ความคิดเห็นทั้งหมด : 0

ทันตะ มหิดลรับตรง 2549


   คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่บน ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ จัดการเรียนการสอน สาขาทันตแพทยศาสตร์ โดยให้การศึกษาและฝึกอบรมซึ่งประกอบด้วยความก้าวหน้าและแนวคิดสมัยใหม่ในการดูแลรักษาทันตสุขภาพ ซึ่งหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาศึกษาในหลักสูตร 6 ปี นอกจากนี้ยังจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และหลักสูตรการฝึกอบรมทันตแพทย์ประจำบ้าน/เฉพาะทาง นอกจากนี้คณะยังเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยทันตแพทย์ ประกาศนียบัตรช่างทันตกรรม และหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีทันตกรรม (ต่อเนื่อง 2 ปี) ด้วย นอกจากให้การศึกษาเพื่อผลิตทันตบุคลากรทุกระดับแล้ว คณะทันตแพทยศาสตร์ยังให้การสนับสนุนและส่งเสริมการทำวิจัย โดยโครงการวิจัยของคณะ ครอบคลุมการวิจัยพื้นฐาน การวิจัยประยุกต์ และการวิจัยเพื่อการพัฒนาอีกด้วย
หลักสูตรที่เปิดรับนักศึกษาในการคัดเลือกระบบรับตรง ปีการศึกษา 2549 มี 1 หลักสูตร ได้แก่
หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
1. ประเภทและจำนวนรับนักศึกษา
รับนักศึกษาในระบบรับตรงของมหาวิทยาลัยมหิดล ดังนี้
1.1 โควตาทั่วไป 47 คน
1.2 โควตาวิทยาเขต/พื้นที่
(1) 4 จังหวัดภาคตะวันตก 1 คน
(2) จังหวัดนครสวรรค์ 1 คน
(3) จังหวัดอำนาจเจริญ 1 คน
(4) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม 1 คน
(5) จังหวัดอื่น ๆ นอกเหนือจาก กทม นนทบุรี 30 คน
ปทุมธานี สมุทรปราการ
หมายเหตุ นอกจากการรับตรงดังกล่าวข้างต้น คณะฯ ยังรับนักศึกษาตามระบบ/โครงการอื่น ๆ ดังนี้
 โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น 2 คน (สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองกิจการนักศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล โดยตรง)
 โครงการของกระทรวงมหาดไทย รับนักศึกษาที่นับถือศาสนาอิสลามจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2 คน (สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่)
 ระบบการสอบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สอบผ่านระบบแอดมิดชัน)
จำนวน 28 คน

2. คุณสมบัติทั่วไป
2.1 เป็นผู้ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
2.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรอื่น ที่กระทรวง
ศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมี
คุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอกโรงเรียน
สายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
2.3 เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อ
การศึกษา
2.4 เป็นผู้ที่มีผู้รับรองว่าจะอุดหนุนค่าบำรุง และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาได้
2.5 เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อยและรับรองต่อมหาวิทยาลัยได้ว่า จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
เต็มความสามารถ และจะปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่แล้ว หรือที่
จะมีต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
2.6 เป็นผู้ที่ไม่ถูกให้ออกจากสถาบันอุดมศึกษาใดๆ มาแล้ว เพราะความประพฤติไม่เหมาะสม
หรือกระทำความผิดต่างๆ ที่ไม่ใช่ทางด้านวิชาการ
2.7 ต้องไม่เป็นผู้ที่กำลังศึกษาเกินกว่าชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ร่วมในการคัดเลือกนี้ เว้นแต่จะได้ลาออกจากสถาบัน
อุดมศึกษานั้นเสียก่อน
2.8 ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
2.9 ผู้ที่มีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ จะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
2.10 จะต้องไม่เป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามระบบโควตาหรือโครงการที่เรียกชื่อ
เป็นอย่างอื่นของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ทำการคัดเลือก เว้นแต่จะได้สละสิทธิ์ที่
ได้รับการคัดเลือกดังกล่าวเสียก่อน
2.11 จะต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกลงโทษเนื่องจากการกระทำผิด หรือร่วมกระทำทุจริตในการสอบ
วัดความรู้เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

