ความคิดเห็นทั้งหมด : 3

คนข้างบ้านถามว่า เห็นมีแต่สิทธิ์ของคนไข้


   คนข้างบ้านถามว่า เห็นมีแต่สิทธิ์ของคนไข้ ทำไมไม่มีสิทธิ์ของแพทย์บ้าง
ผมก็ตอบเศร้าๆว่าไม่มีหรอก เลยมีเรื่องมีราวกันอยู่นี่ไง
คนข้างบ้านแกบอกว่าน่าจะมีสิทธิของแพทย์ด้วย จะได้รู้ว่ามีสิทธิ์อะไรบ้าง ว่าแล้วแกก็ไปร่างให้
นี่คือสิทธิ์ของแพทย์ฉบับ คนข้างบ้านร่างให้ ซึ่งแกกำลังเรียนนิติศาสตร์ แต่เป็นคนที่เข้าอกเข้าใจแพทย์ดี
สิทธิ์ของแพทย์
1. ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับบุคคลตามรัฐธรรมนูญ
2. มีสิทธิได้รับการยอมรับจาก สังคม ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้รับบริการถึงความเป็นปัจเจกของแพทย์แต่ละคน
3. มีสิทธิที่จะปฏิเสธการประกอบวิชาชีพเวชกรรมใน สถานการณ์ที่ไม่พร้อม อาทิเช่น
1) สถานที่ไม่เหมาะสม
2) นอกเวลาปฏิบัติหน้าที่
3) แพทย์ไม่มีความชำนาญ
4) แพทย์ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะแน่ใจว่าการประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้นจะปลอดภัย หรือได้ประโยชน์
5) ผู้ป่วยและ/หรือญาติให้ความยินยอมในการรักษาเพียงบางส่วน
6) ผู้ป่วยและ/หรือญาติให้ความยินยอม แต่มีท่าทีไม่เชื่อถือแพทย์ผู้จะประกอบวิชาชีพเวชกรรม
4. หากแพทย์ต้องประกอบวิชาชีพเวชกรรมในสถานการณ์ที่ไม่พร้อมตามข้อ 3 ด้วยเหตุเนื่องจาก มีความจำเป็นเร่งด่วนซึ่งหากละทิ้งไม่ทำก็อาจเกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ป่วย หากเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งมิได้เกิดจากความประมาทของแพทย์เกิดขึ้น แพทย์นั้นไม่ต้องรับผิด
5. ตามสิทธิข้อ3 แพทย์นั้นไม่เพียงไม่ต้องรับผิดแต่ แพทย์ผู้นั้นมีสิทธิได้รับการยกย่องและประกาศเกียรติคุณ
6. หากผู้ป่วยมีความผิดปกติหรือโรคใดซึ่งยินยอมให้แพทย์ทำการรักษาแล้ว หากวิธีการรักษาที่ได้มาตรฐานมีหลายวิธี แพทย์ผู้ได้รับความยินยอมแล้วนั้นย่อมมีสิทธิ์ที่จะเลือกวิธีการใดวิธีการหน ึ่งหรือผสมผสานกันซึ่งเหมาะสมกับผู้ป่วยนั้นๆ
7. ในสถานการณ์ที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก แต่มีทรัพยากรจำกัดเช่น มียาอยู่จำกัด , มีห้องผ่าตัดอยู่จำกัด ,มีแพทย์อยู่จำกัด แพทย์ผู้มีหน้าที่ต่อผู้ป่วยโดยส่วนรวมย่อมเป็นมีสิทธิ์เป็นผู้ตัดสินใจเลือ กใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นแก่ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ส ุด โดยไม่คำนึงถึงลำดับก่อนหลังการเข้ารับบริการ
8. มีสิทธิปฏิเสธการให้ความเห็นที่สอง(second opinion) ต่อจากแพทย์ท่านอื่น ( ด้วยเหตุว่าอาจมีข้อมูลบางอย่างซึ่งได้มาไม่ครบ หรือ อาจมิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ประกอบกับการให้ความเห็นอย่างกว้างๆ อาจถูกนำไปตีความผิดๆ หรือถูกสรุปว่าเข้ากับกรณีใดกรณีหนึ่งโดยไม่ถูกต้อง และแพทยสภาควรสนับสนุนให้มีการ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการให้ความเห็นที่สอง โดยระบุข้อมูลที่มี ชื่อ นามสกุล วุฒิของผู้ให้ความเห็น รวมทั้งเอกสารอ้างอิงด้วย ซึ่งผู้ป่วยที่ไปขอความเห็นที่สองนี้ควรต้องเสียค่าธรรมเนียมการเขียนตามควา มเหมาะสม )
9. มีสิทธิได้รับการปกป้อง คุ้มครอง จากรัฐและแพทยสภา เมื่อได้รับการกล่าวโทษ และเมื่อหากไม่พบว่ามีความผิดตามการกล่าวโทษ แต่ ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกล่าวโทษนั้นแพทย์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหม ชดเชย

