ความคิดเห็นทั้งหมด : 40

แพทย์จุฬาฯ กู้หน้ามหาวิทยาลัยไทย


   แพทย์จุฬาฯ กู้หน้ามหาวิทยาลัยไทย

60ใน100ดีที่สุดในโลก ผลงานเจ๋งเข้าตาเพียบ

คณะแพทย์จุฬาฯ ปลื้มติดอันดับ 60 ในการจัดอันดับคณะแพทย์ที่ดีที่สุด 100 อันดับแรกของโลก และเป็นที่ 8 ของเอเชีย นำหน้าหลายมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านการแพทย์ เผยผลงานที่สร้างชื่อเสียงทั่วโลก เป็นคณะแพทย์แห่งแรกที่ผ่าตัดเปลี่ยนไต-ปอด-ตับ-เด็กหลอดแก้วสำเร็จของเอเชีย

เมื่อวันที่ 5 เมษายน นายภาวิช ทองโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) เปิดเผยว่า ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก 100 อันดับแรกด้านการแพทย์และชีวภาพของนิตยสารไทมส์ ฉบับวันที่ 5 เมษายน 2548 ปรากฏว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดอันดับที่ 60 ของโลก และติดอันดับ 8 ของเอเชีย โดยนิตยสารไทมส์ได้พิจารณาจากการสอบถามนักวิชาการในสายวิทยาศาสตร์การแพทย์จากทั่วโลก โดยให้ค่าน้ำหนัก 50% อาจารย์นานาชาติ 5% นักเรียนนานาชาติ 5% สัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา 20% และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ 20% ทั้งนี้ ที่น่ายินดีอีกอย่างคือ จุฬาฯติดอันดับสูงกว่าหลายมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านการแพทย์ของโลก เช่น มหาวิทยาลัยโอตาโก้ของนิวซีแลนด์ อันดับ 61 มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียของแคนาดา อันดับ 62 มหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ของออสเตรเลีย อันดับ 68 มหาวิทยาลัยน็อตติงแฮมของอังกฤษ อันดับ 69 เจ้าของสิทธิบัตรเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ของสกอตแลนด์ อันดับ 84 มหาวิทยาลัยซอร์บอล หรือมหาวิทยาลัยปารีส 1 อันดับ 76

นายภาวิชกล่าวว่า สำหรับคณะแพทย์ จุฬาฯ เป็นคณะแพทยศาสตร์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เพราะเป็นคณะแพทย์แห่งแรกของเอเชียที่ผ่าตัดเปลี่ยนไตได้สำเร็จ ซึ่งในครั้งนั้นได้สร้างความฮือฮาไปทั่วโลก นอกจากนี้ ยังเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งแรกที่ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ปอด ตับ และทดลองเด็กหลอดแก้วได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของเอเชียด้วย

"การจัดอันดับครั้งนี้ส่งผลดีต่อด้านการแพทย์ของไทย เพราะแสดงว่าแพทย์ไทยมีศักยภาพสูง และรัฐบาลเองก็อยากให้เป็นเมดิคอลฮับ หรือศูนย์กลางการบริการด้านการแพทย์ ซึ่งไทยมีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งที่มีชื่อเสียงขจรขจายไปในประเทศรอบๆ และบางเรื่องดังไปถึงญี่ปุ่น ทำให้คนญี่ปุ่นเสียค่าเดินทางมาทำฟันและตีกอล์ฟในเมืองไทย ซึ่งราคาถูกกว่าทำฟันในญี่ปุ่น และคุณภาพยังดีกว่า ฉะนั้น การศึกษาด้านการแพทย์ของไทยน่าจะพัฒนาไปได้ดี โดยผมได้พูดคุยกับคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ว่าน่าจะรับนักเรียนต่างชาติเข้าเรียน ทางคณบดีก็บอกว่าสนใจ ฉะนั้น หากจุฬาฯทำเรื่องนี้ก็จะส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศด้วย เพราะที่ผ่านมาไทยผลิตแพทย์เพื่อตอบสนองความขาดแคลนแพทย์ของประเทศเพียงด้านเดียว" นายภาวิชกล่าว

นายภาวิชกล่าวอีกว่า สำหรับมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ 1 ได้แก่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดของสหรัฐอเมริกา อันดับ 2 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อันดับ 3 มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด อันดับ 4 มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน ของอังกฤษ และอันดับ 5 มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดของสหรัฐ ส่วนมหาวิทยาลัยในเอเชียที่ติด 100 อันดับด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ฯ ได้แก่ มหาวิทยาลัยปักกิ่งของจีน อันดับ 11 มหาวิทยาลัยโตเกียวของญี่ปุ่น อันดับ 13 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ อันดับ 25 มหาวิทยาลัยเกียวโตของญี่ปุ่น อันดับ 28 มหาวิทยาลัยฮ่องกง อันดับ 48 มหาวิทยาลัยฟูดานของจีน อันดับ 49 มหาวิทยาลัยไชนีสฮ่องกง อันดับ 56 มหาวิทยาลัยฮีบรูของอิสราเอล อันดับ 57 จุฬาฯ อันดับ 60 มหาวิทยาลัยนันยางของสิงคโปร์ อันดับ 70 มหาวิทยาลัยโตเกียวเมดิคอลและเดนทอลของญี่ปุ่น อันดับ 73 มหาวิทยาลัยซิงหัวของจีน อันดับ 81 มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟของอิสราเอล อันดับ 83 มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง อันดับ 89 มหาวิทยาลัยฮอกไกโด และมหาวิทยาลัยโอซากาของญี่ปุ่น อันดับ 90 และมหาวิทยาลัยนานจิงของจีน อันดับ 93

มติชน 6 เมษายน 2548


Posted by : Shonigega , Date : 2005-04-06 , Time : 07:40:45 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 1


   -อยากทำเพื่อสงขลานครินทร์ ยังไม่ทราบว่าจะมีแนวร่วมสักเท่าไหร่ ไม่ลองก็ไม่รู้
ปีหน้าคงได้เจอกันครับอาจารย์



Posted by : megumi , Date : 2005-04-06 , Time : 14:19:02 , From IP : 172.29.3.247

ความคิดเห็นที่ : 2


   ขอร่วมด้วยคนค่ะ

Posted by : dogaholic , Date : 2005-04-06 , Time : 15:23:51 , From IP : 172.29.7.98

ความคิดเห็นที่ : 3


   ขณะนี้ "ความท้าทาย" ทางด้านการเรียนการสอนของ มอ. มีความ unique เกิดขึ้นมา คือการผลิตแพทย์เพื่อพื้นที่ และมีการรับ นศพ. track พิเศษ ผมคิดว่าพวกเราเอาประเด็นนี้มาพิจารณาด้วยก็ได้

คะแนนของ นศพ.กลุ่มใหม่จะแตกต่างจาก average เดิทอย่างเห็นได้ชัดพอสมควร (ผมหมายถึงคะแนนตอนเรียนมัธยม) ยิ่งถ้าเทียบกับส่วนกลาง mean ของเด็กกลุ่มนี้จะต่างไปเป็นร้อยคะแนน! โจทย์ของทีมแพทยศาสตร์ มอ. คือการพิสูจน์ว่าบัณฑิตแพทย์ที่ดีมีคุณภาพ ไม่จำเป็นต้องขึ้นกับคะแนนเหล่านี้เสมอไป ผมว่าการที่เราตั้งเป้าหมายจะพิสูจน์สมมติฐานนี้เป็นประเด็นที่ทาทายวงการศึกษา และแพทยศาสตร์ น่าตื่นเต้น

ขณะที่ที่อื่นๆ หากลยุทธ์ในการดักเด้กเก่ง เด็กที่มี privilege เด็กที่มีศักยภาพสูงๆ ด้วยมาตรการต่างๆเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆในส่วนกลาง ผมคิดว่าตลาดนั้นไม่ใคร่ไปด้วยกันกับบริบทของเราเท่าไหร่ แต่มองอีกแง่นึงก็คือตลาดของเรานั้น "ยากกว่า" ในทางปฎิบัติ เป็น known fact ว่า การสอนเด็กที่เก่งอยู่แล้ว cognitive ชั้นดี มีฐานะดี ความสำเร็จนั้นมีต้นทุนรอนอยู่สูง ผมถึงว่างาน "ของเรา" นั้นมันท้าทาย

ถึงแม้ว่า "ท้าทาย" แต่ไม่ถึงกับเป็นไปไม่ได้ การเรียนดีด้าน cognitive นั้นเราเริ่มพบหลักฐานมากขึ้นว่ามันอาจจะไม่เกี่ยวกับ "achievement of a successful doctor" มันมีด้านอื่นๆที่จะช่วยเติม professionalism แก่แพทย์ และตรงนี้อาจจะสำคัญยิ่งกว่า

แต่ถ้า "น้ำหนักการวัด" คือ โดยให้ค่าน้ำหนัก 50% อาจารย์นานาชาติ 5% นักเรียนนานาชาติ 5% สัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา 20% และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ 20% ซึ่งเป็นพิสัยที่น่าสนใจในแง่ representative power ของคำว่า คณะแพทย์ที่ดีที่สุด เราก็อาจจะกัลงเอา weakest point ของเราไปประชัน ผมคิดว่ายังมีที่ที่เราจะมาพิจารณา "ตัววัด" กันว่านอกเหนือจากที่คิดว่านั้น "คณะแพทย์ที่ดีที่สุด" จะสามารถวัดได้จากอะไรได้บ้าง



Posted by : Phoenix , E-mail : (p) ,
Date : 2005-04-06 , Time : 16:30:47 , From IP : 172.29.7.31


ความคิดเห็นที่ : 4


   อือ ผมว่าอย่างนั้นอาจจะต้องเปลี่ยนชื่อหัวข้อใหม่ใช่มั้ยครับ หรือว่าเราต้องเป็นคนคิดเอาเองว่า คำว่าดีที่สุดในความหมายของผู้ที่ทำวิจัยนั้นหมายถึง คะแนนนิยม และผลงานการตีพิมพ์

หากผมทำใจได้ ผมก็เข้าใจว่ามอ คงไม่มีวันที่จะเข้ามาสู่ 100 อันดับแรกได้เลย

ผมอดคิดไม่ได้ว่าหากเอาหลักเกณฑ์เดียวกันมาพิจารณาในเมืองไทย ผมอยากจะคิดเล่นๆว่า มอ จะอยู่ที่เท่าไร ใน 15 สถาบัน


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2005-04-07 , Time : 01:40:08 , From IP : 203.188.4.194

