ความคิดเห็นทั้งหมด : 34

ช่วยด้วย เหตุเกิดที่ ฉบ.10 ผู้น้อยโดนทำร้าย


    ดิฉัน ภาณี pn.ฉบ.10 วันที่ 28 กพ. 48 เวรบ่ายประมาณ 4 ทุ่มดิฉันได้เอา bd เข้าไปเพื่อที่จะ

Posted by : ..... , Date : 2005-03-06 , Time : 22:31:08 , From IP : 172.29.1.149

ความคิดเห็นที่ : 1


   ต่อยังไม่จบ เวลาประมาณ 4 ทุ่ม ดิฉันเข้าไปในห้องผป.1080 พร้อม Incharge จะไปให้ BD dripe ก่อนจะยกตัวผป. ญาติผู้หญิงนั่งบนโซฟา บอกว่า " เปลียน pampurse ด้วย ฉี่เต็มแล้ว " ดิฉันก็พูดว่า "ทำมั้ยยังไม่เปลี่ยนเหรอ" ญาติคนเดิมตอบว่า " เปลี่ยนไม่ได้อยุ่คนเดียว " ดิฉันก็ก้มลงไปมองดูญาติผู้ชาย (สามี)ซึ่งนอนดูทีวีอยุ่ที่พื้นข้างเตียงผู้ป่วย พอดิฉันก้มมอง ญาติผู้ชายก็ดึงผ้าห่มคลุมหน้าทันที ดิฉันกับ Incharge ก็ช่วยกันเปลี่ยนผ้าจนเสร์จไม่ได้พูดว่าอะไรอีก จากนั้นก็เริ่ม dripe BD แต่ปรับดูเป็นหยดไม่ได้เนื่องจากมันไหลข้างกระเปาะจึงปล่อย clampกลางๆ เดี่ยวจะกลับมาดูอีก จากนั้นก็เดินออกมาพร้อม Incharge สักครู่ญาติผู้หญิงก็เดินออกมาด่าโวยวายเรื่องว่าให้อาหารเร็วไป Incharge ก็เดินเข้าไปดู แต่ญาติผู้หญิงยังยืนด่าโวยวายดิฉันหน้าเคาน์เตอร์ สักพักดิฉันเดินออกมาจากห้องยาเห็นญาติยืนด่าโวยวาย ก็พูดกับน้องๆพยาบาลว่า "มีอะไรเดี่ยวพี่ออกไปจัดการเอง "ซึ่งดิฉันได้ยินแว่วๆว่าเรื่องให้อาหารซึ่งพึ่งออกมาจากห้อง จากนั้นจึง
เดินออกไปหน้าเคาน์เตอร์ ซึ่งก็อยู่หน้าห้อง1080พอดี ดิฉันก็พูดว่า "มีอะไรพูดกันดีๆก็ได้ ทำไมต้องพูดเสียงดังด้วย " ญาติผู้หญิงยังไม่ยอมหยุด ดิฉันก็พูดอีกว่า " มีอะไรพูดกันดีๆก็ได้ " แล้วญาติผู้หญิงก็เดินรี่เข้ามาผลักดิฉันล้มก้นกระแทกพื้นอย่างแรง รองเท้า นาฬิกาหลุดหมด ดิฉันก็ลุกขึ้นจะเดินเข้าไปหา มีน้องพยาบาลเข้ามาจับดิฉันไว้ ญาติผู้ชายก็ออกมาจากห้องและห้ามดิฉันให้หยุดและให้ญาติผู้หญิงเข้าห้องแต่ ญาติผู้หญิงก็ไม่ยอมหยุด และไม่ยอมเข้าห้อง เมื่อดิฉันลุกขึ้นยืนจึงเข้าไปตีญาติผู้หญิง2-3ที ขณะนั้น Incharge ออกมาจากห้อง1080พอดีมาตจึงดึงดิฉันออกมาและพาเข้าในเคาน์เตอร์ แต่มาตอนนี้กลายเป็นญาติทั้ง2คนมายืนด่าว่าโวยวาย โดยฝ่ายสามียืนชี้หน้าด่าดิฉันพร้อมทั้งท้าว่า " มึงแน่จริงถอดหมวกมาต่อยกันซิ " ซึ่งทั้งคู่(ญาติ)ก็ยังยืนด่าโวยวายพักใหญ่แล้วหยุดไปเอง และเข้าห้องไป Incharge เวรตามผตก.มา เล่าเหตุการณ์ให้ฟัง หลังจากนั้น ผตก. ก็เรียกดิฉันเข้าไปให้เล่าเหตุการณ์ แล้วสรุป ( ผตก. ไม่ได้เข้าไปพูดหรือฟังเหตุการณ์จากญาติ )ว่า "พี่ฟังเหตุการณ์ครั้งแรกจาก Incharge ก็รูสึกเห็นใจเราว่า เขาทำกับเรารุนแรงเกินไป แต่พอฟังจากปากของน้อง(ซึ่งขณะเล่าดิฉันกำลังโมโหสุดๆ จึงเล่าด้วยเสียงอันดัง)...." พี่ว่าเราก็ทำไม่ถูก เราต้องสงบสติอารมณ์ให้มาก ต้องอดทน ผตก.บอกว่าถ้าให้คนอื่นออกไปก็คงจะไม่มีเรื่องเกิดขึ้น "...
......... สรุปในความคิดของดิฉันหลังจากฟังผตก. ก็คือว่าเราต้องอดทน ใครจะมายืนชี้หน้าด่าหรือทำร้ายเรายังไงก็ได้เรา ไม่มีสิทธิ์พูดอะไรทั้งสิ้น อดทนและอดทน ผู้รับบริการคือผู้ที่ถูกต้องทุกอย่าง นี่คือเกียรติอันยิ่งใหญ่ของพยาบาล มอ. ดิฉันทำงานมา 20ปี อยู่ที่นี่มาตลอด องค์กรที่นี่ใหญ่โต หลังคาคุ้มหัวก็ใหญ่โตสวยงาม แต่ขอโทษเถอะค่ะ หลังคามันรั่วคุ้มหัวไม่ได้ เนื้อตัวเปียกปอนต้องช่วยเหลือตัวเอง
ใครมีความคิดเห็นอย่างไร ช่วยตอบกันหน่อย
รับทุกความคิดเห็น


Posted by : พี่แป๊ด , E-mail : (.....) ,
Date : 2005-03-07 , Time : 00:54:05 , From IP : 172.29.1.149


