ความคิดเห็นทั้งหมด : 12


   ถ้ามีฉบับภาษาไทยจะดีมากเลย

Posted by : คนไทย , Date : 2005-03-07 , Time : 08:51:04 , From IP : 172.29.7.248

โรงเรียนสอน "To be Nice"โรงเรียนสอน "To be Nice"
ความคิดเห็นที่ : 1

โรงเรียนสอน "To be Nice"


   เอามาจาก Sunday Telegraph, Education Correspondent UK

=======================================
Children to be given classes on how to be "nice"
By Julie Henry, Education Correspondent
(Filed: 06/03/2005)

Primary School children are to be taught how to make friends, resolve squabbles and "manage their anger" in a $10 million scheme aimed at improving their social skills.

Head teachers have been told by the Department of Education that they can no longer assume that the development of social and emotional skills is the responsibility of parents. Children will be given lessons on how to express feelings such as jealousy and regret and be encouraged to forgive and compliment classmates.

"Research is bringing home the wide extent of various types of neglect and abuse," says the guidance to heads.

"This is being exacerbated by the breakdown of extended family and communities, which reduces support for the nuclear family, and the higher rates of divorce and subsequent one-parent families.

"This has led to a shake-up of the belief that we can leave children"s emotional and social development to parents. So schools have to provide the emotional and social guidance that some pupils currently lack."

As part of the programme, pupils will have 30-minute assemblies on six themes, followed by "dedicated sessions", as well as discussions in other curriculum areas.

Hundreds of schools in 25 local authorities have been piloting the classes. Next month the programme will be extended to the 20,000 primaries in England.

In one session, children are encouraged to talk about their emotions and play a quiz called "Guess what I am feeling?" They design an "emotional barometer" to rate the strength of their feelings.

In another, children build a "good friend wall" with bricks on which they write qualities of friendship. They are also encouraged to pass round a cuddly toy to stroke to help them understand the "nice" feeling they have when receiving a compliment.


Kevan Collins, the Government"s national primary strategy director, said the project was aimed at improving learning and behaviour, highlighted by inspectors last week as a growing problem in secondary schools.

"Many of these things are taught by parents, and we want to build on that," he said. "Other children might not have the background where these are developed sufficiently. We have more targeted work for those who need it."

Some heads expressed doubts about the scheme. David Hart, the general secretary of the National Association of Head Teachers, said: "Once again, schools are being used to make good the deficiencies of parents. I think there"s a distinct danger that we are drifting more and more into the nanny state.

"Schools are quite capable of identifying children that might have a particular problem because of their background. Being expected to deliver a whole programme to all children is excessively bureaucratic and will use up valuable time in primary timetables that could be used to better effect."
=============================================

ดูเหมือนว่า Play Nice จะเป็นปัญหา epidemic ระดับโลก หน่วยครอบครัวในอังกฤษมีความแตกแยกขนาดเด็กจะขาดการอบรมการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่าง civilized ไปแล้ว รากของปัญหาเริ่มมองเห็นตั้งแต่ประมาณเกือบสิบปีแล้ว จากสถิติที่มี single mother และ teenage mother จน.มากที่สุดในยุโรป ครอบครัวที่ไม่สามารถจะอบรมสั่งสอนลูกได้อย่างเต็มที่ กฏหมายที่บีบไม่ให้ครูสามารถทำโทษนักเรียน พักการเรียน หรือไล่ออกจากโรงเรียนไม่ว่าจะทำผิดอะไรก็ตาม ทำให้การเลี้ยงดูอบรมเด็กรุ่นใหม่ยากขึ้นเรื่อยๆ

และอย่างที่มีคนตั้งข้อสังเกตไว้ตอนท้ายสุด เมื่อไหร่ก็ตามที่ประเทศต้องให้รัฐบาลออกกฏหมายควบคุมมาบอกว่าเลี้ยงลูกอย่างไรดี นั่นแปลง่ายๆว่าโครงสร้างของสังคมระดับพื้นฐานใช้ไม่ได้อีกต่อไป ต้องให้นักการเมืองมากำหนด "มาตรฐาน" การเลี้ยงดูลูกของคนในประเทศ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-07 , Time : 11:48:00 , From IP : 172.29.7.88

ความคิดเห็นที่ : 2


   บทแปลของ article ด้านบน (อย่างกระท่อนกระแท่น)

โรงเรียนประถมจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการสอนวิธีการคบเพื่อน การแก้ปัญหาทะเลาะวิวาท และการควบคุมอารมณ์โกรธ เป็นโครงการ 10 ส้านปอนด์ใหม่ของรัฐบาล (อังกฤษ) เพื่อพัฒนาทักษะการอยู่ร่วมในสังคม

