ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

แพทย์ ม. นเรศวร รับโควต้าพื้นที่คนภูมิลำเนาเหนือ รับ 60 คน


   รับตรงแพทย์ นเรศวร เฉพาะ คนภาคหนือ 60 คน เจ้าของกระทู้ ลบกระทู้ที่นี่ X
ระเบียบการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษา
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ประเภทรับตรงพิเศษ
ปีการศึกษา 2548
โครงการผลิตแพทย์เพิ่มของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข
(โครงการเร่งรัดผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท)
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


ประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร
เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษา
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ประเภทรับตรงพิเศษ ปีการศึกษา 2548
โครงการผลิตแพทย์เพิ่มของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข
(โครงการเร่งรัดผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท)
------------------------------
ด้วยมหาวิทยาลัยนเรศวร จะดำเนินการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ประเภทรับตรงพิเศษ ปีการศึกษา 2548 ตามโครงการผลิตแพทย์เพิ่มของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข (โครงการเร่งรัดผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อให้โอกาสการเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยนเรศวร แก่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ เทียบเท่า
1.2 เพื่อช่วยเร่งรัดผลิตแพทย์เพิ่มตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ให้เพียงพอแก่ความต้องการของพื้นที่ที่ขาดแคลน และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและ
ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งการส่งเสริม การป้องกัน การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพของประชากร

2. กลุ่มเป้าหมาย และสถานที่การจัดการเรียนการสอน
ผู้ที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ที่มี
ภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัด พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร พะเยาและสิงห์บุรี โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกได้เข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตร-บัณฑิต โครงการผลิตแพทย์เพิ่มของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข (โครงการเร่งรัดผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท) ในชั้นปีที่ 1-3 จะเรียนรายวิชาระดับเตรียมแพทย์ และ ปริคลินิก (PRE-MED และ PRE-CLINIC) ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร สำหรับในชั้นปีที่ 4-6 จะเรียนรายวิชาระดับคลินิก (CLINIC) ณ สถาบันวิจัย
ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และ/หรือ โรงพยาบาลที่มหาวิทยาลัยกำหนด

3. จำนวนรับ
จำนวนรับทั้งสิ้น 60 คน

4. คุณสมบัติของผู้สมัคร
4.1 เป็นผู้กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ เทียบเท่า
4.2 มีสัญชาติไทย และ อยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
4.3 เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัด พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร พะเยา และ สิงห์บุรี ทั้งนี้ ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548
4.4 เป็นผู้ที่ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคสังคมรังเกียจ หรือ โรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
4.5 เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนเต็มความสามารถ และจะปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด
4.6 ต้องไม่เป็นผู้ที่กำลังศึกษาเกินกว่าชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เว้นแต่จะได้ลาออกจากสถาบันอุดมศึกษานั้นเสียก่อน
4.7 ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาขอศาลถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในกรณีความผิด
อันกระทำโดยประมาทหรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
4.8 ต้องเป็นผู้มีคะแนนจากการสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
โดยคะแนนดังกล่าวต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี และแต่ละวิชาต้องไม่น้อยกว่า 30 คะแนน ในวิชาดังต่อไปนี้
- รหัส 01 วิชาภาษาไทย
- รหัส 02 วิชาสังคมศึกษา
- รหัส 03 วิชาภาษาอังกฤษ
- รหัส 04 วิชาคณิตศาสตร์ 1
- รหัส 05 วิชาเคมี
- รหัส 06 วิชาฟิสิกส์
- รหัส 07 วิชาชีววิทยา

