ความคิดเห็นทั้งหมด : 47

ชีวิตหมอ...


   ผมเรียนแพทย์ที่ศิริราช.....จนจบ จำได้ว่ามีความภูมิใจที่

จะได้เป็นหมอ หมอที่ดีของประชาชนตามที่หวังไว้

แต่ช่วงแรกๆเกือบจะเลิกเป็นหมอ.......เมื่อพบว่ า โลกนี้ สังคมนี้....โหดร้ายและ.......เป็นเช่นนี้....ทนไม่ได้จริงๆ

โดยเฉพาะนอกเวลาราชก าร ที่ผมต้องอยู่เวร.....

ทำงานตรวจโรคคนไข้นอก ฉุกเฉินแต่เย็น ยุ่งจนไม่มีเวลากินข้าว.....เหนื่อย

แต่ก็ต้องยิ้ม พูดจา ดื่มน้ำเย็นสองแก้วก็ชื่นใจ...ถูกเรียกตัวไปตึกต่างๆ.....

ที่แรก ผมไปช่วยเด็กที่ป่วยหนัก ทำงานกับพยาบาลจนไม่รู้เวลา..อาการหนัก

แม่และญาติๆ.....ช่วยลูกอิชั้นด้วยนะคะ หมอ....น้ำตา และใบหน้าของคนเป็นแม่ เป็นเช่นใด

ไม่ต้องอธิบายนะว่า....เช่นใด...ช่วยกันอยู่นาน จนเด็กฟื้น ปลอดภัย ก็พึ่งนึกได้ว่า มีคิวไปตามที่เรียกอีก....แม่ของเด็ก ดีใจ ร้องไห้

แม่คนก็เช่นนี้ เสียใจ ดีใจ กับลูก.....ไม่ว่าจะเรื่องใด โดยเฉพาะชีวิต แม่....สะเทือนใจมากที่สุด....

ดื่มน้ำสองแก้วใหญ่ ปาดเหงื่อ....พร้อมกับรับ การไหว้ การกราบจากแม่ของ เด็ก....ใจหายมาก แต่ก็หายเหนื่อย เครียดมานาน

พึ่งจะยิ้มออกก็ตอนนี้......ยามที่เด็กรอดตายแน่ๆ..

วิ่งจากตึกนี้ไปอีกตึก...... พยาบาลหน้างอ ตัดพ้อต่อว่า...

แม่ของเด็กคนใหม่ ชี้หน้า มองผมด้วยความรู้สึกเช่น...คำพูด......หมออะไร.นะ เด็กจะตายอยู่แล้ว ไม่ยอมมาดูคนไข้เลย

....เพียงเวลาห่างกัน ห้านาที.....ผมปรับอารมณ์ไม่ทัน

ทำงานอย่างเครียดมาก กลัวว่าเด็กจะตาย.....

พยาบาลต้องเอาผ้า มาเช็ดหน้าเช็ดแว่นให้ผม.......เสียงติหรือชมจากญาติที่ไม่ยอมออกไปข้างนอกก ดดันหรือ ช่วยผม ไม่ต้องตอบก็รู้ดี......

วูบหนึ่ง....เด็กทำท่าจะตาย....แต่ก็รอดมาด้วยการปั๊มหัวใจ. ....

หนึ่งขม.ต่อมา ผมทรุดตัวลงนั่งที่ห้องพัก พยาบาลเอานมมาให้ดื่ม....รองท้องก่อนนะคะ หมอ......เธอเข้าใจ....

ทำงานอีกสองสามราย ใกล้รุ่ง......เดินออกมาที่ร้านกาแฟ หน้ารพ. สั่งกาแฟและขนมปังไส้หวานมาสองชิ้น....

กัดไม่กี่คำก็วางลง กลืนไม่ลงจริงๆ

คนกลุ่มหนึ่งโวยวายออกมาจาก รพ. ผ่านร้านกาแฟ...เห็นผม

เด็กหนุ่มคนหนึ่งชี้หน้าผมพูดว่า....นี่ไง...หมอคนนี้..แหละ พี่สาวปวดท้องจะตาย ตามมันสามชม..ถึงจะมาดู

ผมสำลักกาแฟ ขนมปังพลอยออกมาจากกระเพาะบางส่วน.........

เช้าแล้ว..ฝนพรำๆมาเช่นนี้ทั้งคืน ผมรู้สึกว่า มันหนาวเย็นอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อนเลย.....นั่งที่โต๊ะหน้ารพ.รอเวลาเข้าเว รเช้าต่อ อีกแผนก.....

อาจารย์หมอ คนหนึ่งมาแต่เช้า.....คุยกันไม่กี่คำ อาจารย์ก็ตบไหล่ผม.......อย่าคิดมากน่ะหมอ นี่เก้าเดือนแล้ว..

อีก สามเดือนก็หมดภาระฝึกหัด ปีหน้าไม่หนักหรอก.....

ทำทั้งคืน หนักๆทั้งนั้น ตาย หกคน รอดมายี่สิบนี่ก็ยอดแล้วนะ ผมว่า...

ไปอาบน้ำ เปลี่ยนชุด แล้วไปกินโจ๊กด้วยกันที่สโมสร ผมจะสั่งไว้ให ้.....

เสียงของอาจารย์ตอนท้ายสุด บอกว่า ธรรมดานะหมอ จบใหม่ๆ คนจนน่ะหมอ.....คิดมากก็ช่วยไม่ได้.....หรอก

แดดส่องมา...ตาพร่ามัว ผมเดินกลับหอพัก....เพียงไม่กี่ก้าว.....

ผมก็ก้มลง อาเจียนกาแฟและขนมปังอีกส่วนออกมาจนหมดสิ้น.......

ผมเป็นเด็กยากจนมาแต่เกิด ขายเรียงเบอร์ อ้อยขวั้น ขนมหวาน รับจ้างแบกหามข้าวสารไปส่งตามบ้าน.....จน..จน

เกือบจะไม่ได้เรียนแพทย์.........

ป ระโยคว่า....คนจนก็อย่างนี้....เป็นความเจ็บปวดมากที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตข องผม.... .นานแสนนานผ่านมา....ผมก็ไม่เคยลืมเลือน......

จำได้ดีทุกๆวันเวลาว่า หนึ่งปีของการเป็นแพทย์ฝึกหัดนั้น..

มีอะไร เกิดกับชีวิตผมและคนจนๆบ้าง......

วันนี้....ฝนตก ลมแรง พลอยให้คิดถึงเช้าวันนั้น....

วันที่.....โลกนี้ไม่น่าพิศมัยเท่าไหร่เลย แม้นว่าจะได้มาเป็นหมอ.........

บันทึกไว้ในแผ่นดิน........

อภิเชษฎ์ นาคเลขา......
หมอเมืองพร้าว.




Posted by : Luv , Date : 2003-05-22 , Time : 20:30:39 , From IP : 172.29.2.84

ความคิดเห็นที่ : 1


   เป็นกำลังใจให้นะครับ คุณคือความหวังของประชาชนครับ

Posted by : roost , E-mail : (roostum@hotmail.com) ,
Date : 2003-05-22 , Time : 20:55:09 , From IP : 202.183.252.97


ความคิดเห็นที่ : 2


   เป็นเรื่องน่าชื่นชมครับ

การทำหน้าที่ด้วยเจตนาดีและทำสุดความสามารถเป็นสิ่งสมบูรณ์แล้วครับ ผลที่เกิดจะเป็นอย่างไรก็ไม่สำคัญ


Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-22 , Time : 23:34:15 , From IP : 172.29.2.137

ความคิดเห็นที่ : 3


   การทำหน้าที่ด้วยเจตนาที่ดี และสุดความสามารถเป็นสิ่งสมบูรณ์ ผลที่เกิดจะเป็นอย่างไรก็ไม่สำคัญ

ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

การคิดอย่างนั้นเป็นการทำไม่รับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเองได้กระทำอย่างยิ่ง การทำสิ่งใดก็ตามแต่หากเราไม่คิดถึงว่า ผลที่เกิดเป็นอย่างไร นั้นผิดอยู่แล้วครับ

โดยเฉพาะผลที่ออกมาืำืเป็นการกระทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน อย่างนี้ถึงแม้ว่าจะคิดดี ทำสุดความสามารถ แต่คุณทำให้คนทั้งโลกเดือดร้อน มันก็ผิดอยู่ดี

ความผิดจะมีมากขึ้นอย่างน่าอดสู เมื่อคนที่ทำสิ่งนั้นแล้วไม่เคยสำนึกเลยว่าตนเองได้ทำให้เกิดอะไรขึ้นมาบ้าง แล้วยังมีหน้ามาบอกว่าทำด้วยเจตนาดีและสุดความสามารถแล้ว ดังนั้นผลที่เกิดมาเป็นอย่างไรก็ไม่สำคัญ นั้นยิ่งน่าตำหนิยิ่งนัก

ไอสไตน์ยังรู้สึกผิด ที่ตนเองได้เป็นคนทำให้เกิดระเบิดปรมณู

ดังนั้น

การทำหน้าที่ด้วยเจตนาดีและทำสุดความสามารถเป็นสิ่งสมบูรณ์แล้วครับ ผลที่เกิดจะเป็นอย่างไรก็ไม่สำคัญ

ไม่ได้เป็นสิ่งสมบูรณ์ครับ ผมว่ามันเหมือนความเห็นแก่ตัวจนไม่รู้จักการเห็นแก่ใคร


Posted by : ..... , Date : 2003-05-23 , Time : 03:14:52 , From IP : 172.29.2.240

ความคิดเห็นที่ : 4


   โตขึ้นเราจะเจอกับอะไรบ้างหนอ
ขอให้ทุกคนเข้มแข็งนะ


Posted by : สาวน้อยร้อยชั่ง , Date : 2003-05-23 , Time : 14:20:24 , From IP : 172.29.2.117

ความคิดเห็นที่ : 5


   


การทำหน้าที่ด้วยเจตนาที่ดี และสุดความสามารถเป็นสิ่งสมบูรณ์ ผลที่เกิดจะเป็นอย่างไรก็ไม่สำคัญ



การทำหน้าที่ด้วยเจตนาที่ดี และสุดความสามารถเป็นสิ่งสมบูรณ์ ผลที่เกิดจะเป็นอย่างไรก็ไม่สำคัญ



ข้อความนี้บ่งว่าการตัดสินถูกผิดดีชั่วนั้น อยู่ที่เจตนาเพียงอย่างเดียวครับ



คือเราจะไม่ไปดูที่ผลเลย เพราะ"ผล"นั้นเป็นสิ่งสะท้อนออกมาจากเจตนา แต่"ผล"ไม่ได้เป็นตัวแทนของเจตนาครับ ผลที่เกิดขึ้นนั้นย่อมถูกกระทบจากหลายปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ จึงนำผลมาแสดงเจตนาทั้งหมดไม่ได้



การกระทำอะไรสักอย่าง แน่นอนครับว่าเราเล็งไปที่ผล แต่ผลนั้นไม่ได้เป็นอย่างใจเราคิดเสมอไป เพียงแค่เจตนาดีและกระทำตามเจตนานั้นอย่างเต็มที่เท่านี้ก็สมบูรณ์แล้ว ส่วนผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรจะนำมากล่าวโทษไม่ได้ เพราะนั่นไม่ได้อยู่ในอำนาจหรือวิสัยที่เขาจะกำหนด



การคิดเช่นนี้เป็นการรับผิดชอบอย่างยิ่ง เพราะเจตนาดีแล้ว กระทำเต็มที่แล้ว หากผลเสียเกิดขึ้นก็สามารถแก้ไขต่อไปได้ ด้วยเจตนาดีและความพยายามอันนั้นต่อไป



ผมไม่เห็นด้วยกับการตัดสินจริยธรรมที่ผล(ประโยชน์นิยม) เพราะผมได้บอกเหตุผลไปข้างต้นแล้ว กรณีนี้ขอโยงไปถึงกฎหมาย เพราะกฎหมายเป็นหลักจริยธรรมที่อิงประโยชน์นิยม ยึดการตัดสินที่ผลเป็นสำคัญ เนื่องจากถือว่าเจตนานั้นตัดสินยาก ประโยชน์นิยมเป็นแนวคิดที่ทำให้คนหนึ่งตัดสินอีกคนหนึ่งได้ง่าย แต่จะไม่มีทางสมบูรณ์เสมอไป



