ความคิดเห็นทั้งหมด : 46

Does the bomb effected to MedPSU????!!!


   Ent scores for medPSU is going to be decreased
Do you think so?
I think so....


Posted by : ttt , Date : 2005-04-04 , Time : 17:45:19 , From IP : 203-150-218-195.inte

ความคิดเห็นที่ : 1


   แสดงความเสียใจต่อผู้สูญเสีย
สลด หดหู่ใจ ต่อผู้กระทำ



Posted by : chai , Date : 2005-04-04 , Time : 21:58:09 , From IP : 203.155.172.111

ความคิดเห็นที่ : 2


   วันนี้เจอคนไข้ไปซื้อของขวัญให้ลูกสาวที่ห้างคาร์ฟู แล้วถูกสะเก็ดระเบิด มีรอยฟกช้ำที่หน้า มาติดตามดูแผลที่เย็บ เลยถามว่าวันเกิดเหตุลูกสาวไปด้วยหรือเปล่า เดชะบุญที่เด็กไม่ได้ไป พ่อกะจะแอบให้ ให้ลูกสาวดีใจ
ถ้าไม่อย่างนั้น ก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
มันเศร้าจริงกับชีวิต ตอนนี้อยู่เฉยๆก็มีสิทธิตายได้
หรืดเราควรจะเห็นใจคนที่เค้าวางระเบิดดี เค้าถูกกดดันจนต้องวางระเบิด????


Posted by : mabus , Date : 2005-04-05 , Time : 13:22:01 , From IP : 172.29.3.241

ความคิดเห็นที่ : 3


   เราอาจจะ (และควร) พยายามศึกษาทำความเข้าใจถึงสาเหตุและแรงผลักดันในการกระทำครับ แต่ผมหวังว่าทุกคนเข้าใจตรงกันว่าการวางระเบิดฆ่าคนบริสุทธิ์นั้นเป็น maladjustment ไม่สมเหตุสมผลไม่ว่าจะโดยปรัชญาหรือศาสนาหรือเหตุผลใดๆก็ตาม ผมอาจจะเข้าใจคำว่า "เห็นใจ" ไม่ตรงกัน เพราะฟังดูเห็นใจมันคล้ายๆกับว่าถ้าเป็นเราก็อาจจะทำอย่างเดียวกัน หรือคล้ายๆกันภายใต้แรงกดดันเหมือนกัน

ปฏิกิริยาของสังคมนั้นขึ้นอยู่กับมุมมองครับ ถ้าสัใคมที่เข้มแข็งที่ตั้งใจว่าจะไม่ถูก terrorized ได้ง่ายๆ รัฐบาลจะออกมาแสดงความรับผิดชอบด้าน security และขอร้องให้ประชาชนทำงาน ทำตัวตามปกติ เพราะ concept ของ terrorist คือกลุ่มคนที่มีวัตถุประสงค์จะทำให้เกิด terror โดยมีวตถุประสงค์ทางการเมือง การเป็นอยู่ ดังนั้นถ้าชุมชนนั้นๆเกิดความหวาดกลัว เปลี่ยนพฤติกรรม ตกอยู่ภายใต้อำนาจการข่มขู่ นั่นคือชัยชนะของ terrorist ไปเรียบร้อย ยิ่งถ้าประชาชนเกิดหันไปเข้าข้างterrorist ด้วยแล้ว เรียกว่าฝ่ายรัฐแพ้อย่างราบคาบ เพราะการฆ่าคนบริสุทธิ์นั้นมันไม่ควรจะเป็นสิ่งที่คนสติสัมปชัญญะดีๆเขาทำกัน

ในสังคมที่ต่างคนต่างอยู่ไม่เหมือนกัน กระแสความร่วมมือเพื่อคนอื่นๆจะเกิดขึ้นน้อย ยาก หรือไม่เกิดเลย รัฐไม่ได้ความร่วมมือ คนที่มี options มากกว่าก็จะหา option ที่ง่ายที่สุดเอาตัวรอดไปก่อน แรงกดดันจะตกอยู่กับคนที่มี option น้อยกว่า และรังแต่จะเพิ่มากขึ้นเรื่อยๆ และที่สุดก็หาทางออกเท่าที่มี กลุ่มหลังนี้จะเป็นกลุ่มที prone ต่อการเกิด terror หรือมี potential of terrorizable สูง ถูกกลืนง่าย หรือ forced ให้ใช้วิธีรุนแรงโต้ตอบเท่าที่ทำได้ เพราะไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างแท้จริงจากรัฐ

ประเมินสถานการณ์ตอนนี้ ไม่มั่นใจเหมือนกันว่ามีอะไรที่ทำให้อุ่นใจขึ้นบ้าง OK ที่สนามบินหาดใหญ่ security ถูกbeef-up ขึ้นพอสมควรที่เดียว แต่ที่ดอนเมืองผมไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงจากที่พึ่งไปเมื่อวานนี้ ทั้งขาเข้าขาออก คนสามารถกระโดจาก taxi เดินเข้าตึกอาคารผู้โดยสาร ที่เต็มไปด้วยคนเดินกระจัดกระจายตามปกติ ไม่มีการตรวจเช็คกระเป๋าถือหรือวัสดุใดๆที่จะนำเข้าไปในตึกทั้งสิ้น ข่าวที่บอกว่ากทม. identify 180 จุดที่ระแวดระวัง ผมไม่เห็น materialized ในสนามบินดอนเมืองในประเทศ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-06 , Time : 10:24:11 , From IP : 172.29.7.210

ความคิดเห็นที่ : 4


   อาจารย์นกไฟคะ ทำอย่างไรจะให้ภาคใต้อยู่ได้อย่างสันติสุข เราคงไม่สามารถรอให้รัฐบาลมาแก้ปัญหาได้แล้ว เพราะพวกเขาต้องดูแลทรัพย์สินและธุรกิจของเขา และยังต้องสร้างภาพ ปกปิดข่าว ฯลฯ พวกเราที่เผชิญหน้ากับความจริงนี้ต้องรวมตัวกัน หาวิธีที่ทำให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและมีสันติสุข เหล่าปัญญาชนต้องเป็นแกนนำรวบรวมชาวบ้าน ให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับชาวบ้าน ทำอย่างไรถึงจะให้สังคมของเราเติบโตขึ้นได้โดยไม่ต้องหวังพึ่งรัฐบาล แต่ให้เติบโตจากปัญหาที่พวกเราเผชิญกันอยู่นี้

Posted by : RS , Date : 2005-04-06 , Time : 11:37:25 , From IP : wbar13.lax14.32.239.

ความคิดเห็นที่ : 5


   คุณ RS ครับ

ขอบพระคุณที่กรุณาให้เกียรติถามคำถามที่มีความสำคัญเช่นนั้น ถึงแม้ว่าผมจะไม่มีคำตอบให้ก็ตาม แต่กุศลเจตนาขอตอบรับโดยการพยายามวิเคราะห์กลับก็แล้วกันนะครับ

ถึงแม้ว่าผมจะไม่เห็นด้วยกับหลายๆอย่างของรัฐบาลชุดนี้ "โดยหลักการ" แล้วความสันติสุขของรัฐใดๆ มันต้องบูรณาการกับนฌยบายการปกครอลขอลผู้นำรัฐนั้นๆให้ได้ครับ เพราะหลายๆสาเหตุ ประเด็นสำคัญคือ "แหล่งปัจจัย" เงินภาษีที่เราประชาชนจ่ายๆไปนั้นเมื่อเดือนที่แล้ว และต่อๆไปมันควรจะหวนกลับมาพัฒนาประเทศในด้านสำคัญๆ ได้แก่ สุขภาพ ความปลอดภัย สวัสดิการ สิทธิเสรีภาพ ของประชาชน ซึ่งทุกอย่างนี้มันจะเป็นรากฐานที่สำคัญของทุกอย่างรวมทั้งตัวโจทย์ของคุณ RS นั่นคือ "สันติสุข" ด้วย

ปัญญาชนก็เป็นชาวบ้านกลุ่มหนึ่งเท่านั้น "แรง" ที่แท้จริงคือประชาชนทุกคนครับ กลุ่มนักวิชาการอาจจะมีกำลังคือ "ข้อมูล และบทสรุปวิเคราะห์ด้านลึก ด้านกว้าง" เราหวังว่าเมื่อ "ข้อมูล" เหล่านี้สามารถถูกแพร่กระจายจะเป็นส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจ แรงผลักดัน ให้มวลชนเกิดความเคลื่อนไหว และถ้าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมัน work จริง ภูเขาก็จะเขยื้อน ตามที่ ศ.นพ. ประเวศ ท่านได้ให้สมการไว้

อุปสรรคในขณะนี้คือประชาชนได้มอบความไว้วางใจให้แก่รัฐบาลชุดนี้อย่าง overwhleming คุณค่าของสังคมก็จะถูกชี้แนะไปในทางที่รัฐบาลชุดนี้เห็นว่าดี และคนส่วนใหญ่ของประเทศเห็นว่าดี ตรงนี้เป็นจุดหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยครับ และนัยของคำกล่าวที่ว่า "คนส่วนใหญ่นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นฝ่ายถูกเสมอไป" ผมไม่แน่ใจว่าการวิเคราะห์ตรงนี้จะถูกมากน้อยแค่ไหน ครั้งนึงคนส่วนใหญ่เคยเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ครั้งนึงคนส่วนใหญ่เคยเชื่อว่าโลกแบน ดังนั้น "ข้อมูลที่ถูกต้อง" สำคัญมาก และการกระจายข้อมูลเหล่านี้ก็ "สำคัญมาก"

มองโลกในแง่ดีก็คือ ประชาชนส่วนใหญ่ถ้าคิดว่าเรากำลังเดือดร้อนจากสถานการณ์นี้ เราสามารถทำให้มันเกิดเป็นแรงผลักดันทางการเมืองได้ แปลว่ารัฐบาลควรจะรับฟัง ทีนี้เรื่องของเรื่องคือ "อะไร" ที่เป็นตัวทำให้รัฐในขณะนี้มัน "click" หรือมัน "tick"? เป็นเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน หรือว่าเสียงหนังสือพิมพ? หรือเสียงที่ปรึกษาท่านผู้มีอำนาจ? หรือเสียงในหัวของใครคนหนึ่งเพียงคนเดียว?




Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-06 , Time : 16:48:34 , From IP : 172.29.7.31

ความคิดเห็นที่ : 6


   เห็นด้วยว่าไม่ควรใช้คำว่าเห็นใจค่ะ...
เพราะฟังแล้วเหมือนเป็นพวกเดียวกัน -- คล้ายๆ กับเป็นความผิดของสังคมนี้ ที่ไปรังแก ไปทำร้ายจนเขาต้องตัดสินใจทำอย่างนั้น---

เห็นด้วยกะอาจารย์ Phoenix ว่าเป็น maladjustment ...เป็นสิ่งที่สังคมโดยรวมยอมรับไม่ได้


Posted by : virgo , Date : 2005-04-06 , Time : 22:23:37 , From IP : 172.29.7.102

ความคิดเห็นที่ : 7


   เรียนอาจารย์นกไฟคะ ทำไมประชาชนถึงยอมให้คะแนนรัฐบาลชุดนี้อย่างท่วมท้นคะ เพราะความรู้เท่าไม่ภึงการ หรือ ขาดการศึกษา หรือ ถูกหลอกจากการสร้างภาพ การหาเสียง หรือการซื้อเสียง ผู้รู้ต้องออกมาให้ความกระจ่าง ให้ความจริง เปิดหู เปิดตาชาวบ้าน การศึกษาต้องทำให้ชาวบ้านเข้าใจถึงระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง สามารถเข้าใจระหว่างนโยบายที่ดี ที่เป็นไปได้ กับที่ฟังแล้วดูดี ทำจริงแล้วเจ้ง มหาวิทยาลัยควรเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างรากฐานการศึกษาที่นำไปใช้ได้ในการดำเนินชีวิต ไม่เพียงแต่ป้อนวิชาการแต่ใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้สื่อที่วี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และอื่นๆต้องมีส่วนสนับสนุนต่อการศึกษาที่ดีด้วย

เมื่อไม่นานมานี้ มีเด็กอายุ 5 ขวบคนหนึ่งโทรแจ้ง 911 (เหตุด่วนเหตุร้ายที่สหรัฐ) ถึงเหตุการณ์ที่พ่อแม่เด็กถูกยิงเสียชีวิตในบ้านได้ ทำให้ได้รับการช่วยเหลือในเวลาต่อมา เหตุการณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า การศึกษาของเขานำมาใช้ประโยชน์ได้จริง (การสอนเรื่องความปลอดภัย เช่นเบอร์โทรสำหรับเหตุด่วนเหตุร้าย การปฎิบัติตัวเมื่อมีไฟไหม้ อยู่ในหลักสูตรตั้งแต่อนุบาล)

อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าหลักสูตรไทยไม่ดี หลักสูตรต่างประเทศดี ทั้งสองหลักสูตรก็มีส่วนดี ส่วนด้อย แต่ส่วนที่ควรปรับในหลักสูตรเมืองไทยคือ เรียนรู้ทางทฤษฎีมาก แต่นำไปปฎิบัติจริงได้น้อย ทำให้ไม่เห็นผลของการศึกษา เราไม่จำเป็นต้องตามแบบฝรั่ง (เพราะส่วนแย่ๆ ก็มีเยอะๆๆๆๆ) และดิฉํนเชื่อว่าเรามีบุคลากรที่ดีจำนวนหนึ่งที่จะเป็นตัวเริ่มต้นในการเขยื้อนฐานของภูเขา (ไทย) ได้
ต้องร่วมด้วยช่วยกันค่ะ เริ่มเมื่อไหร่ดี



Posted by : RS , Date : 2005-04-06 , Time : 23:56:04 , From IP : 149.142.243.116

ความคิดเห็นที่ : 8


   คำตอบที่แท้จริงคงต้องให้ตัวคนกาเลือกตั้งเป็นคนบอกแหล่ะครับ เราเพียงสามารถ "ตั้งสมมติฐาน"

ตามทฤษฎีพฤติกรรม เหมารวมว่า "ทุกคน" เข้าใจความหมายของการกาเลือกตั้งและ consequence ของการกา นั่นแปลอย่างกำปั้นทุบดินว่า นิยามของความสุข(ของคนกา) นั้นตรงกับ หรือสามารถเกิด จากการเลือกคนที่เขาเลือก ตรงนี้แหละครับที่เปิดกว้างให้มีการ manipulate อย่างมากมาย นอกเหนือจากความตรงไปตรงมา ซึ่งเป็น "จุดแข็ง" ของระบอบประชาธิปไตย ที่มี If หรือ condition กำหนดไว้หลายจังหวะ

