ความคิดเห็นทั้งหมด : 60

รูปแห่งความดีใจ(วันรับเสื้อกราวน์พี่ปี3)


   

Posted by : ใครสักคน , Date : 2005-02-20 , Time : 14:07:56 , From IP : 172.29.2.208

ความคิดเห็นที่ : 1


   ตูดำเด่นอยู่คนเดียว อิอิ


ขอบคุณค้าบ


Posted by : สาวน้อยร้อยชั่ง , Date : 2005-02-20 , Time : 16:10:37 , From IP : 172.29.4.175

ความคิดเห็นที่ : 2


   ยินดีด้วยจ้า แล้วเราจะได้เรียนรู้ร่วมกันในชั้นคลินิกนะ
แต่ว่า ทำไมมีแบบ แปลกๆ ยืนแยกแถวอยู่คนเดียว แบบไม่ใส่เสื้อด้วยหล่ะ ไม่เคยเห็นในclassมาก่อนเลย ระหัสไหนเนี่ย บอกให้เขามารายงานตัวด้วยจ้า


Posted by : pisces , Date : 2005-02-20 , Time : 16:50:27 , From IP : 172.29.7.191

ความคิดเห็นที่ : 3


   
ยินดีด้วยครับ

ว่าแต่.. มีถ่ายติดรูปแขกรับเชิญด้วยแฮะ
ท่าทางดุเสียด้วยซี





Posted by : ^_^ , Date : 2005-02-20 , Time : 20:05:30 , From IP : 172.29.7.107

ความคิดเห็นที่ : 4


   รุ่นผม (สิบกว่าปีก่อน) เป็นรุ่นแรกที่ต้องมีพิธีรับใบประกอบโรคศิลป์ ก่อนรับต้องมีการกล่าวคำปฏิญาณยาวเฟื้อย ตอนนี้จำไม่ได้แล้วครับว่าเขาให้กล่าวว่าอย่างไร แต่คิดว่าคงเป็นประเภท จะรับใช้พี่น้องประชาชน จะประกอบอาชีพสุจริต หรืออะไรทำนองนี้

ตอนซ้อม อาจารย์ที่มาควบคุมก็พยายามให้ทุกคนเปล่งคำปฏิญาณให้พร้อมเพรียงกันด้วยเสียงดังฟังชัด

มีบางคนที่ไม่ยอมกล่าวคำปฏิญาณเลย ไม่ว่าจะวันซ้อมหรือวันจริง ...วันรับจริงก็ไม่ค่อยเท่าไหร่ ตอนซ้อมพี่ก็เล่นไม่ยอมพูด อาจารย์ก็พยายามย้ำว่าให้พูดกันทุกคน ให้เสียงดัง ๆ กว่าจะซ้อมเสร็จก็เล่นไปหลายรอบ

คนที่ไม่กล่าวคำปฏิญาน ให้เหตุผลต่าง ๆ กันไป

"ไม่รู้ว่าจะทำได้อย่างที่พูดจริงหรือเปล่า"
"ไม่มีทางผูกมัดการกระทำของคนได้โดยคำพูดที่ถูกบังคับให้พูดเพียงไม่กี่คำ"
"อุดมการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คำปฏิญาณเปลี่ยนคนไม่ได้"

สำหรับผม เดี๋ยวนี้มาคิดได้ว่า "พูดไปแล้ว อีกไม่นานก็ลืม"


อยากจะบอกน้อง ๆ ที่เห็นในภาพนี้ทุกคนว่า อีกไม่นาน น้องก็จะจบมาเป็นแพทย์ พิธิรับเสื้อนี้ จะมองให้ศักสิทธิ์หรือจะมองว่าไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับตัวผู้ใส่เอง ว่าจะทำให้เสื้อกาวน์ที่ใส่นั้นมีความหมายเพียงใด

ถ้าใส่แล้วไม่ทำตัวให้เหมาะสม ต่อให้จัดพิธีใหญ่โตเพียงใดก็ไร้ความหมาย
แต่หากใส่แล้วทำให้เราเป็นคนที่ทำประโยชน์ให้โลกได้ ถึงไม่มีพิธีรับเสื้อก็ไม่เป็นไร เช่นเดียวกับคำปฏิญาณที่หลาย ๆ คนเคยกล่าว (หรือไม่กล่าว) เมื่อพิธีรับใบประกอบโรคศิลป์นั่นเอง

