ความคิดเห็นทั้งหมด : 7

หมอร้องไห้ เมื่อคนไข้ death เหมาะสมใหม


   พี่ๆ เคยเป็นกันหรือเปล่าเวลาที่คนไข้เราเสีย เราเสียใจมาก แล้วอแบร้องให้ออกมาบางครั้งเห็นญาติแล้วยิ่งเสียใจ ถ้าเป็นอย่างนี้เราเป้นหมอที่ไม่เข้มแข็งหรือเปล่า แล้วเราควรทำยังไง อาจารย์นกไฟช่วยตอบก็ดีนะ

Posted by : Sene , Date : 2005-08-06 , Time : 17:06:34 , From IP : 172.29.4.152

ความคิดเห็นที่ : 1


   แบบนี้เขาเรียกว่า มีอาการของความเป็นsympathy เปรียบเสมือนว่าคนไข้หรือญาติพี่น้องเขาเป็นพี่น้องเราจริงๆ เราเลยเศร้าเสียใจมากไป แต่ว่าไม่ผิดหรอกที่จะมีความคิดแบบนี้ แต่จะเป็นทุกข์เสียมากกว่า
ทางที่ดี ที่จะเหมาะสมกับวิชาชีพเราคือ ควรฝึกการมีempathyน่าจะเหมาะสมกว่าจ้า


Posted by : pisces , Date : 2005-08-06 , Time : 19:50:31 , From IP : 172.29.7.194

ความคิดเห็นที่ : 2


    ช่ายแล้ว EMPATHY!!!!!นะจ๊ะ

Posted by : loveme-lovemydog , E-mail : (nakan411@hotmail.com) ,
Date : 2005-08-06 , Time : 20:06:53 , From IP : tot-102-248.pacific.


ความคิดเห็นที่ : 3


   มีหลายความน่าจะเป็น ผมขอเลือก (และเดา) ว่าเป็น scenario เดียวนั่นคือถามว่า "หมอมีอารมณ์ร่วม ร้องไห้ เมื่อคนไข้เสียชีวิต แล้วเป็นเช่นไร" ก็แล้วกันนะครับ

ร้องไห้ เป็น action เกิดจากสองขั้นตอน หนึ่งคือ อารมณ์ถึง แล้วต่อมาก็เป็น semi-voluntory (กึ่งๆควบคุมได้) แสดงอาการออกมา น้ำตาไหล กล้ามเนื้อใบหน้าบางมัดหดเกร็ง และอื่นๆ ต้องประกอบทั้งสองส่วนคือ อารมณ์และ ปล่อยให้เกิด จึงจะมีการร้องไห้เกิดขึ้น วิเคราะห์ทีละส่วนนะครับ

อารมณ์

อารมณ์เป็น "กึ่งๆ" ภายใต้ความสามารถในการควบคุม ทุกๆคนม%D


Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-06 , Time : 20:12:04 , From IP : 172.29.7.146

ความคิดเห็นที่ : 4


   มีหลายความน่าจะเป็น ผมขอเลือก (และเดา) ว่าเป็น scenario เดียวนั่นคือถามว่า "หมอมีอารมณ์ร่วม ร้องไห้ เมื่อคนไข้เสียชีวิต แล้วเป็นเช่นไร" ก็แล้วกันนะครับ

ร้องไห้ เป็น action เกิดจากสองขั้นตอน หนึ่งคือ อารมณ์ถึง แล้วต่อมาก็เป็น semi-voluntory (กึ่งๆควบคุมได้) แสดงอาการออกมา น้ำตาไหล กล้ามเนื้อใบหน้าบางมัดหดเกร็ง และอื่นๆ ต้องประกอบทั้งสองส่วนคือ อารมณ์และ ปล่อยให้เกิด จึงจะมีการร้องไห้เกิดขึ้น วิเคราะห์ทีละส่วนนะครับ

