ความคิดเห็นทั้งหมด : 28

Debate XIX: Medical student and Maturity


   ประเทศไทยมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์หลายๆประการ หนึ่งในบรรดานั้นเห็นจะเป็นอารมณ์ขัน อามรมณ์คัน ของคนไทยที่มีเหลือเฟือมากมายท่วมท้น จะเป็นเพราะอย่างนั้นรึเปล่าที่อาจจะทำให้บรรยากาศการทำงาน หรือความรับผิดชอบของเราดูหย่อนๆอย่างไรชอบกลหรืออาจจะเป็นผมคิดไปเอง

แพทย์นั้นเป็นอาชีพที่ต้องพึ่งพาความนับถือและร่วมมือจากผู้ป่วยอย่างมากในการทำงานให้สำเร็จ "บุคลิกหมอ" เป็นสิ่งที่ช่วยด้านนี้เยอะเหมือนกัน แต่เราคงไม่คาดหวังว่าบุคลิกเหล่านี้จะปุบปับกลายพันธุ์ (อย่าง SARS coronavirus) ทันทีที่รับปริญญา หากแต่ว่ามาจากการที่เราได้ทำงานคลุกคลีกับคนไข้ ซึมทราบว่าเรากำลังจะต้องรับผิดชอบชีวิตของผู้ป่วยเหล่านี้ในอนาคตอันใกล้ การได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยในชั้นคลินิกนี่เองที่จะเป็น finishing jigsaw ที่จะ "เติม" ให้เต็มจาก "ไข่หมอ" ไปเป็น "หมอใหญ่"

ผมเลยอยากจะฟังความเห็นพวกเราว่า เราคิดว่านศพ.ปัจจุบันมีความรับผิดชอบ ความเป็นผู้ใหญ่ที่ชาวบ้านจะนับถือ มากน้อยเพียงไร และควรจะทำอย่างไรที่จะสร้างสิ่งเหล่านี้ หรือว่าปล่อยๆไปก็ได้ไม่เห็นเป็นไร

กติกาเดิมครับ anything goes as long as it is a civilized manner



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-13 , Time : 13:23:54 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 1


   I need no education

hey! teacher

"Another brick in the wall"


Posted by : pink floy , Date : 2003-05-13 , Time : 15:47:58 , From IP : 202.28.80.4

ความคิดเห็นที่ : 2


   need no education? อืม...น่าสนใจครับ บางทีอาจจะเริ่มด้วยชื่อ Pink Floyd นั้นมีตัว d ข้างหลังอีกตัวนะครับ

เข้าใจว่าคุณ pink floy กำลังอยู่ระหว่างแสวงหาตนเองใช่ไหมครับ ว่าจะเป็น pink floy หรือ 202.28.80.4 หรือ อวยเพื่อนออย หรือ มาดิ มาดิ๊ หรือ yet k! หรือ จิ๊กโก๋ หรือ f4 หรือ john ดี

แล้วคุณ pink floy คิดเห็นอย่างไรกับเรื่องการเป็นผู้ใหญ่และมีความรับผิดชอบบ้างล่ะครับ?






Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-13 , Time : 16:01:48 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 3


    ผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นครับ ก่อนอื่นต้องขอบอกเลยว่าเป็นการตั้งกระทูที่ดีมากครับ ผมคิดว่ามี 3 ประเด็นคือ หนึ่งความเป็นผู้ใหญ่ ผมยังคงคิกว่านักศึกษาแพทย์ยังมีน้อยไปนิดครับ อาจเป็นเพราะระบบการเรียนของเราซึ่งนักศึกษาต้องอยู่กับอาจารย์หรือผู้สอนเป็นระยะเวลานานกว่าคณะอื่นก็ได้ ทำให้นักศึกษาบางครั้งยังปฏิบัติตัวค่อนไปทางเด็กๆซะมากกว่า แต่ประเด็นที่สองคือความรับผิดชอบครับซึ่งผมคิดว่านักศึกษาเรามีพอสมควร (แต่ถ้าจะให้ดีก็ควรจะมากกว่านี้อีกครับ) จะเห็นได้จากนักศึกษาส่วนใหญ่ค่อนข้างใฝ่รู้ (แต่อาจดูคนไข้น้อยไปซักนิด) ผมคิดว่าพอจะฝึกฝนกันได้ครับ ประเด็นสุดท้ายซึ่งผมคิดว่าสำคัญคือความรักในวิชาชีพครับ ผมยอมรับว่านักศึกษาส่วนใหญ่เรียนแพทย์เพราะอยากเรียนจริงๆ แต่ยังมีส่วนน้อยที่เรียนเพราะเหตุผลอื่นๆ (เช่น ผู้ปกครองอยากให้เรียนเพราะหัวดี หรือเรียนเพราะไม่รู้จะเรียนอะไรเนื่องจากเก่งเกินเหตุ) ผมคิดว่าความรักในวิชาชีพจะทำให้คนมีความรับผิดชอบและอาจทำให้โตเป็นผู้ใหญ่ได้ดีขึ้นเนื่องจากอาชีพเราต้องเผชิญกับความกดดันมากมายโดยเฉพาะคนไข้หนัก หรือคนไข้ที่กำลังหรือใกล้เสียชีวิต ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยหล่อหลอมให้นักศึกษาเราเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น
ถ้าถามว่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้นักศึกษาเราเป็นผู้ใหญ่จนชาวบ้านยอมรับนั้น ผมคิดว่ามีหลายๆปัจจัยด้วยกันเริ่มตั้งแต่ครอบครัว เพื่อน โรงเรียน จนมาถึงคณะแพทยศาสตร์ของเรา ดูเหมือนว่าเราคงทำได้เฉพาะในส่วนที่นักศึกษากำลังเรียนแพทย์เท่านั้นกระมังครับ สิ่งสำคัญคือ ตัวอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจารย์ของเรานี่แหละครับ นักศึกษาคงสังเกตุหรือดูอาจารย์เป็นตัวอย่างอยู่แล้ว อีกสิ่งหนึ่งคือการที่สถานศึกษาหรือคณะแพทย์ได้ฝึก สอน แนะนำ หรือใช้กลวิธีต่างๆมากมายที่จะทำให้นักศึกษาเป็นไปตามบัณฑิตพึงประสงค์ ซึ่งผมคิดว่ายังมีผลน้อยกว่าการดูตัวอย่างครับ อีกสิ่งหนึ่งคือการฝึกให้นักศึกษารู้จักใช้วิจารณญาณในการพิจารณาสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตแล้วเลือกนำไปประยุกต์หรือปฏิบัติด้วยตนเอง


Posted by : free bird , Date : 2003-05-13 , Time : 16:31:21 , From IP : 172.29.1.195

ความคิดเห็นที่ : 4


   ขอบคุณครับที่ออกความเห็นมา คุณ Free bird

ในความเห็นของผม "ความเป็นผู้ใหญ่" หรือ Maturity นั้นแทบจะแยกกันไม่ออกจากความรับผิดชอบเลย พูดง่ายๆผู้ใหญ่ที่ขาดความรับผิดชอบนั้นไม่มีคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของความเป็นผู้ใหญ่นั่นเอง ความรับผิดชอบในที่นี้รวมทั้งความรับผิดชอบส่วนตัว ครอบครัว และสังคม ดังที่ผมเคยเรียนไปแล้วครั้งหนึ่งว่า "บัณฑิต" หรือ scholar นั้นหมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาความรู้ มีการแสดงออกกายวาจาใจที่งาม และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ดุๆไปแล้วก็คือเราต้องการให้บัณฑิตของเรานั้น mature นั่นเอง



