ความคิดเห็นทั้งหมด : 59

ก รุ ณ า อ ย่ า ทำ ใ ห้ m e d 2 9 เ ป็ น รุ่ น ที่ ถู ก ลื ม !!!!!!!!!!!


    ขอบอกไว้ ณ ที่นี้ก่อนว่า กระทู้นี้ไม่ได้มีเจตนาเพื่อสร้างความรุนแรง ความขัดแย้งใด ๆ แต่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ไปในทางที่ดีขึ้นค่ะ

จากที่ได้รู้ว่าการเรียนการสอนปี ๕ ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น การราวน์วอร์ด med จากที่เคยได้ราวน์ทั้งชั้น 10 และ ชั้น 11 เหลือเพียงชั้น 11 เพียงชั้นเดียว ทำให้ต้องแออัด เรียนรู้เคสต่าง ๆ ได้น้อยลง ความหลากหลายของเคสน้อยลง เพราะมีแต่คนไข้เป็นผู้หญิง และจากการที่จำนวนนักศึกษามากเกินไป ทำให้เวลาราวน์กับอาจารย์ และพี่พชท.ได้ยิน ได้ฟัง และได้เรียนไม่เต็มที่ บาง block ที่ต้องเรียนพร้อมกับน้อง ก็ไม่อยากให้มีการเปรียบเทียบกันเพราะพวกเราปี 5 และน้องปี 4 ต่างก็เพิ่งเรียนเป็นครั้งแรกพร้อมกัน ยอมรับว่าคำพูดเหล่านี้ทำให้บั่นทอนจิตใจพวกเรามากเลยค่ะ เสียกำลังใจในการเรียน และทำให้เรียนอย่างไม่มีความสุข

เนื้อหาบางอย่างยากต่อการทำความเข้าใจ และเนื้อหามากไม่สัมพันธ์ต่อเวลาที่ได้เรียน เช่น Anesthesia ได้เรียนเพียง 4 วันต่อปี และ Orthopedics เรียนเพียง 2 สัปดาห์ต่อปีเท่านั้นเอง ซึ่งไม่เพียงพอในการทำความเข้าใจ ฝึกปฏิบัติน้อย และไม่สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตตการเป็นแพทย์ของเรา ส่วนใหญ่ อาจารย์มักกล่าวว่า ให้ไป SDL กันเอง ซึ่งจริง ๆแล้วพวกเราก็ได้พยายามค้นคว้า และขวนขวายหาความรู้กันเองแล้ว ทั้งจากการปฏิบัติเอง และเห็นเพื่อน ๆ ตั้งใจกันมาก แต่บางอย่างก็ต้องอาศัยอาจารย์ช่วยชี้แนะ อธิบายให้เห็นภาพรวมก่อน เช่นเรื่อง fluid & electrolyte พวกเราใช้เวลาSDL กันมาก โดยที่ยังไม่เข้าใจ และไม่สามารถนำไปใช้ได้เมื่อเจอเคสผู้ป่วยจริง แต่เมื่ออาจารย์สอน ใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ทำให้เข้าใจดีขึ้นอย่างมาก เลยคิดว่าเพื่อนบางคนที่ไม่มีโอกาสได้เรียน อาจจะไม่เข้าใจก็ได้ น่าจะเปิดสอนเนื้อหาที่เข้าใจยากและสำคัญให้ทุกคนได้เรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

อยากให้เพื่อน ๆ med 29 ช่วยกันแสดงความคิดเห็น และบอกเล่าประสบการณ์ เพื่อเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงที่ดีแก่รุ่นเราบ้าง ขอให้พูดกันอย่างสร้างสรรค์นะคะ และหวังว่าท่านผู้เกี่ยวข้องได้รับรู้ และเข้าใจพวกเราด้วยเถอะค่ะ


Posted by : นักศึกษาแพทย์ปี5 คนหนึ่งที่ไม่ , Date : 2005-05-13 , Time : 19:27:08 , From IP : 172.29.4.174

ความคิดเห็นที่ : 1


   ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้ในฐานะพี่ ที่ต้องการสอนน้องว่า หากน้องประสงค์ดี ควรจะเดินเข้าไปหาอาจารย์และคุยกับอาจารย์โดยตรง ไม่ควรจะมาโพสในกระดานข่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สร้างสรรค์อย่างยิ่ง เพราะเริ่องบางเรื่องหากเราติดต่อประสานงานกับผู้รับผิดชอบโดยตรงจะสะดวกกว่า และได้รับการแก้ไข แทนที่จะมาโพสในกระดานข่าวที่อาจจะไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรงมาอ่าน
ผมไม่เห็นด้วยกับกับเรียกร้องของนักศึกษาแพทย์ปี 5 ท่านนี้


Posted by : พี่คนหนึ่ง , Date : 2005-05-13 , Time : 19:36:40 , From IP : 172.29.7.196

ความคิดเห็นที่ : 2


   เห็นด้วยกับเพื่อนอย่างยิ่งค่ะ พอนึกถึงอนาคตของตัวเองแล้วก็กลัวน่ะค่ะ ไม่อยากจบไปแบบไม่รู้จริง ไม่อยากรักษาคนไข้แบบไม่มีความรู้และไม่อยากให้คนไข้ตายในน้ำมือหนูเนื่องจากแค่ไม่มีความรู้เรื่องสารน้ำและE’lyte คำนวณพลาด หรือจ่ายยาผิดๆให้คนไข้ จริงๆแล้วหนูคิดว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนขี้เกียจและค่อนข้างใฝ่หาความรู้พอสมควร แต่ก็ยังรู้สึกว่ายังไม่สามารถรักษาคนไข้ได้จริง ถ้ามันเป็นความผิดพลาดที่ระบบจริงขอให้อาจารย์ช่วยปรับปรุงและต่อเติมให้เราจบเป็นแพทย์ ที่มีความรู้ความสามารถด้วยเถอะค่ะ อย่าทอดทิ้งพวกเราเลยนะคะ

Posted by : นศพ. ฐิติพร 4425021 , E-mail : (yuisepasture@yahoo.com) ,
Date : 2005-05-13 , Time : 19:46:06 , From IP : 172.29.4.112


ความคิดเห็นที่ : 3


   อยากบอกว่า med 29
อนาโตมี แขนขา ก็ไม่ได้เรียน
อยากทบทวนอนาโตมีบ้างค่ะ
ดีใจกะน้องๆ ปี 3 ที่ได้มีโอกาส
ตั้งใจกันให้มั่กๆ ได้ใช้แน่นอนจ๊ะน้อง


Posted by : med29 , E-mail : (kesedevil@yahoo.com) ,
Date : 2005-05-13 , Time : 20:32:28 , From IP : 172.29.4.235


ความคิดเห็นที่ : 4


   ผมเห็นด้วยกับการแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ดของ น้อง นศพ.ท่านนี้

Posted by : รุ่นพี่ 19 , Date : 2005-05-13 , Time : 20:41:24 , From IP : 203.155.189.98

ความคิดเห็นที่ : 5


   ในขณะที่ผมคิดว่ากระดานข่าวนี้เป็น platform ที่ง่ายสะดวกในการแสดงความคิดเห็น แต่ถ้าเรื่องสำคัญและต้องการให้เป็น official หรือต้องการให้ represent ความเห็นความรู้สึกของชั้นปี ผมคิดว่าผ่านทางทีมหัวหน้าชั้นปี vote อภิปรายโดยเปิดเผยโดยนัดเพื่อนๆมาเจอกัน เสร็จแล้วประธานชั้นปีรวบรวมข้อสรุปมาพบ ซึ่งอาจจะได้ตั้งแต่อาจารย์รองคณบดีแพทยศาสต์ (อ.มยุรี) หรือประธาน block ต่างๆก็ได้ทั้งนั้น อาจจะได้ความเห็นที่มากพอสำหรับเป็นความเห็นรวมของ 170 คนได้ดี

เรื่องที่เป็น psychomotor เช่น การสั่ง order นั้น มีทางเดียวที่จะเกิดความมั่นใจครับคือลองสั่งและนำไปคุยกับรุ่นพี่หรืออาจารย์ เพราะ lecture นั้นเพียงลำพังจะไม่เสริ่มความมั่นใจตอนสั่งจริงได้ เหมือนๆกับแทง IV เย็บแผล สั่งยา ฯลฯ ตอนที่น้องเป็น นศพ. นั้นถ้าสั่งลงใน progress note ไม่มีคนมารับ order แน่ๆ และเป็นโอกาสอันดีที่จะดูว่ามันเหมือนหรือต่างกับของที่พี่หรืออาจารย์สั่งอย่างไร order บางอย่างมีให้ลองสั่งได้ตลอดทุก block เช่น IV fluid, analgesic, antibiotics, etc เรื่องที่เป็น psychomotor นี้ เฉพสะ "โอกาส" ครับที่เท่าเทียม แต่แต่ละคนจะได้ทำจริงๆไม่เท่ากัน ถ้าใครจะลองสั่ง order ของคนไข้ทั้ง ward ก็จะมีประสบการณ์มากกว่าที่ลองสั่งเฉพาะคนไข้ที่เรารับเพียงคนสองคน

ผมคิดว่าตั้งแต่ อ.มยุรี รองคณบดีแพทยศาสตร์ลงไปถึงอาจารย์ประจำ block ต่างๆ มีการสอบถามความเห็น feedback เป็นระยะๆอยู่แล้ว และท่านเปิดโอกาสให้น้องได้สามารถไปพูดคุยอย่างเปิดเผยมาตลอด ผมแนะนำว่าเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อท่าน น้องจะเข้าไปหาท่านพูดจาบอกกล่าวว่ามีปัญหาอะไรก็น่าจะดีไม่น้อย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-13 , Time : 20:43:14 , From IP : 172.29.7.34

ความคิดเห็นที่ : 6


   เห็นด้วยกับเพื่อน med29 เช่นกันครับ ขอยกตัวอย่างวันหนึ่งไม่นานมานี้ที่นศพ.ปี5 เรียนพร้อมกับนศพ.ปี4 ในรายวิชาของภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ อาจารย์ท่านหนึ่งถามทั้งปี4 และปี5 พร้อมกันในเรื่อง anatomy ปรากฏว่านศพ.ปี4ตอบได้ แต่นศพ.ปี5 ตอบไม่ได้ อาจารย์ท่านนั้นจึงหันมาตำหนินศพ.ปี5 ในเชิงว่าเรียนมาอย่างไรถึงมีความรู้ที่จะตอบคำถามนี้น้อยกว่าน้องปี4 แต่ในความจริงแล้วเมื่อแรกที่น้องปี4 รุ่นนี้ขึ้นมาเรียนออร์โธปิดิกส์ อาจารย์ได้สอน anatomy ของแขนขาให้ใหม่หมด ถึงขนาด origin & insertion อย่างนั้นเลย ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีครับ แต่ทำไมไม่มีแบบนี้ตอน med29 ขึ้นมาปี4 ครับ ตกหล่นไปไหนอย่างไร ทั้งที่อาจารย์ก็ทราบมาแล้วว่าสมัยปรีคลินิก เนื้อหา anatomy แขนขาของพวกเราโดนตัดไปไม่มีเรียน ทั้งนี้รวมถึง anatomy ของ head & neck ก็ไม่มีเหมือนกันครับ

อีกอย่าง ข้อความ...
หากน้องประสงค์ดี ควรจะเดินเข้าไปหาอาจารย์และคุยกับอาจารย์โดยตรง ไม่ควรจะมาโพสในกระดานข่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สร้างสรรค์อย่างยิ่ง
ของคุณพี่คนหนึ่ง
ผมคิดว่าบางทีก็ไม่เป็นจริงอย่างยิ่ง
กรณีสมัยเมื่อนศพ.รุ่น29 กองที่ขึ้นเรียนอายุรศาสตร์กองแรก ได้ราวน์ผู้ป่วยที่วอร์ดผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงชั้น11 เพียงครึ่งวอร์ดต่อนศพ.ประมาณ 14 คน เท่านั้นตลอดเวลาเรียน 6 สัปดาห์ นศพ.กองนั้นก็ได้มีการร้องเรียนไปยังภาควิชาอายุรศาสตร์แล้วว่าขอให้มีการเพิ่มวอร์ดให้โดยอยากแบ่งไปราวน์วอร์ดอายุรกรรมชายบ้าง เนื่องจากรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ และการดูแลเพียงเฉพาะผู้ป่วยญิงทำให้ได้เรียนรู้โรคไม่ครบถ้วน อีกทั้งยังเป็นการแออัดนศพ.เป็นอย่างมาก แต่ทางภาควิชาได้ตอบกลับมาว่า ไม่สามารถทำตามคำร้องเรียนได้ เนื่องจากต้องการแบ่งผู้ป่วยที่วอร์ดอายุรกรรมชายให้น้องปี4 ได้เรียนกันอย่างทั่วถึงมากกว่ารุ่นก่อน(ก็รุ่น 29 นี่แหละครับ) ทั้งที่ปีการศึกษาที่แล้วพื้นที่ตรงนั้นยังเป็นของนศพ.ปี5 อย่างนี้เหมือนไม่สนใจกันเลย มองในแบบ subjective คือรุ่น 29 ของผมปีที่แล้วก็ได้ราวน์กันแออัดกว่าน้องรุ่น 30 พอขึ้นปี5 ก็ราวน์กันแออัดกว่าพี่รุ่น 28

ผมว่าการปรับปรุงอย่างที่ทางคณะมีให้กับน้องปี4(med30) เป็นเรื่องที่ดีนะครับ แต่อาจารย์อย่าลืมศิษย์รุ่น 29 สิครับ


Posted by : นศพ.นิติพงศ์ 4425048 , E-mail : (toonnitty@yahoo.com) ,
Date : 2005-05-13 , Time : 21:01:35 , From IP : 172.29.4.230


ความคิดเห็นที่ : 7


   เราสามารถหรือมีสิทธิเรียนรู้ case ทุกcaseได้ด้วยตนเองได้หรือไม่
ถ้าอาจารย์ไม่ได้assign case ให้เรา หรือเรารู้มาว่า มันเป็นcaseในฝั่ง หรือfloorที่ต้องยกให้น้องๆปีอื่นๆเรียน เราสามารถจะไปเรียนรู้ร่วมด้วยได้ไหม ถ้าเรามีเวลาว่างพอ
น่าสนใจเหมือนกันนะว่า มันอยู่ที่เรา หรืออยู่ที่ระบบ
ถ้าระบบมันเอื้อให้เราเรียนรู้ได้หลากหลายfloor เราคงเรียนได้สบายหน่อย แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น ตัวเราเองจะไหวหรือไม่ที่จะเรียนรู้เองไปก่อน หรือไม่ก็ขอไปเรียนร่วมไปกับน้องเลย รุ่นพี่หรือรุ่นน้องคนใดเจอ sign and symptom อะไรสวยๆก็บอกกัน แลกกัน ชวนกันไปดู มันก็น่าจะทำให้เราได้ความหลากหหลายขึ้น

การแก้ปัญหาอะไรก็ตาม น่าจะลองเริ่มที่ตัวเรา แก้อะไรไปพลางๆก่อนน่าจะดีไหม เพราะระบบบางอย่างนั้นขับเคลื่อนช้า ไม่ทันใจเราหรอก
คำแนะนำนี้ ฟังดูอาจยาก และแปลกไปหน่อย แต่ก็น่าลองหรือเปล่าเนี่ย


Posted by : pisces , Date : 2005-05-13 , Time : 21:49:31 , From IP : 172.29.7.110

ความคิดเห็นที่ : 8


   ในฐานะ med 29 คนนึงคะ หนูรู้สึกยินดีกับน้องรุ่น med 30 มากที่มีโอกาสได้รับสิ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ๆมากมาย แต่พวกหนูก็อดนึกสะท้อนถึงตัวเองไม่ได้เหมือนกันคะว่า ทำไมพวกหนูไม่เคยได้รับบ้าง?

นอกจากนี้ยังมาริดรอนพวกเราอีก(อาธิเช่น ให้นศพ ราวน์med เฉพาะชั้น11) หรือ ไปเปรียบเทียบกับรุ่นน้องให้พวกเราเสียกำลังใจ.....ซึ่งหนูบอกตามตรงว่า หนูเสียใจคะ

หนูก็ทราบนะคะว่าระบบที่เรียนอยู ต้องการให้พวกเราศึกษาด้วยตนเอง แต่มันล้มเหลวคะ หนูข้อเรียนถามความคิดเห็นคะว่า....การที่มีคนมาสอนแนะแนวทาง scope หัวข้อให้เราคร่าวๆ กับ การอ่านเองมั่วๆเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง อันไหนมันดีกว่ากันคะ?