ที่มา http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1121957616


Posted by : copyเขามา , E-mail : (thaiclinic@hotmail.com) ,
Date : 2005-07-25 , Time : 22:52:11 , From IP : 61.19.24.122


ความคิดเห็นที่ : 1


   "สิทธิของผู้ป่วย" เอามาให้อ่านกัน


"เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย" คำกล่าวข้างต้นล้วนเป็นธรรมชาติแท้ของสรรพสัตว์ทั้งหลายบนโลกใบนี้ กล่าวสำหรับมนุษย์ เราเมื่อเกิดขึ้นมาย่อมหนีไม่พ้นความเสื่อมของสังขารที่แสดงออกในรูปของอาการ"ป่วย-ไข้"และ เป็นที่แน่นอนเมื่อคนเราต้องเผชิญกับ"ความไข้"และหากยังไม่อยาก"ตาย"ร้อยทั้งร้อยต้องหันหน้า ไปพึ่ง"มือหมอ"หวังเยียวยารักษากายให้หายจากความป่วยที่ทรมาน

หากจะพูดให้ถูกจุดงานของหมอคือ"การซ่อมสุขภาพ"ให้ผู้เจ็บไข้ แต่ช่วงที่ผ่านมามีข่าวอยู่ บ่อยครั้งว่าคนป่วยหลายรายลุกขึ้นมาฟ้องหมอ-ฟ้องโรงพยาบาล ถามหาความรับผิดชอบจากความ บกพร่องในการรักษาพยาบาลกันอุตลุด ส่งผลให้เกิดวิกฤติศรัทธาระหว่างคนไข้กับผู้ประกอบการ วิชาชีพด้านสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการวิชาชีพด้าน สุขภาพกับผู้ป่วยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจอันดีทาง "สกู๊ปแนวหน้า" ขออาสาบอกกล่าวถึง "สิทธิของ ผู้ป่วย" ที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับโดยมุ่งหวังที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี ลดความขัดแย้งและ นำไปสู่ความไว้วางใจซึ่งเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การรักษาพยาบาลที่ดีในที่สุด

กล่าวสำหรับสิทธิของผู้ป่วย

ข้อ 1 ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

"คำอธิบาย" รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีมาตราสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพคนไทยโดยตรงคือ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่ต้องเสียค่า ใช้จ่าย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

2.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่าง ด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง เพศอายุและลักษณะ ของความเจ็บป่วย

"คำอธิบาย" หลักการของข้อนี้เป็นหลักการที่แพทย์ทั่วโลกยอมรับและถือปฏิบัติ ดังนั้นผู้ป่วย ทุกคน มีสิทธิที่จะได้รับบริการสุขภาพในมาตรฐานที่ดีที่สุด ตามฐานานุรูปโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ

3.ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพ มีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอและชัดเจนจาก ผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจ ในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วน หรือจำเป็น

