มีงานวิจัยเรื่องความรักมาให้อ่าน (แล้วลองตอบคำถามตอนท้ายดูเล่น ๆ )ดร.เฮเลน ฟิชเชอร์ (Dr.Helen Fisher) นักมานุษยวิทยาแห่ง มหาวิทยาลัยรัทเกอร์ส (Rutgers University) และทีมวิจัยของเธอ ได้ประกาศหาอาสาสมัครที่บอกว่าเพิ่งจะตกหลุมรักมาใหม่ๆ มาทำการทดลอง โดยคนที่ถูกทดลองจะได้ดูภาพของคนรักสลับกับภาพของคนอื่น (ที่พวกเขารู้สึกเฉยๆ) และจะมีโจทย์เลขง่ายๆ คั่นระหว่างภาพ เพื่อล้างภาพเดิมในสมอง ทั้งนี้ จะใช้เทคนิคเอฟเอ็มอาร์ไอ (fMRI = functional magnetic resonance imaging) เพื่อสแกนสมองดูว่า สมองส่วนไหนกำลังทำงานในขณะที่เห็นภาพต่างๆ (หรือกำลังคิดโจทย์เลข) ผลปรากฏว่าเมื่อคนที่ถูกทดลองเห็นภาพของคนที่กำลังติดพันอยู่ สมองส่วนที่เรียกว่า คอเดตนิวเคลียส (caudate nucleus) และบริเวณเวนทรัล เซ็กเมนทัล (ventral segmental area) จะมีกิจกรรมมากกว่าปกติ โดยส่วนของสมองทั้งสองนี้เป็นบริเวณที่เกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โดพามีน (dopamine) สารนี้จะพุ่งสูงมากในช่วงแรกๆ ที่ความรักยังบานฉ่ำเท่านั้น เพราะเมื่อเวลาผ่านไป โดพามีนจะลดลงและเปิดโอกาสให้สารสื่อประสาทอื่น เช่น ออกซีโทซิน (oxytocin) และเอนดอร์ฟิน (endorphin) เข้ามาทำงานแทน คล้ายๆ กับว่าธรรมชาติใช้สารสื่อประสาทอย่างโดพามีนหลอกล่อให้คนเราตกหลุม "รักแบบดื่มด่ำฉ่ำหวาน" (romantic love) ในช่วงแรกๆ (จะได้เริ่มสืบทอดเผ่าพันธุ์ ....เย้...เย้..เย) จากนั้นก็ใช้สารอื่นเปลี่ยนความรู้สึกไปเป็น "รักแบบผูกพัน" (attachment) ซึ่งตื่นเต้นเร้าใจน้อยลง โดยกระบวนการทั้งหมดนี้กินเวลาประมาณ 4 ปี ตัวเลข 4 ปีนี้น่าคิด เพราะดูจะไปกันได้กับสถิติข้อมูลการหย่าร้างของคนในหลายๆ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งพบว่า การหย่าร้างของคู่สมรสที่มีบุตรคนเดียวมักจะเกิดในช่วง 2-4 ปีแรก โดยเกิดถี่ที่สุดในช่วงปีที่ 4 และนี่เอง ทำให้ ดร.ฟิชเชอร์ โยงเข้ากับวิวัฒนาการของคนเรา โดยเสนอว่า เบบี้ของคนเรานั้นช่วยเหลือตัวเอง (แทบจะ) ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องมีผู้ใหญ่ช่วยกันดูแลสักพักใหญ่ พูดง่ายๆ คือ กลไกวิวัฒนาการทำให้คู่ชาย-หญิงผูกใจสมัครรักใคร่กันประมาณ 4 ปี ซึ่งนานเพียงพอที่เด็กเล็กๆ จะเติบโตจนไม่ต้องคอยดูแลใกล้ชิดมาก โดยถ้าทั้งคู่ไม่มีลูกคนใหม่ ก็จะมีโอกาสหน่ายแหนงสูง แต่ถ้ามีลูกอีกคน ก็จะเข้าสู่วัฏจักร "4 ปี น้ำผึ้งขม" กันต่อไป! แนวคิดอย่างนี้ย่อมมีคนที่ไม่เห็นด้วยแน่ เพราะบางคนทักว่า แล้วความรักสุดซึ้งสีม่วงๆ ระหว่างเพศเดียวกันละจะว่าไง ไม่เห็นจะมีเด็กเล็กๆ มาเกี่ยวด้วยเลย ส่วนปรากฏการณ์ "หัวปี-ท้ายปี" นี่ก็ขัดกับตัวเลข 4 ปีอีกต่างหาก! แล้วคุณล่ะ คิดว่า "4 ปี น้ำผึ้งขม" นี่ ชัวร์หรือมั่วนิ่ม? Posted by : tp53 , E-mail : (tp_53_45@hotmail.com) , Date : 2005-04-26 , Time : 16:31:13 , From IP : 172.29.2.78 |
ถึงว่าซิ ผู้ป่วยโรค Parkinson ส่วนใหญ่อยู่กับคู่รักจนแก่ จนเต้าเกือบทุกคน...เพราะต้องทานยา เสริม dopamine อยู่บ่อย ๆ (ความรักพุ่งสูงอยู่ตลอดเวลา) ...เกี่ยวกันป่าวนี่ Posted by : tp53 , E-mail : (tp_53_45@hotmail.com) , Date : 2005-04-29 , Time : 17:43:44 , From IP : 192.168.26.158 |
ความเห็นจาก Social Network : Facebook |
|
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<< |