ความคิดเห็นที่ : 5


   คงไม่ต้องเปลี่ยนหัวข้อใหม่ครับ แค่ทำความเข้าใจว่า "ดีที่สุด" ของรายงานนี้วัดพิสัยอะไรบ้างก็พอ เพื่อเปิดโอกาสให้คนอ่านเข้าใจว่าเขากำลังนำเสนอด้านไหนอยู่ เพราะคำว่า "ดีที่สุด" มีความหมายกว้าง



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-07 , Time : 01:49:42 , From IP : 172.29.7.46

ความคิดเห็นที่ : 6


   อาการน้องฮ่องเต้ล่าสุด ดีขึ้น

นายแพทย์ไพโรจน์ วราชิต รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลหาดใหญ่ แถลงว่า ได้รับแจ้งจากรองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ว่า


สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยในอาการของ ด.ช.พัชรพล เจริญศิลป์ หรือน้องฮ่องเต้ โดยขอให้รัฐบาลดูแล 3 เรื่อง คือ 1 ให้งดบุคคลภายนอกเข้าออกห้องไอซียู เนื่องจากเกรงติดเชื้อ 2 กำชับสื่อมวลชนให้ระวังในการเเผยแพร่ภาพการรักษาน้องฮ่องเต้ และ 3 ทรงรับน้องฮ่องเต้เป็นผู้ป่วยในพระอุปถัมภ์ โดยจะรับอุปการะตลอดไป พร้อมให้คณะแพทย์ถวายรายงานอาการน้องฮ่องเต้ผ่านรองราชเลขานุการเพื่อทรงทราบทุกวัน

สำหรับอาการน้องฮ่องเต้ล่าสุดมีอาการดีขึ้น แต่ยังไม่พ้นขีดอันตราย แพทย์ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดในห้องไอซียู ขณะนี้ระบบหายใจชีพจร และความดันโลหิตเป็นปกติ และรู้สึกตัวดีขึ้น สามารถลืมตาข้างซ้ายได้ มีอาการตอบสนองต่ออาการเจ็บปวดขณะทำแผลมากขึ้น

ขณะนี้แพทย์กังวลเกี่ยวกับดวงตาข้างขวา ซึงได้รับผลกระทบอย่างหนัก สำหรับการรักษาขั้นต่อไปแพทย์ได้ทดลองให้น้องฮ่องเต้หายใจเอง สลับกับใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งต้องติดตามอาการอีกระยะหนึ่งซึ่งแพทย์มั่นใจว่าอาการจะดีขึ้น

กรุงเทพธุรกิจ 7 เมษายน 2548


Posted by : Shonigega , Date : 2005-04-07 , Time : 13:20:16 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 7


   Under construction....

1. เรื่อง : Management of biliary duct injury
โดย : นายแพทย์ชูแสง ธีระวิวัฒน์ชัย
วันที่ : 10 กันยายน 2546


2. เรื่อง : Clinical use of tumor marker in the follow-up of cancer patient
โดย : แพทย์หญิงเฉลิมพร โรจน์รัตน์ศิริกุุ์ล
วันที่ : 8 คุลาคม 2546

จาก เวปไซด์ของภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หน้า การวิจัยและผลงาน และ หน้า collective review


Posted by : Shonigega , Date : 2005-04-07 , Time : 13:32:19 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 8


   -ทรัพยากรเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กร สงขลานครินทร์มีบุคลากรที่มีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน(มีหลักฐานหรือผลงานแสดงให้เห็น ไม่ใช่คิดอยู่ในใจ) บุคลากรที่มีคุณภาพเหล่านั้นได้ทำเต็มความสามารถหรือยัง(หรือยังไม่ทันได้ทำอะไรก็ถอดใจยอมแพ้ ไม่ยอมทำอะไร หรือมัวแต่ทำอะไรก็ไม่รู้) ในขณะเดียวกันผู้บริหารมีความสามารถที่จะเก็บคนเหล่านั้นไว้หรือไม่ อาจารย์กำลังจะกลับมาเป็นกำลังสำคัญหรือจะกลับมาให้น้องๆผิดหวัง ตนเองน่าจะรู้ดี
ถ้ามีโอกาสจะไปฟังอาจารย์บรรยายในวันประชุมวิชาการของศัลยกรรมช่วงกลางปีนี้ครับ



Posted by : megumi , Date : 2005-04-07 , Time : 22:54:52 , From IP : 172.29.7.214

ความคิดเห็นที่ : 9


   คอยฟังอันนี้ดีกว่าครับคุณเมกุมิ

S10 ACS Symposium
Surgeons Role in the Tsunami Disaster
Ratplee Pak-art
Prasit Watanapa
Piyasakol Sakonsatayathorn

ผมไปพบในกำหนดการบรรยายในงานประชุมราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยปีนี้ กรกฎาคมครับ น่าจะบรรยายเกี่ยวกับ บทบาทของศัลยแพทย์ในปัญหาภัยพิบัติสึนามิ โดยวิทยากรจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดล (ทั้งสองสถาบันตั้งอยู่ห่างจากพื้นที่เกิดเหตุ มากกว่า 800 กิโลเมตร)
.
ศัลยแพทย์ในพื้นที่ซึ่งมีโอกาสดูแลผู้ป่วยในอนาคต ควรจะฟังไว้ครับ


Posted by : Shonigega , Date : 2005-04-08 , Time : 10:05:23 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 10


   อ่านดูแล้วเจ็บที่หน้าเลย ทำคนสองคนไม่ได้ ต้องช่วยกัน ไม่งั้นก็เหมือนเดิม

Posted by : 123 , Date : 2005-04-08 , Time : 10:18:41 , From IP : 172.29.7.233

ความคิดเห็นที่ : 11


   ของเราจัดเดือนมิถุนายนครับ Update Surgery, Disastyer Medicine Link จาก Home page คณะแพทยศาสตร์ มอ.

17 มิถุนายน 2548 09.00 - 09.15 น. Surgical challenges : Disaster medicine ผศ.นพ.ประเสริฐ วศินานุกร
09.15 - 10.15 น. Current concepts in disaster management
พอ.นพ.สุทธจิต ลีนานนท
10.30 - 12.00 น. Symposium : Weapons of mass destruction
- Current risk and epidemiology พอ.นพ.คเชนทร ปิ่นสุวรรณ
- Biological warfare พล.ต.นพ.สืบพงษ สังขะรมย
- Chemical warfare and nuclear casualities นพ.มล.กรเกียรติ์ สนิทวงศ
Mod : ศ.นพ.ธนพล ไหมแพง
13.00 - 13.45 น. Share experience : Narathivat hospital นพ.สุทัศน ศรีวิไล
13.45 - 14.30 น. Share experience : Tsunami area hospital นพ.นิพนธ โพธิพัฒนชัย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-08 , Time : 10:43:57 , From IP : 172.29.7.37

ความคิดเห็นที่ : 12


   ไม่ใช่ surgeon เข้าฟังด้วยได้ไหมคะ?
และ
โดยส่วนตัวซึ่งมีความรู้น้อยนิด-ความคิดจำกัด ขอความกรุณาผู้รู้ช่วยอภิปรายเพิ่มหน่อยได้ไหมคะว่า
ถ้า มอ. สามารถมีอันดับ 1ใน 100 จากการจัดลำดับโดยใช้
"น้ำหนักการวัด" โดย Time mag. ที่ว่านี้จะเกิดประโยชน์อย่างไร แก่ใครบ้าง
(ขอผ่านเรื่องภูมิใจในสถาบันหรือได้หน้านะคะ-หนูอยากรู้ในแง่ที่ว่า ลำดับดังกล่าวส่งผลอย่างไร ต่อ ประชาชน และพื้นที่ ที่โรงเรียนแพทย์ส่วนภูมิภาคของเรารับใช้อยู่)
คือหนูไม่ค่อยถนัดเรื่องไปเปรียบเทียบว่าใครดีกว่าใครน่ะค่ะ เรื่อง "ดี" นี้พูดกันยาก แล้วแต่ใครว่าดีไม่ดี ยิ่งเอา"ดี" ที่วัดด้วยเกณฑ์ต่างกันไปเทียบกันก็เห็นต้องมา clarify "ดี" กันอีก เพราะงั้นถ้าบอกได้ว่าต่างกันยังไง แล้วส่วนต่างนั้นเหมาะสำหรับที่เราจะเอามาใช้บ้าง หรือทำตามมั้ย หรืออีกที ทำๆไปแล้วตรงกับ aim ของเราหรือเปล่า อันนี้น่าสนค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-09 , Time : 11:18:20 , From IP : 203-151-140-112.inte

ความคิดเห็นที่ : 13


   อีกหน่อยนะคะ
เห็นเขาว่า
"การจัดอันดับครั้งนี้ส่งผลดีต่อด้านการแพทย์ของไทย เพราะแสดงว่าแพทย์ไทยมีศักยภาพสูง"--- อันนี้น่าจะ "ดี" ค่ะ เห็นด้วยว่าควรจะสูงยิ่งๆขึ้นไป ถ้าความสูง ของศักยภาพดังกล่าวจะช่วยเพิ่ม "การพึ่งพา" ตนเองของระบบสาธารณสุขไทย

ส่วน " รัฐบาลเองก็อยากให้เป็นเมดิคอลฮับ" หรือศูนย์กลางการบริการด้านการแพทย์ ซึ่งไทยมีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งที่มีชื่อเสียงขจรขจายไปในประเทศรอบๆ และบางเรื่องดังไปถึงญี่ปุ่น ทำให้"คนญี่ปุ่นเสียค่าเดินทางมาทำฟันและตีกอล์ฟในเมืองไทย ซึ่งราคาถูกกว่าทำฟันในญี่ปุ่น และคุณภาพยังดีกว่า"
กับ
"น่าจะรับนักเรียนต่างชาติเข้าเรียน"
และ "ที่ผ่านมาไทยผลิตแพทย์เพื่อตอบสนองความขาดแคลนแพทย์ของประเทศเพียงด้านเดียว"

อันนี้ไม่ค่อยเข้าใจค่ะ ตกลงว่าที่เราทุ่มเทภาษีเงินได้ของประชาชน แรงกาย แรงใจ กำลังสมอง และอื่นๆอีกมากมายของทรัพยากร"บุคคล" ของเรา เพื่อรับใช้ความต้องการของคนที่แวะเวียนมาบางครั้งแทนที่จะให้ความสำคัญให้กับคนที่เขาฝากฝีฝากไข้ไว้กับเราอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันหรื่อคะ