"คำอธิบาย" ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพมีหน้าที่ต้องอธิบาย ให้ผู้ป่วยทราบถึงอาการ,การ ดำเนินโรค,วิธีการรักษา ความยินยอมของผู้ป่วยนั้นจึงจะมีผลตามกฎหมาย ซึ่งเรียกว่า"ความยิน ยอมที่ได้รับการบอกกล่าว "(Informed consent) ยกเว้นการช่วยเหลือในกรณีรีบด่วน ฉุกเฉิน ซึ่งจำเป็นต้องกระทำเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย

4.ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือรีบด่วนจาก ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันที ตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความ ช่วยเหลือหรือไม่

"คำอธิบาย" การช่วยเหลือในลักษณะเช่นนี้เป็นความจำเป็นในการช่วยชีวิต แม้ว่าจะไม่ได้ รับการร้องขอจากผู้ป่วยซึ่งบ่อยครั้งที่ไม่อยู่ในสภาพมีสติพอที่จะร้องขอได้ ถือว่าเป็นการกระทำโดย ความจำเป็น ไม่มีความผิด การปฏิเสธไม่ให้ความช่วยเหลือ นับว่าเป็นการละเมิดข้อบังคับแพทย สภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมและอาจผิดกฎหมายอาญา มาตรา 374 ด้วย

5.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะทราบชื่อ-สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพ ที่เป็นผู้ให้ บริการแก่ตน

"คำอธิบาย" ในสถานพยาบาลต่างๆ จะมีผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพต่างๆ หลายสาขาปฏิบัติ งานร่วมกัน ซึ่งบ่อยครั้งก่อให้เกิดความไม่แน่ใจ และความไม่เข้าใจแก่ผู้ป่วย ดังนั้นการกำหนดให้ ผู้ป่วยมีสิทธิ์ที่จะสอบถามชื่อ และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพที่ให้บริการแก่ตน จึงช่วยผู้ป่วยเกิด ความเข้าใจและสามารถตัดสินใจเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ ให้บริการซึ่งไม่มีคุณภาพเพียงพอ

6.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้

"คำอธิบาย"ในปัจจุบันผู้ป่วยยังมีความเกรงใจและไม่ตระหนักถึงสิทธินี้ทำให้เกิดความไม่เข้า ใจและความขัดแย้ง ในขณะเดียวกันผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพบางรายก็อาจมีความรู้สึกไม่พอใจ เมื่อผู้ป่วยขอความเห็นจากผู้ให้บริการสุขภาพผู้อื่น การกำหนดสิทธิผู้ป่วยในประเด็นนี้จึงมีประโยชน์ ที่จะลดความขัดแย้งและเป็นการรับรองสิทธิผู้ป่วยที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง

7.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดย เคร่งครัดเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

"คำอธิบาย"อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นที่เหนือกว่าเช่นการ ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ เพื่อความสงบเรียบร้อยและความ มั่นคงของประชาชนหรือในกรณีที่คุ้มครองอันตรายร้ายแรงของบุคคลอื่น

8.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน ในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัว จาก การเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ

"คำอธิบาย"ในปัจจุบันความจำเป็นในการทดลองในมนุษย์เพื่อความก้าวหน้าทางการแพทย์มี มากยิ่งขึ้น การรับรองสิทธิผู้ป่วยด้านนี้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติว่าความยินยอมจะต้องเป็นความยิน ยอมภายหลังจากที่ได้รับทราบข้อมูลต่างๆ อย่างครบถ้วนแล้วและแม้ว่าจะตัดสินใจยินยอมแล้วก็มี สิทธิที่จะเลิกได้เพื่อคุ้มครองผู้ถูกทดลองให้ได้รับความปลอดภัย

9.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตน ที่ปรากฏในเวชระเบียน เมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิด สิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น