อารมณ์

อารมณ์เป็น "กึ่งๆ" ภายใต้ความสามารถในการควบคุม ทุกๆคนมี "ความสามารถ" หรือ "ศักยภาพ" ที่จะมีอารมณื และ "รับรู้" อารมณ์ ซึ่งทั้งรับรู้และแสดงอารมณ์เป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งในการสื่อสาร (communication) นอกเหนือจากการสื่อด้วยตรรกะ ความคิด และสามารถแสดงออกมาได้ทั้ง verbal และ non-verbal การรับรู้ของสมองเราจะอยู่ในสมดุลของสองระบบ ได้แก่ การคิด (thinking) ควบคุมโดย frontal lobe และ การรู้สึก (feeling) ควบคุมโดย limbic system ถ้าอันใดอันหนึ่งมาก อีกด้านหนึ่งก็จะน้อย ความแปรเปลี่ยนของสัดส่วนนี้เป็นไปได้เยอะทั้งระหว่างบุคคล และภายในคนๆเดียว ณ ต่างกรรม ต่างวาระ

ถ้าเราสามารถเข้าใจได้ว่า เมื่อคนๆหนึ่งกำลังสื่ออะไรสักอย่าง เขาใช้ mode ไหนอยู่ มากหรือน้อย ตรงนี้บางครั้งเราสามารถเลือกวิธีที่จะตอบสนองการสื่อนั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น คนกำลังจะกลัวผี มีอาการใจสั่น ตัวสั่นเทิ้ม ถ้าเราไปอภิปรายว่าผีคืออะไร ประกอยบด้วยธาตุทางกายภาพหรือไม่อย่างไร สามารถทำร้ายเราได้รึเปล่า ผมว่าคนรับอาจจะรับไม่ได้ เพราะเขาใช้ 100% emotion อยู่ หรือถ้าแฟนคุณกำลังชวนไปฉลองวันครบรอบวาระ 1 ปี 2 เดือนแห่งการไปเที่ยวสวนสัตว์สงขลา แล้วคุณดันไปนั่งวิเคราะห์ถามว่าวันนี้มันสำคัญอย่างไร การสื่อสารมันก็จะล้มเหลวได้ ในทำนองกลับกันถ้าลูกน้องคุณถามว่านจะให้ตกแต่งเวทีจัดงานปีใหม่อย่างไร ของอะไรวางตรงไหนบ้าง คุณไปตอบว่าเอาสวยๆดูหวือหวา จับใจหมอศัลย์หน่อย ลูกน้องคุณก็คงจะงงกลับไปและทำงานได้ไม่สำเร็จ

เวลาเราใช้อารมณ์ ส่วนตรรกะ เหตุผลมันจะลดลง ในแง่ "ประสิทธิภาพ" ก็อาจจะลดลง การรับรู้การตัดสินใจที่วางรากอยู่บนอารมณ์นั้น ได้ bypass ข้อมูลประกอบ ที่ปรกติสมองส่วนเหตุผลจะใช้ในการตัดสินใจ

การร้องไห้

คนร้องรู้สึกอย่างไร และคนเห็นคนร้องไห้รู้สึกอย่างไร? คำตอบคงมีหลากหลาย และหลายๆอย่างประสมกันใช่ไหมครับ บางทีก็รู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกไม่รู้จะทำยังไงเมื่อเหนคนร้องไห้ จะเข้าไปจับมือ จะพูดอะไรดี จะปลอบใจดีไหมหรือปล่อยๆไปก็หายเอง แท้คงามรู้สึกร่วมอย่างนึง เห็นจะเป็นว่าเราคงจะคิดว่าคนที่ร้องไห้อยู่น่าจะได้รับความช่วยเหลือ ไม่น่าจะตัดสินใจทำอะไรได้ดีเท่าที่ควร (จนกว่าเขาจะบอกเองว่าไม่เป็นไร) ยิ่งในบางสังคมสำหรับผู้ชาย การร้องไห้แทบจะเป็นการแสดงความอ่อนแอเลยทีเดียว อาจจะมาจากการล้อกันสมัยเด็กๆ เด็กผู้ชายคนไหนถูกแกล้งจนร้องไห้ เพื่อนๆจะล้อทำนองหนเตวเมีย แหย อะไรทำนองนี้ (ยังกะการร้องไห้นี่จดทะเบียนลิขสิทธิ์เป็นของผู้หญิงเท่านั้น) อาจจะมีรากฐานความคิดว่าจากผู้หญิงร้องไห้ให้เห็นบ่อยกว่าผู้ชาย ผู้ชายถูก expose ต่อเหตุการณ์รุนแรง เช่น สงคราม การต่อสู้ มากกว่าจนเคยชิน ความอ่อนไหวอะไรทำนองนี้ลดลงไปเรื่อยๆ