ความคิดเห็นที่ : 2


   เห็นใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นค่ะ พยาบาล หรือผู้ช่วยพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกัน ทุกคนล้วนมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีในอาชีพของตนค่ะ

Posted by : น้อง , Date : 2005-03-07 , Time : 01:07:25 , From IP : 172.29.7.171

ความคิดเห็นที่ : 3


   เห็นใจครับ เป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปน่ะครัย

Posted by : ผ่านมา , Date : 2005-03-07 , Time : 03:55:58 , From IP : 172.29.2.73

ความคิดเห็นที่ : 4


   เห๊นด้วยค่ะ เห๊นจัยคนที่โดนกระทำมาก ไม่เป๊นตัวเองคงไม่รู้หรอกว่ามันเจ๊บแค่ไหนกัน ยิ่งได้ฟังผู้ใหญ่แทนที่จะปลอบกลับกลายเป๊นซ้ำเติมกันมันทำให้ยิ่งน้อยเนื้อต่ำใจหมดกำลังใจ..ในการทำงาน..มากรู้สึกท้อแท้ค่ะ...

Posted by : ... , Date : 2005-03-07 , Time : 04:13:23 , From IP : 172.29.1.149

ความคิดเห็นที่ : 5


   ขอแสดงความเหนใจพี่ภานีด้วยคน ผู้ใหญ่ก็เป็นอย่างนี้แหละชอบเอาใจญาติจนลืมแคร์ความรู้สึกของระดับปฏิบัติอย่างเรา ๆ แล้วค่อยมาปลอบใจเราตอนที่เสียใจไปแล้ว ซึ่งเรียกความรู้สึกดี ๆต่อหน่วยกลับคืนมาไม่ได้

Posted by : น้อง ๆ , Date : 2005-03-07 , Time : 04:58:52 , From IP : 172.29.3.89

ความคิดเห็นที่ : 6


   นี่เป็นปัญหาที่จะมีโอกาสมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริหารควรจะต้องมีแนวปฏิบัติให้ระดับปฏิบัติการได้รู้ขอบเขตของการทำงาน การดูแลใดที่ฝ่ายพยาบาลควรเป็นผู้ให้การดูแล และอะไรที่ฝ่าญาติควรช่วยดูแล การดูแลรักษาพยาบาลเป็น "วิชาชีพ" ไม่ใช่ ร้านสะดวกซื้อที่ทำทุกอย่างเพื่อลูกค้า

Posted by : ร่วมคิด , Date : 2005-03-07 , Time : 08:23:59 , From IP : 172.29.3.147

ความคิดเห็นที่ : 7


   เห็นใจบุคลากรเรามาก ๆ ค่ะ ที่ต้องทนรับอารมณ์ของผู้อื่นอย่างมาก เรื่องนี้
ผู้บริหาร (ฝ่ายการฯ) ควรจะเห็นใจน้อง ๆ ผู้ปฏิบัติงาน (ผู้ใต้บังคับบัญชา) ให้มาก ๆ ด้วย หากมีปัญหาเช่นนี้อีก ควรหาพยานมาให้รู้เห็นฯ ด้วย และตาม จนท.รักษาความปลอดภัยจะดีกว่า ปลอดภัยตนเองด้วย (น้ำน้อยหรือจะไปสู้ไฟ) ขอเป็นกำลังใจให้อีกคน..คนที่อยู่ปลายแถว


Posted by : สาย ค. , Date : 2005-03-07 , Time : 10:26:07 , From IP : 172.29.3.194

ความคิดเห็นที่ : 8


   *** มอ. มีเรื่องไรดีมั่งล่ะ ผมว่ารวมตัวหยด งาน หรือลาออกหม่ก็ดีน่ะ ผ้บริหารจะได้ร้สึกบ้าง

Posted by : คนทำงาน , Date : 2005-03-07 , Time : 10:28:48 , From IP : 172.29.3.218

ความคิดเห็นที่ : 9


   เป็นกำลังใจให้คุณภานีครับ
พวกเราทำความดีต่อไปเถอะครับ หลังคาคณะไม่เห็นแต่เทวดาเห็น
ตั้งใจทำอาชีพบริการให้ดีที่สุดเพื่อครอบครัวและคนที่เรารัก


Posted by : คนหนึ่ง ใน x-ray , Date : 2005-03-07 , Time : 10:29:49 , From IP : 172.29.7.171

ความคิดเห็นที่ : 10


   เห็นใจพี่ภานีนะคะ ที่เจอเหตุการณ์ไม่น่าประทับใจอย่างนี้ แต่อย่าเพิ่งท้อนะคะ
ฟ้าหลังฝนย่อมสว่างเสมอคะ และการทำงานที่ มอ.เราต้องดูแลตัวเองอยู่แล้วคะ เบื้องบนมีไว้เพื่ออะไรคะ ทำไมเวลาเกิดเรื่องไม่ลงมาดูแลกันบ้างคะ
คิดแต่จะใช้งานอย่างเดียว ระวังนะคะเครื่องจักรเสื่อมเมื่อไหร พาลไม่มีอะไรจะทำมาหากินกันนะคะ ระดับปฏิบัติการหรือระดับไหน ๆ ก็ต้องการกำลังใจกันทั้งนั้นคะ


Posted by : เพื่อนร่วมวิชาชีพ , E-mail : (aom@hunsa.com) ,
Date : 2005-03-07 , Time : 11:03:04 , From IP : 172.29.7.200


ความคิดเห็นที่ : 11


   ผมไม่เห็นด้วยครับที่ญาติจะมาทำแบบนั้นกับพวกเรา
แต่ต้องตั้งสติให้มั่นนะครับ เราไม่ควรวู่วาม เพราะการวู่วามพาลจะทำให้เราเสีย
ต่อไปถ้ามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น เราก็ไม่ต้องตอบโต้ครับ ให้ตาม รปภ. หรือไม่ก็โทรแจ้งตำรวจครับ การทำร้ายร่างกายเป็นความผิดอาญาครับ แต่เมื่อไหร่เราไปตอบโต้ ไปทำร้ายเขากลับ ทำให้ภาพเราไม่ดีครับ ไปแจ้งความก็ไม่ค่อยมีน้ำหนัก