บางคนเข้าใจว่า "ความสุข" คือการได้เบี้ย 500 บาท จากผลแห่งการกระทำคือกากบาทหนึ่งรอยพฤติกรรมก็ออกมาได้ บางคนเข้าใจว่า "คำมั่นสัญญา" ที่ให้ตรงกับความหวังของเขา ก็กากบาทออกมาได้ บางคนก็รู้สึกว่า "ไม่มีทางเลือกอื่น" ที่ดีกว่านี้ ฯลฯ หนทางเดียว (จริงๆ) ที่จะป้องกัน Type II error (คิดว่าสมมติฐานของคนกาถูก้อง ทั้งๆที่มันผิด) ก็คือการทำให้คนเลือกมีข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และ "ตรง" กับหลักการของการเลือกตั้ง คือการเลือกคนเข้าไป "บริหารประเทศ" ตรงนี้ก็จะกลับมาที่ประเด็นต่อไป คือ การศึกษา สิ่งยึดมั่นยึดเหนี่ยว คุณค่าทางสังคม ค่านิยมของสังคม ณ ขณะนั้นๆ ตรงนี้ไม่ใช่คำว่า ถูกผิด จะอธิบายได้ มันผสมกันระหว่างตรรกะ กับ ศรัทธา และอะไรที่มันเป็น "กระแสสังคม" (เป็นคำที่ผมก็กล้ำกลืนพูดโดยขาดวามเข้าใจอย่างถ่องแท้) ของชุมชน ของประเทศ ณ เวลานั้นครับ

ทีนี้ในฐานะของคนในสังคม โดยส่วนตัวผมคิดว่าเราไม่สามารถจะอภิปรายเหมือนกับเราเป็นบุคคลที่สาม ทุกๆคนเปนฟันเฟืองของสังคม และทุกขณะจิตนี่เรากำลังปั่นฟันเฟืองเหล่านี้อยู่ สังคมมันหมุนแม้แต่เวลาเราหลับ (เพราะจากการกระทำของคนอื่นๆ "บวก" กับการ "ไม่กระทำ" ของเราที่หลับ) การผลักดันที่ว่านี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นขณะที่เรารู้สติว่าเรากำลังผลักหรือไม่รู้ ฉะนั้นคำถามว่าใครควรจะทำ หรือทำเมื่อไหร่นั้นเป็น moot point เพราะทั้ง action & inaction ของทุกๆปัจจเจกมันส่งผลไปให้สังคมไม่มากก็น้อยอบู่ตลอดเวลา เหมือน real-tiem game Online แหละครับ ถ้าเราเผลองีบไป ตื่นมาอาจจะพบว่าร่างเราถูดยิง ถูกสับเละเทะไปเรียบร้อยโรงเรียนวัดลิงขบไปนานแล้ว

ความสำคัญและมาตรฐานของสื่อมวลชนนั้น ผมไม่สามารถจะบรรยายให้เป็นคำพูดว่ามันยิ่งใหญ่เพียงไร ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมระดับปัจเจก หรือกลไกระดับรัฐของอาจารย์ประเวศ ข้อมูล และ knowledge จะเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดต่อพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงของสังคม ประเทศชาติ คนที่ส่งข้อมูลให้ประชาชนเสพย์ หากขาดมโนสำนึกหรือประมาทไม่เข้าใจในความสำคัญของงานที่ตนทำอยู่ อาจจะหารู้ตัวไม่ว่าตนเองกำลังมีส่วนที่ทำให้ชาติๆหนึ่งล่มสลาย ทำให้เกิดคนเลวจำนวนมาก ทำให้คนดีๆเจ็บปวดทรมาน ทำให้วัฒนธรรมสาบสูญ ทำให้กาลกิณีกำเนิดและรุ่งเรือง ทำให้เสนียดกลายเป็นของบูชานับถือได้



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-07 , Time : 00:48:12 , From IP : 172.29.7.92

ความคิดเห็นที่ : 9


   อ้อ.... ลืมไปหน่อยนึง ผม "ไม่เห็นด้วย" นิดนึงตรงที่ว่า "มหาวิทยาลัยควรเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างรากฐานการศึกษาที่นำไปใช้ได้ในการดำเนินชีวิต " ครับ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วผมว่าเราเริ่ม "ช้าไปเยอะ" ครับ เดี๋ยวนี้มหาวิทยาลัยเขาเรียนกันแค่ 3-4 ปีก็จบแล้ว เด็กที่เข้ามหาวิทยาลัยแล้ว mature ได้นั้น ไม่ได้เริ่มในรั้วมหาวิทยาลัยหรอกครับในความเห็นของผม ผมคิดว่า "ครอบครัว" เป็นรากฐานของสังคมมานานมากและยังไม่มีอะไรมาทำให้ปลี่ยนแปลงความคิดตรงนี้ไปได้ OK โรงเรียนน่าจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นจริงในการอบรมสั่งสอน แต่เด็กก็อยู่ที่ รร. แค่วันละไม่กี่ ชม. และส่วนใหญ่ก็เรียน contents ซึ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกับคุณธรรม จริยธรรม (เช่นเปรูส่งออกอะไรเยอะที่สุด หรือลอนดอนเริ่อมถูก bombard โดยเยอรมันนีเดือนอะไรปีอะไร อย่างตอนที่ผมเรียนภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์สมัยก่อน) เวลาส่วนใหญ่เด็กอยู่กับครอบครัวครับ ตรงนั้นแหละคือ quality time

แต่ตรงนี้นิยาม quality time อาจจะเปลี่ยนไปบ้าง บางคนอาจจะเริ่มสูญเสียความมั่นใจในการอบรมลูก เอ้อ เอาส่งไปเรียนพิเศษน่าจะดี ส่งไปอยู่กับเพื่อนๆตั้งแต่ตัวเท่าเมี่ยงน่าจะดี ซึ่งไม่ต้องรีบร้อนเลยในความเหนของผม เด็กมันจะเริ่มติดเพื่อนตอนเข้าวัยรุ่นซึ่งปัจจุบันมันมาถึงเร็วกว่าที่เราคิดหลายปี เอา quality time อยู่กับพ่อแม่ปู่ย่าตายายตอนเป็นเมี่ยง ตอนตีนเท่าฝาหอยแมงภู่ หอยกาบเข้าไปเถอะครับ ดีกว่าจะมานั่งย้อนนึกเสียใจว่าเราไม่ได้รู้จักหรือได้พูดคุยอะไรกับลูกสักกี่มากน้อยทีหลัง

ประเดี๋ยวจะเหมือนอังกฤษที่ถ่ายผ่องหน้าที่การอบรม social skill ให้โรงเรียน นั่นเขากำลังแก้ปัญหาครอบครัวในประเทศอยู่ เพราะทำไปทำมาอังกฤษมี single mum มี teenage mum มากที่สุดในยุโรป พวกนี้มันสอนลูกไม่เป็น รัฐก็ต้องหาทางแก้ไข

หรือว่าพ่อแม่ไทยก็ hopeless เหมือนอังกฤษไปซะแล้วฤา? เลยต้องเอาไปฝากครู



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-07 , Time : 01:06:01 , From IP : 172.29.7.92

ความคิดเห็นที่ : 10


   ตอนที่อยู่ รร.ประจำตอนม.ต้นสนุกดีครับ ตอนนั้นผมไม่แน่ใจว่าผมเริ่มเข้าวัยที่ติดเพื่อนหรือยัง ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง โดยเฉพาะที่แปลกอย่างไม่น่าเชื่อก็มี

Posted by : 123456 , Date : 2005-04-07 , Time : 04:08:04 , From IP : 203.188.4.194

ความคิดเห็นที่ : 11


   เรียนอาจารย์นกไฟค่ะ ขออภัยที่สื่อสารไม่เคลียร์ซักเท่าไหร่ ที่หมายถึงมหาวิทยาลัยเป็นจุดเริ่มต้นนั้นไม่ได้หมายความว่ารอจนนักเรียนมาเข้ามหาวิทยาลัยแล้วค่อยจะเริ่มอะไรต่อมิอะไรกัน แต่หมายความว่ามหาวิทยาลัยต้องลงไปสู่ชุมชน นำความรู้ งานวิจัยไปบอกชุมชนว่า เขาควรจะทำอย่างไร หรือไปร่วมกันทำวิจัย หรือแก้ปัญหากับชุมชน อาจจะคล้ายๆกับความรู้ที่คณะแพทย์จัดให้คนเข้าฟังได้ฟรีในเรื่องปัญหาสุขภาพ อันนั้นก็เป็นตัวอย่างที่ดีอันหนึ่ง แต่อยากให้ลงลึกถึงรากถึงโคน อย่างที่มหาวิทยาลัยวันศุกร์ทำอยู่ เปิดให้มีการสนทนากันในเรื่องต่างๆ และเชิญผู้รู้ หรือผู้มีประสบการณ์เข้าร่วม และให้ประชาชนเข้าฟังฟรี อันนี้คิดว่าดีมากเช่นกัน

และที่บอกว่ามหาวิทยาลัยควรจะทำเพราะมีทรัพยากรบุคลากร (อาจารย์) มีแรงงานและแรงสมองคือนักศึกษา มีวัสดุอุปกรณ์ มีการรวมกลุ่ม ฯลฯ ที่จะทำให้การเข้าถึงชุมชนเป็นไปได้มากกว่าระดับโรงเรียน


Posted by : RS , Date : 2005-04-09 , Time : 02:53:44 , From IP : wbar13.lax14.32.239.

ความคิดเห็นที่ : 12


   ที่คุณ RS เสนอมานั้นน่าสนใจมากเลยครับ

เมื่อประมาณปลายปีที่แล้ว มีสัมมนา Medical school consortium ในหัวข้อการบูรณาการ Health promotion & Health Maintenance เข้ากับหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต จุดประสงค์ในกลายเป็น Health Promoting Medical Curriculum หรือ Health Promoting Medical School แทนที่จะเน้นด้านซ่อมอย่างเดียว บัณฑิตแพทย์ต้องสามารถ "สร้าง" ได้ด้วย และให้สอดคล้องกับ (ร่าง) พรบ.สุขภาพ (ยังไม่คลอดครับ ครรภ์หินตั้งแต่ปี 2544) ที่ว่า "สร้างนำซ่อม" การใช้วิธีสร้างเสริมและธำรงสุขภาพน่าจะมีประสิทธิภาพ มี cost effectiveness ดีกว่าการเน้นซ่อม เน้นรักษาเสียอีก

สองกลยุทธ์สำคัญของ health maintanance หรือ health promotion ตามที่ WHO ได้บอกไว้คือการทำ enabling และการทำ empowerment ได้แก่การสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้ข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือประชาชนมีเจตคติที่ดีในการพยายาม อยากจะมีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากพยาธิ และสามารถทำในบริบท ในสิ่งแวดล้อมจริงของตนเองได้ ไม่ต้องมีสูตร หรือกฏเกณฑ์ตายตัว เช่น เต้น aerobic ก็ทำได้ ณ ที่ไหนก็ได้ที่มีที่ มีเวลา ไม่ต้องไปเต้นที่ศาลากลางออกทีวีปีละครั้งสองครังเป็นต้น

ในการกระทำอย่างนั้นในฐานะ medical school เรามีบทบาทสำคัญในการดึงเอาข้อมูลเชิงประจักษ์ออกเผยแพร่ให้เป็นสิ่ง popular เป็นสิ่งที่ใครๆก็อยากทำ (advertisement or marketing technique) ให้ได้ ที่นี้อะไรๆที่ cool ที่จ๊าบ ที่เด้กแนวปัจจุบันสนใจนั้น อยู่ในพื้นที่จุดอ่อนของนักวิชาการส่วนใหญ่ เวลาจะจัดประชุมวิชาการมีคนเสนอเอา น้องโอมาน คุณหนุ่ม อะไรมาพูด กรรมการอึ้งกิมกี่เพราะหารู้จักน้องๆทั้งหลายแหล่ที่เอ่ยนามมาไม่

สรุปแล้วผมเห็นด้วยครับว่าสถาบันการศึกษานอกเหนือจากมีหน้าที่สอนนักศึกษา วิจัยความรู้ใหม่ หาคำตอบอะไรต่างๆแล้ว เรายังมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะทำให้สิ่วที่เรารู้ เข้าใจ และเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนออกเผยแพร่ สร้างเป็นวัฒนธรรม เกิดวัฒนธรรมที่ว่า Knowledge is the virtue ขึ้น สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาจึงจะสามารถหมุนไปตามวัฎจักรได้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นจะได้ผันแปรเป็นรูปแบบงานวิจัย หาคุณค่าที่ซ่อนเร้น กลั่นออกมาเป็นแนวปฏิบัติที่อธิบายได้ สอนได้ ทำตามได้ และผลสามารถจะเกิดซ้ออย่างที่แต่โบราณได้สังเกตเอาไว้



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-09 , Time : 09:34:16 , From IP : ppp-203.118.113.67.r

ความคิดเห็นที่ : 13


   555+

จะเรียนมอ.แล้วนิ


Posted by : ttt , Date : 2005-04-09 , Time : 19:11:30 , From IP : 203-150-218-195.inte

ความคิดเห็นที่ : 14


   ก็คงจะออกตัวเหมือนเคยว่า...
ประสบการณ์น้อยนะคะ ....หนูอาจไม่ได้อยู่บนโลกนี้มานานเท่าที่อาจารย์และคุณRSอยู่มา ...ทำให้หนูอาจด่วนสรุปและประมวลผลข้อมูลเร็วไปบ้าง