=============================================
OK จะตอบคำถามแล้วครับ

ประการแรก ผมคิดว่าหมอก็คือคนธรรมดาๆที่มีอารมณ์ มีความคิด แหละครับ นั่นไม่ได้ยกเว้นว่าเราสูญเสียความสามารถในการรับรู้หรือแสดงออกทางอารมณ์ไป และเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เราต้องสร้าง doctor-patient relationship แล้ว ไอ้ความสัมพันธ์ตรงนี้มันทำให้เรานับผู้ป่วยหรือญาติเป็นเสมือนคนที่เรารูจักเป็นอย่างดี มีความห่วงหาอาทรในความเป็นอยู่ ความทุกข์ทั้งทางกายและใจ การที่ ผป.ของเราเสียชีวิตนั้น เป็นเรื่องธรรมชาตที่เราจะ "เสียใจ"

ประการที่สอง จากประการแรกนั่นำให้เรา expose ต่ออารมณ์ภายในที่เกิดขึ้นครับ ในระดับไหนแค่ไหนเป็น "กึ่งควบคุมได้" ตรงนี้ก็มาถึงจุดที่ว่าไว้ก็คือ เมื่อหมอร้องไห้ ตัวเราเองเป็นอย่างไร และคนอื่นที่มองเห็นจะรู้สึกอย่างไร และผลลัพธ์มันจะเป็นอย่างไรบ้าง? เมื่อเราปล่อยอารมณ์ให้ถึงจุดร้องไห้นั่น อารมณ์ได้ take over mode of action ของเราไปแล้วแน่ๆ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับที่เราปล่อย และลดประสิทธฺภาพด้านอื่นๆลง รวมทั้งสิ่งที่เราควรจะต้องทำกับ ผป. และ ญาติ ณ ขณะเวลานั้นๆ ได้แก่ การแสดงค.วามเห็นอกเหนใจ การประคับประคองอารมณ์ของผู้อื่น ได้แก่ ญาติ และ พยาบาลล฿กทีมของเรา เพราะทุกคนก็เกิดความสูญเสียกันหมด ทีนี้เราในฐานะ "หัวหน้าทีม" มีความรับผิดชอบที่จะต้องทำให้ทุกๆอย่างมัน go on ไปให้ได้ ตรงนี้ก็อาจจะเป็นผลเสียเดกิดขึ้น มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคนที่เหลือยังมีประสิทธิภาพในการคิด ในการทำงานอย่างเป็นตรรกะอยู่รึเปล่า มีลูกทีมเราคนไหนที่จะ


Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-06 , Time : 20:12:04 , From IP : 172.29.7.146

ความคิดเห็นที่ : 5


   มีหลายความน่าจะเป็น ผมขอเลือก (และเดา) ว่าเป็น scenario เดียวนั่นคือถามว่า "หมอมีอารมณ์ร่วม ร้องไห้ เมื่อคนไข้เสียชีวิต แล้วเป็นเช่นไร" ก็แล้วกันนะครับ

ร้องไห้ เป็น action เกิดจากสองขั้นตอน หนึ่งคือ อารมณ์ถึง แล้วต่อมาก็เป็น semi-voluntory (กึ่งๆควบคุมได้) แสดงอาการออกมา น้ำตาไหล กล้ามเนื้อใบหน้าบางมัดหดเกร็ง และอื่นๆ ต้องประกอบทั้งสองส่วนคือ อารมณ์และ ปล่อยให้เกิด จึงจะมีการร้องไห้เกิดขึ้น วิเคราะห์ทีละส่วนนะครับ