ความดีชั่วนั้นอยู่ที่เจตนาครับ ไม่ได้วัดที่ผล การกระทำใดหากตระหนักด้วยตนเองว่าประกอบด้วยเจตนาดีแล้ว ก็กระทำสิ่งนั้นลงไป เพราะไม่มีทางอื่นใดอีกแล้วที่จะให้กระทำ นอกเหนือไปจากเจตนาดีอันนั้นได้



แนวคิดนี้ผมไม่ได้ให้ถือเป็นข้ออ้างในการแก้ตัวครับ เพราะความถูกผิดดีชั่วจะเป็นอย่างไร ตนเองเท่านั้นที่รู้ได้ทั้งหมด และควบคุมตนเองได้ การกระทำนั้นของใครนั้นผู้อื่นไม่ควรตั้งแง่และสรุปความผิดเอาจากผลง่ายๆครับ เพราะคุณไม่มีทางรู้ใจจริงของใครได้เลย



คุณลองนึกดูว่ามีกี่เหตุการณ์ที่ผลออกมาอยู่เหนือความควบคุมของคุณ แล้วความผิดพลาดนั้นจะนำมาโทษกันได้หรือไม่ สมมติว่าแพทย์คนหนึ่งตัดสินใจเลือกที่จะให้ตัวยาชนิดใหม่แก่คนไข้ เพราะเชื่อมั่นผลการวิจัยในขณะนั้นว่าปลอดภัย และเจตนาที่จะให้คนไข้ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับผลข้างเคียงจากยาตัวเก่าอีกต่อไป ต่อมาสิบปีภายหลังเพิ่งมีรายงานยืนยันว่ายาดังกล่าวมีผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว คุณว่ากรณีนี้จะไปโทษหมอได้หรือไม่



หากเกิดผลเสียขึ้นจากเจตนาดีนั้น ผู้กระทำก็ไม่จำเป็นต้องทุกข์ใจอะไร แต่พยายามแก้ไขต่อไปด้วยเจตนาดีและความพยายามนั้นเอง



ผมยืนยันมาเสมอว่าเจตนาดีนั้นเป็นความไม่เห็นแก่ตัวครับ เจตนาใดยังเห็นแก่ตัวอยู่ก็ย่อมถือเป็นเจตนาไม่ดี



ไอน์สไตน์ไม่ได้มีส่วนร่วมอันใดเลยกับโครงการแมนฮัตตัน เพียงแต่เป็นผู้ยืนยันความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนสสารให้เป็นพลังงาน และจดหมายฉบับหนึ่งซึ่งกระตุ้นประธานาธิบดีรูสเวลต์ให้เห็นผลเสียหากว่านาซีพัฒนาระเบิดอะตอมได้ก่อน เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับไอน์สไตน์เลย แต่ความรู้สึกผิดที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นคุณธรรมในระดับหนึ่งครับคือยังยึดติดตัวตนอยู่ หากพูดถึงคุณธรรมที่สูงไปจากนั้นก็คือเรื่องหน้าที่ ผู้บรรลุถึงหน้าที่(ผู้ที่ไม่เห็นแก่ตัว)ไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิดอะไรอีกแล้ว เพราะไม่ได้ยึดติดต่อสิ่งภายนอก คงเหลือแต่การทำหน้าที่อันบริสุทธิ์



ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ครับ








Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-23 , Time : 15:28:05 , From IP : 172.29.2.97

ความคิดเห็นที่ : 6


   ผมเข้าใจสิ่งที่คุณ kant โพสมา และเห็นว่าเป็นสิ่งดี สมเหตุสมผล

แต่ยังมีบางประเด็นและหลายคำที่คลุมเคลือมากถึงมากที่สุด ดังเช่น หน้าที่อันบริสุทธิ์ ผมอ่านแล้วเข้าใจยากมาก อะไรคือหน้าที่อันบริสุทธิ์

แต่ถ้าให้ผมเดาเอาจากความคิดของคุณ kant ที่โพสมา คุณ kant น่าจะบอกว่า คนเราต้องรู้เองและตัดสินเองว่าสิ่งใดเป็นหน้าที่ จะไม่มีใครมาชี้แนะได้ ใช่มั้ยครับ?

ดังนั้นหน้าที่อันบริสุทธิ์ที่คุณ kant พูดถึง ก็ไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นคำพูดหรือตัวอักษรใดๆได้อยู่ดี

หรืออีกแนวความคิดของคุณ kant ก็น่าจะเป็น การทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ ซึ่งคุณ kant คิดว่ามันคือหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน แต่ก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าอะไรคือหน้าที่ของมนุษย์ทุกคน และในทำนองเดียวกัน คุณจะกลับไปสู่คำพูดแบบเดิมคือ คนเราต้องคิดเอาเองว่าสิ่งใดเป็นหน้าที่ เพราะว่าไม่มีใครบอกเราได้ ไม่มีใครตัดสินใครได้ ต้องคิดเอาเอง

ศาสตร์แห่งการคิดเองหรือครับ


Posted by : .... , Date : 2003-05-23 , Time : 17:29:35 , From IP : 172.29.3.161

ความคิดเห็นที่ : 7


   ความดีชั่วนั้นอยู่ที่เจตนาครับ ไม่ได้วัดที่ผล การกระทำใดหากตระหนักด้วยตนเองว่าประกอบด้วยเจตนาดีแล้ว ก็กระทำสิ่งนั้นลงไป เพราะไม่มีทางอื่นใดอีกแล้วที่จะให้กระทำ นอกเหนือไปจากเจตนาดีอันนั้นได้

ผมขอแย้งความคิดนี้ด้วยครับ แต่ยังคงวนเวียนอยู่กับการทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ ตัวอย่างของสิ่งที่ทำให้ข้อความข้างบนไม่สวยหรูอย่างที่ควร คือการรักษาคนไข้มาเร็งระยะสุดท้าย หากเราซึ่งเป็นหมอมีเจตนาดีเพื่อรักษาชีวิตคนไข้เอาไว้ ทำทุกๆหัตถการที่จะรั้งชีวิตเค้าเอาไว้ให้นานที่สุด เพราะว่ามันเป็นหน้าที่ของเรา(ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่) โดยเราไม่สนใจเลยว่าคนไข้จะทุกข์ทรมาณแค่ไหน

ในความคิดของคุณ kant คงคิดว่าถูกต้อง 100 % ใช่มั้ยM


แน่ใจแล้วหรือ กับคำว่าแค่เจตนา และความพยายาม?


Posted by : .... , Date : 2003-05-23 , Time : 17:43:15 , From IP : 172.29.3.161

ความคิดเห็นที่ : 8


   ทำอย่างไรจึงจะทราบและมั่นใจว่า "ความรู้ความเข้าใจ" ของ เรานั้นเป็น absolute truth?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-23 , Time : 20:22:18 , From IP : 172.29.3.215

ความคิดเห็นที่ : 9


   


จริยธรรมนั้นต้องเข้าใจและตระหนักด้วยตนเองครับ ใครจะมาบังคับให้เชื่อก็ไม่ได้ จะกระทำอย่างไร ตนเองเท่านั้นเป็นผู้ตัดสินใจ



จริยธรรมนั้นต้องเข้าใจและตระหนักด้วยตนเองครับ ใครจะมาบังคับให้เชื่อก็ไม่ได้ จะกระทำอย่างไร ตนเองเท่านั้นเป็นผู้ตัดสินใจ



ในเรื่องหน้าที่นั้นเป็นเรื่องใหญ่และต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ ผมอยากบอกคุณประโยคหนึ่งว่า "ธรรมะ คือหน้าที่" ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวจะกระทำโดยไม่เห็นแก่ตัว คือต้องไม่รู้สึกว่าเพื่อตัวเองเลยแม้แต่น้อย หน้าที่ก็เพื่อหน้าที่นั้นเอง ไม่ได้เพื่อใครหรือเพื่อสิ่งใด เป็นการขาดจากตัวตนโดยสิ้นเชิง



ในเรื่องจริยธรรมนั้นผมไม่ได้บอกให้คุณคิดเอาเองทั้งหมด หากเหลือกำลังคุณก็ต้องแสวงหาจากผู้อื่นแหล่งอื่นมาศึกษา แต่สุดท้ายไม่ว่าอย่างไรคุณก็ต้องเป็นผู้เข้าใจด้วยตนเองอย่างเดียว จะให้ใครมาเข้าใจแทนก็ไม่ได้



สำหรับกรณีตัวอย่างดังกล่าว ตอบได้ว่าแพทย์ก็ทำไปตามหน้าที่ของแพทย์ คือพยายามรั้งชีวิตของผู้ป่วยไว้ด้วยเจตนาจะให้เขาได้มีชีวิตต่อไปยาวนานที่สุดเพื่อเขาจะได้ใช้ร่างกายอันนั้นทำ"ประโยชน์"ต่อไปให้ได้นานที่สุด โดยทุกวิถีทาง เพราะถือว่าผู้ป่วยยังยินยอมรับการรักษา แต่หากผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาพยาบาลจะด้วยเหตุผลว่าเจ็บปวดหรืออะไรก็ตาม นั่นก็เป็นสิทธิของเขา แพทย์ก็มีหน้าที่จะทำได้แต่เพียงโน้มน้าวให้เขารักษาชีวิตต่อไป เพียงเท่านี้ก็ได้ทำหน้าที่สมบูรณ์แล้วครับ ด้วยเจตนาดี แพทย์ไม่มีสิทธิเลือกความตายให้ใครครับ และถึงแม้จะต้องทนดูผู้ป่วยเจ็บปวดทรมาน แต่นั่นก็เป็นความถูกต้องโดยหน้าที่ครับ



ผมแน่ใจครับว่าเจตนาเพียงอย่างเดียว ส่วนความพยายามสุดความสามารถนั้นจะเกิดขึ้นเองด้วยเจตนาดีอันนั้น



เจตนาของมนุษย์เท่านั้นที่มีคุณค่าทางจริยธรรม เพราะมนุษย์มีเสรีภาพที่จะเลือกชีวิตของตนเองได้ ต่างจากสัตว์ที่ทำทุกอย่างโดยสัญชาตญาณกำหนด


- อุกกาบาตก้อนหนึ่งมาชนโลก ทำให้มนุษย์ตายหมดโลก แต่คุณจะว่าอุกกาบาตเลวก็ไม่ได้


- สิงโตต่อสู้แย่งชิงอาณาเขตกันจนตาย คุณจะไปว่าสิงโตเลวก็ไม่ได้


- แต่มนุษย์ฆ่ากันเพราะความเห็นแก่ตัวเมื่อไรนี่สิ ถึงเหมาะสมกับคำว่าเลว







Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-23 , Time : 20:42:22 , From IP : 172.29.2.97

ความคิดเห็นที่ : 10


   สพฺเพ ธมฺมา กุสลา สพฺเพ ธมฺมา อนวชฺชา สพฺเพ ธมฺมา วิญญุปฺปสตฺถา สพฺเพ ธมฺมา สมาทินฺนา หิตาย สุขาย สํวตฺตน ตี ติ

ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดวิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่าใดเมื่อสมทานให้มากแล้วเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุข ก็พึงเชื่อธรรมเหล่านั้นเถิด

ต่างคนจะมีแนวคิดอย่างไรก็เป็นสิทธิของเขาครับ คุณไม่มีสิทธิไปบังคับให้ใครเชื่อตาม หากคิดว่าแนวคิดของตนดีจริง ก็เผยแพร่ต่อไปครับ ใครจะเชื่อหรือไม่ก็เป็นสิทธิของเขา



Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-23 , Time : 20:52:36 , From IP : 172.29.2.97

ความคิดเห็นที่ : 11


   กระบวนการวิภาษวิธี อ้างโดย"สิ่งที่เป็นจริงต้องชอบด้วยเหตุผล สิ่งที่มีเหตุผลย่อมเป็นความจริง"

Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-23 , Time : 20:55:06 , From IP : 172.29.2.97

ความคิดเห็นที่ : 12


   ชีวิตคนเรานั้นคิดว่าเรา "เข้าใจ และตระหนัก" อะไรต่อมิอะไรมากมาย เรียนถามคุณ Kant ว่า "ทำอย่างไรจึงจะทราบว่าที่เราเข้าใจและตระหนัก here and now นั้นเป้น absolute truth แล้ว?"