ผมเชื่อคุณพยาบาลครับ เดี๋ยวนี้คนไข้และญาติเรียกร้องและต้องการในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นโดยไม่เคยคำนึงถึงว่าสิ่งนั้นสมควรหรือไม่


Posted by : พชท , Date : 2005-03-07 , Time : 11:43:29 , From IP : 172.29.4.76

ความคิดเห็นที่ : 12


   ห้อง1080คนนี้ออกไปหรือยังจะไปดูหน้ามันหน่อยซิ

Posted by : บุคลากร , Date : 2005-03-07 , Time : 11:47:47 , From IP : 172.29.3.214

ความคิดเห็นที่ : 13


   ผู้ปฏิบัติงานเช่นกัน เห็นใจคุณมากๆปัจจุบันนี้คนไข้ยาติเอาแต่ใจตัวเองมากๆจนทำงานยากขึ้น ส่วนผู้บริหารไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์และไม่เคยโดยอย่างเราโดน แล้วผู้ปฏิบัติการอย่างเราจะทำอย่างไรต่อไป ขอให้กำลังใจสวรรค์เห็นจ๊ะ......

Posted by : คนกันเอง , Date : 2005-03-07 , Time : 13:54:20 , From IP : 172.29.1.96

ความคิดเห็นที่ : 14


   *** มอ. มีเรื่องไรดีมั่งล่ะ ผมว่ารวมตัวหยด งาน หรือลาออกหม่ก็ดีน่ะ ผ้บริหารจะได้ร้สึกบ้าง

Posted by คนทำงาน() 2005-03-07 , 10:28:48 , 172.29.3.218

เเหม อุตสาห์ประกาศตนว่าเป็น "คนทำงาน "แต่ภายในเนื้อความนี่แอบประกาศว่าไม่มีสมองด้วยน่ะครับ หรือมีเเต่คิดไม่ได้ น่าเสียใจกับองค์กรด้วยเป็นอย่างยิ่งน่ะครับที่มีบุคลากรแบบนี้ ยังไงเป็น "วัยทำงานแล้ว"เวลาคงยังเหลือไม่มาก รีบๆคิดให้ได้น่ะครับ จะเป็นกำลังใจ


Posted by : เห็นใจจริงๆ , Date : 2005-03-07 , Time : 14:32:48 , From IP : 172.29.2.107

ความคิดเห็นที่ : 15


    ผมบอกตรงๆว่าไม่สามารถเชื่อที่โพสมานี่ทั้งหมดได้ เห็นชัดๆเลยว่าลักษณะของการสื่อข้อมูลออกมาไม่ได้เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือเลย ดูได้จากตอนก่อนที่จะโดนญาติผู้ป่วยผลัก คุณโพสว่า "ดิฉันก็พูดอีกว่า " มีอะไรพูดกันดีๆก็ได้ " แล้วญาติผู้หญิงก็เดินรี่เข้ามาผลักดิฉันล้มก้นกระแทกพื้นอย่างแรง รองเท้า นาฬิกาหลุดหมด" ผมไม่เชื่อแน่ๆ เพราะว่าโดนผลักแบบไหนกันจะถึงกับนาฬิกาและรองเท้าหลุดหมด เว่อร์เกินแล้วครับ อีกอย่างตอนที่โดนหัวหน้าพยาบาลอบรม คุณโพสอีกว่า "พูดด้วยเสียงอันดัง" คุณทำให้คนอ่านแบบผมจับได้ว่าอะไรก็ตามที่ไม่ดีกับคุณ คุณจะพยายามขยายความเข้าข้างตัวเอง พยายามทำให้คนอ่านรู้สึกว่าคุณเป็นผู้ถูกกระทำไปซะหมด แต่ตอนตัวเองพูดกับญาติผู้ป่วยก่อนจะโดนผลัก คุณกลับโพสซะเฉยๆ ว่า "มีอะไรพูดกันดีๆได้ " ซึ่งผมคาดว่าตอนนั้นคุณเองก็คงพูดด้วยเสียงอันดังด้วยเช่นกัน ใช่ไหมครับ ( คุณเองก็ยอมรับแล้วนี่ครับว่ากำลังโมโหสุดๆ )แต่ทั้งกระทู้ที่คุณโพสก็ไม่ได้ให้รายละเอียดด้านร้ายของตัวเองบ้างเลย
ที่สำคัญคุณเดินเข้าไปตีเขาอีก 2-3 ที อันนี้ผมว่าไปกันใหญ่แล้วครับ แสดงว่าสถานการณ์ขณะนั้นคุณเองก็ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้เหมือนกัน แล้วแบบนี้จะให้ผมเชื่อที่คุณโพสได้ไงครับ อ่านตอนแรกๆ ผมรู้สึกเหมือนคุณจะเป็นพยาบาลที่สุภาพและใจเย็นซะเหลือเกินนี่ครับ สรุปคือที่คุณเล่ามานี่ผมไม่เชื่อครับ
ถึงแม้ว่าว่าญาติผู้ป่วยคนนั้นเป็นอย่างที่คุณว่าจริงๆ แล้วคุณทำอย่างที่คุณโพสนี่จริงๆ ยังไงการตอบโต้ด้วยการเดินเข้าไปตีคืน 2-3 ทีนี่ยังไงก็ไม่ควรทำแน่ครับ ผมเชื่อว่าการใช้กำลังเพื่อแก้ไขปัญหาไม่ใช่พฤติกรรมของปัญญาชนครับ
การตอบโต้ที่ถูกต้องเพื่อปกป้องศักศรีของพยาบาลที่คุณว่ามานี่น่าจะเป็นการไม่ตอบโต้อะไรแล้วจ้างทนายฟ้องศาลไปเลยครับ





Posted by : กุยแกตามหาโจโฉ , Date : 2005-03-07 , Time : 18:02:09 , From IP : 172.29.4.162

ความคิดเห็นที่ : 16


   หลังคารั่วจนตัวเปียก เขาก็หาว่าทำไมไม่หาที่หลบใหม่ ก้เพราะที่ตรงนี้เป็นบ้านที่เรารัก ถ้าคนในบ้านไม่เข้าใจ แล้วจะให้ใครเขามาเข้าใจ อย่งน้อยๆผู้ใหญ่ที่มีร่มอยู่ในมือน่าจะหยิบยื่นน้ำใจให้กันบ้างนะคะ
โดยส่วนตัวตอนนี้ได้ข้อคิดว่าต้องดูแลตัวเองให้ดีพร้อมทั้งทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด อะไรที่ถึงแก่ชีวิตแล้วค่อยป้องกันตัว


