ความคิดเห็นทั้งหมด : 8

นายกแพทยสภาแถลง


   คัดลอกมาจาก doctor room

ได้ตรวจสอบข้อมูลที่แพทยสภาแล้วพบว่านางดอกรักได้ทำหนังสือถึงแพทยสภาเมื่อว ันที่ 4 กรกฎาคม 2543 โดยกล่าวหาอายุรแพทย์ที่คลินิกว่าได้ฉีดยาให้ตนแล้วทำให้เกิดการแพ้จนในที่ส ุดตาบอด ผู้ป่วยอ้างว่าตนแพ้ยาซัลฟามาก่อน ผู้ป่วยสงสัยว่าแพทย์ฉีดยาDipyrone ที่มีส่วนผสมของซัลฟาให้แก่ตน แพทยสภาได้รับเรื่องพิจารณาเป็นคดีมีมูลได้ทำการสอบสวน พบว่าแพทย์ที่คลินิกได้บอกผู้ป่วยว่าแพ้ซัลฟาแต่เมื่อตรวจสอบพบว่ายาที่ผู้ป jวยได้รับเป็นยาลดไข้ชนิดฉีดที่ไม่ส่วนเกี่ยวข้องกับซัลฟา ถ้าแพทย์รู้ว่าแพ้ยาชนิดใดแล้วยังไปให้ซ้ำถือว่าเป็นความผิด แต่ถ้าผู้ป่วยไม่มีประวัติที่แพ้ยาที่แพทย์ให้มาก่อน แพทย์ไม่มีทางรู้ได้ว่าจะแพ้ยาถือเป็นเรื่องสุดวิสัย ไม่ถือว่าเป็นความผิดหรือความประมาทเลินเล่อ นอกจากนี้อาการของโรคอาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ เช่นไวรัส Herpes, hepatitis EB virus อาจเกิดจาก Mycoplsma pneumoniae, Streptococcus หรือเชื้อรา แม้ malaria ก็ทำให้เกิดได้ มะเร็งเช่น lymphoma ก็เป็นสาเหตุได้ ในสหรัฐพบว่า 25%-50% ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic) ประมาณหนึ่งในสามไม่เคยได้รับยามาก่อนมีอาการ คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่า Steven Johnson syndrome เกิดจากการแพ้ยาเท่านั้น แพทยสภาจึงยกข้อกล่าวโทษ เนื่องจากเป็นเรื่องสุดวิสัย
ผู้ป่วยจึงเปลี่ยนไปฟ้องศาลเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย แต่ไม่ได้ฟ้องแพทย์คนแรกที่แพทยสภาพิจารณายกข้อกล่าวโทษ แต่ฟ้องแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐว่ารักษาผิดและวินิจฉัยผิด ได้ตรวขสอบ OPD card และเวชระเบียนแล้วพบว่าผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเวลา 16:20 น.ของวันที่ 26 ตค 2542 หลังจากไปหาแพทย์ที่คลินิก 1 วัน ด้วยอาการไข้ ไอ ตาแดง เจ็บคอ แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น conjunctivitis with URI ในเวลา 23:50 น.ของวันเดียวกัน ผู้ป่วยกลับมาโรงพยาบาลด้วยอาการหน้าบวม ตาบวม มีแผลในช่องปาก มีผื่น erythematous rash ที่หน้าอก แพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็น Steven Johnson syndrome รับไว้รักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากอาการทางผิวหนังในโรค Steven Johnson syndrome เกิดรวดเร็วมากจึงเป็นไปได้ว่าตอนไปโรงพยาบาลเมื่อ 7 ชั่วโมงก่อนหน้านี้ยังไมผื่นที่ผิวหนัง หน้ายังไม่บวม จึงให้การวินิจฉัยไม่ได้ ถึงวินิจฉัยได้ผลการรักษาก็ไม่น่าจะแตกต่างกัน ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยา chlopheniramine และ prednisolone ศาลพิจารณาว่าแพทย์ผิดที่ไม่ได้ให้ dexamethazone ทำให้ตาบอด ความจริงแล้วโรคนี้ทำให้ตาบอดได้ 3-10% ถึงแม้ว่าได้รับการรักษาอย่างดี การให้ dexamethazone ก็ไม่ได้รับรองว่าตาจะไม่บอด คนที่ตาบอดก็มักได้ dexamethazone มาแล้วเป็นส่วนใหญ่ การตาบอดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและพันธุกรรม บางสถาบันในต่างประเทศห้ามให้ยา steroid