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-13 , Time : 19:43:49 , From IP : 172.29.3.213

ความคิดเห็นที่ : 5


   โดยส่วนใหญ่แล้ว ยังต้องพัฒนาอีกเยอะ
มันคงเป็นด้วยหลายเหตุ และหลายปัจจัยที่ทำให้น.ศ.พ
การจะแก้สิ่งใดได้ ก็ควรที่จะรู้จากเหตุ และปัจจัยเช่นกัน
ข้าพเจ้าไม่แน่นใจ...กับความคิดเห็นของตนเองเท่าไรนัก
แต่ในอดีต...ข้าพเจ้าก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ยังไม่เข้าใจ..กับความเป็นผู้ใหญ่ +ความรับผิดชอบ หรือรู้สึกไม่เป็นผู้ใหญ่นั้นเอง(ในความหมายของPhoenix)
ไม่อยากจะโทษ ทระบบการศึกษาบ้านเรา..แต่คิดว่ามันมีส่วนอย่างมาก
กับความรู้รับผิด และรับชอบ มันคงแก้ไขอะไรไม่ได้ในตอนนี้ แต่ค่อยข้างมันใจว่า
ผู้ใหญ่ในบ้านเมื่องกำลังพัฒนาอยู่.....คงต้องรอดู
การรู้จักบทบาทตนเองเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ เมื่อก่อนเริ่มจบทำงานใหม่ๆ
ข้าพเจ้ามีโอกาสที่ดี ที่มี รุ่นพี่ที่ชี้แนะ นำทาง..เมื่อเราเป็นอะไร ในสวมบทบาทนั้น ทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด เมื่อเราเป็นมืออาชีพ ผู้ป่วยและญาติวาดภาพของเราไว้ในฐานะผู้ช่วยเหลือ เราต้องสวมวิญญาณนั้นๆ
ถึงตรงนี้ก็คงอีกข้อหนึ่งคือ.. การมีผู้ชี้นำที่ดี ค่อยแนะนำ เป็นตัวอย่างที่ดี
น่าจะมีระบบพี่เลี้ยงในช่วงการเริ่มงาน แนะนำในทุกเรื่อง แต่คงต้องคัดเลือกพี่เลี้ยงเช่นกัน
**ระบบ คิดว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนตัวบุคคลได้
ขอคิดเห็นแค่นี้ก่อนนะ


Posted by : นกเป็ดน้ำ , Date : 2003-05-14 , Time : 06:19:04 , From IP : 172.29.1.101

ความคิดเห็นที่ : 6


   แต่ละคนก็มีความ mature ต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่ที่เห็นก็พอรับได้ครับ ความรับผิดชอบ - ความเป็นผู้ใหญ่สำหรับที่จะให้ชาวบ้าน ไม่เพียงแต่คนไข้ ยังมีทั้งผู้ร่วมงานมากมายจนกระทั่งระดับอาจารย์ว่าท่านจะให้ความไว้ใจเราได้มากแค่ไหน
แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ต้องค่อยๆฝึกครับ จากสิ่งง่ายๆ สิ่งเล็กๆน้อยๆ แล้วก้าวไปสู่งานที่ใหญ่ขึ้น ยากขึ้นมีความสำคัญต่อคนหลายๆคนมากขึ้น จา่กการที่เริ่มจากรับผิดชอบตัวเอง กลายเป็นรับผิดชอบผู้อื่น แล้วความคิดอย่างผู้ใหญ่จะตามมา สุดท้ายก็ออกมาเป็นพฤติกรรมที่ดูเป็นผู้ใหญ่ นั่นคือ มีmaturity มากขึ้น
ต้นแบบที่ดี...ผมว่าเป็นส่วนสำคัญทีเดียว ที่จะกระตุ้นให้เด็กรุ่นหลังพัฒนาตัวเองให้เป็นตามคนที่เขาประทับใจ ศรัทธาหรืออะไรก็ตาม อย่างผมก็มีอาจารย์และรุ่นพี่ที่นับถือหลายคน อยากจะเป็นให้ได้อย่างท่านเหล่านั้น ฉะนั้นทุกท่านที่กำลังทำงานและกำลังเรียนอยู่นี้ ขอให้ตระหนักไว้ว่านอกจากท่านจะฝึกความรับผิดชอบเพื่อพัฒนาตัวเองแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒาคนรุ่นหลังอีกด้วย นี่ไงล่ะ นอกจากท่านจะต้องรับผิดชอบตัวเองแล้ว ยังต้องช่วยรับผิดชอบผู้อื่นอีกด้วย


Posted by : เด๋อ , Date : 2003-05-14 , Time : 16:01:33 , From IP : 172.29.2.175

ความคิดเห็นที่ : 7


   เอแล้วทำไม pink floy ต้องมีdถ้าไม่ได้หมายถึงวงดนตรี
ตลกดี คนโง่แสร้งฉลาดนะนะ


Posted by : พิ๊งค์ ฟลอย , Date : 2003-05-14 , Time : 16:54:42 , From IP : 202.133.163.199

ความคิดเห็นที่ : 8


   Mature นี้รวมถึง emotion และ response หรือ reaction ด้วยหรือเปล่า นอกจากความรับผิดชอบ
ความรู้สึกควมคุมตัวเอง ได้ รู้ว่าผิดเป็นผิด และยอมรับผิด

ผมว่ามันก็เป็นตัววัด Matuarity ได้เหมือนกันนะ

สิ่งที่เกิดในกระทู้นี้และอีกๆหลายๆ กระทู้แถวนี้ ก็บอกได้เลยว่า ใคร Mature บ้าง

หลายครั้งที่อ่านแล้ว น่าจะ "โมโหหรือขุ่นมัว" ได้เหมือนกัน แต่บางท่านก็ มี Reaction ที่แสดงว่า Mature แล้ว บางท่านก็ไม่

ผมว่าดูกันไม่ยาก

นี่เป็นแค่ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆใกล้ๆนี้ และผมก็ถือว่าเรื่องควบคุมอารมณ์ นี้สำคัญกับ คุณหมอมากเลย บางท่านต้องเจอกับ ผู้ป่วย หรือญาติ ที่มีปัญหา ที่ยุ่งยาก ถ้าไม่ควบคุมอารมณ์ไว้ได้ มันก็ยิ่งยุ่งยากไปใหญ่

ด้านมืดของดวงจันทร์มีอะไรอีกมาก แต่ไม่จำเป็นที่จะต้อง โชว์มันออกมาหรอก ด้านสว่างที่สวยงาม ดูแล้วดีกว่านะ


Posted by : OmniSci , Date : 2003-05-14 , Time : 19:35:59 , From IP : proxy1.chula.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 9


   Maturity นั้นแสร้งเป็นไม่ได้ มันเป็น "วุฒิภาวะ" ทางจิตใจและความคิด

บัณฑิตทั่วไปต้องเรียน "ความรู้ การงามพร้อมซึ่งกายวาจาใจ และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม" บัณฑิตแพทย์ก็ไม่ได้ยกเว้น เพียงแต่ตรงส่วนความรับผิดชอบนั้นถูกเพิ่มความสำคัญขึ้นอีกมาก ที่คุณ OmniSci กล่าวถึงนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกทางกายวาจาใจนั่นเอง

จริงๆแล้วสาเหตุหนึ่งที่ผมยกการอภิปรายนี้ขึ้นมา ก็จาก platform นี้เราได้มีการแสดงออกทางวาจาและความคิดกันมากพอสมควร ผมก็เลยอยากจะทราบว่าเท่าที่เห็นมาเป็น norm ของการแสดงออกทางกายวาจาใจที่ mature ในความหมายปัจจุบันหรือไม่ บางครั้งกาลเวลาที่ผ่านไป ก็สามารถมีการ shift ของวัฒนธรรมขึ้นได้ (ทั้งทางดีหรือตรงกันข้าม) หากพวกเราส่วนใหญ่ในที่นี้เป็นนักศึกษาแพทย์ ก็น่าจะสามารถวิเคราะห็ออกมาเป็นความเห็นได้

ลัทธิปัจเจกบุคคล (individualism) นั้นเปรียบเสมือนดาบสองคม แถมคมมากด้วยทั้งสองด้าน สมัยก่อนที่ "หัวโขน" มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทำให้ครู แพทย์ พระ จะทำอะไรก็ติดที่เครื่องแบบเครื่องนุ่งห่มที่เป็นสัญญลักษณ์ แต่ปัจจุบันค่านิยมเปลี่ยนไป ทุกๆคนต้องการความเป็น "เอกลักษณ์" และไม่พอใจที่จะให้หัวโขนอะไรมาครอบงำหรือควบคุมการแสดงออกอีกต่อไป ดีหรือไม่ดี มิอาจทราบได้ วิจารณ์ไปก็คงจะเป็นแค่ personal preference แต่แค่มีหลายๆท่านมาออกความเห็นกันในกระทู้นี้ผมก็ดีใจและขอบคุณเป็นอย่างมากแล้วครับ

อยากได้เพิ่มเติม



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-14 , Time : 22:42:22 , From IP : 172.29.3.208

ความคิดเห็นที่ : 10


   
ตอบคำถาม medical student ยังห่างไกล maturity เมื่อเขาเริ่มเป็น intern นั้นพึ่งเป็นจุดเริ่มของการเรียนรู้ การมีวุฒิภาวะ เมื่อเขาใช้ทุนจบนั้นเป็นจุดที่เขาเริ่มเข้าใจภาวะนี้ และเมื่อเขาเกษียณจากความเป็นหมอเมื่อไหรนั้นและครับเขามี maturity แล้ว
ส่วนจะทำอย่างไรให้ทุกคนที่มาเรียนหมอมีความเป็น born to be the doctor นั้นคงยาก พรสวรรค์ฟ้าประทาน ไม่ได้มีกับทุกคน แต่พรแสวงตัวเราประทานทุกคนต่างสรรหาได้
" ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง
ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง "


Posted by : perf. , Date : 2003-05-15 , Time : 02:28:24 , From IP : 172.29.3.126

ความคิดเห็นที่ : 11


   ผมไม่ใคร่เห็นด้วยเท่าไหร่ที่ว่าฐานะของ medical students นั้นห่างไกลจาก maturity ส่วนใหญ่ตอน entrance ก็ปลายๆทีนเอจกันแล้วทั้งนั้น อายุยี่สิบก็บรรลุนิติภาวะ บวชพระได้ ทำนิติกรรมได้ แต่งงานได้ เพื่อนรุ่นเดียวกันเรียนสี่ปีจบแต่งงานมีลูกถมเถไป ทำงานสองปีเป็น foreman บ้าง ก้าวหน้าในอาชีพไปถึงไหนๆ

maturity นั้นเป็นภาวะความก้าวหน้าของสมองมากกว่าร่างกายดังที่กล่าวแล้ว แก่ๆหงำเหงือกยังไม่ mature ก็เยอะ แต่ที่ผมอยากได้ยินก็คือเมื่อไหร่นักเรียนแพทย์ควรคิดและประพฤติแบบคนที่ mature แล้ว คงจะ (หรือหวังว่า) ก่อนเกษียณสักหน่อยนะครับ ในแต่ละรุ่นผมเชื่อว่าเราคงมีเพื่อนอยู่กลุ่มหนึ่งที่ดูมีความคิดความอ่านแปลกกว่าคนอื่นๆ พูดถึงเรื่องความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่นบ่อยกว่าคนอื่นๆ แล้วเราอย่างให้ส่วนใหญ่เป็นแบบไหนล่ะครับ?

วุฒิภาวะนั้นไม่ได้เริ่มตอนเป็น intern หรอกครับ มันเริ่มตั้งแต่เราเห็นคนอื่นมีทุกข์แล้วเราอยากจะช่วยนั่นเลย อาจจะตั้งแต่ไม่กี่ขวบก็ยังได้ เรื่มตั้งแต่เราทำการบ้านเองโดยไม่ต้องให้แม่บอก ตั้งแต่เราทำข้อสอบเองโดยละอายไม่ลอกเพื่อน วุฒิภาวะนั้นเจริญงอกงามและหดหายได้หากขาดการเลี้ยงบำรุงอย่างต่อเนื่อง

โชคดีที่ส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบนั้นเกิดขึ้นโดย acquire ครับ ไม่ใช่มาเองโดย genetic นั่นแปลว่าเราสามารถ artificially train and exercise ให้สมองเราแข็งแกร่งและงอกงามได้ อย่างที่ผมบอกแหละครับ การเรียนในระดับอุดมศึกษานี่แหละคือหนทางไปสู่ความ mature ที่พร้อมหมดทั้งความรู้ การแสดงออกกายวาจาใจ และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม หรือบัณฑิตนั่นเอง บัณฑิตจะสำเร็จได้ก็ต้องพึ่งตนเองนั่นแหละครับ ไม่ต้องผลัดวันประกันพรุ่ง หรือคิดว่าพอคนเรียกเราว่าหมอหรือพอเราแก่จนเกษียณแล้วเราก็ mature เอง ผมเกรงว่าถ้าเราคิดอย่างนั้น ถึงเราอายุ 70 ก็อาจจะมีความรับผิดชอบเท่าเด็กอมมืออยู่ได้



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-15 , Time : 04:35:52 , From IP : 172.29.3.208

ความคิดเห็นที่ : 12


   กลัวนะกลัวกลัวจะตายแล้วเนี่ย
กลัวนะกลัวกลัวอิ๋บอ๋ายแล้วเนียะ
กลัวจริงๆนะ
I.Y.H.


Posted by : จิ๊กโก๋(ตัวเจง) , Date : 2003-05-16 , Time : 21:28:09 , From IP : b144ppp186.ksc.net.t

ความคิดเห็นที่ : 13


   ผมคิดว่าพวกเราโชคดีมากที่สามารถมีกรณีตัวอย่างประกอบการศึกษาที่เป็น Real Time ได้เลยทีเดียวนะครับ

ทำไมการแสดงออกของกายวาจาใจเกี่ยวกับ maturity? มีการวิเคราะห์ว่าสภาวะที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ (อายุสมอง) นั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บุคคลวุ่นอยู่กับการทำให้ตนเองถูกยอมรับ บางครั้งเมื่อสถานการณ์จำกัด คำว่า "ยอมรับ" นี้อาจจะลดลงเหลือเพียงมีคนตอบสนองต่อสิ่งที่คนๆนั้นริเริ่มหรือกระตุ้นก็นับ อันนี้ก็ไม่ได้เป็นความลับอะไร เพราะโดยส่วนใหญ่จากสังคมหรือสิ่งแวดล้อมจำเพาะที่ความเคยชินกับสภาพการเร้าและตอบสนองนั้นแปรเปลี่ยนไป บางที่ก็เป็นการอภิปรายทางปรัชญาในขณะที่บางที่เป็นการปรึกษาเรื่องทำอย่างไรจึงจะมีข้าวกินมื้อต่อไป หรือบางที่อาจจะเป็นกูตีหัวมึงแล้วกูวิ่งมิเช่นนั้นมึงจะตีหัวกูตอบ