หนูมีประสบการณ์ตรงคะ ตอนที่เรียนการดู slide เลือด ณ. ภาคmedicine มีอาจารย์อยู่สองท่าน .........ท่านหนึ่งให้ นศพ ดูเอาเอง ปล่อยให้ นศพ ดูไปตาม ยถากรรม อีกท่านหนึ่งสอนและชี้ให้พวกเราดู slide ไปพร้อมๆกับอาจารย์ หนูบอกตามตรงคะว่าหนูเรียนรู้วิธีการดู slide จากอาจารย์ท่านที่สองคะ....นี่เป็นตัวอย่างคะว่าอาชีพแพทย์ต้องการคนชี้นำ ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ ไม่สามารถอ่านด้วยตนเองได้อย่างเดียวคะ

และทำไมในเมื่อพวกเรา med 29 ที่มีมันสมอง มีความพร้อมในการเรียนรู้ พวกเราจะมีโอกาสได้รับสิ่งเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นบ้างไหม? ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป ..... ก่อนที่พวกเราจบออกไป มีความรู้ไม่พอไป treat คนไข้แบบผิดๆ....หนูไม่อยากเป็นหมอเช่นนั้นคะ ณ. โอกาศนี้ พวกหนูขอเรียนอาจารย์ผู้เกี่ยวข้อง ช่วยแก้ไขระบบการเรียนการสอนของปี 5 ขณะที่พวกเรายังเรียนอยู่ได้ไหมคะ? เพื่อพวกเราจะได้มีสิ่งดีๆขึ้นมาบ้างคะ


Posted by : นศพ Med 29 , Date : 2005-05-13 , Time : 23:15:05 , From IP : 172.29.4.250

ความคิดเห็นที่ : 9


   รู้สึกร้อนใจเป็นอย่างมากกับข้อความของคุณนิติพงษ์ ซึ่งคิดว่ามีเจตนาดีคับ

ประเด็นแรกไม่อยากให้การเรียกร้อง มีการอ้างหรือกล่าวถึงอาจารย์ท่านใดในทางที่เสียหาย เนื่องจากอาจารย์เป็นผู้มีพระคุณของพวกเราทุกคนคอยสั่งสอนประสาสน์วิชาให้ตลอด และwebboardเป็นสื่อสาธารณะ ซึ่งคนที่อ่านหรือฟังต่ออาจจะเข้าใจและแปลความไปในทางที่เสียหาย หรือเกินความเป็นจริงได้ เป็นผลทำให้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์และผู้ถูกกล่าวหาเสียความรู้สึกและหมดกำลังใจ
ซึ่งเหตุการณ์แรกที่คุณนิติพงษ์ กล่าวถึงนั้นการใช้คำพูดบางคำอาจทำให้เกิดความรุนแรง และอาจบิดเบือนจากความเป็นจริงบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของการสื่อสารจากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่งแต่ผมเชื่อมั่นว่าจุดประสงค์ของคำพูดแค่ต้องการแสดงออกถึงความน้อยใจของนักศึกษาแพทย์คนหนึ่ง ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะกล่าวว่าใครแต่อย่างใด ผิดก็แต่คำพูดนี้มาใช้ใน webboardเท่านั้นซึ่งอาจดูไม่เหมาะสม
จึงอยากขออภัยอาจารย์ท่านดังกล่าว ซึ่งเป็นอาจารย์ท่านหนึ่งที่ทุ่มเทให้นักศึกษาแพทย์ทุกรุ่นเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังเอ็นดู MED 29 มากเช่นกัน และขอให้เอ็นดูและสั่งสอนพวกเราต่อไปนะครับ


Posted by : MED 29 , Date : 2005-05-13 , Time : 23:32:44 , From IP : 172.29.4.42

ความคิดเห็นที่ : 10


   รู้สึกร้อนใจเป็นอย่างมากกับข้อความของคุณนิติพงษ์ ซึ่งคิดว่ามีเจตนาดีคับ

ประเด็นแรกไม่อยากให้การเรียกร้อง มีการอ้างหรือกล่าวถึงอาจารย์ท่านใดในทางที่เสียหาย เนื่องจากอาจารย์เป็นผู้มีพระคุณของพวกเราทุกคนคอยสั่งสอนประสาสน์วิชาให้ตลอด และwebboardเป็นสื่อสาธารณะ ซึ่งคนที่อ่านหรือฟังต่ออาจจะเข้าใจและแปลความไปในทางที่เสียหาย หรือเกินความเป็นจริงได้ เป็นผลทำให้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์และผู้ถูกกล่าวหาเสียความรู้สึกและหมดกำลังใจ
ซึ่งเหตุการณ์แรกที่คุณนิติพงษ์ กล่าวถึงนั้นการใช้คำพูดบางคำอาจทำให้เกิดความรุนแรง และอาจบิดเบือนจากความเป็นจริงบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของการสื่อสารจากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่งแต่ผมเชื่อมั่นว่าจุดประสงค์ของคำพูดแค่ต้องการแสดงออกถึงความน้อยใจของนักศึกษาแพทย์คนหนึ่ง ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะกล่าวว่าใครแต่อย่างใด ผิดก็แต่คำพูดนี้มาใช้ใน webboardเท่านั้นซึ่งอาจดูไม่เหมาะสม
จึงอยากขออภัยอาจารย์ท่านดังกล่าว ซึ่งเป็นอาจารย์ท่านหนึ่งที่ทุ่มเทให้นักศึกษาแพทย์ทุกรุ่นเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังเอ็นดู MED 29 มากเช่นกัน และขอให้เอ็นดูและสั่งสอนพวกเราต่อไปนะครับ


Posted by : MED 29 , Date : 2005-05-13 , Time : 23:33:05 , From IP : 172.29.4.42

ความคิดเห็นที่ : 11


   เห็นด้วยครับไม่อยากให้เรื่องนี้อยูในกระทู้สาธารณะ อยากให้เป็นเรื่องที่ตกลงภายในชั้นปีมากกว่า เพราะอาจเกิดผลเสียที่ตามมามากกว่าผลดีครับ

Posted by : ซุนหงอคง , Date : 2005-05-13 , Time : 23:44:32 , From IP : 172.29.4.115

ความคิดเห็นที่ : 12


   เคยมีคนสอนผม ให้ผมพยายามเชื่อผู้ใหญ่เนื่องจากเขามีความรู้ดีกว่าแล้วเขาเจอประสบการณ์ต่างๆมาด้วยตัวเอง เขาทั้งรู้ข้อดีและข้อเสียในการทำสิ่งต่างๆ ซึ่งรวมถึงการเรียนด้วย ผมอยากให้อาจารย์ หรือรุ่นพี่อะครับช่วยไกด์หน่อยว่าเล่มไหนน่าอ่านน่าสนใจ หรือเรื่องไหนควรรู้เรื่องไหนควรอ่านผมคิดว่าการที่เราจะทำความเข้าใจกับหนังสือใหญ่สักเล่ม 2 เล่มนี้มันเป็นการยากนะครับ ถ้ายังไงคำพูดผมไปทำให้ใครไม่พอใจก็ขออภัยด้วยนะครับและผมรู้สึกว่ามีหลายคนที่โพสกระทู้ตามความคิดของเขา ตามความคิดของคนอื่น ซึ่งคนที่โพสกระทู้นี้ก็เป็นคนนึงที่อยากจะมาเรียกร้องบางอย่างซึ่งทำได้ยาก ผมจึงคิดว่าการที่เขามาโพสอย่างนี้ถือว่าไม่ผิดนะครับ ที่เขาจะมาโพสอย่างนี้

Posted by : E.T. , Date : 2005-05-14 , Time : 00:10:18 , From IP : 172.29.4.166

ความคิดเห็นที่ : 13


   มี ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องหนึ่งอยากให้เพื่อนๆ MED29 ไปดูกันนะครับ คือเรื่อง Robots

Robots เป็นเรื่องราวของหุ่นยนต์กลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นหุ่นยนต์รุ่นเก่ากึกนักประดิษ ถูกประกาศให้เป็นหุ่นยนตร์ที่ไร้สมรรถภาพเนื่องจากไม่สามารถ Upgrade ได้และต้องถูกทำลาย แต่ด้วย spirit ของหุ่นยนต์กลุ่มนี้ซึ่งเชื่อมั่นในศักยภาพว่าตนเองไม่ใช่หุ่นยนต์ที่ไร้ค่าแต่อย่างใด ได้รวมตัวกันเพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าฉันนี่แหละคือหุ่นยนต์ที่จะมีประสิทธิภาพที่สุด เพียงแต่ต้องพยายามต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆนานา

จากRobot Med29


Posted by : mmm , Date : 2005-05-14 , Time : 00:33:59 , From IP : 172.29.4.42

ความคิดเห็นที่ : 14


   มี ภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องหนึ่งอยากให้เพื่อนๆ MED29 ไปดูกันนะครับ คือเรื่อง Robots

Robots เป็นเรื่องราวของหุ่นยนต์กลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นหุ่นยนต์รุ่นเก่ากึกนักประดิษ ถูกประกาศให้เป็นหุ่นยนตร์ที่ไร้สมรรถภาพเนื่องจากไม่สามารถ Upgrade ได้และต้องถูกทำลาย แต่ด้วย spirit ของหุ่นยนต์กลุ่มนี้ซึ่งเชื่อมั่นในศักยภาพว่าตนเองไม่ใช่หุ่นยนต์ที่ไร้ค่าแต่อย่างใด ได้รวมตัวกันเพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าฉันนี่แหละคือหุ่นยนต์ที่จะมีประสิทธิภาพที่สุด เพียงแต่ต้องพยายามต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆนานา

จากRobot Med29


Posted by : mmm , Date : 2005-05-14 , Time : 00:35:56 , From IP : 172.29.4.42

ความคิดเห็นที่ : 15


   ก็เห็นด้วยนะคะว่าบางอย่างรุ่นน้องมีโอกาสที่ดีกว่ารุ่นเรา ก็อยากให้น้องใช้โอกาสนี้ให้เกิดประโยชน์ สำหรับรุ่นเรานั้น เพื่อนๆก็อย่าเพิ่งท้อถอยกันนะคะ ตอนนี้เราคงต้องพยายามและสู้กันต่อไป เป็นกำลังใจให้ Med 29 สู้ต่อไปอย่างสร้างสรรค์นะคะ

Posted by : med 29 อีกคนหนึ่ง , Date : 2005-05-14 , Time : 01:19:26 , From IP : 172.29.4.149

ความคิดเห็นที่ : 16


    ผมไม่ทราบว่าการาวน์ med ตอนนี้เป็ยยังงัยแต่ว่าเท่าที่ฟังมาคือเหลือแค่ชั้นเดียว(ชั้น 11) ต่อนักศึกษาแพทย์ 10 กว่าคน ซึ่งผมว่ามันเยอะเกินไป น่าจะแบ่งเป็น 2 ชั้น ชาย-หญิง เพื่อที่จะได้เจอ case ที่หลากหลาย มากขึ้น
ส่วนอีกเรื่องที่ อาจารย์แพทย์บางท่านชอบเปรียบเทียบระหว่าง ปี 5 กับ ปี 4 ซึ่งมีการเรียนการสอนร่วมกัน Ambu โดยหารู้ไม่ว่าเนื้อหาวิชาของปี 5 นั้นมีทั้งหมด 4 เรื่อง ส่วน ปี 4 มี 2 เรื่อง แค่นี้ก็ต่างกันเยอะแล้ว จึงมีความเป็นไปได้ที่ ปี 5 อาจจะตอบคำถามบางคำถามไม่ได้ แต่อาจารย์ก็จะบอกว่าทำไมน้องตอบได้พี่ตอบไม่ได้ ผมยอมรับครับว่าน้องบางคนเก่งกว่าผม แต่ผมอยากให้เข้าใจด้วยว่าเนื้อหาที่ปี 5 เรียนนั้นเยอะกว่า ปี4 เช่นกัน
เรื่องสุดท้าย ทำไมพอขึ้นปี 5 แล้วต้องรู้โน่นรู้นี่โดยที่อาจารย์ไม่เคยสอนมาก่อนเลยตอนปี4 แล้วจะให้ผมเอาเวลาที่ไหนไปอ่านไท่ควรรู้ พออยู่ปี 4 ก็ "อ่ะ ตรงนี้ ปี 4 ยังไม่ต้องรู้ก็ได้" แต่พอขึ้นปี 5 ปุ๊บ กลายเป็น "เอ้า แค่นี้ยังไม่รู้อีก ปี5 ต้องรู้แล้วนะ" ไม่ทราบว่าผมจะรู้มั๊ยครับว่าเรื่องนี้ควรรู้แล้วเรื่องนี้ยังไม่ต้องรู้ ทำไมไม่สอนไปเลยตอนปี 4 ต้องแบ่งแยกด้วยหรอครับว่าเป็นปี 4 หรือ ปี 5


Posted by : TaRzAn , Date : 2005-05-14 , Time : 01:36:15 , From IP : 172.29.4.193

ความคิดเห็นที่ : 17


   โดยส่วนตัวแล้วปัญหาสำหรับผมไม่ได้อยู่ที่จะเป็นระบบเก่า ระบบใหม่ หรือระบบใหม่ที่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น ยิ่งเป็นแบบนี้ก็เป็นสิ่งที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าคณะได้พยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจัดหาสิ่งใหม่ๆที่ดีที่สุดสำหรับพวกเรา จะเป็นยังไงผมเองก็จะพยายามที่จะเรียนรู้ให้เต็มศักยภาพอย่างที่อาจารย์ในคณะตั้งใจอยากจะให้เป็นครับ
แต่ในสถานการณ์ของช่วงรอยต่อ ระหว่างระบบการเรียนแบบเดิมของ med29 กับระบบการเรียนที่ได้ปรับปรุงใหม่ของ med30 ในความรู้สึกของผม (และคิดว่าเพื่อนๆอีกหลายคนก็น่าจะรู้สึกด้วยเหมือนกัน) มันเหมือนกับสถานการณ์ของคุณแม่ลูกสอง
คุณแม่ต้องคอยเอาใจใส่น้องคนเล็กเพราะน้องยังเด็กอยู่ และบางครั้งพี่คนโตเองก็ต้องเสียสละอะไรบางอย่างให้กับน้องบ้างในฐานะที่เป็นพี่ พี่เองก็ไม่ได้คิดอิจฉาริษยาน้องที่ได้ในสิ่งที่ดีกว่า ไม่ได้ต้องการให้แม่เลิกดูแลน้อง ออกจะดีใจและยินดีด้วยซ้ำ แต่บางครั้งมันก็อดคิดย้อนกลับมาไม่ได้ว่าทำไมแม่จึงไม่เอาใส่ใจเราเหมือนอย่างที่แม่เอาใจใส่น้อง
ยอมรับครับว่าบางครั้งพวกเราก็ยังคิดแบบเด็กๆอยู่...


Posted by : Euphoria , Date : 2005-05-14 , Time : 02:01:18 , From IP : 172.29.4.207

ความคิดเห็นที่ : 18


   ผมยังไม่ค่อยทราบเท่ารั่ยน่ะครับว่า Med กับ Ambu สถานการณ์ของเพื่อนพวกเราชาว Med 29 เป็นอย่างรัยกันบ้าง (ผมอยู่อีก loop หนึ่ง) แต่ถ้าเป็นจริงตามความคิดเห็นที่ผ่านมา ผมก็รู้สึกว่าน้อยใจเช่นกัน ว่าทำไมกรรมต้องตกอยู่ที่รุ่นของพวกเราด้วย พวกเราไม่ขยันก็คงไม่ใช่ ผมเห็นเพื่อนๆ ก็อ่านกันทั้งวันทั้งคืน ขยันอยู่ ward ทำตัวเป็นนักศึกษาแพทย์ที่ดี แต่ทำไม่เรายังไม่สามารถที่จะ management ได้ เนื่องจากประสบการณ์พวกเรายังน้อยนัก พวกเรายังต้องการประสบการณ์อย่างมากจากอาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยประสบการณ์ (ประสบการณ์จากรุ่นต่อรุ่นนี้ไม่สามารถไปหาจาก textbook ที่ไหนได้น่ะครับ ต้องมาจากการสั่งสอนจากอาจารย์หรือผู้มีประสบการณ์เท่านั้น)

ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่รุ่นน้องๆ ของพวกผมได้รับสิ่งดีๆ ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงจากประสบการณ์ของรุ่นผมและรุ่นพี่ๆ อีก 3 รุ่น (ที่เป็ระบบใหม่) แต่ผมก็หวังเช่นกันว่าท่านผู้ทีเกี่ยวข้องจะไม่ลืมว่าคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้มีรุ่นที่ 29 อยู่ อยากให้ท่านมาสนใจในฐานะที่พวกเราอีกปีกว่าๆ จะจบไปเป็นแพทย์ที่ไม่ค่อยมั่นใจในองค์ความรู้ที่พวกเรามีอยู่

จากที่กล่าวมานี้นะครับผมไม่ได้โทษระบบหรอก ผมคิดว่าระบบมันดีนั่นแหละ แต่ที่สำคัญนั้นก็คือระบบที่ดีไม่จำเป็นว่าจะเป็นระบบที่ประสบความสำเร็จเสมอไปและอาจจะเหมาะสำหรับบางกลุ่มชนเท่านั้น ก็อย่างที่เพื่อนๆ หลายคนโพสมานั่นแหละครับ


Posted by : SMC , E-mail : (smc_med29@yahoo.com) ,
Date : 2005-05-14 , Time : 02:31:33 , From IP : 172.29.4.105


ความคิดเห็นที่ : 19


   เนื่องจากผมได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาปรับปรุงการเรียนการสอนของภาคศัลย์ศาสตร์-ศัลย์ศาสตร์ออร์โธปิดิคส์ตอนช่วงปิดเทอมปี 4 ขึ้นปี 5 ซึ่งในการสัมมนาครั้งนั้นความเห็นของนักศึกษาผู้เข้าร่วมได้ถูกนำมาเป็นข้อมูลหลักในการนำไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนของภาควิชาอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นจึงเป็นการยืนยันให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทุกๆความเห็นของนักศึกษา อาจารย์ที่ดูแลเรื่องระบบการเรียนการสอนทั้งรับฟังและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
ดังนั้นหากเพื่อนๆต้องการแสดงความคิดเห็น หรือมีข้อเสนอแนะอะไรที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพขององค์กร(ทั้งการพัฒนาระบบการเรียนการสอนแก่รุ่นถัดไปและการพัฒนาความสามารถทางวิชาชีพแพทย์ของพวกเรากันเอง ) ผมอยากให้ลงชื่อจริงพร้อมทั้งความเห็นที่กระทู้นี้หรือลงชื่อที่ป้ายประกาศที่ผมจะนำไปติดที่บอร์ดชั้นปี หลังจากนั้นทางคณะกรรมการสโมสรจะพิจารณาหาวิธีการในการรวบรวมความคิดเห็นของนักศึกษาเพื่อนำเสนอแก่คณาจารย์ที่เกี่ยวข้องในทันที
โดยส่วนตัวแล้วผมว่าปัญหาจริงๆของเรื่องนี้คือการขาด"สื่อ"ที่จะเป็นตัวเชื่อมโยงและทำให้ความเห็นของนักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่เข้าถึงอาจารย์ เพราะทั้งนักศึกษาแพทย์และอาจารย์ เราต่างก็มีจุดประสงค์ร่วมกันคือ อยากให้สงขลานครินทร์ผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพดีที่สุดออกสู่สังคม