Posted by : วิชาชีพเดียวกัน , Date : 2005-03-07 , Time : 18:49:29 , From IP : 172.29.1.96

ความคิดเห็นที่ : 17


   

เห็นใจพี่เขามากเลย ผู้ตรวจการพยาบาลวันนั้นทำหน้าที่ไม่ดีเท่าที่ควร
ไม่รู้มีไว้ทำไม ผู้ตรวจการพยาบาล พอมีเหตุการเกิดอะไรขึ้นไม่เห็นว่าจะช่วย
อะไรได้เอาตัวรอดอย่างเดียว แถม ยังช้ำเติมคนที่กำลังเสียใจ
ถ้าเหตุการณ์แบบนี้เจอกับผู้บริหารบ้างแล้วจะรู้สึกว่ามันเป็นอย่างไร


Posted by : mame , E-mail : (7485oiuy) ,
Date : 2005-03-08 , Time : 03:37:26 , From IP : 172.29.3.89


ความคิดเห็นที่ : 18


   อย่าว่าแต่กรณีทะเลาะเบาะแว้งกันเลย... ขนาดตอน round ward เห็นอยู่ว่ายุ่งจะตาย แทนที่จะหาทางช่วยเหลือ... กลับรีบเรียกมาถามจำนวนผู้ป่วยหนัก(ทั้งๆ ที่เรากำลังวุ่น)... แล้วท่านก็รีบจากไป...............

Posted by : ... , Date : 2005-03-08 , Time : 18:40:44 , From IP : 172.29.7.187

ความคิดเห็นที่ : 19


   เห็นใจคุณพยาบาลครับ เพราะเดี๋ยวนี้คนไข้และญาติเรียกร้องมากขึ้นจริงๆ
โดนเฉพาะห้องพิเศษ
เราเรียนหมอ เรียนพยาบาลมาเพื่อช่วยเหลือคนอื่น
แต่คนที่เราตั้งใจมาช่วยเหลือเขา กลับมองเราเป็นทาส
เห็นใจจริงๆครับ


Posted by : พชท อีกคน , Date : 2005-03-09 , Time : 00:46:30 , From IP : 172.29.7.128

ความคิดเห็นที่ : 20


   ขอให้กำลังใจพี่พาณีด้วยคน...เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้น
ขอให้ท่านผู้ใหญ่ให้กำลังใจผู้ที่ทำงานด้วย..ไม่ใช่ว่ามาซ้ำเติม
กันอีกโดยเฉพาะหัวหน้าของพี่พาณีก็ควรให้กำลังใจลูกน้องเป็นอย่างมาก
ถึงได้ชื่อว่าเป็นหัวที่ดี...แต่สำหรับผู้ตรวจการพยาบาลวันนั้น
ก็คงจะซ้ำเติมพี่เขาขอให้กรรมตามสนองคนคนนั้นที่ซ้ำเติมคนที่กำลังจะล้มโดยเร็ววันด้วยเถิด


Posted by : hfdy , E-mail : (1407) ,
Date : 2005-03-09 , Time : 03:44:33 , From IP : 172.29.3.89


ความคิดเห็นที่ : 21


   เป็นสถานการณ์อันละเอียดอ่อนอย่างยิ่งและเป็นกรณีศึกษาให้กับอีกหลายๆ คน
โดยเฉพาะเราจะมี ward ที่รับเรียกง่ายๆ ว่า VVIP บางคนมีเงินแล้วมีการศึกษามีมารยาทความเป็นผู้ดี คนเหล่านี้น่ารักมาก แต่ว่าคนบางคนโดยสันดานไม่ดีอยู่แล้ว
พอมาป่วย มาเครียดก็ทำให้เค้าแสดงออกไม่ดีออกมาได้ เราต้อง contact กับทุกระดับ ดังนั้นต้องหนักแน่นมั่นคง ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรโต้ตอบเด็ดขาด การไปใช้กำลังกลับไม่ได้กู้ศักดิ์ศรีของเราคืนมาเลย แต่กลับทำให้ดูเหมือนว่าเรากับเขาไม่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็เห็นใจพี่ภาณีมาก ขอให้ทำงานต่อไปด้วยกำลังใจที่ดี
ให้คิดว่ามีเพื่อนร่วมวิชาชีพและแม้แต่หมอก็ให้กำลังใจอย่างเหลือเฟือ
คิดว่าถ้ามีกรณีคล้ายๆ แบบนี้อยากให้พวกเราใช้สติดีๆ ให้คนอื่นช่วยพูดถ้าเรากำลังโกรธด้วย โดยเฉพาะหัวหน้าเรา ให้เค้าช่วยพูดไปเลย เป็นหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว


Posted by : kl , Date : 2005-03-09 , Time : 13:31:30 , From IP : 172.29.1.183

ความคิดเห็นที่ : 22


   OK เวลาผ่านไปสองสามวัน ทุกฝ่ายคงจะ cool down ลง เราลองมาช่วยกันเรียนรู้เหตุการณ์และหาทางป้องกันเรื่องแบบนี้กันดีกว่านะครับ

เอาบริบทก่อน อาชีพของพวกเรานี่ high risk ครับ ต้องตระกนักเรื่องนี้ไว้เลยว่าพวกเราทุกคนไม่ว่าหมอ พยาบาล หรือแม้กระทั่ง นศพ. นักเรียนพยาบาล Orderly คนเข็นเปล พวกเราอยู่ใน front line ที่มีความเสี่ยงสูง เพราะเหตุผลสองสามประการ

๑) อาชีพของเรา "โดยเนื้องาน" ลุกล้ำ autonomy ของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยตระหนักเรื่องนี้ และตามปกติจะยอมเพราะ "ประโยชน์" ที่ได้ หรือหวังว่าจะได้ คือหายจากโรคและความทุกข์ทรมานต่างๆ
๒) ความเสี่ยงนี้ถูกทำให้เป็นเรื่อง "คุกคามได้" โดยสิ่งแวดล้อมและสังคมในปัจจุบัน แต่เดิมน้อยกว่านี้ เริ่มเยอะขึ้น ส่วนจะกลายเป็นแฟชันหรือไม่ คงต้องลองคอยดู แต่ threshold เรื่องนี้ถูกทำ artificially ให้ลดลงเรื่อยๆโดย "ระบบ" ไม่ใช่โดย opportunisitc เราจึงเห็น "ความเร่ง" ชัดเจนขึ้น
๓) ข้อสำคัญคือ ผู้ป่วยและญาติ ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะ sense ภาวะคุกคามต่างๆเป็นพิเศษ เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นกัดกิน self ไปพร้อมๆกับร่างกาย