เพราะสาเหตุดังกล่าวสภาพสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันทำให้การเริ่มประเด็นหรือหัวข้อในการสนทนาแตกต่างกัน "คุณค่า" ของหัวข้อสนทนาหรือประเด็นที่เห็นว่าน่าสนใจก็แตกต่างกันออกไป การเรียนในระดับอุดมศึกษามีส่วนปรับแต่งตรงนี้ได้ไม่มากก็น้อยไม่ว่าพื้นฐาน background ที่ถูกเลี้ยงดูมาหรือความรู้ดั้งเดิมเป็นอย่างไร แต่โดยนิยามของบัณฑิตผมคิดว่าถ้าจะให้มัน work ก็น่าจะมีอิทธิพลพอสมควร

สิ่งแวดล้อมที่นักศึกษาแพทย์ใช้ในการเรียนนี้อำนวยการก้าวหน้าของการแสดงออกมากพอสมควรทีเดียว การที่คนเราเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นทำให้เขาอยู่ในฐานะที่ vulnerable และ (อาจจะ) มีผลทำให้ลด defence mechanism ที่ปกป้อง Self หรือ self value ลงอย่าง significant การที่นักเรียนแพทย์จะมี interaction กับผู้ป่วยที่ OPD หรือ Ward นั้นสำคัญมากที่จะต้องเรียนรู้การวางตน การแสดงออกซึ่งกายวาจาใจ ไปในขณะเดียวกัน นศพ.ควรจะมีการเตรียม "วางตน" ก่อนที่จะไปหาผู้ป่วย โดยคิดว่าคนไข้นั้นเขา "คาดว่า" หมอที่กำลังจะดูแลรับผิดชอบชีวิตเขานั้นน่าจะมีบุคลิกเช่นไร แลวางตัวพูดจาอย่างไรจึงจะได้รับความร่วมมือมากที่สุด




Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-17 , Time : 00:40:39 , From IP : 172.29.3.205

ความคิดเห็นที่ : 14


   ผมไม่่ทราบว่าคุณนิยามความเป็นผู้ใหญ่ไว้ว่าอย่างไร

ที่ จริยธรรม หรือ บุคลิกภาพ

ผมเชื่อว่าจริยธรรมเท่านั้นที่เป็นแก่นใหญ่ใจความ ความเป็นผู้ใหญ่นั้นจะแฝงอยู่กับจริยธรรมแล้ว

ในขณะที่บุคลิกภาพเป็นเพียงสิ่งฉาบหน้าเท่านั้น

ผมเชื่อว่าระบบการศึกษาที่ปลูกฝังความเห็นแก่ตัวเห็นแก่วัตถุอย่างปัจจุบันนี้ คุณไม่ต้องพูดถึงความเป็นผู้ใหญ่หรอก

สิ่งที่ีคุณจะได้อย่างมากก็แค่บุคลิกภาพลวงตาเท่านั้น ไม่ก็จริยธรรมวัตุนิยม



Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-17 , Time : 21:30:10 , From IP : netturbo5.cscoms.com

ความคิดเห็นที่ : 15


   ประการแรกผมไม่เชื่อว่าระบบการศึกษาในปัจจุบันปลูกฝังความเห็นแก่ตัว ความผิดอยู่ที่คน ไม่ใช่ที่ระบบ อย่างน้อยที่สุดผมเห็นตัวอย่างจำนวนมากที่ "survive" ระบบการศึกษาที่ผ่านมา และ "ไม่เห็นแก่ตัว" คุณ Kant ก้คนหนึ่งล่ะที่เห็นใกล้ๆ ยกเว้นแต่ว่าระบบการศึกษาของคุณ kant อยู่นอกระบบของปัจจุบัน

ประการที่สอง ถ้าจะพูดกันเรื่องปรัชญากันแล้ว (ซึ่งอาจจะไม่ใช่ประเด็นหลักของกระทู้) ผมก็คงต้องบอกว่า ไม่มี "นิยาม" ครับ นิยามเป็นแค่เวทนาอย่างหนึ่งที่เป็น artificial ใครที่หลงติดอยู่กับนิยาม หลงติดอยู่กับ "ต้อง" "กับ "เท่านั้น" ไม่มีทางหลุดจากวงจรปฏิจจสมุปบาทได้ (พูดถึงตรงนี้ คุณ Kant ยังติดไม่ได้ให้อรรถารายละเอียดของปฏิจจสมุปบาทของฝ่ายนิโรธวาร ว่าแตกต่างจากที่เคยยกไว้อย่างไร และทำไมต้องแยกออกไปนะครับ)

ประการที่สาม ผมเชื่ออย่างยิ่งว่ามหาวิทยาลัยบนโลกนี้ ในอนาคตที่ผมยังมีชีวิตอยู่ยังไม่ adopt นโยบายในการทำให้นักศึกษาตรัสรู้อย่างแน่นอน (นานๆผมจะพูดอะไรที่เป้น 100% แต่อันนี้ผมค่อนข้าง convinced) เพราะฉะนั้น absolute rule หรือ absolute ethics นั้นคงจะไม่อยู่ในหลักสูตรที่จะ Implement มิฉะนั้นแล้วสิ่งแรกที่คุณ Kant ต้องทำคือยุบภาควิชาสูติศาสตร์ และทุกแผนกที่เกียวกับ family planning ดังนั้น Theme ของกระทู้นี้คงจะค่อนข้างจำกัดเฉพาะ "ปุถุชน" และ "มหาวิทยาลัยรรมดา" นะครับ ต้องขออภัยที่ไม่สามารถอภิปรายอภิปรัชญาในกระทู้เดียวกับธรรมสำหรับปุถุชน (ซึ่งยังคาดว่าอยู่ในวัฏสังสารแลเวียนว่ายตายเกิดอยู่อีกนาน)

แต่ว่าหากคุณ Kant ต้องการเริ่มกระทู้อภิปรัชญาใหม่อีกสักอันหนึ่งก็คงจะดีไม่น้อย



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-17 , Time : 22:32:06 , From IP : 172.29.3.216

ความคิดเห็นที่ : 16


   


ถ้าจะให้พูดเรื่องการศึกษานี่ผมคงจะด่าได้อีกยาวทีเดียว



ถ้าจะให้พูดเรื่องการศึกษานี่ผมคงจะด่าได้อีกยาวทีเดียว


ประการแรกคุณไม่มีทางรู้ได้ครับว่าใครจะเห็นแก่ตัวหรือไม่ เรื่องจิตนั้นเป็นส่วนบุคคล คุณไม่อาจตัดสินจากรูปแบบภายนอกได้ แม้แต่ใจตนเองก็อาจไม่รู้จักด้วยซ้ำ


เรื่องความเห็นแก่ตัวและวัตถุนิยมนี่เป็นเรื่องของระบบเลยทีเดียว มันเกี่ยวโยงไปทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม


สาเหตุบางส่วนเกิดจากการไปลอกเอามาจากตะวันตก ที่เขามักมองชีวิตเป็นวัตถุ แก้ปัญหาทุกอย่างโดยวัตถุ


คุณแทบจะไม่ได้ความหมายการใช้ชีวิตอะไรไปเลยจากระบบการศึกษาในปัจจุบัน คุณจะได้แต่ความรู้ทางวัตถุไปโดยส่วนมากเท่านั้น เมื่อคุณจบปริญญาคุณก็อาจยังตอบไม่ได้ว่าชีวิตนี้เกิดมาเพื่ออะไร และจะใช้ชีวิตอย่างไร