Posted by : สโมสรนักศึกษา , Date : 2005-05-14 , Time : 03:13:43 , From IP : 172.29.4.132

ความคิดเห็นที่ : 20


   -เพราะมีชีวิต จึงได้เจอปัญหา ดังนั้นความสามารถที่ควรมีในตัวของเราทุกคนระหว่างที่กำลังมีชีวิตก็คือ "ความสามารถในการแก้ปัญหา"
-การสร้าง "ความสามารถในการแก้ปัญหา" ให้มีขึ้นในตัวเรานั้น วิธีที่ผมคิดว่าดีที่สุดคือการได้เจอปัญหา ผมเองไม่ชอบปัญหาเหมือนกัน ดังนั้นเมื่อเจอมันผมอาจต้องย้อมใจตัวเองโดยการบอกตัวเองว่า "ปัญหามาปัญญามี ถ้าหนีปัญหาปัญญาก็ไม่ก่อเกิด" แค่นี้ผมก็ฮึกเฮิมพร้อมจะเข้าไปลุยกับปัญหา เมื่อไปลุยกับมันเราก็จะได้ "ทักษะในการแก้ปัญหา" ติดตัวมา
-"ทักษะในการแก้ปัญหา" นั้นผมคิดว่าคงสามารถเกิดขึ้นได้ในตัวเราโดยการฟังlecture ทักษะ=skill ถ้าไม่ลองทำก็ไม่ก่อเกิด ขออนุญาตยกตัวอย่าง อายุรแพทย์คงผ่าตัดไส้ติ่งไม่ชำนาญเท่าศัลยแพทย์ ในขณะที่ศัลยแพทย์อ่านEKGไม่ชำนาญเท่า ศัลยแพทย์ใส่เฝือกไม่ชำนาญเท่าหมอกระดูกและข้อ ในขณะที่หมอกระดูกและข้อแก้ปัญหาhypovolecmic shockได้ไม่ดีเท่า เป็นต้น
-ถ้าคิดว่า "การจะจบไปเป็นแพทย์ที่ดี มีความรู้ความสามารถ" คือปัญหา ท่านจะทำอย่างไร
-นศพ. มาจากคนธรรมดา ผมคิดว่าหน้าที่ของ"รุ่นพี่หมอ"และ"อาจารย์หมอ"คือ สอนให้คนธรรมดากลายเป็นแพทย์ที่ดี มีความรู้ความสามารถ ถ้าคน 2 กลุ่มนี้ไม่สอนน้องแล้ว คิดว่าใครจะเป็นคนสอน ใครจะเป็นคนบอกว่าอย่างนี้ถูกต้อง อย่างนั้นไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม
-สุดท้าย "ถ้าคนธรรมดาต้องการเป็นหมอ และบุคคล 2 กลุ่มข้างต้นไม่สอน คนธรรมดาเหล่านั้นควรทำอย่างไร" "จะทิ้งฝัน"ของตัวเองเพียงเพราะใครบางคนมั๊ย จะทำอย่างไรดีถ้าสิ่งที่เราอยากมี อยากรู้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อน ไม่มีรุ่นพี่ ไม่มีอาจารย์ เราจะทิ้งความอยากรู้ในสิ่งนั้นหรือไม่



Posted by : megumi , Date : 2005-05-14 , Time : 04:59:57 , From IP : 172.29.7.24

ความคิดเห็นที่ : 21


   ขอแก้ไขความเห็นข้างบน ตรงข้อความเรื่องทักษะในการแก้ปัญหา ผมพิมพ์ตกคำว่า "ไม่" ข้อความที่ผมอยากเขียนคือ ทักษะในการแก้ปัญหานั้น ผมคิดว่าคงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในตัวเราโดยการฟังlecture



Posted by : megumi , Date : 2005-05-14 , Time : 05:07:23 , From IP : 172.29.7.24

ความคิดเห็นที่ : 22


   competency ด้าน clinical skill จะเกิดขึ้นได้นักศึกษาแพทย์ต้องมีความรู้ (Factual knowledge) และต้องผ่านการฝึกฝน ผมคิดว่านักศึกษาอาจจะกังวลไปว่าตัวเองยังไม่สามารถจะสั่งการรักษาได้ กลัวว่าจะดูแลคนไข้ต่อไปในอนาคตไม่ได้ ไม่ต้องกังวลในประเด็นนี้เพราะไม่มีใครที่สามารถจะเข้าใจการสั่ง fluid electrolyte ได้ในวันเดียว ต้องผ่านการฝึกฝน ในการเรียนระบบดั้งเดิม แม้กระทั่งเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 เมื่อไปปฏิบัติงานรพ.สมทบ ก็ยังไม่สามารถทำได้(ในบางคนและเป็นส่วนใหญ่) มักจะได้รับการfeedback จากอาจารย์รพ.สมทบเสมอ ผมคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่จะไม่สามารถทำได้ทันที นักศึกษาต้องได้รับการสอนในภาคปฏิบัติการปฏิบัติจริง เทคนิคต่างๆ ซึ่งกว่าจะมาถึงขั้นตอนนี้นักศึกษาต้องมีความรู้พืนฐานก่อน การมีความรู้พื้นฐานไม่ได้รับประกันว่าจะสามารถสั่งการรักษาได้ นักศึกาษาต้องเรียนรู้และใฝ่หาความรู้ด้านนี้ก่อน นศพ.บางคนที่มีศักยภาพสูงบางคนอาจจะผ่านขั้นตอนนี้และสามารถเรียนรู้เทคนิคขั้นต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่มักจะได้รับการเรียนรู้ต่อตอน ปี 6 ในปี 5 อาจจะได้ทำตัวอย่าง แต่ผมคิดว่านักศึกษาก็ยังไม่เข้าใจได้ถ่องแท้ คงต้องใช้เวลา และผ่านไปหลายภาควิชาจะสร้างเสริมประสบการณ์เพิ่มขึ้นและเรียนรู้เทคนิคมากขึ้น การที่จะให้ครูผู้สอน หรือพี่สอนเทคนิคเลยสามารถทำได้ แต่นักศึกษาต้องมีพื้นฐานสำคัญมาก่อน ไม่ใช่ข้ามขั้นตอน นักศึกษารุ่นก่อนๆหลายคนสั่งการรักษาได้ แต่ไม่เข้าใจพื้นฐานเพราะจำแต่เทคนิคการสั่งอย่างรวดเร็ว หากมีการประยุกต์ก็ไม่สามารถทำได้ ผมคิดว่า เราอาจจะตั้งวัตถุประสงค์ที่สูงเกินไป ทำให้เราไม่มั่นใจในการดูแลรักษาอย่าลืมว่าหลักสูตรต้องจบหมดใน 6 ปี แล้วนักศึกษาค่อยย้อนกลับมาคิดอีกครั้ง (ไม่ต้องกลัวว่าจะสายเกินไป) สำหรับเรื่อง anatomy ที่ไม่เคยเรียนในบางเรื่อง นักศึกษายังสามารถกลับมาทบทวนหรือเรียนใหม่ได้ การเรียน anatomy ไม่ได้จบอยู่ที่ชั้นปรีคลินิก นักศึกษายังจำเป็นต้องกลับมาทบทวนอีก case ปัญหาผู้ป่วยไม่ว่าจะอยู่ ward ไหนนักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ และปรึกษาอาจารย์ได้ เราไม่เคยห้ามให้นักศึกษาเรียน ปัญหาอยู่ที่มี case ให้เรียนแต่นักศึกษา(ส่วนใหญ่) ไม่สนใจที่จะเรียนมากกว่า ปีนี้เป็นปีที่นักศึกษาเรียกร้องขอดูคนไข้มาก ต้องขอชื่นชมและขอให้ศึกษาผู้ป่วยให้มาก ประสบการณ์ที่มากร่วมกับ การศึกษาด้วยตนเอง พบ resource person จะช่วยให้นักศึกษาประสบผลสำเร็จ ขอเป็นกำลังใจให้นักศึกษาทุกคน และขอให้มั่นใจว่าอาจารย์ทุกท่านยินดีที่จะช่วยเหลือนักศึกษา

Posted by : อาจารย์ท่านหนึ่ง , Date : 2005-05-14 , Time : 09:09:29 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 23


   ผมขออนุญาต share ความเห็นเรื่องเทคนิกการเรียนอีกสักนิดก็แล้วกันนะครับ

ถ้าพูดถึง subject หรือ project ในการเรียนแต่ละ case แตละวิชา มีแค่สองอย่างใหญ่ๆเท่านั้นคือ assignment กับ self-directed ซึ่งใน "ทุกระบบการเรียน" โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนแพทย์นั้น ต้อง ใช้ทั้งสองอย่างควบคู่กันเสมอ แม้แต่ในระบบเก่าที่ lecture กระหน่ำ การเรียนนั้น นศพ. จะพบว่าไม่ได้สิ้นสุดเมื่อ lecture จบ แต่ยังต้องเฝ้า ward เฝ้า ER กลับไปอ่านหนังสืออีกมากมาย ปรกฏว่า lecture มากเกินไปจนสมองบวม ประสิทธิภาพในการที่จะ "เรียนเอง" ต่อมันลดน้อยลงหรือหายไปหมด ตรงนี้เองที่ทำให้เกิดการคิดว่าจุดไหนคือ "สมดุล"

"วิชาชีพ" นั้นต้องการทั้งความรู้ ความชำนาญ ในสัดส่วนที่ใกล้กันมากเลยครับ ถ้าเน้นความรู้มากเกินไป เวลาที่จะหาความชำนาญก็จะลดลง ผมสังเกตปัญหาที่น้องยกขึ้นมานั้น ไม่ใช่ "ไม่ทราบ" ว่าจะทำอย่างไร แต่เป็น ไม่มั่นใจว่าทำถูก" หรือไม่ นั่นเป็น defect ด้าน skill

เวลาเรียนบนหอผู้ป่วยนั้น แต่ละ case ที่เรารับ จะต้องพยายาม generalize ออกไปใหเกว้างที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เช่น มีคนไข้ไตวายสักคน จากการรับดูแลคนไข้รายนี้ลองถามตัวเองว่าถ้าไตวายมาแบบอื่นๆ หรือคนไข้คนนี้จะมา manifest แบบอื่นๆแล้วเราจะทำอย่างไร ถ้าทำอย่างนี้ได้น้องจึงเรียกว่า "เรียนจบ" case นี้ไปแล้ว ค่อยไปหา case อื่นๆต่อไป ทีนี้ตามเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภานั้น จะพบว่ามันมีปริมาณ case ไม่น้อยก็จริง แต่ "ประเด็นหลัก" นั้นต่างหากที่เราจะ "ต้องรู้" และหาจุดร่วม หรือ general point, general manifestation, general approach ขึ้นมาให้ได้

ถ้าพวกเรายังเคยชินกับการที่จะทำงานโดย assignment ลองทำอย่างที่คุณ pisces แนะนำคือ ถ้าน้องมีเวลา "เหลือ" จากการเรียนรู้จบหมดครบทุกกระบวนความของ case ที่น้องได้รับ assigned แล้ว ก็ตามไปศึกษา case ต่อๆไปที่ไม่ได้ assigned ให้เรา ward นึงมีประมาณ 40 เตียง ถ้าน้องเรียนจริงๆอย่างถ่องแท้ได้สัก 20 ก็นับว่าได้ใช้เวลาเต็มที่แล้วครับ ข้อสำคัญคือลอง explore ว่าเราได้ "รู้จริง" ใน case ของเราเองแล้วจริงหรือไม่

psychomotor เป็นอะไรที่ต้องสะสมเองครับ และนิยามของ expert นั้น คือความต่างที่เขามี larger and stable pool of examples (McMaster) เขาจึงเอา clinical data ข้างหน้าที่จำเป็นทั้งหมดมาตัดสินเข้ากับ medical contents ได้อย่างรวดเร็ว นักเรียนแพทย์ดูพี่ๆเขาสั้ง IV สั่ง order อย่างรวดเร็ว ดูง่ายๆนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจาก lectures หรอกครับ เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ว่าสั่งแล้วดี สั่งแล้วถูกต้อง สั่งแล้วคนไข้หาย

ทีมีคนถามว่าแล้วจบปีสี่ ปีห้ารู้อะไรบ้างนั้น สิ่งที่น้องจำเป็นจะต้องรู้ทั้งหมดอยู่ในวัตถุประสงค์การเรียนที่อยู่ในคู่มือของแต่ละ block ครับ ถ้าเปิดดูแล้วคู่มือบอกว่าอะไรก็ใช่เลย ไม่มี lecture ก็ต้องทราบ หรือควรทราบ เพราะว่า lecture จะไม่มีวัน cover เรื่องทั้งหมดแน่นอน แล้วส่วนที่ cover ก็จะพูดถึงแก่นแต่ไม่ได้พูดในรายละเอียดด้วย อีกวิธีหนึ่งก็คือลองหาเพื่อนคนที่พอเรียนได้ในการเรียนแบบนี้ว่าเขามีเคล็ดลับอะไร เขารู้สึกว่าเรียนน้อยได้ ได้คนไข้น้อยไปรึเปล่า ตรงนี้มันมีหลายความหมายออกมาใช่ไหมครับ ถ้ากลุ่มนึงรู้สึกว่ารับคนไข้น้อยไป อีกกลุ่มนึงรู้สึกฉันเรียนเยอะไป อีกกลุ่มนึงรู้สึกได้พอดีๆ มันคงจะมีเหตุผลที่มาที่คิดไม่เหมือนกัน เอามาอภิปรายโดยรวมผ่านทางชั้นปี หรือทางสโมสรนักศึกษาก็ได้ เรียรู้จากเพื่อนๆก็น่าจะเป็นอีกวิธีนึงที่ทำให้การเรียนเราหลากหลายและจะง่ายกว่าหรือเปล่าก็แล้วแต่
















..................


Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-14 , Time : 10:17:17 , From IP : 172.29.7.134

61.19.152.110 ] Email : ussw@hotmail.com วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2548--[ เวลา 16:01:22 น. ] " />
ความคิดเห็นที่ : 24


   สวัสดีน้องน้อง อนาคต นศพ. ม.อ. ทุกท่าน เตรียมรับความสุขได้เต็มที่ได้ที่นี่ ที่เดียว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
พี่เป็น นศพ.ที่กำลังจะขึ้นปีที่ 2 จะมาบรรยายความสุขที่ผ่านมา 1 ปีเต็มให้กับน้อง ๆ ที่กำลังจะเข้ามาศึกษาและอยากให้น้องๆ ที่กำลังวางแผนจะเรียนแพทย์ได้เลือก ม.อ. เป็นทางเลือกหนึ่ง
อีกไม่กี่วันก็จะเปิดเทอมแล้ว น้องน้องก็จะได้เป็น "ลูกพระบิดา" เต็มตัวซักที เมื่อน้องมาอยู่ ม.อ. น้องก็จะได้พบกับสภาพของธรรมชาติที่หาได้ยากที่ กทม. ก็เพราะว่า ม.อ. หาดใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณเขาคอหงส์ไง มีต้นไม้มากมาย และน้องไม่ต้องกลัวว่าจะบ้านนอกนะครับ เพราะว่าหาดใหญ่ได้ชื่อว่า "เมืองหลวงของภาคใต้เลยล่ะ" คิดดูดิมี tesco lotus อยู่ตรงข้ามกับโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (หน้ามอนั่นแหละครับ) ถ้าเบื่อ lotus ก็ยังมี macro bic c คาร์ฟูล(อันนี้เขียนภาษาอังกฤษไม่เป็น) ส่วนในตัวเมืองก็มีห้างแบบเดิน shop ได้สบาย เช่น ลีการ์เดน เซ็นทรัล หาดใหญ่ ฯลฯ ตอนกลางคืนนิยมกินน้ำชากัน ในร้านน้ำชาก็จะมีเครื่องดื่มมากมายให้เลือก มีโรตีหลายแบบ มีขนมปัง ส้มตำ(มาได้ไงก็ไม่รู้แต่คนอีสานเพื่อนพี่ชอบมาก) มีสถานบันเทิง (พี่รอให้ครบ 20 อยู่)
มาดูกิจกรรมกันดีกว่า กิจกรรมส่วนใหญ่ก็จะเป็นนอนอยู่กับหอ (อันนี้ของพี่) เริ่มติงต๋องซะแล้ว มีกีฬาหลายอย่างมาก เช่น กีฬา freshy เข้ามาเจอเลย กีฬา 12 คณะ (สุดยอดความอลังการ ที่นี้จะจัดตอนกลางคืน เล่นแสงสีกันมันมาก) กีฬาภายในคณะ กีฬาสายการแพทย์ กีฬาหมอฟันหมอ(อย่าคิดมากนะ หมายถึง แพทย์-ทันตแพทย์น่ะ เดี๋ยวกะทู้โดนแบน) ในฐานะที่เราเป็นนักศึกษาแพทย์ก็ต้องเป็นนักบำเพ็ญประโยชน์และผู้เสียสละด้วย มีค่ายมหิดล ที่จะให้เราทำงานร่วมกันระหว่าง แพทย์ พยาบาล ทันตะ เภสัช ในการให้คำแนะนำกับชาวบ้าน พัฒนาชุมชน มีค่ายอาสา ที่จะไปพัฒนาชุมชน สร้าง ร.ร. สร้างห้องสมุด ตรวจโรคที่ง่าย ๆ ให้ความรู้ อีกทั้งยังมีกิจกรรมกับเด็กกำพร้า คนชราอีกด้วย ส่วนใครที่เป็นนักพัฒนาก็สามารถช่วยงานสโมสรนักศึกษาได้อย่างเต็มที่ มีชมรมทั้งในคณะและนอกคณะ เอาไว้แค่นี้แล้วกัน จริงจริงมีอีกเยอะมาก เอาไว้ให้น้องลองมาสัมผัสกันเองละกัน โดยเฉพาะกิจกรรมรับน้อง ประชุมเชียร์ (ไม่โหดหรอก ไม่อันตราย มีแต่ความสนุกสนาน)
เอาพูดเรื่องสนุกสนานแล้วก็มาเรื่องการเรียนกันบ้าง(สาระเอาไว้สุดท้าย) ปี 1 ที่ผ่านมาก็ผ่านไปเร็วเหมือนฟ้าแล็บ เกรดออกมาเหมือนโดนฟ้าผ่า อย่าตกใจไปนะพี่ล้อเล่นน่ะ พวกเราจะช่วยกันเรียนเสมอมีการติวโดยผู้เชี่ยวชาญระดับโอลิมปิก ในเทอมแรกก็จะเรียน pure sciene calculus สังคม eng เป็นการปรับพื้นฐานของพวกเราให้เท่ากัน ส่วนเทอมสองส่วนใหญ่จะเป็นพวกทักษะและวิชาบูรณาการซะมากกว่าซึ่งพี่คิดว่ามีประโยชน์ต่อเรามากมาก เช่น computer(เรียนพื้นฐาน พวก microsoft เป็นส่วนใหญ่) communication skills(ทักษะการสื่อสาร ได้ไปคุยกับผู้ป่วยด้วยล่ะ สังเกตการณ์ทำงานของแพทย์) biostatistic(สถิติประยุกต์ทางการแพทย์) behavioral science (พฤติกรรมศาสตร์) English (ขาดไม่ได้เลย) นอกจากนี้ทางคณะก็ยังเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนพรีคลินิกด้วย เพราะระบบการเรียนของเราจะเน้นการ SDL (เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งจะต้องใช้ตลอดชีวิต) มีการจัดการเรียนการสอนแบบ block (คณะแพทย์ส่วนใหญ่ใช้ระบบนี้) แต่ที่เด็ดเด็ดเป็นความภูมิใจของเราก็คือการเรียนแบบ PBL(Problem Base Learning) ซึ่ง ม.อ. ใช้มากว่า 7 ปี และได้ชื่อว่า "เป็นผู้นำของ PBL" ซึ่งปีหน้าพี่ก็จะได้ใช้อย่างเต็มรูปแบบ
ทีเด็ดอีกอันหนึ่งก็คือ เมื่อขึ้นปี 2 พวกเราจะได้รับ notebook จากทางคณะซึ่งจะให้เช่าในราคาถูก ซึ่งที่ ม.อ. เป็นคณะแพทย์แห่งแรกที่ได้นำ notebook ให้กับนักศึกษาแพทย์ทุกคน ซึ่งพี่คิดว่า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่เคยหยุดนิ่ง พัฒนาการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ และเป็นผู้บุกเบิก ริเริ่มที่จะทำหลายหลายอย่างเพื่อพวกเรา ต้องขอขอบคุณทางคณะที่ให้ดูแลพวกเราเป็นอย่างดี
รู้สึกเมื่อยนิ้วแล้ว เอาอย่างนี้แล้วกัน ไว้ว่างๆ พี่จะมาเล่าเรื่องให้น้องน้องได้อ่านกันอีก วันนี้ขอไปนอนก่อนล่ะกัน (ขี้เกียจอีกแล้ว) บายบาย
รัก ม.อ.
นักศึกษาแพทย์ รุ่นที่ 32 (Med32PSU)