ด้วยซ้ำ มีข้อมูลหลายแห่งที่พบว่าการให้ steroid ทำให้ผู้ป่วยตายมากขึ้นเพราะติดเชื้อแทรกซ้อนซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญท ี่สุด ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปจากการทำการศึกษาเปรียบเทียบว่าวิธีใดดีกว่ากัน ในรายนี้น่าจะต้องชมแพทย์ที่ทำการรักษาที่สามารถช่วยชีวิตผู้นี้ได้ อาการของผู้ป่วยเหมือนถูกไฟลวกร้อยเปอร์เซ็นมีโอกาสตายสูงมาก ที่กล่าวว่าวินิจฉัยผิดไม่เป็นความจริงเพราะแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Steven Johnson syndrome ตั้งแต่แรกรับ
คนไทยเราสับสนเรื่องความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจกับการเรื่องความถูกต้อง ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมาณควรได้รับการช่วยเหลือถึงแม้ว่าแพทย์ไม่ผิด
ไม่ควรช่วยเหลือผู้ป่วยโดยกล่าวหาว่าแพทย์รักษาผิด ต่อไปจะไม่มีใครรักษาผู้ป่วย แถมผู้ป่วยยังแจ้งคดีอาญาแก่แพทย์ด้วย ในประเทศที่เจริญแล้วอย่างในสหรัฐฯ ถึงแม้มีการฟ้องร้องมากแต่เขาก็มีกฎหมายห้ามฟ้องแพทย์ในคดีอาญาจากเรื่องการ รักษาพยาบาล แพทย์พยายามช่วยเหลือผู้ป่วยไม่ได้มีเจตนาฆ่าผู้ป่วย ถ้าช่วยผู้ป่วยไม่สำเร็จจะต้องผิดคดีอาญาต่อไปจะไม่มีใครยอมช่วยเหลือผู้ป่ว ย ในประเทศมาเลเซียตำรวจก็ไม่รับแจ้งความคดีอาญาจากการรักษาพยาบาลเพราะเขาถือ ว่าแพทย์ไม่ได้มีจุดประสงค์ไปฆ่าหรือทำร้ายผู้ป่วยถ้าจะโทษว่าประมาทเลินเล่ ออย่างร้ายแรง เขาจะต้องให้สภาวิชาชีพตัดสินเพราะตำรวจไม่มีความรู้ที่จะบอกว่าประมาทเลินเ ล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ ในรายนี้แพทยสภาได้ตอบตำรวจไปแล้วว่าการรักษาของแพทย์ทั้งสามถูกต้องตามความ เห็นของราชวืทยาลัยจักษุแพทย์ การรักษาโรคแทรกซ้อนทางตาในปัจจุบันยังไม่ได้ผลดี
คนไทยนี้แปลกเด็กขโมยของถ้าเรียกตำรวจจับกลายเป็นคนเลว ชอบส่งเสริมเด็กให้เป็นโจร คนไทยแยกความสงสารกับความผิดถูกไม่ออก
คนขับรถจักรยานยนต์วิ่งผิดทาง ไปชนถูกรถยนต์บาดเจ็บ รถยนต์ต้องจ่ายขณะที่ในต่างประเทศคนทำผิดกฎจราจรต้องจ่าย คนไทยไปเยอรมันข้ามถนนในที่ห้ามข้ามถูกรถชนตายฟรีแถมเขายังเรียกค่าเสียหายท ี่ทำให้รถบุบ ถ้าเป็นเมืองไทยรถยนต์ต้องผิด เราไม่สนใจเรื่องกฎเกณฑ์ เรื่องผิดถูกเราแยกไม่ออกว่าความเอื้ออาทรสงสารกับการผิดถูก เราควรจะพิจารณาทั้งสองด้านแต่แยกจากกัน เรื่องความเอื้ออาทรก็ต้องทำให้การช่วยเหลือ แต่เรื่องผิดถูกก็ต้องให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้อง จะต้องมองทุกด้านไม่ใช่มองด้านเดียวตามกระแส ประเทศเราจึงขาดระเบียบวินัย ไม่แปลกใจว่าทำไมเราจึงล้าหลังไม่สามารถพัฒนา ในอดีตประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์มาหลายครั้งแล้วว่ากระแสของคนส่วนใหญ่ก็อาจจะ ผิด
เรื่องการอุธรณ์หรือไม่นั้นไม่สำคัญ ที่สำคัญที่สุดคือต้องให้ประชาชนเข้าใจว่าการแพ้ยาถ้าไม่รู้มาก่อนถือว่าเป็ นเรื่องสุดวิสัย ถ้าผู้ป่วยแพ้ยาแล้วแพทย์ต้องจ่ายค่าเสียหาย เราคงรักษาใครไม่ได้เพราะไม่มียาชนิดใดที่ไม่มีคนแพ้เพียงแต่มากหรือน้อยเท่ านั้น บางอย่างโอกาสแพ้มีหนึ่งในสิบบางอย่างหนึ่งในสิบล้านคนชึ้นกับพันธุกรรมของผ ู้ป่วยและปัจจัยอื่นๆ





