รู้สึกประเด็นยังไม่โดนใจ ไม่เคลียร์ หรือไม่น่าสนใจพอ ขออนุญาตรำพึงต่อก็แล้วกัน
หัวใจสำคัญของ "ความสำเร็จ" อะไรก็ตามขึ้นอยู่กับเป้าประสงค์ของกิจกรรมนั้นๆ และจะเป็นการมีประสิทธิภาพสูงสุดถ้า "ทุกคน (stake-holder)" มีส่วนตั้งใจผลักดันกิจกรรมนั้นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีใครดึงลากแถกถูออกไปข้างทาง (หรือย้อนหลัง!!) ผมเชื่อว่าโดยปกติใน case ธรรมดาๆไม่ค่อยมีปัญหาอยู่แล้ว เพราะหมอพยาบาลพร้อมที่จะแจ้ง "ข่าวดี" ให้กับทีม ไม่ว่าจะเป็น พชท. นศพ. พยาบาล รวมทั้งคนไข้และญาติ ว่า case นี้เราทำสำเร็จ การแจ้งข่าวดีเสริมสร้างความมั่นใจ คุณค่า แลกำลังใจในการทำงาน ในความรู้สึก "ต่อตนเอง" ฉะนั้นเรามักจะหาโอกาสทำบ่อยๆ
แต่ถ้าบริบทมันเปลี่ยนไป เป็นโรคที่เรื้อรัง เป็นโรคที่ยังไม่รู้เป็นโรคอะไร เป็นโรคที่ยังไม่รู้จะรักษาอย่างไร เป็นโรคที่ไม่รู้พยากรณ์โรค เป็นโรคที่ไม่แน่ใจว่าคนไข้มีตังค์จ่ายค่ารักษารึเปล่า (เอกชนอาจจะมีประด็นนี้) เป็นโรคที่ รพ.เรามีคนรักษาได้ไหมหรือต้อง refer เป็นโรคที่รักษาไม่หายแน่ๆ จนไปถึงกลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทีนี้ข่าวที่จะแจ้งให้ทีมทราบมันไม่ใคร่เป็นข่าวดีซักเท่าไหร่อีกต่อไปแล้ว มันเต็มไปด้วยความไม่มั่นใจ หรือแม้กระทั่งการสูญเสียความมั่นใจ บางทีอาจจะลามไปถึงการสูญเสียหน้า คุณค่าของตัวเราเอง การขาดความมั่นใจว่าเราจะสื่อเรื่องแบบนี้อย่างไร ถ้าเรามีพยาธิสภาพแบบนี้ปนๆอยู่ บางทีก็จะมีการเลือกการ "ไม่สื่อ" เป็นทางออกไปซะเฉยๆ การไม่สื่อ นี่อาจจะมีทั้งการจงใจ หรือความรู้สึกลึกๆภายใน หรือเป็น ignorance คือความไม่ใส่ใจจะสื่อซะเฉยๆเพราะคิดว่าไม่สำคัญ ไม่ใช่หน้าที่
เมื่อ การไม่สื่อ เกิดขึ้น หมายความว่า "ทีม" จะมีการกระจายของข้อมูลคนไข้ไม่สม่ำเสมอไม่เท่ากัน เกิดได้ทั้งขึ้น ทั้งลง และแนวระนาบ การไม่มีการเขียนบันทึกรายงาน admission, progress note, summary note, การส่งเวรที่ดี การถ่ายทอดข้อมูลจากผู้ป่วย จากญาติ สู่พยาบาล สู่หมอ มันปั่นป่วนสูญหาย ในที่สุดคนในทีมก็จะจำเป็นต้องใช้การ "เดา" หรือ "assumption" ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพื่อเติม jigsaw เอาเอง กิจกรรมการเดานี้แหละที่ก่อปัญหาได้เยอะ เพราะไม่ได้ใช้ observatory facts และขึ้นกับบริบทของคนเดา เช่น อารมณ์ maturity ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง กอปรกับบุคลิกอดีตกาลการเลี้ยงดอบรมสั่งสอนกลั่นออกมาเป็นการเดาแต่ละครั้ง โอกาสพลาดจะยิ่งเยอะถ้าบริบทห่างกันเยอะเกิน
คนไข้โรคเดียวกัน จะมีอะไรมาเล่าให้เราฟังไม่ซ้ำกันเลย สิ่งเหล่านี้ทำให้ perception ของโรค ของโรงพยาบาล เจตคติกับทีมหมอพยาบาล ของคนไข้แต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ละคนที่เข้ามานอนใน รพ. ก็เหมือนกัยสมาชิกใหม่ของ "ทีม" ของเรา ต้องมีการปรับตัวจากทั้งสองฝ่าย ต้องมีการสร้างความไว้ใจ ความเชื่อมั่นศรัทธาเกิดนขึ้น ตรงนี้ต้องเริ่มจาก "ความต้องการจะสร้าง" ก่อนจากทั้งสองฝ่าย
ผมว่าฝ่ายผู้ป่วยและญาติน่ะอยากจะเริ่มอยู่แล้ว แล้วฝ่าย "เรา" มีความต้องการเช่นนี้ ควรจะทำอย่างไรบ้าง?
Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-27 , Time : 10:23:49 , From IP : 203.156.37.2
|