การที่เราเอง "เป็นคนตัดสินใจ" ก็แปลว่าเราใช้มาตรฐานของตนเอง ทีนี้มาตรฐานและสติปัญญาของกระผมนั้นห่างไกลจากพระพุทธเจ้า Jesus Christ และคุณ kant มากนัก ผมจะ "มั่นใจ" ได้อย่างไรว่าผมจะตัดสินใจถูก? "เรา" ในที่นี้ที่คุณ Kant ให้ตัดสินใจนั้นรวมทั้ง ซัดดัม คลินตัน สิทธัทธะ เทเรซา แต่ละท่าน"ตัดสินใจ" คงจะไม่เหมือนกันรึเปล่า?

อเมริกาคิดว่าเจตนาดีจึงบุกอิรัก
บินลาดินคิดว่าอเมริกาเป็น evil ของโลกนี้ ก็เลยจองล้างจองผลาญ
คุณ Kant คิดว่ากามารมณ์เป็นสิ่งเลงทรามที่สุดจึงประณามแพทย์ที่แนะนำผู้ป่วยเรื่องการร่วมเพศ และการใช้ถุงยางอนามัย

ทุกคนคิดว่าตนเองมีเจตนาดีหมด



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-23 , Time : 21:02:56 , From IP : 172.29.3.202

ความคิดเห็นที่ : 13


   คุณ KANT มีความคิดเห็นอย่างไรกับการที่ที่พระสูตรหรือพระธรรมคำสอนทางพุทธศาสนานั้นมิได้ Label สิ่งใดว่าเลวทรามเลย เพียงดำหนดตรงไปตรงมา (หรือมีเหตุผล) ว่ากรรมใดก่อไว้ก็จะมีวิบากตามมา

มีความจำเป็นที่การสอนจริยธรรมต้อง LABEL หรือ "ตีค่า" ว่าเลวว่าดี หรือไม่ อย่างไร?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-23 , Time : 21:14:03 , From IP : 172.29.3.202

ความคิดเห็นที่ : 14


   มนุษย์ต้องการการแสวงหาและพัฒนาครับ

สิ่งใดจะถูกต้องก็ตนเองเท่านั้นที่เป็นผู้ตัดสิน แต่จะตัดสินถูกผิดเป็นอีกเรื่องเพราะผมยืนยันว่าจริยธรรมมีกฎเกณฑ์ตายตัว

ผู้ที่มีความพยายามแสวงหาย่อมพบความถูกต้องแท้จริงในที่สุด ด้วยปัญญาของตนเองที่พ้นจากอคติทั้งปวง ผมเชื่อว่ามนุษย์มีศักยภาพในการพ้นความเห็นแก่ตัวเท่ากันทุกคน เพราะมนุษย์เป็นเวไนยสัตว์เท่าเทียมกัน

หลักกาลามสูตร พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้แล้ว แม้แต่มโนธรรมสำนึกก็มีอยู่โดยธรรมชาติ

หลักการข้อหนึ่งที่ศาสนาโดยเฉพาะพุทธศาสนาได้แสดงไว้ชัดเจน คือมนุษย์ต้องไม่เห็นแก่ตัว

........................................

จริยธรรมนั้นเป็นเรื่องของคุณค่าโดยตรงครับ และเป็นเรื่องของการตัดสินค่าอยู่แล้ว

จริยธรรมแปลตรงตัวว่าหน้าที่ที่"พึง"ประพฤติปฏิบัติ

สิ่งที่ไม่ควรทำก็เรียกว่าเลวหรือผิด สิ่งที่ควรทำก็เรียกว่าดีหรือถูก

(หน้าที่ที่ไม่พึงกระทำก็เรียกว่าผิดจริยธรรม)

หลักจริยธรรมไม่ว่าศาสนาพุทธหรือศาสนาใดหรือลัทธิอะไร ต่างก็ตีค่าไปเรียบร้อยแล้วว่า การกระทำอย่างไรจึงเรียกว่าไม่ควร หรือเรียกว่าเลว การกระทำใดจึงเรียกว่าควร หรือดี


Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-23 , Time : 21:52:13 , From IP : 172.29.2.97

ความคิดเห็นที่ : 15


   เราอยู่กันในสังคมด้วยการสมมติทั้งนั้นครับ คือถือว่าตัวเองมีจริง คนอื่นมีจริง เหตุผลมีจริง มนุษย์มีลักษณะทางจิตใจที่ตรงกัน และก็ต้องการมาตรฐานทางจริยธรรมที่ตรงกัน(เช่นกฎหมาย)

พรุ่งนี้ตื่นเช้าขึ้นมาคุณลองถือว่าการเอาเปรียบผู้อื่นเป็นความดีดูสิครับ คุณก็รู้ตัวเองว่าเห็นแก่ตัวหรือไม่ เป็นทุกข์หรือไม่ มีใครเป็นทุกข์เพราะการกระทำด้วยความเห็นแก่ตัวเองหรือไม่

จงรู้จักตนเองครับ


Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-23 , Time : 22:07:52 , From IP : 172.29.2.97

ความคิดเห็นที่ : 16


   ถูกแล้วครับที่มีกิจอันพึงกระทำและกิจอันไม่พึงกระทำ แต่บางครั้งมีไหมครับที่มัน grey? (ผมว่าคุณ kant เคยตอบมาแล้วว่าไม่มี grey)

เราเคยพูดกันถึงเรื่อง James Bond scenario จำได้ไหมครับ ที่มี villain กำลังจะกดปุ่มระเบิดคนพันล้านคน เราถือระเบิดลูกหนึ่งซึ่งสามารถ bomb เจ้าโจรนี้ได้ คุณ Kant ตอบว่าเป็น คุณ kant จะคิดว่าเป็นกรรมของคนพันล้านคนที่ต้องตายในคราวนี้ และคุณ kant เพื่อรักษาจริยธรรม (อันว่าฆ่าคนนั้นเป้น absolute immoral) ก็จะไม่ใช้ระเบิด แล้วผมเรียนถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่เป้นกรรมของเราที่ต้องฆ่าเจ้าโจรนี่แล้วช่วยชีวิตคนพันล้านคน แล้วเราก็รับวิบากจากที่เราฆ่าโจรไป การอภิปรายสิ้นสุดอยู่ ณ จุดนี้ ไม่ทราบว่าคุณ kant พอจะ comment ประเด็นสมมุติที่ผมยกมาประการหลังนี้หน่อยนึงได้หรือไม่ครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-23 , Time : 22:19:36 , From IP : 172.29.3.202

ความคิดเห็นที่ : 17


   ผมไม่เคยบอกว่าการกระทำไม่มีสีเทาครับ แต่บอกว่าสิ่งที่ควรยึดถือนั้นคือสีขาวไม่มีข้อยกเว้น

เจตนาแยกส่วนเท่านั้นที่มีเพียงขาวกับดำ เจตนาที่เห็นแก่ตัวย่อมผิดไม่มียกเว้น เจตนาที่ไม่เห็นแก่ตัวก็คือถูกไม่มีข้อยกเว้น การกระทำหนึ่งประกอบด้วยเจตนาซับซ้อนจึงมีลักษณะคลุมเครือ

คุณอย่าลืมว่าคุณไม่มีสิทธิไปกำหนดความตายให้ใครครับ(แม้แต่โทษประหารชีวิตนั้นผมก็ไม่เห็นด้วย) คุณก็ยังไม่รู้เสียหน่อยว่าโจรนั่นจะกดระเบิดจริงหรือไม่ การกระทำนั้นมนุษย์มีเสรีภาพเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่ลิขิตของอะไร คุณมีสิทธิเพียงโน้มน้าวให้เขากลับใจหรือไม่ก็แย่งระเบิดมาให้ได้

ผมเคยตั้งคำถามว่าหากให้เลือกช่วยคนจะช่วยอย่างไร ระหว่างคนจำนวนมากกับคนจำนวนน้อย

และปริมาณจะมีความสำคัญอย่างไร

(คำว่าวิบากนั้นผมขอให้แปลตามปฏิจจสมุปบาทครับ เพราะวิบากเป็นผลภายในใจตน ไม่ใช่สิ่งที่เกิดภายนอก คนเราสามารถทำหน้าที่อย่างไม่เป็นทุกข์ได้สมบูรณ์เสมอ แม้ว่าจะมีใครมากดระเบิดหรือไม่ก็ตาม)


Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-23 , Time : 22:36:45 , From IP : 172.29.2.97

ความคิดเห็นที่ : 18


   ตกลงถึงแม้ว่าโจรคนนั้นได้ชี้แจงให้คุณ Kant เข้าใจอย่างละเอียด (อย่างที่โจรในเรื่อง James Bond ทุกเรื่องทำ) ว่าเพราะเหตุใดเขาจึงต้องการระเบิดคนพันล้านคน คุณ Kant เห็นสมควรจะเลือกที่จะไม่เชื่อว่าโจรคนนั้นพูดจริงแปล่อยให้โจรกดปุ่มไปใช่ไหมครับ? ในกรณีนี้คุณ Kant ไม่รู้สึกแม้แต่เพียงสักเล็กน้อยเลยใช่ไหมครับว่าคุณ Kant ได้มีส่วนในการพิพากษาคนพันล้านคนให้ตายไป?

ลองพิจารณาเรื่อง "เหตุและผล" เพราะเหตุใดคุณ Kant "เลือก" ที่จะไม่เชื่อว่าโจรคนนั้นกำลังจะฆ่าคนพันล้านคน และ "เลือก"ที่จะสรุปเอาเองว่าโจรนั้นโกหก และ "เลือก" ที่จะ gamble ว่าโจรคนนั้นกำลัง bluff แทน? ทั้งๆที่โจรได้อธิบายโดยละเอียดแล้วว่าเขาจะทำจริงๆ?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-23 , Time : 22:46:34 , From IP : 172.29.3.202

ความคิดเห็นที่ : 19


   แล้วถ้า "ไม่มีโจร" แต่มีปุ่มๆหนึ่งที่ "มีคนบอก" ว่าถ้ากดแล้วจะช่วยคนพันล้านคน (เช่นเพราะมันจะไป disable bomb) คุณ Kant จะเลือกที่จะ "เชื่อ หรือ ไม่เชื่อ" ข้อมูลดังกล่าว?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-23 , Time : 22:50:17 , From IP : 172.29.3.202

ความคิดเห็นที่ : 20


   ถ้าเป็นผม ผมยิงมันทิ้งตั้งนานแล้วครับ

เรื่องของการประหารชีวิต ผม่เห็นด้วยนะ แต่ผมไม่เห็นด้วยและไม่ไว้ใจกับวิธีการพิสูจน์ ในหลายๆกรณีมากกว่า

หากมีใครคนใดคนนึง มาข่มขืน แล้วฆ่าลูก เมีย แม่คุณ kant คุณจะทำอย่างไร หากคุณรู้ว่าเป็นใครและตอนนี้เขายืนอยู่หน้าคุณ พร้อมๆกับปืน 1 กระบอกในมือของคุณและเขา เขากำลังจะยิงคุณ คุณจะปล่อยให้เขายิงคุณ ใช่หรือไม่?

หรือเขาไม่ได้ยืนต่อหน้าคุณ แต่ตำรวจจับเขาได้ขณะกำลังหลบหนี มีพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจน แต่ศาลที่ตัดสินถามคุณว่า จะประหารเค้าดีมั้ย คุณจะตอบว่าอย่างไร?

"อย่าฆ่าเขาเพราะว่าผมไม่เห็นด้วยกับวิธีประหารชีวิตหรือ?"

oh!!!u r god!!!



Posted by : เหอๆๆ , Date : 2003-05-24 , Time : 14:00:02 , From IP : 172.29.2.166

ความคิดเห็นที่ : 21


   อืม อ้อ.....