3. คุณสมบัติทางการศึกษา
3.1 โควตาทั่วไป
 เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือ เป็นผู้ที่กำลังศึกษาและกำลังรอผลการสอบหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรอื่น ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า
 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า 3.00
3.2 โควตาวิทยาเขต/พื้นที่
 เป็นผู้ที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่านั้น
 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า 3.00

4. คุณสมบัติเฉพาะ
4.1 ต้องมีคุณสมบัติที่จะเข้ารับราชการได้ หลังจากจบการศึกษาแล้ว
4.2 ก่อนเข้าศึกษาต้องสามารถทำสัญญาผูกพันฝ่ายเดียว หรือสัญญาปลายเปิด ตามมติ
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 คือ เป็นสัญญาที่กำหนดหน้าที่ของผู้รับทุนที่
จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาการจัดสรรฯ โดยต้องทำงานเมื่อสำเร็จ
การศึกษาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีติดต่อกัน ตามระเบียบและเงื่อนไขของรัฐบาลกับ
มหาวิทยาลัย แต่ไม่ผูกพันให้ส่วนราชการต้องบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการ
หรือพนักงานในหน่วยงานของรัฐ
4.3 ผู้ผ่านการสอบข้อเขียนจะต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์ และจะต้องมีสุขภาพสมบูรณ์ และ
ปราศจากโรค อาการของโรคหรือความพิการที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบ
วิชาชีพทันตกรรม ดังนี้

 มีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการปฏิบัติงาน
 มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง ได้แก่ โรคจิต (psychosis) โรคประสาทรุนแรง (severe neurosis) หรือโรคบุคลิกภาพแปรปรวน โดยเฉพาะ antisocial personality หรือ borderline personality รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพทันตกรรม
 โรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพทันตกรรม เช่น โรคเรื้อน โรคเท้าช้าง
 โรคไม่ติดต่อ หรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือการประกอบอาชีพ
ทันตกรรม
- โรคลมชักที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ (โรคลมชักที่ไม่มีอาการชักมาแล้วอย่างน้อย
3 ปี โดยมีการรับรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถือเป็นโรคลมชักที่ควบคุมได้
- โรคหัวใจระดับรุนแรง จนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพ
- โรคภาวะความดันเลือดรุนแรง และมีภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เกิดพยาธิสภาพต่อ
อวัยวะอย่างถาวร
- ภาวะไตวายเรื้อรัง
- โรคติดสารเสพติดให้โทษ
 ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง
 ความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
- สายตาไม่ปกติ เมื่อรักษาโดยใช้แว่นสายตาแล้วยังมีสายตาต่ำกว่า 6/24
ทั้งสองข้าง
- สายตาข้างที่ดีต่ำกว่า G/12 เมื่อได้รับการแก้ไขอย่างดีที่สุดแล้ว
- ไม่สามารถ มองเห็นภาพเป็นสามมิติ
 หูหนวก หรือหูตึง (threshold ของการได้ยินสูงกว่า 40 dB) จากความผิดปกติทางประสาทและการได้ยิน (sensor neural hearing loss) ถ้าได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น
 โรคหรือความพิการอื่นๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ ที่คณะกรรมการการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ทั้งนี้ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์อาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคตรวจบางรายเพิ่มเติมได้
4.4 ผู้สมัครโควตาวิทยาเขต 4 จังหวัดภาคตะวันตก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอำนาจเจริญ และ
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม ต้องมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดด้วย
4.5 ผู้สมัครโควตาพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ นอกเหนือจาก กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี
และสมุทรปราการ จะต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังนี้
 กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
 ต้องไม่เป็นผู้ที่เพิ่งย้ายมาจากโรงเรียนในจังหวัดอื่นเข้ามาเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - ม.6) ของโรงเรียนที่มีสิทธิ์สมัครในโควตาวิทยาเขต/พื้นที่

5. การสอบวิชาสามัญ
1. เคมี 2. ฟิสิกส์ 3. ภาษาอังกฤษ 4. ภาษาไทย
5. คณิตศาสตร์ 1 6. ชีววิทยา 7. สังคมศึกษา

น้ำหนัก 700 คะแนน
ค่าสมัครสอบวิชาสามัญ เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

