ความคิดเห็นทั้งหมด : 8

ทำอย่างไรให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการด้านสาธารณะสุขดีขึ้น


   ผมเป็นคนหนึ่งที่ทำงานอยู่ในทีมให้บริการด้านสาธารณะสุข ความขัดแย้งระหว่างผู้ร่วมงานเช่นแพทย์กับพยาบาล แพทย์กับแพทย์ต่างแผนก เป็นต้น เป็นสิ่งที่พบเจอมานานและยังมีอยู่ต่อไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยถอยลง(ฮิตตลอดกาล) จึงเกิดความสงสัยว่าเรื่องนี้ได้รับความสนใจหรือไม่ หรือคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยพบได้เมื่อทำงานร่วมกันไม่จำเป็นต้องแก้ไข
โดยส่วนตัวแล้ว คิดว่าน่าจะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น ส่วนวิธีการนั้นยังไม่ชัดเจนในตอนนี้ ใครมีความเห็นดีๆลองเอามาแลกเปลี่ยนกัน



Posted by : megumi , Date : 2005-08-08 , Time : 16:52:50 , From IP : 172.29.7.209

ความคิดเห็นที่ : 1


   ต่างคนต่างจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันโดยเฉพาะแพทย์กับพยาบาล ไม่ตั้งแง่ซึ่งกันและกัน ทำไมแพทย์บางคนตอนเป็น ext. นิสัยน่ารักมากแต่พอได้เป้นหมอเท่านั้นแหละ นิสัยแย่ลงมาก

Posted by : ,,,,,,, , Date : 2005-08-08 , Time : 17:56:32 , From IP : 172.29.3.89

ความคิดเห็นที่ : 2


   -ผมเห็นด้วยกับเรื่องต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เรื่องความหมายของมนุษยสัมพันธ์ที่ดีผมคิดว่าทุกคนคงพอเข้าใจ
-เรื่องตั้งแง่ต่อกัน อันนี้ผมไม่เข้าใจ ขอไม่ออกความเห็น
-เรื่องนิสัยที่เปลี่ยนไปจากตอนเป็นext. อันนี้พอเข้าใจ ตอนเป็นext เราเป็นผู้ตาม ใครให้ทำอะไรก็ทำ พี่พยาบาลแนะนำให้ทำอะไรก็ทำ พี่หมอแนะให้ทำอะไรก็ทำ แต่พอเป็นหมอแล้ว เขาต้องเป็นผู้นำทีมtreatment ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นก็ต้องได้รับการแก้ไข ไม่เช่นนั้นผลเสียจะตกแก่ผู้ป่วย เพียงแต่ใครจะแสดงกิริยาแบบใดออกมา การcommentที่รุนแรงผมเห็นด้วยว่าไม่สมควร ส่วนการวางเฉยปล่อยให้เลยตามเลยไปผมก็ว่าไม่เหมาะ ดังนั้นถ้าเราตั้งใจทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการด้านสาธารณะสุขที่ดี เราควรพัฒนาขึ้นทุกวัน ยอมรับจุดบกพร่อง ในขณะที่ผู้นำก็ควรมีใจให้อภัยอยู่ส่วนหนึ่งด้วย ไม่งั้นทีมก็ล่ม รักษาคนไข้ได้ 1 คนแต่ที่มเจ๊ง คนไข้กลับบ้าน แต่เราทะเลาะกัน คนไข้คนต่อไปมาการดูแลจะเป็นอย่างไร



Posted by : megumi , Date : 2005-08-08 , Time : 19:47:59 , From IP : 172.29.7.181

ความคิดเห็นที่ : 3


   การให้เกียรติกันครับ

เช่น major vs. minor department

clinician vs. imaging

การคำนึงถึงความเป็นทีม เป็นผู้ร่วมงาน กัน ไม่ใช่ นาย/บ่าว

สุดท้ายคือความจริงใจซึ่งกันและกัน ปราถนาให้ผู้ป่วยพ้นจากความทุกข์ ครับ

ก่อนจะตัดสินทำอะไรลงไปนอกจากเห็นผลทางวิชาการแล้ว การคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ที่มีตัวตนของผู้ป่วย และผู้ร่วมงานน่าจะมีส่วนในการกระทำของคุณหมอ ที่มีอำนาจด้วยครับ