Posted by : คานทองแท้ , Date : 2003-05-24 , Time : 14:31:28 , From IP : 172.29.2.80

ความคิดเห็นที่ : 22


   อาจจะเป็นเพราะคุณ Kant ไม่คุ้นเคยกับเกม scenario นะครับ ถ้าโจทย์บอกว่ายิงโจรเป็นวิธีเดียวที่จะหยุดโจร ก็แปลว่าพูดจาโน้มน้าวหรือแย่งปืนนั้นเป็นไปไม่ได้ ถ้าโจทย์บอกว่าโจรจะฆ่าคนพันล้านก็ไม่ต้องไปสงสัยโจทย์แล้วล่ะครับว่าจะฆ่าหรือไม่ แปลว่าโจรฆ่าแน่ถ้าเราไม่ฆ่าโจร นั่นคือความหมายของเวลาเราตั้ง scenario ทัวไป ๖ถ้าเป็นในภาพยนต์ เราจะเห็นว่า James Bond has not much choices และ megalomaniac ทีเปนตัวร้ายนั้นฆ่าแน่ครับ และไม่มีทางโน้มน้าวด้วย)

น่าสนใจครับถ้าคุณ Kant appreciates ว่าโจรจะฆ่าแน่แล้วพอคุณ kant โน้มน้าวไม่สำเร็จหรือไม่มีทางแย่งระเบิดได้แล้วฉากต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น คุณ Kant จะยืนดูโจรกดปุ่มระเบิดอย่างสงบ หรือเดินออกไปจากห้องเพราะ "หมดหน้าที่" ข้อสำคัญคือหลังจากคนพัลล้านคนได้ตายไปในกองเพลิงและแรงระเบิดแล้ว คุณ Kant ยังคงไม่คิดแม้แต่น้อยว่าคุณ Kant จริงๆแล้วสามารถช่วยชีวิตคนเหล่านั้นได้แต่เพราะหลักการที่คุณ Kant ไม่มีวันยอมให้ "ตนเอง" กระทำผิด absolute จริยธรรมที่ว่าไม่ฆ่าแค่นั้นเอง มีคนสองคนที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์นี้ หนึ่งคือโจร สองคือคุณ Kant ทั้งสองคนคิดว่าตนเองทำ "หน้าที่" ของตนเอง โจรทำไปเพราะอะไรก็แล้วแต่ที่สังคมทำกับเขา คุณ Kant ได้"พยายาม" โน้มน้าวแล้วไม่สำเร็จ แต่ที่ไม่ฆ่าโจรเพราะมันผิดจริยธรรม คนตายไปบ้างไม่เป็นไร ถ้าเปลี่ยนจาก "คนพันล้าน" เป็นคนกลุ่มอื่น เป็นคนที่คุณ Kant รู้จัก เป้นห่วง รักเขาเหล่านั้น หรือเขาเหล่านั้นรักคุณ Kant อย่างมากที่สุดจองความพยายามที่จะทำเพื่อการนี้ก็คงจะเป็นการ "พูดจาโน้มน้าว" หรือเปล่า? (อย่างที่บอกนะครับ แย่งระเบิดน่ะเป็นไปไม่ได้แล้ว)



PS: 1. คุณ เหอๆๆ ครับ การจำเพาะเจาะจงไปยังครอบครัวของคู่ debate นั้นไม่พึงกระทำ ถึงแม้อาจจะช่วย make the point ก็ตามครับ
2. สำหรับคุณคานทองแท้ ผมเข้าใจว่ารูปที่คุณใช้นั้นมีคนตั้งใจใช้เป็นlogo หรือ identity ไปแล้วนะครับ อาจจะพิจารณาหารูปอื่นแทน



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-24 , Time : 17:16:38 , From IP : 172.29.3.213

ความคิดเห็นที่ : 23


   ขออนุญาตยก MAXIM อันเดิมของ Immanuel Kant คือ The Foundation of the Metaphysics of Morals (1785) และ The Critique of Practical Reason (1787) นะครับ

Act so that you treat humanity, whether in your own person or in that of another, always as an end and never as a means only." (Ibid., 429)


คือผมไม่ค่อยมั่นใจน่ะครับ ตอนที่คุณ Kant พูดถึงหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงผลว่าเป็นอย่างไร คือคำนึงแต่เจตนาและวิธีการ เพราะจาก Maxim ข้างบน ดูแล้ว Immanuel Kant ค่อนข้างจะ concerned เรื่องผล (an end) พอประมาณหรือเปล่าครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-24 , Time : 20:12:40 , From IP : 172.29.3.213

ความคิดเห็นที่ : 24


   Act so that you treat humanity, whether in your own person or in that of another, always as an end and never as a means only."

ผมขอให้คำแปลดังนี้

“มนุษย์ต้องปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยความเท่าเทียมโดยให้เกียรติและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไ ม่อาจใช้มนุษย์ด้วยกันเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อื่น”



Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-24 , Time : 21:24:36 , From IP : IPNET70-P2.anet.net.

ความคิดเห็นที่ : 25


   Kant กล่าวว่าองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการที่จะประพฤติปฏิบัติดีของมนุษย์มี 2 ประการ ประการแรกคือ good will หมายถึงความตั้งใจดี(เจตนาดี) ความมุ่งสู่ความดีงามและความถูกต้อง ซึ่ง good will นี้จะอยู่ในใจของมนุษย์ที่ดีงามทุกคน โดยที่มนุษย์ที่ดีงามจะปฏิบัติตาม good will อย่างไม่มีเงื่อนไข ตัวอย่างเช่น มนุษย์จะช่วยเหลือมนุษย์ผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก ก็เพราะด้วย good will ที่เห็นว่าการช่วยเหลือมนุษย์ด้วยกันเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงามในตนเอง ไม่ใช่ช่วยเหลือเพราะต้องการสิ่งตอบแทนหรือต้องการคำยกย่องสรรเสริญ Kant เห็นว่า good will นั้นเป็นคุณธรรมที่ไม่ต้องการการพิสูจน์ เป็นสากล ใช้ได้ทุกที่ทุกแห่งในโลก มนุษย์จะทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยเหตุผลก็คือสิ่งนั้นถูกต้อง ไม่ใช่ด้วยเหตุผลอื่น องค์ประกอบที่สองของการประพฤติปฏิบัติดีของมนุษย์คือ free will(เจตจำนงเสรี) หมายถึงความสามารถที่จะเลือกได้โดยไม่ได้ถูกบีบบังคับ คือมีอำเภอใจที่จะเลือก การกระทำดี คือต้องเลือกที่จะกระทำดี มิใช่กระทำเพราะถูกบังคับ ล่อลวงหรือหวังผลตอบแทน ถ้าหากปราศจาก free will แล้วการกระทำนั้นก็ไม่มีคุณค่าทางจริยธรรม Kant เห็นว่ามนุษย์ทุกคนมีสติปัญญาที่จะเลือกทำดีหรือทำชั่วได้




Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-24 , Time : 21:28:01 , From IP : IPNET70-P2.anet.net.

ความคิดเห็นที่ : 26


   กฎจริยธรรมสัมบูรณ์มีหรือไม่?

คำว่า "สัมบูรณ์" (absolute) ในที่นี้หมายความว่า ความจริงหรือความหมายของสิ่งหนึ่ง (เช่น A) ไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น (เช่น B) และสิ่งนั้น (A) เป็นอยู่โดยตัวเองไม่แปรเปลี่ยนไปตามเวลาและสถานที่

ปัญหาอันเนื่องมาจากลัทธิประโยชน์นิยม

จากการศึกษาเรื่องเกณฑ์ตัดสินการกระทำของลัทธิประโยชน์นิยม ที่กำหนดให้ความถูก/ผิดของการกระทำขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นของการกระทำว่าสอดคล้องกับหลักมหสุข ทำให้คุณค่าทางจริยธรรมของการกระทำหนึ่งๆ มีลักษณะไม่แน่นอน อาทิเช่น การกล่าวเท็จบางครั้งเป็นการกระทำที่ถูก แต่บางครั้งก็ผิด(เช่นเดียวกับการฆ่าคนหรือการผิดสัญญา) ด้วยเหตุผลเช่นนี้เองทำให้คนบางคนไม่สบายใจ เพราะตามสามัญสำนึกและจากประสบการณ์ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ กฎจริยธรรมและกฎศีลธรรมจะมีลักษณะที่แน่นอนตายตัวเสมอเช่น พระบัญญัติ ๑๐ ประการ ของศาสนาคริสต์หรือศีล ๕ ของศาสนาพุทธ เป็นต้น

จริยธรรมที่อิงอยู่กับหลักศาสนาหรือศีลธรรมนั้น ความแน่นอนตายตัวของศีลธรรมได้รับการบัญญัติขึ้นโดยศาสดาของศาสนาต่างๆ ซึ่งสามารถหยั่งรู้ความเป็นจริงได้ ในจริยศาสตร์ก็มีความพยายามแก้ปัญหานี้โดยการหากฎจริยธรรมสัมบูรณ์ ซึ่งจะกำหนดการกระทำที่ถูกต้องและการกระทำที่ผิดไว้อย่างแน่นอนตายตัว แนวความคิดหนึ่งที่โดดเด่นมากในความพยายามนี้คือแนวความคิดของ
ค้านท์

แนวความคิดของค้านท์

ค้านท์ (Immanuel Kant : 1724-1804) นักปรัชญาชาวเยอรมันได้เสนอว่า การกระทำที่มีคุณค่าทางจริยธรรมคือการทำตาม กฎสัมบูรณ์ (absolute law) ซึ่งจะไม่มีกรณียกเว้น (คือ ถ้าการกระทำนั้นถูก ก็จะต้องถูกเสมอไป จะมีกรณียกเว้นที่ผิดไม่ได้)

การทำตามกฎนี้ ผู้กระทำไม่ต้องสนใจผลที่ติดตามมาของการกระทำว่า การกระทำนั้นก่อให้เกิดผลดีหรือประโยชน์หรือความสุขแก่ผู้กระทำและผู้ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เพราะการพิจารณาในแง่นั้นเท่ากับเป็นการทำให้การทำตามกฎเป็นการกระทำโดยมีเป้าหมายอย่างอื่น หรือกล่าวว่า การกระทำนั้นมีคุณค่าเพราะเป้าหมายอื่น (จุดนี้ทำให้แนวคิดของค้านท์ตรงกันข้ามกับแนวคิดของลัทธิประโยชน์นิยม)

สาเหตุที่ทำให้การกระทำมีคุณค่าทางจริยธรรมไม่แน่นอน เพราะเกณฑ์ตัดสินทางจริยธรรมวางอยู่บนอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ ค้านท์จึงแก้ปัญหาโดยการเสนอเกณฑ์ตัดสินที่ใช้เหตุผลขึ้นมาแทน การใช้เหตุผลทำให้มนุษย์ซึ่งค้านท์เรียกว่า “ชีวิตแห่งเหตุผล” (rational being) สามารถเข้าถึงกฎจริยธรรมหรือการทำความดีได้และในขณะเดียวกันกฎจริยธรรมเหล่านี้จะผูกพันชีวิตแห่งเหตุผลทั้งหมดเข้าด้วยกันตลอดเวลา ในลักษณะนี้กฎจริยธรรมจึงมีลักษณะสากล (universal) ด้วย

ค้านท์พยายามหากฎจริยธรรมโดยการเทียบเคียงกับกฎธรรมชาติซึ่งมีลักษณะสากล เขากล่าวว่ากฎธรรมชาติเหล่านี้เป็นข้อความทั่วไปที่ไม่เพียงบอกว่าสิ่งต่างๆ เป็นไปอย่างไรเท่านั้น แต่ทว่ากฎเหล่านี้ยังบอกอีกว่าสิ่งต่างๆ ต้องเป็นไปอย่างไรด้วย ซึ่งเขาเรียกว่า “ความจำเป็นทางกายภาพ” (physical necessity)

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกัน ค้านท์จึงเสนอว่า กฎจริยธรรม (ซึ่งบางครั้งเขาก็เรียกว่า “กฎแห่งเสรีภาพ”) เป็นหลักการสากลที่อธิบายว่า คนทุกคนควรทำอย่างไรในสถานการณ์หนึ่งๆ กฎเหล่านี้เป็นข้อความทั่วไปที่แสดงถึง “ความจำเป็นทางจริยธรรม” (moral necessity)

ค้านท์กล่าวว่า มนุษย์เข้าถึงกฎจริยธรรมได้ด้วยเหตุผล มิใช่ด้วยประสบการณ์เพราะตัวอย่างของการทำความดีอาจกระทบต่อความรู้สึกของเราแต่มันยังไม่มี พลังทางจริยธรรม (moral force) ที่จะกำหนดให้เราปฏิบัติตาม แต่กฎจริยธรรมตามที่ค้านท์กล่าวมา พื้นฐานของ พันธะทางจริยธรรม (moral obligation) มีลักษณะของ ความจำเป็นแบบสัมบูรณ์ (absolute necessity) ดังนั้นกฎจริยธรรมจึงมีพลังทางจริยธรรมด้วย

