ความคิดเห็นทั้งหมด : 8

วัฒนธรรมและภาษาของคนใต้หายไปไหนหมดช่วยบอกที


   
รู้สึกครับ...........เขว !

มาทำงานใช้ภาษากลางทั้งวัน เลิกงานกลับบ้านคนข้างบ้านก็พูดกลาง เข้าศูนย์การค้าก็พูดกลางนักศึกษาที่เช่าบ้านก็พูดกลาง ไปบ้านนอกคนเฒ่าคนแก่เด็กวัยรุ่นก็พูดกลาง นั่งกินเหล้ากับเพื่อนๆ (หวังอิแหลงต้ายให้แลงอก)ดันมีคุณหนูมานั่งต้องพูดกลางอีก...เวรแท้ๆ

ลองเปิดทีวีดูบ้างกลางดึกก็มีแต่รายการเพลงอะไรไม่รู้ ไม่มีอะไรเป็นของคนใต้เลย....เวรแท้ๆ

ผมลืมหมดแล้ว ชาติกำเหนิดเผ่าพันธุ์วัฒนธรรมของตัวเอง ผมสวมเสื้อผู้อื่นทุกวันจนนึกว่าเป็นเสื้อตัวเอง เสื้อตัวเองแท้ๆที่พ่อแม่ให้มากลับดันลืม...เวรแท้

โลกใบนี้ยังกว้างใหญ่ไพศาลแต่ใยเรากลับถูกรุกราน จนภาษาและวัฒนธรรมหมดสิ้น หรือนี่คือกลยุทธ์การดูดกลืนชนพื้นเมืองเดิม....เวรแท้ๆใส่แต่เสื้อผู้อื่นถึงจะดูโก้แต่ใจห่อเหี่ยว....บรือๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ....หมันเป็นพันพรือ.


Posted by : อินทรีย์ , Date : 2005-03-31 , Time : 02:08:07 , From IP : 172.29.7.72

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมยังแหลงใต้กับคนไข้

Posted by : the Kop , Date : 2005-03-31 , Time : 10:20:12 , From IP : 172.29.3.187

ความคิดเห็นที่ : 2


   คุณอินทรีย์ไม่ทราบกังวัลใจอะไรอยู่หรือ?? คนใต้ไม่พูดภาษาใต้ ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่ใช่คนใต้หรือลืมวัฒนธรรมของคนใต้เลย ข้าพเจ้าเกิดที่ปักษ์ใต้
โต+เรียน+ทำงาน และอนาคตอาจจะสิ้น..ที่ปักษ์ใต้ ยังพูดใต้ได้ไม่ชัด ไม่ใช่ว่า
ไม่ชอบภาษาใต้ ชอบ..แต่พูดไม่ถนัด ลองเปิดฟังวิทยุรายการ "ใต้สันติสุข"
นอกจากจะพูดภาษาใต้แล้ว ยังมีภาษายาวี(ไม่ทราบเขียนถูกไหม ขออภัย)
ให้ได้ฟังอีก ดีมากๆเลย


Posted by : คนใต้ , Date : 2005-03-31 , Time : 10:33:47 , From IP : 172.29.3.193

ความคิดเห็นที่ : 3


   ขอขอบพระคูณอย่างสูง เจ้าของกระทู้นี้

Posted by : คนใต้ , Date : 2005-03-31 , Time : 12:44:40 , From IP : 172.29.1.124

ความคิดเห็นที่ : 4


   เราว่าภาษาใต้กำลังหายไปจริงๆ อย่างเราเป็นต้น ตอนเด็กๆอยู่บ้านพูดใต้กับพ่อกับแม่ มาอยู่หาดใหญ่เราต้องพูดกลางตลอด เวลาพูดภาษาใต้กับเพื่อนๆเขาไม่พูดใต้ด้วยแม้กระทั่งเพื่อนที่สมัยเรียนมัธยมมันก็พูดใต้กับเรา แฟนเราก็พูดใต้ไม่ได้ กลับไปบ้านลืมภาษาใต้บางคำไปแล้วเวลาแม่พูดบางคำเรายังงงเลย บางครอบครัวพ่อ แม่ คนใต้แท้ๆ สอนลูกพูดภาษากลาง ยังเคยได้ยินคนแก่พูด ฟังแล้วก็น่าคิดนะ ว่าอีกหน่อยภาษาใต้คงไม่มี

Posted by : wakie , Date : 2005-04-05 , Time : 05:05:30 , From IP : 203.156.190.37

ความคิดเห็นที่ : 5


   อาจจะเป็นการยากที่จะสรุปว่า "ใคร" คนใดคนหนึ่งสามารถ "ทำ" ให้ภาษาใดภาษาหนึ่งถูกลืมเลือน ผมคิดว่าประเด็นนี้น่าสนใจ ลองตั้งสมมติฐานว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง

ยกตัวอย่างเช่น ภาษาอะไรเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ขณะนี้เรายังใช้กันอยู่หรือไม่? ตำนาน นิทาน อาจจะเคยกล่าวถึงภาษากุโบส ภาษาเทพ แต่ที่แน่ๆมีภาษาละติน กรีก บาลี เฮโรกราฟิก ที่ทั้งภาษาเขียนและภาษาพูดจะหาคนเข้าใจและใช้ประจำยากเต็มที ทำไมบางภาษาจึงเกิดใหม่ เปลี่ยนแปลง หรือ "ติดตลาด" หรือ "สูญหาย" ไป?

