ความคิดเห็นทั้งหมด : 8

เรื่องเบาๆ ที่อยากเล่าให้ฟัง "การไปพบแพทย์ ขึ้นกับบุญที่ทำมาด้วย"


   วันนี้ได้คุยกับลูกผู้ป่วย multiple metastases papillary thyroid carcinoma
แม่ของเขาคลำก้อนที่คอได้ 5 ปีมาแล้ว
5 ปีก่อนตอนอายุ 50 ปี พอคลำได้ก่อนที่คอ ก็ไปพบแพทย์ที่ รพ ศูนย์แห่งหนึ่ง แพทย์คลำคอแล้วบอกว่า ก้อนธรรมดา ไม่ต้องทำอะไร ไม่ได้นัดตรวจ อะไรเพิ่มเติม หรือนัดติดตาม ก้อนไม่ได้โตขึ้นเร็ว ไม่เจ็บ และหมอบอกว่าไม่มีอะไร ก็ไม่ได้ทำอะไรเพิ่ม

1 ปีก่อน เริ่มปวดตะโพกขวา ปวดมากๆ ลูกๆ จึงพาขึ้นไป รพ เอกชนใน กทม แพทย์ตรวจโดยละเอียด (หมอกระดูก) ไม่พบว่า กระดูกเป็นอะไรชัดเจน แต่หมอคนนั้น คลำได้ก้อนที่คอ จึงแนะนำให้ตรวจและขอชิ้นเนื้อไปตรวจ พบว่าเป็น papillary CA thyroid, local invasion, multiple nodes metastases..
ทำ bone scan พบ multiple bony metastases..

ต้นเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด total thyroidectomy, pelvis paliative XRT และ thyroid ablation with radioiodine และพบว่ามี pulmonary metastases
1 สัปดาห์เริ่มเหนื่อยมากขึ้น พบว่ามี pleural effusion...


Posted by : OmniSci , Date : 2005-04-27 , Time : 15:12:45 , From IP : 172.29.7.243

ความคิดเห็นที่ : 1


   ที่เล่าให้ฟัง เพียงแต่อยากบอกให้เห็นบางประเด็น ที่ผมเห็นว่าอาจมีประโยชน์และอยากแลกเปลี่ยน
1. จริงอยู่ที่เราไม่รู้ว่า ถ้าก้อนที่คอได้รับการวินิจฉัย และรักษาตั้งแต่ตอนแรก ผู้ป่วยหญิง อายุ 55 ปีคนนี้จะมีพยากรณ์โรคที่ดีกว่านี้หรือเปล่า
2. ถ้าคำบอกเล่าของลูกผู้ป่วยคนนี้เชื่อถือได้ อะไรทำให้แพทย์ท่านนั้น ดูแล neck mass อย่างนั้น
3. เป็นไปได้ไหมที่แพทย์ท่านนั้น ไม่รู้วิธีดูแล neck mass
4. จะดีกว่าไหมถ้าเราไม่รู้ แล้วบอกผู้ป่วยว่าไม่รู้ แล้วส่ง ให้กับผู้รู้ได้ดูแล
5. ไม่รู้แต่บอกผู้ป่วยไปส่งๆ ผู้ป่วยก็เข้าใจว่าเรารู้ และเชื่อถือเราเพราะ เราเป็นหมอ


"ลองถามตัวเองดูก่อนสักนิด ก่อนที่จะแนะนำอะไรผู้ป่วยไป ว่ามี evidence base หรือเปล่า อย่าคิดเอาเอง ไม่รู้ก็บอกไม่รู้ และถ้าคิดว่าสำคัญก็ต้องปรึกษา อย่ากลัวเสียหน้า เพราะ บางครั้ง คนไข้จะเสียชีวิต"

ใน รพ เราก็มีให้เห็นออกจะบ่อยที่ แพทย์บางท่านไม่รู้ แล้วแนะนำคนไข้ผิดๆ

อาจมีใครมองได้กว้างกว่าผม (ผมมองแคบๆ แบบนี้ พอให้ได้ประเด็น) ก็เรียนเชิญชี้แนะได้


Posted by : OmniSci , Date : 2005-04-27 , Time : 15:25:10 , From IP : 172.29.7.243

ความคิดเห็นที่ : 2


   อ้อ
เรื่องบุญ นั้นมีจริง ไม่ได้ล้อเล่น


Posted by : OmniSci , Date : 2005-04-27 , Time : 15:28:37 , From IP : 172.29.7.243

ความคิดเห็นที่ : 3


   อีกอย่าง
ไม่ได้บอกว่า เป็นหมอ ต้องรู้ทุกอย่าง
แต่ขอให้ยอมรับว่า เราไม่รู้ และจะไม่มั่วผู้ป่วยเท่านั้น

และเราก็มีผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง ให้เลือกปรึกษา แทบจะทุกส่วน

การแพทย์ของเรา ก็ไปในทิศทางลึก จนเกินกว่าที่ ทุกคนจะรู้ทุกเรื่องเหมือนหมอสมัยก่อน รายละเอียดมันเยอะจริงๆ

เคยมีคนเล่าให้ฟังว่า นิ้วโป้งข้างขวากระดูกแตกจากของหล่นทับ ไปหาหมอแห่งหนึ่งใน กทม พอแพทย์เวร ติดต่อ หมอกระดูกให้ลงมาดู หมอกระดูกที่อยู่เวรลงมาดู ก็ส่ายหัว แล้วบอกว่า "ขอโทษทีต้องปรึกษาคุณหมออีกคน ผมเชี่ยวชาญ นิ้วโป้งข้างซ้ายครับ..."