หนูเคยถาม "ครู" โรงเรียนประถมคนหนึ่งว่า...ความสำเร็จ...ของโรงเรียนประถมอยู่ที่ไหน....วัดกันยังไง
ก็ได้คำตอบยาว..ฟังจนอ่อนเลยค่ะ ในบรรดาเกณฑ์ต่างๆ ที่ร่ายมา มีน่าสนใจอยู่ที่ข้อสุดท้าย "ให้เด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้" ที่หนูว่าน่าสนใจเพราะ เป็นข้อเดียวที่พูดถึง "เด็ก" แถมpriorityอยู่ท้ายสุด
หนูเล่าให้เค้าฟังเรื่อง How to be nice ที่เราเคยว่ากันไปก่อนหน้านี้น่ะค่ะ เสร็จก็ถามเค้าว่า..คิดยังไง ได้คำตอบมาว่าเห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ เค้าไม่ได้เห็นด้วยกับหนู....หนูเลยสรุปว่าสิ่งนี้สะท้อนอะไรบางอย่าง.....มีการเกี่ยงงาน ผลักภาระ -หน้าที่ระหว่าง 2 สถาบัน คือ โรงเรียน และครอบครัว ด้วยเหตุผลและความจำเป็นที่ต่างก็อ้างมา หนูมาคิดใหม่ว่าถ้าเป็นอย่างนี้คนที่น่าเห็นใจคงจะเป็น "เด็ก" ซึ่งถูกโยนไปทางนั้นที ทางนี้ที ไม่มีใคร "คิด" ว่าเป็นภาระหน้าที่ของตัว
หนูว่าด้วยขนาดของโรงเรียนประถมกับชุมชนนี้น่าจะมีข้อจำกัดต่อการจัดการต่างจาก "มหาวิทยาลัย" และ "ภาคใต้ " อาจารย์หรือคุณ RS เห็นว่าอย่างไรคะ ลองเปรียบเทียบดูเล่นๆ หน่อยเถอะค่ะ ว่ากันไปจนถึงระดับประเทศ ครึ่งหมอครึ่งชาวบ้าน อย่างหนู ตามไม่ทัน

และหนูว่าหนูคุ้นๆว่าจะมีความพยายามในการเอาชนะครอบครัวสำหรับทัศนคติบางประการที่ครอบครัวได้ปลูกฝังหยั่งลึกมา เกินกว่าที่สถาบันการศึกษาจะปรับเปลี่ยนได้ (ที่ห้องประชุม3 ชั้น 7 เมื่อปลายเดือนมีนาที่ผ่านมา) หนูไม่แน่ใจว่าจับประเด็นถูกหรือเปล่า ถ้าเป็นจริงหนูเดาว่า อาจารย์คงเป็น1ในแนวร่วมสำคัญที่พยายามจะกระทำการโดยไม่ผลักภาระคืนไปให้ครอบครัวใช่ไหมคะ
หนูหวังเหลือเกินว่า...จะมีวันที่ใครต่าง cliam สิทธิ์พร้อมกับความรับผิดชอบ
ถึงแม้ว่ามันจะดู Ideal อย่างสาหัส

ส่วนเรื่อง "ความสำคัญและมาตรฐานของสื่อมวลชน" เห็นด้วยและไม่เถียงสักคำเลยค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-14 , Time : 12:56:58 , From IP : 203-151-140-117.inte

ความคิดเห็นที่ : 15


   เดือนธันวาคม 2547 หน่วยแพทยศาสตร์ศึกษาพานักศึกษาปี 3 ไปวัฒนธรรมสัญจรที่ กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกที่หนูทำความรู้จักชุมชนคลองเตย (นอกจากที่เคยได้ยินเพียงแค่ชื่อ) 3 ชั่วโมงสำหรับการเดินดูพื้นที่บางส่วน ฟังอาสาสมัครชุมชนเล่าประวัติและการจัดการชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและฟังบรรยายสรุปอีกทีโดยวิทยากรของมูลนิธิดวงประทีป หนูบันทึกประสบการณ์ไว้ดังนี้ค่ะ

" การแก้ปัญหาสังคมที่มีประสิทธิภาพต้องเริ่มจากชุมชนรู้ปัญหาของตัวเอง การต่อรองที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ เหมาะสมกับสภาพปัญหาที่แท้จริงร่วมกับการรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็ง มีผู้นำที่ดี จะสามารถผลักดันให้เกิดการกำหนดทิศทางชุมชนแบบ Bottom up ผลที่เกิดขึ้นน่าได้รับการยอมรับที่ดีกว่ารอการแก้ปัญหาจากรัฐ ที่มักจะกำหนดนโยบายมหภาคนโยบายเดียว ซึ่งอาาจจะใช้ไม่ได้ในทุกกรณีเนื่องจากบริบทที่แตกต่างกันในแต่ละสังคม ดังนั้นการที่ชุมชนจะดูแลตัวเองได้ต้องเกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน ความช่วยเหลือจากภายนอกไม่ว่าจากภาครัฐหรือองค์กรเอกชนก็ตาม ไม่ควรเป็นการยื่นมือเข้าไปจัดการเปลี่ยนแปลงชุมชนอย่างสิ้นเชิงในระยะสั้นเพื่อหวังผลเพียงปัญหาชั่วคราวเฉพาะหน้า แต่ควรเป็นเพียงการสนับสนุนในด้าน Resource อย่างเหมาะสม จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน"

แนววิเคราะห์นี้หนูได้มาจากการเข้าฟังการบรรยายในชั่วโมง ethics ณ ห้องทองจันทร์ เมื่อปีการศึกษาที่ผ่านมานี้เองค่ะ จากการเปรียบเทียบเนื้อหาของการบรรยาย 2 ครั้ง ครั้งแรกวิทยากรคือ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ อีกท่านเสียดายที่จำไม่ได้แล้วว่าท่านชื่ออะไร กับครั้งที่ 2 น่าจะโดยพ่อใหญ่ชาวอังกฤษที่อาจารย์พูดถึง หนูข้องใจอีกอย่างหลังจากที่พ่อใหญ่ท่านนั้นตอบคำถามสุดท้ายของหนู ท่านว่าท่านไม่เห็นด้วยกับวิทยากรร่วม(ที่เคยเป็นครูมาก่อน) เกี่ยวกับเรื่องการศึกษาน่ะค่ะ ได้ยินว่า.... การศึกษาอย่างเดียวไม่ได้ อะไรๆ ก็ให้การศึกษา ... ตกลงว่าจนเดี๋ยวนี้หนูก็ยังไม่สรุปค่ะ และยังอับปัญญาจะคิดเรื่องนี้ต่ออาจารย์และคุณRS เห็นว่าอย่างไรคะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-14 , Time : 15:27:28 , From IP : 203-151-140-117.inte

ความคิดเห็นที่ : 16


   เท่าที่คุณ Lucifer เขียนมา ผมสนใจว่า "คุณ Lucifer คิดอย่างไรมากกว่าครับ หลังจากที่ได้ฟังมามากมายหลาย sources กลั่นแล้ว แต่งแล้ว เหลือเป็นเช่นไรลองเล่าให้ฟังหน่อย (โดยไม่ต้องมี reference นะครับ เอาจากที่คิด)



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-14 , Time : 18:56:34 , From IP : ppp-203.118.123.152.

ความคิดเห็นที่ : 17


   ทั้งหมดข้างบนนั้นคือกลั่นแล้ว แต่งแล้วและ.. เหลือ..แล้วจากการผสมfacts ของทุกๆ sources ค่ะ

และสิ่งที่หนูคิดคือ หนูคิดว่าตอนที่ครูโรงเรียนประถมพูดว่า "ให้เด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้" ให้อารมณ์คนฟังเหมือนตอนที่ท่านนายกพูดว่า "ต้องรู้จักและเข้าใจชุมชน" น่ะค่ะ หนูเกิดอาการสงสัยมาตั้งแต่ตอนนั้นว่า เค้า"ทำ" อย่างที่พูดกันจริงหรือ หรือพูดเพราะมันเป็นอะไรที่ควรจะพูด-ต้องพูดเพราะมันฟังหรูดูดี
หนูว่าหนู"เห็น" หลักวิชาการดีๆ ที่ลงไปไม่ถึงชาวบ้าน สิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่ควรจะเป็นยังไม่มีจุดสัมผัสซึ่งกันและกัน บุหรี่ราคาแพงขึ้น แต่คนที่บ้านหนูก็ยังสูบอยู่ เห็นว่า ให้สูบเถอะ ตายแล้วก็ไม่ได้สูบอีกหรอก อาจารย์พยายามยืนยันว่า เป็นหน้าที่ที่พ่อแม่ต้องอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูลูกโดยไม่ผลักภาระให้โรงเรียน หนูก็ยังเห็นคนแถวบ้าน.... ขอโทษนะคะ สิ่งต่อไปนี้อาจจะหยาบคายหน่อยแต่เป็นคำพูดที่หนูได้ยินเค้าพูดกันจริงๆ คนบ้านนอกหรอกค่ะ อย่าถือว่าการศึกษาน้อยหรือด้อยการอบรมมารยาทเลย....

ก็ผัวมันทำมาหากินซะที่ไหน วันๆดีแต่กินเหล้าเที่ยวผู้หญิง เงินมันไม่มีใช้มันก็ไม่เดือดร้อนเพราะแม่มันมีเงินให้มันใช้ อี.(ชื่อ)..นี่ก็ดีแต่แรดไปทางนั้นทีทางนี้ที ลูกเต้าไม่รู้จักดู หาข้าวให้ลูกกินยังไม่เป็นเลย สมพอแม่ย่ามันจะไล่หนี เป็นกูไล่หนีไปแต่นานแล้ว ....
หมายเหตุ สิ่งที่ถูกเรียกว่าแรดไปทางนั้นทีทางนี้ที คือ การพยายามหาเงินด้วยการขายอะไรก็ได้ ทั้งเครื่องสำอาง ชุดชั้นใน ลูกชิ้นและไก่ทอด ค่ะ

หนูได้ยินบ่อยค่ะ ...อาจารย์หรือนักวิชาการท่านไหนเคยเห็นวิถีชาวบ้านแบบนี้มั้ยคะ? หนูได้ยินจนจะท่องได้พอเห็นคนเคยด่า ....เริ่มจะ ด่า...ใหม่อีกที..โลกแห่งความเป็นจริงนอกวงวิชาการมันโหดร้ายอย่างนี้เองใช่ไหมคะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-14 , Time : 21:05:36 , From IP : 203-151-140-117.inte

ความคิดเห็นที่ : 18


   มีสองสามประเด็นที่จะเริ่มสาวไปได้ แต่ก่อนอื่นขอเริ่มอย่างนี้ก่อน

ผมถนัดในการวิเคราะห์โดยตรรกะ ฉะนั้นอะไรที่เป็น emotional มีโอกาสสูงที่จะถูกผมตัดทิ้งไปโดยไม่ตั้งใจ ทั้งๆที่รู้ว่าในบรรดาการรับรู้และแปลคนเราใช้ทั้งส่วน logic & feeling แต่ถ้าผมคิดเร็วๆทีไรมันจะเกิด prejudice และ automatic discredit ส่วนที่ผมรู้สึกว่ามัน overwhelming emotional ไปง่ายๆ ที่พบบ่อยที่สุดคือการทำ stereotyping หรือ generalize ตัวอย่างที่เรามีออกเป็นคำอธิบายสากล หรือ universal rule

นั่นจะเป็นที่มาบางส่วนของบทวิเคราะหฺต่อไปสำหรับ article ล่าสุดของคุณ Lucifer นะครับ อ่านโดย logic อย่าใช้ emotional มิฉะนั้นอาจจะสื่อได้ไม่ครบ

คำว่า ให้เด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ นั้นน่าสนใจ และถูกใช้เยอะ จนผมรู้สึกความจำเป็นในการที่อาจจะต้องมีการ define คำนี้ก่อนว่าทุกฝ่ายใช้ตรงกันหรือไม่ ส่วนที่ผมเห็นมีคนใช้และผมไม่ใคร่เห็นด้วยบ่อยที่สุดคือหมายถึง children"s satisfaction ซึ่งมีประเด็นซ้อนกันอยู่สองประเด็น หนึ่งคือเรากำลังพูดถึง "เด็ก" ขนาดไหน และสองคือ satisfaction มันมีความหมายว่าอย่างไร และมีผลกระทบอย่างไรต่อการรับรู้ ต่อการเรียน

ถ้าเราพูดถึง "เด็ก" ที่ยังไม่มี "สภาวะผู้ใหญ่" ได้แก่ sense and duty of responsibility ผมเห็นด้วยครับว่าอารมณ์ ความต้องการ และบรรยากาศเอื้ออำนวยที่น่าภิรมย์ในการเรียนรู้ "จำเป็น" และสำคัญมาก จับเด็กบังคับให้เรียนยังไงๆก็ไม่ได้ผล การปรับบรรยากาศการเรียนให้ "เอื้อ" แบบนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับสถานที่หรือ hardware เท่ากับความเข้าใจในหลักการเรียนการสอนของครูผู้ดูแล ที่จะต้อง "เข้าถึง" อารมณ์การเรียนของลูกศิษย์ตัวน้อยๆเหล่านี้ว่าคุณเธอถูกปลุกเร้าเปิดปุ่มสนใจเรียนพร้อมแล้วหรือยัง

แต่ถ้าเราพูดถึง "adult learning/ Andragogy" ล่ะก็ เราจะใช้คำว่า student centre มากกว่า child centre และ students ที่ว่านี้เป็น adult ที่มีคุณสมบัติสำคัญคือมี sense and duty of responsiblity และ อีกประการคือ มีความเข้าใจในจุดมุ่งหมายของตนว่ากำลังเรียนไปเพื่ออะไร ตรงนี้ student centre อาจจะไม่วางอยู่บน satisfaction หรือ happy learning เป็นหลัก แต่หลักสูตรน่าจะสามารถสอดใส่ outcome-centred หรือ philosophy-oriented learning เข้าไปได้ นั่นคือถ้า "จุดหมายของการเรียน" บางอย่างมันอาจจะจำเป็นต้องทุ่มเท ต้องทำงานหนัก ต้องใช้ความรับผิดชอบสูง priority ของการเรียนแบบสบายๆตามใจฉันอาจจะต้องถดถอยไปอยู่หลัง outcome ที่เราต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ประเภท psychomotor และ attitude ซึ่งเรียนแบบเรื่อยๆมาเรียงๆ ไม่ไปคลุกคลีกับงาน ไม่ไปทำความเข้าใจกับภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่แท้จริงมันจะไม่เกิดแล้วล่ะก็ student"s centre ตรงนี้ห้ามหมายถึงการให้เรียนโดยทะนุถนอมเด็ก (บัณฑิต) แบบไข่ในหิน โยเยนิดโยเยหน่อยต้องหา dummy มาให้อมทุกครั้งโดยเด็ดขาด

นั่นสำหรับสองบรรทัดแรกของบทความคุณ Lucifer ขอแบ่งเป็นตอนๆก็แล้วกันได้ไม่ยาวเกินไป



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-14 , Time : 23:13:04 , From IP : 203.107.195.170

ความคิดเห็นที่ : 19


   คุณ Lucifer,

หนูเป็นครึ่งหมอครึ่งคนหรือคะ เป็นยังไงเหรอคะ หมอเป็นบางอย่างไม่ใช่คนหรือคะ Just kidding.....ka....