"คำอธิบาย"การที่แพทย์บันทึกประวัติการรักษาต่างๆ ของผู้ป่วยในเวชระเบียน นับเป็นเครื่อง มือที่สำคัญในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ปรากฏในเวช ระเบียนนั้น เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของประวัติมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลนั้นได้

10. บิดาหรือมารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรมอาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วย ที่เป็นเด็กอายุ ยังไม่ เกิน 18 ปีบริบูรณ์, ผู้บกพร่องทางกายหรือจิตซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้

"คำอธิบาย"เด็กหมายถึงมนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้น ตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่เด็กจึงได้กำหนดไว้ให้บิดา-มารดา หรือผู้แทนอาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยเด็ก สำหรับผู้บกพร่องทางกายหรือทางจิตผู้ดูแลผู้ป่วยย่อมสามารถใช้สิทธิต่างๆ แทนผู้ป่วยได้

"สิทธิของผู้ป่วย"ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างคนไข้กับผู้ประกอบ การวิชาชีพด้านสุขภาพ จนนำไปสู่การรักษาพยาบาลที่ดีที่สุดสำหรับตัวผู้ป่วยเอง

เชื่อว่าหากผู้ป่วยทุกคนใช้สิทธิของผู้ป่วยอย่างครบถ้วน ครบครัน ปัญหาคนเจ็บ คนไข้ลุกขึ้น มาฟ้องหมอ-ฟ้องโรงพยาบาล จะลดลงไปอีกมากโขเลยทีเดียว
ที่มาจาก http://www.mthai.com/webboard/7/102134.html

Posted by TaRzAn() 2005-05-28 , 04:52:03 , 172.29.4.193


Posted by : copy เขามาอีกทีฮับ , Date : 2005-07-25 , Time : 22:56:10 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 2


   ผมค่อนข้างสนใจในหลายๆประเด็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบทความแรกของกระทู้ อ่านแล้วคิดว่ามีหลายประเด็นที่ผู้เขียนและผมคงจะมีความเข้าไม่ตรงกันในแง่อะไรที่ขณะนี้ "แพทย์" มีสิทธิอยู่แล้วโดยไม่ต้องเรียกร้องเพิ่มเติม และเรื่องพื้นฐานที่มาในแง่จริยธรรมวิชาชีพ

ยกตัวอย่างเช่น ข้อหนึ่งและสองนั้น จำเป็นที่ต้องเรียกร้องหรือไม่? ข้อหนึ่งฟังดูเหมือนในขณะนี้แพทย์ไม่มีสิทธิเหมือน "บุคคล" ทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ และข้อสองก็เช่นกัน

ส่วนในข้อสามนั้น ผมอยากจะขอให้ผู้ตั้งกระทู้ลองช่วยกรุณาทำวิจารณ์ในความเห็นเพ่มเติมหน่อยได่ไหมครับ ผมไม่แน่ใจว่าที่ว่าผู้ประพันธ์ "เข้าใจแพทย์เป็นอย่างดี" นั้น แตกต่างเฉพาะกับผม หรือกับแพทย์ท่านอื่นๆด้วย แล้วผมจะมาขยายความเพิ่มเติมในกระเด็นเหล่านั้นอีกที



Posted by : Phoenix , Date : 2005-07-26 , Time : 01:07:38 , From IP : 172.29.7.218

ความคิดเห็นที่ : 3


   ขอโทษครับ อาจารย์นกไฟ เนื่องจากว่าข้าพเจ้าไปอ่านเจอในเวปของ thaiclinic จึงไม่สามารถอธิบายได้ครับ ส่วนตัวผมก็ไม่รู้จักคนเขียน หรือคนข้างบ้านอะไรนั่นหรอกครับ แต่อาจารย์ลองเข้ามาอ่านในเวป
http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1121957616

ดูสิครับ เค้ามีตัวอย่างยกมาอ้างมากมายเลยครับอาจารย์


Posted by : คน copy , Date : 2005-07-26 , Time : 02:26:09 , From IP : 61.19.24.122

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<