ความคิดเห็นทั้งหมด : 17

อยากเรียนถามอาจารย์ครับ


   คือผมอยากทราบว่า ถ้าเกิดเคยเรียนตกวิชาที่ไม่มีเกรด แล้วจะได้เกียรตินิยมได้ไหมครับ ถ้าเกรดถึง แล้วเกรดเท่าไหร่ครับจึงจะได้

Posted by : นักศึกษา , Date : 2005-02-28 , Time : 19:06:05 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 1


   อยากรู้เหมือนกันครับ

Posted by : SMC Med29 , Date : 2005-02-28 , Time : 22:03:30 , From IP : 172.29.4.211

ความคิดเห็นที่ : 2


   ใครใช้ชื่อผมเนี๊ยะ กรรม!



Posted by : SMC Med29 , E-mail : (smc_yw@hotmail.com) ,
Date : 2005-02-28 , Time : 22:40:15 , From IP : 172.29.4.206


ความคิดเห็นที่ : 3


   smc อยากดังมากหรือครับ

Posted by : ขี้ลิง , Date : 2005-02-28 , Time : 23:10:02 , From IP : 172.29.4.211

ความคิดเห็นที่ : 4


   smc อยากดังมากหรือครับ

Posted by : ขี้ลิง , Date : 2005-02-28 , Time : 23:10:10 , From IP : 172.29.4.211

ความคิดเห็นที่ : 5


   ไม่ว่าจะมีเกรดหรือไม่ หากตกแล้วไม่มีสิทธิ์ได้เกียรตินิยม ตามระเบียบของมหาวิทยาลัย จะต้องไม่มีรายวิชาที่ซ่อม

Posted by : ออออ , Date : 2005-03-02 , Time : 03:31:17 , From IP : 172.29.2.154

ความคิดเห็นที่ : 6


   แม้กระทั่งลงเรียน audit ก็ตามหากตกก็หมายความว่าไม่ได้เกียรตินิยม

Posted by : ออออ , Date : 2005-03-02 , Time : 03:32:27 , From IP : 172.29.2.154

ความคิดเห็นที่ : 7


   ส่วนใหญ่แล้ว คนที่ได้เกรดดี มักจะดีเกือบทุกด้าน ดังนั้นวิชาที่พลาดตก น่าจะมีอะไรที่ผิดปกติ อาจแค่เป็นความผิดพลาดธรรมดา แต่ก็อาจเป็นการกระทำที่สมควรจะได้รับ ถ้าอธิบายได้คนอื่นคงจะรับฟังได้ แต่ถ้าอ้อมแอ้มตอบก็คงจะไม่ไหว ผู้ที่ได้รับย่อมรู้ดีที่สุด

Posted by : ร่วมคิด , Date : 2005-03-02 , Time : 10:39:50 , From IP : 172.29.3.147

ความคิดเห็นที่ : 8


   ทำไมต้องให้วิชาแค่ตัวนี้มาตัดสินอนาคตของเด็กอย่างนี้หละ ทำไมทำดีหมื่นครั้งไม่เท่าทำผิดครั้งเดียว น่าจะพิจารณาเป็นรายบุคคลมากกว่านะ น่าจะพิจารณาจากความประพฤติมากกว่า กรรมของเด็ก เวลาไปสมัครเรียนต่อ ได้เกรด3.8 แต่ไม่ได้เกียรตินิยม เป็นที่ไหนก็ไม่มีใครอยากจะรับเด็กคนนี้หรอก เพราะเค้าต้องสงสัยในความประพฤติอย่างแน่นอน กฎมหาวิทยาลัยเก่าๆล้าสมัยน่าจะสังคายนาซักที

Posted by : 0h , Date : 2005-03-02 , Time : 10:42:36 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 9


   น่าจะขึ้นกับนิยามความหมายของ "เกียรตินิยม" ไหมครับว่ามันคืออะไร?

