ความคิดเห็นทั้งหมด : 13

Debate LXXXVI: Application of Changing Minds Theory: โมเดลระบบการศึกษา


   Application of Changing Minds Theory: โมเดลระบบการศึกษา

วันหยุดที่ผ่านมาได้มีโอกาสฉลองการทำงานเสร็จสองชิ้น ด้วยการซื้อหนังสือใหม่สองเล่ม และอ่านหนังสือเก่า (ที่ซื้อมาแต่ไม่ได้อ่าน) หนึ่งเล่ม รู้สึกน่าสนใจ คือ Changing Minds, The Art and Science of Changing Our Own and Other People"s Minds โดย Howard Gardner ผู้ประพันธ์ Frames of Mind และเจ้าของทฤษฎี Multiple Intelligences (Harvard Business School Press, 2004) เป็นหนังสือว่าด้วยทฤษฎีทาง cognitive psychology ทำไมคนเรารับรู้ เรียนรู้ และเกิดเป็น "รูปแบบ" ของการคิด การกระทำ การรับเป็นบุคลิกหรือตัวตน

Howard Gardner เป็น John H. and Elisabeth A. Hobbs Professor of Cognition and Education ที่ Harvard Graduate School of Education และเป็น Senior Director ของ Harvard Project Zero เขียนหนังสือระดับ Best Seller ที่เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ การคิด มานานนับหลายสิบปี เล่มล่าสุดนี้ (Changing Minds) เป็นรวบยอดของประสบการณ์ ทฤษฎีที่ผ่านการพิสูจน์ และนำมาเปรียบเทียบกับโมเดลต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ผมเลยคิดว่าน่าจะเอามาประกอบการอภิปรายเกี่ยวกับระบบการเรียนของเราดู (ระบบเก่า Lecture-based และระบบใหม่ Andragogy หรือ PBL-system) ว่าถ้าเราเอา parameters ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ของเราเข้าจับ ผลสรุปน่าจะเป็นไปในทิศทางไหน หรือว่าควรจะเป็นไปโดยกลยุทธ์อะไร

7 Parameters ประกอบด้วย Reason; Research; Resonance; Representational Redescription; Resources and Rewards; Real World Events; และสุดท้ายคือ Resistances

