ความคิดเห็นทั้งหมด : 2

นิสิต นักศึกษาในยุค ทักษิณ ณ ไทยรักไทย


   เพิ่งเปิดเทอมมาไม่นาน มีข่าวเกี่ยวกับนักศึกษาเยอะมาก ทั้งมีและไม่มีสาระ บังเอิญมีโอกาสได้อ่านบทความ ของ คุณ วริษฐ์ ลิ้มทองกุล จากhttp://www.manager.co.th/Columnist ตั้งคำถามถึงนักศึกษาและผู้รับผิดชอบดูแล ในฐานะที่มีส่วนรับผิดชอบกับเรื่องนี้โดยตรง ก็เลยอยากเอามาให้อ่านและช่วยกันคิดหาคำตอบครับ


กลางปีพุทธศักราช 2539 ผมสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อที่ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ......

ในช่วงเวลานั้น สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ บัญชี และการบริหารกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง จำนวนมากต่างก็เชียร์ให้บุตร-หลานของตัวเองเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาเหล่านี้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ ของไทยช่วงก่อนหน้านั้นกำลังรุ่งเรืองอย่างสุดขีด

เหตุผลในการเลือกคณะเศรษฐศาสตร์ ของผมนั้นไม่มีความเกี่ยวพันกับเรื่องเงินทอง หรือแรงเชียร์จากผู้ปกครอง ใดๆ ทั้งสิ้นที่ผมเลือกเศรษฐศาสตร์ก็เพียงเพราะยังค้นหาความสนใจของตนเองไม่เจอ และรู้สึกว่าเนื้อหาในวิชาสังคมเป็นเรื่องที่รู้สึกสนใจในเวลานั้น

ผมเรียนเศรษฐศาสตร์ขั้นต้นได้เพียงหนึ่งปีเท่านั้น ปีถัดมาฟองสบู่เศรษฐกิจไทยก็แตก .....

ไม่ว่าจะสถาบันใด นักเรียนเศรษฐศาสตร์ในช่วงนั้น นอกเหนือจากเรียนรู้ทฤษฎีจากตำราแล้ว ต่างก็ศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ จากสถานการณ์เศรษฐกิจของจริง ขณะที่เศรษฐกิจไทยกำลังโกลาหล ทุกคนกำลังเสาะหาสาเหตุจาก วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดของไทยในรอบหลายสิบปี ชั้นเรียนของเราคือ สังคมไทยและโลกทั้งใบ

มิอาจปฏิเสธได้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจไทยในปี 2540 เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า โลกานุวัตร การเปิดเสรีทางการเงิน และ การที่คนไทยไม่รู้เท่าทันเกมเศรษฐกิจในระดับโลก

ไอเอ็มเอฟ เวิลด์แบงก์ เฮดจ์ฟันด์ โซรอส ฯลฯ ต่างก็เป็นศัพท์แสงที่ประชาชนเดินดินกินข้าวแกง ในเวลานั้นต่างต้องเคยได้ยิน ทั้งๆ ที่แต่ไหนแต่ไรเป็น ศัพท์เหล่านี้มีเพียงคนในแวดวงเศรษฐกิจเท่านั้นจึงจะกล่าวถึง

ที่น่าตระหนกและตกใจ ก็คือ ณ เวลานั้น ไม่เพียงสามัญชนคนไทยเท่านั้นที่ไม่รู้เท่าทันเกมเศรษฐกิจในระดับโลก แม้แต่ คนที่เรียกว่า ผู้เชี่ยวชาญในภาครัฐ ภาคเอกชน จบปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ อาจารย์มหาวิทยาลัยของไทย ที่ต่างก็จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำจากโลกตะวันตก จำนวนหลายร้อยหลายพันคน ต่างก็ไม่สามารถใช้วิชาความรู้ที่ร่ำเรียน ประสบการณ์ที่มีกอบกู้ประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนั้นได้เลย

มากกว่านั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย แหล่งรวมรวบ ดอกเตอร์ และผู้เชี่ยวชาญระดับหัวกะทิของประเทศไทยที่ควรจะเป็นผู้บรรเทาวิกฤตจากหนักให้เป็นเบา กลับกลายเป็นผู้จุดชนวนวิกฤตเสียเอง

ณ เวลานั้นไม่เพียงแต่ เศรษฐกิจที่โกลาหล ความคิดของนักเรียนเศรษฐศาสตร์อย่างผมและเพื่อนๆ อีกหลายคนต่างก็รู้สึกโกลาหล เช่นเดียวกัน .....

ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี เป็นคำตอบของคนไทย ของประเทศไทยแน่จริงหรือ? โลกานุวัตร แท้จริงแล้วจะนำ ความมั่งคั่ง หรือ ความหายนะ มาสู่สังคมไทยกันแน่? และคำถามอีกสารพัดสารพันทั้งทางภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติที่ถาโถมเข้าหาเป็นปัญหาหนักอกของคนไทยแทบทุกคน

เรื่องเหล่านี้เมื่อประกอบเข้ากับ นโยบายการแก้ไขปัญหาตามแบบเสรีนิยมของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งผู้กุมอำนาจบริหารในทางเศรษฐกิจในขณะนั้นได้ส่งผลร้าย และซ้ำเติมสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศให้ย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด ยิ่งกระตุ้นให้การหาคำตอบยิ่งเป็นไปด้วยความกระตือรือร้นอย่างยิ่ง

เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3 ผ่านการแนะนำของอาจารย์และเพื่อนๆ ผมและเพื่อนฝูงในกลุ่มหลายคนต่างก็เริ่มให้ความสนใจกับ เศรษฐศาสตร์ที่แท้จริง ศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง และ ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่มิได้ดำรงอยู่บนพื้นฐานปรัชญาของนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิกที่กำลังเกาะกุมโลกในเวลานั้นเแต่เพียงอย่างเดียว

ต้องยอมรับว่า วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 คือ จุดหักเหสำคัญครั้งหนึ่ง เป็นบทเรียนครั้งสำคัญที่ส่งผลทางด้านปรัชญาชีวิต-เปลี่ยนโลกทัศน์ของคนในชาติ รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวเข้าสู่เส้นทางใหม่ ..... (ภายใต้กระแสโลกานุวัตรของโลกที่โหมกระหน่ำ)

ปลายปี 2542 ภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนที่ผมจะเรียนจบ ในงานจุฬาวิชาการปีนั้น ผมและเพื่อนๆ ในคณะเศรษฐศาสตร์ปรึกษากันว่าน่าจะจัดงานสัมมนา เชิญอาจารย์ นักวิชาการ นักคิด นักปฏิบัติ ผู้มีประสบการณ์ โดยไม่ได้จำกัดว่าจะวิทยากรต้องเป็นคนในแวดวงเศรษฐศาสตร์ มากล่าวชี้แนะให้เห็นถึงสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในขณะนั้น ภายใต้สภาวะที่ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองกำลังคุกรุ่น ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ปัญหาอธิปไตยทางเศรษฐกิจของประเทศที่ถูกรุกล้ำจากต่างชาติ ปัญหามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ปัญหาการคอร์รัปชั่น ปัญหาส่วย ปัญหาสิ่งแวดล้อม-วัฒนธรรม ปัญหาการปฏิรูประบบราชการ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม เมื่อนำเสนอเรื่องนี้ให้กับ รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการแล้ว ท่านกลับให้คำแนะนำมาว่าน่าจะเปลี่ยนหัวข้อให้เล็กลงมาอีก และควรให้มีความเกี่ยวพันกันกับ นิสิต-นักศึกษา เพื่อที่การสัมมนาจะได้ส่งประโยชน์โดยตรงกับผู้เข้าฟังที่เชื่อว่าโดยส่วนใหญ่น่าจะเป็นนิสิต-นักศึกษา

นิสิต นักศึกษา ในช่วงเวลานั้นที่วัยเด็กโตมากับ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เนต MTV การประชันขันแข่ง การตลาด การโฆษณา และความฟุ้งเฟ้อนานับประการต่างๆ ที่หอบเข้ามาพร้อมกับ ...... ก่อนที่ลมดังกล่าวจะกลายสภาพเป็นพายุร้าย ทำร้ายสังคมไทยให้ตกอยู่ในสภาพบอบช้ำ อย่างสาหัส

ในที่สุด ผมกับเพื่อนๆ ก็คิดหัวข้อการสัมมนาได้ว่า "ทางออกของ นิสิต นักศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัฒน์ (โลกานุวัตร)" ซึ่งในที่สุดหัวข้อดังกล่าวก็ผ่านการอนุมัติจากอาจารย์ โดยมีคุณสุรศักดิ์ ธรรมโม เป็นหัวหน้าโครงการ ผมและคุณกิตติ ติกขปัญญกุล เป็นผู้ช่วยโครงการ โดยมีเพื่อนฝูงลงแรงช่วยเหลืออีกหลายคน

ในการสัมมนาครั้งนั้น วิทยากรที่ตอบรับคำเชิญหลายคนต่างก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำนักศึกษาในอดีต ที่ในเวลาต่อมากลายเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และผู้ติดตามกระแสโลกานุวัตรอย่างใกล้ชิดมาตลอด เช่น อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อ.วิทยากร เชียงกูล อ.แล ดิลกวิทยรัตน์ อ.เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ รวมถึง คุณสนธิ ลิ้มทองกุล

