ความคิดเห็นทั้งหมด : 10

การส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาที่รพ.ที่ผู้ป่วยมีสิทธิ์


    ตามที่ทางผู้บริหารได้ออกมาแถลงในเรื่องของภาวะการเงินของรพ. และ
จากที่ได้สังเกตุเห็นการมารับการรักษาของผู้ป่วยที่มามอ.แล้วมักมีปัญหาเรื่องของสิทธิ์ต่างๆของผู้ป่วย ผมและเพื่อนเห็นว่า ทางฝ่ายบริหารน่าจะมามีส่วนร่วมในการอธิบายถึง สิทธิ์ของผู้ป่วย และควรทำหน้าที่ในการอธิบายเหตุผลที่จะต้อง refer ผู้ป่วยกลับไปรพ.ที่ผู้ป่วยมีสิทธิ์รักษาอยู่ที่นั่น เพราะพวกผม
1. รู้สึกผมเบื่อที่จะต้องบอกให้ผู้ป่วยกลับไปรพ.นั้น โดยที่ผู้ป่วยก็มีอาการบาดเจ็บค่อนข้างมาก + ญาติก็ไม่ค่อยพอใจในเรื่องการ refer
2. ที่นี่รพ.โรงเรียนแพทย์ ถ้าไม่มีประสบการณ์การเห็นหรือทำ case แล้วต่อไปจะทำได้ยังงัย แล้วจะเปิด train ต่อได้หรือเปล่า
3. จะได้มีเวลาไปตรวจ case อื่นๆ บ้าง ไม่ต้องเสียเวลามาอธิบาย (ในกรณีที่ผู้ป่วย+ญาติเข้าใจเหตุผลก็แล้วไป แต่ถ้าอธิบายกันไม่ค่อยรู้เรื่อง หมอก็มีอารมณ์โกรธเหมือนกัน แต่ทำอะไรไม่ค่อยได้ แบบว่าใจนึงก็โกรธ แต่อีกใจก็สงสาร)
****
ทั้งนี้และทั้งนั้น อย่างให้เพื่อนหรืออาจารย์ลองมาแสดงความคิดเห็นกันหน่อยครับ เพื่อจะได้มีแนวทางทำให้ทุกๆอย่างดีขึ้น แบบว่าสงสารคนไข้
*****
อีกเรื่องยังมีเรื่องหอพักนะ ถ้าจะเป็นผู้บริหารหัดดูใจผู้อยู่บ้าง
ผมคิดว่าทางฝ่ายบริหารน่าจะทำได้ดีกว่า ที่ข่าวออกมานะครับ



Posted by : ll , Date : 2005-02-22 , Time : 15:50:46 , From IP : 172.29.1.97

ความคิดเห็นที่ : 1


   ....ผมเองไม่ค่อยเข้าใจภาวะการเงินในตอนนี้เท่าไรนัก.....แปลกใจอยู่บ้างว่า....ทำไมเราแก้ปัญหากันด้วยวิธีนี้.....???....แต่จะว่าไปผมก็ไม่มีทางอื่นเสนอให้โรงพยาบาล.....อย่างมากถ้าเป็นผมคงไปก่อม็อบเรียบร้อยแล้ว.....:D...:D

.....ข้อแรกที่พูดถึง....ผมคิดว่าถ้าการบาดเจ็บนั้นมาก.....เราสามารถ Admit ผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินได้อยู่แล้ว.....ผมเข้าใจว่าความหมายของผู้เขียนคงหมายความว่า Staff คงไม่ให้ Admit.....เช่นอาจจะ Mild head injury เล็กน้อย....แต่ญาติเห็นแล้วอาจจะคิดว่ามาก...การจะส่งไปโรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อ Observe อาจจะทำให้ญาติไม่พอใจได้.....กรณีนั้นผมว่าใช้การ Observe ที่เราทำกันอยู่แบบเดิมน่าจะพอใช้ได้นะครับ.....:D

.....ข้อสองผมว่าคงต้องทำใจครับ....เราคงได้แต่ดู Case ที่ Emergency จริงๆ....ส่วน Case ที่ไม่ด่วนอาจจะต้องรอโรงพยาบาลอื่นส่งมาเป็น OPD case หละครับ....ผมไม่รู้ว่าเมื่อก่อน Case มากกว่านี้แค่ไหน.....แต่ตอนนี้ผมว่าน้อยลงไปเยอะในช่วงสองสามปีมานี้....แต่ฉุกเฉินผมว่าก็มีเรื่อยๆนะ....