Reason โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่พิจารณาตนเองว่าเป็นนักวิชาการหรือคนมีการศึกษา หลักการและเหตุผลจะเป็นสิ่งที่เข้มแข็ง และมีผลต่อการคิดการสรุป ดังนั้นถ้สจะอภิปรายเรื่องอะไรให้กลุ่มที่ใช้วิธีนี้เป็นหลัก การนำเสนอต้องมาในทางที่มีการเชื่อมโยงทางตรรกะ เช่น เรียนแบบเก่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไร อะไรคือสรีระวิทยาการเรียนรู้ และของแต่ละระบบสนับสนุน มีจุดอ่อน หรือมีจุดแข็งอย่างไร
Research ขยายลึกและกว้างและจำเพาะขึ้นจาก reasoning คือ research สำหรับคนที่ต้องการ verify reason อย่างมี methodology เอาผลการศึกษาเปรียบเทียบของทั้งสองระบบมาประกอบ
Resonance ถ้าจะกล่าวว่า reasoning กับ research เป็นสำหรับ cognitive aspect ของจิตใจคน resonance ก็จะเป็นตัววัดของเจตคติหรือ affective components ของการรับรู้ มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า cognitive aspect ในการที่ใครจะเกิด "ความเชื่อ" หรือเปลี่ยนความเชื่อ มักจะเกิดในระดับ subconscious และสามารถเกิด conflict กับ cognitive ซะด้วยซ้ำ การไปถาม "ความเห็น" จากคนที่เราแคร์ (relation, reliable, respect อีกสาม "re_" words) บางครั้งมีอิทธิพลในการจูงใจอย่างมาก คนที่มี "ความสัมพันธ์ เชื่อถือได้ และเรานับถือ" อาจจะเป็น role model ของเรา คนที่เรารัก เราแคร์ ความเห็นที่คนพวกนี้ "สะท้อน" ให้เราจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ
Representational Redescription คำนี้หมายความว่า concept ของแนวความคิดใหม่นั้นสามารถแปลออกมาเป็นโมเดลต่างๆได้หลากหลายหรือๆไม่ ดีกว่านั้นคือการแปลมาในชีวิตจริง ไม่ใช่ทฤษฎี ยิ่งถ้านำมาแปลเป็นโมเดลที่ชีวิตจริงเราสนใจได้ และตรง ยิ่งดี ตรงนี้อาจจะใช้เยอะเวลาเราสอนอะไรที่เป็นนามธรรมแก่เด็กๆ เช่น ความดี ความงาม การยกตัวอย่างที่หลากหลาย หลายมุม แต่พูดถึงเรื่องคล้ายๆกันยจะช่วย reinforce thought ได้ ฉะนั้นถ้าประเด็นที่เราใช้ เช่น ระบบการเรียนแบบเก่า แบบใหม่ เราน่าจะเอาข้อแตกต่างของทั้งสองระบบมาประเมินเป็นโมเดลว่าเราได้สิ่งที่เราต้องการรึเปล่าจากความต่างเหล่านี้
Resources and Rewards ในทางปฏิบัติ หัวข้อนี้เป็นไปได้งสองทาง เช่น การมีทรัพยากรหรือ "ไม่มี" การมี reward หรือการมี punishment เช่น ถ้าทำระบบนี้เราจะมีเงินสนับสนุนจาก funders ไม่จำกัด แต่ถ้าทำอีกแบบเราจะล่มจม บางทีประเด็นนี้สามารถมีความสำคัญแปรเปลี่ยนได้อย่างมากหรือแค่นิดหน่อยก็ได้ (ภาษิตจีนว่า "มีเงินสามารถใช้ผีโม่แป้งได้")
Real World Events หรือผลกระทบทางสังคมใหญ่ๆ เช่น มหาอุบัติภัย ซึนามิ แผ่นดินไหว หรือกกหมายสำคัญๆของประเทศจะกำหนด "กรอบ" ความเป็นไปได้ และความคิดในการดำเนินงาน
Resistances เป็นประเด็นสำคัญมาก การเปลี่ยนแปลงนั้นบางทีเป็นการโจมตีความเสถียรของจิตใจของคนได้อย่างรุนแรง ปกติมนุษย์ไม่ใคร่ชอบความไม่เสถียรของจิตใจอยู่แล้ว ตรงนี้คนอาจจะเรียกเป็น bias ความเชื่อ ความงมงาย ความไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ล้านแต่เป็น challenge สำหรับผู้ที่มีหน้าที่หรืออาชีพในการเปลี่ยนแปลงความคิดคนทั้งสิ้น

ผมคิดว่าการอภิปรายข้อดีข้อเสียของระบบการเรียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง block, SDL, PBL, etc นั้น ตราบใดที่เรายังไม่ได้ optimize กระบวนการนำเสนอที่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะทำให้ "ฝ่ายตรงข้ามเปลี่ยนใจ" เราก็ยังอยู่ใน limbo หรือความไม่แน่นอนอยู่ แต่ถ้าเรามีทิศทางในการนำเสนอ ว่าไปให้ครบทุกระบบที่เกี่ยวข้อง หรือนำมาวิเคราะห์ objectively เราอาจจะหาคำตอบได้ดีขึ้น (รึเปล่า? ไม่แน่ใจ)



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-28 , Time : 00:00:58 , From IP : 172.29.7.146

ความคิดเห็นที่ : 1


   ขอบคุณอาจารย์มาก ผมอ่านแล้วได้ไอเดียมากเลยครับ

Posted by : GraveDigger , Date : 2005-02-28 , Time : 23:31:13 , From IP : 172.29.4.162

ความคิดเห็นที่ : 2


   เงื่อนไขบางอย่างจำเป็นต้อง "รอ" เวลา ค่ะ
บางอย่าง บอก-สอนกันไม่ได้ การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ
"ประสบการณ์" ตรง ของใคร ใครก็เลือกเรียนเลือกรับกันเอาเอง
เพราะอย่างนี้ก็เห็นด้วยว่าต้องมี Role model ที่relation, reliable, respect
(และอีกสาม "re_" words ที่เหลือคืออะไรคะ) เพื่อให้ reason และ research เกิดขึ้น และอยู่ร่วมกันได้ โดยมี resistance ทีเกิดขึ้นพอประมาณว่าสมควร

ขณะที่Resources and Rewards จะเป็นสิ่งสนับสนุน และผลักดันให้ระบบคงอยู่ สุดท้าย Real (World) Events ที่จะเกิด จะเร่งการประมวลกระบวนการทั้งหมด จนเห็นเป็นผลที่เกิดจริง ที่เวลานั้นเราทุกคนก็จะมีผลสรุปจากการรับรู้และเรียนรู้ของตัวเอง - บทสรุปของแต่ละคนอาจเหมือนเป๊ะไปจนถึงไม่ใกล้เคียงกับ Role model เลยก็ได้ เพราะ condition ในที่นี้ คือ "การเลือก" ซึ่งเราคงต้อง respect

สำหรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าเราจะใช้วิธีการอภิปราย หรือนำเสนอด้วยวิธีที่มีน้ำหนักมากมายสักเพียงไหน(ในความคิดของเรา) ตราบใดที่วิธีการเหล่านั้นยังดู
เหมือนเป็นการยัดเยียด ป้อนใส่ปากทั้งที่ยังไม่รู้ว่าอยากกินหรือไม่อยากกิน ก็เชือได้ว่าถึงไม่คายทิ้งก็คงอึดอัดลำบากน่าดู ต่อเมื่อ อยากเอง เพราะเห็นเองรู้เอง ทีนี้ไม่เห็นวางตรงหน้า ก็แสวงหาเองแล้วมั้ยคะ ทีนี้ทำไงให้อยาก .... ก็ต้องให้ลอง ให้รู้ ให้เห็น ถ้าเจ็บก็จำนาน ถ้า reward ก็ได้ใจ ลำพองอยากได้อีก

ไม่เห็นจำเป็นต้องทำให้ฝ่ายตรงข้ามเปลี่ยนใจ เพราะถ้าระบบจะต้องเปลี่ยนแปลงยังไงก็ต้องเปลี่ยน การมีแนวร่วมมาก ก็ดีตรง ง่ายกว่า ออกแรงน้อยกว่า แต่ถ้าแรงต้านมาก ต้องออกแรงมากหน่อย ใช้เวลานานกว่าหน่อย ก็คงต้อง "รอ" หน่อยมั้ยคะอาจารย์?


Posted by : Lucifer , Date : 2005-03-01 , Time : 01:33:38 , From IP : 172.29.4.130

ความคิดเห็นที่ : 3


   OK ขอขยายความต่อ อย่างน้อยมีคนเข้ามาอ่านหนึ่งคน !!!

"การเปลี่ยนความคิด" ในที่นี้ของ Howard Gardner ไม่ใช่แค่ "เปลี่ยนใจ" ในความหมายทั่วๆไปเช่น วันนี้เปลี่ยนใจจากกินข้าวใน รพ. ไปเป็นกินก๋วยเตี๋ยวเป่าปาก หรือเปลี่ยนใจจากเสื้อสีฟ้าเป็นสีส้ม แต่เป็นการเปลี่ยนระดับ "กระบวนทัศน์ (Paradigm shift)" เช่น จากเดิมเป็น devoted republican ไปเป็น activist ของ democrat จากเดิมนับถือคริสต?เปลี่ยนไปเป้น Church of Scientology เปลี่ยนจากคฤหัสถ์เป็นบวชตลอดชีวิต เปลี่ยนจากสามัญชนคนธรรมดาไปเป็น serial killer เป้นต้น

เปลี่ยนขนาดนี้ (กระบวนทัศน์) มันต้องอาศัยอะไรที่ "โดน" ใจจริงๆ และหากมีศาสตร์เรื่องนี้ที่มีความแม่นยำเชื่อถือได้แม้สัก 50% ผมว่าน่าจะขายได้รวยทีเดียว คิดดูถ้านำมาใช้ในทาง business ถ้าเราสามารถ convert loyal customer ของคู่แข่งเราได้แค่ 50% มาใช้ของเรา เราก็สามารถเป็นเจ้าครองตลาดไปได้อย่างแน่นอน หรือสามารถถูกเลือกไปเปน president หรือสามารถ recruit สมาชิกใหม่เข้าโบสถ์เราได้มากขึ้นเยอะ

มีสองสามอย่างที่เรามักจะลืมใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเราที่นับตัวเองเปนนักวิชาการ ซึ่งจะคุ้นเคยในการใช้ logic & research นั่นคือการคำนึงถึง representational redescription และ resonance สองอย่างนี้มันเป้นอะไรที่เป็น "อารมณ์" เป็น "นามธรรม" สัมผัสยาก กำหนดกฏเกณฑ์ยาก แต่มีความสำคัญไม่ยิ่งย่อนกว่ากัน และ parameter สุดท้ายนั่นคือ resistance ในบางสถานะการณ์อาจจะเป็นอุปสรรคเดียวที่ขวางกั้นแต่เพียงพอที่จะทำให้เราล้มเหลวที่จะเปลี่ยนใจ เปลี่ยนความคิดไปเลยทีเดียว