Posted by : OmniSci , Date : 2005-08-08 , Time : 22:20:33 , From IP : 172.29.1.148

ความคิดเห็นที่ : 4


   ถ้าเราเพียงยึดหลักการข้อเดียวของการเป็นแพทย์ที่ดี นั่นคือ principle of autonomy ครับ

การที่ปัจเจกบุคคลมีสิทธิเสรีภาพที่จะดำรงชีวิตอย่างที่เขาต้องการ ตราบใดที่ไม่ได้ล่วงเกินสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เป็นพื้นฐานของอาชีพของเรา เราต้องเคารพในสิทธิผู้ป่วย เคารพและเข้าใจในความต้องการ คุณค่าชีวิต และความหมายของสิ่งที่ดีที่สุดของชีวิตจากมุมมองของผู้ป่วยให้ได้ เราจึงจะเข้าใจในความทุกข์ทรมานในความเจ็บป่วยของผู้ป่วยอย่างถ่องแท้ และสามารถจะให้การรักษาดูแลผู้ป่วยแบบ holistic ได้

หลักการเดียวกันนำเอามาใช้กับเพื่อนผู้ร่วมงานและคนรอบข้างครับ ทำอย่างไรเราจึงสามารถอยู่และร่วมวานกับคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากเราได้

ที่แล้วๆมาเราไม่มีปัญหาเมื่อคนอื่นคิดเห็นเหมือนเรา แต่จะเกิดปัญหาขึ้นทันทีที่มีคนคิดเห็น "แตกต่าง" ไปจากเรา การแสดงออกเมื่อมีคนคิดเห็นต่างจากเรากลายเป็น lost art กลายเป็นเรื่องยาก หรือกลายเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้อีกต่อไป การสื่อสารที่สามารถอภิปรายความขัดแย้งในบริบทที่ทั้งสองฝ่าย mature และไม่ใช่อารมณ์ดูจะเป็นเรื่องยาก การ judgemental ตัดสินคุณค่าของ "คนอื่น" เกิดขึ้นทุกลมหายใจ หลักการ autonomy เหลืออยู่แค่ครึ่งแรกคือทุกคนอยากจะทำอย่างที่ตนต้องการ และละทิ้งครึ่งหลังคือการที่ความอยากนั้นต้องไม่ได้รบกวนสิทธิของผู้อื่น

คนที่ไม่สามารถเคารพใน autonomy ของเพื่อนร่วมงาน ก็จะมองไม่เห็นคุณค่าชีวิตของผู้ป่วยที่มีเบื้องหลังแตกต่างไปจากของตนเองได้ บางคนมีการเอาคุณค่าตนเองเข้าไปตัดสิน เช่น "ถ้าฉันเป็นยังงั้น.... ฉันหมดแล้วคุณค่าชีวิต ไม่ต้องไปรักษาอะไรต่อไป" เหตุผลต่างๆในการกระทำอะไรก็ตาม จะเป็น self-oriented เท่านั้น ทำอย่างนี้เพราะมันง่ายกว่า สะดวกกว่า เราได้ประโยชน์ โดยไม่คำนึงว่ามันก่อความยากลำบาก ไม่สบายใจ หรือเสียประโยชน์ต่อผู้อื่นอย่างไรบ้าง

Agree to disagree เป็นศิลปในการอยู่ร่วมในสังคม มนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตนั้น designed มาให้ "ต่างกัน" เพื่อมี evolution คนที่ไม่สามารถอยู่กับความต่างได้ จะเป็นทุกข์ใจ และก่อให้คนรอบข้างเป็นทุกข์ น่าเสียดายเพราะนี่เป็นพื้นฐานคุณสมบัติประการหนึ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการเป้นแพทย์ หรืออาชีพที่ "เพื่อคนอื่น" ตามปรัชญาในพระราชดำรัวของสมเด็จพระราชบิดาฯ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-09 , Time : 01:52:07 , From IP : adsl-203-156-37-125.