เรื่องอะไรที่ "เสี่ยงสูง" มาตรการที่ใช้คือ "ป้องกัน" เพราะกว่าจะแก้ไข เหตุการณ์ลุกลามมักจะเกิดไปแล้ว

วิธีป้องกัน

๑) early detection เมื่ออุณหภูมิขึ้น ในที่นี้คือ "อารมณ์" ของผู้ป่วยและญาติ ตอนที่ทั้งสองฝ่ายยังใช้ตรรกะได้นั้น OK ครับ แต่อย่างที่เราถูกอบรมมาหลายครั้งโดยอ.อานนท์ การรับรู้และแปลผลนั้น ใช้สองอย่างคือ think กับ feel หรือ cognitive กับ emotion หรือ ปัญญา กับ อารมณ์ และพฤติกรรมก็จะออกมาตามแรงผลักหลังจาก "ผลรวม" ของทั้ง thought กับ feeling นี้เข้าสมการกัน และทางที่ดีเราต้อง early detection การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์นี้ทั้งของผู้ป่วยและญาติ กับของ "ตัวเราเอง" ด้วย

ใน case เรื้อรัง ระยะสุดท้าย หรือ life-threatening disease ผู้ป่วยและญาติจะเครียดมาก และจะ hypersensitive กว่าปกติต่ออะไรที่จะมา "กวน" ผมไม่ได้พูดเรื่อง "ควร" หรือ "ไม่ควร" นะครับ แต่พูดถึง natural reaction ของคนธรรมดาๆ รวมทั้งตัวเราเวลาเปลี่ยนบริบทเป็นเจ็บไข้ได้ป่วยด้วย บางครั้งผู้ป่วย delirium จะมีการดุด่าญาติขนาดรุนแรงโดยไม่รู้ตัว พยาบาลหมอเองก็เคยโดนลูกหลง หัวหน้าทีมต้องคอยตรวจสอบลูกทีมว่ายังอยู่ดีไหม ว่าเอาอารมณ์มาค้างในสมองหรือไม่ ข้อสำคัญบางทีเราอภัยให้คนไข้ง่ายๆโดยงานอาชีพของเรา แต่เราไม่ใคร่ให้อภัยญาติ แต่ญาตินั้นเครียดไม่แพ้หรืออาจจะเท่าหรือมากกว่าผู้ป่วยซะอีก โดยเฉพาะครอบครัวที่มี inappropriate adaptation หรือ inappropriate cohesion

เมื่อเรา early detection ได้ เราต้อง "สลาย" precipitating factors ต่างๆลงโดยเร็วที่สุด บางทีรวมทั้งการบอกให้ญาติคนที่กำลัง suffer ทางอารมณ์คนนั้นให้ไปพักผ่อนก่อน

๒) Dissolve confrontation ถ้า early detection ไม่ทัน หรือสลาย precipitation ไม่ได้ (เพราะบางอย่างมันก็บอกไม่ได้ พยากรณ์ไม่ถูก) เราต้องหลีกเลี่ยงการ confrontation เพราะ "อารมณ์" นั้นมันไม่เข้าใครออกใคร ขึ้นอยู่กับพื้นฐาน maturity ทาง EQ ทางพฤติกรรมที่ common practice ของปัจเจกบุคคล เราไม่รู้เลยครับว่าผู้ป่วยและญาติที่มีอารมณ์นั้นจะมาไม้ไหน หรือจะสามารถคาดหวังการแสดงออกที่ควบคุมดีเสมอไปได้รึเปล่า ทางที่ดีต้อง "ดึงตนเอง" ออกจากสถานการณ์เผชิญหน้าทันทีที่จะเกิดปัญหา เดินหลบเข้าห้องพัก เรียกคนมาช่วย (เป็นการดึง super-ego หรือ พลังสังคมมา ผู้ป่วยหรอญาติที่กำลังใช้อารมณื อาจจะถูก balance ด้วย ตรรกะทัน ถ้าบุคคลที่สามมามากพอ) บางทีเราต้องตระหนักว่าเราอาจจะอยู่ใน "สมการอารมณ์" ของผู้ป่วยและญาติโดยเราไม่รู้ตัว การแก้ไขโดยเอาตัวเราออกมา ทำให้เขาเกิดสมดุลทางตรรกะมาเอาชนะ emotion ที่กำลังพลุ่งพล่านลงได้

๓) ถ้าหลบไม่ทัน โดน Involve ใน confrontation ตรงนี้แหละยากมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะพวกเราก็มีอารมณ์เหมือนกัน คุมไม่อยู่เป็นใครก็มีจุดหลุดได้ครับ ในอุดมคติคือถึงแม้จะดดนหางเลขไปเรียบร้อย ก็ยังควบคุมตนเองได้ และถอนตัวออกมาอย่างสง่างาม แต่มันจะขึ้นกับหลายอย่าง สภาวะมั่นคงของอารมณ์ของเราเองในบริบทนั้น (เช่นคุมอย่างหนักมาหลายวัน หลาย episode แล้ว) ความรุนแรงที่ provoke เราในขณะนั้น (เช่น แค่ด่ากระทบกระแทก ด่าแม่ หรือระดับลงไม้ลงมือ) ที่สุดถ้ามันเกิน balance ของเราก็เสร็จครับ ทางที่ดีที่สุดภาวนาอย่าให้เราต้องถูดทดสอบในระดับสามนี้เลย

ผมไม่วิจารณ์ผลลัพทธ์ของเรื่องนี้เพราะสองเหตุผลครับ หนึ่งคือผมหวังว่าพวกเราทุกฝ่ายพอใจเย็นลง จะมีมุมมองที่เปลี่ยนไปจากตอนที่เรายังมีอารมณ์ใหม่ๆ และสองคือเราไม่มีโอกาสที่จะรู้ว่าบริบทจริงเป็นอย่างไร ไม่ได้หมายความว่าผมไม่เชื่อใคร หรือหาว่าใครพูดไม่จริงนะครับ เหมือนเรื่อง Rashomon คือ "เรื่องจริง" คือเรื่องที่เรา "รับรู้" ซึ่งมันมาจาก "บริบท" มาจาก "past experience" ที่เราคนนอกไม่มีทางแล้วที่จะสืบค้นในรายละเอียด ดังนั้นป่วยการที่จะมาขุด "ความจริงแท้แน่อน"