Posted by : .. , Date : 2005-08-12 , Time : 22:33:58 , From IP : 172.29.7.37

ความคิดเห็นที่ : 1


   มีคำถามจากสมาชิกว่าทำไมไปออกรายการโทรทัศน์
ได้รับการติดต่อเมื่อเวลา 17:38 น. ของวันที่ 5 สค 2548 ขอให้ไปอธิบายทางวิชาการให้ประชาชนทราบว่าโรค Steven Johnson เป็นอย่างไร โดยได้รับการยืนยันว่าจะไม่มีการตอบโต้กับผู้ป่วย ผมคิดดูแล้วว่าการปล่อยให้ผู้ป่วยพูดข้างเดียวทำให้วงการแพทย์เสียหายมากกว่ า เพราะก่อนหน้านั้นมีผู้ป่วยรายหนึ่งไปออกรายการข้างเดียวปรากฎว่าประชาชนเห็ นใจผู้ป่วยมาก หลายคนฟังแล้วร้องไห้ด่าหมอกันหมด ผมไม่ได้ดูรายการแต่ได้ดู VCD ทีกรรมการแพทยสภาอัดไว้ จึงได้ไปตรวจสอบข้อมูล ที่ผู้ป่วยอ้างว่าไปยกของหนักแล้วปวดหลัง แพทย์ได้ทำ myelogram ต่อมาผู้ป่วยมีอาการแท้งบุตร เมื่อสิบเอ็ดปีที่แล้ว ผู้ป่วยได้ฟ้องศาลว่า การถ่ายภาพรังสีทำให้แท้งบุตรทั้งที่จำนวนรังสีไม่น่าจะสูงพอให้แท้งได้ หลังจากนั้น 7 เดือนผู้ป่วยยังเดินได้ปรกติ ต่อมาผู้ป่วยแจ้งว่าตนเองเป็นอัมพาตเดินไม่ได้ เมื่อสองปีก่อนผู้ป่วยไปออกรายการโทรทัศน์ยังหายใจปรกติแต่เมื่อมาออกรายการ คราวนี้ผู้ป่วยต้องใช้ออกซิเจนใส่จมูกตลอดเวลา ทำให้มีคนสงสารกันมาก แต่เมื่อดูให้ละเอียดชักไม่แน่ใจว่าอาการที่ผู้ป่วยแสดงในโทรทัศน์เป็นเรื่อ งจริงหรือสร้างความเห็นใจ ผู้ป่วยใช้ออกซิเจนแต่จมูกไม่มีอาการจมูกบาน ไม่มีอาการหอบ ไม่มีอาการเขียวแต่พูดจ้อเกินกว่าคนที่ต้องใช้ออกซิเจนจะทำได้ น่าจะมีการตรวจสอบโดยถ่ายภาพรังสีปอดดูว่ามีพยาธิสภาพจริงหรือไม่ ควรมีการวัด blood gas ดูว่าออกซิเจนในเลือดเป็นอย่างไร หรือจะใช้ pulsimeter ตรวจก็ได้ ส่วนเรื่องอัมพาตน่าแปลกใจที่เป็นอัมพาตมาตั้งสิบปี กล้ามเนื้อต้นขาไม่ลีบแถมมีขนาดใหญ่และแข็งแรง ผู้ป่วยสามารถยกตัวขึ้นนั่งเก้าอีได้โดยไม่มีใครช่วยแสดงว่ากล้ามเนื้อที่ต้ นขาและสะโพกแข็งแรง น่าจะมีการตรวจสอบดู nerve conduction และทำ electromyography ว่าความจริงเป็นเช่นไร ได้ข่าวจากแพทย์ที่เคยตรวจว่าเคยทำ MRI แล้วว่าปรกติ อย่างไรก็ตามอาการเดินไม่ได้หรือหายใจหอบก็ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการทำ myelogram เมื่อสิบเอ็ดปีที่แล้ว เมื่อไม่มีแพทย์ไปชี้แจงทำให้ประชาชนเชื่อหมดเพราะไม่มีความรู้ทางการแพทย์
อีกรายที่เป็นข่าวผู้ป่วยอ้างว่าแพทย์ไปขูดมดลูกให้แล้วผู้ป่วยไปกินยาลดควา มอ้วนและยาอีกหลายอย่าง ได้กล่าวหาว่าแพทย์ทำให้บุตรในครรถ์จะพิการ ผู้ป่วยพยายามจะให้แพทย์ทำแท้งให้ ปรากฎว่าได้คลอดบุตรแล้ว เป็นบุตรชายหนัก 4100 กรัม ปรกติดีทุกอย่าง โชคดีที่แพทย์ไม่ยอมฆ่าบุตรในครรถ์ตามที่ผู้ป่วยต้องการ