สอบถามข้อมูลจากพี่พี่ได้ที่เวปบอร์ด http://www.med32psu.cjb.net
จาก : นักศึกษาแพทย์ ม.อ. [ IP : 192.168.100.4=>61.19.152.110 ] Email : ussw@hotmail.com
วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2548--[ เวลา 16:01:22 น. ]




Posted by : dddd , Date : 2005-05-14 , Time : 10:47:20 , From IP : 172.29.1.112

ความคิดเห็นที่ : 25


   เราอยู่ loop ที่ขึ้นเด็ก-สูติก่อน อยากจะให้กำลังใจเพื่อน ๆ ที่ขึ้นหวอดอื่น ๆ ที่อาจจะรู้สึกน้อยใจที่เรียกร้องให้แก้ไขปัญหาที่ตนเองเจอแล้วไม่ได้รับการแก้ไข เช่น
เมด ที่ไม่ว่าจะเรียกร้องอะไรไปก็ไม่เห็นมีอะไรแตกต่างจากเดิม อันนั้นเราไม่อยากจะไปวิจารณ์
แต่หวอดสูติ-เด็ก ที่นี่ดีมาก ตั้งแต่ผู้บริหาร คณะกรรมการบล็อก อาจารย์ที่เป็นคนดูแล อาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละกลุ่ม จนไปถึงพี่ ๆ ธุรการที่ดูแลพวกเราอยู่ ทุกคนรับฟังปัญหาพวกเรา และพยายามแก้ไขให้ถ้าทำได้ comment อะไรไปก็รับรู้และไม่มีข้อแก้ตัวที่พูดแบบขอไปที มีการเพิ่ม lecture ให้ทุกปี ถ้าประเมินออกมาแล้วพบว่า เรื่องนั้นมันยากเกินว่าที่พวกเราจะ SDL กันเอง
อยากบอกเพื่อน ๆ ว่าระบบเรียนของเรามันไม่ได้อยู่ที่นโยบายของคณะอย่างเดียว มันอยู่ที่ภาควิชาด้วยว่าสนใจพวกเรามากหรือน้อยแค่ไหน ใช่มั๊ยครับ med ?


Posted by : ปี 5 , Date : 2005-05-14 , Time : 11:28:21 , From IP : 172.29.4.234

ความคิดเห็นที่ : 26


   เมื่อแรกเริ่มที่หนูก้าวเข้ามาในการเป็นนักศึกษาแพทย์ หนูเคยหวังว่าหนูอยากเป็นหมอที่เก่งคนหนึ่ง รักษาคนไข้ได้ครอบคลุม ตรวจคนไข้ได้แม่นยำ สามารถทำให้เขาหายจากความเจ็บป่วย กลับบ้านไปพร้อมรอยยิ้ม มีความสุข
พอเริ่มเรียนไปก็ได้รู้มาว่าที่นี่เขาเน้นการเรียนแบบ SDL เป็นหลัก หนูก็พยายามตั้งใจนะคะ เเม้จะมีการถูกกะแหนะกะแหนอยู่เสมอว่าพวกเราเป็นรุ่นต้องเรียนด้วยตนเองนี่หน่า ไม่ต้องสอนมากหรอก ความรู้เลยเป็นท่อนๆ ต่อนๆ อ่ะคะ บางเรื่องมันเป็นเรื่องยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจด้วยตนเองจริงๆคะ มีคนบอกว่าความรู้preclinic บางครั้งก็มากเกินไป เรียนไปเเล้วเดี่ยวก็ลืม....หนูก็พยายามเรียนเท่าที่ได้ คิดว่าขึ้นชั้นคลินิกคงพยายามใหม่อีกที เติมให้เต็ม
พอขึ้นชั้นคลินิก เวลาในการอ่านหนังสือก็มีน้อยลง พวกเราต้องสนใจกับการพัฒนาเครื่องมือในการเป็นหมอ เรื่องซักประวัติ ตรวจร่างกาย การประยุกตฺใช้ความรู้ที่เคยเรียนซึ่งก็มากมายอยู่แล้ว แล้วยังต้องมีเรื่องใหม่ๆที่ต้องเรียนเพิ่มเติมอีก บางเรื่องไม่มีการสอน ให้ SDL เองบางเรื่อง
เข้าใจยาก บางเรื่องอ่านอยู่นานก็ไม่เข้าใจสักที บางเรื่องก็สักแต่ท่องๆไปก่อน เพราะไม่มีเวลามานั่งทำความเข้าใจแล้ว จะลงกองแล้วเขาบอกต้องทำอันนี้ให้ได้นะ แต่เวลามีพี่ๆ อาจาย์ถามว่าทำไม คิดยังไง ยิ่งพื้นฐานลึกๆ ยิ่งไม่รู้คะ รู้สึกเสียใจ แต่จะไปนั่งอ่านเรื่องนั้นให้ละเอียดก็ไม่ทันแล้ว เพราะเริ่มอ่านจากพื้นฐานที่ไม่แน่น
ได้ยินคนพูดเสมอว่าการเรียนนั้นเป็น life-long learning คะ หนูตระหนักดี แต่เนื้อหาแพทย์มีเยอะมาก และที่สำคัญเราต้องนำไปใช้ในอนาคตอันใกล้นี้คะ
ถ้าให้เราอ่านคลำทางเอาเอง คงจะต้องใช้เวลานานกว่าพวกเราจะเป้นหมอที่ดูแลคนไข้ได้ดี
ตอนนี้ความมุ่งหวังของหนูเปลี่ยนไปแล้วคะ จากที่เคยตั้งใจว่าจะเป็นหมอที่เก่งรักษาโรคยากๆได้ รู้เรื่องต่างๆได้ดี
มันหายไปแล้ว สื่งที่ตั้งใจไว้ตอนนี้คือ ขอรักษาให้คนไข้รอดชีวิตไว้ก่อนนะ ส่วน diagnosis และรายละเอียดน่ะ ค่อย refer ส่ง staff รักษาต่อไปแล้วกัน ..........
เลยถ้าเป็นไปได้อยากให้มีการ breif เนื้อหาประเด็นหลักในเรื่อง SDL ที่ควรรู้คร่าวๆให้ด้วยนะคะ พวกเราจะได้ไม่หลงประเด็นเวลาอ่านหนังสือน่ะคะ
ขอบคุณคะ


Posted by : ปี 5 คนหนึ่ง , Date : 2005-05-14 , Time : 12:48:47 , From IP : 172.29.4.187

ความคิดเห็นที่ : 27


   พวกหนูไม่ได้ขี้เกียจนะคะ เพียงแค่ขาดโอกาสการเรียนรู้
หากเห็นว่าสิ่งที่ปรับเปลี่ยนให้รุ่นน้องเป็นสิ่งที่ดี ทำไมพวกหนูถึงไม่สมควรได้รับโอกาสนั้นๆ บ้าง
หรือว่าสายเกินแก้แล้ว
ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ได้โปรดอย่าเปรียบเทียบรุ่นหนูกับรุ่นน้องเลยค่ะ มันค่อนข้างทำร้ายจิตใจมาก ถ้าให้ได้ไม่เท่ากันแล้วก็อย่าถึงกับทำให้หมดกำลังใจเรียนกันเลยนะคะ


Posted by : med 29 , Date : 2005-05-14 , Time : 13:16:08 , From IP : 172.29.4.44

ความคิดเห็นที่ : 28


   "หมอที่เก่ง" นั้นสร้างไม่ได้หรอกครับ แต่เกิดขึ้นมาจากตัวหมอเอง

ผมอยากจะขอให้คุณ "ปี 5 คนหนึ่ง" ยังคงความตั้งใจไว้เหมือนเดิมครับ แต่อาจจะต้องเปลี่ยน strategy นิดหน่อย ลองเอา "วัตถุประสงค์" เดิมที่ได้ตั้งไว้คือ รักษาคนไข้ได้ครอบคลุม ตรวจคนไข้ได้แม่นยำ สามารถทำให้เขาหายจากความเจ็บป่วย กลับบ้านไปพร้อมรอยยิ้ม มีความสุข เป็นเป้าหมายในการรับคนไข้เป็นรายๆ ที่เราได้รับ assignment ผมคิดว่าถ้าทำอย่างนี้ได้สม่ำเสมอทุกๆ block น้องจะประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้ "ไม่ว่าจะเรียนในระบบไหน" ก็ตาม

แผนที่ว่าต้องรู้อะไรบ้างนั้น ใช้เกณฑ์มาตรฐานแพทยสภาปี 2545 หรือ learning objectives ที่ปรกกฏในคู่มือนักศึกษาแต่ละ block ครับ พัฒนาการบางอย่างน้องจำเป็นต้อง integrate ให้ได้หลายอย่างพร้อมๆกัน อาทิ การซักประวัติตรวจร่างกายนั้น เมื่อน้องขึ้น clinic เราก็คงจะต้องเอา disease-oriented มาเสริม ไม่ได้ซักตาม generic เหมือนเดิมทุกครั้ง แต่จะมีเป้าหมายที่จะค้นหาวินิจฉัยและ plan of treatment ไปพร้อมๆกัน และที่แน่ๆก็คือ skill ต่างๆเหล่านี้ป็นสิ่งที่ต้องทำเอง (self-directed) ทั้งสิ้น ถ้าเวลาที่จะทำ self-directed ยิ่งน้อยลงไปเท่าไหร่ เวลาที่น้องจะเกิดความชำนาญจะยิ่งลดลงไปเท่านั้น

สิ่งหนึ่งที่บัณฑฺตระดับอุดมศึกษาต้องพัฒนามาให้ได้คือการเข้าใจถึงเป้าหมายของตนเองครับ เพราะหนึ่งในคุณสมบัติบัณฑิตคือ "ความรับผิดต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม" นั้น การที่เราจะต้องออกแบบวิธีการเรียนตามเป้าให้ได้ ให้เหมาะกัยตนเองให้ได้ ใน resource เท่าที่สังคมเอื้ออำนวยให้นั้นสำคัญมาก เมื่อน้องจบออกไปยิ่งต้องปรับตนเองให้เข้ากับ resources ที่มีต่อไปอีก ปรับตัวให้เข้ากับตัวบทกฏหมาย ให้เข้ากับการเรียกร้องต้องการของคนไข้อีกร้อยพ่อพันแม่โดยตรง

"โอกาสแห่งการเรียนรู้" นั้นนอนรออยู่บนหอผู้ป่วยเต็มไปหมดครับ เวลาครึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งชั่วโมงบางทีถ้าน้องเฝ้า ward ก้อาจจะได้เห็นได้ดูการ resuscitate การทำ cutdown การใส่ icd บน ward ได้หลาย cases เปรียบเทียบกัน้องก็อาจจะได้เข้ามาแสดงออกบนกระดานข่าวนี้ได้หนึ่งกระทู้ นี่ก็เป็นการจัดสรรเวลาของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน แต่ละคนก็จะ "ได้" จากกิจกรรมที่เราเลือกที่จะทำเองไม่เท่ากันครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-14 , Time : 15:32:38 , From IP : 172.29.7.188

ความคิดเห็นที่ : 29


    สวัสดีค่ะ หลังจากที่นั่งอ่านกระทู้นี้มานานพอสมควร ก็ได้รับทราบความคิดเห็นจากหลาย ๆ คน ทั้งเพื่อน ๆที่รู้สึกน้อยใจ และอาจารย์ พี่ ๆ หลายท่านที่มาแสดงความเห็น จึงอยากมาร่วมด้วยค่ะ

สำหรับเพื่อน ๆที่น้อยอกน้อยใจกับการเปรียบเทียบกับรุ่นน้อง ก็จริงที่ว่าสิ่งที่เราได้รับและสิ่งที่น้องได้รับอาจไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความแตกต่างกันบ้าง ซึ่งก็จริงอีกว่าไม่ควรเปรียบเทียบกัน แต่ก็ไม่อยากให้เพื่อน ๆ เกิด ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ และเสียกำลังใจ แต่อยากให้เปลี่ยนจากความรู้สึกนั้นเป็นแรงบันดาลใจให้ฮึดสู้ต่อไป ในการพัฒนาตนเองเพื่อการเป็นแพทย์ที่ดีตามความตั้งใจของหลาย ๆคน แต่การตั้งใจของพวกเราก็อยากจะให้มีอาจารย์ช่วยสนับสนุนด้วยนะคะ เห็นด้วยกับคุณฟินิกส์ที่ว่าlecture และ SDL ต่างก็มีความสำคัญทั้งคู่ การเรียน lecture โดยอาจารย์มาสอน ทำให้เรารู้เนื้อหา ขอบเขต และสามารถทำความเข้าใจกับมันได้ดีขึ้นเมื่อไปอ่านเพิ่มเติมในชั่วโมง SDL หรือนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยบนวอร์ด แต่การอยู่ปฏิบัติงานบนวอร์ดก็ทำให้เรามีความรู้สึกสนุก และอยากรู้อยากเห็น อยากกลับไปอ่านเนื้อหาที่เกี่ยวกับคนไข้ของเราเช่นเดียวกัน
จึงมีความเห็นว่าก่อนที่จะไปศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวเองนั้น น่าจะมีอาจารย์ช่วยสอนพื้นฐานที่สำคัญก่อน เพื่อนำไปต่อยอดด้วยตนเองอย่างถูกทาง ไม่เข้าใจผิดในเรื่องที่สำคัญ เช่น พื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยทั่วไป การให้สารน้ำ การใช้ยา antibiotics ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีเนื้อหามากและยากต่อการทำความเข้าใจ หากมีคนที่มีประสบการณ์มาชี้แนะอธิบายพื้นฐานทั่วไปแล้ว เราจะได้นำไปฝึกปฏิบัติได้ และประหยัดเวลาในการศึกษาเรื่องอื่นๆที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยต่อไป ( เรี่องที่ควรให้ SDL ควรเป็นเรื่องปลีกย่อยเหล่านี้ )