...ข้อสุดท้ายนี่ผมเห็นด้วยนะ.....บางทีเราไม่มีความรู้เรื่องการส่งต่อหรือระบบโรงพยาบาลขนาดอธิบายให้ญาติหรือผู้ป่วยเข้าใจได้.....บางทีผมยังเบื่อๆเลยเวลาจะ Admit ผู้ป่วย...คุยเสร็จแล้วว่าจะตรวจเพื่อแบบนั้นแบบนี้...อาจจะต้องผ่าตัดนะครับ....สุดท้ายก็...."30 บาท รพ กอไก่....รพ ขอไข่"...ผมเองยังคิดไม่ออกเลยว่าจะอธิบายกับคนไข้อย่างไรดี....ส่วนหนึ่งก็เข้าใจ....แต่จะมีอีกส่วนที่ไม่เข้าใจ....พวกหลังนี่หละครับมักจะเกิดปัญหา....

....ข้อสุดท้ายนี้รู้สึกว่าเวลากลางวันจะมีหน่วยงานเรื่องสิทธิจะอธิบายเรื่องนี้ให้....แต่พอนอกเวลาไม่มี....ถ้าให้ผมคิด...น่าจะมีเจ้าหน้าทีที่คอยอธิบายตรงจุดนี้อยู่นอกเวลา.....เผื่อมีปัญหาแบบนี้...ก็ส่งปรึกษาเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ตรงนี้จะได้คุยได้ไม่เกิดปัญหา...แต่ผมว่าเป็นไปไม่ได้หรอกครับ.....ถ้าเพิ่มงานตรงนี้....ก็จะมีคนเหนื่อยมากขึ้น..เดี๋ยวก็มีปัญหาอีก...ทนได้ก็ทนไปเถอะครับ.....เวลามีคนไข้มาปรึกษา....ก็ให้ติดป้ายตัวโตๆบนหน้า OPD card ก็ได้ครับว่า..."สามสิบบาท....สี่สิบบาท....ประกันสังคม....ราชการ".....ให้เห็นกันจะจะไปเลย....ก่อนอธิบายจะได้ไม่ต้องลำบากใจ.....เฮ้อออออ......




Posted by : Death , Date : 2005-02-22 , Time : 19:29:53 , From IP : 172.29.3.111

ความคิดเห็นที่ : 2


   เห็นด้วยกับการที่ผู้บริหารควรจะต้องหาระบบจัดการ refer ผู้ป่วยที่เหมาะสมกลับไป ไม่ใช่จะให้แพทย์ผู้ตรวจเป็นผู้คุยเองและอาจต้องรับผิดชอบถ้ามีผลเสียเกิดขึ้น
น่าจะมีหนทางการแก้ไขปัญหาที่ดีกว่านี้ และไม่ควรคิดถึงกำไรขาดทุนจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้การรักษาตำกว่ามาตรฐานได้ และภาพพจน์ของ มอ. ก็จะแย่ลงในที่สุด หาทางอื่นดีกว่าครับ สงสารคนไข้ตาดำๆ


Posted by : Dr. Poor , Date : 2005-02-22 , Time : 23:10:48 , From IP : 172.29.7.196