สาเหตุที่ยาก เพราะปัจจัยเหล่านี้เราต้อง "พึ่งคนอื่น" หรือ "อ่านคนอื่นออก" ซึ่งส่วนใหญ่เราจะไม่ใคร่รู้สึกสะดวกสบายใจนักที่จะไปศึกษาความรู้สึกของคนอื่น ความคิดของคนอื่น สู้เดาๆเอาประสบการณ์ของเราเองมิได้ (เดาไปมากขนาดเรา assume ว่าเรานี้ช่างรู้เรื่องไปหมดทั้งสากลจักรวาล ผ่านชีวิตมามากมายนับอสงไขยชาติภพ ก็เป็นไปได้) ถ้าเราคิดจะเดาๆเยอะๆ เราจะไม่ได้ "พยายาม" มากเท่าที่ควรที่จะฟังความคิดที่แตกต่าง เราจะไม่ได้ "พยายาม" เอาประเด็นที่แตกต่างของคนอื่นมาอภิปราย ถกเถียงกับ paradigm ของเรา ถ้าเป็นการประชุม brain storming การขาดปัจจัยนี้อาจจลงเอยด้วยการหาข้อสรุปไม่ได้สักที หรือการทะเลาะกันไปเลยก็มี



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-01 , Time : 01:48:48 , From IP : 203.156.36.241

ความคิดเห็นที่ : 4


   แรงบันดาลใจที่ใครอยากจะ "เปลี่ยนใจ" ใครนั้นมีได้หลากหลายสาเหตุที่มา

ว่ากันตั้งแต่ "pure motivation" ได้แก่ เราเห็นว่าความเห็นเรานี้ดีนะ น่าเผยแพร่ให้คนอื่นได้ฟัง ได้ลองคิด ได้เชื่อถ้าจะดี จินตนาการว่านั่นอาจจะเป็นห้วงคิดคำนึงของพระสมณโคดม ณ ริมฝังแม่น้ำเนรัญชราภายหลังตรัสรู้ หรือของอริสโตเติล โสเครติส และเพลโต ที่ว่างงานมากก็ตั้งก๊วนถกปรัชญาการเมือง ใจกลางจตุรัสเมืองเอเธนส์

หรือ "meritocratic motivation" หรือ idea ของ Mill ได้แก่ utilitarianism ระดับต่างๆ ตั้งแต่นามธรรม จริยธรรม ไปจนถึงประโยชน์ ผลประโยชน์ ผลประโยชน์ที่จับต้องได้ ซื้อขายได้ ลูบคลำชื่นชมโดยผัสสะต่างๆได้

ไม่ว่าจะเป็นอย่างไหน ถ้าเรารู้สึก "แรงพอ" และออกมาเป็นพฤติกรรม ก็จะเปลี่ยนตัวเราเป็น advocate นั่นคือการทุ่มเทแรงกายใจสมองเวลา promote อะไรสักอย่างอย่างเต็มที่

อย่างไรก็ดึ ขอเพียงมี advocate เกิดขึ้น นั่นก็จะเป็น "วิถีบวก" เพราะเมื่อเอามาต้านกับ resistance ที่เกิดจากพวก "ขอค้านไว้ก่อน" หรือ "metamorphobia" หรือกลุ่มกลัวการเปลี่ยนแปลง จะเหนว่า cause ที่ท้งสองฝ่ายสู้เพื่อนั้นมีน้ำหนักที่แตกต่างกัน เหมือนตอนที่ทหารอเมริกันมาสู้ในเวียดนามเพาะถูกเกณฑ์มากับทหารกองโจรในป่าเวียดนามที่สู้เพราะพื้นแผ่นดินของตนถูกรุกราน แรงผลักมันมีน้ำหนักต่างกันเกินไป เกินกว่าที่ความต่างทางเทคโนโลยีมันจะแก้ได้

อย่างไรก็ดี ทฤษฎี andragogy หรือ adult learning ที่ว่าผู้เรียนต้องเป็นผู้เริ่มก่อน (รากฐานของ SDL = Self Directed learning) นั้นตรัสรู้และสอนโดยพระพุทธเจ้าในอิทธบาทสี่คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา กิจทั้งปวง (รวมเรื่องเรียนด้วย) ต้องเริ่มจากการที่เรามี "ฉันทา" ก่อน มีความพึงพอใจที่จะทำก่อน ความเพียร ความอะไรต่อมิอะไรมันถึงจะตามมา ผนวกกับพุทธภาษิตอีกบทได้แก่ อตฺตาหิ อตฺโนนาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ศาสนาพุทธจึงไม่ใคร่ออกไป recruit สานุศิษย์หรือพุทธมามกะ อย่าง active มาก ศิษย์ต้องมาหาอุปัชฌาย์ และต้องมีความพึงพอใจจะเรียน จะเพียร จะคิด จะไตร่ตรองเอง จึงจะมาอยู่บนมรรคาได้