ส่งโดย: สมศักดิ์ โล่ห์เลขา



Posted by : .. , Date : 2005-08-12 , Time : 22:35:04 , From IP : 172.29.7.37

ความคิดเห็นที่ : 2


   URL ครับ

http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1123637805


Posted by : .. , Date : 2005-08-12 , Time : 22:36:05 , From IP : 172.29.7.37

ความคิดเห็นที่ : 3


   ......เมื่อภัยพาลมาราญรอน
กุมสติไว้ก่อนจึงสู้ภัย.....


Posted by : องคต , Date : 2005-08-12 , Time : 23:38:58 , From IP : 172.29.7.185

ความคิดเห็นที่ : 4


   อื่มมมมม

สังคมเมื่อไหร่จะพัฒนา
มีแต่คนใช้อารมณ์เหนือเหตุผลครับสังคมที่ชอบอ้างว่าตัวเองเป็นพวกมีความพริ้วไหวในอามณ์ ไม่นิยมวัตถุ ไม่นิยมความหยาบกระด้าง และที่แน่นอนคือไม่นิยมใช้สิ่งที่วิวัฒนากรมาให้ใช้คือเหตุผลไงครับ น่าเสียดายที่คนในสังคมไม่นิยมทำตัวให้สมวิวัฒนาการ


Posted by : วงคม , Date : 2005-08-12 , Time : 23:55:15 , From IP : 172.29.4.235

ความคิดเห็นที่ : 5


   วิจารณญานนั้นน่าจะใช้หมดทั้งสองอย่างคือ เหตุผล และการรับรู้อื่นๆรวมทั้งอารมณ์ เพื่อที่เราจะ "เข้าใจ" ก่อนที่จะ "ตัดสิน"

เวลาที่แพทย์รักษาแล้วเกิดเหตุสุดวิสัย เกิดภาวะแทรกซ้อน เวลาบอกกับผู้ป่วยก็ควรจะทราบว่าเรื่องแบบนี้จะทำให้เขา "รู้สึก" อย่างไรบ้าง และกำลัง "คิด" อะไรอยู่ การแสดงออกของหมอ ณ เวลาที่บอกนั้นจะได้สมกับกาละเทศะ จะมีปัญหาถ้าเราคิดว่าภาวะแทรกซ้อนทั้งหล่ายแหล่ ได้มีการอธิบายล่วงหน้าไปหมดแล้ว พอเกิดขึ้นมาจริงๆก็น่าจะรับได้ น่าจะทำได้ และรับไปอย่าง logic ได้

ซึ่งไม่จริงเสมอไป

ทั้งๆที่ทราบ ทั้งๆที่รู้ล่วงหน้า บางทีอารมณ์มันก็ยัง overwhelming ได้เสมอ เพราะมันขึ้นอยู่กับความสำคัญของเรืองราวนั้นด้วย แถมยังขึ้นกับ "บริบท" มากมาย เช่น "ท่าที"ของทีมรักษาในระหว่างมีความสัมพันธ์ติดต่อสื่อสารทั้ง verbal และ non-verbal บางทีก็รวมทั้งการ "ไม่ได้แสดงออก" อะไรที่เขาคาดหวังไว้ เช่น กรพูดจาท่าทางที่แสดงความเห็นอก เห็นใจ หรือเข้าใจความรู้สึก ยกตัวอย่างถ้าขณะที่บอกข่าวร้าย เราถือว่าเป็นแค่ formality เพราะเราเตรียมอธิบายไปหมดแล้ว ใช้น้ำเสียงแบบ robot ชี้แจงแบบธุรกิจ matter-of-fact-ly tone คนรับฟังที่มีอารมณ์เศร้าอยู่ก็สามารถเกิด negative feeling อยากจะระบายกับหมอขึ้นมาได้