แล้วก็คิดว่ายังมีนักเรียนไทยอีกไม่น้อยหรอกค่ะ ที่อยากจะเรียนแพทย์ เพื่อเป็นแพทย์ รับใช้ประชาชน และบ้านเกิดเมืองนอน เราคงไม่โชคร้ายขนาดหา"นักเรียน" เหล่านั้นไม่เจอหรือ ไม่มีความหวังเอาเสียเลยว่ายังมี "คนดี" อย่างที่เราต้องการจนต้องเปิดโอกาสเปิดช่องทางการแสวงหาอย่างที่คุณภาวิชว่าเพิ่มอีก

-- หนูเข้าใจประเด็นคลาดเคลื่อนไปหรือเปล่าคะ ใครเข้าใจต่างไปจากนี้ ช่วยเปิดตา เปิดสมอง และเปิดใจหนูที--








Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-09 , Time : 11:51:26 , From IP : 203-151-140-112.inte

ความคิดเห็นที่ : 14


   ทัศนะของคุณลุซิเฟอร์นั้น เป็นคำถามที่สำคัญครับ ผมขออนุญาติเรียบเรียงคำพูดใหม่ว่า "การจัดอันดับนั้นทำไปหาสวรรค์วิมานอันใด อยู่เฉย ๆ ไม่ได้หรือ เราดีในแบบของเราไม่ได้หรือ"
.
ได้ครับ และเป็นเรื่องที่ดีด้วยหากเราจะสามารถ "ดีบนรากของเราเอง" นั่นหมายถึงว่าเราถึงพร้อมด้วยหน้าที่ของเรา เกณฑ์ของเรา
.
รัฐบาลทหารพม่าและรัฐบาลเกาหลีเหนือก็คิดเช่นนี้ครับ ฉันดีและมีแนวทางของฉันแล้ว อย่าได้กรายเข้ามาเกี่ยวเลย
.
แต่ โ ล ก โ ห ด ร้ า ย ก ว่ า นั้ น ครับ เราอยู่บนโลกที่ทรัพยากรจำกัด การแข่งขันเพื่อแย่งชิงนั้น มีอยู่ตลอดเวลา เราถูกคุกคามอยู่ตลอดเวลาจากการแข่งขัน หลายท่านไม่รู้สึกเช่นนั้น เพราะกรอบของการเป็นสถาบันการศึกษาในระบบราชการ คุ้มกันความเป็นคนดี ได้เสมอ แต่เมื่อไหร่กระแสของการแข่งขันซัดเข้ามาพร้อมเกณฑ์ความดีมากมายของคนอืน เราไม่อาจยืนอยู่ได้หากขาข้างหนึ่งยอมรับวิถีแห่งทุนนิยมเสรี แต่อีกข้างหนึ่งขอปฏิเสธ ก า ร แ ข่ ง ขั น
.
มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดในประเทศอังกฤษ แอบรับนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมมีชื่อเสียงเข้าไปในสัดส่วนสูง มหาวิทยาลัยทั่วโลกแข่งขันกันทำวิจัยเพื่อตีพิมพ์ผลงานในวารสารที่มี impact factor สูง เนื่องเพราะ
.
reputation นั้นเปลี่ยนเป็น ทุน ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
.
สถาบัน บุคคล ที่มี reputation ดีกว่า มีโอกาสได้รับทุนวิจัย ทุนในโครงการต่าง ๆ เงินบริจาคจากสังคม ความเชื่อถือ มากกว่า นี่คือทางอ้อม และเป็นเรื่องจริงที่การพิจารณาทุนวิจัยของ granting agency ทัวโลก พิจารณาให้สถาบันที่มีชื่อเสียง น่าเชื่อถือว่างานจะขยายผลให้เป็นเกียรติแก่เจ้าของทุนได้มากกว่าก่อน
.
ทุนมากกว่า โอกาสในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสของคุณลุซิเฟอร์ ก็จะมากตามไปด้วย
.
ในทางตรง ผลงานที่สามารถจดสิทธิบัตร สามารถเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ที่ทำรายได้ให้กับสถาบัน เป็นทุนในการสร้างประโยชน์ ทั้งเป็นทุนในการสร้างผลงานที่มีความหมายต่อไปอีก
.
ที่กล่าวมาทั้งหมด เพียงเพื่ออยากให้เห็นภาพและทราบว่า แม้ในโลกของวิชาการหรือวงการแพทย์นั้น ก็มีการแข่งขันที่ดุเดือดและคุกคาม การแข่งขันเหล่านี้นำมาซึ่งอำนาจการต่อรอง การชี้นำกระแสทางวิชาการและเทคโนโลยี รวมทั้งการชี้นำ ทิ ศ ท า ง ก า ร จัด ส ร ร ท รั พ ย า ก ร
.
ถ้าไม่ตระหนักและขยับให้เท่าทัน วันหนึ่งเราก็อาจจะได้แต่ร้องโวยวายในเวปบอร์ดว่า ทำไมเราไม่มีเงินรักษาคนไข้ ทำไมเราไม่มีเงินซื้อเครื่องมือผ่าตัด ทำไมอาจารย์ลาออก ทำไมเงินวิจัยน้อยจัง ทำไมเราไม่มีงบประมาณไปประชุมวิชาการ ทำไมคนไข้ขอไปรักษาที่อื่น ทำไมเราต้องซื้อแต่ยาฝรั่งมาใช้...ทำไม และ ทำไม
.
with love



Posted by : Shonigega , Date : 2005-04-09 , Time : 12:34:03 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 15


   -คำพูดของอาจารย์Shoniดุจดั่งฟืนสุมไฟในกายให้ลุกโชนจนแทบไหม้ คำของบางคนที่บอกว่าในอนาคตอาจไม่มีใครรู้จักศัลยศาสตร์สงขลานครินทร์ดูท่าจะไม่เป็นความจริงเสียแล้ว
ผมจะเตรียมคนของเราที่พอจะพัฒนาได้ไว้รออาจารย์ครับ



Posted by : megimi , Date : 2005-04-09 , Time : 13:36:51 , From IP : 172.29.3.247

ความคิดเห็นที่ : 16


   มือสั่นจนพิมพ์ผิด



Posted by : megumi , Date : 2005-04-09 , Time : 13:41:25 , From IP : 172.29.3.247

ความคิดเห็นที่ : 17


   ขอบคุณค่ะ ขอบคุณมาก รู้สึกจะเริ่มเห็นแสง
แต่ขออีกนะคะ ...น่าจะหลายคำถาม....
1. ด้วย "ต้นทุนที่มีอยู่ " ของ "เรา" คุณShonigega คิดว่า เราจะทำอะไรๆ (อะไรเอ่ย) ให้ได้อย่างที่ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดในประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยโตเกียว etc. ได้ไหมคะ เราจะเป็น Oxford the 2nd of asia หรือปล่า จริงๆ ก็น่าจะดี นะคะ ถ้าเราทำได้อย่างนั้น คนของเราอาจจะ
1.1เจ็บป่วยน้อยลง สุขภาพกายแข็งแรง สุขภาพจิตแจ่มใส ปราศจากโรคและความพิการ
1.2. ปัญหาความขาดแคลนแพทย์ลดความรุนแรงลงเพราะมีนักเรียนต่างชาติมาช่วยเสริมกำลังดูแลทุกข์สุขของชาวบ้านมากขึ้น
แต่.....สมมตินะคะ สมมติ ถ้านักเรียนต่างชาติเค้ามาเรียนแล้วก็กลับบ้านไปอย่างนักเรียนไทยในต่างแดน(ที่เราหวังเลือเกินว่าจะนำพาความเจริญกลับบ้าน) หรือไม่ก็ อยู่หากินมันในดินแดนด้ามขวานทองนี่แหละ กอบโกยมันเข้าไป เงินทอง และเลือดเนื้อ ก็คนสีเหลือง ผมดำ ตาดำพวกนี้มันไม่ใช่ญาติ ไม่มีบุญคุณแผ่นดินเกิดให้ห่วงหาตอบแทน แล้วเราจะผลิตไปเพื่ออะไรคะ?..............เดี๋ยวค่ะ ......อย่าเพิ่งตอบ....หนูขออนุญาตคิดแทนสักครู่...........คำตอบคือ เพื่อ "มนุษยชาติ" .....งั้นก็แปลว่า เราหวังคุณสมบัติที่พึงปราถนาในแง่ cognitve และ Profesional เพื่อachievement of a successful doctor ในนักเรียนต่างชาติได้มากกว่านักเรียนไทยสิคะ ก็....อ.Phoenix บอกว่า บริบทมันต่างกัน และความท้าทายของเรากะ oxford, cambridge ,berkley,UCLA,Tokyo etc. ก็ต่างกันด้วย
2. คุ้นๆว่า จะมีใครปฎิเสธคำร่ำร้อง(ของคนอื่น)ในการต่อยอดและสืบทอดความรู้ของตนเองด้วยเหตุผลที่ว่า ท่านไม่คิดว่าจะมีปรากฏการณ์ Break through some thing เกิดขึ้นได้ด้วยปัจจัยอันจำกัดหลายด้านของเรา ถ้างั้นคุณShonigega ก็คงคิดต่างไปจากนี้สินะคะ
3.ใครคนเดิม อีกแหละค่ะ บอกว่า "ภาษิตจีนว่า : เพียงมีเงิน ใช้ผีโม่แป้งยังได้" หนูก็เห็นความสำคัญของเงินนะคะ ด้วยสภาพคล่องของเงิน แปรเปลี่ยนเป็นอะไรๆ ที่เราต้องการได้เยอะเชียวค่ะ แต่ที่ น่า concern คือวิธีการได้มาซึ่ง เงิน นั่นต่างหาก และหนูกะลังพยายามจะ "หา" อยู่เหมือนกัน คุณคิดว่าไงคะ?

คือ.....
จริงๆหนูก็เห็นด้วยอย่างคุณShonigegaว่าแหละค่ะ ที่ท้วงโน่นนิด ดึงนี่หน่อยก็แค่กลัวว่าเราจะ "ลืม" - "ราก" ที่คุณว่า และจะเกิดอาการหลงทางวนไปเวียนมาไม่ออกที่ Goal เดิม ก็เท่านั้นเอง

To truely know of love is...to touch it with your own heart and feel it in your soul .... really hard for me but congratulation to you to get - all your love-


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-09 , Time : 13:42:02 , From IP : 203-151-140-112.inte

ความคิดเห็นที่ : 18


   ประเทศอุตสาหกรรมที่มีอำนาจในการ manipulate เศรษฐมหภาคได้ในขณะนี้ ใช้ "ความจำเป็น" หรือ "ความรู้สึกว่าจำเป็น" เป็นเครื่องมือในการที่ทำให้ "ผู้ตาม" ตามในสิ่งที่เขาได้นำหน้าไปประมาณ 20-50 ปี ดังนั้นการันตีสภาวะ "คุกคาม" ว่าจะมีและคงอยู่ตลอดไป

เขามีความ determine ขนาดไหน? ขนาดไม่สนใจจะคำนึงถึง moral หรือภัยต่อสิ่งแวดล้อม ตราบใดที่ short term benefit ยังคงเห็นชัด ตราบใดที่ความได้เปรียบตอนนี้จะช่วยให้เขามี "ความพร้อม" กว่าเมื่อหายนะในอนาคตจากการกระทำในปัจจุบันเริ่มแสดงผล คนที่รับผลลัพธ์เต็มๆคือใคร?