พี่ว่าน้องมีโอกาสที่ดีที่ได้เห็นปัญหาที่แท้จริงของชุมชนไทยในกลุ่มที่มีปัญหา และสามารถวิเคราะห็ สังเคราะห็จากข้อมูลที่มีอยู่ได้ดีทีเดียว เทียบกับที่บอกว่าอยู่บนโลกนี้มาเพียงไม่นาน.......

ปัญหาที่น้องเล่าให้ฟัง พี่ก็ยังคิดว่ามาจากการศึกษาส่วนหนึ่ง หรือขาดความรู้ที่นำไปใช้งานได้จริงหนะค่ะ แล้วก็มีส่วนอื่นๆอีกเป็นองค์ประกอบ ชีวิตก็ไม่ได้ประกอบด้วยสมองเพียงอย่างเดียวใช่ไหมคะ มีร่างกาย จิตใจ จิดวิญญาณ และยังมีผลอื่นๆเช่นสิ่งแวดล้อม ทัศนะคติ ความเชื่อที่มีอิทธิพลกับการดำเนินชีวิตของเรา

พ่อ-แม่ (ที่ดี) อยากเห็นลูกเจริญทุกคนใช่ไหมคะ แต่เขาไม่ทราบว่าเขาจะทำอย่างไร เขาไม่ทราบว่าเด็กเรียนรู้จากการเป็นตัวอย่าง เด็กต้องการความรัก ความเข้าใจ เด็กต้องการเวลากับพ่อ-แม่ ฯลฯ

พ่อ-แม่ ให้เงิน ให้ของเล่น ให้พี่เลี้ยง ให้เสื้อผ้า และอาหาร หลายคนคิดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งกว่าสิ่งที่จับต้องไม่ได้ดังที่พี่กล่าวมาแล้ว เช่นเวลา การพูดคุย

ถ้ามีใครซักคนไปบอกเขา เช่นสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ activist มหาวิทยาลัย ฯลฯ ก็เป็นการแค่รับทราบค่ะ เท่านี้ยังไม่พอในการเปลี่ยนพฤติกรรมหรอกนะคะ เขาต้องเห็นและเข้าใจอย่างจริงๆ ว่า consequences ของการไม่มีเป็นอย่างไร เช่นคุณไม่มีเวลาให้ลูกแล้วในที่สุดลูกคุณเป็นอย่างไร คือ เราก์ต้องเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อ และต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย หรือมี resources ที่เหมาะสม และก็ต้องใช้เวลานานๆ อาจเป็นชั่วอายุคน ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม หรือความเข้าใจที่ถูกต้อง และนำไปใช้ได้ผลจริง

งานนี้เป็นงานช้างค่ะ อืมม์แต่ถ้ามหาวิทยาลัยจะทำจริงจัง คือไม่เีพียงแค่ให้สังคมรับทราบว่าเราไปบอกความรู้เขาแล้วนะ แต่ต้อง aim ว่าเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอะไรบ้าง ต้องมี outcome ที่ชี้วัดได้ค่ะ....พี่เชื่อว่ามหาวิทยาลัยเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นได้ เท่าที่พี่ทราบมีอาจารย์หลายคนทำแล้วประสบความสำเร็จด้วยค่ะ ทั้งที่ มอ หาดใหญ่ และปัตตานี

วันนี้พี่สับสนนิดหน่อยค่ะ ถ้าน้องอ่านแล้วงง ก็ขออภัยนะคะ แต่พี่ชอบอ่านที่น้องเล่าให้ฟังค่ะ เลยรีบตอบ แต่เดี๋ยวพี่ต้องจบก่อนค่ะ ค่อยคุยกันใหม่


Posted by : RS , Date : 2005-04-14 , Time : 23:35:08 , From IP : 149.142.243.116

ความคิดเห็นที่ : 20


   ผมไม่ได้พยายามจะ "ยืนยัน" ว่าภาระหน้าที่การสั่งสอนเด็กเป็นของใครหรอกครับ สภาพแวดล้อมมันบ่งบอกอยู่แล้ว

เด็กเรียนรู้จากบริบทแวดล้อมจริงที่เกิดขึ้น เหมือนเรียนภาษานั่นแหละครับ มันเป็น instinct ที่สัตว์จะมีชีวิตอยู่รอด มนุษย์เป็นสัตว์ที่อ่อนแอกว่าสัตว์อื่นๆอย่างมาก ลูกมนุษย์จะต้องได้รับการประคบประหงมหลายปีกว่าจะสามารถหาอาหารอะไรกินเองได้ ฉะนั้นความสามารถในการ "สื่อ" กับผู้เลี่ยงดูหรือพ่อแม่นั้นสำคัญต่อการมีชีวิตอยู่อย่างแรง อันนี้รวมไปถึง "กฏสังคม" ที่เขาโตมาด้วย ลูกคนจะสังเกตการกระทำ คำพูดและพฤติกรรมของสิ่งแวดล้อมและคนที่ป้อนข้าวป้อนน้ำเขาแหละครับว่า ทำยังงี้ได้กิน ทำยังงี้อด ทำยังงี้ถูกดุ ทำยังงี้ถูกชม basic conditions เบื้องต้นครับ ในสารคดีมากมายแสดงให้เห็นว่าเด็กทารกถึงแม้ไม่เข้าใจภาษาอย่างเต็มที่แต่สามารถสังเกต non-verbal ของพ่อแม่ได้เช่นหน้าตา น้ำเสียงที่ดุ หรือ approve ที่ห้าม ที่ดีใจ ฯลฯ และสามารถนำไปเชื่อมดยงกับการเข้าสังคมอื่นๆเยอะแยะ เช่น การกิน การรอคิว การวิจารณ์เหตุการณ์รอบข้าง คุณ Lucifer ลองคิดดูว่าเป็นเวลากี่ปีที่เด็กคนหนึ่งๆถูกเหลาเกลาโดยพฤติกรรมที่ซ้ำๆ พยากรณ์ได้ โดยผู้ที่มีอำนาจให้น้ำ ให้ท่า ให้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เมืท่อเปรียบเทียบกับครูจำนวนมากมายหลากหลายที่มาเจอะเจอเอาตอนหลังๆ

ความดีนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ "ระดับการศึกษา" ครับ ผมอาจจะมีความด้อยประสบการณ์ชีวิต "ชาวบ้าน" แต่ผมเชื่อว่าความเป็นคนดี ความเป็นคนที่สามารถแยกแยะคุรธรรม จริยธรรมนั้น ไม่ได้ขึ้นกับโอกาสว่าใครจะเข้ามหาวิทยาลัยได้หรือไม่ เรียนโรงเรียนอะไร ผมมีเพื่อนที่พ่อแม่เป็น "ชาวบ้าน" ธรรมดาๆเยอะ ผมคิดว่าเขาเหล่านั้นก็มี วิถีชาวบ้าน ทีดีแบบเรียบง่ายได้ เผลอๆ "วิถีชาวบ้าน" นี่แหละจะใกล้ธรรมะ ใกล้อะไรๆที่เป็นความสุขแบบพอเพียง เรียบง่ายกว่าวิถีชีวิต "คนกรุง" หรือ "เด็กมหาลัย" หรือ "จาร์นมหาลัย" ซะอีก ผมไม่แน่ใจว่าทำไมคุณ Lucifer หรือใครจะคิดว่าสถาบันการศึกษาไหนๆจะสามารถเป็นห่วงใยในความดีงามของบตรหลานได้เหนือไปกว่าพ่อแม่และครอบครัวไปได้

ผมคิดว่าคุณ lucifer วาดภาพ "วงการวิชาการ" ไว้ศักดิ์สิทธิ์เกินไปครับ คนในวงการนี้ไม่ได้มีอะไรที่จะการันตีว่าจะมีจริยธรรมเหนือกว่าคนนอกวงการเลยแม่กระผีกเดียว ผมยังคิดว่าเผลอๆอาจจะตรงกันข้ามซะด้วยว้ำถ้าวัฒนธรรมองค์กรหลวมและเปิดประตูด้าน immoral กว้างเกินไป วางอยู่ขอบ slippery slope อย่างหมิ่นเหม่เกินไป

ผมขออนุญาตดึงเอาตัวอย่างที่คุณ Lucifer ยกมาวิเคราะห์ปิดท้ายก็แล้วกัน

ก็ผัวมันทำมาหากินซะที่ไหน วันๆดีแต่กินเหล้าเที่ยวผู้หญิง เงินมันไม่มีใช้มันก็ไม่เดือดร้อนเพราะแม่มันมีเงินให้มันใช้ อี.(ชื่อ)..นี่ก็ดีแต่แรดไปทางนั้นทีทางนี้ที ลูกเต้าไม่รู้จักดู หาข้าวให้ลูกกินยังไม่เป็นเลย สมพอแม่ย่ามันจะไล่หนี เป็นกูไล่หนีไปแต่นานแล้ว ....

ผมคิดว่าบทความด้านบนเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เรียบง่ายมากทีเดียว หน้าที่ของ "สามี" ที่ดีคือ "ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว" แหล่งอโคจรที่พึงหลีกเลี่ยงก็คือ "กินเหล้าเที่ยวผู้หญิง" หน้าที่ของภรรยาของมารดาก็คือ "เลี้ยงดูสั่งสอนอบรมลูก หาข้าวหาปลาสอนการบ้าน" ที่เหลือเป็นบทดอกสร้อยของภาษาชาวบ้าน

บอกตรงๆถ้าคุณ Lucifer ไม่สามารถมองเห็นธรรมะของหลักการดำเนินชีวิตตาม "วิถีชาวบ้านนอกวงการวิชาการ" แต่เห็นว่ามันเป้นสิ่งที่น่าอับอายหรือด้อยค่าโหดร้าย ผมอยากจะขอร้องให้คุร lucifer ลองสงบใจ ถอด content ที่ยกตัวอย่างมาให้ดูว่าอะไรคือ "แก่น" อะไรคือ "กระพี้" ของคำสั่งสอนข้างต้น ผมว่ามันเข้าใจง่ายกว่าบาลี สันสกฤต ภาษาอังกฤาอะไรที่ผมใช้พร่ำเพรื่ออยู่เป็นกองทีเดียว



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-14 , Time : 23:36:53 , From IP : 203.107.195.170

ความคิดเห็นที่ : 21


   Part III

ที่นี้ถ้าเราจะวางแผน intervene ในระดับสังคม ผมจึงมีความเห็นว่าเราจำเป็นต้อง identify ตัวกลไก หรือเฟืองที่สำคัญเป็นหลักให้ได้ ที่เหลือจะเป็นเฟืองสำรองหรือเฟืองเฉพาะหน้า จากเท่าที่พูดมาผมว่านี่ก็เป็นประเด็นที่เรายังมองเห็นไม่ตรงกัน คือผมเห็นว่าเฟืองที่สำคัญที่สุดของ social engineering นั้นคือสถาบันครอบครัว แต่ผม sense (ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด) ว่าคุณ Lucifer คิดว่าเฟืองนี้พึ่งไม่ได้แล้ว ต้องไปพึ่งเฟืองสถาบันการศึกษา ซึ่งผมเห็นว่าเป็นแค่เฟือง "สำรอง" แค่นั้น

สาเหตุที่มีตัวอย่าง "บางอัน" ที่ถูกยอมาของคุณ Lucifer เรื่องบุหรี่ เรื่องพฤติกรรมต่างๆนั้น จริงๆแล้วนั่นเป็นหลักฐานของ "ความล้มเหลวทางการศึกษา" นะครับ ไม่ใช่ความสำเร็จ มองรอบออกไปอีกนิด คุณ Lucifer เห็นพี่หมอ อาจารย์หมอ สูบบุหรี่หรือกินเหล้าหรือมีพฤติกรรมอะไรที่แปลกๆบ้างไหมครับ? จะเห็นว่า "รากของปัญหา" นั้นยิ่งกว้างขวางกว่าที่เรามองเผินๆว่าจะมี magic bullet ออกกฤษฎีกาฉบับนึงตูมแล้วจะแก้ได้ มันเป็นระดับ "วัฒนธรรม" ของสังคม วัฒนธรรมที่บอกว่าสังคมนี้คิดว่าเรื่องนี้ดี เรื่องนี้เป็นมงคล เรื่องนี้น่าสนับสนุน เรื่องนี้ทำได้ เรื่องนี้ผู้มีคุรธรรมมีอำนาจเขากระทำกัน ธรรมาภิบาลคืออย่างไร (ไม่ใช่วางหมวกประจำตำแหน่งทิ้งไว้ในรถเพื่อจอดที่ห้ามจอดแล้วจราจรไม่กล้าทำอะไร เผลอๆยังตะเบ๊ะหมวกให้ซะอีก)

คนที่จะปลูกอะไรให้เกิดในสังคม ต้องมี "บทบาท" ในพื้นที่ในสังคม พ่อเฒ่าแม่แก่ที่ใครๆก็มาปรึกษา มาถาม ผู้ใหญาบ้านกำนัน ผสส. อสม. ที่เป็นคนในท้องที่ ลงไปถึง unit ที่เล็กที่สุดของหน่วยสังคมคือ "ครอบครัว" นี่แหละครับ มันจึงจะผลักดัน สร้างวัฒนธรรม หน้าที่ของสถาบันการศึกษานั้นเป็นการศึกษาวิจัยค้นคว้าและ "เผยแพร่" ให้คนเอาไปใช้ต่อ ตรงนี้รอยสานนั้นมันต้องมี leadership ต้องมี social motivation ต้องมี politic มาเป็นเฟืองต่อไป บทบาทของแต่ละเฟืองคงจะต้อง clear และชัดเจน

ที่ผมอยากจะให้มี priority ก็เพราะมันจะเกี่ยวโยงกับ resource allocation ครับ ถ้าเกิดเรียงผิด ผมไม่อยากจะให้คนเข้าใจว่า magic bullet เรื่องนี้คือปฏิรูปโรงเรียน มหาวิทยาลัยแล้วเราจะได้สังคมใหม่ออกมา ฐานของปัญหามันกว้างใหญ่และส่วนหนึ่ง (ที่ใหญ่) ของปัญหานั้นมันเลยวัยในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัยไปแล้ว ถ้าไม่ลงทุนอะไรที่เป็น social drive จริงๆ ทฤษฎีดีๆที่สอนในสถาบันการศึกษามันจะไม่มีใครปฏิบัติ เพราะเห็นคล้อยตาม "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" ไปกันหมด ติดอยู่กับ "บ่วงบาศก์เศรษฐกิจ" เอาเงินนำหน้า คุณธรรม (อาจ) ตามมาเอง (รวยซะอย่างทำอะไรก็ไม่น่าเกลียด !!!)