หมอจะมี immune ต่อการถูกฟ้องได้สองตอน หนึ่งก็คือตั้งแต่ก่อนถูกฟ้อง สองก็คือถูกฟ้องแล้วไม่ถูกตัดสินว่าผิด ที่พวกเราต้องการน่าจะเป็นแบบแรก แต่การจะถูกฟ้องหรือไม่ จากตัวอย่างที่ผ่านๆมา ไม่ได้ขึ้นอยู่กัยว่าเราทำถูกต้องคามทฤษฎีระเบียบปฏิบัติอะไรสักเท่าไหร่เลย มันเป็นการตัดสินใจของคนอื่นที่เขา "อยาก หรือไม่อยาก" ฟ้องหมอแค่นั้น การที่หมอทำอะไรตาม guildelines ตาม CPG หรือมีประกัน malpractice ฯลฯ จะมีประโยชน์ตอนที่ถูกสอบสวนขึ้นโรงขึ้นศาลเท่านั้น

การที่จะไม่ถูกฟ้อง ก็คงคล้าย health promotion นะครับ คือทำให้พวกเรา "ไม่น่าฟ้อง ไม่ควรฟ้อง ไม่อยากฟ้อง ฟ้องยาก ฟ้องแล้วเสียมากกว่าจะได้" สองประการหลังอาจจะไม่ค่อยจริงเท่าไหร่จากระบอบสังคม เพราะคน "ช่วย" ฟ้องหมอนับวันจะเยอะขึ้น สื่อมวลชนต่างๆเผลอๆให้ incentive ค่าเรื่อง ค่าทำหนังสือ ทำข่าวซะด้วยซ้ำ ดังนั้นมันจะตกอยู่ที่สามประการแรกคือ ไม่น่าฟ้อง ไม่ควรฟ้อง ไม่อยกาฟ้องนั้นขึ้นอยู่กับ ความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับผู้ป่วย เท่านั้น

ในประเด็น heart over head หรือที่ว่าคนไทยใช้อารมณ์เหนือเหตุผลนั้น ผมคิดว่าสื่อมวชนมีส่วนในการรับผิดชอบอย่างมาก การเสนอข่าวที่ "เป็นกลาง และจากสองฝ่าย" นั้น ช่วยป้องกัน และสร้างเรื่องที่ใกล้เคียงความจริง และเสนอโอกาสให้ผู้รับข่าวได้วิเคราะห์ มากกว่าที่จะเสนอแบบ sensationalize และแถมส่วนใหญ่ช่วย "ตัดสินถูกผิด" ไปเรียบร้อย และมักจะเป็นมุมมองของฝ่ายเดียว คนก็ไม่มีทางเลือกมาก ถ้าไม่คิดว่าจะเชื่อยากไว้ก่อน ก็มักจะรับข้อมูลมาทั้งดุ้นเลย ตรงนี้ผมว่าขณะที่เราจะฝึกชาวบ้านให้รับรู้ข้อมูลแบบเชิงวิเคราะห์ เราสามรถทำได้ง่ายกว่า (ตามทฤษฎี) โดยการมีฐานันฎรที่สี่ที่มีคุณภาพ มีจรรยาบรรณ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-13 , Time : 11:08:05 , From IP : adsl-203-156-37-20.j

ความคิดเห็นที่ : 6


   เห็นด้วยกับคุณ Phoenix ครับ

Posted by : .. , Date : 2005-08-13 , Time : 12:01:16 , From IP : 172.29.3.108

ความคิดเห็นที่ : 7


   เห็นด้วยอย่างมากกับอาจารย์นกไฟครับ

Posted by : Paritas , Date : 2005-08-13 , Time : 14:28:28 , From IP : 203.156.190.37

ความคิดเห็นที่ : 8


   ครั้งนี้แพทยสภาทำได้ดีมากขอชื่นชม เนื่องจากบางครั้งสื่อมวลชนทำให้บุคลภายนอกมองวงการแพทย์ในแง่ที่ไม่ดีจนบางครั้งรู้สึกท้อแท้ในการทำงานไปเลย ขอเป็นกำลังใจให้กับเพื่อนแพทย์ทุกคนนะ

Posted by : นกน้อย , Date : 2005-08-13 , Time : 21:21:13 , From IP : ppp-210.86.223.204.r

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<