ยกตัวอย่าง นาโนเทคโนโลยี ทักษิณเคยเชิญประธานศูนย์ nanotech จากญี่ปุ่นมาบรรยายในสมัชชาวิทยาศาสตร์ที่ IMPACT เมื่อกลางปีที่แล้ว เขา estimate ว่า "ตลาด" ในอนาคตของนาโนเทคโนโลยีประมาณ หนึ่งพันล้านล้านล้าน us dollars (one billion trillion dollars) ตอนที่สมาชิกที่ไปประชุมแบ่งกลุ่มย่อยวางมาตรการและสร้างเครือข่ายมีแต่คนพูดถึง "เงิน และประโยชน์" แต่ไม่มีใครพูดถึง "ความปลอดภัยและผลกระทบต่อธรรมชาติ" จากวิทยาการอันนี้ ผมพูดไปก็รับฟังกันดีดูเป็นปรัชญา จบแค่นั้น ในสาม fields ของนาโนเทค ได้แก่ nanomaterial, nanobiology, and nanochemistry ถ้าเป็นไปตามที่พยากรณ์จะเปลี่ยนโฉมหน้าของโลกใบนี้ ไม่เพียงแค่ระดับเซลล์ แต่เป็นระดับ base pair เลยทีเดียว มหัศจรรย์มากที่ไม่มีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

สินค้าใน the brave new world ที่ออกมาสู่ตลาด (แล้ว) โดยผู้บุกเบิกคือประเทศญี่ปุ่นได้แก่ สินค้า electronics และสินค้า cosmetic products (เท่าที่คนพูดมีกะใจจะเล่าให้ฟัง) ผมไม่แน่ใจว่าเขา "ทดสอบ" อย่างไร แต่ขณะนี้มีคนใช้แป้งพืเศษที่มีคุรสมบัติจำเพาะในการหักเหแสง ใครใช้ก็ (อาจจะ) ดูอ่อนเยาว์ มีกางเกงชั้นในจำกัดกลิ่น เพราะสามารถเคลือบอนุโมเลกุลที่ hostile ต่อแบคทีเรีย แต่ไม่ได้บอกว่าเศษผ้าหรืออะไรจากกางเกงตัวนี้จะลงไปทำอะไรกับโครงสร้างของ bacteria ในธรรมชาติ เวลาที่มีการสลายหรือผุพังลง เราจะมี carrier ของ super-molecules ที่สามารถกำจัด organism ได้กระจัดกระจายออกมาโดยไม่หยุดยั้งหรือไม่? effects ของนาโนเทค ไม่ต่างจาก genetic modified food หรือ crops เท่าไหร่ ต่างกันตรงที่มันลงไประดับพื้นฐานมากกว่า artificial มากกว่า

เศรษฐศาสตร์ที่ขึ้นตรงต่อ technology แบบนี้ มันมี gap ระหว่างผู้นำกับผู้ตามชัดเจน ผู้ตามจะได้เศษเนื้อประทังชีวิตไปเรื่อยๆ และตลอดไปถ้า "ไม่สามารถ" ที่จะยังชีวิตอยู่ได้ด้วยวิธีอื่น ผู้นำก็ไม่อยากให้ผู้ตามเกิดความรู้สึกว่าเขาสามารถจะอยู่ได้โดยปราศจากวิธีใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ หรือเศรษฐศาสตร์ของผู้นำ เพราะเมื่อผลิตออกมา มันต้องมีผู้บริโภค มันต้องมีผู้ซื้อ

ในกระทู้อีกกระทู้ ผมพูดถึง sense of control เราสามารถนำมาใช้ได้เหมือนกัน บริบทเป็นอย่างไรนั้น อาจจะไม่สำคัญเท่าเราทำให้ "คิดว่า" เป็นเช่นไร กรอบแห่งความคิดนี้แหละ ถึงมองไม่เห็น แต่มันสามารถทำให้เกิด false sense of freedom ได้ชะงัดนัก พระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานดำรัสเตือนว่าอย่าวเราจะอยู่ได้ต้องอาศัย "เศรษฐศาสตร์แห่งความพอดี" การแข่งขันอัน "ดุเดือด และคุกคาม" นั้น เราถูกทำให้คิดว่ามันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ต้องตาม แต่ผมคิดว่ามันไม่ได้สอดคล้องกับปรัชญาแห่งความ "พอดี" เท่าไหร่นัก

ความพอดีนั้นมันควรจะเป็นอะไรที่ self sustainable ไม่ใช่เศรษฐศาสตร์ที่ขึ้นอยู่กับอำนาจซื้อจากภายนอก ไม่ขึ้นกับ "ความต้องการซื้อ" จากภายนอก เพราะเราจะถูกแลกด้วยอำนาจซื้อ (หรือกู้) ของเรา และความต้องการซื้อของเราในสินค้าของเขาเสมอ พ่อใหญ่ชาวอังกฤษที่มาอยู่ที่ภาคอีสานนับสิบปี แต่ติดใจประเทศไทยและคนไทย เขาบอกว่าเขาจบปริญญาเอกวรรณกรรมคลาสสิกที่เคมบริดจ์ แต่ไม่เคยเห็นประเทศไทยที่รุ่มรวยด้วยศักยภาพและแหล่งปัจจัยเท่าประเทศไทยอีกแล้ว เขากลายเป็นผู้นำในพื้นที่เริ่มจากการปรับ "ความคิด" ว่าคนในชุมชนต้องบมี sense of self-sustainability ก่อน อย่าไปพึ่งอะไรที่เราไม่สามารถจะ maintain ได้ด้วยตนเอง ด้วยแหล่งปัจจัยที่เรามีอยู่ และสิบกว่าปีที่คุณพ่อใหญ่มาอยู่เมืองไทย แกได้สร้างหมู่บ้านตัวอย่างเล็กๆที่ self sustained จริงๆ เราเคยเชิญท่านมาบรรยายที่ มอ. หลายครั้งแล้ว นศพ.ที่เข้าอาจจะพอจำได้




Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-09 , Time : 13:51:10 , From IP : ppp-203.118.113.34.r

ความคิดเห็นที่ : 19


   คุณเมียงูมิ การไปบอกใครว่า "ผมฝากความหวังไว้กับคุณ" นั้น เป็นเรื่องหยาบคายครับ
.
ในองค์กร ในกองโจร หรือหน่วยงานอะไรก็ได้ซึ่งมีพันธกิจร่วมกัน ทุกคน ควรจะ "โดน" ฝากความหวังไว้เหมือนกัน เท่ากัน ครับท่าน
.
ผมคิดว่าคุณลุซิเฟอร์คงจะเป็นแฟนสมองของคุณฟินิกส์เหมือนกับผม วันที่ผมอ่านพบประโยค ที่กล่าวว่า เมื่อไม่สามารถสร้างสิ่งที่เป็น break through เนื่องด้วยข้อจำกัดทั้งหลาย ก็เลือกที่จะไม่สืบต่อทางนั้น ผมอ่านวนหลูปอยู่หลายหลูป และยังแปลความโกอังของท่านไม่ออก เนื่องจากขัดกับความเชื่อส่วนตนอย่างรุนแรง อาจจะเป็นเพราะผมด้อยวัยวุฒิและยังมีความฝันในกระแสโลหิตมากเกินไปกว่าที่จะเข้าใจ
.
ผมคิดว่าเราเห็นตรงกันไม่น้อยครับ ที่ว่า ความท้าทายของสงขลานครินทร์ที่เรารัก กับออกซฟอร์ดนั้นต่างกัน และมันคงจะต่างจากความท้าทายของมหาวิทยาลัยฮ่องกง ต่างจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เชื่อว่าคุณลุซิเฟอร์คงเห็นด้วยกับคุณฟินิกส์ด้วย ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง
.
เศรษฐกิจพอเพียง ว่าไว้ด้วยเรื่องการรู้จักตน และการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อที่จะยังประโยชน์ต่อตนและสังคม อย่างมีความหมายที่สุด ลดการพึ่งพิงให้เหลือน้อยที่สุด และพร้อมที่จะต่อยอดความเจริญก้าวหน้าต่อไปอีกตามกำลังทรัพยากรที่มี แต่นั่นไม่ใช่
.
เ ศ ร ษ ฐ กิ จ พ อ แ ล้ ว
.
"อยู่ภูธร แค่นี้ก็พอแล้ว" หากปัจจัยแวดล้อมมัน static เศรษฐกิจพอแล้วคงไปไหว แต่เมื่ออนาคต (การแข่งขัน ความจำกัดของทรัพยากร ความเห็นแก่ตัวของคู่แข่งขัน) กำลังไล่งับ มันเสี่ยงเหลือเกินที่จะถูกถือเปรียบ และถูกกระชากเอาโอกาส ใ น ก า ร ท ำ ค ว า ม ดี ของคุณลุซิเฟอร์ไปอีก
.
ด้วยความรักอย่างแรงกล้า


Posted by : Shonigega , Date : 2005-04-09 , Time : 14:53:29 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 20


   อืม... .มีการยัดเยียด"ความดี" ใส่มือหนูอีก
นั่นจะทำให้หนูลำบากมากในการ ยืนอยู่ ณ ตำแหน่งแห่งที่ในปัจจุบัน ของหนุนะคะ หนูไม่ใคร่อยากทำ "ดี" ค่ะ แต่ใคร่ ให้"ใครๆ" ได้ อย่างที่อยาก ตาม ability ในการรับใช้ของหนู และ ลมหายใจของหนูมันสั้นค่ะ ไม่รู้วันนี้อยู่ พรุ่งนี้ไป เลยอยากให้วันที่เหลือยู่มีประโยชน์กับคนอื่นบ้างเท่านั้นเอง

หนู-นักศึกษาแพทย์- ยังไม่รู้จัก nanotech ค่ะ คาดว่า ประชาชนส่วนใหญ่ๆ ในประเทศนี้ก็คงยังไม่รู้จักเหมือนกัน คือ กำลังคิดว่าถ้าจะมีการ SDL เรื่องนี้จริงๆ ประเด็นเรื่องทำไมฝนไม่มา วันนี้เดือนหน้าจะมีรายได้จาก nanotech มาอุดหนุนราคาพืชผลการเกษตรบ้างไหม High tect Low touch ที่Promoteกันอยู่นั่นตีเป็นราคาแล้วเข้ากระเป๋าใครน่าจะอยู่ใน learning objective นะคะ