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-15 , Time : 00:04:41 , From IP : 203.107.195.170

ความคิดเห็นที่ : 22


   พี่ RS คะ...ที่หนูใช้คำว่า ครึ่งหมอครึ่งชาวบ้าน หนูหมายความว่า หนูยังไม่ได้เป็นหมอค่ะ และยังมีความเป็นชาวบ้านเหลืออยู่ในตัวถึงครึ่ง ซึ่งเป็นความพยายามอย่างที่สุดที่จะรักษาสภาวะสมดุลนี้ไว้ เพื่อจะได้ไม่ "คิด"อย่างหมอหรือนักวิชาการจนเกินจะเข้าใจความเป็นชาวบ้านทั่วไปที่ไม่ใช่หมอ...และขอตัวไปอยู่กับแม่ก่อนนะคะ วันสุดท้ายที่บ้านแล้ว..จะไม่ได้มาอีกนาน ....เดี๋ยวจะกลับมาต่อประเด็นอื่นๆ ด้วย

Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-15 , Time : 10:07:53 , From IP : 203-151-140-117.inte

ความคิดเห็นที่ : 23


   ก่อนกลับบ้านฝากการบ้านอีกซักอย่างก็แล้วกันนะครับ

ผมรู้สึกว่าคุณ Lucifer แยกหมอ/นักวิชาการ ออกจาก "ชาวบ้าน" และมีความคิดฝังลึกว่า หมอและนักวิชาการคิด "เกินกว่าชาวบ้านจะเข้าใจ" นั่นคงจะมีเหตุผลอะไรบางอย่างที่ทำให้สรุปออกมาเช่นนั้น

ผมเคยมีโอกาสได้สังสรรค์กับ "นักวิชาการ" ที่ค่อนข้าง serious จริงจังกับงาน (มากกว่าที่เราเคยเห็นแถวนี้หลายเท่า) อยู่หลายปี สิ่งที่ผมสรุปได้นั้นค่อนข้างแตกต่างจากข้อสรุปข้างต้น (ซึ่งผม "เดา" เอานะครับว่าคุณ Lucifer คิดแบบนั้น จริงๆเป็นอย่างที่เขียนไว้รึเปล่าคุณ lucifer คงต้องมาเฉลยเอง) นักวิชาการที่ผมได้สัมผัส ไม่ว่าจะเป็น professor ที่เป็น programme director เป็น supervisor ของนักเรียนระดับ Ph.D. จำนวนมาก เป็น senior scientists ที่คุมห้องปฏิบัติการ ที่ออกแบบสร้างตึกปฏิบัติการใหม่ ทุกคนก็คุยกันเรื่อง "ชาวบ้าน" เวลา tea time เหมือนคนธรรมดา ถามว่ารู้ได้ยังไงว่าเหมือนคนธรรมดา? ก็เพราะ tea time นั้น เราปะปนกันหมดทั้ง scientists, student, lady cleaner, tea lady, etc และทุกคนคุยกันเรืองเดียวกันแหละครับ ราคาสินค้า ร้านไหนลดราคา ราคาน้ำมัน โรงเรียนลูก ข่าวซุบซิบนินทา วันหยุดจะไปเที่ยวไหน เอารูปตอนไปเที่ยวครั้งที่แล้วๆมาโชว์กัน คงมีบ้างที่มีคนเอาวิชาการมาพูดตอน break แต่น้อยมากครับ

ผม "คิดว่า" เส้นแบ่ง เขา/และเรา นักวิชาการ/ชาวบ้าน หมอ/คนอื่นๆที่สร้างขึ้นมาเองนี่แหละทำให้เราไม่ไว้ใจในวิจารณญานของเรา ตัวเราก็ชาวบ้านนี่แหละครับ การที่เราเดินเข้ามาในรั้วศรีตรัง รั้วศิริราช รั้วจุฬา ไม่ได้ทำให้เราแตกต่างจากมนุษย์ หอคอยงาช้างนั้นเป็นหอคอยที่เราสร้างขึ้นในสมอง ว่าเราจะเปิดรับภูมิปัญยาความคิดของคน "นอก" มากน้อยแค่ไหน และถ้าเราเริ่มจาก เพื่อจะได้ไม่ "คิด"อย่างหมอหรือนักวิชาการจนเกินจะเข้าใจความเป็นชาวบ้านทั่วไปที่ไม่ใช่หมอ. แล้ว "หอคอย" อันนี้ไม่เพียงแต่สร้างแล้ว ยังสร้างไว้สูงส่งจนกระทั่ง สื่อกันไม่ได้ ทีเดียว

วันหยุดสงกรานต์ครั้งนี้ผมจำเป็นต้องมากรุงเทพฯโดยไม่ได้ตั้งใจ พบปะญาติพี่น้องซึ่งโดยอาชีพการงานแล้วยากที่จะพูดว่าเป็นนักวิชาการแต่อย่างไรและไม่มีหมอ ถ้าผมเป็นนักวิชาการตามนิยามของคุณ Lucifer แล้ว ผมไม่มีปัญหาในการสื่อสารและถกปัญหา "ชาวบ้าน" กับพวกเขาเหล่านี้ ตรงนี้เป็นแค่ตัวอย่างน้อยนิดก็จริง แต่เราลองพิจารณาดู mechanism อะไรที่คิดว่าจะทำให้เราพูดกัน "ไม่รู้เรื่อง" มันเป็นที่เจตคติ ที่ข้อเท็จจริง ที่ความสามารถในการสื่อ หรือมันเป็นกำแพงที่เราเองเป็นคนสร้างว่าพอเราสวมเครื่องแบบ แขวน steth แล้วหูเรามันเกิดอุปสรรค ใจเรามีหมอกมาขวางกั้น

กลไกเหล่านี้เกิดจากอะไร?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-15 , Time : 10:54:44 , From IP : ppp-203.118.120.101.

ความคิดเห็นที่ : 24


   Part II

เรื่องstudent centre กับความเข้าใจในจุดมุ่งหมายของตนว่ากำลังเรียนไปเพื่ออะไร
หนูก็มีเรื่องเล่าอีกแหละค่ะ หนูไปทำ "เยี่ยมบ้าน" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในวิชาเวชจริยศาสตร์ หนูรู้บางอย่างเกี่ยวกับความซับซ้อน ยุ่งเหยิงวุ่นวาย ในความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว หลังจากที่ไป สัก 3-4 ครั้งเห็นจะได้ แต่ที่สุดหนูก็ต้องส่งรายงานว่าด้วย ปัญหาสภาพแวดล้อมในบ้านไม่เหมาะสม เพราะยุงเยอะ ทั้งที่เจ้าของบ้านก็ไม่เห็นจะconcernเกี่ยวกับไข้เลือดออกสักเท่าไร จริงๆ ว่าไม่สนใจเลยจะดีกว่า เพราะมันง่ายกว่า มองเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน เป็นโครงการง้ายง่ายเททรายใส่น้ำลงไปก็เสร็จเรื่อง ปิดโครงการ ไม่มีคะแนนสักหน่อยจะทำให้ยากไปทำไม อ่านหนังสือสอบดีกว่า บางทีก็ ทำอะไรไร้สาระ หนังสือหนังหาไม่อ่าน นี่คือสิ่งที่ระบบการศึกษาวัดผลหนูใช่ไหมคะ 3.00 เทอมนี้ ช่างน่าอาย

หนูว่าหนูเริ่มจะงงๆ กับวัตถุประสงค์ในการเรียนและ children satisfactionแล้วล่ะค่ะ และหนูคงจะถูกจัดอยู่ในประเภทเด็กไม่รู้จักโตอยู่เรื่อยไปถ้ายังไม่หยุดการต่อล้อต่อเถียงกับอาจารย์บนboardนี้ แทนที่จะไปอ่านหนังสือเตรียมสอบตรวจร่างกาย

ส่วนสำคัญที่หนูพยายามจะยืนประเด็น(อีกที) ไม่ใช่ความต้องการ priority หรอกค่ะ เช่นเดียวกับอาจารย์หนูต้องการ social drive แต่ที่ท้วงเพราะหนูยังอยู่ระหว่างความเป็นหมอและความเป็นชาวบ้าน หนูยังมองทั้ง 2 ทางอยู่ แม่หนูไม่เคยเข้าใจทั้งที่อ่านแล้วอ่านอีกว่าหนูกับอาจารย์คุยอะไรกัน หนูเลยอนุมานจากข้อเท็จจริง(generalize)ที่มีอยู่เอาว่า ชาวบ้านคนอื่นๆ คงไม่เข้าใจเหมือนกัน น่าจะคล้ายๆ กันกับการที่คนในหมู่บ้านนั้น ทุกคนที่หนูรู้จักไม่มีใครทราบความเป็นไปใน SUT. อย่าว่าแต่มีการบรรยายเรื่องอะไร แค่ขับรถไปไม่ให้หลงทางยังลำบากเลยค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-15 , Time : 15:35:53 , From IP : 203-151-140-114.inte

ความคิดเห็นที่ : 25


   test

Posted by : luf. , Date : 2005-04-15 , Time : 18:34:55 , From IP : 203-151-140-114.inte

ความคิดเห็นที่ : 26


   test..2

Posted by : luf. , Date : 2005-04-15 , Time : 18:39:59 , From IP : 203-151-140-114.inte

ความคิดเห็นที่ : 27


   เวลาผมเขียนอะไรบนนี้ ผมจะ customize ทั้งภาษา เนื้อหา และปริมาณให้เข้ากับ target group ครับ คุณ Lucifer เอาที่เราพูดตรงนี้ที่เต็มไปด้วยศัพท์เฉพาะทางไปแล้วสรุปว่าหมอพูดกับชาวบ้านไม่รู้เรื่องผมว่ามันผิดบริบทกัน

เหมือนตอนเวลาเรา round ward อาจารย์จะพูดแต่ technical terms ล้วนๆ สะดวก รวดเร็ว และสื่อ แต่เวลาออก OPD เราต้องมีการปรับแต่งภาษาใหม่ เวลาเราพูดกับญาตอและคนไข้เราต้องมีการปรับแต่งภาษาใหม่ ทุกๆครั้งที่เรามีการเสวนากับคนอื่น เราต้องมีการประเมินว่าเราจะพูดอย่างไรเสมอ ตรงนี้จะถือเป็นจุดบอดของกระดานข่าวแบบเปิดก็ว่าได้ เพราะคนอ่านจะกว้างมาก ยกเว้นที่เราตั้งใจให้เป็นเรื่องจำเพาะ ก็ใส่ไว้ในกระทู้แรกแต่เนิ่นๆก็พอช่วยแต่ไม่มาก และไม่ป้องกันการไม่สื่อได้ทั้งหมด

ผมไม่เข้าใจกระบวนการเปรียบเทียบเรื่องยุงกับการถมทรายครับ ว่ามันเกี่ยวอะไรกับ student centre ที่เรากำลังพูด ขอยายาความใหม่หน่อยได้ไหมครับ (ไม่ได้ไม่เข้าใจความหมายของคำ แต่ไม่แน่ใจว่าจะสื่อว่าอะไร.... นี่คงไม่สรุปว่าเพราะคุณ Lucifer เป็นชาวบ้าน และผมเป็นนักวิชาการ เลยไม่เข้าใจกันนะครับ!!) เวลานักเรียนเรียนโดยมี outcome-oriented ที่ถูกไม่ต้องคำนึงว่าจะถูกสอบเรื่องอะไรถ้าเราเข้าใจวัตถุประสงค์การเรียนในสาระนั้นๆแล้ว ในขณะเดียวกันใช่ครับ นักศึกษาผู้ใหญ่จะต้องมีความสามารถในการจัดแบ่งสัดส่วนเวลา เพราะเรามีกิจกรรม มีสาระหลายเรื่องที่ต้องทำ ผมไม่แน่ใจว่า ณ ตำแหน่งไหนที่คุณ Lucifer รู้สึกว่ามันน่าอาย

นิยามของ "เด็ก" ที่แตกต่างกับผู้ใหญ่นั้น ผมให้ไว้หลายครั้งแล้ว นั่นคือ sense of responsibility ถ้าเด้กคนไหนมีความรู้สึกถึงภาระหน้าที่ เด็กคนนั้นเข้าสู่ภาวะ maturation แล้ว หรือ vice versa

ที่สุดแล้วคุณ Lucifer เมื่อจบไป คุณจะยังคงเป็นทั้งหมอและชาวบ้านอยู่ดีแหละครับ (แสดงว่าที่ผมพยายามสื่อไม่ได้ถูกส่งข้ามไปเลยแฮะ) ผมไม่เห็นด้วยที่คุณ Lucifer ตั้งความหมายของ นศพ. ว่าเป็น limbo world ระหว่าง "หมอ" กับ "ชาวบ้าน" แล้วต่อไปเมื่อเรียนจบจะหมดสภาวะ "ชาวบ้าน" อันนั้นจะลำบากครับ ปรัชญาความสำเร็จอย่างหนึ่งของแพทย์คือ free will ที่จะต้องสามารถ customize ความรู้ความสามารถของเราปรับเพื่อให้บริการผุ้ป่วยให้เขามี the best possible quality of life ซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าหมอไม่สามารถเข้าใจว่าผู้ป่วยต้องการอะไรในบริบทของเขา แบ่งโลกของหมอ แยกออกจากโลกของชาวบ้าน นั่นจะเป็น dire situation ที่จะทำให้หมอห่างเหินจากความต้องการความรู้สึกของผู้ป่วยและญาติออกไปเรื่อยๆ หมอท่านนี้จะไม่มีวันเข้าใจใน Principle of autonomy ของผุ้ป่วยได้ตราบใดที่ยังแบ่งโลกของหมอ ออกจากโลกของชาวบ้านเป็นคนละโลกกัน

การที่เราสื่อแล้วคนไม่เข้าใจนั้นมีหลายสาเหตุครับ ตั้งแต่เราใช้คำที่เขาไม่เข้าใจ ไม่ว่าจะเป้นภาษาต่างประเทศ สำนวน หรือศัพท์จำเพาะทางมากๆ จนไปถึงเรื่องที่ต้องมี pre-requisite understanding ก่อน เช่น quantum physics อาจจะต้องมีพื้น general physics กับ mathmatic มาก่อนจึงจะเข้าใจ แต่ไม่ได้หมายความว่า "ไม่สามารถทำให้เข้าใจได้" เลย ถ้าเป็นเพราะศัพท์ก็เปลี่ยนเป็นคำอื่นก็แค่นั้น ตามเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภาสำหรับ พบ. หมอทุกคนต้องสามารถสื่อกับผู้ป่วยและญาติให้ได้ครับ ถ้าหมอจบออกมาแล้วไม่สามารถคุยกับญาติพี่น้องได้อีกต่อไป ก็ไม่น่าจะสอบ comprehensive ผ่าน หรือถ้าเผอิญผ่านก้จะไม่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

คุณ Lucifer "ไม่สามารถ" อนุมานจากการที่ใครมาอ่านบทความชุดรนี้แล้วไม่เข้าใจ แล้ว generalize ไปว่าหมอกับชาวบ้านอยู่คนละโลกกันเพราะสาเหตุหลายประการ ประการที่หนึ่ง ที่เราโต้ตอบกัน ผมมีการ assume ระดับความเข้าใจใน term (และหรือความสามารถในการค้นเพื่อเข้าใจ) ของผู้รับ (ในที่นี้คือ นศพ. เกือบจะชั้นคลินิก) อยู่ในระดับไหน ประการที่สอง ผุ้รับคือคุณ Lucifer ไม่ได้เป็นตัวแทนของ "ชาวบ้าน" และผู้สื่อคือผมไม่ได้เป็นตัวแทนของ "หมอ หรือ นักวิชาการ ที่ กำลังพยายามสื่อกับชาวบ้าน ส่วนใครขับรถหลงทางอะไรนั่นผมไม่เข้าใจว่าต้องการจะสื่อว่าอะไร วันก่อนผมขับถถไปวัดมงกุฏกษัตริย์ยังเกือบหลงไปขึ้นสะพานพระราม 8 และต่องมีคนบอกทางตลอดทุกแยก อันนั้นจะแปลว่าอะไรล่ะครับ?




Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-15 , Time : 20:24:01 , From IP : ppp-203.118.113.214.

ความคิดเห็นที่ : 28


   สวัสดีปีใหม่ค่ะ หวังว่าคงไม่ช้าไปนะคะ

เออ คือว่า อย่าว่าแต่คุณแม่ของน้อง Lucifer อ่านเลยค่ะ พี่อ่านๆแล้วยังงงเลยค่ะ จับต้นชนปลายไม่ถูก พี่คงไม่ต่อประเด็นนั้นแล้วนะคะ แต่อยากสัมภาษณ์น้องลูค่ะ ว่าจบหมอแล้วอยากทำอะไรคะ เป็นหมอเฉพาะทาง เป็นหมอชุมชน หรือเป็นนักวิชาการ นักวิจัย หรือเป็นหลายแบบรวมกัน ถ้าน้องเห็นตัวน้องเองอีก 10 ปีข้างหน้าได้ว่าน้องจะทำอะไร น้องจะได้ตั้งลำได้ถูกค่ะ พี่ว่าอย่างน้องเป็นได้ทุกอย่างเลยค่ะ แต่พี่อยากให้คนอย่างน้องได้ทำงานวิจัยด้วยค่ะ วิจัยเพื่อความรู้ และให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ถ้าสนใจแล้วเราค่อยคุยกันต่อนะคะเรื่องงานวิจัย....คือพี่อยากหาแนวร่วมค่ะ เผื่อจะทำอะไรดีๆให้สังคมเล็กๆของเราได้บ้าง

สำหรับหมอกับชาวบ้าน ก็รวมเป็นหมอชาวบ้านเลยก็ดีค่ะ มีอาจารย์แพทย์ที่มอ หลายคนเป็นตัวอย่างที่ดีของหมอชาวบ้านนะคะ แล้วก็น้องได้เปรียบเพื่อนคนอื่นแล้วค่ะ เพราะน้องรู้ว่าชาวบ้านคิดยังไง หมอคิดยังไง น้องจะได้พบกันครึ่งทางได้ทั้งส่วนหมอและชาวบ้าน หมายความว่าเรามีความเข้าใจในบริบททั้งสองแบบ เป็นสิ่งที่ดีมากๆเลยค่ะ อนาคตน่าจะลงชุมชนด้วยค่ะ

อ้อ โปรเจ็คเรื่องไข้เลือดออก เป็นโปรเจ็คใหญ่นะคะ เดี๋ยวนี้มี Intervention มากมายค่ะ มี Index ในการวัดลูกน้ำ หลายแบบด้วย ถ้าน้องใส่รายละเอียดพวกนี้เข้าไป งานอาจจะสมบูรณ์ขึ้นได้ค่ะ

แค่นี้ก่อนนะคะ



Posted by : RS , Date : 2005-04-16 , Time : 08:30:27 , From IP : pool-71-109-176-237.

ความคิดเห็นที่ : 29


   งานวิจัยเรื่องไข้เลือดออก

เมื่อซักสี่ปีก่อน พี่ได้มีโอกาสไปสังเกตการณ์การสอบวิทยานิพนธ์ของ นศ ป.โท เรื่อง อุปกรณ์การป้องกันการเติบโตของยุง น่าสนใจมากเลยค่ะ เท่าที่พี่ทราบ ทรายอะเบสต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และมีราคาแพง นอกจากนี้ยังไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ ดังนั้นถ้าอยากจะทำเรื่องไข้เลือดออกจริงๆ น่าจะเริ่มจากทบทวนวรรณกรรมก่อนว่า ถ้าจะควบคุมหรือป้องกันโรคให้กับครอบครัวนั้น อะไรที่ดีที่สุด และคุ้มทุนที่สุด อย่างนี้เริ่มมีบรรยากาศของงานวิจัยเข้ามาด้วย เริ่มมีความคิดแนวใหม่ เรียกว่ามี innovation อย่างนี้น่าสนใจกว่าไหมคะ

เท่าที่พี่เคยฟังเขามาพูดเรื่องของยุงนี้นะคะ พี่ก็สนุกมาก เรารู้ว่ายุงชอบสีอะไร ยุง active ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน ยุงบินได้ไกลเท่าไหร่ ยุงชอบอะไร ไม่ชอบอะไร และไข่ยุงอดทนแค่ไหน ถึงแม้ไม่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานก็ยังไม่ตาย มันสามารถรอจนมีน้ำมาแล้วมันก็ฟักออกมาได้อีก ถ้าเราได้นำเสนอเรื่องพวกนี้ในรายงาน อาจจะน่าสนใจขึ้นนะคะ



Posted by : RS , Date : 2005-04-16 , Time : 09:50:32 , From IP : pool-71-109-176-237.

ความคิดเห็นที่ : 30


   ขอบคุณพี่ RS ค่ะ หวังว่าที่พี่ Post มาจะไม่ถูกจัดประเภทเป็น dummy ที่อาจารย์ Phoenix กลัวแต่แรก

หนูพยายาม Post Part I แต่มันไม่ขึ้นหรือไปตกอยู่ที่ไหนด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็...แล้วไป
ต่อไปนี้คือ Re-thinking อย่างมีเหตุผลที่สุดเท่าที่อารมณ์จะเคลื่อนออกจากปัญญาค่ะ

หนูค่อนข้างจะ hopeless กับการแก้ตัว ณ เวลานี้ แต่เชื่อว่าเราจะรู้จักเพื่อเข้าใจกันง่ายขึ้น ในเวลาต่อไป

เช่นเดียวกับทุกครั้ง ถ้าอาจารย์จะลอง stereotype กับทุก article ของหนูบ้าง

**** เมื่อมีผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ความสนใจส่วน emotion มักจะอยู่ที่ผู้ถูกกระทำ ก่อนที่ส่วน cognition จะทำงานโดยการแยกแยะเหตุและปัจจัย ในภายหลัง ****

ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน หนูไม่รู้สึกอับอายกับบทบริภาษดังที่เล่า ที่จริงแล้วมันไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรที่ทำให้หนูต้องอับอาย แต่ได้โปรดปรับ focus มาที่เด็กชาย อายุ 4 ขวบ ก่อนที่อาจารย์จะวิเคราะห์ต่อไป หนูเกรงว่าเด็กคนนั้นจะยังไม่สามารถแยกแยะแก่น กระพี้อะไรได้อย่างที่อาจารย์บอกให้หนูทำ
ขณะที่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เด็กคนนั้นจะเติบโตมาท่ามกลางสภาวะครอบครัวที่หนูตัดสินว่า ไม่เหมาะสมสำหรับ “การเจริญ” ไม่ว่าจะเป็น ร่างกาย อารมณ์ สังคม หรือสติปัญญา ดังนั้น ถ้าเมื่อไรก็ตามที่เด็กคนนั้นอยู่กับหนู สิ่งที่หนูจะทำก็ไม่ใช่การบอกเค้าว่าพ่อแม่เค้าไม่ดีอย่างนั้น ไม่เหมาะอย่างนี้ ควรจะทำอย่างนั้น ไม่ควรทำอย่างนี้ ถึงแม้ว่าหนูจะคิดก็ตามและหนูจะไม่บอกเค้าว่ากลับไปอยู่กับแม่ ย่า ป้า ลุง หรือใครก็ตามในเวลาที่เค้าอยู่กับหนู และสำหรับพ่อแม่และย่าของเขา - ความจำเป็น หรือปัญหาบางอย่างมันเกินกว่าแค่การรับรู้เพียงประการเดียวจะเปลี่ยนแปลงได้ - อย่างที่พี่ RS ว่าไว้ หนูจึงพยายามอย่างเหลือเกินที่จะบอกว่า อย่าได้ผลัก “เหยื่อ” ที่มายืนอยู่ตรงหน้าเราออกไปอีกเลย ถ้าเรายังคิดว่า ไม่ใช่หน้าที่หรือความรับผิดชอบของเรา ก็ไม่อาจหวังให้คนอื่นคิดเช่นกัน ถ้าอาจารย์ยังยืนยันว่า หนูหรือสถาบันอะไรก็ตามนอกจากครอบครัวไม่ดีที่สุดสำหรับเค้า หนูก็จะยืนยันว่า ดีกว่าไม่มีเลย....ค่ะ

และสำหรับบทสรุปจาก Med. Ed. Club เรื่อง Profesionalism ก็เช่นเดียวกันนี้ค่ะ


ส่วนเรื่องความฝังใจส่วนตัวของหนู หนูจะสรุป ณ เวลา นี้ว่า “เป็น Perception ต่างบริบท” และอย่าเพิ่งละความพยายามจะทำให้หนูเชื่ออย่างที่อาจารย์เชื่อเลย สิ่งที่หนูเคยเห็นและสิ่งที่อาจารย์เคยเห็นบางทีอาจไม่มีสักส่วนที่ซ้อนทับกันก็ได้ เป็นเหตุให้เราประเมิน อะไรๆ ต่างกัน ถ้าหนูเเปลี่ยนความเชื่อหรือทัศนคติที่สะสมมาชั่วชีวิตแค่เพียงอ่านบทความของอาจารย์ หนูว่า น่าผิดหวัง สำหรับการเรียนรู้ค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-16 , Time : 19:46:37 , From IP : 172.29.4.251

ความคิดเห็นที่ : 31


   เรียน อาจารย์ Phoenix

ขอบคุณสำหรับ "ไฟ" ค่ะ ไม่ว่าอาจารย์จะเผาหนูเพื่อวัตถุประสงค์อะไรก็ตาม อย่างน้อยหนูก็ได้ "เกิดใหม่" แล้วสำหรับบางเรื่องที่เป็น resistance มาชั่วเวลาหนึ่ง


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-16 , Time : 21:50:13 , From IP : 172.29.4.251

ความคิดเห็นที่ : 32


   น้องลูคะ น้องหมายถึงอะไรหรือคะ "dummy" ช่วยแปลความด้วยค่ะ แล้วทำไมบรรยากาศมันเปลี่ยนไปจังคะ ตอนแรกเหมือนน้องมี "ไฟ" อยากแก้ปัญหาสังคม ตอนนี้เป็น "ไฟ" เผาจนเกิดใหม่เลยหรือคะ พี่งงๆๆๆๆค่ะ

น้องมีเด็กสี่ขวบมาอยู่ด้วยหรือคะ เออ ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยค่ะ คือพี่ชอบเรื่องเด็กๆ ค่ะ และต้องขอโทษถ้าพีตามเรื่องของน้องกับอาจารย์นกไฟไม่ทันค่ะ คือพี่อ่านข้อความอาจารย์ไม่ค่อยรู้เรื่อง เลยไม่ค่อยอ่านค่ะ มันยากเกินกว่าความเข้าใจของพี่ค่ะ

น้องใจเย็นๆนะคะ อย่าใส่อารมณ์ค่ะ น้องไม่พอใจ เสียใจ เศร้าใจได้ แล้วก็อย่าไปยึดติดกับมันค่ะ ความรู้สึกพวกนี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตค่ะ ให้มันมา แล้วก็ให้มันผ่านไปค่ะ "หมั่นคอยดูแลและรักษาดวงใจของเราไว้ให้ดีค่ะ" เพลงของป้าเบิร์ดค่ะ จำไม่ค่อยได้แล้ว





Posted by : RS , Date : 2005-04-17 , Time : 01:35:41 , From IP : pool-71-109-176-69.l

ความคิดเห็นที่ : 33


   มีสองประเด็นสำคัญที่เข้าใจผิด หรือใจความสำคัญไม่ได้ถูกสื่อครับ

๑) ผมชี้แจงว่าสถาบันครอบครัวเป็น "เฟืองหลัก" และสถาบันการศึกษาเป็น "เฟืองรอง" นั้นหมายความว่าสถาบันการศึกษาก็ยังมีบทบาท มีหน้าที่ มีความรับผิดชอบในการเรียนการสอนบัณฑิต นั่นคือ ๑) ความรู้ความสามารถของวิชาการ ๒) ความประพฤติทางกาย วาจา ใจ และ ๓) ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม อยู่ ไม่เคยพูดหรือบอกเป็นนัย ณ วินาทีใดที่ครู โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยจะเสือกไสไล่ส่ง ผลัก "เหยื่อ" ตาดำๆออกไปเป็นมหาโจร หรือกุ๊ยกเฬวรากที่ไหน สถาบันการศึกษาเป็น "ส่วนหนึ่ง" ของเฟืองการอบรมแน่นอน นั่นคือความหมายโดยทั่วไปของคำว่า "หลัก" และ "รอง"

๒) ลำดับความสำคัญนั่นมีความนัยคือ ถ้าสถาบันการศึกษาดี แต่ไม่ถูกรองรับด้วยครอบครัวสนับสนุน จะเกิดการ compromise ที่น่ากลัวมากต่อความสำเร็จ สิ่งที่ครู อาจารย์ หรือ โรงเรียน มหาวิทยาลัยทำนั้น "จำเป็น" ต้องถูกรองรับด้วย กระแสความยอมรับปฏิบัติโดยสังคม ตรงกันข้ามในกรณีที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเป็นฝ่ายไม่ work แต่สถาบันครอบครัว สังคมแข็งแกร่ง เด็กจะไปได้ดีอยู่ครับ