ค้านท์วิเคราะห์ว่า มนุษย์เป็น "ชีวิตแห่งเหตุผล" (rational being) ซึ่งทำให้มนุษย์มีวิจารณญาณที่จะคิด ตั้งเป้าหมายและเลือกการกระทำเพื่อบรรลุเป้าหมายของตนเอง ในความหมายนี้ ค้านท์จึงถือว่า มนุษย์ทุกคนเป็น "เป้าหมายสัมบูรณ์" (absolute end) ในตัวเอง ดังนั้นถ้ามีแนวความคิดหรือการกระทำใด ๆ ก็ตามที่ปฏิบัติต่อมนุษย์ในฐานะเป็นเพียงเครื่องมือ (หรือวิธีการ)เพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างอื่นแล้ว ค้านท์ถือว่าสิ่งนั้นได้ทำลาย "ความสง่างาม" (dignity) ของมนุษย์ (ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเรียก “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์”

ค้านท์วิเคราะห์ต่อไปว่า มนุษย์มีองค์ประกอบ ๒ ส่วนคือ ความโอนเอียง (inclination) ที่เกิดจากอารมณ์ความรู้สึกหรือความปรารถนา (desire) และเหตุผล (reason) ทำให้เราสามารถแยกการกระทำของมนุษย์ได้เป็น ๒ ระดับ คือ

๑. ระดับของคำสั่งแบบเงื่อนไข (hypothetical imperative) คำว่า "ควรทำ" ในระดับนี้เป็นความปรารถนา (ซึ่งเราอาจจะเรียกว่าความอยาก ความรู้สึก หรือกิเลสก็ได้) เมื่อเรามีความต้องการของบางอย่าง ความต้องการนั้นจะกำหนดว่า เราควรทำอะไรบ้าง เพื่อให้บรรลุความต้องการของเรา

2. ระดับคำสั่งแบบเด็ดขาด (categorical imperative) คำว่า "ควรทำ" ในระดับนี้เป็นเหตุผล ซึ่งจะไม่มีคำว่า "ถ้า" ก็เท่ากับไม่ได้เป็นลักษณะแบบเงื่อนไข "ควรทำ" ในลักษณะนี้ ค้านท์เสนอว่า เราจะเห็นได้ชัดว่า เป็นจริงในตัวเอง (self - evident truth) และไม่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม เช่นเดียวกับความชัดเจนของข้อความ 2+2 = 4 หรือ "A และ - A จะจริงพร้อมกันไม่ได้" เช่น ในห้องนี้มีคนและไม่มีคนในขณะเดียวกันไม่ได้

เนื่องจากค้านท์มองว่า มนุษย์เป็นชีวิตแห่งเหตุผล เขาจึงปฏิเสธระบบจริยธรรม (รวมถึงศีลธรรม) ที่ควบคุมการกระทำของมนุษย์จากภายนอก ค้านท์เห็นว่า การกระทำที่ถูกต้องมาจาก "เหตุผล" ภายในตัวของมนุษย์เอง

มนุษย์ทุกคนสามารถเข้าถึง "เหตุผล" ที่นำไปสู่การทำความดีได้โดยตัวของเขาเอง







Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-24 , Time : 21:59:54 , From IP : IPNET70-P2.anet.net.

ความคิดเห็นที่ : 27


   ขอบคุณคุณ Kant สำหรับข้อมูลที่ได้ให้มา น่าสนใจมากและมีหลายประเด็นที่สามารถจะอภิปรายกันได้ทีเดียวรวมทั้ง Maxim ที่คุณ Kant ช่วยกรุณาแปลมาให้ด้วย แต่ก่อนที่เราจะมาเริ่มของใหม่นี่ ช่วยกรุณา comment เพิ่มเติมเรื่องที่ยังค้างอยู่ได้ไหมครับ จะได้ไม่ติดไปถึงครั้งต่อไปอีก

ขอบพระคุณครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-24 , Time : 22:36:42 , From IP : 172.29.3.213

ความคิดเห็นที่ : 28


   เรื่องที่เอาครอบครัวมาพูดถึงเป็นเรื่องที่ผมตั้งใจครับ แต่ว่าไม่ได้มีเจตนาที่จะลบหลู่หรือเป็นไปในทางลบแต่อย่างใด ผมเพียงต้องการทำให้เห็นชัดเท่านั้นเอง (แต่หากเป็นการผิดมารยาทก็ขออภัยด้วย)

Posted by : เหอๆๆ , Date : 2003-05-25 , Time : 00:43:13 , From IP : 172.29.2.237

ความคิดเห็นที่ : 29


   ๑) คำนึงถึง "Good Will" และจากการที่เรามี "Free Will" ในการ"เลือก" action, ช่วยกรุณา match การกระทำที่ปล่อยให้โจรกดปุ่มฆ่าคนพันล้านคนกับ good will ให้หน่อยได้ไหมครับ?

๒) คำนึงถึง "Good Will" และจากการที่เรามี "Free Will", ช่วยกรุณาอธิบายหน้าที่และความรับผิดชอบของทหารที่ปกป้องประเทศที่ต้องถือปืนและบางครั้งต้องยิงเพื่อฆ่าเพื่อปกป้องตนเองหรือเอกราชของประเทศ และกรุณา match กับ concept ของการ "ไม่ฆ่า" ให้หน่อยได้ไหมครับ?

๓) Kant มีความเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการมีครอบครัว (สามีมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาและมีบุตร) การป้องกันตนเองและครอบครัวจากคนร้าย (เช่นอนุญาตให้พูดโน้มน้าวเท่านั้น หรือไม่ก็ไปแจ้งตำรวจโดยมีข้อแม้ว่าตำรวจต้องไม่ทำอันตรายโจรด้วยรึเปล่า?) และสุนทรียศาสตร์?

๔) หลักปรัชญาจริยศาสตร์ของ Immanuel Kant ถูกนำมาใช้ในทางปฏิบัติในระดับชุมชนหรือระดับประเทศ หรือ reflected โดยกฏหมายบ้างหรือไม่?

ขอบพระคุณครับ




Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-25 , Time : 00:53:23 , From IP : 172.29.3.213

ความคิดเห็นที่ : 30


   


กรณีที่มีใครมาทำร้ายพ่อแม่คุณ คุณจะทำอย่างไร



กรณีที่มีใครมาทำร้ายพ่อแม่คุณ คุณจะทำอย่างไร



หากคุณฆ่าเขาทิ้งทันที เพราะความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ของๆตัว คุณก็เลว



ที่โลกมันจะได้วินาศก็เพราะต่างคนเห็นแก่ตัวอยู่อย่างนี้ ความรักความเมตตานั้นมนุษย์มีให้แก่กันได้โดยไม่จำกัดและไม่มีเงื่อนไขใดๆ แม้กับคนดี คนไม่ดี สัตว์ดิรัจฉาน หรือแม้ธรรมชาติทั้งปวง



การฆ่าเพราะอ้างว่าป้องกันตนเองนั้น แท้จริงก็คือความเห็นแก่ตัว ความอาฆาตพยาบาทการจองเวรที่จะตามมาไม่หมดสิ้น



ในสงครามที่ประหัตประหารกันนั้น ก็ด้วยความเห็นแก่ตัวทั้งสิ้น แต่ฉาบหน้าไว้ว่าความรักชาติเพื่อสร้างความชอบธรรมในการฆ่า เหตุใดความขัดแย้งจึงต้องยุติด้วยการฆ่า ก่อนที่ทหารสักคนจะลั่นไกปืนปลิดชีวิตใครในครั้งแรก ผมเชื่อว่าเขาคงเกิดความขัดแย้งในใจอย่างรุนแรง เพราะนั่นหมายถึงการฆ่า เขาอาจไม่รู้สึกเพียงคำปลุกระดมให้สังหารศัตรูเท่านั้น แต่ความรู้สึกในฐานะ"เพื่อนมนุษย์"นี้จะคอยแย้งในจิตใจตลอดเวลา นี่เป็นธรรมชาติหนึ่งของมนุษย์ ที่รู้จักเมตตาสงสารต่อกัน



อนึ่ง การฆ่าและทำร้ายร่างกายนั้นถือเป็นคดีอาญา จะมีการยอมความกันไม่ได้



เพราะผมบอกแล้วว่ากฎหมายเป็นหลักจริยธรรมที่อิงประโยชน์นิยม ยึดการตัดสินที่ผลเป็นสำคัญ



แต่ถึงอย่างไรคุณก็สิทธิที่จะไม่เห็นด้วยกับโทษประหารชีวิต มนุษย์ต้องไม่มีความอาฆาตพยาบาท ต้องรู้จักให้อภัยแก่กัน ต้องรู้จักแผ่ความเมตตาไปแม้แต่ศัตรูของตนเอง ต้องรู้จักสำนึกบุญคุณแม้ศัตรูของตนเอง



ท้ายที่สุดก็คือ มนุษย์(ผู้มีใจสูง)ต้องไม่เห็นแก่ตัว








Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-25 , Time : 20:25:05 , From IP : 172.29.2.97

ความคิดเห็นที่ : 31


   ในความเห็นของผมข้อแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับอภิปรัชญาอยู่ที่ "การปฏิบัติ"

จนกว่าคุณ Kant จะช่วยกรุณาชี้แนะจริยธรรมที่นำมาใช้ในทางปฏิบัติตาม scenario ผมเกรงว่าเรากำลังพูดถึงแค่หลักปรัชญาหรือโลกแห่งอุดมคติ ไม่ใช่ Realm of Reality

การฆ่าโจรเพื่อปกป้องชีวิตคนเป็นพันล้านคนเป็น "ความเห็นแก่ตัว?"
การไม่ฆ่าโจรแต่ปล่อยให้โจรฆ่าครอบครัวของเรา ของผู้อื่น ของชีวิตคนพันล้านคน เป็นการ "ไม่เห็นแก่ตัว?"
โลกจะดีขึ้นจริงหรือถ้าเรา "ไม่ฆ่าโจรคนนั้น?"
โลกจะวินาศจริงหรือถ้าเรา "ฆ่าโจรคนนั้น?"
การไม่ฆ่าโจรเพื่อป้องกันตัว แตปล่อยให้โจรฆ่าเรา ข่มขืนลูกเมียแล้วฆ่า เป็นการ "ไม่เห็นแก่ตัว?" จริงหรือ?

ช่วยขยายความ "ความไม่เห็นแก่ตัว" ในscenario ที่ยกมา แล้ว match ให้ด้วยได้ไหนครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-25 , Time : 20:52:22 , From IP : 172.29.3.201

ความคิดเห็นที่ : 32


   ฆ่าเพื่อระงับฆ่า

เราฆ่า bacteria virus parasite ได้ ผิดจริยธรรมหรือไม่ (หวังว่านะครับ)
เราฆ่า helminth, mollusc, reptiles เพื่อปกป้องชีวิตเราได้หรือไม่?
เราฆ่า mammals เพื่อสาเหตุอย่างเดียวกันได้หรือไม่?

ถ้าคำตอบข้างบนไม่เหมือนกัน อะไรเป็นตัวแยก ถ้าเหมือนกัน คำถามก็จะมีต่อเนื่อง

จริยธรรมสัมบูรณ์ตามนิยามของคุณ Kant นั้น simple มาก คือ ไม่มี "ถ้า" (categorical imperative) ผมเข้าใจถูกต้องหรือเปล่าว่าคำตอบของทั้งสามข้างบนควรจะเหมือนกันหมด ถ้าปฏิบัติตามหลักจริยธรรมสัมบูรณ์?