6. การสอบวิชาเฉพาะและความถนัดทางวิชาชีพ
6.1 โควตาทั่วไป
คณะฯ จะประกาศรายชื่อผู้ที่ได้ คะแนนวิชาสามัญแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 และมี
คะแนนรวมไม่น้อยกว่า 420 คะแนน ตามลำดับคะแนนรวม จำนวนไม่เกิน 2 เท่า ให้
เป็นผู้มีสิทธิ์เข้าสอบวิชาเฉพาะและความถนัดทางวิชาชีพ โดยเรียงลำดับตามเลขรหัสประจำ
ตัวผู้สมัครสอบ


6.2 โควตาวิทยาเขต/พื้นที่
คณะฯจะประกาศรายชื่อผู้ที่ได้ คะแนนวิชาสามัญแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 และมี
คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 350 คะแนน ตามลำดับคะแนนรวม จำนวนไม่เกิน 2 เท่า
ของจำนวนที่จะรับสำหรับวิทยาเขต/พื้นที่แต่ละแห่ง ให้เป็นผู้มีสิทธิ์เข้าสอบวิชาเฉพาะและ
ความถนัดทางวิชาชีพ โดยเรียงลำดับตามเลขรหัสประจำตัวผู้สมัครสอบ

การสอบวิชาเฉพาะและความถนัดทางวิชาชีพ มีคะแนนรวม 300 คะแนน แบ่งเป็น 6
ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ความสามารถและทักษะในการอ่าน จับใจความ และเขียนเรียบเรียง
ส่วนที่ 2 ความสามารถและทักษะในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเชื่อมโยงความเป็นเหตุ
เป็นผล
ส่วนที่ 3 ความสามารถและทักษะทางตัวเลข
ส่วนที่ 4 ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
ส่วนที่ 5 ความสามารถด้านความรอบคอบ
ส่วนที่ 6 ความพร้อมในการศึกษาวิชาชีพทันตแพทย์

ค่าสมัครสอบวิชาเฉพาะและความถนัดทางวิชาชีพ 500 บาท

7. การสอบสัมภาษณ์ ตรวจร่างกายและ/หรือสุขภาพจิต และการยืนยันสิทธิ์
เข้าศึกษา
คณะฯ จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ ตรวจร่างกายและ/หรือสุขภาพจิต ทุกโควตา
โดยให้สิทธิ์ตามลำดับคะแนนรวม วิชาสามัญ 7 วิชา (น้ำหนัก 700 คะแนน) กับวิชาเฉพาะและ
ความถนัดทางวิชาชีพ (น้ำหนัก 300 คะแนน) จำนวนตามที่คณะกรรมการซึ่งคณะแต่งตั้งเป็น
ผู้กำหนด โดยจะประกาศรายชื่อเรียงตามเลขรหัสประจำตัวสอบ

ค่าสอบสัมภาษณ์และค่าตรวจร่างกาย 500 บาท

8. การประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา
คณะฯ จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา โดยให้สิทธิ์แก่ผู้ที่ไม่มีปัญหาในการสอบสัมภาษณ์ ตรวจ
ร่างกายและ/หรือสุขภาพจิต ตามลำดับคะแนนรวมของวิชาสามัญ (700 คะแนน) กับคะแนน
สอบวิชาเฉพาะและความถนัดทางวิชาชีพ (300 คะแนน) ตามจำนวนการรับสำหรับแต่ละโควตา

9. การลงทะเบียนเข้าศึกษาและการทำสัญญา
มหาวิทยาลัยจะประกาศรายละเอียดภายหลัง ผู้ไม่มาลงทะเบียนเข้าศึกษาและทำสัญญาตาม
กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์ และคณะฯจะให้สิทธิ์แก่ผู้ที่ได้คะแนนสำรองต่อไป

หมายเหตุ ถ้าโควตาใดมีผู้มาลงทะเบียนเข้าศึกษาไม่ครบตามจำนวนที่กำหนด คณะฯอาจ
พิจารณาเพิ่มจำนวนให้แก่โควตาอื่นได้

10. ข้อมูลหลักสูตร/การจัดการเรียนการสอน
ศึกษาข้อมูลได้ที่ www.dt.mahidol.ac.th

11. การสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่
หน่วยทะเบียนและประเมินผลการศึกษา
โทรศัพท์ : 0-2644-8644 ต่อ 5214 - 5
โทรสาร : 0-2644-6624
E-mail : dtskp@mahidol.ac.th
Website : www.dt.mahidol.ac.th


Posted by : dentmu , Date : 2005-06-09 , Time : 10:32:47 , From IP : fi.bb.108.38.revip2.

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<