ความคิดเห็นทั้งหมด : 3

การตัดสินใจเกี่ยวกับคนไข้มะเร็ง


   มีผู้ป่วยสูงอายุเเพทย์วินิจฉัยว่า เป็นมะเผ้ป่วยไม่ทราบว่าตัวเองเป็นมะเร็งเเต่เเพทย์กลับเเจ้งข่าวให้เเก่ญาติผู้ใกล้ชิดเเละไม่ชี้เเจงกับตัวผู้ป่วยทั้งที่ผู้ป่วยมีสติสมบูรณ์ เเละบอกหนทางการรักษาเพียงว่าผ่าตัดอย่างเดียวเพียงเท่านี้ อยากถามว่าเท่าที่พบมีผู้ป่วยจำนวณมากเสียอำนาจตัดสินใจด้วยตัวเอง อยากถามว่าในกระบวณการเเพทย์นั้นมีเเนวคิดอย่างไรกับเหตุการณ์ดังกล่าว เเละเหมาะสมหรือไม่ที่จะไม่บอกเรื่องโรคเเก่ผู้ป่วย

Posted by : คนสงสัย , Date : 2005-07-30 , Time : 01:07:29 , From IP : 172.29.4.220

ความคิดเห็นที่ : 1


   โดยหลักการทางจริยธรรมแล้ว ผู้ป่วย (หรือใครๆ) จะสามารถตัดสินใจดำเนินชีวิตตนเองอย่างไรก็ได้ตามที่เขาคิดไตร่ตรองว่าสมควร ตราบที่การดำเนินชีวิตนั้นไม่ได้ไปรบกวนสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคลอื่นๆ นี่คือ Principle of autonomy

ถ้าผู้ป่วยมีข้อมูลไม่ครบ การตัดสินในการดำเนินชีวิตก็จะผิดพลาดไปจากที่ควรได้ เหมือนกับที่เราตัดสินใจทำอะไรโดยไม่มีข้อมูล หรือมีข้อมูลที่ผิดพลาด ผลลัพธ์ก็จะเสียหาย ฉะนั้นการที่ผู้ป่วย (และญาติผู้ดูแล) รับทราบความจริงว่าเขามีอะไรอยู่ ถ้าทำหรือไม่ทำอะไรจะเกิดอะไรขึ้นมาบ้างอย่างครบถ้วนที่สุด เขาก็จะสามารถตัดสินใจได้ใกล้เคียงกับบริบทจริงได้มากที่สุด

ยังมีประเด็นอื่นที่ควรคำนึงถึง

การรับรู้ข่าวร้ายมีผลต่อพฤติกรรมของเราแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนรับได้ดี บางคนรับได้ไม่ค่อยดี การปรับตัวเมื่อรับรู้ข่าวร้ายขึ้นอยู่กับบุคลิก สุขถาพจิต ณ เวลานั้นๆ พื้นฐานความคิด ศรัทธา การอบรมสั่งสอน การเติบโต ใช้ชีวิตมาอย่างไร ฯลฯ เป็นเร่องยากที่เราจะพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำว่าใครจะเป็นยังไง ตรงนี้ญาติสนิท หรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยอาจจะสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อแพทย์ในการพิจารณา ตัวอย่างในทาง extreme ที่ไม่ดี เช่น บางคนมีแนวโน้มที่จะมีปฏิกิริยารุนแรง เช่น พยายามฆ่าตัวตาย เมื่อรับรู้ข่าวร้ายมากๆ การจะให้ข่าวร้ายกับคนแบบนี้ จะต้องใช้เทคนิกที่นุ่มนวลและตระเตรียมบริบท เตรียมคำพูด เตรียมผู้ป่วยเองโดยการ pre-cunseling ที่ดีก่อน

สรุปแล้วการบอกข่าวร้ายเป็นสิ่งที่แนะนำว่าควรทำ เพราะผป.จะสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นในการที่จะดำรงชีวิตต่อไปอย่างไร แต่วิธรในการบอกข่าวร้าย เวลาที่จะบอก และบอกอย่างไรโดยใครก็เป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ต้องมีการฝึกฝนพอสมควร


Posted by : Aquarius , Date : 2005-07-30 , Time : 11:54:16 , From IP : 172.29.7.146

ความคิดเห็นที่ : 2


   ถ้าอิงหลักสิทธิของผู้ป่วยตามคำประกาศ ก็ควรต้องบอกอยู่แล้วว่าไหม
ถ้าอิงเรื่องการรักษาความลับของผู้ป่วย เรื่องแบบนี้ก็ถือว่าเป็นความลับของผู้ป่วยใช่ไหม และเมื่อผู้ป่วยเองรับทราบข่าวร้ายของตนเอง ผู้ป่วยก็ก็มีสิทธิที่จะบอกเราว่า ใครบ้างที่ควรจะรู้เรื่องของเขา ใครบ้างไม่มีสิทธิรู้ หรือหมอควรจะบอกข้อมูลของเขากับใครให้รู้บ้าง
แต่ตามข้อกำหนดทั้งสองอย่างนี้ มันคงต้องดำเนินไปตามศาสตร์และศิลปของการหาจุดสมดุลย์ระหว่าง การขอมีส่วนร่วมในการขอร่วมตัดสินใจ ขอรับรู้ข้อมูลความเจ็บป่วยของผู้ป้วยจากญาติ ซึ่งในลักษณะสังคมแบบไทยๆของเรา ครอบครัวและผู้ป่วยมีลักษณะที่ค่อนข้างdependence พึ่งพิงยึดติดกันมากอยู่พอสมควร ทำให้เป็นไปได้ว่า ญาติอาจมีความต้องการที่จะขอรู้ข้อมูลของผู้ป่วยก่อน เพื่อหวังเรื่องการปกป้องผู้ป่วยไม่ให้ได้รับข่าวร้ายจากหมอๆงัย
ฟังดูแล้ว น้องว่าเรื่องแบบนี้คิดยากไหม ขอความเห็นด้วยสิ


Posted by : aries , Date : 2005-07-30 , Time : 19:27:46 , From IP : 172.29.7.216

ความคิดเห็นที่ : 3


   หากท่านหรือคนใกล้ตัว ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคเหล่านี้
โรคมะเร็ง
โรค เบาหวาน
โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิต
โรคเส้นเลือดในสมอง,หัวใจ ตีบ-ตัน-แตก
โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต
โรคไขข้อ ข้อเสื่อม เก๊าท์ รูมาตอยด์
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
โรคเครียด นอนไม่หลับ ไมเกรน

ลองถามตัวเองว่า “อยากให้อาการดีขึ้นมั้ย?”
ถ้าอยากอาการดีขึ้น เราช่วยท่านได้ ปลอดภัย100% ไม่ใช่ยา
ปรึกษาเรา 081-9106425 , 081-7233359


Posted by : We , E-mail : (drago@sanook.com) ,
Date : 2008-10-27 , Time : 14:45:13 , From IP : 118.172.244.211.adsl


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<