ระบบการศึกษานั้นไม่มีเส้นแบ่งระหว่างปุถุชนหรือกับอะไร


คุณต้องกลับไปตั้งคำถามใหม่เลยว่าคุณศึกษาไปเพื่ออะไร เพื่อชีวิตที่ดีงามหรือเพื่อวัตถุ


ตราบใดที่ผู้จัดการศึกษายังไม่รู้สึก ผมเชื่อว่าความวินาศจะเกิดแก่โลกอย่างแน่นอน



 


มีบทความของ อ.ประเวศ ที่เคยมีผู้ยกเอาไว้ ผมอยากให้ทุกท่านได้อ่าน


คลิกที่นี่



 


และแม้ว่านิยามจะไม่ใช่ความแท้จริง แต่นิยามก็เป็นสิ่งจำเป็นครับ เราจะขาดนิยามไม่ได้ เพราะนิยามเป็นการกำหนดขอบเขตโดยคร่าว ศัพท์ทุกคำที่พูดกันต้องมีนิยามทั้งสิ้น มีความจริงทางปรัชญาอยู่ประการหนึ่งคือเราไม่มีทางสร้างสิ่งใดขึ้นมาลอยๆโดยปราศจากลักษณะได้ เมื่อเราคิดสิ่งใดจะต้องอ้างอิงไปถึงลักษณะของสิ่งนั้นเสมอ







Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-18 , Time : 22:11:55 , From IP : netturbo5.cscoms.com

ความคิดเห็นที่ : 17


   คำว่าปุถุชนนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้างได้ สำหรับผู้ที่เห็นแก่ความเอร็ดอร่อยทางเนื้อหนัง หรือบูชากามารมณ์
ชีวิตต้องมีอุดมคติเสมอ


Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-18 , Time : 22:37:26 , From IP : netturbo5.cscoms.com

ความคิดเห็นที่ : 18


   ผมเห็นด้วยกับคุณ Kant ครับว่าเราไม่รู้ว่าใครเห็นแก่ตัวหรือไม่ และเราก็ไม่มีทางรู้เช่นกันว่าใครไม่เห็นแก่ตัวหรือไม่เช่นกัน

ผมเชื่อว่าคุณ Kant ได้รับการศึกษามาจากที่ใดที่หนึ่งใน "ระบบ" เหมือนกัน (รึเปล่า? ไม่ทราบประวัตินะครับ) แต่ผมเชื่อว่าทุกคนในที่นี้เห็นพ้องต้องกันว่าคุณ Kant ผ่านการศึกษาระบบนั้นๆมาและมีความเป็นตัวของตัวเองทีเดียว สำหรับตัวผมเองผมร้สึกกตัญญูกับระบบการศึกษาที่สร้างผมเป็นตัวตนในขณะนี้ ไม่ว่าผมจะคิดว่ายังมีสิ่งที่ไม่สมบูรณ์อยู่ก็ตาม แต่ผมไม่สามารถปฏิเสธความเป็นจริงประการหนึ่งคือ สิ่งที่ผมรู้ และคิดในขณะนี้ประกอบมาจากทุกๆอย่างที่เป็นส่วนหนึ่งของปรสบการณ์การเรียนรู้ของผม รวมทั้งประสบการณ์การเรียนด้วย

ผมเชื่อว่าเรา "สามารถ" ได้อะไรมากมายจากการศึกษาในปัจจุบันครับ สองคนยลตามชอง คนหนึ่งเห็นแต่โคลนตม อีกคนหนึ่งอาจเห็นดวงดาวอยู่พราวพราย ใครที่ round ward กับอาจารย์แพทย์ข้างเตียงคนไข้แล้วได้แต่ content ทาง medicine อย่างเดียวโดยไม่ได้ medical ethic ไปเลยนั้นเขาคงจะกลับมาด่าระบบอย่างสาดเสียเทเสีย แต่เชื่อไหมครับว่าเราผลิตแพทยที่มีคุณธรรม มีปรัชญา และมีจริยธรรมมามากมายไม่น้อย

ผมเชื่ออีกเหมือนกันว่าประเทศไทยผลิตบัณฑิตที่มีคณธรรมจำนวนมากทุกๆศาสตร์สาขา รวมทั้งคุณ Kant (ถ้าคุณ kant เรียนจบในประเทศไทยนะครับ) ส่วนความวินาศจะเกิดขึ้นกับลกในขณะนี้หรือไม่ ผมขอไม่ออกความเห็นนะครับ ตัวผมเอลยังห่างจากความเป็น Prophesy ที่สามารถพยากรณ์เรื่องวาระสุดท้ายของโลกอีกหลายชาติกำเนิด

ที่ผมกล่าวถึง "นิยาม" นั้น ถ้าเราพูดถึงการหลุดพ้น หรือ ultimate truth ของศาสนาพุทธ แล้วคงไม่มีนิยามหรอกครับ นิยามเหมาะสำหรับขณะที่เราอยู่ในวัฏสังสารนี้ อย่างที่ผมพูดแล้วพูดอีก เราไม่ควรจะปนการอภิปรายเรื่องนิพพานการหลุดพ้นกับเรื่องธรรมดาๆของปุถุชนที่ไม่จำเป็นต้องบวช ที่ไม่จำเป็นต้องเห็นเรื่องเพศสัมพันธ์เป็นคงามเลวประดุจสัตว์เดียรัจฉาน เพราะว่ามันเป็นคนละ level of frame of reference ครับ

ผมไม่เห็นด้วยหรอกนะครับว่าเราจะ "ขาดนิยามไม่ได้" ลองนิยาม "รัก" ให้ฟังหน่อยเป็นไรครับ ว่านิยามได้หรือไม่




Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-18 , Time : 22:41:48 , From IP : 172.29.3.230

ความคิดเห็นที่ : 19


   ผมรู้สึกจักกะจี้เวลาได้ยินคุณ kant พูดว่า "คำว่า...ไม่อาจนำมาอ้างได้" ไม่ใคร่เข้าใจครับ ไม่ทราบมาก่อนว่าเวลา debate กัน ฝ่ายหนึ่งสามารถห้ามใครๆอ้างสิ่งโน้นสิ่งนี้ได้ด้วย การอภิปรายนั้นขึ้นต้นก็คือการไม่เห็นด้วยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าเราไม่รู้จักเข้าใจหรือทำความเข้าใจเหตุผลของอีกฝ่ายแล้วเราสามารถจะ debate ต่อไปได้หรือ?

ชีวิตต้องมีอุดมคติหรือไม่ ก็เป็นหัวข้อ debate ได้ครับ ชีวิตของชาวบ้านที่สมถะ เรียบง่ายที่สุด ไม่เคยฝันถึงเรื่องอะไรที่ complicated ไม่เคยหวังอะไรมากมาย หรือหวังอะ/รเลย ก็ไม่เห็นต้องสร้าง "นิยาม" ของอุดมคติขึ้นมา ถ้าคุณ kant ไปอภิปรายในวัดเซ็นแล้วเริ่มต้นด้วย "เรามาให้นิยามของ ซาโตริ กันก่อนเถอะ" คงจะได้ฮากันลั่นวัดเลยลัครับ (อันนี้ผมอดมิได้ เลย exaggerate ไปหน่อยนึง) ผมทราบว่าคุณ kant ทำอะไรต้องเป็น absolute ตลอด แต่ผมก็บอกแล้วบอกอีกเหมือนกันว่าผมนั้นไม่เชื่ออะไรเลยที่เป็น absolute เช่นกัน เราคงไม่จำเป็นต้องบอกอีกฝ่ายหรอกนะครับว่า ห้ามอ้างอะไร หรือ อ้างอะไรได้บ้าง เพราะคงไม่มีใครฟังใครเท่าไหร่หรอกครับ ผมเชื่ออย่างแน่นอนว่ามี "ปุถุชน" จำนวนมากอาศัยอยู่บนโลกใบนี้ ถ้าผมเห็นสมควรจะอ้างปุถุชนผมก็จะอ้างอย่างแน่นอนครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-18 , Time : 22:53:54 , From IP : 172.29.3.230