รู้สึกว่าคุณ Kant ไม่ใคร่ชอบตอบคำถามเท่าไหร่เลยนะครับ ไม่ทราบว่ารำคาญหรืออย่างไร? หรือว่าบางคำถามเก่าไป (แต่เผอิญผมจำได้ว่ายังไม่ได้ตอบเท่านั้นเอง)



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-25 , Time : 21:04:59 , From IP : 172.29.3.201

ความคิดเห็นที่ : 33


   


ในกรณีโจร



ในกรณีโจร



ต่อให้โจรจะกดระเบิดจริง คุณก็ไม่มีความชอบธรรมในการที่จะฆ่าโจร เพราะผมบอกแล้วว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัวนั้นเป็นความเห็นแก่ตัว มนุษย์ที่เป็นมนุษย์จะต้องมีความเมตตาแม้ผู้ที่จะมาทำร้ายตน มนุษย์จำนวนพันล้านเขาอาจจะไม่เห็นด้วยก็ได้ หากจะต้องมีการฆ่าใครเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มนุษย์ทุกคนสามารถจะทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้องและไม่เป็นทุกข์จนวินาทีสุดท้ายของชีวิตครับ แม้ว่าจะมีใครมากดระเบิดหรือไม่



ผู้ที่กระทำผิดนั้นไม่ใช่เพราะเขาเลวมาแต่กำเนิดครับ แต่เพราะเขา"ไม่รู้"ว่าสิ่งที่เขากำลังกระทำเป็นสิ่งผิด นี่เป็นเหตุผลที่มนุษย์จะต้องมีความเมตตาแม้ต่อ"คนเลว" โทษประหารชีวิตนั้นจะต้องมีไปเพื่อเหตุใดเล่า หากมนุษย์แต่ละคนต่างละทิ้งความเห็นแก่ตัว



ส่วนกรณีที่ผมจะเป็นผู้มีสวนพิพากษาหรือไม่นั้น เข้าใจว่าคุณคงสับสนในประเด็น เพราะผมยึดถือว่าจริยธรรมตัดสินที่เจตนา ดังนั้นผมอาจมีเจตนาไม่ฆ่าคนพ้นล้าน และในขณะเดียวกันก็ไม่อาจมีเจตนาฆ่าโจรด้วย หากคนพันล้านจะต้องตายจริง เขาจะดูจาก"ผล"เพียงแค่นั้นแล้วมาบอกว่าผมพิพากษา ย่อมไม่สมเหตุสมผล



ส่วนการที่จะเชื่อหรือการที่จะไม่เชื่อนั้นไม่ได้เกี่ยวกับคุณค่าทางจริยธรรม เพราะในการกระทำดีนั้นจะเชื่อหรือการจะไม่เชื่อก็ตามล้วนต้องอยู่ในเจตนาดีทั้งสิ้น คุณจะกระทำสิ่งใดก็ต้องมีเจตนาดีอยู่ก่อนเสมอแล้วตัดสินใจกระทำในสิ่งที่คิดว่าให้ผลดี(ที่ไม่เห็นแก่ตัว)ที่สุดโดยพิจารณาจากข้อมูลประกอบที่มีอยู่ ส่วนผลจะออกมาอย่างไรก็อีกเรื่อง กรณีนี้มีประเด็นเดียวกับตัวอย่างที่ผมให้ไป กรณีที่แพทย์จะเลือกใช้ยา เพราะแพทย์มีสิทธิเพียงจะรู้ข้อมูลส่วนที่บอกว่ายาดีปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียงเท่านั้น ส่วนข้อมูลที่ยืนยันว่ายามีผลเสียในระยะยาวนั้นเพิ่งออกมาสิบปีภายหลัง แล้วคุณจะไปโทษแพทย์ได้อย่างไรก็ในเมื่อกระทำลงไปด้วยความตั้งใจดีที่สุดแล้ว ส่วนผลในภายภาคหน้านั้นแพทย์ไม่มีทางไปรู้และกำหนดได้



เช่นเดียวกับกรณีสมมติที่คนผู้หนึ่งไปเคลื่อนย้ายหินเล็กๆก้อนหนึ่ง แต่การเคลื่อนย้ายดังกล่าวส่งผลต่อเนื่องตามเหตุปัจจัยต่างๆจนทำให้โลกต้องแตกสลายในอีก100,000ปีต่อมา(ผีเสื้อกระพือปีกสั่นสะท้านถึงดวงดาว) แล้วคุณจะไปโทษชายผู้นั้นได้อย่างไร เรื่องนี้แสดงให้เห็นชัดครับว่าคุณค่ามางจริยธรรมนั้นอยู่ที่เจตนาเพียงอย่างเดียว



กฎจริยธรรมสัมบูรณ์นั้นเห็นชัดครับว่าเริ่มที่ตนเอง คือทุกคนมีสิทธิเป็นคนดีโดยสมบูรณ์ไม่ต้องขึ้นกับปัจจัยภายนอกใดๆ พระโมกคัลคานะผู้บรรลุพระนิพพานแล้วยังต้องตายด้วยน้ำมือโจร นี่แสดงให้เห็นว่าการเป็นคนดีนั้นอยู่ที่ตนเองโดยสัมบูรณ์ไม่ขึ้นกับปัจจัยภายนอก พระพุทธเจ้าก็ทรงทำได้แต่เพียงพูดจาโน้มน้าวเท่านั้นเมื่อความเกิดสงครามล้างแค้นศากยะวงศ์ จนสงครามต้องเกิดขึ้นจริงๆก็ตาม



Goog willในกรณีโจรนั้น กล่าวได้ว่าเราต้องมีเจตนาดีต่อทั้งคนพันล้านและต่อทั้งโจร เราจะเจตนาดีต่อคนพันล้านแต่เจตนาร้ายต่อโจรไม่ได้ เพราะผมได้บอกเหตุผลไปแล้ว ดังนั้นFree willจึงต้องเลือกการกระทำที่ดีต่อทั้งคนพันล้านและต่อทั้งโจร



ในเรื่องทหารนั้นผมได้พูดไปแล้วว่าสงครามเป็นความเห็นแก่ตัว



ในเรื่องครอบครัวนั้น เซนต์ปอลกล่าวว่าการแต่งงานจะกระทำเมื่อทนต่อกามารมณ์ไม่ได้นั่นเอง และมนุษย์ก็ไม่จำเป็นจะต้องแต่งงานเพราะมนุษย์ไม่ควรยินดีต่อกามารมณ์



การรักตัวกู ของกูนั้นเป็นความเห็นแก่ตัว การป้องกันตัวจะกระทำลงไปได้เพื่อความถูกต้อง(ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่เห็แก่ตัว) และการป้องกันตัวนั้นจะต้องไม่มีเจตนามุ่งร้ายและกำหนดโทษใครแม้แต่กับศัตรู



ในเรื่องสุนทรียศาสตร์ผมไม่ขอออกความเห็น เพราะไม่มีความรู้เพียงพอ



ในเรื่องการปฏิบัตินั้น จริยธรรมสัมบูรณ์ไม่ขัดแย้งอันใดต่อการปฏิบัติ เพราะจริยธรรมสัมบูรณ์ยึดถือเจตนาของผู้กระทำ ไม่ได้มุ่งครอบงำใคร มนุษย์ทุกคนสามารถทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ว่าใครจะมาทำร้ายหรือไม่ เพราะจริยธรรมสัมบูรณ์มีรากฐานอยู่ที่ความไม่เห็นแก่ตัว ศาสนานั้นถือเป็นสัมบูรณ์นิยมทางจริยธรรมนั่นเอง



การมีเจตนาฆ่าใครก็ถือเป็นความเห็นแก่ตัวทั้งสิ้น เหตุใดการขัดแย้งจึงต้องยุติด้วยการฆ่าเท่านั้นหากไม่ใช่เพราะความเห็นแก่ตัว



การจะฆ่าใครหรือไม่ฆ่าใครนั้นไม่ทำให้โลกดีขึ้น เพราะหากฆ่ากันแล้วคนยังเห็นแก่ตัวอยู่จะว่าโลกดีขึ้นได้อย่างไร และหากไม่ฆ่าแล้วคนยังเห็นแก่ตัวอยู่ก็ไม่อาจบอกว่าโลกดีขึ้นได้



โลกจะดีเพียงใดอยู่ที่ปัจเจกชนต้องรักษาจริยธรรมของตนเองครับ จริยธรรมนั้นต้องเริ่มต้นที่ตนเองก่อนจะไปตัดสินผู้อื่น จงรู้จักตนเองครับ



พระโมกคัลลานะผู้ไม่เห็นแก่ตัว เป็นตัวอย่างของการยอมให้โจรฆ่า



ความไม่เห็นแก่ตัวนั้นเป็นเป้าหมายของชีวิต



 


 







Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-25 , Time : 22:06:32 , From IP : 172.29.2.97

ความคิดเห็นที่ : 34


   With all due respect ผมเกรง่วามี assumption จำนวนมากในการใช้เหตุผล และค่อนข้างจะด่วนสรุปในหลายประเด็น

ต่อให้โจรจะกดระเบิดจริง คุณก็ไม่มีความชอบธรรมในการที่จะฆ่าโจร เพราะผมบอกแล้วว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัวนั้นเป็นความเห็นแก่ตัว มนุษย์ที่เป็นมนุษย์จะต้องมีความเมตตาแม้ผู้ที่จะมาทำร้ายตน มนุษย์จำนวนพันล้านเขาอาจจะไม่เห็นด้วยก็ได้ หากจะต้องมีการฆ่าใครเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มนุษย์ทุกคนสามารถจะทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้องและไม่เป็นทุกข์จนวินาทีสุดท้ายของชีวิตครับ แม้ว่าจะมีใครมากดระเบิดหรือไม่

ผมไม่ได้พูดว่าการฆ่าโจรเป็นการ "ชอบธรรม" นะครับ ประเด็นนี้เป็นเรื่องของ "ความไม่ชอบธรรมที่ต่างระดับ" โดยที่เราเป็นคน "ควบคุมได้" ของระดับที่จะเกิดขึ้น ฆ่าโจรในที่เป็นการเห็นแก่ตัวได้อย่างไรในเมื่อเป็นการ "ช่วย" คนอื่นอีกพันล้านคน ผมรู้สึกว่า "เห็นแก่ตน" ในที่นี้น่าจะหมายถึงคนกระทำไม่ใช่บุคคลที่สองและที่สาม มิฉะนั้นแล้วถ้าการ "ทำเพื่อผู้อื่น" เป็นการ "เห็นแก่ตน" เหตุผลนี้ค่อนข้าง absurd มากทีเดียว

คุณ Kant ได้ make an assumption ว่าในคนพันล้านคนนั้น "อาจจะ" ไม่เห็นด้วยว่าฆ่าโจรเพื่อช่วยชีวิตนั้นเป็นเรื่องดี How can we know? คุณ Kant เองใช้คำว่า "อาจ" ถ้าเช่นนั้นก็ไม่แน่ใช่ไหมครับ ถ้าไม่แน่จะนำมาใช้เป็นเหตุผลได้หรือฦ ทีนี้ "ด้วยเหตุผลทั่วไป" คุณ Kant พอจะอนุมานได้หรือไม่ว่า "คนส่วนใหญ่" ในพันล้านคนนั้น ยินดีถูฆ่าโดยโจรหรือไม่อย่างไรด้วยความรู้และสติปัญญาที่เรามีอยู่? คุณ Kant พอจะสรุปได้หรือไม่ว่าคนส่วนใหญ่ยินยอมให้ลูกเมียตนเองตายเพราะแรงระเบิด ถกเผาทั้งเป็น พิการตลอดชีวิต เพื่อรักษาชีวิตของโจรหนึ่งคน ถ้าคุณ Kant สรุปเช่นนั้น ผมอยากจะทราบว่ามีพื้นฐานข้อมูลจากที่ใด หรือ logical แบบไหน คุณ Kant ได้สรุปแทนคนพันล้านคนว่าเขาน่าจะทำหน้าที่สมบูรณ์แล้วในชีวิตนี้พร้อมที่จะตาย พร้อมที่จะพิการ พร้อมที่จะขาขาด แขนขาด ตาบอด เสียสติ ครอบครัวแตกแยก มากกว่าการที่จะให้โจรคนนั้นถูกยับยั้ง ทุกคนพร้อมที่จะยอมรับว่าลูกที่พึ่งเกิดมา ลูกที่อายุหนึ่งขวบ สองขวบ สามขวบ สมควรตายหรือพิการไปตลอดชีวิตอย่างยิ่งเพื่อรักษาชีวิตโจรคนนี้ไว้ เพราะเหตุใด?