ถ้าเรากลับมาพิจารณาว่าภาษามีไว้ทำไม ตรงไปตรงมาคือภาษามีไว้ "สื่อ" สื่อความคิด ความหมาย ของปัจเจกไปสู่อีกปัจเจก หรือมากกว่า ผมคิดว่าภาษาใดก็ตามที่ยัง "สื่อได้" และมี "คนใช้" มากพอ ก็จะคงอยู่ ทีนี้ทำไมบางภาษามันหายไป หรือทำไมภาษาใหม่คำใหม่ถึงเกิดขึ้นมา น่าจะมีหลายปัจจัย

ปัจจัยแรกคือ "ความกว้างขวางของความสามารถในการสื่อได้ของภาษา" ภาษาที่สื่อได้กับคนพันคน ย่อมเป็นที่นิยมกว่าภาษาที่สื่อกันในหมู่คนสิบคน การเรียนภาษาหนึ่งๆ "การใช้ประจำ" นั้นสำคัญมาก ยิ่งเป็นภาษาต่างประเทศแล้ว ถ้าเราเผลอๆไม่ได้ใช้ ไม่ได้ฟังแป๊บเดียวจะเกิด "ความฝืด" ขึ้นมาทันที ความกว้างขวางของการสื่อได้นี้ก็ยังมีปัจจัยประกอบอื่นๆอีก ได้แก่ วัฒนธรรมที่หนุนหลังภาษานั้นๆ อังกฤษได้แสดงให้เห็นว่าที่ครั้งหนึ่งลัทธิอาณานิคมที่แพร่กระจายวัฒนธรรม และภาษาไปทั่วโลกนั้นมีส่วนทำให้มี "คนเข้าใจ และใช้" ภาษาอังกฤษอยู่ทั่วทุกมุมโลก กลายเป็นภาษาสากลไปเพราะความสามารถหรือความกว้างขวางของการสื่อได้ไปอย่างชัดเจน

ปัจจัยเสริมเช่น "ความง่าย" ในการใช้ ภาษาที่ต้องม้วนลิ้นสามสี่ตลบเปล่งออกมาจากท้อง หรือซับซ้อนมากๆก็จะมีคนเรียนน้อย ใช้ยาก ไม่เป็นที่นิยม พูดถึง "นิยม" ก็สามารถดูได้อีกว่ากลุ่มไหนเป็นผู้สร้างค่านิยม กลุ่มไหนเป็นผู้ตามค่านิยม ในปัจจุบันอะไรเป็นเครื่องมือสื่อ? คำตอบน่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ บวก internet เข้าไปอีกอย่างนึง เราก็จะพบว่าภาษาพูด ภาษาเขียนในขณะนี้ถูก dominate ด้วยภาษาไทยกลาง และภาษาอังกฤษ ไปซะกว่าครึ่งค่อน

ประเด็นที่สำคัญของกระทู้นี้ที่แฝงอยู่คือ "คุณค่า" และเอกลักษณ์ ความเป็นตัวตน ของผู้เคยใช้ภาษาต่างๆว่าอยู่ที่ใด ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความภาคภูมิใจที่มีภาษาเป็นของตนเองทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน แต่ที่เราใช้กันอยู่นี้จะเหมือนกับที่พ่อขุนรามคำแพงมหาราช ท่านได้ทรงจารึกไว้ในหลักศิลเมื่อ 1826 หรือไม่? เราก็จะพบว่ามีหลายๆอย่างได้วิวัฒน์ ได้เปลี่ยนแปลงไป

คุณค่าหรือความดีของภาษานั้น ผมคิดว่าอยู่ที่ "การสื่อได้" นอกเหนือจากภาษาพูด ภาษาเขียนแล้ว มนุษย์ยังสื่อด้วย non-verbal อีกมากมาย ภาษาที่สื่อได้ดีคือภาษาที่แสดง "ความคิด" ของผู้สื่อได้ดี ผนวกกับภาษานั้นสามารถถูก "รับ" โดนคนที่รับได้เข้าใจ ใช้ได้ในหลายๆบริบท วิวัฒนาการของภาษาน่าจะดำเนินไปในแนวนี้ตลอด ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ ภาษาที่สื่อได้ดี ได้เยอะ ได้กว้าง ได้ง่าย ก็จะทดแทนภาษาดั้งเดิมไปเรื่อยๆ เป็นวิวัฒนาการจากแรงผลักดันของ "สังคม"

ข้อสำคัญคือ "ความคิด" ที่จะสื่อด้วยหรือไม่? ว่าเราได้สื่อความดีงาม ความเจริญ ออกไป จะเป็นภาษอะไรก็ตามที่ใช้ "คุณค่า" ที่แท้จริงคือเนื้อหา ความคิดอ่านที่ตั้งใจจะสื่อ หากตั้งใจจะบอก "ผมรักคุณ" แม้สื่อสำเร็จโดยเพียงแค่สบตา ภาษานั้นก็ได้แสดงคุณค่าของการสื่ออย่างมีประสิทธิภาพ และ "ดีงาม"



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-05 , Time : 07:39:48 , From IP : 172.29.7.61

ความคิดเห็นที่ : 6


   แล้วคุณพูดภาษาใต้กับลูกหรือเป่าล่ะ ต้องเริ่มที่ครอบครัวคุณก่อนนะ บ้าเราแหลงใต้กันทั้งบ้านเลย

Posted by : คนใต้ , E-mail : (-) ,
Date : 2005-04-07 , Time : 13:21:20 , From IP : 172.29.1.112


ความคิดเห็นที่ : 7


   ซ่าวหนุ่ยยังแลนั่งลุง
ไอไข้หนุ่ยกะยังไม๊ลืมโนรา....555

the Kop() **********น่ารักอย่างแรงคับ


Posted by : ttt , Date : 2005-04-09 , Time : 19:27:41 , From IP : 203-150-218-195.inte

ความคิดเห็นที่ : 8


   หรอยจังหู

Posted by : SodaMint , Date : 2005-04-12 , Time : 23:58:24 , From IP : 172.29.4.191

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<