5. คุณสมบัติเฉพาะ
5.1 ต้องมีคุณสมบัติที่จะเข้ารับราชการได้หลังจากจบการศึกษาแล้ว
5.2 เมื่อสำเร็จการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว จะต้องผ่านการสอบขึ้นทะเบียน เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่แพทยสภาจัดสอบ
5.3 ก่อนเข้าศึกษาต้องสามารถทำสัญญาผูกพันฝ่ายเดียวหรือสัญญาปลายเปิด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 คือ เป็นสัญญาที่กำหนดหน้าที่ของผู้รับทุนที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาการจัดสรรฯ แต่ไม่ผูกพันให้ส่วนราชการต้องบรรจุเข้ารับราชการหรือเป็นพนักงานในหน่วยงานของรัฐ
5.4 ต้องไม่เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หรือ ประเภทวิชาเตรียมแพทย์ ของสถาบันใดสถาบันหนึ่ง ยกเว้นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
5.5 ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
5.5.1 มีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและปฏิบัติงาน
5.5.2 มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง ได้แก่ โรคจิต (psychosis) โรคประสาทรุนแรง(severe neurosis) หรือโรคบุคลิกภาพแปรปรวน รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
5.5.3 โรคติดต่อในระยะอันตราย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อาทิ โรคเรื้อน โรคเท้าช้าง
5.5.4 โรคไม่ติดต่อหรือภาวะที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและประกอบวิชาชีพเวชกรรม เช่น โรคลมชัก โรคหัวใจระดับรุนแรง โรคความดันโลหิตสูงรุนแรง ภาวะไตวายเรื้อรัง โรคติดสารเสพติดให้โทษ
5.5.5 ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง
5.5.6 ความผิดปกติในการเห็นภาพ
5.5.7 หูหนวกหรือหูตึง(threshold ของการได้ยินสูงกว่า 40 dB) จากความผิดปกติทางประสาทและการได้ยิน(sensorineural hearing loss)ถ้าได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น
5.6 มีประสบการณ์ศึกษาดูงานในโรงพยาบาล และ สามารถส่งผลการประเมินประสบการณ์ศึกษาดูงาน ดังกล่าว ให้มหาวิทยาลัยได้ ในวันที่ 28 มีนาคม 2548

6. การซื้อระเบียบการและวิธีการสมัคร
6.1 การซื้อระเบียบการ (ราคาชุดละ 50 บาท)
ซื้อด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ -18 มีนาคม พ.ศ.2548
ณ งานรับเข้าศึกษา กองบริการการศึกษา
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

6.2 วิธีการสมัคร (ค่าสมัคร 200 บาท)
สมัครด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม พ.ศ.2548
ณ งานรับเข้าศึกษา กองบริการการศึกษา
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร

7. หลักฐานประกอบการสมัคร
7.1 ใบสมัครตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด
7.2 ใบแสดงคุณวุฒิการศึกษา พร้อมสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
7.3 สำเนาบัตรประจำตัวผู้สมัครสอบ (สกอ.3) ของสำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา จำนวน 1 ฉบับ แนบกับใบสมัครสอบ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
7.4 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน (รับรองสำเนาถูกต้อง)
7.5 รูปถ่าย จำนวน 2 รูป เย็บด้วยลวดเย็บกระดาษ ติดกับใบสมัครสอบ
7.6 ซองจดหมาย 1 ซอง ที่จ่าหน้าซองของผู้สมัคร(สำหรับแจ้งผลการคัดเลือก)

8. องค์ประกอบในการคัดเลือกและการตัดสินผล
8.1 องค์ประกอบในการคัดเลือก แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ รวมทั้งสิ้น 1400 คะแนน ประกอบด้วย
8.1.1 ผลการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(GPAX)น้ำหนัก 10%(140 คะแนน)
8.1.2 คะแนนจากการสอบวัดความรู้ฯ 7 รายวิชา ได้แก่ 01 วิชาภาษาไทย 02 วิชาสังคมศึกษา 03 ภาษาอังกฤษ 04 วิชาคณิตศาสตร์ 1 05 วิชาเคมี 06 วิชาฟิสิกส์ 07 วิชาชีววิทยา น้ำหนัก 50 %(700 คะแนน)
8.1.3 การสอบสัมภาษณ์ ทดสอบทัศนคติ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิด
วิเคราะห์ นำหนัก 40 %(560 คะแนน) สำหรับการตรวจร่างกาย ทดสอบจิตเวช และประสบการณ์ศึกษาดูงานในโรงพยาบาล นั้น จะพิจารณาผลเป็น ”ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” เพื่อนำผลไปร่วมกับการตัดสินผลการคัดเลือกต่อไป
8.2 การตัดสินผล แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
8.2.1 การตัดสินผลข้อเขียน จะพิจารณาจาก 2 องค์ประกอบ คือ (840 คะแนน)
- ผลการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) 140 คะแนน
- คะแนนจากการสอบวัดความรู้ฯ 7 รายวิชา ได้แก่ 01 วิชาภาษาไทย
02 วิชาสังคมศึกษา 03 ภาษาอังกฤษ 04 วิชาคณิตศาสตร์ 1 05 วิชาเคมี 06 วิชาฟิสิกส์
07 วิชาชีววิทยา 700 คะแนน
มหาวิทยาลัย จะนำผลการเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 (GPAX) มาแปลงเป็น
คะแนน และนำไปรวมกับ คะแนนจากการสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ของผู้สมัครที่สอบไว้ รวมทั้งสิ้น 7 รายวิชา เพื่อคัดเลือก
ผู้ผ่านข้อเขียน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยตามจำนวนที่มหาวิทยาลัยกำหนด และประกาศรายชื่อให้เป็นผู้ผ่านข้อเขียน ทั้งนี้ ผู้ผ่านข้อเขียนนี้ ยังไม่ใช้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษา
ในหลักสูตรที่กำหนด แต่จะเป็นเพียงผู้ที่มีสิทธิ์เข้ารับการตรวจร่างกาย ทดสอบจิตเวช ตรวจสอบผลการมีประสบการณ์ศึกษาดูงานในโรงพยาบาล และ สอบสัมภาษณ์ ทดสอบวัดทัศนคติ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิดวิเคราะห์ เท่านั้น
8.2.2 การสอบสัมภาษณ์ ทดสอบวัดทัศนคติ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิด
วิเคราะห์ น้ำหนัก 40% (560 คะแนน)
อนึ่ง ผลการตรวจร่างกาย การทดสอบจิตเวช และ การมีประสบการณ์ศึกษา
ดูงานในโรงพยาบาล ทั้ง 3 รายการนั้น จะพิจารณาผลเป็น “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” หากผลการตรวจร่างกาย การทดสอบจิตเวช และการมีประสบการณ์ศึกษาดูงานในโรงพยาบาล รายการใดรายการหนึ่ง “ไม่ผ่าน” ให้ถือว่าเป็นผู้ไม่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษา
มหาวิทยาลัย จะนำผลคะแนนจาก 3 องค์ประกอบ (1400 คะแนน) ของผู้ที่มีผล
การตรวจร่างกาย การทดสอบจิตเวช และมีประสบการณ์ศึกษาดูงานในโรงพยาบาล “ผ่าน” ทั้ง 3 รายการ มาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยเพื่อคัดเลือกผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาตามจำนวน
ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ทั้งนี้ การตัดสินผลการคัดเลือกของมหาวิทยาลัย ให้ถือเป็นที่สุด