ตอนหนึ่งของการสัมมนา อ.เสกสรรค์กล่าวว่า คงเป็นเรื่องแปลกที่จะเห็นนักศึกษาในยุคปัจจุบันยกขบวนไปประท้วงรัฐบาล อย่างเอาเป็นเอาตายเช่นแต่ก่อน ไม่ว่าจะเป็น ด้วยปัจจัยของนิสิต-นักศึกษา มหาวิทยาลัยเองที่นับวันยิ่งทำตัวแปลกแยกออกจากสังคม สิ่งยั่วยวนต่างๆ จากลัทธิบริโภคนิยม กระทั่ง ปัจจัยทางสังคมที่ไม่เอื้ออำนวย

เช่นเดียวกัน ในวันนั้น วิทยากรหลายท่านต่างให้ความเห็นว่า บทบาทของ นิสิต-นักศึกษา ในปัจจุบันนั้นแตกต่างไปจากอดีตโดยเฉพาะ สมัย พ.ศ. 2516 หรือ 2519 มาก ด้วยเงื่อนไขทางสังคม เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ การแข่งขันแบบเสรีที่ผลักให้ทุกคนเห็นแก่ตัวมากขึ้น รวมถึงเงื่อนไขทางการเมือง ที่เปลี่ยนไป และปัจจัยที่สำคัญก็คือ ...... ผิดกับในอดีต ตรงที่ เป็นเรื่องยากลำบากมิใช่น้อยที่ นิสิต-นักศึกษาในปัจจุบันจะแยกแยะ กับ

เลว กับ ดี
เผด็จการ กับ วีรบุรุษ
คอมมิวนิสต์ กับ ประชาธิปไตย
คนขายชาติ กับ ผู้รักชาติ
นักการเมืองเลว กับ นักการเมืองดี

ทุกวันนี้ทุกสิ่งทุกอย่างถูกนำเสนอออกมาในรูปลักษณ์ของ และถึงแม้สิ่งเหล่านั้นโดยเนื้อแท้แล้วจะเป็น ก็ตาม แต่ก็มี ช่างทาสี นายประกัน พยายามเปลี่ยนสีดำ ให้กลายเป็นสีขาวที่สุดเท่าที่จะขาวได้ โดยผ่านกลยุทธ์ทางการตลาด ประชาสัมพันธ์ โฆษณาหรือ วิธีการใดๆ ก็แล้วแต่
ในยุคสมัยที่ประเทศไทยปกครองโดย คุณทักษิณ และ พรรคไทยรักไทยเองก็เช่นกัน ......

คุณทักษิณ มีวันนี้ได้ก็ด้วยการขี่กระแสโลกานุวัตร ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเนื้อสร้างตัวจากธุรกิจคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ การใช้ช่องโหว่ของระบบส่งให้ธุรกิจรอดพ้นจากวิกฤต เรื่อยมาถึงการตั้งพรรคไทยรักไทย และการก้าวขึ้นเป็นรัฐบาล ที่ล้วนแล้วแต่ดำรงอยู่บนรากฐานของ ระบบเศรษฐกิจแบบสองขา (Dual Tracks Economy) ความล่มสลายของระบบการเมืองแบบเก่า พรรคการเมืองแบบเก่า การถือกำเนิดขึ้นของการเมืองใหม่ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมถึงศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ นายกรัฐมนตรี หน้าใหม่

จะว่าไปแล้ว คุณทักษิณเองมีคุณสมบัติและมีศักยภาพเพียบพร้อมในการเลือกที่จะ ตอบแทนประเทศชาติ หรือ ขี่กระแสเพื่อกอบโกยต่อไป

การแยกแยะ ผิด-ชอบ-ชั่ว-ดี ในยุค นั้นยิ่งเต็มไปด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน การคอร์รัปชั่น ไม่ได้เป็นการโกงกินกันซึ่งๆ หน้าอีกต่อไป แต่เป็นกลายสภาพเป็นการทับซ้อนของผลประโยชน์ การปรับเปลี่ยนนโยบายให้เอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง การแก้กฎหมาย-เปลี่ยนกติกาโดยอ้างความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศเป็นเหตุผล รวมไปถึงการแปลงทรัพย์สินของชาติ ของประชาชนให้เป็นของตนเอง และพวกพ้อง

ใครตอบได้ว่า ภายใต้ใบหน้าและการแสดงออกที่ มีการศึกษา เป็นผู้ดี มีสตางค์ คำพูดรับประกันว่า ตนเอง ครอบครัว ลูกน้อง พวกพ้อง รักและภักดีต่อแผ่นดิน แท้จริงแล้วเขารักประเทศชาติจริง หรือ เป็นเพียงการสร้างมายาภาพขึ้นเพื่อที่เขาจะได้ใช้สองมือ ที่ ข้างหนึ่งกุมอำนาจ-กุมกฎหมาย อีกข้างหนึ่งกุมทรัพยากรมา ปู้ยี่ปู้ยำบ้านเมือง?

ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ แน่นอนว่า การแยกสีดำออกจากสีขาว การเลาะลอกสีขาวที่ทาทับอยู่บนสีดำ นั้น นิสิต-นักศึกษา ที่โดยพื้นฐานแล้วในอนาคต คือกำลังสำคัญ คือชนชั้นปัญญาชน คือหัวสมอง คือผู้ชี้ชะตาของบ้านเมือง จำเป็นต้องใช้ความพยายามอย่างมากที่จะดึงตัวให้หลุดพ้นออกจากปลักโคลนแห่งลัทธิบริโภคนิยม และ เสาะแสวงหาความรู้เพิ่มพูนสติปัญญาด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือสมัยใหม่ ที่เอื้ออำนวยให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เก็บเกี่ยวโอกาสในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อ ในวัยที่เพลิงแห่งความกระตือรือร้นค้นหาความจริงกำลังลุกโชน ปลุกจิตสำนึกแห่งความถูกต้อง และแปรเปลี่ยนความมุทะลุให้กลายเป็นความกล้าหาญ เพื่อเรียกร้องความถูกต้องให้กับคนในสังคม รวมถึงตอบแทนบุญคุณแก่สังคมที่อุ้มชู

จากวันนั้นถึงวันนี้ เพลิงแห่งความกระตือรือร้น จิตสำนึก และความกล้าหาญ เหล่านั้นถูกเหมือนจะถูกใช้หมดไปกับ วงจรอุบาทว์ทั้งหลาย ที่ล้วนแล้วแต่ดึงดูดให้ เยาวชนเหล่านี้ หมกมุ่นอยู่กับแต่ เรื่องเซ็กส์ เรื่องความสวยความงาม เรื่องแฟชั่น และเรื่องประโลมโลกทั้งหลายทั้งมวลที่ล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์ มุ่งเน้นไปที่ การกระตุ้นและตอบสนอง ความปรารถนาของตนเองเท่านั้น

สิ่งที่เหลือตกค้างกลายเป็นวัตถุโบราณ ไว้ในมหาวิทยาลัย ก็คือ โบราณที่ล้าหลัง ประเพณีที่นับวันจะส่อให้เห็นถึงความรุนแรง และความเสื่อมถอยของปิรามิดแห่งอำนาจ ปิรามิดที่รุ่นน้องปีหนึ่งจะต้องฟังรุ่นพี่ปีสอง ถัดขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงปีที่ 4 ผู้ที่ผ่านระบบดังกล่าวนี้ โดยไม่ตั้งคำถาม หรือแยกแยะ เมื่อจบการศึกษาออกไป เนื่องจากความคุ้นเคยอยู่แต่เดิมก็จะเชื่อฟัง และมีความอดทนสูงต่อวัฒนธรรมอำนาจเช่นนี้ต่อไป*

ในโลกยุคโลกานุวัตร ที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ฉันทามติแห่งวอชิงตัน (Washington Consensus) ผู้ที่กำหนดนโยบายต่างก็ต้องการสมาชิกในสังคมที่ ขยันบริโภค ขยันก่อหนี้ ขยันทำงานใช้หนี้ คุ้นเคยต่อวัฒนธรรมอำนาจ เชื่อฟังเจ้านาย ไม่คิดที่จะตั้งคำถาม ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกขูดรีด หรือเงินภาษีของตนถูกโกงกินอย่างไรก็ไม่ต่อต้าน ทั้งๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง คนเหล่านี้ก็มิกล้าแม้แต่จะเอ่ยปากโต้แย้ง อย่าว่าแต่ออกมาเรียกร้องหาความเป็นธรรม

หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นกับ ในปัจจุบัน นิสิต นักศึกษาในวันนี้ รวมถึงทายาทของพวกเราในวันหน้าก็คงต้องติดอยู่ใน และ เช่นนี้อีกชั่วลูกชั่วหลาน


Posted by : Dr.Sid , Date : 2005-06-26 , Time : 14:01:36 , From IP : 172.29.7.175

ความคิดเห็นที่ : 1


   sdfvsd

Posted by : fdgsd , Date : 2005-06-30 , Time : 08:36:53 , From IP : dns2.mahidol.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 2


   ตอนนี้เขากำลังพยุงอยู่ อย่าพึ่งขัด คิดถึงตอนประเทศชาติล่มจมบ้างซิ

Posted by : คิดมากไปป่าว , Date : 2005-07-05 , Time : 22:11:46 , From IP : ppp-58.8.25.69.revip

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<