คุณ Lucifer ได้ตัดสิน ตีค่า และตีตรา ว่าสิ่งแวดล้อมครอบครัวนั้นไม่เหมาะสมต่อการเลี้ยงดูเด็กใช่ไหมครับ ผมอยากจะขอร้องให้ทำใจให้เย็นลงสักนิด กลับไปพิจารณาใหม่ครับ ตัดเรื่อง "ภาษา" ออก ดูเรื่อง "เนื้อหา" แทน ที่ผมแปลออกมา สังคมไทยๆเราใช้ภาษาแบบนั้นมาตั้งแต่เราเรียนในวัด ไม่มีการพูดคุณผม ท่านครับขอรับคะขา แต่เรามีคนเจริญเติบโตเป็นขุนน้ำขุนนางและเป็น "คนดี" มากมาย คุณ Lucifer อาจจะยังมีตัวอย่างอื่นที่หลงเหลืออยู่ไม่ได้แสดงออกมา แต่ผมขออย่างนี้ครับ ลอง extract เนื้อหาใจความที่คนพูดต้องการจะสื่อให้เหลือแต่แก่นอย่างเดียว ดูซิว่า "ธรรมะ" มีแฝงอยู่ในคำก่นด่าว่าตีกันอยู่หรือไม่ หรือมีแต่กระพี้ล้วนๆ

ในการเรียนรู้นั้น ต้องอาศัยทั้งผู้เรียนและผู้สอนครับ มีคำถาม classic บนบอร์ดนี้เมื่อไม่นานมานี้ว่า "นักเรียนเรียนล้มเหลว ใครเป็นคนรับผิดชอบ" มี sense ของคำตอบทั้งสองทางคือเป็นความรับผิดชอบของคนสอน ของคนเรียน แต่ผมว่ามันมี "ความต่าง" อยู่ประเด็นหนึ่งครับ Virtue ที่ว่าเป็นของคนสอนนั้น เป็น "คุณค่าแห่งความรู้สึกเป็นหน้าที่" แต่คุณค่าที่ว่าเป็นของคนเรียนนั้นเป็นคุณค่าของทั้ง "หน้าที่" และ "ความจำเป็น" คนสอนที่เห็นนักเรียนประสบความสำเร็จนั้นก็อิมอกอิ่มใจ เด็กล้มเหลวก็เสียใจ แต่นักเรียนที่เรียนสำเร็จหรือล้มเหลวนั้นมันมีผลกระทบที่เป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรม

ผมเห็นด้วยว่าทัศนคติของคนเราไม่พึงเปลี่ยน "ง่ายๆ" ขอเพียงเราไม่ได้ตั้งหลักอยู่ที่ว่าเราจะ "ไม่มีวันเปลี่ยน" ก็พอ พร้อมที่จะรับและขบเคี้ยวของใหม่ๆ เอาคุณค่าของสิ่งที่เราคิดดึงออกจากคุณค่าของตนเอง มันจะช่วยให้การอภิปรายไม่เข้าเนื้อ และช่วยให้ emotion มันไม่ลงมาเกี่ยวข้องมากนัก เพราะ emotion เป็นอุปสรรคสำคัญในการที่เราจะใช้ตรรกะได้อย่างเต็มที่



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-17 , Time : 20:59:15 , From IP : 203.156.119.179

ความคิดเห็นที่ : 34


   ผมใคร่ขอ share อะไรบางอย่างเท่าที่เคยรับรู้เกี่ยวกับการ "สั่งสอน" ในครอบครัวแบบเก่าก่อน ไม่ได้ตั้งใจจะ stereotype (ซึ่ง "ไม่ควร" ทำ) แค่เป็นตัวอย่างคู่ขนานกับที่ได้มีการยกมาแล้ว

การสั่งสอนของครอบครัวแต่ก่อนจะมีการ "ถึงลูกถึงคน" มากกว่าครู "สมัยนี้" เยอะ ในทำนองเดียวกันกับ "ครู" สมัยก่อนที่สอนดีมักจะมาติดๆกับกิตติศัพท์ความดุ ความเฮียบ ไม่งั้นเราไม่มีภาษิตไทยทำนอง "รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี" หรือ "หวานเป็นลม ขมเป็นยา" ในทิศทั้งหกนั้นก็จะเห็นว่ามีครูบาอาจารย์พ่อแม่รวมอยู่ด้วย แต่ปรัชญาที่ลูกศิษย์คลานเข่าเอาพานธูปเทียนดอกไม้ไปฝากฝังครูให้สั่งสอนเสมือนบุรพการีนั้น มันไม่ได้เป็นไปในปัจจุบันอีกต่อไปแล้ว

ไม่ทราบว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร แต่ใครๆก็กลัวการถูกดุด่าว่ากล่าวหรือถูกเฆี่ยนตีแน่นอน ดังนั้นวิธีที่พ่อแม่ครูอาจารย์สมัยโบราณหรือที่หลวงปู่หลวงตาตามวัดใช้มาอย่างศักดิ์สิทธิ์ก็ประเภทไม้มะยม ท่อนบอระเพ็ด กิ่งหวายนี่แหละเข้าหูไปแล้วไม่ใคร่ทะลุออกไปเท่าไหร่ ผมว่าวันธรรมบางส่วนยังคงมีอยู่ในหมู่ "ชาวบ้าน" แต่ที่แน่ๆน้อยมากหรือไม่มีเลยใน "อุดมศึกษา"

"อุดมศึกษา" มันเป็นอะไรที่มาจากฝรั่งครับ สมัยก่อนจบมอ.8 ก็ทำงาน ยกเว้นสอบชิงทุนหลวงไปเรียนต่ออีกในต่างประเทศ จนมหาวิทยาลัยเพิ่งจะมาบังเกิดในช่วงหลังท่อนต้นของรัตนโกสินทร์ และต่อมาที่รับเข้ามาก็แนวความคิด liberal เสรีนิยม สิทธิ ฯลฯ จนในที่สุดปัจจุบันในบางประเทศที่ "ล้ำหน้า" เราไปไกล เกิดภาวะ "ลูก(ศิษย์)บังเกิดเกล้า" ขึ้น ไม่มีพ่อแม่กล้าตีลูก (เดี๋ยวมันฟ้องเอา) ไม่มีครูกล้าตีเด็ก (ทั้งครอบครัวทั้งรัฐบาลจะเล่นงานเอา) ครูใหญ่ไม่มีไม้ตายอะไรมากำราบเด็กบังเกิดเกล้าในยุคเสรีนิยม (..กว่าหน้าที่) ในปัจจุบัน ปผลหนองในที่ค่อยๆสั่งสมมันเริ่มผุดโผล่ก็ตอนที่ Hooliganism มันมีคนระดับชั้น "สูง" ติดต่อประสานงานระดับทวีปในการจะยกพวกตีกัน ถึงรู้ว่า generations ที่ผ่านมาได้ "เรียน" อะไรไปบ้างแล้ว (สายไปแล้วมั้ง?)

คำสั่งสอนตักเตือนนั้นมันไม่ค่อยไพเราะเพราะพริ้งหรอกครับ แต่ถ้าใครมีพุทธิปัญญารับได้ ก็ได้มงคลไป ถ้าใครเหยียดหยามว่าพูดอะไรหนอช่างหยายคายไร้สติก็ไม่ได้รับมงคลไป รับแต่ที่เรา "เลือกจะรับ" แท้ๆเลยเทียว ตรงนี้ตัวใครตัวมันครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-17 , Time : 23:15:53 , From IP : 203.156.119.179

ความคิดเห็นที่ : 35


   พี่ RS .....
สำหรับ "ไฟ" หนูหมายถึง เมื่อหนูอ่านสิ่งที่อาจารย์ Phoenix มา Post แล้ว มันก่อกวนอารมณ์ด้วย นอกไปจาก จะกวน ปัญญา น่ะค่ะ เรียกว่า - loss sense of control - แต่ได้ตั้งสติสักพักอาการจะดีขึ้น และเริ่มมีความหวังสำหรับการ "แก้เกม" ใหม่ หนูเพิ่งลงสนามนี่คะ จะหวัง world class ได้ต้องเกิดใหม่บ่อยๆ อาจารย์ Phoenix เคยสอนให้หนู..คิด...ว่า " not just burn but burn for purpose" ค่ะ ซึ่งอาจารย์เคยเล่าไว้ว่า นก Phoenix จะเผาตัวเองเมื่อถึงเวลาอันสมควรเพื่อจะเกิดใหม่ให้..ดี..กว่าเก่า ค่ะ เพราะงั้นบางเวลาถ้าจะยอม..ตาย..บ้างเพื่อจะ.. รู้จักคิด..มากขึ้น ก็ไม่น่าจะหนักหนาสาหัสอะไร


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-18 , Time : 09:19:14 , From IP : 172.29.4.251

ความคิดเห็นที่ : 36


   อาจารย์ Phoenix

หนูเกิดอาการ..ปรับตัวไม่ทัน..นิดหน่อย
ตามปกติเมื่อเกิด emotional crisis ต้องอาศัยเวลาสักพักเพื่อจะเข้า accept stage และมีหลายประเด็นที่หนูจะแก้ตัวแน่ๆ ถ้ารอไม่ไหวก็ถกกับคนอื่นไปพลางๆก่อนนะคะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-18 , Time : 09:30:06 , From IP : 172.29.4.251

ความคิดเห็นที่ : 37


    น้องลูค่ะ เปลี่ยนบรรยากาศไปฟังเพลงที่ เขา post ว่า "คึดถึงครับ อันนี้ไม่ใช่ realplayer ละครับ ใครๆก็ฟังได้ ^-^" ข้างบนๆดูนะคะ พี่ฝากเนื้อเพลงให้ด้วย แล้วค่อยไปฝึกฝนเพื่อเข้าสู่ world class กันต่อ



Posted by : RS , Date : 2005-04-19 , Time : 01:05:34 , From IP : pool-71-106-183-122.

ความคิดเห็นที่ : 38


   หลับอยู่ใช่ไหม ฝันดีนะคะ

Posted by : RS , Date : 2005-04-19 , Time : 01:15:28 , From IP : pool-71-106-183-122.

ความคิดเห็นที่ : 39


   สำหรับ "มหาวิทยาลัยควรเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างรากฐานการศึกษาที่นำไปใช้ได้ในการดำเนินชีวิต "
หนูไม่เห็นด้วยอยู่คำเดียว คือ “เป็นจุดเริ่มต้น” ค่ะ หนูเห็นว่าควรจะให้คุณค่ามากกว่านั้น คือ “เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุด” ขออนุญาตวิเคราะห์ตาม Psychosocial developmental stage ของ Erik Erikson ซึ่งลำดับขั้นตอนพัฒนาการช่วงอายุ 13 – 20 ปี มี psychosocial crisis เป็น Identity vs Identity diffusion นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจะอยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย เช่นเดียวกับสถาบันการศึกษาในระดับก่อนนี้ตั้งแต่ อนุบาล ประถม มัธยม หนึ่งในสิ่งที่สถาบันการศึกษาควรให้ความสนใจ “บ้าง” คือส่งเสริมพัฒนาการตามวัย เช่น

นายคีแวน คอลลินส์ ผู้อำนวยการแผนยุทธศาสตร์การศึกษาชั้นประถมแห่งชาติของรัฐบาลกล่าวว่า "โครงการนี้จะเน้นที่การพัฒนาการเรียนและพฤติกรรม เจาะลึกที่ปัญหา ที่รัฐบาลได้รับทราบจากการสำรวจในกลุ่มเด็กชั้นมัธยม เราทราบว่าสิ่งที่กำลังจะสอนอยู่นี้ มีหลายครอบครัวได้กำลังทำอยู่แล้ว รัฐบาลเพียงแต่จะเสริมสานต่อจากตรงนั้น เนื่องจากไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะมีโอกาสที่ดีทัดเทียมกัน เราจำเป็นต้องเอื้ออำนวยให้สิ่งเหล่านี้มีการกระจายอย่างทั่วถึง"

เป็นหลักการที่ดีที่มนุษย์ขี้เหม็นไม่ควรทำเบี้ยว

ระยะเวลาแค่ 3-4 ปี ในมหาวิทยาลัย เป็นเวลาที่นานพอจะทำให้เกิดการเปลี่ยนสถานะจากลูกเล็กของพ่อแม่ เด็กงี่เง่าของคนข้างบ้าน เพื่อนบางคนที่ (Idiot)cool ในช่วงวัยรุ่น เป็นบัณฑิตที่มีบุคลิกภาพมั่นคง สามารถรู้จักและเข้าใจความปรารถนาและปรัชญาในชีวิตแห่งตน ฯลฯ ถ้าคนจะทำมีศรัทธาพอ สิ่งที่จะคิดต่อไปคือ “ทำอย่างไร” โดยเฉพาะ 6 ปี ในโรงเรียนแพทย์ ไม่ว่า ว่าที่บัณฑิต จะตั้งใจแสวงหาหรือไม่ ในระหว่างการศึกษา แต่โดยสถานภาพ เมื่อรับ แพทยศาสตร์บัณฑิต หรือก่อนนั้น(ที่รพ.ชุมชน ชนบทที่ไม่ได้มี หมอ-ว่าที่หมอ อยู่รวมกันเป็นหลายร้อย จะเห็นชัดขึ้น ) ความคาดหวังของสังคม จะ “ยก” ความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นของ “หมอ” ไว้สูงพอจะทำให้ชาวบ้านธรรมดาๆ คนหนึ่งเป็น อภิสิทธิชน ได้