หนูมีความรู้สึกดี ๆ และชอบระบบ วัฒนธรรมที่ดีในการเรียนแพทย์ที่มีอาจารย์และรุ่นพี่ช่วยกันสอน ถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ก่อให้เกิดความอบอุ่น ความพึ่งพาอาศัย ช่วยเหลือกันและกัน และเกิดความเคารพต่อผู้ที่อาวุโสและมีประสบการณ์มากกว่า การเรียนการสอนบนวอร์ดจึงควรมีจำนวนเด็กและอาจารย์ รุ่นพี่ที่เหมาะสมไม่มากเกินไป ทำให้เรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ เกิดความใกล้ชิด สนิทสนมและมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างศิษย์-อาจารย์ ,รุ่นพี่-รุ่นน้อง มีเวลาดูแลกันอย่างทั่วถึง ทุกคนจึงจะมีบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองได้ดี โดยไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง ยกตัวอย่างเช่นการราวน์ในกลุ่มที่มีขนาดเล็ก อาจารย์สามารถสอดส่องดูความก้าวหน้าของนศพ.ทุกคนได้ รู้ว่าใครตามเพื่อนไม่ทัน ใครมีปัญหาไม่มาร่วมกิจกรรมกลุ่ม เพื่อจะได้ตักเตือนและสอนเพิ่มเติมในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ นศพ.ก็กล้าแสดงความเห็น กล้าคิดกล้าถามมากขึ้น เพราะรู้สึกว่าตนเองก็มีความสำคัญ เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคนไข้ หนูคิดว่าการราวน์โดยมีคนเยอะเกินไปทำให้เรียนรู้ได้ไม่เต็มที่ คนไข้เพียง 20 กว่าคน พี่เพียง 1 คน กับนศพ. 15 คน ไม่ค่อยสมดุลกันเท่าไหร่ ได้เรียนรู้เคสน้อยและมีเวลาเรียนกับพี่ไม่มาก จึงอยากขอให้อย่าตัดทอนสิ่งเหล่านี้ไปจากพวกเราเลยนะคะ พวกเรามีความตั้งใจและพร้อมจะเรียนรู้กันจริง ๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ


Posted by : นศพ. ชนิกานต์ 4425015 , E-mail : (chaying015@hotmail.com) ,
Date : 2005-05-14 , Time : 18:14:34 , From IP : 172.29.4.181


ความคิดเห็นที่ : 30


   เห็นด้วยกับ อ นกไฟ นะคะ,,, น้องๆปรึกษา อ มยุรี ซิคะ อาจารย์ท่านพร้อมช่วยเหลือน้องตลอดเวลาอยู่แล้วถึงแม้งานท่านจะล้นมือ ถ้าแค่มาโพสในกระดานโดยไม่มีคนที่รับผิดชอบเข้ามาอ่านคงไม่ได้อะไรค่ะ

Posted by : พี่ของน้อง , Date : 2005-05-14 , Time : 18:45:11 , From IP : 172.29.7.193

ความคิดเห็นที่ : 31


    ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาที่สะสมมานานแล้วตั้งแต่ Pre- Clinicเป็นความอ่อนแอในพื้นฐานของ Basic science หรือว่าเป็นปัญหาที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ขึ้นชั้น Clinic ต้องขอย้อนความสักนิด สมัยที่เลือกมหาวิทยาลัย ผมไม่เชื่อว่า ผมที่ Entrance เข้ามาอาศัยชายคาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่มีวิสัยทัศน์เป็นคณะแพทย์ชั้นนำของประเทศ หลังจากที่จบออกไปจะมีความแตกต่างจากเพื่อนผมที่ไปเลือกเรียนแพทย์ที่กรุงเทพ จนผมก็รู้ว่ามันมีความแตกต่างกันจริงๆครับ เพื่อนผมมันบอกว่ามันเรียนหนักมากตั้งแต่เรียน ปี 1 ปี2 ปี3 เรียนกันทั้งวันจริงๆครับ ส่วนผม ปี 2 ปี3 Lecture เช้า 8.00น. – 9.00น. หลังจากนั้น SDL มีบางวันที่ PBL เป็นได้มั่วกันจริงๆ ครับต่างคนต่างไปอ่านมา รู้กันงูๆปลาๆ ให้มาสอนเพื่อน ผมหล่ะไม่อยากบอกเพื่อนในกลุ่มนั้นว่า ที่สอนไปนั้นเพิ่งอ่านมาเมื่อเช้าแล้วมาสอนมันตอนบ่าย แล้วมีบางส่วนที่คิดเอง วันที่มีเฉพาะ SDL มันเป็นวันที่มีความสุขสำหรับผมจริงๆ ได้อ่านหนังสือเหรอครับ เปล่า ผมเอาเวลาไปนอน กิน ดูหนัง อ่านการ์ตูน เอาไว้อ่านหนังสือ 2 ชั่วโมงก่อนนอนแค่นั้นจริงๆครับ จะว่า ไปแล้วอาจารย์ก็เตือนอยู่เสมอนะครับ ว่าวันหนึ่งเราจะสำนึกว่า เวลาที่เรียนแพทย์นั้นสั้นนิดเดียวจบออกไปจะไม่มีความรู้ให้รีบหาความรู้ไว้มากๆ จะได้เป็นที่พึ่งให้กับคนไข้ได้ ผมและเพื่อนๆทุกคนในรุ่นก็รู้นะครับ แต่ด้วยตอนนั้นเวลาว่างมีมากจริงๆครับ ไม่มีใครมาบังคับ ใครอยากนอนก็นอน อยากดูหนังก็ได้ดู ไม่มีใครมาว่ามาด่า เวลาผ่านไป ขึ้นชั้น Clinic ผลของความสบายเริ่มออกแล้วครับ ผมไม่อยากเปรียบเทียบว่า การที่มีอาจารย์มาสอน มาคอยย้ำคอยเตือน กับการอ่านหนังสือเอง มีความแตกต่างกันหรือไม่ ผมว่าทุกคนในชั้น ยินดีครับกับการให้อาจารย์มาสอน มาคอยย้ำ ดีกว่าว่างสบาย อยากอ่านตอนไหนก็อ่าน ทุกคนอยากมีความรู้มากกว่าการมานั่งๆนอนๆ ออกไปไม่ต้อง เป็นหมอ refer รักษาไม่ได้สักอย่าง ถึงเวลาหรือยังครับที่เราจะเปลี่ยน ไม่ผิดหรอกครับกับการยอมรับว่า แบบนี้ไม่เหมาะกับเรา ผิดพลาดกันได้ครับ แต่จะผิดมากครับหากรู้ว่ามันไม่เหมาะแต่ยังฝืน และผลที่ออกมามันตกอยู่กับหมอที่จบออกมาโดยไม่มีอะไรในหัว

ปัญหามันอยู่ที่ระบบของเราที่ SDL เน้นให้อ่านโดยไม่รู้พื้นฐานมาก่อนเลยครับ อย่าบอกว่า มีข้อมูลมากมายใน Internet ไม่ขวนขวายหาอ่านเอง อย่าเอาไปเปรียบเทียบกับเมืองนอกครับ ของเค้าใช้ภาษาอังกฤษกันมาตั้งแต่ยังคลานไม่ได้ ความได้เปรียบด้านภาษาของเค้ามีมากกว่าเราแน่ครับ หรือใครจะว่าไม่แตกต่าง ตำราที่เป็น standard textbook เป็นอังกฤษทั้งนั้นครับจะเอาของเค้ามาใช้ต้องดูก่อนครับว่ามันเหมาะกับเราไหม มีปัจจัยหลายอย่างที่แตกต่างกัน ชั้น Pre-Clinic สอนให้มากเถอะครับ พื้นฐานสำคัญครับ Clinic ก็สอนให้มากเถอะครับไม่มีใครอยากไป SDL เองที่หอหรอกครับถ้าอาจารย์สอน ทุกคนอยากเรียนแน่ๆครับ


ส่วนปี 5 Med 29 ผมก็เห็นด้วยครับว่า มันมีข้อเหลื่อมล้ำกันจริงๆระหว่างปี 4 กับ ปี 5 ที่ว่ามีการเปรียบเทียบถึงปี 4 ตอบได้ ปี 5 ตอบไม่ได้คงเป็นเพราะความคาดหวังที่คาดว่าปี 5 ตอบได้ แต่อาจารย์ไม่รู้หรอกครับว่า med 29 ไม่ได้เรียน Anatomy แขน ขา head and neck มาก่อน ได้มั่วกันบ้างหล่ะครับ ส่วนของ med นั้นที่แบ่งเตียงกันดูแลผู้ป่วยนั้น ตอนนี้ ปี 5 14 ชีวิตยัง round ward อายุรกรรมหญิง ซีกเดียวเหมือนกองที่ผ่านมาครับซึ่งเป็นความไม่เป็นธรรมครับหากเหตุผลที่ว่า ต้องการให้ ปี4 ปีนี้ได้เรียนรู้ให้ดีกว่ารุ่นก่อนซึ่งเป็นรุ่นไหนหละครับ ก็รุ่น med 29 ซึ่งทุกคนก็เป็น นศพ.ของคณะแพทยศาสตร์ด้วยนะครับ อยากให้คิดให้ดีก่อนที่จะเปลี่ยนด้วยครับ


Posted by : med 29 อีกคน , Date : 2005-05-14 , Time : 19:40:54 , From IP : ev1s-216-127-82-99.e

ความคิดเห็นที่ : 32


   ผมสนใจกระบวนการสรุปจากประสบการณ์ตนเองออกเป็น preference ของ "ทุกคน" นิดหน่อยครับ

"เป็นไปได้หรือไม่?" ที่คนในระบบ PBL จะเรียนได้หนักเท่าหรือหนักกว่าคนที่เรียนในระบบ lecture?
"เป็นไปได้หรือไม่?" ที่คนที่เรียนในระบบ lecture ก็เรียนๆ โดดๆ และมีปัญหาเวลาขึ้น clinic เช่นกัน?

เรียนระบบไหนก็ตาม ชีวิตการเรียนแพทย์ไม่ได้สิ้นสุดที่ 8-16 น.แน่ๆครับ ทุกคนต้องกลับหอไปอ่านเพิ่มเติมอย่างมากมาย ทุกคนต้องไปนั่งเฝ้า ward เพื่อเพิ่มพูนทักษะของตนเองอย่างหนักเวลาขึ้น clinic และที่ มอ.ใช้อนยู่นี้เราออกห่างจาก pure PBL มาเป็น hybrid system ที่มี mini-lcture, lectures เป็นจำนวนมาก ปรับตาม feedback ของรุ่นพี่ๆที่ผ่านมาแหละครับ

จากข้อมูลที่เขียนมาตอนนี้ผมคิดว่ามีผสมผสานของประเด็นที่ไม่ชัดเจน เบลอๆอยู่สองส่วน ส่วนนึงยังพูดถึงเรื่อง lectures น้อยไป ส่วนหนึ่งพูดถึงเรื่องได้รับคนไข้น้อยไป ทางที่ดีพวกน้องคุยกันให้เรียบร้อยแล้วนำเสนอความคิด และ "วิธี" ที่ชัดเจนออกมาเป็นความเห็นของชั้นปีได้หรือไม่ เพราะเราอยากจะทราบว่าที่มีปัญหาเป็นความคิดของกี่เปอร์เซนต์ ถ้าเป็นกลุ่มเล็กๆบางทีน้องอาจจะต้องการแก้ tutor group แต่ถ้าเป็นทั้งหมดเห็นว่ามีปัญหา มันก็จะมี merit ที่จะพิจารณาแก้ไขในสัดส่วนที่ไปด้วยกัน ทั้งนี้น้องคงต้องวหัดทำงานอย่างเป็นทางการ อย่างที่มีตัวแทนของกลุ่ม อย่างที่สามารถเข้าหน้ากับอาจารย์ผู้รับผิดชอบได้อย่างเปิดเผย ผมคิดว่าน้องทุกคนรู้จักอาจารย์เป็นอย่างดีพอสมควร น่าจะทราบว่าถ้าน้องพูดอะไร อาจารย์ท่านรับฟังอย่าง serious จริงจัง แต่น้องต้องทำตัว ทำพฤติกรรมให้มัน serious จริงจังด้วยนะครับ

ผมอยากจะเรียนคุณ "med29 อีกคน" ว่ายังนี้ครับ ต่อให้เป็นระบบ lecture ทังหมด ถ้าเราไม่ใส่ใจและคิดว่าเรียนแพทย์นั้นเรียนเบาๆ กลับมานอนตอนไหนก็ได้ และไม่ทำงานที่ได้รับ assigned อย่าง serious เราก็จะได้รับผลกระทบจากการปล่อยปละละเลยนั้นในที่สุด เพราะยิ่งอยู่ในชั้น clinic เราจะพบว่าเรื่องหลายๆเรื่อง
เราควรจะมีความคุ้นเคยหรือคลับคล้ายคลับคลาว่าอ่านมาแล้ว ผ่านมาแล้ว การเรียนแพทย์นั้น ต้องการความรับผิดชอบสูงซึ่งเป็นคุณสมบัติของคนที่ mature แล้ว สามารถรับผิดชอบตนเอง บังคับใจตนเองได้โดยไม่ต้องมีคนมาจิกด่าจึงขยับตัวไปทำงานหรืออ่านหนังสือ และผมการันตีได้ครับว่าถ้าใครต้องเรียนโดยมีคนหวดไม้ไล่ตลอดนั้น จะจบออกมาไม่ดีเท่าไหร่หรอกครับ ต่อให้ในระบบไหนก็ตาม เพราะ lecture นั้นมันจะลดลงเรื่อยๆตามชั้นปี เนื่องจาก clinical competency นั้นสำคัญมากกว่าเยอะในชั้น clinic เวลาส่วนใหญ่ในชั้น clinic ก็เหมือนกับชื่อแหละครับ คือเป็น clinical part เป็น clinical experience

ขอเรียนอีกครั้งว่าคนไข้ทุกคนบน ward นั้น นศพ.สามารถเรียนได้หมดครับ ดูกาละเทศะนิดหน่อย แต่ข้อมูลที่จะเสริม clinical skill นั้น เราสามารถนำมาเสริมความรู้เราได้ พี่ๆ แพทย์ใช้ทุน และอาจารย์ ถ้าน้องเข้าไปหาผมว่ามีโอกาสที่ท่านจะตอบรับสูง (ถ้าไม่ได้ไปหาตอนท่านกำลังยุ่งอยู่นะครับ)

ผมคิดว่าถ้ากลุ่มน้องมีหลายคนที่กำลังมีปัญหา รวมกันนัดไปคุยกับ อ. ประจำ block หรือ อ.มยุรีเถอะครับ ให้เกี่ยรติท่านสักนิดหน่อย หาเวลาเจออาจารย์และพูดคุยเปิดอกกัน เห็นหน้าเห็นตากัน จะเหมือนอาจารยลูกศิษย์มากขึ้น




Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-14 , Time : 20:33:30 , From IP : 172.29.7.207

ความคิดเห็นที่ : 33


   ผมคิดว่า ระบบที่จัดมาให้แบบ SDL นี่เป็นระบบที่เหมาะสมน่ะครับ กับการเรียนแพทย์ในปัจจุบัน เพราะด้วยเหตุผลหลายประการน่ะคือ
1. การเรียนแบบนี้เหมาะสำหรับความต้องการแพทย์เป็นจำนวนมาก ลดงานของอาจารย์จากการมีจำนวนนักศึกษาแพทย์เป็นจำนวนมาก
2. ส่งเสริมการค้นคว้าอย่างมาก ใช้ปัญหาจริงๆ
3. มีความเป็นอิสระสูง ในการเรียน

แต่อย่างไรก็ตามเราก็ต้องมาดูในเรื่องผลกระทบด้วยน่ะครับ ว่าจะมีอะไรบ้าง จากที่ผมได้เรียนในระบบนี้น่ะครับ ผมคิดว่ามันมีปัญหามากพอสมควร ไม่เช่นนั้นคงไม่มีคนไม่พอใจในระบบนี้ล่ะครับ ดังเช่น
1. การค้นคว้าในเรื่องที่ไม่ตรงประเด็น ทำให้เรียนรู้ไม่ถูกจุด และไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
2. การเรียนระบบนี้ทำให้ทุกคนได้เรียนรู้ไม่เท่ากัน จากการบางคนค้นคว้ามาก บางคนค้นคว้าน้อย หรือสนิทกับอาจารย์บางท่านทำให้ได้เรียนรู้มากจากอาจารย์บางท่าน
3. การใช้เวลาว่างไม่เป็นประโยชน์ เช่น ในบางกระทู้ที่ได้กล่าวมา คือ นำเวลาไปอ่านการ์ตูน หรือ นอนหลับ จากเวลาว่าง
4. การค้นคว้าที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ คือ ผมเห็นอาจารย์ก็บอกให้ไปค้นคว้า แต่ผมไม่เห็นจะมีอาจารย์คนไหน สอนวิธีให้ผมค้นคว้าเลย สรุปคือ ผมก็ค้นคว้าไม่เป็นซิครับ กว่าจะมารู้ก็สายไปแล้ว เวลาก็หายไปกับการนอนหมดแล้ว ผมก็ทำเป็นประจำครับ
5. การเรียนระบบนี้เป็นการเรียนแบบสุดโต่ง คือ คนที่เรียนได้ดีก็จะเรียนได้ดีไปเลย เพราะรู้วิธีการค้นคว้าหรือสนิทกับอาจารย์ ก็ไม่เป็นปัญหาใช่ไหมครับ แต่คนที่เรียนไม่เป็นซิครับ มีปัญหา เพราะว่าไม่รู้วิธีเรียนแบบนี้ ไม่มีคนช่วยพวกเขาเหล่านั้นเลย แล้วพวกเขาจะทำอย่างไรล่ะครับ ก็ตกซิครับ
6. ผมว่าการเรียนแพทย์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งน่ะครับ เพราะว่าเป็นการเรียนที่ต้องมีความสนิทสนมกับอาจารย์ จึงจะสามารถเรียนได้ดี ลองเอาไปเปรียบเทียบกับคณะอื่นๆ ดูซิครับ จะเห็นได้ทันทีเลยครับ ว่าพวกเราเรียนไม่เหมือนกับคณะอื่นๆ คือ คณะอื่นๆ มักเรียนแต่ Lecture และไม่ค่อยได้สนิทกับอาจารย์หรือว่ารุ่นพี่มากเท่าไร แต่ในคณะของเรา พวกเราเรียนกับอาจารย์ พาเดิน round คนไข้ กับรุ่นพี่ที่คอยมาสอนให้รุ่นน้อง ดังนั้นการเรียนแต่ lecture อย่างเดียวไม่สามารถจบมาเป็นแพทย์ได้ ถ้าไม่อย่างนั้น มศธ ก็สามารถผลิตแพทย์ได้แล้ว ถูกต้องไหมครับ โยงกลับมาเข้าเรื่องก็คือ การเรียน SDL นี้ในทางปฏิบัติ เหมือนเราฟัง Lecture ครั้งเดียวแล้วกลับไปค้นคว้าเอง ไม่เคยได้ไปดูคนไข้เลย หรือไปเดิน round กับอาจารย์เลย พบหน้าอาจารย์ก็แค่ครั้งเดียว ยิ่งไปกว่านั้น ที่เขียนในหนังสือ Block ว่าให้ไปหา Resource person ผมเห็นไม่ค่อยมีอาจารย์ว่างกันเลยน่ะ รวมทั้ง นศพ. ไม่มีความสนิทสนมกับอาจารย์เลย แล้วใครจะกล้าไปหาล่ะ (ลองคิดดูน่ะ ถ้าอยู่ปี 2 และ 3 แล้วหน้าตาอาจารย์หรือนิสัยก็ไม่เคยสัมผัส เห็นมาแต่ชื่อน่ะ จากหลังสมุด ไปถามดีไม่ดี อาจโดนให้มา SDL อีกหรือไปอ่านเอง หรืออาจารย์อธิบายแบบ Clinical term ซึ่งเด็กปี 2 และ 3 ก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง กลับมาก็เหมือนไม่ได้อะไรเลย ( เป็นเหตุผลทำให้นักศึกษาแพทย์ไม่ไปหาอาจารย์น่ะครับ ) ลองเปรียบเทียบกับที่เป็นอยู่ซิครับ เช่น อาจารย์เกษมนี่น่ะ ว่าทำไมนักศึกษาแพทย์ ชอบไปหาล่ะครับ เพราะว่าอาจารย์เค้าน่ะ แบบใจดี ซึ่งนศพ. ก็รู้อยู่แล้วว่าไปหาอาจารย์ อย่างไรก็ต้องได้ความรู้กลับมา นศพ. จึงมักไปหาอาจารย์เกษมก่อนใครไง บางครั้งต้องไปถามถึงเรื่อง Clinical ซ่ะด้วยซ้ำ