ความคิดเห็นที่ : 5


   กระทำต่อผู้อื่นเสมือนกระทำกับตนเอง ก็พอแล้ว

Posted by : แมวดำ , Date : 2005-08-09 , Time : 11:51:55 , From IP : 172.29.1.209

ความคิดเห็นที่ : 6


   อาจจะมีข้อยกเว้นได้เหมือนกันครับที่ว่าทำกับคนอื่นให้เหมือนกันทำกับตนเอง

ที่ประเทศอังกฤษเคยมีคนคลั่งศาสนา ทีแปลความ extreme ว่าเกย์เป็นบาปหนาหนักอภัยให้ไม่ได้ ปรากฏว่าลูกตนเองเป็นเกย์ ตานี่ก็เอาปืนลูกซองยิงลูกตัวเองตาย และเริ่มออกเป็น serial killer ฆ่าลูกคนอื่น เหมือนกับที่ทำกับลูกตนเอง

การที่ตัวเราเองคิดว่าดีพอสำหรับเรา ไม่ได้แปลว่ามันจะดีสำหรับคนอื่นครับ นั่นเป็นการคิดแบบ self-centred ซึ่งตรงกันข้ามกับหลักจริยศาสตร์ principle of autonomy ที่เราพึง "เคารพ" คุณค่าและการดำเนินชีวิตของผู้อื่นได้ โดยไม่เอาของๆเราไปครอบใคร หรือบอกว่าของเรานี่แหละ acceptable

รากของปัญหาพวก extremist ที่กำลังลุกลามทั่วโลกอยู่ปัจจุบันนี้ก็คือการที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งต้องการให้คนอื่นๆที่ไม่เห็นด้วยเอาหลักการชีวิตอย่างที่เราเห็นชอบไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นฝั่ง capitalism หรือ religious fanatic ก็ตาม มันเป็นการสร้างปัญหามากก่าการยุติปัญหา



Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-09 , Time : 15:39:55 , From IP : 172.29.3.189

ความคิดเห็นที่ : 7


   -principle of autonomy คงเป็นสิ่งที่ทุกคนยึดไว้เป็นหลักในการใช้ชีวิต บางคนอาจยึดถือปฏิบัติอยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่าเขาเรียกว่าอย่างนี้ ขอขอบคุณอาจารย์phoenixครับ
-การให้เกียรติผู้ร่วมงาน อันนี้ช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่นแน่นอน สมควรนำไปปฏิบัติ
-มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
-ผมขอเสริมอีกอย่างเดียวที่คิดว่าสำคัญต่อการดำเนินชีวิต อันหมายรวมถึงการทำงานด้วย นั่นคือการฝึกจิต
เราอาจมีความรู้ว่าทำอย่างไรเราจะสามารถมีชีวิตอย่างราบรื่น มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น แต่ถ้าจิตเราไม่ได้ฝึกฝน เราก็จะโดนอารมณ์ด้านมืดครอบงำเข้าโดยง่าย เมื่ออารมณ์ด้านมืดเข้าครอบงำเราก็มีความทุกข์
ในเบื้องต้นเราควรรู้ว่า การประสบกับสิ่งที่ไม่รักไม่ต้องการและการพลัดพรากจากสิ่งที่รักสิ่งที่ต้องการ เป็นกลยุทธิ์หลักๆที่ทำให้เราเข้าสู่ด้านมืดของอารมณ์ ที่หนักกว่า(หมายถึงว่าทำให้เข้าด้านมืดง่ายกว่า)คือการพลัดพรากจากสิ่งที่รักมาประสบกับสิ่งที่ไม่รัก
ดังนั้นทุกครั้งที่เกิดความปั่นป่วนในอารมณ์ เราลองนึกดูว่าทำไมเราหงุดหงิด เราเจอกับสิ่งที่ไม่ต้องการ เราโดนพรากจากสิ่งที่เราต้องการ หรือcombineกันทั้ง2อย่าง
ขั้นแรกเอาแค่นี้ก่อนละกันครับ ถ้าผ่านขั้นตอนนี้ไปได้ค่อยมาคุยกันใหม่



Posted by : megumi , Date : 2005-08-10 , Time : 04:18:56 , From IP : 172.29.7.216

ความคิดเห็นที่ : 8


   นอกจากไฟ้ใต้จะรุนแรงแล้ว ไฟสงขลานครินทร์แรงกว่าครับ i am joke

Posted by : scoter , Date : 2005-08-23 , Time : 15:18:19 , From IP : 202.57.137.194

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<