ความคิดเห็นที่ : 20


   อ้อ...อีกประการหนึ่ง คนทางฝากตะวันตกที่สนใจปรัชญาและมี "อุดมคติ" นั้นไม่น้อยครับ ผมไม่มีตัวเลข แต่ผมเชื่อ (ด้วยเหตุผลหลายประการ) ว่าการสรุปว่า "ตะวันตก" คือ materialism นั้น ค่อนข้าง jump to conclusion อย่างน้อย Immanuel Kant ก็น่าจะมีอิทธิพลต่อ school of philosophy ของตะวันตกไม่มากก็น้อยนะครับ

คนที่ทำการศึกษาของเมืองไทยไม่ได้โง่ดักดานหรือไม่เข้าใจหลักปรัชญาดำเนินชีวิตไปทั้งหมดหรอกนะครับ ผมเชื่อว่าผมไม่ได้เก่งกาจหรือเป็นคนที่มีจริยยธรรมสูงที่สุดอย่างแน่นอน ครูของผมจำนวนมากนั้นบางท่านดีจนผมละอายที่จะบอกใครว่าผมเคยเรียนมากับท่านด้วยความขี้กะโล้โท้ของตัวกระผมเอง ผมจำได้อยู่ไม่กี่ประเด็นที่ท่านสอน เช่น "ความถ่อมตนเป็นประตูแห่งสติปัญญา" ซึ่งตรงกันข้ามกับ "ความโอหังอวดเก่งเป็นเสมือนเปลือกตาอันหนักหน่วง รังแต่จะปิดการเห็น การรู้เพิ่ม" เป็นต้น ผมโง่อยู่นานมากกว่าจะเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-18 , Time : 23:17:17 , From IP : 172.29.3.230

ความคิดเห็นที่ : 21


   ขอถามรายละเอียดคุณ phoenix ว่า maturity ที่ต้องการ คือ อะไร ถ้าเป็นการนับหน้าถือตาอย่างที่ยกตัวอย่าง ผมว่ามีหลายวิธีที่จะทำได้ เช่น เอาเงินซื้อ ,ทำตัวภายนอกให้ดูดี,หรือรักษาเขาด้วยความตั้งใจจริง นี่ไม่ได้พูดรวมถึงวว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำนะครับ ( ถ้าเลี่ยงได้โยนให้คนอื่นทำดีกว่า )
ส่วนระบบดีหรืเปล่านั้น ผมไม่รู้ ขอยกตัวอย่าง computer ถ้ามีระบบที่ดีการทำงานของมันก็ดูราบรื่นรวดเร็วดี มีแต่คนอยากใช้มัน ในทางกลับกัน ถ้ามันไม่มีโปรแกรมป้องกัน virus ปล่อยให้ถูก infect วันแล้ววันเล่า สักวันมันก็คงเน่าและไม่มีใครอยากใช้ ถามว่าใครเป็นคนเลือกเครื่อง computer และเราวจะมีวิธีการอย่างไรที่จะป้องกันไม่ให้มี virus เข้ามาในระบบ หรือถ้ามันเข้ามาได้แล้วจะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดการ คนที่เข้ามาเรียนหมอไม่ได้ดีทุกคนใช่หรือไม่
ช่วยตอบหน่อยนะครับ ว่า คนเลือกใช้ computer หรือ computer เลือกใช้คน
virus วิ่งเข้าหา computer หรือ computer วิ่งเข้าหา virus
ขอบคุณล่วงหน้า
" ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง ไม่ยึดติดไม่มีตัวตน "


Posted by : perf. , Date : 2003-05-19 , Time : 03:17:23 , From IP : 172.29.3.126

ความคิดเห็นที่ : 22


   คำถามแรกผมเชื่อว่าคุณ perf. คงมีคำตอบอยู่แล้วและไม่ต่างจากของผมหรอกนะครับ ก็จะข้ามไป

computer ไม่มีระบบป้องกันไวรัสที่ดีพอเป็นเพราะความผิดของ computer หรือความผิดของคนคิดโปรแกรมไวรัส? เราจะโทษคนคิดค้นคอมพิวเตอร์ว่าเป็นคนเลวหรือไม่ในการที่พอมีคอมพิวเตอร์แล้วดันมีคนเผยแพร่ไวรัสออกมา เหมือนกับการโทษระบบหรือเปล่า? ฉันเรียนแล้วตกเป็นเพราะคนคิดระบบการเรียนแล้วมีได้มีตก ฉันเรียนแล้วเป็นคนเลวเพราะระบบไม่ดีไม่สามารถการันตีว่าฉันต้องเป็นคนดีเพราะฉะนั้นฉันเป็น victim ของระบบ? ระบบมี่สอนคนมากมาย มีดีบ้างไม่ดีบ้างในที่สุด คนที่ออกมาแล้วไม่ดีโทษระบบได้หรือไม่ว่าฉันถูกทำให้เห็นแก่ตัว ไม่รู้จักหน้าที่ แต่ทำไมมีคนอื่นอีกมากมายที่ไม่เห็นแก่ตัวและรู้จักหน้าที่? หรือคนที่รอดจากระบบเป็นพวก genius หรือมี abnormal high level of IQ? จึงเป็นคนดีได้ ส่วนตัวผม ผมอยากยกความดีให้ครูบาอาจารย์และพ่อแม่ของผมครับที่ได้อบรมผมสำเร็จ (พอสมควร) ผมไม่มีวันอยู่ ณ ที่นี้ได้ ไม่ใช่เพราะท่านเหล่านั้น ถ้าไม่ใช่เพราะระบบที่ผ่านมา จริงอยู่ระบบอาจจะยังไม่สมบูรณ์ แต่การโทษระบบเป็นอันดับหนึ่งนั้นเป็นการ degrade ตนเอง degrade the free-will ของมนุษย์ มนุษย์นั้นสามารถ make a choice ครับ ไม่ต้องไปตีโพยตีพายโทษนั่นโทษนี่ โทษตนเองก่อน ถ้าตนเองยังไม่ดีพร้อมลองแก้ที่ตนเองก่อน ก่อนที่จะโทษคนอื่นไปเสียทั้งหมดเพียงเพื่อจะได้ปาวๆว่าตนเองเป็นเพียงแค่ victim ของระบบ เป็น SIN-FREE People



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-19 , Time : 14:25:10 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 23