โดยสรุปน่ะครับ จากที่ผมเรียนมาน่ะครับ ผม MED 29 น่ะครับ วิธีแก้ปัญหาน่ะครับ
1. ผมว่าระบบ SDL นี้เป็นสิ่งที่ดีน่ะครับ ควรมีต่อไป เมื่อเทียบความเหมาะสมกับผลเสียน่ะครับ ทางคณะเดินมาถูกทางแล้วล่ะครับ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงในรุ่น MED 30 บางอย่าง
2. ในระบบ SDL ควรมีการจัดการที่ดีกว่านี้ เช่น
- มีช่วงเวลาให้ นศพ . ปี 2 และ 3 ได้เห็น ความรู้ในทาง Clinical บ้างที่เกี่ยวข้องกับ Preclinic ว่าตรงไหนควรได้รับความสนใจ หรือชี้แนะ และได้ทำความรู้จักกับอาจารย์บางท่านที่พูดกับ นศพ. ปี 2 และ 3 รู้เรื่องน่ะครับ ( บางทีอาจารย์ไม่ได้ตั้งใจ ผมรู้ แบบพูดแต่ให้ Resident เข้าใจเท่านั้น ) อย่างน้อยสักสัปดาห์ละครั้งก็ยังดี ถ้า นศพ.ไม่เข้าใจตรงไหนก็สามารถไปถามอาจารย์ได้ ( ได้สนิทกับอาจารย์ด้วย ผมว่าอาจารย์ก็อยากสอนน่ะครับ ) แก้ปัญหาข้อ 1 ,3 ,4, 6

3. มีการเพิ่ม intensive course ในทุกๆ ชั้นปี ว่าในชั้นปีนี้ควรรู้อะไรบ้าง อย่างน้อยก็สัก 2-3 วันน่ะ ครับ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาข้อ 1 2 3 และ 5 6 ที่ได้กล่าวไว้ครับ


ในเรื่อง Preclinic ระบบ SDL ขอแค่นี้ก่อนน่ะครับ





Posted by : เด็กจุดจุด , Date : 2005-05-15 , Time : 01:52:01 , From IP : 172.29.4.125

ความคิดเห็นที่ : 34


   ปัญหา MED29 น่ะ ผมขอแสดงความคิดเห็นดังนี้น่ะ
มันเป็นเรื่องต่อเนื่องจากกระทู้ที่ผมโพสไว้แล้ว เพราะว่ารุ่นผมได้เรียนในระบบ SDL มาและไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในรุ่นผม ข้อเสียที่ได้โพสไว้ก็ได้ตกอยู่ในรุ่นของผม มันเหมือนกับการใช้ยาตัวใหม่น่ะครับ กว่าจะรู้ side effect ก็บางทีก็ต้องลองใช้ดูก่อน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเรารู้ side effect เราก็ต้องมาแก้ side effect เหล่านั้นน่ะครับ

คำถามที่หนึ่ง ที่ต้องคิดก่อนเลยคือว่า " ระบบนี้ล่ะ มันมี evident-based หรือยังในการเกิด side effect เชื่อได้หรือไหมว่ามันเกิดขึ้นจริงๆ เพราะพวกเราอยู่กันยุคที่ต้องมี evident-based ถูกต้องไหมครับ "
จากความเห็นของผม ผมคิดว่า มันเกิดขึ้นแล้ว จาก evident-based เหล่านี้ครับ

1. นศพ. ในรุ่นที่เรียน SDL ได้รับการ comment จาก รพ. สมทบเป็นจำนวนมาก
2. ตอนขึ้น Clinic พวกเราปรับตัวกันไม่ได้ เนื่องจากขาดประสบการณ์ในทาง Clinic ไม่สามารถนำมาประยุกต์กับความรู้ในทาง Preclinicได้ ทำให้เกิดอาการ Depressed มาก บางคนถึงกับ ท้อแท้ไปเลย หรือลาออกไม่เรียนแพทย์ไปเลย บางคน
3. Student- comment
4. Teacher - comment บางคนที่รู้จักสังเกต ครับ

เมื่อคิดว่า evident-based เหล่านี้น่าเชื่อถือได้ ซึ่งบางทีมันก็วัดกันยากน่ะครับ ว่ามี evident-based ที่ชัดเจน ซึ่งในทาง Clinic เราก็พบได้บ่อย เช่น การรักษา Acute appendicitis ผมถามเลยว่าหมอผ่าตัดคนไหนรอให้คนไข้มี sign ชัดเจนว่าเป็นไส้ติ่งแตกบ้างครับ เพราะมันเพิ่ม Mortality สูงขึ้นมาก เราต้องรักษาก่อน โยงเข้าเรื่องก็คือ เราก็ต้องเพิ่งคิดอยู่เสมอว่าระบบที่เราเปลี่ยนมาใช้นี้มีข้อผิดพลาดหรือยัง มี Side effect หรือยัง ไม่ใช่ให้มี Sign ของ System failure ชัดเจน เช่น หมอส่วนใหญ่ที่เรารักษาผิดพลาดกันบ่อยทำให้คนไข้ตายเป็นประจำ ( ไม่นับความทุกข์ของคนบาดเจ็บจากการเกิด Iatrogenic Complication ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก ) หรือ ไม่สามารถปรับตัวเรียนต่อได้ เป็นต้น เพราะมันจะสายเกินแก้ไข จะเรียกแพทย์เหล่านั้นมาอบรมก็ยากเกินไปแล้ว เพราะว่าแพทย์ทุกคนไม่ได้เรียนต่อ Specialist น่ะครับ (อยากให้อาจารย์ตระหนัก ต้องนี้ไว้ด้วยน่ะครับ ไม่ได้มีเจตนาหลบหลู่น่ะครับ )
สรุปก็คืออยากให้มันเสายเกินไปแค่นั้นเองครับ เพื่อนที่เค้าเรียนอยู่ MED แล้วเปิดประเด็นขึ้นมา ผมว่าน่าคิดเหมือนกันน่ะครับ ว่าบุคคลอื่นๆ เห็นว่ามันเป็นไงบ้าง
แต่ดูเหมือนว่า ทางคณะก็พอประเมินได้แล้วว่า Side effect มันน่าจะเกิดขึ้นจริงๆ ก็เลยมีการปรับตัว ในรุ่น MED 30 ที่มีการทำ intensive course ครับ และใน MED 31 มีการสอนแขนขาเพิ่มเติม
แต่ดูเหมือนว่าทางคณะมีแต่ใช้ evidented เหล่านี้กับการป้องกันการเกิด side effect กับรุ่น med30 แต่ med29 เหมือนว่าเราโดน side effect แล้ว จะไม่กลับมาแก้ไขให้ดีขึ้น
เหมือนในกระทู้ที่เพื่อนๆ ได้โพสกันมา



ผมคิดว่าน่าจะมีวิธีแก้ไขอย่างนี้ครับ
1. ในเรื่องการตรวจร่างกาย น่าจะมีการ อัด CD ให้ MED 29 บ้างซิครับ CD ที่เป็นของ intensive course น่ะครับ ผมว่าเพื่อนๆ น่าจะดูกันรู้เรื่อง และสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น
2. อาจารย์ควรตระหนัก ( Recognization ) ว่า รุ่นนี้เป็นการทดลองเรียนแบบ SDL ในรุ่นแรก ๆ ต้องช่วยเหลือสิ่งที่เป็น Side effect ของระบบใหม่น่ะครับ ไม่ใช่ซ้ำเติมหรือโทษที่ นศพ. จนมากเกินไป ต้องทบทวนระบบใหม่ดูบ้างว่ามีข้อผิดพลาดตรงไหนครับ อาจมีการสอนเสริมบ้างในบางเรื่องที่ นศพ.ไม่ทราบ เพราะบางทีอาจสายเกินไปได้ และได้ไปปรับปรุงในการสอนรุ่นต่อๆ ไป
3. มี Intensive course ให้ MED29 บ้างซิครับ ในเมื่อเรียนจบ ปี 5 ว่าควรรู้อะไร เพื่อปรับให้ความรู้เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นข้อด้อยของระบบนี้ด้วยครับ


เราอยากให้เพื่อนๆ มาลองให้ความคิดเห็นบ้างน่ะครับ จะได้ช่วยๆ กันนำไปปรับปรุงแก้ไขน่ะ





Posted by : เด็กจุดจุด , Date : 2005-05-15 , Time : 02:25:57 , From IP : 172.29.4.125

ความคิดเห็นที่ : 35


   สำหรับเรื่องการกลัวอาจารย์ไม่กล้าไปถามหรือปรึกษา ผมเสนอให้ลองคิดแบบนี้ครับ ว่าคนไข้เวลาไปหาหมอนั้นเผลอๆจะกลัวยิ่งกว่านักเรียนไปหาครูซะอีก แต่เขาก็ยังมาใช่ไหมครับ และหมอทุกคนก็ให้การรักษาไปตามหน้าที่การงานตามปกติ เรื่องที่เขาปรึกษาสามารถเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เป็นเรื่องที่ทั่วๆไปอาจจะน่าอับอาย เช่น เป็น sexual transmitted disease, AIDS, etc เขาก็ยังมาหาหมอ มาหาอาจารย์ที่พวกน้องกลัวนักหนาทั้งๆที่ไม่เคยทำความสนิทสนมกันมาก่อน

คุณสมบัติประการหนึ่งของแพทย์คือ การสามารถเปิดตนเองเข้ากับคนแปลกหน้าได้ คุยกันแม้กระทั่งเรื่องลึกซึ้ง จริงจังได้แม้เป็นการพบปะเพียงครั้งแรก น้องกลัวอาจารย์มากขนาดไหน คนไข้กลัวมากกว่าน้องหลายเท่าแต่เขาก็ทำได้ และไม่ได้มีอะไรน่ากลัวเกิดขึ้น

ข้อสำคัญที่ว่ากลัวๆนั้น เป็นกลัวไปก่อนเลยไม่ไปหา แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า resource person ไม่ work ล่ะครับ

เรื่อง introduction ที่ นศพ.ส่วนใหญ่อยากจะได้ ผมเสนอให้ชี้แจงอย่างที่มานี่แหละครับแต่กับอาจารย์ประจำ block หรือ อ.แพทยศาสตร์ศึกษา เขียนแปะไว้ที่นี่ให้อาจารย์มาอ่านเจอเองนั้น ไม่ใคร่เป็นกิริยามารยาทที่เราเคยเรียนกันมาเท่าไหร่



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-15 , Time : 02:27:18 , From IP : 172.29.7.80

ความคิดเห็นที่ : 36


   ในช่วงหนึ่งของการวิวัฒนาการเป็นเรื่องธรรมดาที่คนรุ่นหลังจะได้ในสิ่งที่ดีกว่าคนรุ่นก่อน น้อง Med 30 ได้รับสิ่งที่ดีกว่าพี่ Med 29 ผมว่าไม่น่าเป็นประเด็น และผมเชื่อมั่นว่าการเรียนการสอนที่เราได้รับในปีนี้ ก็ได้พัฒนาขึ้นจากปีที่แล้วอย่างแน่นอน จะด้วยเหตุผลอะไรในการเปลี่ยนแปลงคงต้องไปถามจากอาจารย์ในหน่วยแพทย์ศาสตร์กันเอาเอง ส่วนอาจารย์ที่ยกเราไปเปรียบเทียบกับน้อง ผมว่ากลับเป็นแรงผลักดันในการอ่านหนังสือได้อย่างดีเลย เพราะเป็นผมถ้าผมโดนแบบนั้น ผมจะรีบกลับหออ่านหนังสือเลย %C

Posted by : นศพ.มทนะ ปลื้มจิตรชม 4425078 , Date : 2005-05-15 , Time : 04:57:15 , From IP : 172.29.4.132

ความคิดเห็นที่ : 37


   ในช่วงหนึ่งของการวิวัฒนาการเป็นเรื่องธรรมดาที่คนรุ่นหลังจะได้ในสิ่งที่ดีกว่าคนรุ่นก่อน น้อง Med 30 ได้รับสิ่งที่ดีกว่าพี่ Med 29 ผมว่าไม่น่าเป็นประเด็น และผมเชื่อมั่นว่าการเรียนการสอนที่เราได้รับในปีนี้ ก็ได้พัฒนาขึ้นจากปีที่แล้วอย่างแน่นอน จะด้วยเหตุผลอะไรในการเปลี่ยนแปลงคงต้องไปถามจากอาจารย์ในหน่วยแพทย์ศาสตร์กันเอาเอง ส่วนอาจารย์ที่ยกเราไปเปรียบเทียบกับน้อง ผมว่ากลับเป็นแรงผลักดันในการอ่านหนังสือได้อย่างดีเลย เพราะเป็นผมถ้าผมโดนแบบนั้น ผมจะรีบกลับหออ่านหนังสือเลย อ่านไปพ่นคืน กู้ศักศรี(คนไทย)กลับคืนมาให้เร็วที่สุด ไม่รู้นะครับ เพื่อนบางคนที่ท้อผมก็เข้าใจ
สิ่งที่สำคัญเร่งด่วนที่สุดตอนนี้คือพวกเรา( Med29 ) ถ้าคิดว่าต้องการอะไร เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพในการดูแลคนไข้ให้ดีมากยิ่งขึ้นก็ควรจะรีบร้องขอต่ออาจารย์ เราไม่ควรจะนิ่งเฉยเก็บไว้ หรือดอดเข้ามาโพสในกระดานข่าวอย่างลึกลับ เพราะมันจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมอะไรขึ้นมาเลย มิหนำซ้ำยังเป็นการผิดมารยาทอย่างที่อาจารย์นกไฟกล่าวเตือนไว้บนกระทู้ข้างบนผมนี่อีก
ดังนั้นเพื่อนๆ Med 29 ที่มีความประสงค์อยากเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะข้อเสนอที่เป็นแนวทางการปฏิบัติได้จริง ขอให้รีบแสดงความคิดเห็นกันให้เร็วที่สุด โดยเสนอให้เขียนลงบนกระดาษที่ป้ายประกาศชั้น 2 ฝั่งห้องสโม( ดีกว่าเข้ามาโพสในนี้นะครับเพราะอย่างน้อยก็มั่นใจได้ว่าเป็นนศพจริงๆ ผมคุยกับรุ่นพี่ปี 6 พี่เค้าบอกว่ากระทู้แบบนี้เสี่ยงต่อคนที่อยากจะทำลายภาพลักษณ์ของคณะแพทย์ เพราะแค่อ้างชื่อ Med 29 เข้ามาด่าระบบการเรียนการสอนของคณะเราก็เรียบร้อย แต่ถ้าเพื่อนๆจะโพสในกระดานข่าวก็ขอให้ลงชื่อกันด้วยนะครับ จะได้มั่นใจว่าเป็นความเห็นนศพรุ่น 29 จริงๆ อย่างยุ้ย ทูลแล้วก็หญิงที่โพสมาแล้ว) เมื่อพวกเราได้ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่มาแล้วจึงจะสามารถนำไปเสนอต่ออาจารย์หน่วยแพทยศาสตร์และเปลี่ยนให้เป็นวิธีปฏิบัติจริงได้ครับ

ส่วนตัวแล้วผมคงไม่ออกความเห็นเรื่องความแตกต่างระหว่างระบบใหม่ ระบบเก่าหรือ SDL PBL อะไร แต่จะขอเสนอแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาต่างๆดังนี้ครับ

1 อยากให้มีการเก็บข้อมูลทางด้านปัญหาวิชาการจากพี่ Med 28 ที่ออก Exturn รอบแรกว่าพี่ๆเจอปัญหาอะไรบ้าง โรคหรือเรื่องวิชาการอะไรที่เป็นปัญหาในการรักษามากที่สุด เพื่อนำข้อมูลตัวนี้มาป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับ Med 29 อีก

