คุณหญิงจารุวรรณ แฉ!เล่ห์ทุจริตหมดเปลือก-ระบบตรวจสอบ รธน.เป็นง่อย
คุณหญิงจารุวรรณ แฉ!เล่ห์ทุจริตหมดเปลือก-ระบบตรวจสอบ รธน.เป็นง่อย
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 สิงหาคม 2548 21:34 น.
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าฯ สตง.
เสวนา เปิดโปงทุจริต ระบบตรวจสอบรัฐธรรมนูญเป็นง่อย คุณหญิงจารุวรรณ แฉเล่ห์ 3 ประสาน นักการเมือง-พ่อค้า-ข้าราชการ ร่วมปล้นชาติ ระบุกินเล็กกินน้อยตั้งแต่ต้นไม้ราคาไม่กี่สิบบาท กลับปั่นราคาสูงกว่า 2 พัน ด้านฝ่ายค้านสารภาพหมดปัญญาเอาผิดรัฐ ด้าน ปริญญา ชี้เข้ายุคคอร์รัปชันเชิงครอบครัว-หนักกว่ายุคบุพเฟต์คาบิเนต เปรียบปรับ ครม.แค่ทำบายพาสหัวใจ จี้เลิกพฤติกรรมกินมูมมามก่อนไปไม่รอด
วันนี้ (7 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องในวันรพี บิดาแห่งกฎหมายไทย คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดเสวนาในหัวข้อเรื่อง เปิดโปงปัญหาการทุจริตกับความผิดพลาดของระบบตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ โดยคุญหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า การทุจริตคอร์รัปชันปัจจุบันมีลักษณะอำพรางซ่อนเร้นอยู่มาก ไม่เฉพาะในโครงการที่มูลค่าสูงเป็นพันเป็นแสนล้าน แต่ในระดับร้อยล้านก็มีจำนวนมาก ซึ่งจากที่เคยตรวจพบ และยกเป็นตัวอย่างได้ คือ 1.ทุกโครงการรัฐจะต้องซื้อของแพงมากขึ้นทุกอย่าง เช่น การจัดซื้อต้นเฟื่องฟ้า พบว่ามีการซื้อสูงถึงต้นละ 5,000 พันบาท ต้นไผ่กวนอิม ต้นละ 2,500 บาท ทั้งที่ความจริงแล้วสามารถซื้อได้ในราคาต้นละไม่กี่สิบบาท โดยวิธีการโกงจะทำในลักษณะการแบ่งสัญญาโครงการเป็นช่วง ช่วงละ 199 ล้านบาท ตรงนี้ทำให้ สตง.เกิดความสงสัยในตัวเลขว่าทำไมต้องลงท้ายด้วย 99 จึงเข้าไปตรวจสอบ
จึงพบว่ามีการตั้งคณะกรรมการตรวจรับงานเป็นชุดเดียวกัน ทั้งที่เวลารับงานจะจัดส่งจากจังหวัดไปยังจังหวัดหนึ่ง ซึ่งกรรมการตรวจสอบรับงานกลับสามารถตรวจรับงานได้ภายในวันเดียวกัน 2.มีการเอาอำนาจทางการเมืองเข้ามาผูกขาดตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับท้องถิ่น ตัวอย่างในการจัดซื้อที่ดินทำบ่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่ง สตง.พบว่ามีการซื้อที่ดินรวม 2 ครั้ง ครั้งแรกซื้อจากเจ้าของที่ราคาต่ำ แต่มาอ้างกับหน่วยราชการในราคาสูง พอจะก่อสร้างก็บอกว่าเป็นที่ดินตาบอด ดำเนินการไม่ได้ทำให้ต้องจัดซื้อที่ดินอีกผืนครั้งที่ 2 ซึ่งการที่มีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งระดับชาติ และท้องถิ่นถือเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก โดยการเข้าไปตรวจสอบการจัดซื้อที่ดินของท้องถิ่นกรณีหนึ่งของ สตง.ทำให้นายกเทศมนตรีคนหนึ่งที่ครองอำนาจมากกว่า 20 ปีต้องไม่ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่ง สตง.ก็ถูกฟ้องร้องในเวลาต่อมา คุณหญิงจารุวรรณ กล่าว
คุณหญิงจารุวรรณ กล่าวอีกว่า 3.การจัดซื้อ และทำสัญญาโครงการต่างๆ จะมีการโยงใยกันเป็น 3 ประสานคือ พ่อค้า นักการเมือง และข้าราชการ โดยจะมีการทำตัวเลขให้ยุ่งยากต่อการตรวจสอบ จากจำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริงเพียง 100 กว่าล้าน ก็สามารถทำให้กลายเป็นต้องจ่าย 220 ล้าน 4. การริเริ่มโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ เมื่อทำสัญญาจะรู้ทันทีว่าแต่ละงานใครจะได้รับสัมปทาน มีการวางฝ่ายการเมืองเข้าไว้ในจุดต่างๆ เรียบร้อย 5.การกำหนดเงื่อนไขในการเข้าร่วมประมูลโครงการเป็นลักษณะล็อกเพื่อบริษัทใดบ ริษัทหนึ่ง เช่น ระบุคุณสมบัติบริษัทที่จะยื่นซองว่าต้องเคยมีประสบการณ์ในการก่อสร้าง โครงการลักษณะดังกล่าวมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท หรือการกำหนดให้มีการยื่นซองประกวดราคาแบ่งเป็น 3 ซอง คือ ซองเทคนิค ซองคุณสมบัติ และซองราคา ทำให้หลายบริษัทไม่ผ่านตั้งแต่ซองแรกๆ 6.สุดท้ายแม้จะฝ่าด่านได้รับงาน แต่ก็จะไม่ผ่านการตรวจรับงาน เนื่องจากจะมีการล็อกกรรมการตรวจสอบรับงานไว้แล้ว
แม้การทำงานของ สตง.จะตรวจสอบพบการทุจริตในหลายเรื่อง แต่การดำเนินการเอาผิดทั้งทางอาญา แพ่ง วินัย กับผู้กระทำนั้นยังเป็นไปได้ยาก เช่น ที่ผ่านมา สตง.เคยส่งเรื่องที่ถือว่าเป็นความผิดทางอาญาให้กับ ป.ป.ช.เพื่อดำเนินการต่อ แต่การที่ ป.ป.ช.ต้องถูกพักงานทำให้กลายเป็นจุดดับของเรื่องเหล่านี้ที่ไม่ถูกดำเนินกา รต่อไป ขณะที่การเอาผิดทางวินัย ได้มีการส่งเรื่องข้าราชการเข้าไปมีส่วนทุจริตในโครงการมูลค่าหมื่นล้านให้ป ลัดกระทรวงดำเนินการ แต่ปลัดกระทรวงกลับออกมาบอกว่าได้ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นความบกพร่องเพียงเล็ก น้อย และได้ว่ากล่าวตักเตือนแล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นจุดบอดสนิทของระบบตรวจสอบ ดังนั้นการทำโครงการต่างๆ ของรัฐบาล ถึงจะมีคนบอกว่าดีที่มี สตง.มาทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เงินงบประมาณ ไม่เช่นนั้นขนาดไม้ไอติมก็จะไม่เหลือ ซึ่งก็คิดว่าขณะนี้ถ้าให้เปรียบโครงการต่างๆ มีมูลค่า100 บาท เหลือถึง 30 บาทก็ดีถมไปแล้ว
Posted by : KKD , Date : 2005-08-08 , Time : 12:12:32 , From IP : 172.29.1.209
|