อดีตผู้ว่าฯ Bank ชาติท่านหนึ่งเคยกล่าวกับคุณป๋วย ไว้ว่า "เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาเป็นของจริง" บ้านเราเคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เดี๋ยวนี้เราขายข้าวซื้อ........? แล้วเราก็ซื้อน้ำกิน 0.5ลิตร 6 บาท up เอ่อ....ออกนอกเรื่องมาเยอะ เดี๋ยวพากลับเข้าคืนค่ะ ..... คือเราต้องแยก ของจริง...ของสมมติ....คุณค่าจริง..และเครื่องมือ..เพื่อบรรเทาความสับสนว่าด้วยการเปลี่ยน เครื่องมือเป็นของจริงและมี สิ่งสมมติเป็นคุณค่าของชีวิตน่ะค่ะ

คุณ shoni รัก มอ. หนูก็รักค่ะ ถึงแม้ทัศนคติของเราจะตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง ความสามารถและความถนัดต่างกันอย่างไม่เห็นเชิง แต่ ที่สุด เราต่างก็ทำเพื่อ"มอ."ื ที่รักของเรานี่นะคะ งั้นก็ช่วยๆกันคนละมือเท่าที่เราต่างถนัดในทางของเราเถอะค่ะ ประโยชน์ท้ายสุดไม่เพียงเกิดกับมอ. แต่เพื่อประชาชนเจ้าของภาษี ที่ส่งเราเรียน

: o หนูไม่เคยสักครั้งเลยนะคะที่จะ express ว่า.....พอแล้ว....



Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-09 , Time : 16:13:28 , From IP : 203-151-140-112.inte

ความคิดเห็นที่ : 21


   ว่าแต่.....
การที่อเมริกาเจ้ากี้เจ้าการ หยิบยื่นประชาธิปไตยให้ประชาชนชาวอิรัก และอัปเปหิ ซัดดัมออกจากตำแหน่งนี้ ก่อประโยชน์อันใดให้ชาวอิรัก ชนเผ่าเร่ร่อน กองกำลังอิสระ รวมถึงประชากรโลก...... คะ? มีใครพอจะบอกได้บ้าง ว่า
ถ้าสมมตินะคะสมมติ ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ มีใครบ้างอยากให้อเมริกา รีบยกกำลังบุกอิรักก่อนมติสหประชาชาติออกเพียงแค่ 3 วัน

ด้วยพยายามจะ.....รัก.....ค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-09 , Time : 16:36:49 , From IP : 203-151-140-112.inte

ความคิดเห็นที่ : 22


   Sense of "In Control"; The Universal Virtue

ที่กล่าวข้างบนไม่ใช่ทฤษฎีที่ผม quoted มาจากที่ใด เป็นแค่ส่วนหนึ่งของบทสนทนาระหว่างผมกับ อ.วรพงศ์ ณ บ่ายน่าเบื่อ (SSDD; Same Shit, Different Day) วันนึง

ต้นเรื่องเป็นอย่างไรไม่ทราบ (อย่างเช่นเคยทุกครั้งที่ผมคุยกับ อ.เจ๊าะ เราจะไม่สามารถจำได้ว่าเราเริ่มด้วยอะไร และกำลังไปสิ้นสุดที่ไหน ส่วนใหญ่ลงเอยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอะไรทำ หรือกลับบ้าน) แต่บทสรุปคือเราพบ common value ของพฤติกรรมคน ไม่ว่าจะเป็นระดับปัจเจก ชุมชน ศาสนา หรือปรัชญา สิ่งที่เราแสวงหาคือความสามารถในการ "ควบคุมสถานการณ์" และทุกข์ทั้งหลายเกิดจากการ "สูญเสียความสามารถในการควบคุม" นั้นๆ นิพพาน (nippana) ก็เป้นสภาวะแห่งการ "หลุดพ้น" แห่งความ "สงบที่สุด" ไม่ต้องหมุนเวียนตามกงล้อแห่งกรรมแห่งวิบาก เพราะสิ้นสุดแล้ว มองให้เห็นเป็นสภาวะ "absolute controlled" ก็ยังได้

ในระดับปุถุชนก็เช่นกัน ว่ามาตั้งแต่มนุษย์แสวงหาไฟ ไฟฟ้า ถนนหนทาง การสื่อสาร นั้นเป้นการพยายามจะ "ควบคุม" หรือทำให้เกิด sense of "in control" ทั้งสิ้น โยงกลับไปหาประเด็นที่อภิปรายอยู่ เศรษฐศาสตร์แบบไหนๆก็แสวงหาจุดเดียวกันนั่นคือ Control

ต่างกันนิดหน่อยที่ว่า เศรษฐศาสตร์แบบ capitalism รวมทั้งวัฒนธรรม "แสวงหาความสุข" ของทางตะวันตกนั้นเป็นการ ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายนอก" แต่เศรษฐศาสตร์ที่ ศ.นพ. ประเวศว่าเป็นของไทยนั้นคือ "แสวงหาการพ้นทุกข์" นั้นเป็นการ ควบคุมปัจจัยภายใน ซึ่งตรงนี้ผมว่าสอดคล้องเป็นเนื้อเดียวกับพระบรมราโชวาท "เศรษฐศาสตร์แห่งการเพียงพอ" อย่างที่สุด

เศรษฐศาสตร์แห่งการแสวงหาความสุขนั้น ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ เพียงแต่เราต้อง "ลงทุน" แล้วได้ "กำไร" จากที่ลงทุน นั่นคือการลงทุนอย่างชาญฉลาด ที่ดีที่สุดเห็นจะเป็นการลงทุนสร้างทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งตรงนี้ผมไม่มีอะไรขัดข้องใจหรือขัดแย้งแต่ประการใด สร้างถนน สร้างโบสถ์ สร้างโรงเรียนก็ไม่เท่าสร้างคน มันยุ่งนิดหน่อยตรงนี้คนเริ่มแสวงหา "กำไร" ที่ได้ลงทุนไปนี่แหละ มันเป็นหนอนสำรอกใยไหม รังแต่พันตนเองพอกหนาขึ้นเรื่อยๆ จะมีสักกี่ตัวที่ได้กลายเป็นผีเสื้อ จะมีสักกี่ตัวที่พอกใหม่ คนเอาใยไหมไปใช้ต่อ และหนอนก็สำรอกไหมไปเรื่อยๆและเรื่อยๆ

เศรษฐศาสตร์แห่งการเพียงพอนั้นต้องลงทุนไม่แพ้กัน เป็นการลงทุนทางด้านจิตวิญญาณ เป็นการลงทุนที่ต้องอาศัยศรัทธาในระยะแรกและความอดทนอย่างสูง ต้องผ่านการทอสอบจากสิ่งแวดล้อมและ "แรงผลักดัน" จากภายนอกมากมาย เพราะเศรษฐศาสตร์หาความสุขนั้นมันสัมผัสได้เร็ว มัน cool กว่า มันจับต้องได้ มันได้เงินเขียวๆ ขาวๆ เทาๆ แดงๆ มันเพิ่มอำนาจการซื้อ มันเพิ่ม credit มันเพิ่มยศถาบรรดาศักดิ์ เพิ่มตำแหน่งวิชาการ ขณะที่เศรษฐศาสตร์แห่งการเพียงพอนั้นผลประโยชน์มันลงไปกองอยู่ที่เดียวคือสภาวะจิต

เราดูๆไปคงจะมีสอง ambitions มาให้เลือก ผมว่ามันท้าทายไม่แพ้กัน
หนึ่ง เราจะเจริญด้านวิชาการ ความรู้ เทียมทัน "ผู้ผลิต" ในปัจจุบัน คือ ญี่ปุ่น อเมริกา อังกฤษ หรือจีน และอีกหน่อยเราจะได้ไม่ต้องซื้อ เป็นลูกค้าอีกต่อไป แต่เป็นคนขายได้
สอง เราจะเจริญด้าน "เพียงพอ" สามารถเกิด self sustainable พึ่งตนเองได้อย่างครบวงจร ศึกษาตนเอง รู้ตนเอง เข้าใจว่าอะไรคือจุดแข็ง อะไรคือจุดอ่อน อะไรคือที่เราพึ่งพาได้ และลูกหลานของเราจะใช้ได้ไม่หมด (ไม่ได้หมายถึงใช้หนี้ที่เราก่อนะครับ)

เสร็จแล้วพวกเราก้จะมีส่วนผลักดันตนเอง ตั้งเป้าหมายของตนเอง และมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับ virtue กับ ambition ของเราเองครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-09 , Time : 22:31:53 , From IP : ppp-203.118.113.14.r

ความคิดเห็นที่ : 23


   อ้อ... แล้วก็คุร Lucifer ครับ "การจัดอันดับครั้งนี้ส่งผลดีต่อด้านการแพทย์ของไทย เพราะแสดงว่าแพทย์ไทยมีศักยภาพสูง". นั้น ผมตั้งข้อสังเกตว่า คณะแพทยศาสตร์จุฬา ไม่ได้สะท้อน "การแพทย์ของไทย" และผมว่าอาจจะหย่อนน้ำหนักของการแสดงว่า "แพทย์ไทยมีศักยภาพสูง" ในความรู้สึกของผมไม่เท่ากับ sense ของบางคนก็ได้ครับ





Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-09 , Time : 22:35:02 , From IP : ppp-203.118.113.14.r

ความคิดเห็นที่ : 24


   เป็นเกียรติอย่างสูงค่ะ ที่มีข้อความฝากไว้ให้หนูโดยเฉพาะ
หนูรออาจารย์ขึ้น Board มาเกือบๆเดือน รู้สึก issue นี้จะคุ้มค่าที่ตั้งตาคอย
ด้วยความเคารพค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-10 , Time : 10:23:52 , From IP : 203-151-140-111.inte

ความคิดเห็นที่ : 25


   ผมไม่แน่ใจเรื่องรายละเอียดของเรื่องที่ว่า breakthrough เป็นไปไม่ได้แล้วเปลี่ยนวิถีใหม่นั่น ฟังดูผมก็ Koan ไม่แพ้คุณ Shoni เพราะผม sense ว่าจะมีการสื่อสารที่ incomplete เกิดขึ้น

มีสองคำ Ideal และ realistic purposes ห้อยด้วยอีกปัจจัยคือ "ใคร" เป็นคนเห็น outcomes