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-01 , Time : 02:08:13 , From IP : 203.156.36.241

ความคิดเห็นที่ : 5


   อ่านคนอื่นออก กับ คิดเอาเองว่าเค้าเป็นอย่างงั้นอย่างงี้ โดยอาศัยประสบการณ์เก่าว่ามันคล้ายอย่างงี้ ผสมเหตุผลนิดอารมณ์หน่อย
อาจารย์ว่ามันเหมือนหรือต่างกันยังไงคะ

ส่วนเรื่องการอภิปราย ถกเถียง โดยเฉพาะกับมนุษย์ปกติผู้ไม่ใคร่ชอบความเปลี่ยนแปลง (metamorphobia) ออกพิศมัยการ Blame or Ban for self safty feeling นี้เห็นว่า pure motivation อย่างเดียวจะลำบาก ถ้าอาศัย meritocratic motivation ช่วยก็ออกไม่แน่ใจว่าจะดีขึ้นหรือเปล่า เพราะอย่างว่าบางที ก็ต้องรอ กว่าจะจับต้องอะไรเป็นชิ้นเป็นอันได้จริงๆจังๆ เต็มมือพอรู้สึกว่าได้จับ ก็ต้องรอน้าน นาน จริงๆก็รู้ค่ะว่า บางจังหวะก็ต้องรอ ระหว่างรอก็อาจมีอาการแห้งเหี่ยวไปนิดหน่อย มากขึ้นแปรผันตรงตามเวลา อาจารย์มี choice เพิ่มอีกไหมคะ (แก้อาการเหี่ยว แห้งแล้ง)

ขอ clarify คำว่า paradigm ได้มั้ยคะ ได้ยินมาหลายที แต่ก็ไม่เข้าใจจริงๆสักที


Posted by : Lucifer , Date : 2005-03-01 , Time : 02:49:57 , From IP : 172.29.4.130

ความคิดเห็นที่ : 6


   ขยายความเพิ่มอีกหน่อย

ในกรณีที่เห็นความแตกต่างไม่ชัด เช่น อยู่ในช่วงรอยต่อการเปลี่ยนแปลงยังไม่เห็นว่าผลจะดีกว่าหรือไม่ดีกว่า ขณะที่การทุ่มเทแรงกายแรงใจ กำลัง สมองและเวลา เพื่อpromote อะไรสักอย่าง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี Belief ในสิ่งที่ทำ

ดังนั้นคำถามก็คือ ทำอย่างไรจะมี motivation แรงพอ และมั่นคงพอที่จะเปลี่ยนใครสักคนเป็น advocate ที่ว่า? นอกจาก strong pure motivation เพราะในช่วงรอยต่อนี้ ก็คือ เรากำลังรอที่ผลที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของmeritocratic motivation





Posted by : Lucifer , Date : 2005-03-01 , Time : 09:54:34 , From IP : 172.29.4.130

ความคิดเห็นที่ : 7


   เราก็ยังสามารถใช้หลักการเดิม 7 ข้อของการเปลี่ยนใจของ Gardner มาใช้ได้อยู่นะครับ

paradigm หรือกระบวนทัศน์ เป็น "รูปแบบ" การคิด การใช้เหตุผล เป็นนามธรรมที่อยู่ในระดับ "concept" ไม่ใช่แค่เปลี่ยนใจกินก๋วยได้ไปเป็นกินข้าวหมกไก่แทนอะไรอย่างนั้น คนเราหรือใครจะเปลี่ยนกระบวนทัศน์แทบจะกล่าวได้ว่ามี transformation เกิดขึ้น เช่น เจ้าชายสิทธัตถะเปลี่ยนใจออกไปบวชนั่นก็ตอนหนึ่ง หรือตอนที่ท่านเปลี่ยนใจจากการปฏิบัติแบบทรมานสังขารไปกินอาหารให้ เข้าสมาธิ ศึกษาฌาน นั่นก็เปลี่ยนอีกครั้งหนึ่ง paradigm เป็นการเปลี่ยนแปลง "ภายใน" ไม่ใช่แค่รูปแบบภายนอก

ใช้อะไรในการเปลี่ยน?