กระทรวงศึกษาธิการจะแจ้งมายังครูใหญ่ของทุกๆโรงเรียนว่า ความเชื่อเดิมที่ว่าการพัฒนาทักษะทางสังคมและอารมณ์เป็นหน้าที่ของสถาบันครอบครัวนั้นใช้ไม่ได้อีกต่อไป สิ่งเหล่านี้จะถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตร จะมีสาระวิชาที่ว่าด้วยการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสมด้านต่างๆ เช่น เมื่อรู้สึกอิจฉา เมื่อสำนึกผิดเสียใจ การสนับสนุนการให้อภัยแก่กัน และการชื่นชมแสงดความยินดีต่อผู้อื่น

ใน GuideLine ที่จะแจกให้แก่ครูใหญ่จะอ้างอิงถึงผลงานวิจัยในประเด็นสำคัญที่เป็นที่มาของนโยบายใหม่นี้ ตั้งแต่การไม่ดูแลเอาใจใส่ทางบ้าน การรังแกกัน ปัญหาที่สะสมหมักหมมเพิ่มเติมจากปัญหาสังคม ได้แก่ ครอบครัวแตกแยก ชุมชนอ่อนแอ รากฐานดั้งเดิมของหน่วยสังคมพึ่งพาไม่ได้อีกต่อไป ผลงานวิจัยยังแสดงออกถึงอัตราการเพิ่มของการหย่าร้าง และเพิ่มอุบัติการณ์ของครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เพียงคนเดียว

หลักประกันที่เราเคยมั่นใจเชื่อถือว่า "หน่วยครอบครัว" เป็นกลไกประสานใจ สรังความมั่นคงทางอารมณ์ของเด็กยุคใหม่ๆ พัฒนาทักษะทางสังคมโดยการดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่นั้นถูกสั่นคลอนจากผลงานวิจัยที่ออกมา โรงเรียนจึงกลายเป็นเครื่องมือที่จำเป็นที่จะต้องรับภาระความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านนี้แทน

ในโปรแกรมใหม่นี้ นักเรียนจะต้อง attend กิจกรรม 30 นาทีครอบคลุม 6 หัวข้อ และเข้าร่วมอภิปรายต่อเนื่องในประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งจะไปเชื่อมโยงกับส่วนอื่นๆของหลักสูตรโดยรวม โครงการนี้จะเริ่ม pilot ในโรงเรียนหลายร้อยแห่งใน 25 เขตกาศึกษาท้องถิ่น หลังจากนั้นก็จะขยายออกไปเป็นโรงเรียนประถมทั้งหมดประมาณ 20000 โรงทั่วประเทศอังกฤษ

ตัวอย่างกิจกรรมได้แก่การสนับสนุนให้เด็กพูดวิเคราะห์ถึงอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง มีการเล่นเกมปัญหาทายใจ เช่น "ทายซิ ฉันกำลังรู้สึกอย่างไร?" มีการออกแบบ "มาตรวัดอารมณ์" เพื่อประเมินความรุนแรงของอารมณ์ความรู้สึกของเด็ก

กิจกรรมอื่นเช่น การสร้าง "กำแพงกัลยาณมิตร" โดยวาง blocks สร้างเป็นกำแพงและเขียนคุณสมบัติของเพื่อนที่ดีมีอะไรบ้าง ฝึกฝนการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โดยการแบ่งกันถือตุ๊กตาให้เอาไปลูบคลำ จะได้ทราบถือ "ความรูสึกดีๆ" เวลาตนเองพึงพอใจ ได้รับคำชมเชย หรือคำพูดดีๆ

นายคีแวน คอลลินส์ ผู้อำนวยการแผนยุทธศาสตร์การศึกษาชั้นประถมแห่งชาติของรัฐบาลกล่าวว่า "โครงการนี้จะเน้นที่การพัฒนาการเรียนและพฤติกรรม เจาะลึกที่ปัญหา ที่รัฐบาลได้รับทราบบจากการสำรวจในกลุ่มเด็กชั้นมัธยม เราทราบว่าสิ่งที่กำลังจะสอนอยู่นี้ มีหลายครอบครัวได้กำลังทำอยู่แล้ว รัฐบาลเพียงแต่จะเสริมสานต่อจากกตรงนั้น เนื่องจากไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะมีโอกาสที่ดีทัดเทียมกัน เราจำเป็นต้องเอื้ออำนวยให้สิ่งเหล่านี้มีการกระจายอย่างทั่วถึง"

อย่างไรก็ดี ครูใหญ่บางคนก็แสดงความเป็นกังวลในโครงการนี้ เลขาธิการสมาพันธ์ครูใหญ่แห่งชาติ นายเดวิด ฮาร์ท กล่าวว่า "นี่เป็นอีกครั้วหนึ่งที่โรงเรียนถูกใช้เป็นเครื่องแก้ข้อขาดตกบกพร่องของผู้ปกครอง ถ้าเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ประเทศจะค่อยๆกลายเป็นระบบ "รัฐอุปถัมป์" ไปในที่สุด"

"ปกติโรงเรียนก็มีหน้าที่ในการสอดส่องดูแลเด้กที่มีปัญหาอยู่แล้ว เพราะเรื่องการเลี้ยงดูอบรมที่บ้าน แต่นี่จะกลายเป็นหนเที่หลักของโรงเรียนที่จะทำให้เด็กทุกคนเป็นคนดี ภาระหน้าที่และแหล่งคนทรัพยากรที่จะต้องมาทุ่มตรงนี้จะกว้างใหญ่มาก แทนที่จะนำไปทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์กว่า"

============================================
============================================
ใครอาจจะจำบทความที่ผมเปรียบเทียบระบบการศึกษาในประเทศอังกฤษและอิตาลีได้ จากคำถามที่ว่า "เมื่อนักเรียนล้มเหลว ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ?"