คนเรามี Ideal world หรือ purposes อยู่ set หนึ่ง ถ้าเป็นระดับ ideal ผมคิดว่ามันจะออกเป็นนามธรรม ไม่น่าจะเป็น outcome รูปธรรม ตัวอย่างเช่น world peace, enligthenment, eternity happiness, nibbana, nirvana, etc เสร็จแล้วเราก็จะวางแผน วางหมาก วาดแผนที่ กาที่หมาย (ถ้ารู้)

บางสิ่งบางอย่างมันเป็นนามธรรมมากๆก็จริง พอนำมาวิเคราะห์แล้วมันมี landmarks พอสัมผัสได้ ให้เราได้ตรวจสอบว่าอยู่บน track หรือไม่ ตรงนี้สำคัญครับ เพราะบางครั้งมันหมายความว่าเราอาจจะต้องวางแผนใหม่ วางหมากใหม่ วาดแผนที่ใหม่ แต่ที่หมายเดิม เพราะเราถูกคลื่นซัดบ้าง สุนามิท่วมเอาบ้าง น้ำมันหมดโลกเอาบ้าง ต้องใช้หลัก Plan Do Check Act อยู่เป็นระยะๆเหมือนทำธุนกิจเหมือนกัน เป็นการตรวจสอบว่าเรายังอยู่ใน real world มากน้อยแค่ไหนน่ะครับ

ปัญหามันอยู่ที่ real world น่ะมันมีหลาย versions เพราะ real อันนี้ไม่ใช่ truth แต่เป็น facts, เป็น บริบท ของคนมอง Programme Director Nanotech ญี่ปุ่นเขามอง real world และความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น และเชื่อมโยงกับ "งานของเขา" ออก ก็จะเห็น real world version A คนอื่นๆบนผืนโลกใบนี้ก็คงต้องมอง real world ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และเชื่อมใยงกับ "งานของเขา" จึงจะออกมาเป็น real world version เฉพาะตัวของเขาได้

ชีวิตคนเรานั้นสั้นมากเมื่อมองในมุมของผู้สร้างโลก หรือของนักประวัติศาสตร์ ตรงนี้เป็น "ข้อจำกัด" ที่สำคัญ ฉะนั้น optimal outcomes จากชีวิตๆหนึ่งนั้นสำคัญครับ เราจะทำงานชิ้นหนึ่งๆในช่วงชีวิตของเราให้สำเร็จได้สักกี่มากน้อย มี monument อะไรบ้างที่หลงเหลืออยู่ (ตรงนี้มีคนเข้าใจว่าต้องเป็นตึกรามบ้านช่องอนุสาวรีย์ จึงจะแปลว่า "เหลืออยู่" แต่มันมี abstract version ของ heritage ด้วย เช่น ศาสนาพุทธนั้นไม่ได้หมายถึงต้นฉบับบาลีขนอน) เพราะมันสั้นนี่เองทำให้เมื่อเราสามารถวิเคราะห์อะไรๆ objectively พวกเราจะพบว่าที่เรากำลังคิดจะทำ ถึงแม้มัน wholesome ถึงแม้มันจะเติมน้ำหนึ่งหยดลงไปบ่อมันจะเต็มขึ้นมาสักวันได้ แต่มันอาจจะ relatively insignificant เมื่อเทียบกับทำอะไรอีกอย่างหนึ่ง

สร้างคน สร้างความคิด สร้างคุณธรรม ผมคิดว่านั่นน่าจะเป็น urgent investment ที่คุ้มค่ามากที่สุด ถ้าผมเปิดบริษัท ใครจะมาร่วมหุ้นบ้างไหมล่ะครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-10 , Time : 10:54:40 , From IP : ppp-203.118.120.40.r

ความคิดเห็นที่ : 26


   งั้นหนูออกจะเห็นด้วยว่า
Ideal และ Real world มักจะเกิดขึ้นและดำรงอยู่คู่กัน ไม่ว่าจะเป็น version ของใคร แต่อัตราส่วนมันอาจไม่เท่ากันในแต่ละคน ถ้าจับเข้าทางธุรกิจ Idealน่าจะ มีค่าเป็นทุน และ Real คือหนทางและวิธีการทำกำไร
ส่วน.....
"ถ้าเป็นระดับ ideal ผมคิดว่ามันจะออกเป็นนามธรรม ไม่น่าจะเป็น outcome รูปธรรม" อันนี้ไม่เห็นด้วยซะทีเดียว ตัวอย่างเช่น ศตวรรษก่อน นักวิทยาศาสตร์
เจ้าของทฤษฎี สัมพันธภาพ อันโด่งดัง กล่าวว่า Imagination is more important than knowledge และ"ข้าพเจ้าไม่ได้คิดเป็นถ้อยคำ เมื่อเกิดความคิดขึ้นแล้ว ข้าพเจ้าจึงพยายามอธิบายด้วยถ้อยคำในภายหลัง"
หนูว่า เค้าอยู่ใน Ideal world ของเค้านานพอสมควรนะคะ ก่อนที่จะออกแถลงการณ์ว่าด้วย การเชิญนักคิดผู้พิศมัยสิ่งที่ตาเห็น จับต้องสัมผัสและอธิบายได้เข้าสู่โลกแห่งจินตนาการของเค้าน่ะค่ะ

ว่าแต่ Ideal,though กะ imagination นี่มันเรื่องเดียวกันหรือเปล่าคะ เดี๋ยวจะกลายเป็นยำใหญ่ไป .....ถ้ามีทางเป็นไปได้ที่จะมี realistic outcomes ออกมาจาก Ideal world หนูว่าบริษัทของอาจารย์ก็น่าจะมีคนสนใจบ้างแหละค่ะ
เผลอๆ real world ของคุณ shoni กะ ideal world ของหนูอาจจะมาบรรจบกันอย่างสันติในสักวันก็ได้.......




Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-10 , Time : 14:57:50 , From IP : 203-151-140-111.inte

ความคิดเห็นที่ : 27


   ขาดทุนน่าดูครับ

Posted by : เหอๆๆ , Date : 2005-04-10 , Time : 15:11:17 , From IP : 172.29.2.91

ความคิดเห็นที่ : 28


   ตระกูล theory physics นี่เป็นสมการเกือบจะล้วนๆเลยครับ "สัมผัส" ด้วยอายตนะทั้งห้าทั้งหกยาก

นิวตัน ไอสไตน์ จนมาถึงฮอคิงส์ ได้ "จินตนาการ" เข้าไปในโลกแห่งอุดมคติ แห่งทฤษฎีเพื่ออธิบาย Stephen Hawking ที่แม้แต่จะพูดก็ยังต้องพิมพ์ผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อ generate ออกมาเป็นเสียง สิ่งที่ท่าน "จินตรกาการ" คิดค้นขึ้นมาถูกถ่ายทอดออกในรูปแบบของประมวลชุมนุมของผงชอล์กและกระดานดำ ของ digital word programme เท่านั้น

ถ้าเราลงทุนด้วยเงินในด้านจิต เราคงจะต้องปรับแนวความคิดเรื่องผลตอบแทนนิดหน่อยครับ ไม่ใช่นั่งสมาธิแล้วอยากถูกลอตเตอรี่นั่นมันก็เสี่ยงเกินไป หรือตักบาตรเลี้ยงพระจ่ายไป 2000 บาทแล้วขอถูกหวยใต้ดินสักล้านนึง นั่นก้เอา "กำไร" ไปนิดนึง



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-10 , Time : 17:28:30 , From IP : ppp-203.118.113.36.r

ความคิดเห็นที่ : 29


   หนูว่าอาจารย์จะเปิดทางให้หนูพูดว่า
"งั้นเราก็ต้องตีทุนเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่เงิน"
แทนที่อาจารย์จะพูดเสียเองสินะคะ? ..... ได้ค่ะ.....งั้นว่ากันต่อ
ที่จริง เราคงจะไม่ใช้เงินเสียทีเดียวคงไม่ได้ เพราะถ้าเงินใช้ผีโม่แป้งได้จริง เงินก็ควรจะเปลี่ยนมนุษย์ขี้เหม็นเป็นเทวดาได้ด้วย หนูยังคิดเหมือนเดิมอยู่ว่า เป็นเพราะ...สภาพคล่องมันสูงมาก ....แล้วแต่คนเอาไปใช้ว่าจะเปลี่ยนมูลค่าของเงินเป็นอะไร
หนูขออนุญาตเรียนถามอาจารย์สำหรับ "ทุน" ที่อาจารย์มีอยู่ตอนนี้ได้มั้ยคะ จะได้เปิดโอกาสให้ใครที่ผ่านเข้ามาอ่านได้พิจารณาความเป็นไปได้ในการทำกำไรของบริษัทนี้บ้าง

หนูว่า...หนูเคยเห็น realistic outcomes ที่ออกมาจาก Ideal world
ไม่รู้มีใครเคยเห็นเหมือนหนูหรือเปล่า เพราะสิ่งที่หนูเคยเห็นมันออก significant สำหรับหนูแต่มันอาจ relatively insignificant สำหรับใครๆ เลยไม่ทันจะมีคนสังเกตเห็นน่ะค่ะ อีกทีตอนที่หนูเห็นนั่นก็เผอิญเป็นversion ของหนูเองอีกด้วย จะมีใครคิดadmit หนูไว้บนหอคอยเหนือพรรคจรัสสัก2-3วันด้วยข้อหา false belive มั้ยคะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-11 , Time : 10:02:07 , From IP : 203-151-140-111.inte

ความคิดเห็นที่ : 30


   "ทุน" คือ "แหล่งปัจจัยของเราที่ถูกใช้ไปเพื่อวัตถุประสงค์"

ปัจจัยที่ว่านี้ว่าไปตั้งแต่อารมณ์ พลังงาน มันสมอง ผัสสะ สฬายตนะ ฯลฯ รวมถึง "เวลา" (ที่เรามีจำกัดจำเขี่ย) นี่เป็น tacit resource ที่มองไม่ใคร่เห็นและง่ายต่อการมองข้าม

แล้วก็ว่ามาถึงที่สัมผัสได้ทั่วๆไป เงิน ตึก สิ่งก่อสร้าง หนังสือ คอมพิวเตอร์ กระดาษ หมึกพิมพ์ laser cartridge, floppy disk, CD, DVD, thumb drives, portable hard-drive, notebook, PDA, etc ไปถึงระดับมหภาค เข่น ภาษี ดอกเบี้ย GDP ฯลฯ