ว่าคือแค่ "ค่าเฉลี่ย" หรือจะให้หมายความรวมถึง "consistency" ด้วย ถ้าบางสถาบันบอกว่า "ทุกรายวิชา" จะต้องได้ minimal passing level ก็จะหมายความว่า นศ.จะทิ้งบางวิชาที่ตนเองไม่ถนัดแล้วไปเก็บวิชาอื่นเพื่อให้ได้เกียรตินิยมไม่ได้ แต่ก็จะได้เกรดเฉลี่ยค่อนข้างสูงอยู่ดี อันนี้อาจจะทำให้คำว่า "เกียรตินิยม" เป็น accolade ที่มีความหมาย มีความท้าทายมากขึ้น ไม่ได้หมายความว่าใครจะทิ้งวิชาเลือก วิชาเล็กๆ (ที่อาจจะมีความสำคัญ เช่น สังคม ปรัชญา วิชาเลือก) เพราะนั่นจะเกี่ยวกับลักษณะของ attitude

ข้อสอบ IELTS สำหรับการศึกษาต่อแพทย์ที่อังกฤษนั้นก็คล้ายๆกันคือบังคับ 7.5 "ทุกหมวดวิชา" เพราะเขาถือว่าทุกหมวดวิชาสำคัญ ได้แก่ comprehension, listening and conversation, grammar and vocabulary เพราะถ้าจะให้คนสอบผ่าน "สามารถสื่อสารได้" จะหมายความถึงสามรถสื่อทั้งพูด อ่าน เขียน เกียรตินิยมก็อาจจะทำนองเดียวกัน คือจะเอา A+ ของกุมารมากลบเกลื่อนลบล้างตอนที่ (เผลอ) เหลวไหลระหว่างผ่าน com-med, fam-med, clinical immersion ก็คงจะคนละเรื่องกัน

ส่วนที่ไหนจะมีเกณฑ์รับเด็กเกียรตินิยมเท่านั้นมาเรียนต่อ ผมคิดว่านั่นอาจจะเป็นความคิดที่ล้าสมัยและน่าจะสังคายนาซักทีเหมือนกัน ตราบใดที่การประเมินยังเข้ามข้นด้าน contents หรือ cognitive แต่ยังเจือจางด้าน attitude ด้าน social skill ที่จำเป็น เช่น communication skill, bioethics, evidence-based medicine ผมคิดว่า "เกรด" นั้นอาจจะไม่สัมพันธ์หรือนำมาใช้พยากรณ์ความสำเร็จในชีวิต ในวิชาชีพได้ อย่าว่าแต่จะบอกว่าเด็กคนนั้นสามารถเป็น specialist ที่ดีในสาขาเฉพาะทางไหนๆเลย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-02 , Time : 11:13:38 , From IP : 203.156.39.203

ความคิดเห็นที่ : 10


   เห็นด้วยกับอาจารย์ นกไฟ

Posted by : อินทรีย์ทะเลทราย , Date : 2005-03-02 , Time : 11:18:07 , From IP : 61.19.150.150

ความคิดเห็นที่ : 11


   หมายความว่ายังไงครับ วิชามีเกรดทำได้เอ แต่วิชาไม่มีเกรดสอบตก วิชาไม่มีเกรดแค่ไปสอบกับเข้าร่วมกิจกรรมตามเวลาก็ผ่านแล้ว (เรื่องจริง ไม่ได้ดูถูกวิชา) แต่นีคุณตก แสดงว่าไม่ใส่ใจอย่างมาก อย่างนี้เขาเรียก พวกคะแนนลิซึมอย่างแรง เป็นอย่างนี้แล้วจะมีหน้ามาถามเรื่องเกียรตินิยมอีก หน้าไม่อาย

Posted by : severe kananism , Date : 2005-03-02 , Time : 11:28:11 , From IP : 172.29.4.164

ความคิดเห็นที่ : 12


   ถ้าไม่เจอเองคงไม่เข้าใจ หัดเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง ไม่ใช่คนอื่นจะเป็นเหมือนที่ตัวเองคิด เห็นมั๊ย ขนาดคนในบอร์ดยังคิดอย่างนี้ สถาบันเดียวกันแท้ๆแล้วอาจารย์ที่อื่น จุฬาฯ ศิริราชจะคิดอย่างไร โดยส่วนตัวไม่ได้อยากได้เลย แต่คิดถึงอนาคตเท่านั้น ถ้าไปสมัครเรียนเค้าจะคิดอย่างไร ถ้าได้เกรดดีมากแต่ไม่ได้เกีรยตินิยม ทราบอยู่ว่าไม่ใช่ทุกคนที่ได้เรียนแล้วต้องได้เกีรยตินิยม แต่กรณีนี้จะคิดอย่างไร อยากให้อาจารย์ช่วยเสนอแนะด้วยครับ