อารมณ์

อารมณ์เป็น "กึ่งๆ" ภายใต้ความสามารถในการควบคุม ทุกๆคนมี "ความสามารถ" หรือ "ศักยภาพ" ที่จะมีอารมณื และ "รับรู้" อารมณ์ ซึ่งทั้งรับรู้และแสดงอารมณ์เป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งในการสื่อสาร (communication) นอกเหนือจากการสื่อด้วยตรรกะ ความคิด และสามารถแสดงออกมาได้ทั้ง verbal และ non-verbal การรับรู้ของสมองเราจะอยู่ในสมดุลของสองระบบ ได้แก่ การคิด (thinking) ควบคุมโดย frontal lobe และ การรู้สึก (feeling) ควบคุมโดย limbic system ถ้าอันใดอันหนึ่งมาก อีกด้านหนึ่งก็จะน้อย ความแปรเปลี่ยนของสัดส่วนนี้เป็นไปได้เยอะทั้งระหว่างบุคคล และภายในคนๆเดียว ณ ต่างกรรม ต่างวาระ

ถ้าเราสามารถเข้าใจได้ว่า เมื่อคนๆหนึ่งกำลังสื่ออะไรสักอย่าง เขาใช้ mode ไหนอยู่ มากหรือน้อย ตรงนี้บางครั้งเราสามารถเลือกวิธีที่จะตอบสนองการสื่อนั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น คนกำลังจะกลัวผี มีอาการใจสั่น ตัวสั่นเทิ้ม ถ้าเราไปอภิปรายว่าผีคืออะไร ประกอยบด้วยธาตุทางกายภาพหรือไม่อย่างไร สามารถทำร้ายเราได้รึเปล่า ผมว่าคนรับอาจจะรับไม่ได้ เพราะเขาใช้ 100% emotion อยู่ หรือถ้าแฟนคุณกำลังชวนไปฉลองวันครบรอบวาระ 1 ปี 2 เดือนแห่งการไปเที่ยวสวนสัตว์สงขลา แล้วคุณดันไปนั่งวิเคราะห์ถามว่าวันนี้มันสำคัญอย่างไร การสื่อสารมันก็จะล้มเหลวได้ ในทำนองกลับกันถ้าลูกน้องคุณถามว่านจะให้ตกแต่งเวทีจัดงานปีใหม่อย่างไร ของอะไรวางตรงไหนบ้าง คุณไปตอบว่าเอาสวยๆดูหวือหวา จับใจหมอศัลย์หน่อย ลูกน้องคุณก็คงจะงงกลับไปและทำงานได้ไม่สำเร็จ

เวลาเราใช้อารมณ์ ส่วนตรรกะ เหตุผลมันจะลดลง ในแง่ "ประสิทธิภาพ" ก็อาจจะลดลง การรับรู้การตัดสินใจที่วางรากอยู่บนอารมณ์นั้น ได้ bypass ข้อมูลประกอบ ที่ปรกติสมองส่วนเหตุผลจะใช้ในการตัดสินใจ

การร้องไห้

คนร้องรู้สึกอย่างไร และคนเห็นคนร้องไห้รู้สึกอย่างไร? คำตอบคงมีหลากหลาย และหลายๆอย่างประสมกันใช่ไหมครับ บางทีก็รู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกไม่รู้จะทำยังไงเมื่อเหนคนร้องไห้ จะเข้าไปจับมือ จะพูดอะไรดี จะปลอบใจดีไหมหรือปล่อยๆไปก็หายเอง แท้คงามรู้สึกร่วมอย่างนึง เห็นจะเป็นว่าเราคงจะคิดว่าคนที่ร้องไห้อยู่น่าจะได้รับความช่วยเหลือ ไม่น่าจะตัดสินใจทำอะไรได้ดีเท่าที่ควร (จนกว่าเขาจะบอกเองว่าไม่เป็นไร) ยิ่งในบางสังคมสำหรับผู้ชาย การร้องไห้แทบจะเป็นการแสดงความอ่อนแอเลยทีเดียว อาจจะมาจากการล้อกันสมัยเด็กๆ เด็กผู้ชายคนไหนถูกแกล้งจนร้องไห้ เพื่อนๆจะล้อทำนองหนเตวเมีย แหย อะไรทำนองนี้ (ยังกะการร้องไห้นี่จดทะเบียนลิขสิทธิ์เป็นของผู้หญิงเท่านั้น) อาจจะมีรากฐานความคิดว่าจากผู้หญิงร้องไห้ให้เห็นบ่อยกว่าผู้ชาย ผู้ชายถูก expose ต่อเหตุการณ์รุนแรง เช่น สงคราม การต่อสู้ มากกว่าจนเคยชิน ความอ่อนไหวอะไรทำนองนี้ลดลงไปเรื่อยๆ