ทุนที่ผมมีก็ไม่ต่างจากข้างบนหรือที่คุณ lucifer และใครๆมี ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมี free will ที่จะใช้เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ตนเองตั้งเอาไว้ เช่น นักศึกษาแพทย์เข้ามาเรียนแพทย์เพื่ออะไร เพื่อเกรด เพื่อคะแนน เพื่อหาแฟน ฆ่าเวลา พ่อแม่สั่งมา เพื่อทะเลาะกับพยาบาล เพื่อเรียกร้องสิทธิ์ หรือว่าเพื่อศึกษาติดตามรอยพระบาทสมเด็จพระราชบิดา เพื่อความสำนึกในหน้าที่ เพื่อการทำงานเป็นทีม เพื่อ social skill เพื่อคุณสมบัติบัณฑิต (ได้แก่ ความถึงพร้อมซึ่งความรู้ความชำนาญวิชาชีพ ความถึงพร้อมซึ่งการแสดงออกการสื่อสารที่งามทั้งทางกาย วาจาใจ ความถึงพร้อมซึ่งหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม) พฤติกรรม การกระทำของเรามันถูกกำหนดโดยเป้าหมายที่ตั้งไว้ก่อน

ถ้าไม่ตั้งไว้ก่อน วัตถุประสงค์ก็จะเป็นระยะสั้น เช่น วันนี้ต้องไปดูหนังกับแฟน เพราะเป็นวันวาเลนไทน์ ดีกว่าการดูหนังสือ ขึ้น ward รับคนไข้ เพราะวัตถุประสงค์หลังๆนี่มันยังไม่ถึงเวลา หรือไม่ได้ priority และอาจจะยังอีกไกลกว่าจะถูกประเมิน

บริษัทของผมเป็นระบบ share-holder ได้ปันผลตลอดเวลาโดยคอมพิวเตอร์พิเศษที่ไม่มี crash ยี่ห้อ Karma-vipaka และมี CPU คือ Natural law version 1.0 Hard-drive มีอสงไขยไบท์ memory ยี่ห้อ Eternity บริษัทนี้เป็น original ของคำกล่าว wysdwyg (what you do is what you"ll get) ที่บริษัทนึงลอกเลียนไปหน้าตาเฉย ปันผลตรงเวลาแต่อาจช้าหน่อยรับรองไม่มีเบี้ยว และตรงไปตรงมา กำไรเป็นยังไงจะทราบเองไตรมาสไหนก็ได้ ขอเพียงผู้ถือหุ้นทำ self assessment ได้ตลอดเวลา Online 24/7/365 ไม่มีวันหยุด



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-11 , Time : 12:03:36 , From IP : ppp-203.118.123.139.

ความคิดเห็นที่ : 31


   มีใครคนนึงเคยบอกหนูว่า
"น้องๆเธอ เค้ายังไม่ mature อย่างเธอนิ เวลาเธอพูดหรือทำอะไรใครเค้าอาจไม่เข้าใจที่เธอพยายามจะทำก็ได้"-- ประมาณนี้
วันนั้นหนูไม่ได้ clarify คำว่า mature กับคนพูด เพราะใจอยู่กับเรื่องที่จะทำมากกว่า มาตีนัยของประโยคนี้ใหม่ทีหลังว่า สิ่งที่เราพยายามจะทำบางทีมันสื่อไม่ค่อยถึงคนอื่น เพราะประสบการณ์เบื้องหลังเบื้องลึก ความเป็นมา ต่างกันสำหรับแต่ละคน สำหรับคนที่เคยผ่านอะไรๆที่ใกล้เคียงกัน ก็น่าจะเข้าใจอะไรๆไปในทางใกล้กัน แต่การเปิดประตูต้อนรับใครเข้าบ้าน - โลกของแต่ละคนน่ะค่ะ- น่าจะมี facilitator บ้าง ไม่งั้นเราจะเปิดบ้านให้ใครๆมาตินู่นวิจารณ์นี่กับ Privacy ของเราเพื่ออะไร


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-11 , Time : 12:30:34 , From IP : 203-151-140-111.inte

ความคิดเห็นที่ : 32


   คุณลุซิเฟอร์ที่รัก
.
หากคุณลุซิเฟอร์เคยอ่านหนังสือหรือชมละครเรื่อง Man of La Mancha และจำตัวละครซ้อนละครที่ชื่อ Don Quixote ได้ ตัวละครตัวนี้ก็เป็นโรค "เบาฝัน" ขั้นรุนแรง เช่นกัน เขามีความสุขกับฝันอันยิ่งใหญ่ ซึ่งสุดท้ายได้กลายเป็นความจริงในโลกของเขาคนเดียว ความฝันซึ่งกลายเป็นจริงโดยสัมพัทธิ์กับกรอบความจริงของเ ข า ค น เ ดี ย ว
.
เรากลับมาที่ real กับ ideal อีกที เพื่อตอบโจทย์ของคุณลุซิเฟอร์ที่กล่าวว่าโลกแห่งความจริงที่ผมยกขึ้นสาธกนั้น "ต่าง" จากโลกตามคติ แต่เชื่อว่ามันจะมาบรรจบกันได้
.
คนมักจะเอา ideal หรืออุดมคติเป็นที่ตั้ง และถือว่า real นั้นเป็นส่วนย่อยหรือเป็นsubtracted ideal เป็นสิ่งที่ด้อยกว่า ต่ำกว่า เลวกว่า ผมเชื่อว่าเรามอง real ได้อีกทางหนึ่ง
.
เรามอง real ได้ว่ามันเป็นส่วนกว้างกว่าของ ideal ซึ่งถูกเติมเต็มแล้วด้วยปัจจัยทั้งหลายซึ่งจับต้องได้ real เป็นผลของการทำให้ ideal จับต้องได้ และมีความหมายต่อบริบทปัจจุบันของสรรพสิ่งได้ มันไม่ได้ด้อยกว่า เลวกว่า ผมถือว่ามันมีอานุภาพมากกว่า มันทำให้คนเชื่อ และร่วมกันทำได้มากกว่า
.
ห ม า ย เ ห ตุ ของทั้งสองที่กล่าวคือมันมีคุณสมบัติที่เหมือนกันอยู่สองสามอย่าง ไม่มีตัวตนที่แท้จริงเกิดขึ้นตั้งอยู่ตามความพร้อมแห่งเหตุปัจจัย ไม่เสถียรและแปรเปลี่ยนตามเหตุปัจจัย กระทั่งดับลงเมื่อหมดเหตุปัจจัย
.
เมื่อเป็นเช่นนี้ใยเราจะไปนั่งใส่ใจว่าสิ่งใดเป็นสิ่งใด อะไรมันออกมาจากอะไร หรือจะเริ่มจากตรงไหน
.
หากเป้าหมายและจุดเริ่มต้นมันต่างทับซ้อนอ้างอิงซึ่งกันและกันฉะนี้แล้ว
.
ยังรักและปรารถนาดีเสมอ


Posted by : Shonigega , Date : 2005-04-11 , Time : 13:45:43 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 33


   คุณ Lucifer ครับ

จากที่ว่า สำหรับคนที่เคยผ่านอะไรๆที่ใกล้เคียงกัน ก็น่าจะเข้าใจอะไรๆไปในทางใกล้กัน เราจะหาคนที่ประสบการณ์อะไรต่อมิอะไรที่ "คล้ายๆกัน" ได้แค่ไหนล่ะครับ?

บริบทที่มีส่วน shape ความคิดอ่านนั้น สั่งสมมาตั้งแต่สมองเริ่มบันทึกข้อมูลได้นั่นแหละครับ เด็กที่อยู่หลังรถคันนึงอาจจะเฮที่ป๊ะป๋าแซงซ้ายแล้วกลับปาดหน้ารถคันหน้าได้ ขณะที่เด็กอีกคันอาจจะกำลังถูกชี้ถูกอบรมว่าอย่าทำอย่างรถคันนั้นเด็ดขาด ประสบการณ์ในอนาคตของเด็กในรถสองคันนี้เมื่อเจอเหตุการณ์อย่างเดียวกันทุกอย่างก็จะมีความหมายไม่เหมือนกัน

เด็กบางคนที่โตมาโดยถูกรุนหลังรีบเข้าไปในลิฟท์ก่อนเพื่อคนรุนจะได้แทรกตาม ไม่ต้องรอคิว เขาก็จะมีมุมมองของ "คิว" อีกแบบหนึ่ง เด็กคนที่ไม่ต้องสอบแข่งขันก็ได้ตำแหน่ง ได้เอกสิทธิ์ก็จะได้ความหมายของคำว่า "สิทธิ์" ออกมาอีกแบบหนึ่ง ผมไม่คิดว่าเด็กคนไหนจะเกิดมาในสีขาวหรือดำ แต่ในความเป็น "เทา" นั้น มันก็มีเฉดเข้มอ่อนไม่เท่ากัน

"ด่าน" ของความสำเร็จสูงสุดตามเป้าหมายนั้นมีอยู่ และ short-cut นั้น จริงๆอาจจะไม่มี มันมีด่านหนึ่ง สอง สาม สี่ ที่จะผ่าน แต่ระหว่างศูนย์ไปหนึ่ง หนึ่งไปสองนั้นอาจจะมีได้หลากหลายวิธี นักกีฬาที่หวังแข่งโอลิมปิก จะต้อง "สั่งสม" ประสบการณ์และความพากเพียรพยายามเป็นด่านๆก่อน โอกาสที่ลงมือปุ๊บก็ world class เลยนั้น อาจจะหลงผิดได้ เพราะความจริงอาจจะต้องเกิดใหม่จึงมีสิทธิ์ ประสบการณ์ที่สำคัญที่สุดในที่นี้คือสองประการ หนึ่ง ความเข้าใจตนเอง และสอง ความเข้าใจในบริบทที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย ขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-11 , Time : 16:33:53 , From IP : ppp-203.118.113.157.

ความคิดเห็นที่ : 34


   นึกอะไรขึ้นมาได้ ลองโยนลงมาให้คิดคำนึง

เคยเห็นเกมต่อไพ่เป็นปราสาทไหมครับ เอาใบหนึ่งวางนอนเป็นฐาน อีกสองใบตั้งเป็นกระโจมสามเหลี่ยม อยากได้สูงๆก็วางฐานให้กว้างขึ้นเรื่อยๆ มันจะต่อยอดเป็นปิรามิด ทีนี้เวลาเล่นก็มีหลายวิธี ที่ classic ก็ใครใหญ่กว่ากัน สูงกว่ากัน มั่นคงกว่ากัน เทคนิกรายละเอียดจะเยอะครับ ตั้งแต่การดัดไพ่ให้โค้งนิดๆเพิ่มความกว้างของฐาน วางฐานแบะขนาดไหนจึง stable, etc คนที่ใช้ไพ่สองสำรับจนหมดนี่จะได้รับการยกย่องนับถือทีเดียวว่าแน่

กลไกการต่อไพ่มันอาศัยหลายอย่างครับ สมาธิ ใจเย็นเป็นน้ำ (ไม่ใช่น้ำเดือดนะครับ) ใช้สมอง ประเมินสถานการณ์ใหม่ ออกแบบ ฯลฯ แต่ถ้าเริ่มมีคนหัวเสธฯ รู้ว่าที่สุดแล้วจะวัดกันตรงสูง ตรงมั่นคง ก็เริ่มมีการใช้ไพ่พิเศษ ออกแบบน้ำหนักที่วางง่าย จนไปถึงมีการใช้ sticky glue เสริมขอบ ก็สามารถได้ปิรามิดที่สูง มั่นคงกว่าเก่า โดยไม่ต้องใช้ฝีมือมาก บรรลุ "วัตถุประสงค์" ในการประเมินได้เหมือนกัน

เหมือนกันจริงหรือ?