2 อยากให้พวกเรา Med 29 มาประชุมกันเพื่อเสนอหัวข้อ เรื่องที่เราจำเป็นต้องมี lecture จริงๆ หรืออาจเอาข้อมูลจากการสอบถามพี่ๆในข้อหนึ่งมาใช้เพื่อพิจารณาร่วมกันแล้วโหวต เพื่อเชิญอาจารย์หรือพี่พชทมาติวเพิ่มเติมในเรื่องนั้นๆ

3 เรื่องฐานข้อมูลทางวิชาการ อันนี้ผมรู้สึกว่าพวกเรายังไม่มีระบบในการจัดการและส่งต่อฐานข้อมูลที่ดีพอ จะเห็นได้ว่าเวลาเราขึ้นกองไหน เราก็จะเริ่มควานหาเอกสารดีๆของกองนั้น โดยการที่แต่ละคน( โดยเฉพาะคนที่พี่รหัสไม่มีมรดกตกทอดให้เลย )ก็ไปถามๆเอา พูดง่ายๆว่าต่างคนต่างหากันเอง ตัวใครตัวมัน( กลุ่มใครกลุ่มมัน )ปัญหาที่เกิดคือเอกสารประกอบการเรียนการสอนดีๆ บางชุดไปกระจุกอยู่ที่บางคน ไม่กระจายสู่นศพทั้งชั้นปี และเอกสารดีๆที่พี่ๆตกทอดมาให้ก็มีการสูญหายหรือไปจมอยู่แค่ที่น้องรหัสตัวเอง แทนที่ทุกคนจะได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งหมดก็ไม่ได้
แนวทางที่ผมจะเสนอคืออยากให้พวกเรามารวมกัน เพื่อแชร์เอกสารต่างๆ ใครมีอะไรดีก็ซีมาบริจาคเป็นข้อมูลกองกลาง เก็บๆกันเอาไว้ อาจแบ่งงานกันทำเป็นกองๆ กองสูติก็รวบรวมเอกสารสูติมา กองเด็กก็รวบรวมเอกสารกองเด็กมา จัดรวบรวมให้เป็นระบบ ที่นี้ใครจะเอาเอกสารอะไรก็ง่ายแล้วครับ จะขึ้นกองอะไรพอซีทีนึงก็ซีกันทั้งกอง เอกสารในที่นี้ผมหมายถึงทั้ง Lecture ดีๆของรุ่นพี่ บทความ ตลอดจนพวกไฟล์เสียง ไฟล์ Powerpoint ด้วยนะครับ

4 สุดท้ายอยากจะขอประชาสัมพันธ์พร้อมทั้งสอบถามความเห็นเพื่อประกอบการทำโครงการ WebSamo ของน้องเนฝ่ายไอทีสักเล็กน้อยอ่ะครับ คือจะไม่ทราบว่าจะช่วยเรื่องวิชาการเพื่อนๆได้บ้างไหมถ้าจะจัดเป็นกระดานข่าวตอบปัญหาวิชาการบน Web โดยทางสโมสรจะเรียนเชิญอาจารย์และพี่ๆสาขาต่างๆมาช่วยตอบปัญหาทางคลินิกให้แก่พวกเรา( รูปแบบเหมือนกับ E-learning ของอ.สิทธิโชคครับ) ดีหรือไม่ดี มีข้อเสนอแนะอะไร รบกวนเสนอมาเลยครับ

ขอบคุณครับ


Posted by : นศพ.มทนะ ปลื้มจิตรชม 4425078 , Date : 2005-05-15 , Time : 04:57:51 , From IP : 172.29.4.132

ความคิดเห็นที่ : 38


   ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบ comment เพื่อจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่สำหรับเรื่องนี้ทำให้ผมไม่ค่อยอยากจะพูดอะไรเลย เพราะเมื่อพูดไปมักจะได้รับคำตอบที่ทำให้ผมไม่อยากจะพูดถึงต่อไป เช่น ได้รับการเปลี่ยนแปลงในรุ่นน้องแล้วบ้าง หรือปีหน้าให้พวกผมไปเรียนกับรุ่นน้องบ้างล่ะจะได้ได้ระบบที่สมบูรณ์ ผมเชื่อครับว่าอาจารย์คงจะพูดเล่น แต่มันฟังแล้วสะเทือนใจพอควร นั่นเป็นการบ่งบอกเป็นนัยๆว่า อาจารย์ได้มุ่งเน้นที่จะแก้ไขในรุ่นถัดไปมากกว่ารุ่นที่เป็นอยู่ นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมไม่อยากจะแสดงความคิดเห็นอะไรเลยในเรื่องนี้เพราะเป็นคำพูดที่เหมือนจะศูนย์เปล่า เพราะได้รับการแก้ไขในรุ่นถัดไปแล้วทั้งนั้น
จนเมื่อวันศุกร์ครับ ambu ได้ให้มีการcommentขึ้น ผมก็นั่งเงียบด้วยความที่มีความคิดเหมือนเดิมที่ว่าจะพูดไปทำไมในเมื่อมันก็แก้ไม่ได้อยู่แล้ว ตารางเรียนก็ไม่มี SDL มีอาจารย์สอนตลอด ออกOPD ก็ทำกันทุกวัน แต่อาจจะได้น้อยหน่อยเพราะเรียนหลายวิชา ดูๆแล้วมันหมดหนทาง จนมีเพื่อนคนหนึ่งพูดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าเรายังขาดตรงไหน จนมีอาจารย์ท่านหนึ่งได้ให้ความคิดเห็นว่าอาจารย์จะนัดมาสอนเพิ่มบ้าง หรืออาจจะราวน์เสาร์อาทิตย์ไหม อาจารย์จะมาราวน์ให้ นี่แหละครับทำให้ผมตาสว่างขึ้นว่ามันยังมีหนทางแก้ไขอยู่เสมอ
ผมคิดว่าการที่เพื่อนๆมาแสดงความคิดเห็นในกระทู้ บางคนบอกแต่ข้อเสีย ก็ใช่ว่ามีเจตนาจะลบลู่อาจารย์หรือระบบ แต่เจตนาที่จะตีแผ่ปัญหาของตนเองของเพื่อนเพื่อให้อาจารย์ได้รับรู้ และจะได้ช่วยกันหาหนทางแก้ไขปัญหาไปได้เพราะบางครั้งเราเป็นผู้ถูกกระทำอารมย์ความรู้สึกมันบดบังปัญหาครับ
เท่าที่ผมอ่านมาผมว่าปัญหามันมีดังนี้นะครับ
1 บาง loop case ที่ให้เรียนรู้น้อยครับไม่หลากหลาย
2 กลุ่มนศพ.ใหญ่เกินไปในการเรียนการสอน
3 การเรียนน้อยเกินไป ถูกแทนที่ด้วย sdl เสียเยอะ(ข้อนี้ไม่ค่อยแน่ใจครับ)
4 เนื้อหาความรู้กับเวลาไม่มีความสัมพันธ์กัน เช่น คาบเดียวแต่สอน congenital ทั้งหมดก็รับไม่ไหวครับ
5 ถ้าเป็นเนื้อหาที่เน้นต้องคิดต้องปฎิบัติมากๆๆ ต้องสอนกลุ่มเล็กครับ ต้องอัดกันรายคนครับ มันถึงจะจำได้ทำได้ครับ
6 ถ้าอาจารย์อยากติหนิครับติหนิได้ครับ แต่กรุณาอย่าพูดเปรียบเทียบกับรุ่นน้องเลยครับ มันทำให้ depress มากๆแล้วจะรับอะไรไม่ค่อยได้ครับ
7 นึกไม่ออกแล้วครับ


Posted by : Priks , Date : 2005-05-15 , Time : 11:11:17 , From IP : 172.29.4.130

ความคิดเห็นที่ : 39


   เห็นด้วยกับท่านนายก ขอให้ทำเลย

Posted by : Med29อีกคน , Date : 2005-05-15 , Time : 12:07:11 , From IP : 172.29.4.234

ความคิดเห็นที่ : 40


   Feedback นั้นเพื่อผลในอนาคตแน่นอนครับ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเรียนการสอน at will ณ กลางเทอมนั้น ผมเกรงว่าไม่ practical และข้อสำคัญคือทำให้ประเมินไม่ได้ ถ้าจะ feedback ต่อเมื่อตัวเราเองได้ประโยชน์อันนี้เห็นทีจะลำบากทีเดียว หรือไม่ก็ต้องไป feedback ใน session ของรุ่นพี่ หรือของหลักสูตรรวมเวลามีการประเมิน

ผมคิดว่าประเด็นยังคงเป็นการซ้อนกันระหว่าง lecture กับปฏิบัติอยู่ดีเท่าที่แสดงความเห็นเพิ่มมา lecture นั้นใช้กับกลุ่มใหญ่ เป็น core contents หรือ cognitive ส่วน SDL นั้นจะได้เป็น cognitive หรือ psychomotor ขึ้นอยู่กับว่าเลือกจะทำอะไร (หรือไม่ได้เลยถ้ากลับไปนอน เป็นต้น)

ผมคิดว่าคงจะต้อง specific นิดหน่อยครับเวลานำเสนอสิ่งที่เราประเมิน เช่น ที่ว่า case น้อยเกินไปนั้น มีจำนวนคนไข้ที่เรา "มีสิทธิ" ดูแลกี่ cases กี่เตียง และน้องอยากจะได้เท่าไหร่ case ที่มีเรียนหมดจบกระบวนความแล้ว ไม่มีอะไรเรียนเพิ่มเติมแล้ว นักศึกษาเดิน idle อยู่บน ward

ประเด็นเรื่องนักศึกษากลุ่มใหญ่นี่คงเป็นข้อจำกัดครับ เพราะรัฐบาลสั่งให้รับเพิ่มโดยไม่สนใจว่ามีอาจารย์เพิ่มกี่คน รับนักศึกษาเพิ่มปีละ 30 คน หกชั้นปีก็ 180 คน ลำพังจักอาจารยืประจำกลุ่มย่อยเพิ่มก็ประมาณ 18 คนถ้ากลุ่มละสิบ แต่ว่าที่ มอ.เราใช้ระบบ PBL นี่ ผมคิดว่า จน.อาจารย์ต่อ นศพ. นั้นสูงสุดแล้วนะครับ ถ้าในระบบเก่าที่เน้น lecture นั้นจะยิ่งกลุ่มใหญ่กว่านี้

ที่คุณ Priks ว่า การเรียนน้อยเกินไป ถูกแทนที่ด้วย sdl เสียเยอะ(ข้อนี้ไม่ค่อยแน่ใจครับ) แปลว่าไม่ได้นับการทำ SDL เป็นการเรียน ตรงนี้คงเป็นความเข้าใจระบบผิดอย่างมโหฬาร เพราะ SDL ย่อมาจาก self-directed learning ครับ ในการเรียนระดับปริญญาตรี โท เอก วิธีการเรียนนี้สำคัญอย่างยิ่ง เป็นส่วนหนึ่งของ adult learning และคำนวณน้ำหนักหน่วยกิตเท่าๆกับการปฏิบัติการในห้อง lab หรือใน OR เลยทีเดียว เป็นวิธีที่นักศึกษาจะ "แสวงหาความชำนาญ" ได้อย่างเต็มที่ (ถ้าอยากทำ)




Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-15 , Time : 12:17:39 , From IP : 203.147.0.9

ความคิดเห็นที่ : 41


   ขอเรียนคุณ ฟินิกซ์ อย่างนี้ครับ
คำว่า " ข้อสำคัญที่ว่ากลัวๆนั้น เป็นกลัวไปก่อนเลยไม่ไปหา แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า resource person ไม่ work ล่ะครับ "
ที่กล่าวน่ะครับ
ในทฤษฎี น่ะครับ มันไม่สามารถพิสูจน์ได้อยู่แล้วครับ ว่ามันดีหรือไม่ดีครับ ถ้า นศพ ไม่ไปหา resource person แต่ในความเป็นจริงน่ะครับ นศพ. มักไม่เคยไปหา Resource person อยู่แล้ว จากสถิติที่มันเกิดขึ้นในความเป็นจริง เราต้องตระหนักตรงนี้น่ะครับ ว่าในความเป็นจริง นศพ. ไม่ได้หา Resource person มันก็เหมือนว่าเราใช้ Resource person ไม่คุ้มค่า และก็ไม่ Work ในความเป็นจริงน่ะครับ อาจจะ Work หรือไม่ Work ในทางทฤษฎีก็ได้น่ะครับ และถ้าว่ามันไม่ work เราก็ต้องทำการแก้ไขตรงนี้ เช่น ให้มีนัดให้พบกันเป็นช่วงๆ ดังที่กล่าวไปครับ






Posted by : เด็กจุดจุด , Date : 2005-05-15 , Time : 12:55:43 , From IP : 172.29.4.125

ความคิดเห็นที่ : 42


   ในทางทฤษฎีมัน work ครับ ที่ไม่ work คือในภาคปฏิบัติมากกว่าครับ

การนัดนั้น สามารถมองเป็นการแก้ปัญหาหรือฝืนใจได้ทั้งสองทาง และอาจจะกลายเป็นนัดเฉยๆถ้าไม่ได้มีปัญหา ยกตัวอย่าง reosurce person 3 คนสำหรับ haemato block 40+ คนหรือบาง block 80 คน ถ้านัดเป็น routine จะไม่ใคร่ effective เท่าไหร่ ฉะนั้นการพบ resource person จึงเป็น per-need basis คือเมื่อมีอะไรจะไปเจอน่ะครับ ไม่งั้นจะกลายเป็น socialized เฉยๆ อาจารย์และ นศพ. น่าจะเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน นัดกลุมใหญ่เกินก็ไม่ work อีก นัดกลุ่มย่อยถ้าต้องการให้เจอครบทุกคนก็คงจะใช้เวลาและความถี่สูงไป

ถ้าจะลองแก้ปีญหาโดยใช้ resource person อย่างที่กำหนดไว้แต่แรกดีไหมครับ คือมีปัญหาก็ไปหาอาจารย์ท่านดู เกี่ยงกันว่าขอให้อาจารย์นัดนศพ.ก่อนเพื่อถาม นศพ.ว่าน้องมีอะไรจะถามผมรึเปล่า นศพ. จึงยอมไปเจอมันฟังดูแปลกๆนะครับ





Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-15 , Time : 13:15:37 , From IP : 203.156.122.18

ความคิดเห็นที่ : 43


   สบายใจทีได้รู้ว่าอย่างน้อยก็ได้ฟังบรรยายแล้ว...........ไม่ได้แปลว่ารู้
ไม่สบายใจที่ไม่ได้ฟังบรรยาย................................แปลว่าไม่รู้
การฟังบรรยายจากอาจารย์มีข้อดีอย่างเดียวคือได้ฟัง แต่ไม่ได้แปลว่ารู้ อาจจะรู้
การอ่านเอง แปลว่าได้รู้ แต่อาจไม่เข้าใจ

คงต้องพิจารณาให้ดีว่าเราต้องการผลลัพธ์อะไรกันแน่
มีคนกล่าวว่า Resource person ไม่มีเวลาว่าง คำกล่าวนี้หากเป็นจริงควรจะรายงานให้ประธาน block เพราะ เวลาที่ resource person กำหนดให้ไว้นั้นเป็นเวลาที่ resource person ต้องว่างและทำหน้าที่ ไม่ควรจะกล่าวอ้างลอยๆ เช่นนี้ แต่ resource person เอาเวลาไปทำงานอื่นเพราะไม่อยากจะปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์ เนื่องจากไม่เคยมีนศพ. มาขอพบเลย

ในชีวิตจริงไม่ว่าเรียนระบบใดก็ตาม นักศึกษาต่างมีปัญหาในการปรับตัวระหว่างชั้นคลินิกและปริคลินิก เพียงแต่นักศึกษาจะพยายามที่จะทำให้เกิดปัญหาหรือไม่ รู้จักวิธีแก้ปัญหาหรือไม่

เรื่องทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงวุฒิภาวะของนักศึกษาและการแก้ปัญหาว่าเป็นอย่างไร เป็นเรื่องใหญ่มากกว่าที่จะกล่าวถึงเรื่องระบบการเรียน


Posted by : รุ่นเดิม , Date : 2005-05-15 , Time : 13:45:40 , From IP : 172.29.7.49

ความคิดเห็นที่ : 44


   อย่างที่คุณฟินิกซ์กล่าว
"ถ้าจะลองแก้ปีญหาโดยใช้ resource person อย่างที่กำหนดไว้แต่แรกดีไหมครับ คือมีปัญหาก็ไปหาอาจารย์ท่านดู เกี่ยงกันว่าขอให้อาจารย์นัดนศพ.ก่อนเพื่อถาม นศพ.ว่าน้องมีอะไรจะถามผมรึเปล่า นศพ. จึงยอมไปเจอมันฟังดูแปลกๆนะครับ"

ยอมรับว่ามันแปลกน่ะครับ ถ้าเป็นความหมายเหมือนที่เข้าใจครับ แต่ว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้นี่ครับ เพราะ ลองคิดดูน่ะครับ
1. นศพ. เรียนในแต่ละ block นี่จะไม่มีปัญหาเลยหรือครับ ผมไม่เชื่อครับ ปัญหาในการเรียนมีเยอะมาก แต่ นศพ. ไม่ยอมไปถามมากกว่า เพราะอาจเสียเวลาเปล่า ถ้าไม่ได้คำตอบครับ ผมว่าอย่างไรนักศึกษาต้องมีปัญหาถามอาจารย์อยู่แล้วครับ แต่อยู่ที่ว่าจะเหมาะสมที่จะถามหรือเปล่าครับ ถ้ามีโอกาสก็สามารถถามได้ครับ
2. นศพ. มีความต้องการที่จะเข้าหาอาจารย์อยู่แล้วครับ เพราะได้เรียนรู้และได้ถามปัญหาครับ
3. ถ้าเกิดไม่มีปัญหาจริงๆ หรืออาจจะไม่ยอมถามก็ได้ครับ ก็ให้เปลี่ยนเวลาเป็นการสอนเสริมก็ได้นิครับ ในเรื่องทาง Clinic ที่ชั้น Preclinic ขาดอยู่น่ะครับ ให้เป็นการสื่อสารทางเดียวก็ได้ ก็เพราะไม่มีคำถามไงครับ ก็เท่ากับเป็นการไม่เสียประโยชน์ครับ