=============================================
OK จะตอบคำถามแล้วครับ

ประการแรก ผมคิดว่าหมอก็คือคนธรรมดาๆที่มีอารมณ์ มีความคิด แหละครับ นั่นไม่ได้ยกเว้นว่าเราสูญเสียความสามารถในการรับรู้หรือแสดงออกทางอารมณ์ไป และเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เราต้องสร้าง doctor-patient relationship แล้ว ไอ้ความสัมพันธ์ตรงนี้มันทำให้เรานับผู้ป่วยหรือญาติเป็นเสมือนคนที่เรารูจักเป็นอย่างดี มีความห่วงหาอาทรในความเป็นอยู่ ความทุกข์ทั้งทางกายและใจ การที่ ผป.ของเราเสียชีวิตนั้น เป็นเรื่องธรรมชาตที่เราจะ "เสียใจ"

ประการที่สอง จากประการแรกนั่นทำให้เรา expose ต่ออารมณ์ภายในที่เกิดขึ้นครับ ในระดับไหนแค่ไหนเป็น "กึ่งควบคุมได้" ตรงนี้ก็มาถึงจุดที่ว่าไว้ก็คือ เมื่อหมอร้องไห้ ตัวเราเองเป็นอย่างไร และคนอื่นที่มองเห็นจะรู้สึกอย่างไร และผลลัพธ์มันจะเป็นอย่างไรบ้าง? เมื่อเราปล่อยอารมณ์ให้ถึงจุดร้องไห้นั่น อารมณ์ได้ take over mode of action ของเราไปแล้วแน่ๆ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับที่เราปล่อย และลดประสิทธฺภาพด้านอื่นๆลง รวมทั้งสิ่งที่เราควรจะต้องทำกับ ผป. และ ญาติ ณ ขณะเวลานั้นๆ ได้แก่ การแสดงค.วามเห็นอกเหนใจ การประคับประคองอารมณ์ของผู้อื่น ได้แก่ ญาติ และ พยาบาลลูกทีมของเรา เพราะทุกคนก็เกิดความสูญเสียกันหมด ทีนี้เราในฐานะ "หัวหน้าทีม" มีความรับผิดชอบที่จะต้องทำให้ทุกๆอย่างมัน go on ไปให้ได้ ตรงนี้ก็อาจจะเป็นผลเสียเกิดขึ้น มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคนที่เหลือยังมีประสิทธิภาพในการคิด ในการทำงานอย่างเป็นตรรกะอยู่รึเปล่า มีลูกทีมเราคนไหนที่จะ tale over ให้ไหม

ประการที่สาม "ถ้าหาก" เราข่มอารมณ์เราลงไปให้ได้ก่อน จัดการเรื่องราวตามภาระหน้าที่ไปให้เสร็๗ก่อน แล้วเลือกเวลา "ส่วนตัว" มาทำอะไร "ส่วนตัว" ก็น่าจะพอไหว
==============================================

แล้ว "หมอที่เข้มแข็ง" คือแบบไหน?