ความคิดเห็นที่ : 3


   ถ้าพวกคุณเปิดร้านขายของอะไรก็ได้ ขายดี มีคนซื้อของมาก แต่ไม่จ่ายเงิน ถามง่ายๆว่า คุณจะอยู่ได้อย่างไร เหมือนกับการรักษาผู้ป่วยสามสิบบาทนะ รักษาหมดเงิน รพ. ไปมากมาย แต่ไม่มีใครรับผิดชอบจ่ายเงินให้ รพ.คืนมา แล้ว รพ.จะอยู่ได้อย่างไร ไม่ว่าใครในโลกนี้ ถ้ามาบริหาร ก็เจ๊งด้วยกันทุกคนนั่นแหละ ถ้าพูดว่าทำได้ ก็โกหกทั้งนั้น แต่การแพทย์เรามันมีจริยธรรม คุณธรรมค้ำคออยู่ ทำให้การแก้ไขปัญหาทำได้ยาก น่าเบื่อประเทศเรา เพราะผู้มีอำนาจมัวแต่หาเสียงเอาความดีเข้าตัว ทำให้ดูดี แต่สุดท้ายประชาชนที่ยากไร้นั่นแหละ รับกรรม ไม่มาก ก็น้อย
ปลงเสียเถิด


Posted by : หมอโง่ , Date : 2005-02-22 , Time : 23:26:35 , From IP : 172.29.7.66

ความคิดเห็นที่ : 4


   สอบถามข้อเท็จจริงจากผู้บริหารในภาควิชาดีกว่า แล้วคุยกันดูว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร

Posted by : มณีแดง , Date : 2005-02-23 , Time : 09:56:11 , From IP : 172.29.7.84

ความคิดเห็นที่ : 5


   จะไปว่าผู้บริหาร ก็ไม่ได้นะครับ เพราะนอกจากเรื่องการเรียนการสอนแล้วคงต้องบริหารให้ รพ อยู่รอดต่อไป มันคงเป็นความเลว ของนโยบายหาเสียงนี่มากกว่า อีกอย่างไม่ใช่เฉพาะมอ หรอกครับที่มีปัญหาแบบนี้ ที่รรแพทย์ที่อื่นก็มีเหมือนกันครับ และอาจจะเข้มงวดมากกว่า มอ อีก

Posted by : Dr K , Date : 2005-02-23 , Time : 13:59:06 , From IP : 202.28.181.9

ความคิดเห็นที่ : 6


   ดีค่ะ

Posted by : float , Date : 2005-02-24 , Time : 03:34:21 , From IP : 172.29.1.243

ความคิดเห็นที่ : 7


   เราคิดว่าปัญหา 30 บาทที่ทำให้ รพ.ขนาดใหญ่ต้องบกภาระขาดทุนเกิดมานานแล้ว ผู้บริหารรพ.ของสาธารณสุขคงไม่กล้าโวยวาย ขืนทำไปก็เตรียมย้ายที่ไง อาจถูกส่งไปอยู่ 3 จว.ชายแดน หรือแป็กเข้ากรุ แต่ที่ไม่เข้าใจคือ รพ.มหาวิทยาลัย ซึ่งมีข้อมูลชัดเจนว่าไม่ได้รับเงินคืน หรือได้รับการสนับสนุนไม่เพียงพอ ทำไมไม่กล้าออกมาส่งเสียง ลองออกรายการ TV สักรายการดู พวกชอบหาเสียงเอาหน้าทั้งหลายคงรีบออกมาให้คำตอบ

Posted by : คืดด้วยคน , Date : 2005-02-24 , Time : 17:15:56 , From IP : 172.29.1.115

ความคิดเห็นที่ : 8


   ขอคำจำกัดความของ รพ.ที่มีสิทธิ

ผป เป็นสับเซตของประชาชนชาวไทย
ผป เสียภาษีให้รัฐ
รัฐ เอาภาษีมาสร้าง รพ ซื้อเครื่องมือแพทย์ ซื้อยา เพื่อดูแลประชาชนของประเทศ
ผป เป็นประชาชนของประเทศ ที่รัฐต้องดูแล
รพช. รพท รพศ รพ.มหาวิทลัย เป็นของรัฐ
รพช รพท รพศ รพ.มหาวิทยาลัย จึงต้องดูแลประชาชน
ผป.เป็นสับเชตของประชาชน ดังนั้นเขาจึงมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลจาก รพช รพท รพศ รพ มหาลัย