ที่สุดแล้วแม้แต่เด็กสิบขวบก็อาจจะต่อไพ่หมดสองสำรับในเวลาพริบตา อะไรที่มัน "ขาดไป" หรือ "ไม่เหมือน" กัน

บางทีการมองที่ "การวัด" ปลายสุด เราลืมไปว่าของเดิมนั้นที่ "เป้าปลาย" มันมีค่าเพราะ "ขบวนการ ขั้นตอนในการสร้าง" ไม่ใช่เป้าหลายซะทีเดียว แต่การที่เราเพ่งเล็งเป้าปลายมากเกินไป ในทีสุดก็มีทางลัด ทางล่อ ทาง ฯลฯ ก้เหมือนกับการสอบที่รู้โพยนั่นแหละครับ ได้คะแนนมากๆได้เหมือนกันกับคนที่ทุ่มเทอ่านทุกอย่าง ฝึกฝนทุกอย่าง แต่ระหว่างสองคนนี้ (โพย และ ทุ่มเท) ได้ตาม "วัตถุประสงค์เหมือนกันหรือไม่?"

ไปๆมาๆ เป้าหมายปลายอาจจะไม่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าปราศจากขบวนการที่ใช้เวลาเคี่ยวกรำ ถ้าปราศจากฐานที่ค่อยๆสร้างสมด้วยวิธี primitive ด้วยวิธีโบราณ ไม่ใช้เครื่องไม้เครื่องมือ ทั้ง "เป้าหมาย และกระบวนการ" อาจจะเสริมความสำคัญของสิ่งนั้นๆก้ได้ ไม่งั้นในอนาคตเราอาจจะมีแม่พิมพ์คลื่นสมองของคนที่ "ตรัสรู้" แล้วออกแบบเครื่องแปลงคลื่นสมองให้ตรัสรู้ได้ ออกวางตลาด โดยคนที่ตรัสรู้ไม่ต้องเรียนรู้ชีวิต ไม่ต้อง "รู้จริง" ก็ยังได้

ผมชอบทางลัดเหมือนกันครับ แต่บางอย่าง "ทางวิบาก" มันช้ากว่า มันลงทุนลงแรงมากกว่า แต่อาจจะสร้างอะไรที่มันมั่นคงถาวรกว่าก็ได้ มันอาจจะสร้าง "ประสบการณ์จริง" ไม่ใช่ "ประสบการณ์ที่ downloaded มา" ไม่ทราบว่าอย่างไหนจะดีกว่ากัน หรือเราควรจะเปรียบเทียบหรือไม่ หรือเราควรจะ promote แบบใดให้กับเยาวชนยุค thumb drive ในปัจจุบัน?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-12 , Time : 10:55:53 , From IP : ppp-203.118.113.244.

ความคิดเห็นที่ : 35


   ก็ยากแหละค่ะ....20 กว่าปีอาจมีแค่....สักคน....

หนูเริ่มจาก
1 ดู logo นกPhoenix (อืม...มาอีกแล้ว)
2 พยายามอ่านทีละบรรทัด
(Dict. อยู่ไหนว้า....ว่าจะไปซื้อพจนานุกรมไว้แปลไทยเป็นไทยอีกเล่ม...ให้เพื่อนข้างห้องมันค่อนแคะเอาอีกว่า-เธอจะซื้อมาทำไมยะ-ได้โปรดนึกภาพผู้หญิงหน้าตาดีมากก ตัวเล็กจิ๋ว ยืนเอามือเท้าสะเอวข้างนึงไปด้วยนะคะ)
3 หัดตีความแต่ละประโยค (ยากจางงง...พูดอะไร...ไม่เห็นจะรู้เรื่อง)

ใช้เวลาเกือบ 2 ปีแน่ะค่ะ กว่าจะกล้าลองราดน้ำมันให้ใครมาจุดไฟเผาตัวเองบ้าง คิดว่า น่าพอใจขึ้นเรื่อยๆ และถึงจะอีกนานแต่ก็หวังจะแตะสักclass

หนูว่าก็จริงนะคะ ที่เราอาจจะหาคนที่มีประสบการณ์อะไรต่อมิอะไรที่ "คล้ายๆกัน" ได้ยาก ว่าไปหนูคงไม่เหมือนอาจารย์เมื่อ 20 ปีก่อน ....ไม่น่าจะคล้าย ....

การที่เราใช้เวลาแบ่งปันความคิดกับคนที่คล้ายกันมันก็ง่ายดีที่จะต่อเติมเสริมยอดแต่ก็เสี่ยงที่จะมี "ความฝันซึ่งกลายเป็นจริงโดยสัมพัทธิ์กับกรอบความจริงของคนที่มีโลกคล้ายๆกัน" ดังนั้นการที่จะมีคนที่จะมีโลกที่ต่างไปจากเรามาร่วมshare บ้างก็เป็นโอกาสดีที่จะเปิดมุมมองการรับรู้ ช่วยกันหาดี..และไม่ดี ผสมสีเข้มสีอ่อนให้เป็นที่ "พอจะ" ยอมรับได้ แล้วจะเอาไงต่อก็ค่อยว่ากัน ใช่ไหมคะ

reply ต่อมา ...ขอเวลาอีกหน่อย...นะคะ เผื่อจะมีใครนอกจากเราอยากให้เว้นช่องเพื่อแทรกเข้ามาบ้าง

และคุณ Shoni
ว่าด้วยRoman astronomy,
Lucifer was the name given to the morning star (the star we now know by another Roman name, “Venus”
แต่หนูไม่ค่อยแน่ใจว่าคุณ shoni จะมาจากดาวอังคารหรือเปล่า อย่างไรก็ดีเราก็ยังอยู่บนโลกใบเดียวกันนี่นะคะ

ขอบคุณสำหรับความปารถนาดีค่ะ ทั้งความรักและความปรารถนาดีของคุณ Shoni คงมีเผื่อแผ่น้องศิษย์ ลูกศิษย์ หลานศิษย์ นักเรียนแพทย์ผู้ปรารถนาจะติดตามรอยพระบาทสมเด็จพระราชบิดา และที่ลืมไม่ได้ ก็ผู้ถือหุ้นใน The Phoenix co. unlimited คนอื่นๆด้วยใช่ไหมคะ ยินดีกับอาจารย์ Phoenix ค่ะ หนูไม่ทราบว่าอาจารย์ตั้งชื่อบริษัทว่ายังไง ก็ขอใช้เป็น Pronoun ไปก่อนแล้วกันนะคะ



Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-12 , Time : 12:47:17 , From IP : 203-151-140-111.inte

ความคิดเห็นที่ : 36


   S10 ACS Symposium
Surgeons Role in the Tsunami Disaster
Ratplee Pak-art
Prasit Watanapa
Piyasakol Sakonsatayathorn

ดูรายชื่อวิทยากรก็รู้ว่า "คนพูดได้ กับคนได้พูด"เป็นอย่างไร
งานนี้มันอย่าบอกใคร หรืออย่าบอกใครว่ามัน


Posted by : นกน้อยบินลอยลับ , Date : 2005-04-12 , Time : 22:35:05 , From IP : 172.29.7.186

ความคิดเห็นที่ : 37


   
" ผมชอบทางลัดเหมือนกันครับ แต่บางอย่าง "ทางวิบาก" มันช้ากว่า มันลงทุนลงแรงมากกว่า แต่อาจจะสร้างอะไรที่มันมั่นคงถาวรกว่าก็ได้ มันอาจจะสร้าง "ประสบการณ์จริง" ไม่ใช่ "ประสบการณ์ที่ downloaded มา"

หนูเคย "เชื่อและผลักตัวเองเข้าสู่ทางที่ยากกว่า" มาตลอดค่ะ เมื่อไรก็ตามที่ต้องเลือก และมีทางเลือกที่เทียบกันแล้ว หนึ่งเป็นพรมโรยกลีบกุหลาบ อีกที่เหลือเป็นถนนกรวดกับขวากหนาม หนูมักจะเลือกฝึกตัวเองให้คุ้นเคยกับอุปสรรคด้วยหวังเหลือเกินว่าที่สุดของปลายทางจะมีสิ่งที่คุ้มค่าแก่การต่อสู้รออยู่ แต่ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา หนูชักเริ่มไม่แน่ใจ มันอาจจะเป็นเวลาที่น้อยเกินไปหน่อยในการเกิด Paradigm shift ซึ่งถ้ามัน shift ขึ้นมาจริงๆ สิ่งที่หนูคาดว่าอาจารย์จะไม่ rule out ไปแน่ๆ คือ ศรัทธาที่ไม่มั่นคงพอที่จะต้าน resistance แต่ช่วยไม่ได้จริงๆที่ความสั่นคลอนต่อresistance ที่ว่านั้นมันดันเกิดจาก Role model ที่relation(?), reliableและ respect อย่างที่ "โดน" จริงๆ จนหนูเริ่มไม่แน่ใจว่า หนูจะใฝ่ลำบากต่อไปเพื่ออะไร


Posted by : Lucifer , Date : 2005-05-26 , Time : 13:19:46 , From IP : 172.29.2.162

ความคิดเห็นที่ : 38


   ไม่เป็นไรครับ นศพ.นั้น mature พอที่จะเลือกทางของตนเอง และพอที่จะได้รับผลจากสิ่งที่ตนเองเลือกครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-26 , Time : 17:15:57 , From IP : 203.156.37.228

ความคิดเห็นที่ : 39


   วันนี้ไปที่ภาค Ortho มา เดินแฉลบไปเห็น

" Success is Journey,Not Destination" ที่ข้างฝา...

อ่านแล้วได้แรงดีเลยเก็บมาฝากค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-05-27 , Time : 17:25:14 , From IP : 172.29.4.79

ความคิดเห็นที่ : 40


   อยากเป็นส่วนร่วมของ แพทย์ มอ.แข่งกับทั่วโลก

Posted by : - , E-mail : (-) ,
Date : 2005-08-20 , Time : 01:43:37 , From IP : 202.129.49.18


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.017 seconds. <<<<<