เอาเป็นว่าพวกเราร่วมกัน "เรียนรู้" จากเหตุการณ์นี้ และป้องกันในอนาคต และแสดงความเห็นใจแก่ผู้ที่ทุกข์จากเหตุการณ์นี้ทุกฝ่ายดีกว่าครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-09 , Time : 20:11:00 , From IP : 172.29.7.111

ความคิดเห็นที่ : 23


   ผมเผลอใช้ technical terms ไปสองคำคือ Adaptation กับ Cohesion ขออนุญาตขยายความหน่อยก็แล้วกัน
==========================================

Adaptability and Cohesion of Family

โครงสร้างของครอบครัวในบทบาทสนับสนุนการรักษาอาจจะพิจารณาดูในสองประเด็นคือ adaptability หรือความสามารถในการจำแนกบทบาททั้งภายในและภายนอก กฏระเบียบหรือแผนการดำรงชีวิต ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง และ cohesion หรือระดับของพันธะทางอารมณ์ของครอบครัวต่อสถานการณ์ผู้ป่วย

ทั้งสองอย่างสามารถมีการปรับตัวที่ไม่ดีหรือผิดปกติได้ เช่น ครอบครัวที่มีการปรับตัวได้น้อยเกินไป (rigidity) หรือมากเกินไป (chaotic) ครอบครัวที่ rigidity จะคงยืนยันใช้อยู่วิธีเดียวในการจัดการกับภาวะเครียดหรือปัญหาต่างๆแม้ว่าจะไม่ได้ผลแล้วก็ตาม ส่วนครอบครัวอีกสุดโต่งหนึ่งหรือ chaotic ก็จะไม่มีรูปแบบและโครงสร้าง วิธีการจัดการกับความเครียดหรือปัญหาก็จะเป็นการทดลองวิธีใหม่อยู่ตลอดเวลา บทบาทของสมาชิกในครอบครัวต่อผู้ป่วยไม่มีความแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวแบบหลังนี้อาจจะแสดงออกมาในพฤติกรรมเรียกร้องต่อทีมผู้ให้การรักษาอย่างมากมายทั้งเวลาและกิจกรรมกับตัวผู้ป่วย ก่อให้เกิดความลำบากต่อทีมขึ้นได้

ในกรณีเรื่องของ cohesion หรือสภาวะอารมณ์ของญาติ ญาติบางครอบครัวก็จะมีภาวะ low cohesion (disengagement) แสดงออกโดยการที่ไม่มีความเชื่อมโยง สัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกของครอบครังเลยหรือมีน้อยมาก ไม่มีคนหลักที่จะทุ่มเทให้แก่ผู้ป่วย ทีมผู้ให้การรักษามักจะไม่สามารถพึ่งระบบสนับสนุนจากครอบครัวแบบนี้ได้ หรือแม้กระทั่งในภาวะที่ต้องการการตัดสินใจ (decision-making process) แต่ในทางตรงกันข้าม ครอบครัวที่มี high cohesion (enmeshment) อาจจะเกิดความสับสนของความสัมพันธ์ภายในสมาชิกของครอบครัว ทีมผู้ให้การรักษาอาจจะสังเกตเห็นว่าสมาชิกของผู้ป่วยบางรายถูกกระทบจากกอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยเกือบทุกด้านในดีกรีไม่น้อยกว่าตัวผู้ป่วยเองเลย ไม่สามารถจะมองอย่าง objectively ถึงทางเลือกในการรักษาต่างๆ จนบางทีออกมาในลักษณะ over-protection หรือตอบคำถามตัดสินใจต่างๆแทนตัวผู้ป่วยทั้งๆที่ผู้ป่วยสามารถหรือกำลังถูกกระตุ้นในแสดงความจำนงค์มีส่วนร่วมในการรักษามากขึ้น

Quoted มาจากหนังสือ "คืนสู่เหย้า กลับเข้าสู่สังคม" สกล สิงหะ, ลักษมี ชาญเวชน์ บรรณาธิการ




Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-09 , Time : 20:35:58 , From IP : 172.29.7.111

ความคิดเห็นที่ : 24


   ว่ากันเรื่องแนวทางป้องกัน น่าสนใจนะ
เราควรต้องรู้ให้เท่าทันต่อ anger game ที่คนเราถูกวางหมากไว้โดยlimbic systemทั้งของเรา และของคนไข้หรือญาติ ที่สำคัญเมื่อรู้เท่าทันแล้วก็อย่าหลงลงไปเล่นanger game ตอบ เพราะจะเสียหายทั้งหมด ก็คงต้องฝึกinhibitว่างั้นเถอะ
ถ้าโกรธ หรือขัดใจใคร ถ้ารู้ล่วงหน้าก็หาทางเอามันออกก่อนที่มันจะเพิ่มพูน และสะสมจนขยายใหญ่ ที่สำคัญมันจะไปขยายเรื่องในปัจจุบัน เรื่องที่เล็กๆก็เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ไปเสียอย่างงั้นแหล่ะ คนอื่นมาฟังเรื่องแบบนี้ก็จะงง ว่าไม่เห็นมีอะไรน่าโกรธกันเลย ที่นี้เราก็ขัดใจกันไปอีก
ต้องมีความสามารถที่จะdetectว่าขณะนี้คนที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วยอยู่ในอารมณ์ไหน เครียดไหม โกรธ หรือหงุดหงิดอยู่ไหม เราจะได้ไม่พลั้งเผลอไปกระตุ้นอารมณ์ของเขาที่มันครุกรุ่นอยู่ให้ลุกโชน ที่สำคัญ anger gameนั้นก็จะไม่มีใครสานต่อเกมส์ก็ยุติ
แต่ว่า ยากเหมือนกันนะการบริหารอารมณ์ให้สร้างสรรค์ แต่ว่าก็น่าลองทำเหมือนกันนะ


Posted by : pisces , Date : 2005-03-09 , Time : 22:12:53 , From IP : 172.29.7.183

ความคิดเห็นที่ : 25


   ผู้ให้บริการผิดเสมอ ผู้ป่วยคือลูกค้าที่สำคัญเสมอ จำจนขึ้นใจเลย

Posted by : ปกป้อง , Date : 2005-03-10 , Time : 02:48:38 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 26