"ครอบครัว" เป็นรากฐานของสังคมมานานแต่ไม่มากกว่าโรงเรียน ครู เพื่อน และ Idol
หนูใคร่ขอความกรุณา อาจารย์ คำนวณเวลาใหม่ และ ปรับบริบทจากความสมบูรณ์ เป็น ครอบครัวเดี่ยวซึ่งประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ในสังคมเมืองซึ่งไม่ค่อยพร้อม ด้วยเหตุและปัจจัยหลายประการ(หนูไม่ทราบว่าอะไรบ้าง)สักนิดนึง ความจำเป็นของอาชีพ(ไม่จำเป็นต้องเป็นกรรมกรแบกหาม ) ทำให้พ่อแม่ต้องรีบโยนลูกเข้าโรงเรียน เพราะทิ้งไว้บ้านจะไม่มีคนเลี้ยง หรือ คนทำงานบ้าน/คนข้างบ้านจะน่าไว้ใจมากกว่า “ครู”
เด็กจะอยู่โรงเรียน 8โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็น รวม 8ชม. คิดเป็น 1/3 ของชีวิตประจำวัน 8 ชม. ต่อมา ใช้นอน อีก 8 ชม. ที่เหลือ ใช้ กินข้าว อาบน้ำ เดินทาง ดูหนัง วิ่งเล่นกับพี่กับน้อง หนูให้เป็น 9 ชม. ก็ได้ค่ะ เผื่อแม่เล่านิทานให้ฟังก่อนนอน จะเห็นว่า Quality time เฉพาะเวลาตื่น ไม่ต่างกันทั้งบ้านและโรงเรียน

หนูยังไม่เห็นความสำคัญของการคิดว่า “หลัก” หรือ “รอง” ค่ะ ยังคงเป็น “หลัก” และ “หลัก” อยู่
ถ้าไม่คิดว่าเป็นความแตกต่างระหว่าง AR กับ AS style
หนูจะให้เหตุผลว่า คุณค่าและความสำคัญของสิ่งที่เป็น “รอง”จะลดลงไปอย่างช่วยไม่ได้ การ empowerment ทั้ง 2 สถาบันน่าจะช่วย เรื่อง resource allocation มากกว่า คือ แบ่งกันอย่าง Equal - ตาม ต้องการ เหมาะสม และจำเป็น –
หน้าที่ของทั้ง 2 สถาบันไม่เคยแยกจากกันชัดเจน (ตามการรับรู้ของหนูค่ะ) มีส่วนที่เหลื่อมล้ำทับซ้อนกันเสมอ และมากเกินกว่าจะบอกว่าส่วนใหญ่เป็นของใคร ในขณะที่ “หลัก” และ “รอง” จะทำให้เกิดสภาพ เหยื่อตาดำๆ ถูกผลักออกไปเป็นมหาโจร หรือกุ๊ยกเฬวรากที่ว่า จากการโยนกันไปโยนกันมา


ที่สุดแล้ว เงินภาษี หรือ แหล่งปัจจัย ก็จะถูกจัดสัดส่วนโดย “ผู้แทน” ของประชาชน แล้วแต่ท่านเห็นสมควรและจำเป็นเข้ากระเป๋าท่าน พรรคพวกท่าน หรือคืนกลับมาหาประชาชนซึ่งท่านเป็น “ผู้แทน”
หนูเข้าใจว่าทุกสิ่งในประเทศหรือในโลกนี้มีผลเกี่ยวข้องโยงใยถึงกันอย่างเป็นวงจร ไม่ว่าเราจะทำหรือไม่ทำอะไรที่อาจารย์ว่า มีหลายประเด็นที่ต้อง analyse และต้องใช้เวลาค่ะ หนูไม่แน่ใจว่าตอนนี้หนูตื่นแล้วหรือยังละเมออยู่ เอาเท่าที่ได้ก่อนแล้วกันนะคะ

หนูไม่เคยตั้งอะไรไว้ในจุดที่จะ “ไม่มีวันเปลี่ยน” ค่ะ ตราบเท่าที่ยังมีการขยับของข้อมูลที่รับเข้ามา หนูสรุปและตัดสินจากเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ในส่วน การวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับคน เป็นที่หนูเองพยายาม keep emotion เอาไว้ด้วย แต่ยากที่ตรง balance กับ logic ค่ะ หนูกลัวการใช้เหตุผลโดยปราศจากอารมณ์และใช้อารมณ์โดยปราศจากเหตุผลมานาน แล้วจะเล่าให้ฟังทีหลังนะคะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-22 , Time : 00:48:17 , From IP : 172.29.4.205

ความคิดเห็นที่ : 40


   คนทุกคน" ไม่จำเป็น" ต้องเข้ามหาวิทยาลัยก็สามารถเป็นประชาชนที่มีคุณค่าและเป็นคนดีของสังคมได้

ช่วงอายุวัยรุ่นตอนปลายเข้าวัยผู้ใหญ่นั้นเป็นรอยต่อเนื่องที่คนเราจะแสวงหา "บุคลิกภาพ" การศึกษาในช่วงนี้ "ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน สำคัญอย่างยิ่ง แต่ประเด็นที่ผมคิดว่าสำคัญกว่านั้นก็คือ ไม่มีช่วง magic bullet ที่มายังไงไปยังไงก็ตาม ระบบจะสามารถเปลี่ยนคนได้ในเวลาแค่เศษส่วนหนึ่งของชีวิต การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา

"สังคมเมือง" เป็น convenient excuse ของพ่อแม่ที่ต้องการจะปลดความรับผิดชอบ ผ่องถ่ายสิ่งที่เป็น innate duty ให้ professional (ที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ที่คนเรา "สร้างขึ้นมา") มารับผิดชอบแทน "หลัก" กับ "หลัก" นั้นไม่สามรรถจะทดแทนกันได้ครับ ถ้าเป็นหลักกับหลักแปลว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งล้ม คนๆนั้นจะได้แค่ 50% at best แต่ที่ผมว่ามันเป็น "หลัก" กับ "รอง" นั้นเพราะว่าถ้าหลักดี ไม่มีรองก็ยังไปรอด โดยรูปการณ์ที่เรามองเห็นปัญหาครอบครัวแตกแยกจึงเป็นรอยร้าวที่ "ลึก" ของสังคม เพราะมันเรื้อรังและยากสุดที่จะแก้ แต่ในที่ที่สถาบันครอบครัวแข็งแรง ต่อให้เป็นครอบครัวทำนาทำไร่ ไม่มีใครในสาม generations เข้ามหาวิทยาลัยเลย เขาก็จะมี "มหาวิทยาลัยชีวิต" ที่ให้เรียน ให้ประสบการณ์ และให้คุณธรรมได้ ใน "สังคมที่เข้มแข็ง" นั้น พ่แม่จะสำเนียกถึงความจำเป็นและภาระหน้าที่ที่ต้องเลี้ยงดูลูกครับ "สังคมเมือง" ที่อ้างว่าพ่อแม่มีอะไรอย่างอื่นที่สำคัญทำมากกว่าการเลี้ยงดูอบรมลูกนั้นกำลังอยู่บนทางลาดชันไปสู่อนารยะยุค เป็นสังคมที่ "พ่อแม่" นั้นแหละมากกว่าที่ต้องมา re-programming ในเรื่องลำดับความสำคัญของหน้าที่ความรับผิดชอบใหม่ artifical need หรือ "ความจำเป็น" ที่ว่าพ่อแม่พึ่งไม่ได้ ต้องให้ครูทำแทนนั้น ไม่ต้องบอกก็คำนวณได้ว่าเรากำลังเปลี่ยน "สัดส่วน" ของความใกล้ชิด ความอาทรเอาใจใส่ลงไปแค่ไหน ระหว่าง "ลูกต่อพ่อแม่" กับ "ลูกศิษย์ต่อครู" ratio เดี๋ยวนี้จำนวนเด็กนักเรียนต่อห้องเท่าไหร่นะครับ? 45-50 คนต่อ classroom ตอนประถม และ 200 คนต่อ classroom ตอนมหาวิทยาลัย นี่หรือคือความ "ทัดเทียม" ของประสิทธิภาพ ผมว่าเอาแค่ชั่วโมง รร. มาเปรียบเทียบกับชม.บ้านอย่างเดียวนั้นอาจจะเป็นการ oversimplifcation ไปหน่อย และผมว่าเป็นการ under-estimate effects ของ quality time ของเวลาที่ครอบครัวใช้ด้วยกันตอนข้างเย็น ตอนพักผ่อนในบ้าน หรือแม่กระทั่งการที่พ่อแม่นอกกกลูกในอ้อมกอด สิ่งเหล่านี้เป็น "ส่วนหนึ่งของการศึกษา" เป็นส่วนหนึ่งของ "บุคลิกภาพ" ของเด็กทั้งสิ้นที่กำลังโตขึ้นมา และไม่มีครู รร.ไหน หรือ อาจารย์มหาวิทยาลัยไหนสามารถจะสามารถ "เติม" ความหมายของความรัก เอื้ออาทร หน้าที่รับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ได้เท่ากับสิ่งที่เกิดขึ้นในครอบครัวแบบนี้อีกแล้ว อาจารย์ 1 ต่อ 200 คนนั้นไม่มีใครจะสามารถลูบหัว โอบหลัง ได้เพียวพอเหมือนที่พ่แม่พี่น้องจะทำกันได้หรอกครับ

ผมสังเกตคุณ Lucifer ใช้คำ "โยนกันไป โยนกันมา" หลายครั้ง ผมสงสัยถึงที่มานิดหน่อย ผมคิดว่าผม clarify ไว้หลายครั้งแล้วว่า ไม่มีครู อาจารย รร. หรือ มหาวิทยาลัย ไหนๆจะโยนเด็กไปไหนหรอกครับ โดยหน้าที่ที่เขาจ้างมา ที่คนเขาสมัรมาทำ มันชัดเจนอยู่แล้ว แต่ตรงนี้ไม่ใช่ magic bullet ที่จะแก้ไขอะไรๆที่มันไม่มั่นคงแข็งแรงแต่แรกเริ่มได้ และขอให้เข้าใจอย่างหนึ่งคือ อย่าใช้ concept ของ capitalism ที่คิดว่าคนเราจ่ายภาษีไปแล้วหมดหน้าที่แค่นั้น ที่เหลือยกให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องเลี้ยงดูลูกให้ ต้องรับผิดชอบเรื่องความเป็นคนดี ความตั้งใจเรียน ฯลฯ หน้าที่ที่ว่านี้เป็นหน้าที่แต้กำเนิดของมนุษย์และ "ไม่เหนือบ่ากว่าแรง" ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมแบบไหน จะเห็นก็คือสังคมที่เป็น blame culture แหละครับที่เอา convenience ขอตนเองเป็นหลักและพร้อมที่จะหา "คนอื่น" มาสวมความรับผิดชอบแทน ส้รางความรับผิดชอบแทน

ทุกๆเด็กนักเรียนมีครอบครัว มีพ่อแม่ นั่นเป็น "สัดส่วนธรรมชาติ" ที่สมดุลดีอยู่แล้วในการที่เด็กจะเติบโตมาอย่าง" สมดุล" แต่ไม่ใช่ทุกเด็กจะมีครูที่มีความใกล้ชิดในสัดส่วนเดียวกัน ตรงกันข้ามสัดส่วนตรงนี้มีแต่จะห่างออก กว้างออกไปเรื่อยๆ จำนวนเด็กเพิ่มแป็นแบบ exponential แต่จำนวนครูเพิ่มแบบ arithmatic (หรือ static ซะด้วยซ้ำ ถ้าไม่ลาออกไปหมดซะก่อน) ฉะนั้นอะไรเป็นหลักหรือรอง ผมว่าเราเอาข้อมูล facts ทั้งหมดมาไตร่ตรองดูไปแต่ละคนเอาเองก็ได้ครับ ทุกคนคงจะมี parameters มีให้ weight ในปัจจัยต่างๆเหล่านี้ตามความเห็นของตนเองอยู่แล้ว



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-22 , Time : 02:25:31 , From IP : 203.156.122.81

ความคิดเห็นที่ : 41


   
"ไม่มีครู อาจารย์ รร. หรือ มหาวิทยาลัย ไหนๆจะโยนเด็กไปไหนหรอกครับ"

หนูว่าอาจารย์ ไม่น่าจะเคยเป็น .....

"เด็กหลังห้อง ของห้องบ๊วย"

"อยู่ 6/8 ครู เรียก หกทับเปรต"

แน่ๆ เลย.........สงสัยจะเข้าตัวอีกแล้ว

เดี๋ยวมาต่อค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-04-22 , Time : 15:04:35 , From IP : 172.29.4.205

ความคิดเห็นที่ : 42


   คุณ Lucifer "สรุป" ว่าครูคนนั้น represent สถาบันครูทั้งหมดหรือครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-22 , Time : 16:46:45 , From IP : 203.156.119.250

ความคิดเห็นที่ : 43


   มาเผชิญกับชีวิตจริงกันดีกว่า--
--ขอเชิญ ร่วมแรง ร่วมใจ และกำลังความคิด เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ มอ และสังคมของเรา----เชิญร่วมสนทนาในกระทู้ "ต้นไม้กับตึก : Lemon Tree"



Posted by : RS , Date : 2005-04-23 , Time : 03:51:40 , From IP : pool-71-106-204-229.

ความคิดเห็นที่ : 44


   ที่เราคุยกันมาแล้วนี่ไม่ใช่ชีวิตจริงหรอกหรือครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-23 , Time : 10:09:09 , From IP : 203.156.36.26

ความคิดเห็นที่ : 45


   ก็...........อาจจะเป็นชีวิตจริง แต่............บางอย่างก็ไกลตัว คือเราทำอะไรได้ในระดับหนึ่ง (เป็นฟันเฟืองเล็กหน่อย) อาจจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ตามที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเรื่องระบบการศึกษา

เรื่องต้นไม้กับตึก เป็นชีวิตจริงที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก (เป็นฟันเฟืองใหญ่หน่อย) และหวังว่าพลังเล็กๆของกลุ่มรักษ์ต้นไม้ หรือกลุ่มอื่นๆที่ต่อต้านการตัดต้นไม้ใหญ่จะคุ้มครองต้นไม้ดังกล่าวไว้ได้ หากชาว มอ ร่วมแรงร่วมใจกัน คุยกันด้วยเหตุผลและศานติ ก็หวังว่าความหวังในการรักษาต้นไม้จะกลายเป็นความจริง

มนุษย์-ต้นไม้-สัตว์-แผ่นดิน-และผืนน้ำ ฯลฯ ควรอยู่ร่วมกันอย่างสันติมิใช่ฤา......................


Posted by : RS , Date : 2005-04-24 , Time : 14:43:52 , From IP : pool-71-106-160-162.

ความคิดเห็นที่ : 46


   หลังจากระเบิดห้าง
แล้วข่าววางระเบิดมอ.
สมมติเราเป็นเด็กธรรมดามอปลาย
หรือพ่อแม่เค้า
คงให้ลูกเอ็นที่อื่น
กลัวตาย
ไม่อยากเสี่ยง


Posted by : คิดง่ายไหม , Date : 2005-04-30 , Time : 20:37:29 , From IP : 221.128.126.2

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.019 seconds. <<<<<