ระบบที่ "อุ้ม" กันสุดตัวแบบนี้อันตรายมาก รัฐหรือบุคคลที่สามได้ withdraw ดึงเอาหน้าที่ "รากฐานที่สุด" ของสังคมออกจากมือผู้ปกครองไป โดยรัฐให้ครู หรือโรงเรียนมาแบกภาระยิ่งใหญ่นี้แทน ผมว่าอันตรายมากๆ เราจะได้ยินเสียงวิเคราะห์ประเภท เด็กมันแย่เหรอ อ๋อ เนความผิดของรัฐบาล ของครู ของโรงเรียน พ่อแม่ไม่ต้องมีภาระหน้าที่ "รับผิดชอบ" อีกต่อไป รัฐบาลได้ทำเรื่องนี้ออกมาเป็น "รูปธรรม" อย่างชัดเจน และสิ่งนี้แหละที่จะกลายเป็น "วัฒนธรรม" ระดับสังคมและระดับประเทศ

Socialist หรือระบบสังคมนิยมนั้นปลูกฝังมานานว่าสังคมนั้น "engineer" ได้ และคนที่ "รู้ดีที่สุด" คือนักการเมือง ที่เป็ฯ control freak ที่ไม่สามารถยอมรับมาตรฐานตวามดีของ "คนอื่น" ได้ที่แตกต่างจากของตน ทำไม "คุณค่า" ความดีขงอครอบครัวเราเองต้องถูกกำหนดดดยคนที่เติบโตมาคนละแบบ เลี้ยงดูกันคนละอย่างกับเรา ต้องมากำหนดบงการว่า "จะต้องทำอย่างไร" จึงจะเป็นคนดี?

ความดี คนดี จริยธรรม นั้นเป็นนามธรรม ที่หน่วยย่อยของสังคมต้องข่วยกันคิดเอาเองว่าคืออะไร เป็นเช่นไร และทำยังไง เราน่าจะเอา Outcomes ที่ออกมาเป็นเป้าหมาย แล้วให้ autonomy แก่ประชาชนว่าทำสวิธีไหนบ้างที่จะ acceptable ข้อสำคัญที่สุดคือ Never Never Never Never ปลด "หน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคม" ออกจากประชาชน ออกจากบุคคลความรู้สึกในหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของผู้หใญ่ที่มีคุณภาพ ถ้าเด็กโตมาในระบบ Nanny state ที่รัฐอุ้มทุกอย่าง ผลสุดท้ายรัฐบาลจะเลี้ยงดูเด็กที่ไม่มีใคร mature เลยทั้งประเทศ ถึงตอนนั้นโครงสร้างสังคมก็จะ "ไม่มี" อย่างแท้จริง



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-07 , Time : 21:26:37 , From IP : 203.156.62.99

ความคิดเห็นที่ : 3


   นั่นแปลว่า ................

ที่สุดแล้วคนที่ได้ประโยชน์ คือ ชนชั้นปกครอง
เพราะเมื่อไรก็ตาม ที่ สมาชิกในสังคม ถูกควบคุมได้ ควบคุมง่าย เนื่องจากระบบสังคม Program ความเชื่อ วัฒนธรรม แม้กระทั่งความดีงามพื้นฐานออกมาในรูปแบบเดียว(ซึ่งถูกกำหนดแบบแผนโดยผู้ปกครอง) การมองเห็นความแตกต่างยิ่งง่าย และก็กำจัดง่ายด้วย (โดยผู้ปกครอง เพื่อลด resistance ) ต่อจากนั้นอำนาจการควบคุมเบ็ดเสร็จก็จะเริ่มแผ่อิทธิพลออกไปในทุกๆด้านของชีวิต จนกระทั่ง สมาชิกในสังคมเสีย orthority / autonomy หรือ สิทธิสภาพเหนือตนเอง แล้ว............ในที่สุด สังคมจะเปลี่ยนสภาพไปสู่ความเป็น Socialist โดยไม่ต้องเกิดการปฏิวัติ ไม่มีการต่อต้าน
การเปลี่ยนแปลงอย่างแนบเนียน แต่ชอบธรรม(หรือเปล่าไม่รู้ )เพราะสมาชิกในสังคม accept ความไม่สามารถจะแตกต่างได้ไปแล้ว กับความล้มเหลวในหน่วยสังคมระดับย่อยที่สุด คือ ครอบครัว ทำให้เราหวังความเข้มแข็งในสังคมในระดับที่ใหญ่กว่าไม่ได้ แล้ว เราก็เสียอำนาจในการต่อรอง

หรือคะ?