ผมเกรงว่ามันไม่มี universal rule หรือ parameter นะครับว่าทุกคนจะใช้เหมือนกัน น้ำหนักของแต่ละหมวดใน 7 หมวดที่ว่าสำหรับแต่ละคนมันจะแตกต่างกัน ของคุณ Lucifer กับของผมไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน มีอะไรที่จะมามีอิทธิพลต่อความเชื่อ "เดิม" หรือ "ศรัทธา" ไม่เหมือนกัน แต่ละคนก็จะมีวิธี "ทดสอบ" สมมติฐานที่ตนเองศรัทธาไม่เท่ากัน บางคนลองใจแฟนแค่ลืมวันเกิดก็โกรธจัด เลิกกันดีกว่า แต่บางคนขนาดไปเที่ยวกับเพื่อนอีกคนสองต่อสองก็ยังใจหนักแน่นอยู่ได้

Belief system หรือ Faith (ศรัทธา) นั้นต้องทนต่อการท้าทายหรือกระบวนการผิดหวัง หรือผลลัพธ์ที่ไม่ตรงไปตรงมาหรือทันใจอยู่เกือบตลอดเวลา สำหรับเรื่อวงที่เราเปลี่ยนใจง่ายๆนั้นเราไม่เรียก paradigm shift หรือไม่ได้เรียกความเชื่อนั้นว่า "ความศรัทธา" หรอกครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศรัทธาที่เป็น metaphysics เช่น Virtue, goodness, wholesomeness, oneness, etc นั้นคนประพฤติปฏิบัติธรรมจะ "ไม่" รอผลอะไรที่เป็นรูปธรรม แต่จะมีระบบ "ตรวจสอบ" อย่างอื่นที่เหมาะสมตามบริบทของสิ่งที่ตนเองได้ตั้งเป้าเอาไว้แทน

ใครตั้ง meritocracy เป็น "รูปธรรม" ชัดเจนนั้นจะอยู่ในกลุ่ม materialism แทน เพราะที่สุดแล้ว ultimate goodness หรือกระบวนทัศน์ของคนนั้นมันไม่ควรเป็นวัตถุที่จับต้องสัมผัสได้ ซึ่งพวกนั้นจะลงเอยเป็นกิเลศตัณหาแทน



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-02 , Time : 06:42:48 , From IP : 172.29.3.62

ความคิดเห็นที่ : 8


   Namaste


Posted by : Lucifer , Date : 2005-03-02 , Time : 16:54:59 , From IP : 172.29.4.130

ความคิดเห็นที่ : 9


   เอ่อ ... ยังไม่จบดีกว่า
ต่ออีกหน่อย ....นะคะอาจารย์

เข้าใจว่า "ผลที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน" เป็นส่วนหนึ่งของ meritocratic motivation นี่ถูกหรือเปล่าคะ

"คนประพฤติปฏิบัติธรรมจะ "ไม่" รอผลอะไรที่เป็นรูปธรรม "
ออกจะเห็นด้วยเอามากค่ะ เพราะสำหรับคนที่จัดตัวเองอยู่ในกลุ่มนี้ ต้อง Insight ตัวเองชัดเจน มั่นคงดี เพราะฉะนั้นการปรับ-เปลี่ยนเพื่อเป็น advocate น่าจะพูดกันรู้เรื่องตั้งแต่ หลักการและเหตุผลแล้ว ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงไม่น่าเป็น "ปัญหา"

ถ้า"ปัญหา" คือสิ่งที่ต้องแก้ ก็แปลว่า เราควรให้ความสำคัญกับปัญหาถูกมั้ยคะ
ซึ่งในที่นี้ ก็คือ กลุ่ม materialism ที่ต้องการ ultimate goodness ที่เป็นรูปธรรมบ้าง -ไม่ใช่ทั้งหมด น่าจะเพื่อลด ความรู้สึก insecure จากความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอน ดังนั้นถ้า reward จะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการ drive ให้คนกลุ่มนี้เข้ามาสู่การเปลี่ยนแปลงด้วย ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ระบบต้องตอบสนองบ้าง โดย rewardในที่นี้อาจไม่ต้องเป็น material ที่จับต้องได้ ก็ได้ เพียง more security,safty first for the beginner เป็นการล่อลวงแบบ classical conditioning learning (อย่างที่ใครแถวๆ นี้กำลังใช้อยู่-หรือเปล่า?) เห็นว่าอย่างไรคะ
-ขอผ่านประเด็นเรื่อง "กิเลสตัณหา" ที่ตอบสนองเฉพาะความต้องการส่วนบุคคล- เพราะเรากำลังพูดถึงระบบ ซึ่งต้องประกอบขึ้นด้วยคนมากกว่าหนึ่ง Impact ที่เกิดจากการกระทำใดๆก็ตามจะมีผลต่อ ระบบ ไม่ใช่ ปัจเจก

