสิทธิ์ในความเป็นแพทย์เท่าเทียมกัน ได้เงินเดือนเท่ากันมีคำนำหน้าว่าแพทย์เหมือนกันเพราะฉะนั้นอย่าไปสนใจตัดมันซะ อย่าลืมซิน้องเราเป็นนักวิทยาศาสตร์ต้องอยู่กับเหตุผลและความจริง พี่ว่าทำใจให้สบายตั้งใจเรียนจบมาเป็นแพทย์ที่เก่งๆ น้องไม่รู้หรือว่าแพทย์มอของเราเป็นอาจารย์
คาร์ดิโอเด็กศิริราชเป็น ศ. ด้วยนะน้องทั้งที่ท่านจบรุ่นที่4นะ ในกระทรวงสาธาฯก้มีพี่ๆเราที่เป็นผู้มีบทบาทในกระทรวงหลายท่าน พี่ว่าที่คนเหล่านี้ประสบความสำเร็จเพราะเอาใจจดจ่ออยู่กับงานรู้ว่าชีวิตต้องการอะไรไม่ได้เอาใจมาหมกมุ่นกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง พี่ไม่ทราบว่าคนเขียนกระดานข่างนี้ขึ้นวอร์ดหรือยังถ้ายังน้องจะเข้าใจเองนะว่าที่พี่ว่ามานั้นจริงหรือไม่


Posted by : 003med24 , E-mail : (gphrommee.hunsa) ,
Date : 2003-06-18 , Time : 01:20:39 , From IP : ppp-203.144.138.161.


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.021 seconds. <<<<<