มีมุมอื่นให้มอง หรือ ให้คิดแบบใกล้ตัวกว่านี้อีกมั้ยคะ
รู้สึกว่ายังไม่มี Be Positive จากมุมมองของตัวเอง


Posted by : Lucifer , Date : 2005-03-08 , Time : 21:24:31 , From IP : 203.156.47.233

ความคิดเห็นที่ : 4


   ขอบคุณ คุณPhoenix ที่ช่วยแปลค่ะ ขอให้กำลังใจหน่อยนะคะว่า webboard คณะแพทย์เรา ถ้าคุณPhoenix หายไป ดิฉันรู้สึกเหมือนขาด "ผู้ใหญ่" ไป ผู้ใหญ่ที่คอยเตือนสติพวกที่ตั้งหน้าตั้งตาทะเลาะกัน ทั้งๆที่ยังไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริง

หวังว่าคงได้อ่านสาระจากคุณตลอดไปนะคะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ



Posted by : คนไทย , Date : 2005-03-08 , Time : 23:10:50 , From IP : 172.29.7.109

ความคิดเห็นที่ : 5


   Positive thing ยังพอเกิดขึ้นได้ เพียงแต่มัน self contradiction นิดหน่อย

Concept ของระบอบสังคมนิยมก็ยังเป็นหนึ่งในบรรดารูปแบบการปกครองที่เห้นทางออกของตนเองอยู่ เพียงแต่เท่าที่ผ่านมายังไม่มีใคร pull it off ได้อย่างที่ มาร์ค ได้เขียนไว้ตั้งแต่ครั้งแรก

ระบอบปกครองที่เราเห็นๆก็มี สมบูรณาญาสิทธิราช ประชาธิปไตย สังคมนิยม เผด็จการ ฟาสซิส คอมมิวนิสต์ เป็นต้น แต่ละอย่างถูก synthesise มาจาก "บริบท" จำเพาะของสังคม ของสิ่งที่เกิดขึ้น ณ เวลา และสถานที่นั้นๆ กล่าวได้ว่า "ไม่มี" ระบอบอะไรสมบูรณ์ชนิด universal ใช้ได้หมดทุกสถานการณ์ ในระดับ "อุดมคติ" ดูเหมือนจะดูดีไปหมด ปัญหาตอน deployment นี่แหละที่มนุษย์ขี้เหม็นเป็นคนทำเบี้ยว

Nanny State ก็ดีได้ครับ ถ้า run โดยคนที่มี Liberal mind หรือเป็น liberitarianism แต่มันเป็น self-contradiction เพราะคนที่คิดจะใช้ nanny state ตั้งแต่แรกนั้น ยากที่จะมองเห็น "ความดี" ของคนอื่น หรือคิดถึงว่ามันมีความเป็นไปได้ที่วิธีคนอื่นมันก็ดีได้

แต่สมมติว่าเป็นไปได้ "ระบอบโรงเรียนแม่นม" ที่จะมาทำหน้าที่แทนพ่อแม่ตรงนี้จะต้อง willing ที่จะ withdraw the privilege เมื่อไหร่ก็ตามที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองโดยตรงของเด็กต้องการและ request ไม่ได้ผูกขาด "การอบรมเด้ก" ให้มันเป็นพิมพ์เดียวกันเหมือน cloning จริงๆแล้วเลี้ยงดู "ตาม protocol "เป๊ะๆนั้น ผมยังข้องใจว่ามันจะเป็นวิธีที่ดีเลิศสุดแล้วจริงหรือ variations ของคนธรรมดาๆ ที่ไม่ต้องศึกษาคู่มือการเลี้ยงลูก 20 เล่ม หรือเป็น child psychologist expert เด้กที่โตมาก็น่าจะ OK แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่รัฐบาลชุดไหนๆได้ authority ตรงนี้ไป ยากที่จะคืนอำนาจแก่ประชาชน

ในบางประเทศที่ประชาธิปไตยงอกงามดี การเลื้องตั้งทั่วไปแทบจะถือเป็น sacred ceremony คือการ "คืนอำนาจ" ให้ประชาชนพิจารณาดูซิว่าเขาพอใจไม่พอใจผลงานที่ผ่านมามากน้อยแค่ไหน ทุกครั้งที่มี general election ความได้เปรียบจะอยู่ที่คนริเริ่มโปรแกรม เพราะเลือก "บริบท" ที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองและพรรคสูงสุด

การที่ freelance mercenary อยู่บนเครื่องนี้ด้วย how on earth จะต้องไปรบกวนหมอให้มาสั่ง order ธรรมดาๆตอนสี่ห้าทุ่มกันด้วย ว่าแล้วก็นอนต่ออีกหน่อย ถ้าเป็นพวก professional เขาจะไม่ยิง at first sight ของข้อมูลทั้งหมดที่มี เพราะต้องมีหลายช่วงหลายขั่วโมงมาจัด scene ให้หมดอาจจะทำใจไมได้ครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-09 , Time : 00:49:45 , From IP : 203.156.37.228

ความคิดเห็นที่ : 6


   ย่อหน้าสุดท้ายอ่านไม่รู้เรื่อง สงสัย file corrupt ระหว่าง transfer ครับ ไม่ต้องไปอ่านมันดีกว่า



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-09 , Time : 01:02:37 , From IP : 203.156.37.228

ความคิดเห็นที่ : 7


   หลับในรอบสองมั๊ยเนี่ย

Posted by : pisces , Date : 2005-03-09 , Time : 20:11:18 , From IP : 172.29.7.20

ความคิดเห็นที่ : 8


   ยังไม่ค่อยเข้าใจ "Nanny state" มีหนังสือแนะนำมั้ยคะ
แต่ถ้าอาจารย์จะกรุณาอธิบายเพิ่มไว้ใน Board ก็จะเป็นพระคุณค่ะ
ช่วงนี้มีภาระต้องอ่าน(หนังสือที่ไม่ต้องหาเอง)อย่างสาหัส



Posted by : Lucifer , Date : 2005-03-10 , Time : 11:53:34 , From IP : 203.156.52.184

ความคิดเห็นที่ : 9


   คุณอ่านแล้วคิดว่ามันเป็นยังไงล่ะครับ ลงอเล่ามาให้ฟังก่อนดีไหมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-10 , Time : 20:36:02 , From IP : 172.29.7.222

ความคิดเห็นที่ : 10


   "Are we that much more evil than we were 200 years ago that we need this many laws to keep us off of each other? Or has the nanny state veered completely out of control -- creating crimes where no evil existed, pinning blame where no harm was intended?"


ภาษาอังกฤษไม่ค่อยดีเท่าไรค่ะ
ลองพยายามอ่านแล้วลอกบางย่อหน้าที่สนใจมาให้ช่วยดู

เข้าใจว่า ..................
เดี๋ยวนี้คนเราไม่ "ดี" เหมือนก่อนแล้ว

มาต่อความเอาเองว่า

อาจเป็นเพราะนิยามความ "ดี" ของคนรุ่นนี้กับคนรุ่นก่อนไม่เหมือนกัน
หรือมีปัจจัยร่วมอื่นๆ ที่ทำให้ "ดี" ของคนรุ่นนี้เพี้ยนไปจากสิ่งที่เคยดี
ทำให้เกิดความจำเป็นว่า ความดีหรือไม่ดีพื้นฐานบางอย่างควรได้รับการดูแล
เช่น ความจำเป็นทางเศรษฐกิจทำให้ ผู้ปกครองอ้างว่าไม่มีเวลาดูแลเด็ก ความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวคลอนแคลนเพราะความจำเป็นในการอยู่รอดเกิดจะสำคัญกว่า
ในสถานภาพที่ "คน" ค่อนข้างพร้อม คือมีอาหาร มีที่อยู่ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แล้วจึงจะแสวงหาความรัก เกียรติ ศักดิ์ศรี และ ความพึงพอใจแห่งตน ตามลำดับ แต่ คนไม่ได้มีพร้อมเหมือนกัน คนมีความจำเป็นของชีวิตต่างกัน คนบางคนเกิดมาโดยที่บางครั้งคนให้เกิดก็ไม่ได้อยากให้มาเกิด แต่เมื่อเกิดมาแล้วก็มีหน้าที่ต้องเลี้ยงดูกันไปตามสภาพ ดีบ้างไม่ดีบ้าง บางทีก็(อ้างว่า)ไม่มีเวลาดู เกิดสภาพ "แล้วแต่เวรแต่กรรม" ทีนี้ถ้าจะมี "บ้าง" คือ มีใครสักคนที่มีหน้าที่ดูแลอยู่แล้วเพียงแต่เพิ่มบทบาทในการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ขึ้นมาอีกหน่อย เรียกว่า "เป็นหน้าที่" ต้องทำ เพราะ ข้ออ้างที่ว่า "เราไม่สามารถหวังหรือรอ"
บทบาทหน้าที่นี้จากครอบครัวได้ ด้วยเหตุและปัจจัยหลายๆ อย่าง ซึ่งเราก็ไม่ได้ไปรู้กับเขาว่า "มี" เหตุหรือปัจจัยอะไรบ้าง จำเป็นกับคุณภาพของชีวิตเค้ามากน้อยแค่ไหน การที่ "รัฐ" จะจัดการ "ยัด" หน้าที่ดังกล่าวข้างต้นนี้ใส่มือ "โรงเรียน" เข้าใจว่าเพื่อช่วยเติมเต็มสิ่งที่อาจไม่สมบูรณ์พร้อมมาก่อน ก็ไม่เห็นว่าจะเป็นสิ่งที่เหลือจะรับอะไร ถ้าบ้านไหนดีอยู่แล้วก็ดีไป แต่ถ้าบ้านไหนไม่พร้อม ก็ยังมีโอกาส มีที่ ให้เด็กบางคนได้เรียนรู้และเติบโตจาก "ต้นแบบนอกบ้าน" บ้าง ว่าไปแล้วเราก็คงไม่โชคร้ายขนาดที่ว่า จะไม่มีต้นแบบดีๆ ให้เด็กดู เพื่อจดจำ ทำเลียนแบบ และเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ดีๆ ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมเลยใช่ไหมคะ ในขณะที่รัฐ"จัดหา" ความพร้อม ให้ทุกครอบครัวไม่ได้ เพราะแต่ละครอบครัวก็ "ต้องการ" ไม่เท่ากัน กว่าจะถึงจุดที่ "พอ" ซึ่งก็หวังไม่ได้เหมือนกันว่า เมื่อไรจะถึงจุดนั้น ระหว่างนั้นถ้าจะช่วยกันดูแลสิ่งที่ถูกลืม หรือตกหายรายทางก็ดีกว่าปล่อยตามเวรตามกรรม ตามแต่ครอบครัวใคร ไม่ใช่หรือคะ