   ที่ผมยกตัวอย่าง เพราะเห็นว่า ระบบ เป็นเพียงสิ่งที่เราเลือกใช้ มันไม่มีความสมบูรณ์ในตัวของมันเองหรอกครับ เพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรให้มันดีขึ้นและได้ในสิ่งที่เราต้องการ
อาจารย์แพทย์ ผมคาดหวังว่าเป็นผู้รู้ระบบดี และมีส่วนสำคัญในการผลิตสิ่งที่เขาต้องการ ที่จะชี้ทางให้เห็นและเป็นแบบอย่างให้ดู แต่มันก็ยังต้องขึ้นกับตัวผู้เรียนเองด้วยคงจะบังคับให้ออกมาดังใจเหมือนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ไม่ได้ เพราะเขามีชีวิตจิตใจ
ส่วนตัวผมเอง ผมก็เคารพครูบาอาจารย์บางท่านที่ช่วยสั่งสอนให้ผมได้มีความรู้จนทุกวันนี้.......ถ้าไม่มี ก. ไก่ ตัวนั้นที่ท่านสอน ก็ไม่มีหนอนหนังสือในวันนี้
"ครูบาอาจารย์ยิ่งล้ำพระคุณ ทั้งสอนสั่ง การุณ โลกกว้าง "
ส่วนบูยคุณของบิดา มารดา ไม่ต้องพูดถึงนะครับ.....อินฟินิที
" อีกทั้งบิดา มารดร คอยสั่งสอน ลูกน้อย "
ยังมีคำถามอีกมากมายที่เราไม่รู้
ทำไมคนในสมัยก่อนถึงตรัสรู้ได้ แล้วทำไมคนในปัจจุบันถึงไม่มี ( หรือมีแล้วไม่รู้ ) คนในสมัยก่อนเข้าใจอะไรง่ายกว่าคนในปัจจุบันหรือเปล่า ถ้ารู้ช่วยตอบหน่อยครับ
" ยังมีอะไรอีกมากมายที่เรายังไม่รู้ ยังมีอะไรอีกมากมายที่เราต้องทำ "


Posted by : perf. , Date : 2003-05-21 , Time : 02:09:35 , From IP : 172.29.3.123

ความคิดเห็นที่ : 24


   ด้วยสาเหตุบางประการทั้งจากข่าว จากสื่อ ฯลฯ ทำให้ผมรู้สึกว่าคนเรามีความรับผิดชอบต่อตนเองน้อยลงและพึ่งพาสิ่งอื่นภายนอกมากขึ้น

ยิ่งทางตะวันตกยิ่ง severe กว่าเราอีกเชื่อหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง decade ที่แล้วที่เศรษฐกิจทางตะวันออกทรุดและตะวันตกขึ้นเอาๆ (จน Bill Clinton ผ่านสองสมัยบวกพิจารณาไม่ไว้วางใจฉลุย) เป็นช่วงที่ซีกโลกตะวันตกถูกปกครองด้วย Liberal Left ซะส่วนใหญ่ Lefties คือพวกที่รัฐบาลอุ้มทุกอย่าง ให้นิยามคนดีคืออะไร ออกกฏหมายคนดี ออกกฏหมายคนเลว จัดอบรมการเป็นพ่อแม่!!! จนมีศัพท์ที่ Intelligentsia ฝ่ายขวาเรียก NANNY STATE คือรัฐบาลเหมือนคนเลี้ยงเด็กทารกที่ไม่รู้จักคิดเอง

อาหารกระป๋องต้องเขียนรายละเอียดการใช้ถี่ยิบจนตัวหนังสือต้องใช้ขนาดจิ๋ว ไม่งั้นไม่ผ่าน คนเราแทบจะไม่มีสิทธฺโง่เลย เพราะถ้าดันทะลึ่งสุ่มสี่สุ่มห้ารับอุบัติเหตุมันก็จะหาทางฟ้องรัฐบาลมาจ่ายค่าเสียหาย (ที่ปล่อยให้มันโง่และซุ่มซ่าม) ขับรถในยุโรปคุณจะต้องระวังให้ดีแถวทางม้าลาย เพราะคนเดินถนนจะไม่มองดูรถแม้แต่นิดเดียวถ้าเป็นตรงทางม้าลาย เด้กๆจะวิ่งปรูดมาจากในบ้านออกมาเก็บบอลบนถนนได้อย่างไม่สะทกสะท้านเพราะรัฐบาลจะล่อคนชนอย่างหนัก

การที่คนทำอะไรผิดแล้วมีคนอื่นรับผิดชอบหรือโทษคนอื่นได้ตลอดเวลานี่เองทำให้สถานการณ์แย่ลง เอะอะอะไรก็ฉันไม่ผิดต้องเป็นคนอื่น ต้องเป็นที่ระบบ ฉันเป็นแค่ victim ของระบบ ถ้าจะแก้โปรดแก้ที่อื่นให้หมดก่อนถึงจะถึง queue ของฉัน

ระบบไม่สมบูรณ์แน่ครับ เพราะสร้างโดยคน แล้วคนที่ไม่สมบูรณ์นั้นเยอะมากกว่าที่สมบูรณ์หลายร้อยพันเท่า ถึงแม้ระบบนั้นจะถูกสร้างมาโดยคนที่คัดแล้วว่าน่าจะเข้าท่ากว่าไอ้เฉลี่ยๆทั่วๆไป ระบบก็ยังสมบูรณ์ยาก แต่ขอโทษทีเถอะ เอาaverage มา sampling ดู อาจจะพบได้ไม่ยากว่าที่ปาวๆกันนั้นฝ่ายไหนน่าจะลองแก้ไขแล้วจะง่ายและได้ผลดีกว่า




Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-21 , Time : 02:38:58 , From IP : 172.29.3.219

ความคิดเห็นที่ : 25


    โดยตัวผมเองแล้ว ผมไม่ได้โทษว่าระบบไม่ดี นะครับ แต่ความจริงผมไม่รู้ว่าอย่างไหนดี อย่างไหนไม่ดี ( ตัวผมประสบการณ์ยังน้อย )

ส่วนเรื่องความรับผิดชอบและการยอมรับผิดนั้น ผมเข้าใจว่าปลูกฝังกันได้นะครับ

"สำนึกดี สังคมดี "


Posted by : perf. , Date : 2003-05-21 , Time : 06:05:07 , From IP : 172.29.3.126

ความคิดเห็นที่ : 26


   ผมก็ไม่ได้สรุปเหมารวมว่าแนวคิดตะวันตกจะไม่ดีไปเสียทุกอย่าง

แต่ผมเชื่อว่าระบบสังคมแทบทุกอย่างที่เราได้แบบอย่างมาจากตะวันตกนั้นอยู่บนรากฐานของวัตถุนิยม

ระบบการศึกษานั้นได้ละทิ้งการสอนจริยธรรมไปเกือบหมดแล้ว ทั้งที่เป็นสิ่งจำเป็นต้องสอนยิ่งกว่าความรู้ทางวัตถุเสียอีก สถานศึกษาจะกลายสภาพเป็นเพียงตลาดเท่านั้น

แม้แต่จริยธรรมก็เป็นอย่างวัตถุนิยม ยกตัวอย่างเช่นระบบกฎหมายที่หลายคนอาจชื่นชอบ นั่นผมก็เห็นด้วยครับกับการมีกฎหมายที่เที่ยงธรรมและเคร่งครัด แต่ระบบเหล่านั้นไม่ได้ปลูกฝังให้ประชาชนรู้จักให้อภัยและเสียสละไปด้วย นั่นต่างหากที่เป็นจริยธรรม วัฒนธรรมแยกกันอยู่จึงบังเกิดขึ้น กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือในการปกกป้องผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น เมื่อใดที่กฎหมายมีช่องว่าง ต่างคนก็เอาเปรียบกันทันที

จริยธรรมนั้นต้องเริ่มต้นที่ตนเองก่อนครับ ก่อนที่จะไปมองผู้อื่น ต้องรู้จักตนเองเสียก่อน การศึกษาปัจจุบันมักละเลยเรื่องนี้ ไปมุ่งจัดระบบระเบียบเพื่อครอบงำคนอื่น เอาเปรียบคนอื่น โดยเฉพาะระบบการแข่งขันนี้ผมเชื่อว่าเป็นการปลูกฝังความเห็นแก่ตัวที่ควรเลิกทั้งหมดทีเดียว