ผมไม่ได้บอกว่า "การฆ่าโจร" นั้นเป็นเรื่องถูกต้องตามคุณธรรม แต่ผมเชื่อว่าบางครั้งเราต้องตัดสินใจระหว่าง "เลวที่สุด เลวกว่า เลวน้อย" ไม่มีถูกเลยก็มี แต LOGICAL ของคุณ Kant ที่สามารถมองเห็นทุกข์ที่สุดของการถูกไฟคลอกทั้งเป็นของคนพันล้าน มากกว่าที่จะ" เลือก" อีกประการหนึ่ง ผมไม่เห็นด้วย เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องอย่างที่คุณ Kant เปรียบเทียบกับการที่แพทย์ไม่ทราบผลระยะยาวของยา เพราะ scenario นั้นกำหนดไว้ชัดเจนว่าคุณ Kant ทราบ Consequences ของการฆ่าและไม่ฆ่าโจรเป็นอย่างดี ไม่สามารถจะปฏิเสธได้ว่าคนพันล้านจะตายหรือไม่ตาย แต่ที่สุดก็เลือกว่าคนพันล้านสมควรตายบ้าง ทรมาบ้าง พิการบ้างมากกว่า




Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-25 , Time : 22:33:33 , From IP : 172.29.3.203

ความคิดเห็นที่ : 35


   ผู้ที่กระทำผิดนั้นไม่ใช่เพราะเขาเลวมาแต่กำเนิดครับ แต่เพราะเขา"ไม่รู้"ว่าสิ่งที่เขากำลังกระทำเป็นสิ่งผิด

ผมเห็นด้วยว่าคนไม่ได้เลวมาแต่กำเนิด แต่ผมไม่เห็นด้วยว่าคนกระทำผิดเพราะเขา "ไม่รู้" เสมอไป แต่เป็นเพราะ Ignorance

ทำไมแพทย์หลายท่านสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ? ทำไมบัณฑิตหลายท่านไม่ปฏิบัติตามกฏจราจร? ทำไมนักการเมืองที่มีการศึกษาสูงๆยังคงคอร์รับชั่น?
ผมไม่เชื่อแม้แต่ One second ว่าเขาเหล่านี้ไม่รู้ว่าตนเองกำลังทำผิด แต่เป็น Ignorance การไม่ care ไม่มี compassion ทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น

กฎจริยธรรมสัมบูรณ์นั้นเห็นชัดครับว่าเริ่มที่ตนเอง คือทุกคนมีสิทธิเป็นคนดีโดยสมบูรณ์ไม่ต้องขึ้นกับปัจจัยภายนอกใดๆ พระโมกคัลคานะผู้บรรลุพระนิพพานแล้วยังต้องตายด้วยน้ำมือโจร นี่แสดงให้เห็นว่าการเป็นคนดีนั้นอยู่ที่ตนเองโดยสัมบูรณ์ไม่ขึ้นกับปัจจัยภายนอก
ประโยคข้างบนนี้ไม่เป็นไปตามตรรกวิทยาครับ ๑) ที่ว่า "เห็นชัด" นั้น ค่อนข้างจะ obvious ในการอภิปรายนี้คือทั้งสองฝ่าย "ไม่ได้เห็นด้วย" เพราะฉะนั้นการใช้ "เห็นชัดว่า" ไม่เป็น logic ที่จะอภิปราย ๒) การที่พระโมคคัลลานะตายอย่างไร ไม่มีผลทางตรรกวิทยาต่อประโยคที่ว่า "การเป็นคนดีนั้นอยู่ที่ตนเองดยไม่ขึ้นกับปัจจัยภายนอก" แต่อย่างใด ถึงแม้ว่าทั้งสองประโยคจะเป็นจริง แต่มันไม่ได้เป็นเหตุเป้นผลต่อกันครับ

Goog willในกรณีโจรนั้น กล่าวได้ว่าเราต้องมีเจตนาดีต่อทั้งคนพันล้านและต่อทั้งโจร เราจะเจตนาดีต่อคนพันล้านแต่เจตนาร้ายต่อโจรไม่ได้ เพราะผมได้บอกเหตุผลไปแล้ว ดังนั้นFree willจึงต้องเลือกการกระทำที่ดีต่อทั้งคนพันล้านและต่อทั้งโจร
ประเด็นนี้น่าสนใจมาก ช่วยขยายความได้ไหมครับว่าการที่คุณ Kant ปล่อยให้โจรฆ่า maime ทรมาน พิการคนพันล้านคนและปล่อยให้โจรรอดไปคนเดียวนั้นเป็น Good Will ที่เป็นผลดีต่อทั้งสองฝ่ายอย่างไร?

ในเรื่องครอบครัวนั้น เซนต์ปอลกล่าวว่าการแต่งงานจะกระทำเมื่อทนต่อกามารมณ์ไม่ได้นั่นเอง และมนุษย์ก็ไม่จำเป็นจะต้องแต่งงานเพราะมนุษย์ไม่ควรยินดีต่อกามารมณ์
เซนต์ปอลเป็น universal law ที่ยอมรับกันทั่วไปหรือไม่? การแต่งงานจะกระทำเมื่อทนต่อกามารมณไม่ได้จริงหรือ? ผมว่าถ้าดซนต์ปอลพูดเช่นนั้นแกคงไม่ได้นึกหรอกนะครับว่า sexual relationship นั้นคนไม่จำเป็นต้องแต่งงานกัน แต่การแต่งงานกันนั้น matrimony เป็นการที่สองชีวิตเห็นว่าเขารักชอบพอที่จะอยู่ด้วยกันไปตลอดชีวิต แต่งเพื่อ sex นั้นหมดยุคหมดสมัยไปนานแล้ว (และผมสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่ายุคใดๆก็ตามคิดว่าพิธีแต่งงานมีความหมายแค่คคนสองคนอยากจะมี sex แค่นั้นล่ะหรือ?) ประโยคสรุปที่ว่า มนุษย์ก็ไม่จำเป็นจะต้องแต่งงานเพราะมนุษย์ไม่ควรยินดีต่อกามารมณ์ ยิ่งแปลกประหลาด มีคนแก่หลายๆคนที่เลิกสนใจเรื่อง sex แต่เห้น "ความศักดิ์สิทธ์" ของการแต่งงาน แล้วแต่งงานกันเมื่ออายุ 70-80 ก็มีมากมายหลายคู่ และเป็นที่สรรเสริญ (แกมอิจฉา) ต่อผู้ที่ไม่เข้าใจความหมายของ relationship อย่างพวกแก

ความยินดีเมื่อมีกามารมณ์นั้นเป็น instinct ของสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งมนุษย์ด้วย ที่เรานั่งกันอยู่ทุกวันนี้หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าเราถือกำเนิดมาจากครรภ์ของบุพการีที่รักใคร่ปรองดองและอุตส่าห์เลี้ยงดูเรามาจนทุกวันนี้ It is unthinkable สำหรับตัวผมเองที่ใครก็ตาม หรือศาสนาใดก็ตามประณามการแต่งงาน การมีครอบครัว ตรงกันข้ามทุกๆศาสนา ทุกๆ community และอาจจะทุกๆปรัชญาสอนให้เรากตัญญูต่อบิดามารดา ให้เรามีหน้าที่บอรมเลี้ยงดูบุตรเป็นอย่างดี ให้เรามีหน้าที่สอนสั่งเป็นครูคนแรกของลูก (ซึ่งนั่นก็คือเราต้องมีลูกก่อนนะครับ) ประเด็นนี้ที่ผมค่อนข้างไม่เห็นด้วยว่าเป็นหลักจริยธรรมที่ workable และสงสัยอย่างยิ่งว่า Immanuel Kant นั้น against สถาบันครอบครัวอันเป็น fundamental ของสังคมทุกวันนี้อย่างที่คุณ Kant ว่ามาหรือไม่? คุณ Kant คิดว่าในโลกอุดมคติที่ถูกต้องตามจรยธรรมนั้น จะไม่มีการแต่งงาน ไม่มีเพศสัมพันธุ์กันใช่ไหมครับ? และการที่พ่อแม่ทุกคู่มีกิจกรรมเพศสัมพันธุ์กันอยู่ทุกวันนี้นั้นเป็นการกระทำที่เลวทรามไม่ต่างจากสัตว์เดียรัจฉานหากเขาทำกันโดยไม่ละอาย แม้ว่าเขาจะอยู่กันตามลำพังก็ตาม (ผมใช้ term ที่เราเคยใช้กันมาแล้ว)




Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-25 , Time : 23:01:08 , From IP : 172.29.3.203

ความคิดเห็นที่ : 36


   การรักตัวกู ของกูนั้นเป็นความเห็นแก่ตัว การป้องกันตัวจะกระทำลงไปได้เพื่อความถูกต้อง(ช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่เห็แก่ตัว) และการป้องกันตัวนั้นจะต้องไม่มีเจตนามุ่งร้ายและกำหนดโทษใครแม้แต่กับศัตรู


ผมมีความรู้สึกว่าตรงนี้คุณ Kant เขียนๆไปรู้สึกจะขัดแย้งกันในตัวเองนะครับ ตกลงการป้องกัน "ผู้อื่น" (ในที่นี้คือคนพันล้านคน) ไม่เป็นการเห็นแก่ตัวแล้วใช่ไหมครับ ทีนี้ scenario กำหนดไว้ชัดเจนว่า "ถ้าไม่ทำร้ายโจร โจรฆ่าคนพันล้าน" ฉะนั้นทางออกที่คุณ Kant ต้องการคือ ช่วยคนพันล้านโดยไม่ทำร้ายโจรนั้นเป็นไปไม่ได้ซะแล้ว คุณ Kant จะทำอย่างไร? (จริงๆคำถามนี่ไม่เคยเปลี่ยนเลย และคุณ Kant ก็ ยังไม่เคยเฉลย ด้วยว่าคุณ Kant จะฃ่วยคนพันล้านคนโดยไม่ทำร้ายโจร แต่คุณ Kant เลือกปล่อยให้โจรฆ่าคนพันล้านคนแทน)

การมีเจตนาฆ่าใครก็ถือเป็นความเห็นแก่ตัวทั้งสิ้น เหตุใดการขัดแย้งจึงต้องยุติด้วยการฆ่าเท่านั้นหากไม่ใช่เพราะความเห็นแก่ตัว
เกิดขึ้นตลอดเวลาครับ เราฆ่า bacteria virus ทุกวี่ทุกวัน ฆ่าเพื่อระงับฆ่า ถ้ามีหมูป่าวิ่งเข้า charge คุณ Kant นายพรานก็คงจะยิงหมูป่า ถ้าคุณ Kant ทำท่าจะวิ่งไม่ทันแน่ๆ ถ้ามีช้างตกมันวิ่งมาที่ลูกอายุสามเดือนของกระผมในตะกร้า ผมก็คงจะเลืแอกฆ่าช้างอย่างแน่นอน เราไม่จำเป็นต้องฆ่าเพื่อตนเองหรอกครับ เราฆ่าเพื่อคนอื่นก็ได้ เพื่อช่วยคนอื่นก็ได้ ทหารตำรวจที่เขาเสี่ยงชีวิตป้องกับบ้านคุณ Kant ก็เพราะ concept เดียวกันนี้ ถ้าเกิดกรณีที่ว่าแล้วทหารตำรวจถูกโจรฆ่าตายไปบ้างคุณ Kant จะออกไปตำหนิติเตียนทหารตำรวจเหล่านั้นว่าเขาเห็นแก่ตัวและผิดจริยธรรมไหมครับ ถ้าเขาต้องฆ่าโจรไปบ้าง?