   ถ้าต้องเป็นอย่างนี้ต่อไปคงบั่นทอนกำลังใจในการทำงานมากขึ้น เชื่อค่ะว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงแต่จะรุนแรงแค่ไหนไม่แน่ใจ แต่ถ้าเราเจอแบบนี้กันอีก ถอยออกมาก่อนดีกว่าค่ะ ไม่ใช่ยอมแพ้ แต่ไม่มีประโชน์ที่จะสู้ ร้อนทั้งคู่ยิ่งโหมแรงเข้าไปอีก รอให้เย็น หรือให้คนอื่นที่เย็นกว่าเราไปแทนอาจจะดีกว่านี้ก้ได้ เพราะเท่าที่อ่าน เหตุการณ์ก็เริ่มตั้งเมฆทะมึนมาตั้งแต่แรกแล้ว หลบฝนให้เย็นชื่นใจก่อนดีกว่านะ ยังเป็นกำลังใจให้ ผิดเป็นครู

Posted by : jang , Date : 2005-03-10 , Time : 04:16:22 , From IP : 172.29.1.151

ความคิดเห็นที่ : 27


   ในยุคปัจจุบัน Emotional control สงสัยจะไม่เพียงเป็นแค่ "ควรทำ" ซะแล้ว แต่จะกลายเป็น "ต้องทำ"

ในความหมายของ professionalism ที่โรงเรียนแพทย์กำลังวิเคราะห์ กำลังหาทางแจกแจงว่ามันคืออะไร และมันประกอบด้วยอะไรบ้าง เมื่อนำมาจัดลงหลักสูตรการฝึกอบรมทั้งแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสุขภาพ เราต้องนำเอา "บริบทของสังคม" มาเป็นส่วนหนึ่งของตัวตั้งด้วยเสมอ และดูซิว่าบัณฑิตของเราที่จบออกไปนั้น เราได้ equip ติดตั้งเขา ให้อาวุธเขาเพียงพอที่จะยืนหยัดอยู่ได้หรือไม่หลังจากออกจากอ้อมอกเราไป

สิ่งที่จำเป็นใน "ยุคนี้" สองสามอย่าง อย่างแรก "ความรู้เรื่องกฏหมาย" มีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ และเข้าเกียร์สูงอยู่ในขณะนี้ อัตราเร่งในการที่กฏหมายมีบทบาทและผลกระทบต่ออาชีพเราถูกผลักดันโดย "ระบบ" จากแต่เดิมเป็น opportunistic cases แต่จากจำนวน case ฟ้องร้องที่กองทับถมรอคิวที่แพทยสภา กำลังจะกลายเป็น trendy หรือแฟชั่น
เรื่อง informed consent
เรื่อง confidentiality
เรื่อง Patient right
เรื่อง Euthanasia, assisted suicide
เรื่อง autonomy
แต่ละเรื่องมีประเด็นที่ยังไม่ได้รับการ addressed อย่างจริงจัง และมีโอกาสเกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้มากมาย เช่น การวินิจฉัยโรค aids ควรจะหรือสามารถบอกครอบครัวได้หรือไม่ จะเป็นการ breach confidentiality หรือไม่ แค่ไหน เรื่องสิทธิทางกฏหมายของผู้ปกครองที่มีความเชื่อ เช่น การสูญเสียผ่าตัดอวัยวะภายนอกเป็นของต้องห้าม เราจะทำอย่างไรถ้าผู้ปกครองจะ exercise adoptive authority ถ้ากรณีเกิดขึ้นกับลูกของครอบครัวนี้ที่มีปัญหา life-threntening infected limb ที่ตัดขาก็รอด ไม่ตัดก็ตาย?

มันจะมาเกี่ยวโยงกับประเด็นในกระทู้นี้ครับ เพราะขนาดคดีที่ว่าเยอะขึ้นๆนี้ มันเป็นแค่ tip of the iceberg เท่านั้น กรณี malpractice หรือความขัดแย้งระหว่างทีมรักษาและผู้ป่วยกับญาติมันโผล่มาไม่ถึง 5% ของที่ที่สามารถเป็นคดีได้ ที่ 95% ยังไม่เกิด ยังถูกยันเอาไว้อยู่ได้ ก็เพราะ care-team/patient-relatives relationship เท่านั้น และตรงนี้จากงานวิจัยสิ่งที่เป็นฟางเส้นสุดท้ายที่จะทำลายด่านนี้ลงที่พบบ่อยที่สุดคือ ANGER ครับ

ฉะนั้น emotional control หรือ anger control นี้จำเป็นสำหรับวิชาชีพเราอย่างมาก ของอะไรที่มีความเสี่ยงสูง และผลกระทบจากความเสี่ยงนั้นๆรุนแรง เราไม่มีทางเลือกอื่นครับ ต้องป้องกันไม่ให้มันเกิด จะมีกองทุนจ่ายสินไหม จะมีประกัน malpractice ยังไงๆ มันจะเป็น bottomless pit ถมเท่าไหร่ไม่รู้จักเต็ม จากความเสี่ยงและดีกรีของผลกระทบ เรา ต้องรักษาตัวเราให้ปลอดโรคนี้ ให้ได้ ถ้าจะพูดแบบ exaggerate (แต่ตรงกับความจำเป็น) ก็คือ แพทย์ พยาบาล ต้องควบคุมอารมณ์ได้เหนือมนุษย์ธรรมดาตามเกณฑ์เฉลี่ยนั่นเอง

เหมือนกับบางอาชีพที่ค่ากรมธรรม์ประกันชีวิตจะสูงกว่าปกติเพราะเสี่ยงสูงกว่านั่นแหละครับ เช่น ใครเป็นนักแข่งรถ formula1 ใครเป็นนักกีฬา X-games ใครเป็นนักขี่ม้า พวกนี้จะมีกรมธรรม์สูงกว่าคนประเภท อายุ 40 ปี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาชีพเลี้ยงเด็ก การศึกษาใช้ได้ เป็นต้น และใครเสี่ยงด้านไหนมาก ก็แปลว่าต้องมีการฝึกอบรม ต้องฝึกความชำนาญด้านนั้นมากๆเป็นพิเศษ