เข้าใจว่า ไม่มี
"pure" - pure motivation,meritocratic motivation หรือแม้ pure materailim - ทั้งหมดนี้น่าจะอยู่รวมๆ กัน ในคนๆหนึ่ง (มนุษย์ปกติ ที่ไม่ใช่ศาสดา) ขึ้นกับว่า เราจะเป็นแบบไหน ในเวลาหนึ่งๆ เท่านั้นเอง



Posted by : Lucifer , Date : 2005-03-02 , Time : 17:35:58 , From IP : 172.29.4.130

ความคิดเห็นที่ : 10


   

"more security,safty first for the beginner --- การล่อลวงแบบ classical conditioning learning"

เช่น ได้ยินกลุ่มเล็กๆ บ่นว่า อ่าน PBL แทบตาย สุดท้าย ข้อสอบ ออกแต่ใน lecture คะแนนออกมา ร่วงลงนรกไปเลย
-- ก็พอดี มาเจอ เจ้านรก อย่าง Lucifer -- ไม่ค่อยได้ขึ้นมาหายใจบนแผ่นพิภพ ระหว่างประกาศคะแนน

แต่พอเกรดออกค่อยได้บินหน่อย เพราะไม่เคยต่ำกว่าที่คิด คะแนนPBL- Process ประกันเกรด แปลว่าที่ลงทุนลงแรงตลอด block เสมือนสอบมันทุกอาทิตย์ไม่เสียเปล่า เลยได้ใจอ่านหนักๆ ตอน PBL อ่านไปคิดไป ใครแบ่งหัวข้อก็แบ่งไป ไงก็อ่านเองมันทุกหัวข้ออยู่แล้ว ไม่งั้นสรุป case ไม่ได้ อ่านไปเรื่อยก็ค่อยสรุปเป็น concept ของตัวเองไปเรื่อย ไงๆก็ไม่ตกอยู่แล้ว ได้นิดได้หน่อย ดีกว่าโหมอ่านตอนใกล้สอบ สอบเสร็จลืมสนิท เพราะรีบเอา ไม่ทันได้ซึมซับเข้า Long term memory แต่ว่าไป short term memory ก็ไม่ค่อยดี อวตารบางภาค เป็น ปีศาจปลาทอง อ่านหน้าห้องสอบก็ลืมมันหน้าห้องสอบนั่นแหละ เลยปลงได้บ้างไม่ได้บ้างช่างมัน ส่วนที่ถูกเก็บใน long = ชื่อมันก็บอกว่ายาว ต้อง recall บ่อยๆ ถึงจะชิน เรียกได้เร็ว ไอ้เวลาสอบนี่ก็น้อยจางงงง เรียกไม่ค่อยทัน แต่ก็ยังดีเรื่องที่รู้ว่า วันนี้รู้อะไร หรือ ไม่รู้อะไร จะได้ไปหาเอาใหม่ทีหลัง จะมีลังเลเอาบ้างตอนถูกเปรียบเทียบนี่แหละ ว่าคนนั้นได้เยอะกว่า ทำไมเราได้แค่นี้ เฮ่อ ...เสียงเทวดา ช่างไม่เข้าใจ พวกตกสวรรค์เอาเสียเลย

ใครว่าไงบ้างอ่ะคะ -- บทความแก้ตัวสำหรับผู้ที่ขนขึ้นตอนใกล้สอบ








Posted by : Lucifer , Date : 2005-03-02 , Time : 18:12:20 , From IP : 172.29.4.130

ความคิดเห็นที่ : 11


   ผมอ่านแล้วจับประเด็นไม่ใคร่ได้ว่า นั่นคือ comment หรือคำถามนะครับ ไม่แน่ใจว่าจะตอบตรงประเด็นรึเปล่า