ลองคิดดูน่ะครับ







Posted by : เด็กจุดจุด , Date : 2005-05-15 , Time : 14:14:53 , From IP : 172.29.4.125

ความคิดเห็นที่ : 45


   คุณเด็กจุดจุดครับ

ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ผมหรือคุณเด็กจุดจุด "เชื่อ" ว่าเกิดอะไรขึ้นกระมังครับ ไม่ว่าจะเป็นเราเชื่อไม่เหมือนกัน หรือเชื่อเหมือนกัน มันขึ้นอยู่กับว่าจริงๆแล้วมีหรอืไม่มีคนไปหา resource person และเพราะอะไร

ที่เราทราบแน่ๆว่ามีหรือไม่มีปัญหาก็ตัวเราเองนี่แหละครับ ที่อาจจะพูดได้เต็มปากเต็มคำว่าเวลามีปัญหา เรากล้าหรือไม่กล้าไปหาอาจารย์ แต่ผมคงจะไม่พยายามเดาใจเพื่อนๆว่ามีใครบ้างอยากเจออาจารย์แต่ไม่กล้า มีใครบ้าง "ต้องมีปัญหาแน่ๆ" แต่ไม่ยอมไปหาอาจารย์ และยิ่งยากที่จะเดาต่อไปอีกว่าถ้าเขาไม่ไปนั้นเป็นเพราะเขาคิดว่าเสียเวลา

ประเด็นอยู่ที่ว่าการนัดเจอแบบ systematic นั้น เป็นการใช้เวลาที่ optimal หรือไม่อย่างไร ถ้าเด้กที่ไม่มีปัญหาจริงๆ (ถ้าจะวัดความเชื่อกันนะครับ จากประสบการณ์ส่วนตัวผม ผมอ่านเลือกวิธีอ่านเองง่ายกว่านัดอาจารย์ครับ และคำตอบมันหาได้จากตำรา ภาคภูมิใจกว่าด้วย แต่นั่นมันเป็นแบบนึง ผมว่าคงมีหลายแบบ และไม่ใช่ว่าทุกคนจะคิดว่าการหา resource person เป็นวิธีที่ดีที่สุด) ไปบังคับให้ต้องพบอาจารย์ นั่นจะมีผลลบมากกว่าผลบวก

ตรงนี้คุณเด็กจุดจุดต้องเข้าใจในเรือง adult learning อีกนิดนึงครับ การที่เราไว้ใจนักศึกาว่า คณะฯจัดห้องสมุดให้ จัดหนังสือ references ให้ จัด resource person ให้ ซื้อ medical database ปีละหลายล้านบาทให้มี full-text access ทาง internet ได้ นั้น เพื่อให้ต่างรสนิยม ต่างความถนัดเลือกใช้ครับ ใครใคร่เจออาจารย์ก็เจออาจารย์ ใครใคร่อ่านเองก็อ่าน ใครใคร่เรียนกับคนไข้ก็ไป ไม่งั้นเรามิต้องบังคับในทุกคนใช้ทุก facilities ก็คงผิดนิยามการเรียนรูเบบคนที่ mature แล้วไปไกลทีเดียว

ลองคิดดูนะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-15 , Time : 14:41:03 , From IP : 203.156.122.18

ความคิดเห็นที่ : 46


   ที่อาจารย์พูดก็ถูกนะค่ะว่า adult learning เป็นสิ่งสำคัญต่อไปในอนาคต
ตอนแรกหนูก็ไม่เข้าใจหรอกค่ะ แต่หลังจากที่ฟังอาจารย์ท่านหนึ่งเล่าประสบการณ์การไปเรียนต่อต่างประเทศให้ฟัง ก็เลยรู้ว่า “อ๋อ เค้าเรียนกันแบบนี้นี่เอง”
หนูเชื่อว่าพวกเราก็พยายามกันนะค่ะ
แต่ว่าเด็กหัดเดินครั้งแรกๆ ก็คนอยากจะให้พ่อ แม่คอยดูอยู่ใกล้ๆด้วยความห่วงใย จริงมั้ยค่ะ

ตอนนี้ในความคิดหนู คิดว่ามันถึงจุดที่เราเริ่มยอมรับกันแล้วว่า
บางอย่างในระบบการเรียนที่ใช้อยู่มันมี ปัญหา
พวกเรา MED 29 ก็รู้แล้วว่าพวกเรามีปัญหายังไงกันบ้าง
ที่อาจารย์บอกว่า “Feedback นั้นเพื่อผลในอนาคตแน่นอนครับ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเรียนการสอน at will ณ กลางเทอมนั้น มันไม่ practical และข้อสำคัญคือทำให้ประเมินไม่ได้”
แล้วถ้ามันมีปัญหาเกิดขึ้นจริงๆ
และพวกเราเองก็อยากจะแก้ไขก่อนที่พวกเราจะจบออกไป “หมอ”
เราจะแก้ไขกันยังไงดีล่ะค่ะ มีทางไหนมั้ยที่คณะจะมาพบกับนักศึกษาครึ่งทาง
โดยที่คำตอบไม่ใช่ทำนองที่ว่า ให้ไปเรียนกับน้องอีกปี
มันเหมือนกับพวกเราไม่มีหวังอะไรเหลืออีกแล้ว
มันทำร้ายจิตใจกันนะค่ะ

ด้วยความเคารพและยังรักสถาบันนี้อยู่


Posted by : MED 29 อีกหนึ่งคน ที่อยากเห็นค , Date : 2005-05-15 , Time : 15:35:17 , From IP : 172.29.4.229

ความคิดเห็นที่ : 47


   วิธีนั้นได้บอกไปแล้วครับ

นักศึกษารุ่นที่คิดว่าระบบมีข้อบกพร่องและสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้น รวบรวมข้อคิดเห็นและหลักฐานที่เกิดจริงนำเสนอกับทาง block หรือทางแพทยศาสตร์อย่างเป็น formal นั่นคือนัดพบโดยมีตัวแทนที่สามารถพูดแทนรุ่นได้ มีข้อมูลที่เป็นความรู้สึก ความเห็นของรุ่นไปคุย face-to-face ครับ การสื่อมันจะ effective มากกว่านี้เยอะ เพราะการสื่อโดยการอ่านนี่มันขาดประสิทธิภาพไปเยอะ แค่ clarify คำต่างๆว่าหมายความว่ายังไงก็ใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือเป็นวันๆ ขึ้นอยู่กับทั้งสองฝ่ายว่างแค่ไหน แถมยังมีใครก็ได้จากวงนอกเข้ามาผสมโรงตอนไหนก็ได้

พบกันตรงนี้มันไม่ใช่ครึ่งทางครับ เป็น uni-lateral มากกว่า

ทีนี้เราจะแก้ปัญหาด้วยตนเองไปพลางๆก่อนอย่างไรดี resource ที่ใกล้ตัวที่สุดได้แก่เพื่อนร่วมรุ่นที่ดูมีปัญหาน้อย หรือไม่มีปัญหา ลองถามเขาดูว่าทำอย่างไร ลองพิจารณาสิ่วที่พูดบนกระดานนี้ไปแล้ว ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการทุ่มเทเวลาบน ward เรียนรู้ทุก case ที่เราสนใจ ดูซิว่ามีคนออกมาห้ามไม่เรียน ไม่ให้ไปศึกษา case นอกกลุ่มรึเปล่า หรือว่าเขาปล่อยให้เรียน case ไหนก็ได้ ลองเข้าหาอาจารย์เมื่อคิดว่าจำเป็นโดยไม่ต้องรอให้อาจารย์นัดเจอซะก่อน



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-15 , Time : 16:03:56 , From IP : 203.156.122.18

ความคิดเห็นที่ : 48


   เราหยุดใช้กระทู้นี้กันเถอะค่ะ รู้สึกว่ามันเยอะมาก เริ่มขี้เกียจอ่านแล้ว และดูเหมือนว่ายังไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น ขอให้เพื่อนๆมีความอัดอั้นตันใจใดๆ จงเขียนหัวข้อที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตรงบันไดใต้หอที่ทางสโมจัดให้นะคะ แล้วเราจะได้มาคุยเป้นเรื่องเป็นราวกะอาจารย์ซะที และมาปรับปรุงกัน เร็วดีด้วยค่ะไม่ต้องนั่งพิมนั่งอ่านนั่งติดตาม ทีนี้มันอยู่ที่เพื่อนๆแล้วละว่าจะนั่งรอเฉยๆ หรือจะลุกขึ้นมาช่วยกัน ว่ายังไงกันดีคะ ปล.รีบๆเขียนกันนะ ตอนนี้ไฟเราใกล้มอดแล้ว

Posted by : นศพ.ฐิติพร4425021 , Date : 2005-05-15 , Time : 20:14:09 , From IP : 172.29.4.201

ความคิดเห็นที่ : 49


   เน้น บั น ไ ด ห อ รีบมาเขียนด่วน

Posted by : again , Date : 2005-05-15 , Time : 20:16:19 , From IP : 172.29.4.201

ความคิดเห็นที่ : 50


   การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผ่านการเข้าหาอาจารย์หรือ resourse person สำหรับนศพ บางครั้งก็คงจะไม่ง่ายนักสักเท่าไหร่ ทั้งนี้เพราะ มันขึ้นอยู่กับ ความสัมพันธ์ที่setให้เกิดขึ้นระหว่างกันและกัน
ตามปกติ คนไข้กับหมอsetความสัมพันธ์ไว้ที่docter-pateint relationshipก็คงไม่ยากที่จะเปิดbouderlyกันคนละครึ่ง ทีนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์หล่ะ เป็นแบบไหน
ถ้าเป็นแบบ professional relationship นศพก็คงฝ่อน่าดู โดนผู้ทรงความรู้ มีauthorityมากล้น อัดความรู้เสียเละเทะ จนselfสูญหายไปเลย นานๆเข้า เด็กๆก็จะเหี่ยวเฉาลงไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็หมดเรี่ยวหมดแรงที่จะนึกคิด หรือทำอะไรต่อไป อาจลงเอยด้วยการยืนเฉยๆนิ่งๆเงียบๆ หรือถ้าหลบหน้าได้ก็จะเลือกหลบ ไม่เจอกันดีกว่า แล้วกำลังใจที่จะไปเรียนแบบSDLก็เป็นอันหมดกันไปอีก เพราะมัวแต่ระแวงกลัวการโดนทำร้ายจิตใจ
ถ้าเป็นความสัมพันธ์แบบ social relationship กันหล่ะ จะดีไหม สนิทสนมกันดีไว้วางใจกัน คุยกันได้ทุกเรื่อง แบบเป็นเพื่อนกัน เป็นคนร่วมงาน รู้ใส้รู้พุงกันหมดทุกเรื่อง แลกเปลี่ยนกันได้โดยเฉพาะเรื่องที่มีความเห็นแตกต่างกัน อาจคล้ายๆว่า อาจารย์ก็อาจต้องยอมให้ลูกศิษย์พยศบ้าง ต่อต้านบ้าง คิดล้างครูบ้าง แต่ทั้งนี้ก็เพราะว่า อาจารย์มีความหวังเพื่อที่จะให้ลูกศิษย์เติบโต และเรียนรู้ไปตามจังหวะของชีวิต แต่อาจารย์อาจจะรู้สึกว่า สูญเสียการได้รับความเคารพไปสักหน่อย ยากจังใช่ไหมแบบนี้
ทางที่ดี อาจารย์น่าจะ setความสัมพันธ์ไว้ที่ ห่างจาก professional relationshipสักหน่อย และให้เอียงไปทางsocial relationshipสักนิด โดยที่ไม่ไปที่จุดสุดโต่งทั้งสองเสียทีเดียวก็คงจะดี
แต่ทั้งนี้คงขึ้นกับบุคลิกของอาจารย์ และsocail skill ของนศพ ด้วย สรุบก็คงต้องช่วยๆกันทั้งสองฝ่ายสินะ


Posted by : pisces , Date : 2005-05-15 , Time : 20:36:39 , From IP : 172.29.7.44

ความคิดเห็นที่ : 51


   จะ set ความสัมพันธ์แบบไหนก็ตาม ระวังอย่าให้ wrong message เกิดขึ้นเท่านั้น

professional relationship ที่มีการอัดกันเละเทะ intimidate คนถามกันอุตลุดนั้นเป็น professional relationship จริงหรือ? หรือเป็นแบบ non-professional มากกว่า? ผมคิดว่าถ้า "professional" ในที่นี้หมายถึง "อาชีพครู" มันควรจะออกมาเป็นอะไรที่ "อำนวย" ให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ มากกว่าบรรยากาศการฆาตกรรม ดังนั้นผมคิดว่าเป็น misleading term ครับที่จะบอกว่า professional relationship ของครูคือการข่มขวัญกำลังใจเด็กนักเรียน เป็นความสัมพันธ์ชนิดทำลาย self เด็กนักเรียน ถ้าลองเราไปบอกคณะศึกษาศาสตร์ที่ผลิตครูว่านี่เป็นความหมายของ teacher professional relationship ผมว่าเราอาจจะถูกไล่ออกมาไม่ทัน

ผมคิดว่า professional relationship ของครู มีความศักดิ์สิทธิ์ไม่แพ้ medical professionalism เลยทีเดียว งานของหมอกับงานของครูนั้นคล้ายกันมาก ทั้งสองอาชีพต้องมี optimism เหมือนกัน หมอต้องตคิดว่าคนไข้น่าจะดีขึ้นได้บ้างจากการทำอะไรสักอย่าง ครูต้องคิดว่านักเรนียนจะรู้มากขึ้นจากการทำอะไรสักอย่าง และผลกระทบของการทำงานทั้งสองอาชีพก็มีผลในวงกว้างไม่แพ้กัน ของหมอทำพลาดอาจเสียชีวิต ของครูทำพลาดอาจจะเสียคน

สายป่านที่ครูจะปรับสำหรับลูกศิษย์แต่ละวัย แต่ละคน คงจะไม่มีอะไรเป็น universal rule บางคนถ้าปล่อยไกลเกินอาจจะถึงระดับสาวกลับไม่ได้ขณะที่บางคนยิ่งปล่อยไกล อาจจะไปถึงดวงดาว ไปไกลกว่าครูก็มี บางคนถ้าปรับใกล้ตัวครูหน่อยก็จะเป็นว่าวที่เรียนจบครบกระบวนท่าทุกอย่าง ขณะที่บางคนอาจจะกลายเป็นว่าวที่ไม่เจริญเติบโต ไม่อาจจะบินเดี่ยวได้

ถ้าปรับ "นิยาม" ของ teacher professionalism ให้ดีพอ ไม่เอา evil version มาถล่มใส่สถาบันครู ผมคิดว่า professional relationship นี่แหละครับดีแล้ว มันมีผ่นอสั้นยาว มีส่วนของ social ส่วนของ psychology อยู่ในเนื้องานของ teacher professional มากพอ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-15 , Time : 21:17:57 , From IP : 203.156.122.18

ความคิดเห็นที่ : 52


   คุณนกไฟ เข้ามาในกระทู้บ่อยจังเลยครับ
ยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและคำแนะนำครับ






Posted by : เด็กจุดจุด , Date : 2005-05-15 , Time : 22:22:31 , From IP : 172.29.4.125

ความคิดเห็นที่ : 53


   มาเรียนกับพวกเราที่โรงพยาบาลหาดใหญ่มั้ยเพื่อนๆ
เคสเยอะชัวร์ชัวร์
สู้สู้ต่อไปนะ Med29 เพื่อนๆทุกคนทางนี้เป็นกำลังใจให้


Posted by : นศพ.โรงพยาบาลหาดใหญ่ , Date : 2005-05-16 , Time : 00:15:56 , From IP : ppp-210.86.142.220.r

ความคิดเห็นที่ : 54


   ไปเรียนด้วยคนจิ

Posted by : เด็กที่นี่ , Date : 2005-05-16 , Time : 13:13:21 , From IP : 172.29.2.192

ความคิดเห็นที่ : 55


   เพื่อนๆ Med 29 ที่อยากแสดงความคิดเห็นรอไปแสดงให้อาจารย์ฟังเองเลยนะครับ ไม่ต้องมาโพสแล้ว สโมสรเขาจัดให้แล้วพุธที่ 18 นี้ 16:30 M104 อ้อแล้วอย่าลืมมาคุยประชุมกันก่อนด้วย 21:00 ห้องจกนะ

Posted by : MeD29 , Date : 2005-05-17 , Time : 00:32:29 , From IP : 172.29.4.244

ความคิดเห็นที่ : 56


   ใช่ๆ มากันนะจะได้ช่วยกัน อย่างน้อยก็ต้องfightเพื่อพวกเราเอง

Posted by : มานะๆ , Date : 2005-05-17 , Time : 20:02:00 , From IP : 172.29.4.52

ความคิดเห็นที่ : 57


   sspkts6 Great website! Bookmarked! I am impressed at your work!
sspkts6 | 4.1 | 4.2 |


Posted by : snymrik , E-mail : (snymrik@gmail.com) ,
Date : 2006-09-03 , Time : 18:25:49 , From IP : 81.177.14.232


ความคิดเห็นที่ : 58


   sspkts6 Very good site. Thanks for author!
sspkts6 http://www2-0.gmail.com/ 2.1 http://www2-1.gmail.com/ 2.2 http://www2-2.gmail.com/


Posted by : geroin9l , E-mail : (geroin9l@gmail.com) ,
Date : 2006-09-03 , Time : 18:25:54 , From IP : 81.177.14.235


ความคิดเห็นที่ : 59


   sspkts6 So interesting site, thanks!


Posted by : temnotak , E-mail : (temnotak@gmail.com) ,
Date : 2006-09-03 , Time : 18:25:57 , From IP : 81.177.15.45


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.024 seconds. <<<<<