Posted by : 0h , Date : 2005-03-02 , Time : 18:23:04 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 13


   ทำไ มคุณคะแนนถึงได้ประเมินอะไรง่ายๆอย่างนี้ การได้คะแนนมันก็มีหลายปัจจัยไม่ใช่เฉพาะที่ตัวเด็กเอง คุณคะแนนช่างใจแคบมากเลยนะ อยากรู้เหมือนกันว่าถ้าคุณเจอเองคุณจะรู้สึกอย่างไร

Posted by : 0h , Date : 2005-03-02 , Time : 18:25:37 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 14


   ตรงนี้ไม่น่าจะเกี่ยวกับการเห็นอกเห็นใจแล้วให้เกียรตินิยมกระมังครับ?

ผมเข้าใจว่ามาตรฐานว่าทำอย่างไรจึงจะได้เกียรตินิยมนั้นเขียนไว้เรียบร้อยแล้ว ของแต่ละสถาบันฯก็จะให้ตามปรัชญาของแต่ละที่ และการให้ใครได้เกียรตินิยมฯก็จะแสดงว่าสถาบันไหนๆนั้นเขาให้ "เกียรติ" อะไร

เรื่องของเรื่องก็คือเกียรตินิยมนั้นไม่ง่ายที่จะได้ ไม่เพียงแต่ "เกรดดี" แต่หมายความถึงความ consistency ความสม่ำเสมอตั้งใจเรียน มันถึงออกมาเป็นกฏอย่างที่เห็น ในอดีตคนที่ "พลาด" อย่างนี้ เขาก็เคารพกฏเกณฑ์ รับรู้ว่าตนเองไม่ได้เข้า criteria ก็เข้าใจ เหมือนเตะบอลไม่เข้ากรอบแล้วจะให้สถาบันเลื่อนเสาโกล์มาให้ตรงกับที่นักศึกษาแต่ละคนเตะคงจะไม่ถูกต้องรึเปล่าครับ

การเอาใจเขามาใส่ใจเราในที่นี้จะหมายความว่าอย่างไรครับ? กฏที่ว่านี้คนส่วนใหญ่ปฏิบัติตามมาแต่ไหนแต่ไร หลายๆมหาวิทยาลัยก็ใช้กฏนี้เป็นมาตรฐานอยู่ เราน่าจะเอาใจ "คนส่วนใหญ่" มาใส่ใจเรามากกว่า แทนที่จะเอา "ใจเรา" ไปใส่ให้คนอื่นต้องมาเห็นใจและดัดแปลงแก้ไขเพื่อตัวเราคนเดียว

ถ้าคุณอยากจะให้แก้กฏนี้จริงๆ ก็ลองไปเสนอให้สภามหาวิทยาลัยผ่านทางกองกิจการนักศึกษาดูก็ได้ครับ มา post ตรงนี้รับรองว่ากฏมหาวิทยาลัยไม่เปลี่ยนแน่ๆ ผมเองอยากทราบเหมือนกันว่าสภามหาวิทยาลัยจะ flexible และเห็นอกเห็นใจนักศึกษาด้านนี้ได้ถึงขั้นไหน



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-02 , Time : 18:41:34 , From IP : 203.156.62.72

ความคิดเห็นที่ : 15


   กรณีนี้คณะไม่มีสิทธิ์พิจารณาและยื่นอุทธรณ์ต่อทางมหาวิทยาลัยเลยหรือครับ

Posted by : 0h , Date : 2005-03-02 , Time : 20:26:44 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 16


   การเปลี่ยนแปลงกฏใดๆก็ตามก็ต้องมาจากเหตุผลที่หนักแน่น นำไปสู่อะไรที่ดีกว่าเดิม หรือแก้ไขข้อผิดพลาดครับ