ระบบอุดมคตินั้นเป็นไปได้ครับ เพียงแต่ว่ามนุษย์จะยอมทำหรือไม่ เพราะนั่นหมายถึงการต้องสละความพอใจที่เคยมีหลายอย่างในชีวิตทิ้งไป

ผมเชื่อว่านี่เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ทุนนิยมเฟื่องฟู แต่สังคมนิยมกลับเสื่อมความนิยมลง

คุณลองคิดดูครับว่า มนุษย์ควรละทิ้งความเห็นแก่ตัวหรือไม่

และหากไม่เห็นแก่ตัวแล้ว จะมีสิ่งใดบ้างที่ไม่ต้องทำต่อไป



Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-22 , Time : 23:25:11 , From IP : 172.29.2.137

ความคิดเห็นที่ : 27


   คุณอยากแปลรักแบบไหนครับ

รักด้วยความไม่เห็นแก่ตัวนั้นคือเมตตา(ความรัในคำสอนของศาสนา)

หากรักด้วยความเห็นแก่ตัวนั้นคือกามารมณ์

คำๆเดียวหากไม่กำหนดขอบเขตของความหมายนั้น อาจให้คำแปลได้หลายแบบ

แม้แต่นิพพานก็มีหลายแบบเช่นกัน ตั้งแต่นิพพานของข้าวต้ม ม้า.......ไปจนถึงนิโรธ


Posted by : Immanuel Kant , Date : 2003-05-22 , Time : 23:43:42 , From IP : 172.29.2.137

ความคิดเห็นที่ : 28


   การสั่งสอนจริยธรรมไม่ได้อยู่ที่ระบบ แต่อยู่ที่ครู

Liberal Leftie มีความเชื่อว่าการที่จะทำให้คนดีสามารถทำได้โดย programming, legislation, systmetic manipulation มีอยู่ครั้งหนึ่งรัฐบาลอังกฤษพูดถึง mandatory parenting course ผลที่ตามมาคือเวลา "ล้มเหลว" ไม่มีคนรับผิดชอบเพราะ "ระบบ" ผิด สังคมผิด โรงเรียนผิด

"คน" เท่านั้นมีผิดได้

"คน" เท่านั้นที่จะละเมิดจริยธรรม คนเท่านั้นที่ "กำหนด" จริยธรรม

"ความรับผิดชอบ" ของครูนั้นยิ่งใหญ่ ไม่ยิ่งหย่อนกว่าของพ่อแม่ การปลูกฝังว่าครูทำตามระบบ ถ้าล้มเหลวก็โทษระบบ เป็น prime example ของความล้มเหลวแต่เบื้องต้น การที่เราไม่สามารถใช้ computer มาสอนจริยธรรมได้นั้น ก็ด้วยเหตุผลเดียวกับการที่เราไม่สามารถจุ "ทดแทน" ครูที่เป็นมนุษย์ด้วยโปรแกรม หรือ "ออกกฏหมาย" ให้คนเป็นคนดี ครูที่สอนจริยธรรมล้มเหลวมีความรับผิดชอบที่จะต้องตรวจสอบว่าความล้มเหลวนั้นอยู่ที่การสอนของตนเองรึเปล่าเป็นอันดับแรก ไม่ใช่เชื่อว่าวิธีการสอนที่เราสอนไปนั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุด เสร็จแล้วก็พอ หากนักเรียนไม่รับไป เป็นความผิดของระบบ ไม่ใช่ความผิดของฉัน ฉันไม่เคยที่จะต้อง improve อะไรอีกแล้วในชีวิตนี้ เพราะฉันมีเจตนาดีและวิธีฉันดีที่สุด

"ไม่มีวิธีที่ดีที่สุด" ในการสอนจริยธรรม เพราะนักเรียน หรือ subject ที่เราต้องการสอนนั้นไม่เหมือนกัน แต่ละคนมีวิธีที่จะ "เข้าถึง" แตกต่างกัน "ครุศาสตร์" จึงเปนศาสตร์ที่เป็นศิลป์ นั่นคือ "ไม่ตายตัว" ศาสตร์อะไรก็ตามที่หวังผลกับพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตต้องไม่ตายตัว ต้องยืดหยุ่นได้ หากครูสามารถ "ซ่อนตัว" และโล้ะความรับผิดชอบให้ระบบได้ ก็จะเห็นปัญหาที่พวก liberal social left กำลังประสบในสองสาม decades ที่ผ่านมาคือความล้มเหลวที่เป็น domino เนื่องจาก "individual" หมดความสำคัญ กฏหมายในยุค Bill Clinton หลายอันที่สามารถเป็น prime example "ระบบ" ภาษีของ socialist แสดงปรัชญาด้านนี้ชัดเจน "ขูดภาษี" เพื่อให้คน generous เชื่อหรือไม่ที่อเมรกันจำนวนมาก buy this concept และเชื่อเต็มที่ว่าที่เขาจ่ายภาษีนั้นทำให้เขาเป็นคน "เมตตากรุณา" นี่คือ "Fake Ethics" จากการที่คนคิดว่า "ระบบ" ทำให้คนเป้นคนดี

รัฐบาลอังกฤษคิดว่าตนเองประสบความสำเร็จในการ "ช่วยเหลือ" และทำให้ "สังคมทัดเทียมกัน" โดยการออกกฏหมายบังคับให้มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศยุบระบบสอบคัดเลือกและรับนักเรียนจากโรงเรียนรัฐบาลเพราะว่านักเรียนจากโรงเรียนรัฐบาลสองแข่งขันสู้นักเรียนจาก grammar school หรือ board school ไม่ได้ นั่นไม่ได้เป็นการทำให้คุณภาพดีขึ้นเท่ากัน แตกำลังเป็นการทำให้คุภาพทุกๆโรงเรียน"เลว"เท่ากัน และนั่นคือ social justice ในสายตาของ socialist

อย่างที่คุณ Kant พูด จริยธรรมนั้นเริ่มต้นที่ "ตนเอง" ก่อน แต่มันไม่เคยหนีไปจากตรงนี้ไกล และไม่เคยจะตกไปเป็นความรับผิดชอบของระบบ ปัจเจกบุคคลมีบทบาทที่สำคัญ overwhelming ในการปลูกฝังจริยรรม หากพ่อแม่สอนให้ลูกไม่กินเหล้าแล้วคิดว่าตนเองทำหน้าที่สมบูรณ์แบบแล้ว ขณะเดียวกันก็ตั้งวงเหล้าที่บ้านทุกวัน ลูกที่โตมา (หรือยังไม่โต)ติดเหล้าไม่ใช่ความผิดของระบบแต่อย่างใด แต่เป็นความไม่เข้าใจ"วิธีการ"ที่จริยธรรมแทรกซึมเข้าในจิตใจของเด็กต่างหาก เด็กจะเรียนจริยธรรมจากที่บ้าน จาก "social value" ที่เขาเห็นรอบๆตัว ไม่ใช่จากห้องเรียน ครูสอนจริยธรรมเสร็จในห้องมิใช่ "จบหน้าที่" เพียงแค่นั้น แต่ต้อง carry on สิ่งที่ตนสอนว่าดีออกไปให้นักเรียนเห็นข้างนอก ข้างเตียงคนไข้ ที่ OPD หรือเวลา round ward ด้วย หากหน้าที่ในการสอนจริยธรรมหยุดอยู่แค่ "สอน" แต่ขาดการปฏิบัติ ปรัชญาการสอนของครูท่านนั้นค่อนข้างจะน่าสงสัยมากๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-23 , Time : 03:55:15 , From IP : 203.155.144.38

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.014 seconds. <<<<<