9. วันประกาศรายชื่อผู้ผ่านข้อเขียน
วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2548

10. วันตรวจร่างกาย ทดสอบจิตเวช แสดงผลการมีประสบการณ์ศึกษาดูงาน
ในโรงพยาบาล
วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2548

11. วันสอบสัมภาษณ์ ทดสอบวัดทัศนคติ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิดวิเคราะห์
วันที่ 29-31 มีนาคม พ.ศ.2548

12. วันประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษา
วันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2548

13. การรายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนิสิต
วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2548

14. ลงทะเบียนเรียนรายวิชาและชำระเงินค่าธรรมเนียม
วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2548

15. เปิดภาคเรียนต้น ปีการศึกษา 2548
วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2548
จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2548

(รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร

ปฏิทินดำเนินการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
ประเภทรับตรงพิเศษ ปีการศึกษา 2548
โครงการผลิตแพทย์เพิ่มของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข
(โครงการเร่งรัดผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท)
……………………………………

1. จำหน่ายระเบียบการ……………………………….25 กุมภาพันธ์-18 มีนาคม 2548
2. รับสมัครคัดเลือกโดยการยื่นคะแนนสอบวัดความรู้ฯ
ด้วยตนเอง………………………………………………………17-18 มีนาคม 2548
3. ประกาศรายชื่อผู้ผ่านข้อเขียน……………………………………….23 มีนาคม 2548
4. ตรวจร่างกาย ทดสอบจิตเวช แสดงผลการมีประสบการณ์ศึกษา
ดูงานในโรงพยาบาล………………………………………………..28 มีนาคม 2548
5. สอบสัมภาษณ์ ทดสอบวัดทัศนคติ ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการคิดวิเคราะห์………………………………………….29-31 มีนาคม 2548
6. ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้เข้าศึกษา……………………4 เมษายน 2548
7. รายงานตัวขึ้นทะเบียนเป็นนิสิต……………………………………..7 เมษายน 2548
8. ลงทะเบียนเรียนรายวิชาและชำระเงินค่าธรรมเนียม……………23 พฤษภาคม 2548
9. เปิดภาคเรียนต้น ปีการศึกษา 2548……………………………….6 มิถุนายน 2548


Posted by : sdfg , E-mail : (sdsdkfh@yahoo.com) ,
Date : 2005-03-02 , Time : 08:54:28 , From IP : cacheku.ku.ac.th


ความคิดเห็นที่ : 1


   ลองมาสมัครกันดูนะคะน้องๆ

คิดถึงเพื่อนๆที่ม.อ.จัง


Posted by : kung med nu , Date : 2005-03-03 , Time : 02:38:05 , From IP : 203.172.65.132

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.002 seconds. <<<<<