หลักสูตรหรืออะไรต่อมิอะไรมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเป็นประจำอยู่แล้ว แต่กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องหลักสูตร แต่เป็นเรื่องการรักษา high standard ของมหาวิทยาลัย ที่จะออกใบรับประกันว่าบัณฑิตคนนี้ "ไม่ธรรมดา" เป็นบัณฑิตชั้นยอดในบรรดากว่า 5000 คน สมควรที่คณะฯและมหาวิทยาลัยจะมอบ accolade ให้เป็นเกียรติประวัติไปตลอดชีวิต คนรับก็จะสามารถ "ภาคภูมิใจ" ในความมานะบากบั่นและมั่นคงอยู่หลายปีจึงจะมีความสำเร็จที่ว่านี้ มหาวิทยาลัยหรือคณะฯที่มี vision ไกล และอยากจะรักษา status ระดับสูงในวงการ academic ไว้ให้ได้นั้น ไม่ care เรื่อง "จำนวน" บัณฑิตเกียรตินิยม แต่จะ concern มากกว่ามากเรื่อง "คุณภาพ" อีกประการผมว่ามหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าทั้งในและนอกประเทศช่เกณฑ์ที่ว่านี้คล้ายๆกัน ผมสงสัยว่าการเปลี่ยนแปลงอะไรที่ "อาจ" จะบ่งชี้ถึงการลดหย่อนมาตรฐานนั้นจะตรงกับ policy ของมหาวิทยาลัยหรือไม่

คุณ Oh ลองชี้แจงว่าทำไมคณะฯหรือมหาวิทยาลัยน่าจะลดหย่อนเรื่องมาตรฐานปริญญาเกียรตินิยมนี้มาก็ได้ครับ ถ้าสามารถ convince ได้ว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้มหาวิทยาลัยเข้มแข็งด้านวิชาการ มีความรุดหน้าไปในทางเป็นผู้นำในวงการ academic ก็อย่ารอช้าเลยครับ รีบนำเสนอ แต่ขอแนะนำว่าทางที่ดีอย่าเอาผลประโยชน์ของคนๆเดียวนำในการชี้แจงเลย และเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องการเห้นอกเห็นใจ หรือความเจริญก้าวหน้าของปัจเจกบัณฑิต ขอกันนิดๆหน่อยๆอะไรทำนองนั้นนะครับ เพราะคงจะไม่มีใครเห็นใจเท่าไหร่แบบนั้น



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-02 , Time : 23:42:21 , From IP : 172.29.7.155

ความคิดเห็นที่ : 17


   ผมคิดว่ารายวิชาที่ไม่มีเกรด ก็จำเป็นต้องสอบผ่าน ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม มาตรฐานของคนที่ได้เกียรตินิยมต้องดีพร้อม นี่คือเกณฑ์ (ในเรื่องความรู้) ความจริงรายวิชาที่ไม่มีเกรด จำเป็นต้องผ่าน ในระดับ S (satisfied) ถ้าคนดีจริงต้องทำให้ผ่าน เพื่อแสดงให้เห็นว่า ดีจริงต้องดีทุกอย่างไม่ใช่อย่างอื่นดีหมด แต่ตกรายวิชาที่ไม่มีเกรด (กรณีนี้ไม่นับคนที่ป่วย หรือมีกรณีจำเป็น แบบนั้นไม่เรียกว่าตก อาจจะติด I (incomplete) ซึ่งมาปฏิบัติงานเพิ่มได้) ผมไม่เห็นด้วยที่มองว่ากฏนี้ล้าสมัย ความจริงเป็นกฏที่ทันสมัยเสมอ ส่วนการที่จะนำผลการศึกษาไปประกอบการเรียนต่อนั้นเป็นอีกเรื่องไม่ควรจะนำมาผูกรวมกัน กับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ปัจจุบันหรือแม้แต่ในอดีตการคัดเลือกเพื่อศึกษาต่อไม่ได้พิจารณาเพียงเกรดอย่างเดียว คนต้องพิจารณาทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ การสื่อสาร ความขยัน ความหมั่นเพียร เป็นต้นมาประกอบการพิจารณาไม่ได้ดูเกรดอย่างเดียว เพียงแต่ว่าเรามักจะเห็นคนเก่งก็มักจะมีพร้อมเกือบหมดเลยได้รับการคัดเลือก แต่ก็มีตัวอย่างที่เกียรตินิยมอันดับ 1 ไม่ได้รับการคัดเลือก แต่คนที่ไม่ได้เกียรตินิยมกลับได้รับการคัดเลือก ดังนั้น คนที่ดูแลคนไข้ ดี ขยันศึกษาหาความรู้ ปฏิบัติงานเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้รับเลือก

Posted by : เช้าสายบ่ายเย็น , Date : 2005-03-05 , Time : 14:04:04 , From IP : 172.29.7.155

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.008 seconds. <<<<<