"เพราะเหตุใดการขัดแย้งจึงต้องยุติด้วยการฆ่าเท่านั้น" ต้องตัดคำว่า "เท่านั้น" ทิ้ง เพราะไม่ใช่ "ทุกสถานการณ์" แต่บางครั้งมัน "ไม่มีทางเลือกที่ดี" มีแต่ "เลว เลวกว่า และเลวที่สุด" ย้อนกลับไปที่ scenario ระหว่างคนพันล้านคนตาย กับ โจรหนึ่งคนตาย สถานการณ์ไหนเลวกว่ากัน คุณ Kant พอจะบอกได้ไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-25 , Time : 23:24:01 , From IP : 172.29.3.203

ความคิดเห็นที่ : 37


   คุณ Kant เคยบอกมาครั้งหนึ่งแล้วเรื่องสุนทรียศาสตร์ ที่ถามอีกเป็นเพียงผมขอ "ความเห็น" เท่านั้นเองโดยใช้หลักการของ Immanuel Kant เพราะไหนๆคุณ Kant เคยให้ความเห็นว่าศิลปินภาพนู้ดนั้นจิตใจไม่สมประกอบเพราะบังอาจมองเห็นความสุนทรีย์ของร่างกายมนุษย์ ผมก็เลยคิดว่าถ้าเชิญคุณ Kant ให้ความเห็นสำหรับศิลปินกลุ่มอื่นเช่น จิตรกร นักดนตรี นักแต่งหนังสือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ประพันธ์เพลงเกี่ยวกับความรักระหว่างชายหญิง ความรักชาติ หรือพวกที่เล่นดนตรีเพราะชอบ (เห็นแก่ตัวรึเปล่าพวกนี้?) ว่าในหลักการจริยธรรมสัมบูรณ์ คุณ Kant จะวิเคราะห็ว่าศิลปินเหล่านี้นั้น เห็นแก่ตัวหรือไม่ ผิดจริยธรรมสัมบูรณ์หรือไม่ อย่างไร และเพราะเหตุใด

ขอบพระคุณครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-26 , Time : 00:10:58 , From IP : 172.29.3.203

ความคิดเห็นที่ : 38


   2. ระดับคำสั่งแบบเด็ดขาด (categorical imperative) คำว่า "ควรทำ" ในระดับนี้เป็นเหตุผล ซึ่งจะไม่มีคำว่า "ถ้า" ก็เท่ากับไม่ได้เป็นลักษณะแบบเงื่อนไข "ควรทำ" ในลักษณะนี้ ค้านท์เสนอว่า เราจะเห็นได้ชัดว่า เป็นจริงในตัวเอง (self - evident truth) และไม่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม เช่นเดียวกับความชัดเจนของข้อความ 2+2 = 4 หรือ "A และ - A จะจริงพร้อมกันไม่ได้" เช่น ในห้องนี้มีคนและไม่มีคนในขณะเดียวกันไม่ได้

ผมสงสัยว่า IS THERE SUCH A THING AS Self-evidence Truth"

2+2 = 4 จริงต่อเมื่อเป็นตัวเลข น้ำสองหยดบวกน้ำสองหยดเป็นหนึ่งหยด ปรอทสองหยดบวกปรอทสองหยดเป็นหนึ่งหยด นิ้วลูกสาวผมสองนิ้วไม่เท่ากับนิ้วผมสองนิ้ว ตัวหนังสือเลขสองตัวนี้กับตัวนู้ก็ไม่มีทางเหมือนกัน เพราะอณูและอิเลกตรอนที่วิ่งประกอบเป็นตัวเลขสองนั้นไม่เหมือนกัน

A = -A ได้แน่นอนครับถ้า A = 0

ในห้องนี้มีคน และไม่มีคน ขึ้นอยู่กับนิยามของคน และ ห้อง ถ้า "คน" ต้องเป็นคนที่มีจริยธรรมมิฉะนั้นจะถูกเรียกเป็นแค่สัตว์เดียรัจฉานในร่างคน (ถ้าใน frame reference ของคุณ Kant เช่น พวกที่ยัง enjoy sex life) ห้องนั้นก็สามารถ "มีคน" สำหรับผม แต่"ไม่มีคน" สำหรับคุณ Kant ห้องมีคนสำหรับพวกเรา แต่ไม่มีคนสำหรับมดตัวหนึ่งในห้องนั้น เพราะมันไม่ได้คิดว่าเราเป็นคน แต่คิดว่าเป็นอะไรก้ไม่รู้

ดังนั้นถ้าตัด "ถ้า" หรือ "condition" ออก it is most unlikely ที่จะมี self-evidence truth

ตามนิยามของ "สัมบูรณ์" สิ่งเหล่านี้ต้องเป็นจริงๆทุกๆ reference เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้ "ไม่สัมบูรณ์" เพราะเหตุนี้





Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-26 , Time : 00:29:41 , From IP : 172.29.3.203

ความคิดเห็นที่ : 39


   ผมเห็นด้วยกับคุณฟินิกซ์มากๆครับ

ผมขอยกประโยคนี้ครับ

ในห้องนี้มีคนและไม่มีคนในขณะเดียวกันไม่ได้

ผมอาจจะพูดประโยคข้างบนไม่ได้ครับ

แต่ผมอาจจะพูดว่า

ในห้องนี้อาจจะมีคนและอาจจะไม่มีคนก็ได้ครับ


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2003-05-26 , Time : 14:51:01 , From IP : 172.29.2.147

ความคิดเห็นที่ : 40


   คุณ Kant ไปไหนแล้วล่ะครับ อยากทราบความคิดเห็นของคุณต่อน่ะครับ เพราะคุณยังตอบไม่กระจ่างเลย รอมาหลายวัน หรือคุณรู้สึกระอากับความคิดที่ไม่ได้เรื่องได้ราวในบอร์ดนี้ หรือ ไม่สามารถตอบคำถามได้อีกแล้ว ปรัชญาเรื่อง Absolute moral ของคุณไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้แล้วเหรอครับ

ขอออกตัวก่อนว่าไม่ได้รู้สึกสะใจ หรือรู้สึกดูถูก แต่เพราะบางอย่าง บางประเด็นความคิดของคุณก็มีประโยชน์และช่วยยกระดับความคิดของผมได้มากทีเดียว นอกจากนี้ยังรู้สึกชื่นชมกับความพยายามในการอ่าน และศึกษาหาความรู้ จึงอยากให้คุณกลับมาตอบอีกน่ะครับ


Posted by : คนที่ติดตาม , Date : 2003-05-29 , Time : 23:22:53 , From IP : 172.29.2.83

ความคิดเห็นที่ : 41


   

Posted by : dddd , Date : 2003-06-01 , Time : 22:18:22 , From IP : 172.29.3.118

ความคิดเห็นที่ : 42


   กระทู้นี้เขียน เมื่อปี 2003

ตอนนี้ปี2006

ผ่านมา 3 ปีแล้ว ... แต่ผมก็จะแสดงตห.อยู่ดี*-*


เรื่องราว ที่คุณหมอ ปีหนึ่ง นำมาบอกเล่า.. ดีมากๆ
ได้เห็นชีวิตของ แพทย์ และเด็กน้อย ที่เจอโลกที่ไม่เป็นอย่างที่เคยคิด
ขอบคุณครับ

...แล้วไปๆมา กลายเป็นมาถกเรื่องจริยธรรม+เรื่องไรอีกเยอะเลย


ขอตอบคุณฟินิกซ์นะครับว่า


เด็กคนนึง สงสัย มองไปข้างนอก แล้วก็ถามๆๆๆ จะเอาคำตอบ โดยคิดว่า สิ่งข้างนอกไม่ตรงกับสิ่งในใจเรา

ของจริงมีให้ศึกษาครับ



++++พุทธศาสนาของแท้ยังอยู่ สัจธรรมของแท้ยังอยู่++++





ควรน้อมเข้ามาศึกษาครับ

ถ้าเพียงแค่ อยากโต้วาทะ กับสิ่งที่ไม่ถูกใจ ก็ไม่ต้องสนใจหรอก

แต่ถ้าต้องการรู้คำตอบต่อคำถามทั้งหมดจริงๆ


มีคำตอบรออยู่แล้วครับ


Posted by : dkiNf , Date : 2006-08-20 , Time : 20:56:25 , From IP : 202.28.9.82

ความคิดเห็นที่ : 43


   ผมเชื่อว่ากลไกในการศึกษาศาสนาพุทธนั้น หนึ่งในนั้นรวมถึงการแลกเปลี่ยนปุจฉา วิสัชนา อยู่ด้วย ทั้งในของธิเบต หรือแม้ประทั่งมหายาน ตอนผมบวช (ในนิกายหินยาน) พระอุปัชฌาช์ผมก็ยังไช้กระทู้ธรรมต่างๆเป็นการสอน เป็นการเรียนรู้ ตอนนี้ผมเลยไม่แน่ใจในข้อสรุปว่าเท่าที่ผ่านมานั้นไม่ได้เห็นเป็นการศึกษาหรอกหรือ?

ไม่ทราบว่าเชื่อหรือไม่นะครับ แต่ในทางปฏิบัตินั้น ผมเห็นว่าสิ่งที่ผมทำ และบุคลากรใน รพ.ทำ นั้น เป็น "ของจริง" ที่น่าศึกษา ไม่ว่าจะในมุม medical sciences หรือว่า ปรัชญา ศาสนา "สมมติ" หรือ scenario นั้น ไม่มากก็น้อยมีกลิ่นอายของประสบการณ์เก่า ประสบการณ์จริงทั้งสิ้น

การศึกษาแลกเปลี่ยนนั้นเป็นการมีสังฆกรรมกันระหว่าง "กัลยาณมิตร" สำหรับเวทีนักศึกษาแพทย์ แพทย์ พยาบาล แล้ว จะอยู่ในรูป MM Conference หรือ กระทู้กระดานข่าว เราก็น่าจะทำได้ (และพึงกระทำ) ให้บ่อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ การแลกเปลี่ยนนั้นจะเรียกว่าเป็นการ "โต้วาทะ" ก็ต่อเมื่อมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้คิดไตร่ตรองว่า content ความหมายที่กำลังพูดกันนั้นมีมิติความหมายว่าอย่างไร ก็ต่อเมื่อคิดว่าคุณค่าของผู้พูดผูกพันกับความเห็น (ซึ่งผมได้กล่าวมาโดยตลอดว่าถ้าจะอภิปรายเรื่องคุณธรรม ต้องว่ากันเรื่องของที่วางอยู่บนโต๊ะ อย่าว่าเรื่องของที่สวมอยู่บนหัว)

และแล้วคามจริงก็อาจจะเกิดขึ้นได้ ตื่นขึ้นได้ พุทธะได้



Posted by : Phoenix , Date : 2006-08-20 , Time : 21:36:14 , From IP : 58.147.24.120

ความคิดเห็นที่ : 44


   เอ่อ คุณคานมาตอบด้วย นึกว่าจะไม่มีคนมาอ่านแล้วนะเนี่ย

ที่พูดมาข้างบน ผม อ่านแล้ว งง ไม่ค่อยเข้าใจซะ80 90เปอร์เซ็นต์ ครับ

สงสัยภูมิความรู้ยังไม่ถึงไม่รู้ว่าพูดเรื่องอะไร

--เรื่องคน1000ล้านตาย กับ โจร1 คน ตาย นี่น่าคิดมากครับ
คงคล้ายๆกับว่าต้องเลือก 1.คนดีตาย2คน 2.คนเลวตาย1คน

ไว้ยังไง จะมาโพส คห.ผมเรื่องนี้อีกทีละกันครับ*-*


Posted by : dkiNf , Date : 2006-08-23 , Time : 19:30:41 , From IP : 202.28.9.80

ความคิดเห็นที่ : 45


   มัวแต่ถกปรัชญากัน แต่ไม่มีใครลงมือปฏิบัติจริงจัง ความรู้ก็คงเป็นได้แค่ป้ายวิญญาณหน้าหลุมฝังศพเท่านั้นแหละครับ ขออภัยถ้าล่วงเกิน

Posted by : นามไม่ธรรม , Date : 2006-09-07 , Time : 17:44:57 , From IP : 203-150-134-150.inte

ความคิดเห็นที่ : 46


   หมอ อภิเชษฐ นาคเลขา หรือหมอเมืองพร้าว ในกะทู้แรก เขียนเรื่องนี้น่าจะเกือบ 30 ปีแล้ว
เหตุการณ์ยังมีอยู่อีกหรือ


Posted by : หม อแก่ , Date : 2006-09-10 , Time : 19:58:50 , From IP : public01.gprs.ais.co

ความคิดเห็นที่ : 47


   ลูกๆและครอบครัวคุณหมอ ไม่ทราบจะติดต่อเพื่อแจ้งข่าวให้เพื่อนๆรุ่นเดียวกับคุณหมอหรือคนรู้จักคุณหมออย่างไรดี

จึงขอรบกวนประกาศอีกทางในกระทู้นะคะ

นพ.อภิเชษฏ์ นาคเลขา หรือหมอเมืองพร้าว
ถึงแก่กรรมเช้าวันอาทิตย์ที่26 พย.2549 ด้วยโรงมะเร็งหลอดอาหารส่วนต้น อายุ 57ปี

สวดพระอภิธรรมตั้งแต่คืนวันที่26 พย.ถึง29พย.
กำหนดฌาปนกิจวันพฤหัสบดีที่ 30 พย.
วัดยาง ศาลาสุขสวัสดิ์

สอบถามรายละเอียดงานเพิ่มได้ที่ 01-269-2975


Posted by : ลูกๆและครอบครัว , E-mail : (kandychula@yahoo.com) ,
Date : 2006-11-27 , Time : 06:53:43 , From IP : ppp-124.120.146.185.


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.045 seconds. <<<<<