สรุป ผป มีสิทธิ ในทุก รพ ของรัฐ ครับ ....
ที่เขียนมายาวๆ เพื่อให้อ่านแล้วมั่วดี
-----------------------------------------------------------------------------------
ข้อจำกัด
ทรัพยากรจำกัด ต้องแบ่งกันใช้ รพ แต่ละระดับ มีทรัพยากรต่างกัน ศักยภาพต่างกัน ...
เพื่อให้การใช้ทรัพยากรที่จำกัดคุ้มค่าที่สุด จึงต้องแบ่งระดับการดูแล ไม่เช่นนั้น โรคที่ควรจะอยู่ที่ควรจะดูแลได้ที่ สอ หรือ รพช หรือ รพท จะมากระจุกอยู่ที่ รพศ หรือ รพ มหาลัย หมด เป็นการใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้ม เพราะผป ที่ รพ ระดับนี้ควรจะดูแล ซึ่งเป็นผป หนัก และใช้ทรัพยากรเยอะโดนผป. อีกระดับใช้ทรัพยากรไป

ข้อเสนอแนะ
เรื่อง ทรัพยากรที่จำกัด เพื่อ ลดแรงเสียดทาน การประชาสัมพันธ์ โดยรัฐน่าจะมีประโยชน์ นอกจากนี้การเพิ่มศักยภาพ เพิ่มความเชื่อถือให้ รพ ไกล้บ้าน ให้เป็น รพ ไกล้บ้านไกล้ใจ น่าจะลดการใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นไปได้
ที่สำคัญที่สุด การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ให้ป่วย เพราะป่วยแล้วใช้ทรัพยากรเยอะ จะทำได้ดีได้ ก็คงเริ่มจากการศึกษาที่ดี มีปัจจัยสี่ พร้อม ..


----------------------------------------------------------------------------------
จบแล้ว ค่อยเขียนใหม่ จากประสปการณืใช้ทุนข้างนอก


Posted by : munich , Date : 2005-02-24 , Time : 18:09:21 , From IP : 172.29.3.247

ความคิดเห็นที่ : 9


   บางครั้งรู้สึกว่ายากมากกับการอธิบายว่าเป็นนโยบายค่ะ ที่ต้องจ่ายเงินเองใช้สิทธิ 30 บาทไม่ได้ เพราะว่าไม่ได้มาตามขั้นตอนค่ะ แต่ในที่สุด เมื่อมาพิจารณาอีกครั้ง ต้องใช้ฝ่ายสิทธิประโยชน์ หรือชื่อเดิมสังคมสงเคราะห์ แล้วอย่างนี้ก็แย่กว่า 30 บาทอีกนะ ยิ่งยากกว่านั้นก็คือญาติที่เข้าใจว่าการใช้สิทธิฉุกเฉินคือการมาที่ ER ยิ่งอธิบายยาก จะส่งกลับไปให้ใช้สิทธิตามระบบยากอีก เฮ้อ..น่าเห็นใจ

Posted by : jj , Date : 2005-02-25 , Time : 02:28:33 , From IP : 172.29.3.90

ความคิดเห็นที่ : 10


   เข้าใจความรู้สึกของทุกคนเลย แต่ที่เราได้ยินมานโยบายใหม่ทึ่รับมือกับภาวะการเงินของ รพ นี่น่ากลัวกว่าในนี้เยอะ
เราทำงาน contact กับคนไข้ รู้สึกว่าอธิบายยากขึ้นทุกวัน
เห็นด้วยว่านโยบายกับความเป็นจริงนั้นสวนทางกัน
แล้วเราจะทำอย่างไรดี สงสารคนไข้ สงสารตัวเองจะถูกฟ้องซะหรือเปล่า


Posted by : op , Date : 2005-02-25 , Time : 09:37:48 , From IP : 172.29.3.230

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.007 seconds. <<<<<