สรุปคือ จาก threat ของสังคมในปัจจุบัน EQ, emotional control, anger management น่าจะอยู่เป็น mandatory curriculum หรือ professional competency ของบุคลากรสุขภาพรุ่นใหม่ครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-10 , Time : 10:54:16 , From IP : 172.29.3.238

ความคิดเห็นที่ : 28


   เอ้อหนาดจายจังน้องเห้อแตถ้าเปงเพ่เพ่ก็คงตบกับ

Posted by : oooo , E-mail : (;;;) ,
Date : 2005-03-10 , Time : 12:44:59 , From IP : 172.29.3.191


ความคิดเห็นที่ : 29


    เมื่อมีปัญหา การถกเถียงกันระหว่าง เจ้าหน้าที่ กับ ผู้ป่วย/ญาติ สิ่งที่ดี- ดีที่สุดสำหรับเรา(เจ้าหน้าที่) คือ สงบ ออกมาซะไม่สมควรที่จะอยุ่ไปในเหตุการณ์นั้นเลย เพราะทุก ทุกการเคลื่อนไหวของเราล้วนแต่ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้าย และส่งผลกระทบในทางลบกับเราทั้งนั้น

ในขณะที่อารมณ์ของ 2 ฝ่ายกำลังคุกรุ่นน่าจะมีใครสักคน เช่น incharge /sup/ใครคนใดที่มีศักยภาพพอ เป็นคนไกล่เกลี่ย ไม่น่าจะให้พี่เค้าเข้าไปในสถานะการณ์นี้อีก

ผู้ป่วย ญาติอาจต้องการแค่ Competence ,Concern ,Communication (: Sheryl martin) จากเรา แต่เราก็จำเป็นต้องมีความสามารถพิเศษบางอย่าง เห็นอยู่ว่าคนนี้ต้องมีอะไรแน่ๆ ถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยงมาซะ ปัญหาจะได้ไม่เกิด


Posted by : PINK DRAGON , Date : 2005-03-11 , Time : 03:49:18 , From IP : 172.29.3.89

ความคิดเห็นที่ : 30


   
น่ากลัวมากเลยพี่เก่งมากที่ทำไปขนาดนั้น ถ้าพี่ควมคุมอารมณ์ไม่อยู่เกิดฆ่าเขาตายเรื่องราวคงใหญ่โต ถ้าโดนตีทางอารมณ์แบบนี้ให้ยืนนิ่งๆแล้วร้องให้อย่างเดียวห้ามพูดอะไรทั้งนั้นเดินออกมาพุบและร้องให้ดังๆที่เคาร์เตอร์ใครถามอะไรให้สั่นหัวแล้วร้องไห้ดังๆจำเคร็ดไว้คือห้ามพูดโดยเด็ดขาด ถ้าถามมากให้ร้องไห้ดังๆแล้วพี่จะมีความสงบในจิตใจ....ทุกอย่างจะคลี่คลาย... แต่พี่ห้ามพูดหรือเล่าให้ใครๆฟังโดยเด็ดขาด จำไว้ว่าห้ามพูดหรือเล่าให้ใครๆฟังโดยเด็ดขาดมิฉะนั้นพี่จะโดนทำลายจากสี่งนั้นอย่างน่ากลัว....อย่างน่ากลัว......ความเกลียดชังจะทำลายอย่างไม่รู้จบ....ขอบคุณ


Posted by : อินทรีย์ , Date : 2005-03-12 , Time : 11:29:16 , From IP : 172.29.7.130

ความคิดเห็นที่ : 31


   หัวหน้าคงสอนดีลูกน้องเลยได้รับประสพการณ์ที่น่าจดจำ ไม่นานหัวหน้าคงได้รับบ้าง


Posted by : ประสพการณ์ จากฉบ10 , Date : 2005-03-13 , Time : 23:42:43 , From IP : 172.29.7.60

ความคิดเห็นที่ : 32


   หัวหน้าคงสอนดีลูกน้องเลยได้รับประสพการณ์ที่น่าจดจำ ไม่นานหัวหน้าคงได้รับบ้าง


Posted by : ประสพการณ์ จากฉบ10 , Date : 2005-03-13 , Time : 23:43:11 , From IP : 172.29.7.60

ความคิดเห็นที่ : 33


   คุณโจโฉสงสัยจังว่าคุณเป็นใครจึงได้ไร้ความรู้สึกสิ้นดี ที่พี่เค้าพูดน่ะเพราะน้อยใจที่หัวหน้าไม่ปกป้องดูแลก็ลองสังเกตดูสิผู้ตรวจการน่ะวันๆทำอะไรกันบ้างไม่ได้ไปสัมผัสเหตการเองนี่จึงไม่โกรธ น่าจะให้ความมั่นใจกับลูกน้องบ้างหรือกลัวญาตคนไข้เตะซึ่งจากเหตการวันนั้นคนที่่เห็นแก่ตัวที่สุดน่าจะเป็นญาติผู้ชายถ้าแกไม่ขี้เกียจจนเกินไปให้การช่วยเหลือบ้างเพราะคูณมาเผ้าไข้ไม่ใช่มานอนเฉยๆเรื่องนี้ก็ไม่เกิดรึว่าคุณโจโฉคือญาติคนนั้น

Posted by : คนในคณะแพทย์ , Date : 2005-03-24 , Time : 01:12:51 , From IP : 172.29.7.165

ความคิดเห็นที่ : 34


    เห็นใจพี่พยาบาลมากๆ ค่ะ ขอส่งกำลังใจที่ตัวเองมีอยู่ให้พี่นะ อยากบอกพี่ว่า
อย่าให้สิ่งใดๆ มาทำลายความคิดดีๆ ความตั้งใจทำงาน และรักในงานที่ทำนะค่ะ ... เพื่อสังคม เพื่อส่วนรวม เพื่ออุดมการณ์ของเรา สักวันหนึ่งสิ่งเหล่านั้นจะกลับมาแทนความเสียใจที่เจอในคราวนี้ ยังงัยมีคนไข้/ญาติที่ไม่ดี แต่เราก็ยังเจอ
คนไข้/ญาติที่ดีๆ อีกตั้งหลายคน ทำให้เราเองมีกำลังใจมากขึ้น เพื่อนร่วมงานที่
คอยเป็นกำลังใจให้อยู่ตั้งมากมาย







Posted by : เถ้าแง้ , Date : 2005-05-11 , Time : 17:11:28 , From IP : 172.29.2.141

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.014 seconds. <<<<<