หมอควรจะ emotionless เป็น robot ไปอย่างนั้นเลยหรือไม่? จากที่เล่ามา เราคงจะเห็นนะครับว่าถ้าหากหมอขาดความ sensitive ที่เข้าใจเรื่องอารมณ์ ก็จะลด communication skill ลงไม่มากก็น้อย และการ approach ก็อาจจะไม่ตรงหรือหย่อนประสิทธิภาพลงไป เคยมีภาพยนต์เรือ่งนึง คนไข้กดกริ่งเรียกหมอมา นอนตัวสั่นอยู่บนเตียง บอก "กลัวตายๆ" หมอก็จัดการคลำ pulse วัดความดัน ฟังปอด แล้วก็ประกาศอย่างเสียงดังฟังชัดว่า "หมอตรวจคุณหมดแล้ว การันตีว่าไม่ตายแน่ๆ เลิกกลัวได้แล้ว" ผลก็คือคนไข้ก็ยังตัวสั่นงันงกเหมือนเดิม จนพยาบาลผู้ช่วยเดินเข้ามานั่งข้างๆ กุมมือคนไข้ ปลอบเบาๆว่าเขาอยู่ที่นี่ จะอยู่เป็นเพื่อน คนไข้จึงค่อยๆ calm down ลง

เมื่อเป็นแบบนี้ หมอที่ประสบความสำเร็จมในการสื่อสารกับคนไข้ จำเป็นต้องเป็นคนที่ sensitive พอสมควร แต่ "เข้มแข็ง" พอที่จะควบคุมไอ้พวกระบบ "กึ่งควบคุมได้" ให้มันสามารถแสดงออกตามกรรมและวาระที่พอเหมาะพอเจาะ แต่อย่ากลัวหรือรู้สึกผิดที่เรามีความรูสึกเสียใจเมื่อคนไข้ทุกข์ทรมาน หรือเสียชีวิตเลยครับ นั่นแปลว่าเราเป็นคนธรรมดาๆ คนปกติ มีแค่สองกลุ่มที่จะไม่รู้สึกอะไรคือ พวก robot หรือที่ไม่สามารถรับรู้อารมณ์ กับพระอรหันต์ที่ตัดขาดซึ่งความผูกพันต่างๆลงได้ พวกแรกเป็นพวกที่น่าสงสาร คนที่อยู่รอบข้างก็จะน่าสงสารเพราะจะขาดน้ำใจ ขาดความรับรู้อะไรไปหลายๆอย่าง



Posted by : Phoenix , Date : 2005-08-06 , Time : 20:46:22 , From IP : 172.29.7.146

ความคิดเห็นที่ : 6


   ผมขอแสดงความเห็นบ้างครับ

คำว่า "อารมณ์" ซึ่งเป็นคำจากบาลี หมายถึง สิ่งที่ถูกรับรู้ ไม่ว่าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต้องกาย และเรื่องที่รู้-นึก-คิดในใจ

ต่อมาในภาษาไทย คนเข้าใจความหมายแคบลง กลายเป็นความรู้สึก หรือสภาพจิต จนไปคล้ายกับคำฝรั่งว่า emotion ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจิตใจไป

"จิต" ตามความหมายเดิมของตัวศัพท์ที่เป็นคำบาลี พุทธศาสนามองชีวิตเป็นที่ประชุมหรือประกอบขึ้นด้วยรูปธรรม และนามธรรม หรือ กายกับใจ แต่ถือว่าเป็นองค์รวม ขององค์ร่วม 2 อย่าง

อาจแยกเป็น ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

เวทนา เป็นความรู้สึกร่วมในสุข-ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ของเราต่อสิ่ง หรือการณ์ใดการหนึ่ง เป็นอยู่ในสาธุชนทั่วไป หากน้องไม่ได้เป็นอริยชนซึ่งสามารถระงับกิเลสที่เกิดได้ ก็ไม่เห็นต้องอายที่จะแสดงอารมณ์ออกมา

แต่การครองใจคนข้อที่สามพูดถึงอัตถจริยา การแสดงออกใดก็ไม่ควรเกินเลยไปและต้องอยู่ในเวลา คน สถานการณ์ที่เหมาะสมด้วย


ขอความสันติจงมีแด่ทุกท่านครับ



Posted by : องคต , Date : 2005-08-07 , Time : 11:35:21 , From IP : 172.29.7.186

ความคิดเห็นที่ : 7


   ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง ต้องเข็มแข็งไว้อย่าคล้อยตามยิ่งทำให้ญาติพี่น้องต้องเศร้า
เว้นแต่เป็นญาติของเราเอง


Posted by : kl;h , E-mail : (ffhhju) ,
Date : 2005-10-22 , Time : 16:17:14 , From IP : 202.129.49.130


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<