สิ่งที่สังคมน่าจะร่วมด้วยช่วยกันรับผิดชอบก็คือ "ต้นแบบ" ที่จะถูกปล่อยออกมามีบทบาทหน้าที่ ความคิด การตัดสินใจ ความห่วงใยในคนร่วมสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งต้นแบบที่เป็น คน และต้นแบบที่ถูกออกแบบมาว่า "คนควรจะเป็น" มากกว่าจะเป็นกังวลว่าใครจะเป็นคนอุ้มอุปถัมภ์ ผูกขาดมั้ยคะ
อีกอย่างถ้า
"ภาระหน้าที่และแหล่งคนทรัพยากรที่จะต้องมาทุ่มตรงนี้จะกว้างใหญ่มาก แทนที่จะนำไปทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์กว่า"

ตอนนี้หนูยังไม่เห็นว่ามีอะไรน่าลงทุนมากไปกว่า "การสร้างคน" เลยค่ะ

ไม่ทราบว่าเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า ยังอ่อนประสบการณ์ทั้งความคิดและความรู้ ผิดพลาดอย่างไรก็ขอความกรุณา อาจารย์ชี้แนะและสั่งสอนค่ะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-03-13 , Time : 21:38:20 , From IP : 203.156.44.133

ความคิดเห็นที่ : 11


   สองสามประเด็นที่ผมขออนุญาตแสดงความเห็นนะครับ

ประการแรก ผมจะค่อนข้าง "ลังเล" ที่จะสรุปว่า "คนรุ่นนี้ คนรุ่นก่อน" คิดว่าอย่างไร นั่นเป็นการ assumption ที่มโหฬาร และ generalization มากไปนิด oversimplify มากไปหน่อย

ประการที่สอง สำหรับเรื่องความดีนั้น ผมว่าของเดิมกับของปัจจุบันอาจจะต่างกันจริง แต่ตัวสำคัญผมคิดว่า "ความไม่ดี" ที่ถูกยอมรับเพิ่มมากขึ้นต่างหากที่เป็นปัญหา ฟังดูเหมือนจะเล่นคำ แต่ผมว่าเราน่าจะแยกเพราะ "วิธีแก้" มันอาจจะไม่เหมือนกันทีเดียว

ประการที่สาม "สังคมควรจะรับผิดชอบ" นั้นเป็นนามธรรมครับ และไม่มีใครทราบว่าจะเริ่มตรงไหน ใครเป็นคนเริ่ม ผมว่าสิ่งสำคัญที่ปัจเจกบุคคลพึงตระหนักก็คือ "หน้าที่ความรับผิดชอบ" ของตนเองในฐานะหน่วยหนึ่งของสังคมมากกว่า

ผมคิดว่าเรายังสามารถไขว่คว้า "ความดี" "ความสำเร็จ" ในปรัชญาปัจจุบันอยู่ได้ครับ ถึงแม้จะต่างจากสมัยก่อน แต่เราต้องไม่ทำถึงขนาด "ยอมรับความไม่ดี" ในสมัยก่อนมาเป็นเครื่องมือ ยกตัวอย่างง่ายที่สุด Capitalism ที่ตั้ง "มาตรฐาน" ครอบครัวชั้นกลางว่าต้องมีรถ มีคอมพิวเตอร์ มี ฯลฯ นั้นก็สามารถตั้งเป็นเป้าหมายชีวิตได้ ตราบใดที่ไม่ได้ขยายวิธีไปเอาการเอารัดเอาเปรียบ เอาความโลภเป็นสรณะ เอาความเห็นแก่ตัวเป็นตัวตั้ง เราสามารถจะรวยได้ แต่ในเวลาเดียวกันก็ยังเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และทำหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองต่อสังคมได้ดี ขอเพียงอย่า adopt ความไม่ดีในอดีตมาเป็นเรื่องที่ยอมรับได้