ถ้า action คือ "ขยัน" แล้วต้องการ merit คือ "เกรดดี" อาจจะได้ผลตอน preclinic โดยมีข้อแม้ว่าขยันต้องตรงกับ Learning objectives ของรายวิชาที่กำลังสอบ ถ้าขยันผิดที่ผิดทาง Merit ที่ "หวังไว้" จะคลาดเคลื่อน และจะเก๊กซิม (ระยะสั้น) ผลความขยันจะไปออกระยะยาวแทน (ซึ่งอาจจะไม่ได้ตั้งความหวัง หรือมองไกลขนาดนั้น) นี่คือข้อจำกัดของ Materialism

เหมือนอย่างทำความดี เช่นบริจาคเงินสร้างโรงเรียน ต้องการ merit คือมีคนนับหน้าถือตา ชมเชยว่าใจบุญ ฯลฯ แต่ตรงนี้มันควบคุมยาก ไปๆมาๆที่คนนับถือคือเงินที่มีมากกว่า ตั้งหน้าตั้งตาคอยคนนับถือ คนกล่าวขวัญจาก "บุญ" ที่ทำ เกิดไม่มีพาลจะเป็นทุกข์จากการทำบุญแทน นับว่าน่าเสียดาย นี่คือทานชนิดเป็น "กับดัก" แฝงกับดักทุกข์ไว้ในเนื้อหาความดีงาม ปัญญาชนพึงหลีกเลี่ยงครับ

ยิ่งขึ้น ward อยู่ชั้นคลินิก แนะนำว่าขยันอ่านหนังสือมากๆนั้น เป็นความจำเป็นก็จริง แต่อาจจะไม่เท่าการขยันอยู่บน ward ให้เข้าคนไข้เป็น ตรวจร่างกายซักประวัติเป็น อ่านอารมณ์คนไข้ออก เข้าใจและซาบซึ้งในความเป็นตัวตนและความหมายของการเจ็บป่วยของโรคต่อตัวคนไช้คนนี้เป็นรายๆ รวมทั้ง clinical reasoning และ decision making ฯลฯ การประเมินชั้นคลินิกจะเน้นด้านนี้เยอะขึ้นมาก เราพึ่งปรับการเรียนการสอน pre- post-operative care block ไป รวมทั้งการประเมิน หวังว่าแนวทางการประเมินจะสร้าง "วัฒนธรรมการเรียน" ของนักศึกษา แทนที่จะไปเน้นโพย เน้นเข้า Internet เน้นนอนหอ ให้มาเป็นเน้นปฏิบัติงานบน ward เน้นการพูดคุยกับคนไข้ เน้นการฝึก skill, clinical reasoning, การอภิปราย case ของตนเองกับพี่กับอาจารย์ การแปลผลประวัตตรวจร่างกาย การฝึกหัดสั่ง IV fluid การฝึกหีดสั่ง order อย่างง่ายๆ พูดสั้นๆคือชั้นคลินิกนี่เน้นงานที่เป็นหมอ ได้สัมผัสกับ life style ขอวแพทย์จริงๆนั่นเอง ไม่ใช่เป็นหมอตู้ หมอ internet หรือหมอคอมพิวเตอร์ ฉะน้นถ้าขยันผิดทาง เกรดก็คงจะไม่ดี แถมถ้าเน้นนอนหอ ขยันอ่านแต่ตำราอย่างเดียว หมอจะเก๊กซิมทั้งระยะสั้นคือเกรด และระยะยาวคือ lack clinical skill ซวยสองเด้ง



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-03 , Time : 00:29:37 , From IP : 172.29.7.26

ความคิดเห็นที่ : 12


   severe AR ค่ะ กำลังพยายามปรับอยู่ จำได้ว่าอาจารย์เคยบอกว่าอาจารย์เป็น severe AS เลยคิดว่า ถ้าพยายามศึกษาวิธีการคิดของอาจารย์จะช่วยปรับ learnng style ได้บ้าง

Posted by : Lucifer , Date : 2005-03-03 , Time : 15:15:33 , From IP : 172.29.4.130

ความคิดเห็นที่ : 13


   ไมรู้ว่าใครจะปรับใครก่อนเหมือนกันนะครับ ผมทำงานกับ 2 สุดยอด AR ของคณะฯ วันนี้มีบรรยายร่วมกันปรากฏว่า AR present มี concrete มี 1,2,3 แต AS present ออก abstract random สุดๆไปเลย สงสัยต้องไปทำแบบสอบถามใหม่กันทั้งก๊กตอนปลายปี



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-03 , Time : 21:12:47 , From IP : 172.29.7.253

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.01 seconds. <<<<<