แย่เลยเนาะ ถ้าเป็นแบบนั้น


Posted by : OmniSci , Date : 2005-04-27 , Time : 15:38:04 , From IP : 172.29.7.243

ความคิดเห็นที่ : 4


   นานมาแล้วครับมีครูแพทย์ท่านหนึ่งสอนผมว่าการ ดูแลผู้ป่วยนั้นจะต้อง
มี diffential ในใจและหนึ่งใน differential นั้นให้คิดโรคที่ร้ายแรงที่สุดก่อนเสมอ ก่อนจะบอกว่าไม่มีอะไร หรือไม่ต้องทำอะไร จะทำให้เราไม่พลาด disease ที่ aggressive หรือมี morbidity คิดว่าน่าจะใช้ได้เสมอไม่ตกยุค


Posted by : vicryl , Date : 2005-04-27 , Time : 16:35:46 , From IP : 172.29.3.64

ความคิดเห็นที่ : 5


   อืม... โจทย์เกือบจะเหมือนในคลังข้อสอบบอร์ดเลยแฮะ

ตอนเป็น นศพ. เคยถูกอาจารย์ให้ differential diagnose subuncal haemorrhage ไม่ถูกใจอาจารย์ซักที จนที่สุดเฉลยคือ malignant melanoma ก็ตรงกับที่คุณ vicryl ว่าไว้คือ คิดว่าคนไข้ "น่าจะมีอะไร" ไว้ก่อนจะดีกว่าคิดว่า "ไม่มีอะไร" ไว้ก่อน เพราะอย่างน้อยอย่างแรกจะมี action ดำเนินการต่อให้รู้แน่ๆ ส่วนอย่างหลังอาจจะลงเอยคล้ายๆตัวอย่างข้างบน

Medical professionalism นั้นต้องการ competency ของวิชาชีพ ของ cogntive, psychomotor knowledge ก็จริง แต่ที่สำคัญทีสุดคือ "ประโยชน์สูงสุด" แก่คนไข้ยังเป็น backbone อยู่ ฉะนั้นการ "เสียฟอร์ม" ของหมอที่จะบอกว่าไม่ทราบ หรือขอปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่เก่งกว่านั้น ผมว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมองในแง่บวกมากกว่านะครับ ว่าเราจริงใจ ขนาดบอกตรงๆว่าเรื่องนี้เราไม่แน่ใจ มันขึ้นกับว่า "ศักดิ์ศรี" ของเรามันบอบบางแค่ไหนมากกว่า



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-27 , Time : 18:10:57 , From IP : 203.156.119.68

ความคิดเห็นที่ : 6


   แบบว่ามีคนใกล้ตัวเค้าเป็นโรคไทรอยด์มาตั้งแต่เด็กน่ะคะ ตอนเค้าอายุ20ปี ได้ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกไปข้างนึงคะ(รู้สึกว่าจะไทรอยด์เป็นพิษ) ไม่ทราบว่าผู้ที่มีอาการอย่างที่กล่าวมา จะมีโอกาสเป็นหมันมากมั้ยคะ อยากทราบมากๆคะ

Posted by : คนผ่านมา , Date : 2005-04-27 , Time : 20:51:49 , From IP : 203.155.183.160

ความคิดเห็นที่ : 7


   คนที่ได้รับการตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนด้วยสาเหตุใดก็ตาม ไม่ทำให้เป็นหมันค่ะ แต่ก็ควรมีการประเมินว่าระดับไทรอยด์ฮอร์โมนยังอยู่ในระดับปกติหรือไม่ เพราะไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม หากมีฮอร์โมนตัวนี้มากเกินไป(คอพอกเป็นพิษ)หรือมีน้อยเกินไป ย่อมทำให้ร่างกายไม่เป็นปกติสุข อาจมีผลทางอ้อมต่อการเจริญพันธ์ได้

Posted by : ผ่านมาเห็น , Date : 2005-04-29 , Time : 23:39:00 , From IP : 172.29.7.248

ความคิดเห็นที่ : 8


   เรื่องเกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องที่เลือกไม่ได้จริงๆ การมาพบหมอก็เป็นเรื่องของดวงเหมือนกันนะ เพราะคนไข้ทั่วไปก็ไม่รู้ว่าหมอคนไหนใครชำนาญเรื่องอะไร หมอมีความรับผิดชอบต่อชีวิตคนไข้เพียงใด ยามเจ็บป่วยก็หาหมอไปตามแต่อัตภาพ ก็เหมือนขึ้นกับดวงหรือจังหวะและโอกาสรวมถึงบุญกรรมของคนไข้ด้วย ถ้าหมอป่วยร้ายแรงเรายังพอเข้าหาหมอที่ดีที่สุดที่เราหาได้เพราะยังรู้ว่าใครเป็นใคร สำหรับคนไข้และชาวบ้านทั่วไป ท่านก็ควรมีหมอประจำครอบครัวสัก 1-2 คน เราจะได้รู้จักนิสัยใจคอของหมอของเรา เจ็บป่วยทั่วไปก็หาหมอประจำ ผูกสัมพันธ์ไว้ แต่หากป่วยผิดจากปกติธรรมดา ก็อย่าวางใจเชื่อใจหมอคนเดียว ควรหาหมอมากกว่า 1คนเพื่อจะได้รับทราบข้อมูลที่หลากหลาย แต่ก็อาจจะเกิดปัญหามากหมอมากความได้ หรือเข้ารับการตรวจที่โรงเรียนแพทย์ น่าจะมีโอกาสที่ดีเป็นส่วนใหญ่

Posted by : vaitong , Date : 2005-04-29 , Time : 23:58:14 , From IP : 172.29.7.248

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.007 seconds. <<<<<