เมื่อไม่นานมานี้มีคนบอกว่า ทำอย่างนี้อย่างนั้นมัน "ดีเกินไป" หรือไม่ก็ "เป็นกิจกรรมของระดับอรหันต์ ผู้ตรัสรู้แล้ว" อะไรปานนั้น เกณฑ์มาตรฐานของ "คนธรรมดา" มันเปลี่ยนไป ศีล ๕ กลายเป็นไม่ใช่ของคฤหัสถ์ธรรมดา ธรรมะของผู้ครองเรือนกลายเป็นของผู้ทรงศีลระดับไม่ธรรมดาไป คนธรรมดาๆ "น่าจะ" ทำอะไรที่ง่ายขึ้น ควบคุมตนเองน้อยลง ความเกลียด โทสะ และความหลงเป็น "ธรรมดา" ไป สัมมาวาจาที่เน้นที่เจตนาถูกเบี่ยงเบนผิดเพี้ยนเป็น "process" แทนที่จะเน้นเรื่อง "เจตนา" ไปเน้นเรื่อง "กระบวนการ"

แต่ Nanny state นั้นเป็นอีกประเด็นครับ ที่จริง course เลี้ยงดูเด็กเป็น idea ที่ดีที่จะช่วยเหลือแม่รุ่นใหม่ที่อาจจะอายุแค่ 14-15 ปี ได้เป็นอย่างดี หรือสำหรับบ้านที่มีแต่แม่ ไม่มีพ่อ ไม่มี role model ครบถ้วน แต่มันน่าจะเป็น options ไม่ใช่ mandatory across the whole country เพราะเมื่อไหร่ก็ตามเอาของพวกนี้มาเขียนเป็น "ตัวหนังสือ" เป็น "หลักการ" มันก็จะมีส่วนที่ unacceptable ในสายตาของผู้เขียนลงไปด้วย ถ้าผู้เขียนใจไม่กว้างพอ ก็จะมีดอกาสที่จะละเมิด autonomy ของผู้อื่น มีโอกาสที่จะมีความ "ไม่ยอมรับความต่าง" จากที่เขียนเอาไว้ใน curriculum และการที่เขียนไว้ยังนี้มันเป็นการอ้าแขนรับความรับผิดชอบของสังคมมาโอนให้ "ครู" ซึ่งผมว่า ไม่ว่าอาชีพไหนๆ ไม่ว่าใคร หน้าที่ความรับผิดชอบอันนี้มันไม่ใช่ของอาชีพเดียวแน่ๆ มันเป็นของทุกๆคนในสังคมต่างหาก มันจะเกิดคำถามอย่างที่มีคนถามคือ "ถ้าเด็กโตมาไม่ดี แล้วใครรับผิดชอบ?" คำตอบใน Nanny state คือ รัฐบาล ครู กระทรวงศึกษา ผมว่ามันน่ากลัว และน่าเศร้ามาก ยิ่งเราพยายามดึงเอาหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากประชาชนของเรามากเท่าไหร่ คุณภาพของคนมันจะลดลงเร็วมากขึ้นเท่านั้น จะมีแต่คน claim สิทธิโดยไม่มีคน claim หน้าที่ความรับผิดชอบ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-13 , Time : 22:09:07 , From IP : 172.29.7.98

ความคิดเห็นที่ : 12


   บ่อยครั้งที่พบว่า ตัวเองออกมีปัญหาเรื่อง การสรุปความและเลือก เหมือนกันค่ะ
เลยพยายามอย่างมากที่จะ สรุปอะไรก็ตามให้เป็นรูปเป็นร่างเป็นชิ้นเป็นอัน พอให้เห็นขอบเขตของเรื่องนั้นๆ ได้เพื่ออธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจและสื่อให้คนอื่นรู้ว่า เรากำลังมองหรือเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร แต่ก็มักจะเกิดกรณี
" I have never agreed with my other self wholly.
The truth of matter seems to lie between us."
อย่างช่วยไม่ได้


ประการแรก ถ้าเรา(หมายถึงอาจารย์และหนูเอง) จะไม่ assumption generalization และ oversimplify ร่วมกัน ก็เสนอว่ามันควรมี point ร่วมที่พอมองเห็นความ "เหมือน" หรือ"ต่าง" ได้บ้าง การที่เรามองโดยไม่ตัดสิน ไม่ประเมินคุณค่า เพียงแต่ เรียนรู้ จากความเหลื่อมล้ำ ก็น่าจะเกิดประโยชน์บ้าง ที่จริงแล้วก็เข้าใจว่า ความเหมือนหรือต่างนั้นจะมีปัจจัยร่วม คือ บริบท ของเรื่องนั้นรวมอยู่ด้วยอาจทำให้ต้องคิดมากหรือ กว้างขวาง เกินไปที่จะบอกว่า จริง ๆแล้วมันจะเหมือนหรือไม่เหมือนอย่างไร แต่ในที่สุด young generation จะได้เปิดหูเปิดตา มีทางเลือกมากขึ้น รวมถึง ได้เรียนรู้ประสบการณ์ ของผู้ที่ผ่านเวลามาก่อน หนูว่าการเริ่มต้นเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองจะทำให้เราเด่นดีเรื่อง initiation แต่ก็เห็นจะเสียเวลาอยู่ถ้า จะต้องเริ่มและผิดซ้ำซากในเรื่องที่คนใกล้ๆเราเคยพลาดซ้ำซากมากคนกันมาแล้ว โดยส่วนตัวหนูให้คุณค่าเรื่องการเรียนรู้จากประสบการณ์สูงค่ะ เพราะเชื่อว่าช่วยได้มากเรื่อง ลดเวลา ในการเรียนรู้เรื่องหนึ่งๆ จะได้เอาเวลาไปทำอย่างอื่นๆ ต่อ แน่นอนว่า หนูอาจจะไม่พลาดที่จะลองด้วยตัวเองหลังจากมีคนเตือนว่า "อย่า" กรณีที่ไม่เชื่อว่า ทำไมต้อง "ไม่ทำ" เพราะประสบการณ์ตรงของตัวเองจะฝังความผิดพลาดนั้นลงไป อยู่ใน subconcious เลยทีเดียว

ประการที่สอง เห็นด้วย และเห็นบ่อยว่า "ความไม่ดี" ที่ถูกยอมรับเพิ่มมากขึ้นต่างหากที่เป็นปัญหา เรา(หมายถึง generation เดียวกับหนู และตัวหนูเอง) มักจะมีเหตุผล(ข้ออ้าง/คำแก้ตัว) เสมอ สำหรับการทำ หรือ ไม่ทำอะไร ที่ได้ยินบ่อย เห็นจะไม่พ้น "ตัวกู ของกู" ยิ่งผสมความอวดดื้อ ถือดี ประเภท "กูแน่" เข้าไปด้วยยิ่งไม่ต้องเอาอะไรมาฉุดมารั้งเลย น่าสนใจมั้ยคะว่า ความพอดีของ self- confidence อยู่ที่ไหน คนรุ่นก่อนเคยหาเจอมั้ยคะ บอกหนูบ้าง เพราะหนูก็ใช้เวลาตามหามาตั้งแต่อยู่ในวัย แสวงหา self - identity จนเดี๋ยวนี้ก็ยังขาดๆเกินๆอยู่

ประการที่สาม เปลี่ยนประธานประโยคจาก สังคม เป็น ปัจเจก ก็ดูชัดเจนเฉพาะเจาะจงดีค่ะ ถ้าจะเริ่ม ก็เริ่มที่ตัวเราก่อน อาจารย์......เปิด หนูก้อ.......ตาม ส่วนคนอื่นๆ ก็แล้วแต่เห็นสมควรว่าเริ่มเมื่อไร ใช่มั้ยคะ เพราะว่าเราคงไปกะเกณฑ์ ความรู้สึกของใครไม่ได้ นอกจากตัวเราเอง

และดูเหมือน ....................
ใครๆ จะช่างมีอิทธิพลต่อการกำหนดกฏเกณฑ์ มาตรฐานความสำเร็จของ ใครๆ จังเลยนะคะ ถ้าความสำเร็จของชนชั้นกลางในเมืองคือ ต้องมีบ้านมีรถ มีคอมพิวเตอร์ หนูเองก็ยอมรับว่า ติด เจ้า Notebook นี้มาก ขาดแล้วอยู่ไม่ถูก แต่ก็เพิ่ง appreciate กับธรรมชาติและความเป็นชนบทแท้เมื่อ 2-3 วันก่อนนี้เอง เห็นความเป็นอยู่ที่อิงอาศัยธรรมชาติ เห็นความเดือดร้อนของการขาดน้ำขาดฝน เห็นน้ำใจและการพึ่งพาอาศัยของคนบ้านใกล้เรือนเคียง เห็นวิถีของความพอเหมาะพอดี พอใจสิ่งที่มีในบางคน ความงามในความเป็นอยู่ที่ไม่เรียกหา ความทันสมัย ของ Technology ในขณะที่คนเมืองกลัวเหลือเกินว่าจะไม่มี ไม่ทัน รู้สึกเสียดายที่นับวันความเป็นสุขอย่างง่ายๆ ที่เห็นจะถูกบีบ ถูกกลืน หายไปกับ Globalizationและ มาตรฐาน Civilization ที่ถูกกำหนดโดย "ใครๆ "


Posted by : Lucifer , Date : 2005-03-15 , Time : 11:58:28 , From IP : 172.29.4.102

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.011 seconds. <<<<<