ยินดีกับน้องทุกคนด้วยครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-02-21 , Time : 01:33:09 , From IP : 203.147.28.173

ความคิดเห็นที่ : 5


   ยินดีด้วยครับ..พี่น้องคร๊าบ

Posted by : รุ่นพี่ , Date : 2005-02-21 , Time : 14:17:58 , From IP : 172.29.1.141

ความคิดเห็นที่ : 6


   ขออนุญาตวิเคราะห์ psychological profile ของน้องที่ไม่ยอมกล่าวคำปฏิภาณซักหน่อยเถอะ คงไม่ทราบหรอกครับว่าจริงๆแล้วเป็นยังไง แต่น่าสนใจในแต่ละคำอธิบายพอสมควร (ผมว่า)

ขอเอารากศัพท์นิดนึงก่อน
Profess = to declare a personal feeling or belief openly and freely.
to have a religion or belief
Profession = 1. a job that need special training and education
2. a declare of your belief, opinion, or feeling
(Longman Dictionary of Comtemporary English 2001

อาชีพอะไรก็ได้ครับที่ "ต้อง" มีการศึกษาจำเพาะ ฝึกฝนจำเพาะ ก็เรียก profession หรือวิชาชีพ ขายของอาจจะไม่ใช่ เพราะใช้ generic คือ communication skill พื้นฐาน งานช่าง งานฝีมือน่าจะใช่ งานที่มี course works จำเพาะเยอะๆก็ใช่ เช่น แพทย์ ทันตกรรม

"ปฏิภาณ" หรือ Oath ก็อย่างที่แปลออกมาของ profess นั่นแหละครับ อาชีพที่เห็นว่าเรื่องนี้ "สำคัญ" ก็มี "พิธีการ" ดังกล่าวขึ้นมา ไม่ใช่ contract ตามกฏหมายหรือสัญญาเซ็ยชื่อ แต่เป็นสัตยาบรรณที่แขวนอยู่บน "เกียรติยศ" แห่งคความเป็นบุคคลคนหนึ่งเท่านั้น

ถ้าเป็นแบบนี้ สำหรับกลุ่มเหตุผลต่างๆที่ว่ามา
"ไม่รู้ว่าจะทำได้อย่างที่พูดจริงหรือเปล่า"
"ไม่มีทางผูกมัดการกระทำของคนได้โดยคำพูดที่ถูกบังคับให้พูดเพียงไม่กี่คำ"
"อุดมการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คำปฏิญาณเปลี่ยนคนไม่ได้"

มีความหมายที่น่าสนใจ อันแรกไม่มั่นใจ (หรืออาจจะมั่นใจว่าจะไม่ทำแน่ๆ) อันที่สองนี่แปลก ถ้ามันไม่ผูกมัดอย่างว่า พูดไปก็ไม่เสียหาย อันนี้คล้ายๆกับถูกท้าให้สาบานแต่ไม่กล้า แต่ยังปากแข็งว่าไม่เชื่อในคำสาบาน ส่วนอันสุดท้ายนี้น่ากลัว เพราะแสดงว่า "ไม่เห็นด้วย" กับอุดมการณ์ในคำปฏิภาณ และไม่ต้องการถูกบังคับให้กล่าวฝืนใจตนเอง

ผมว่าน่าสนใจครับ ปีหน้าตอนสอบสัมภาษณ์ นศพ. ผมเสนอให้ทุกคนลอง "พูดดังๆ" กล่าวคำปฏิภาณของการเป้นแพทย์ หรือจะเอา Hippocrates oath ก็ได้ แล้วดูซิว่าจะมีปฏิกิริยาแบบไหนบ้าง (จริงๆอยากเสนอให้มีการสวดปฏิภาณอันนี้ตอนเช้า เวลาเคารพธงชาติก็ดีเหมือนกันนะครับ)




Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-21 , Time : 21:32:54 , From IP : 172.29.7.201

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผมพิมพ์ผิดทั้งชุดเลย ขออนุญาตแก้คำว่า "ปฏิภาณ" เป็น "ปฏิญาณ" ทุกคำครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-21 , Time : 21:34:58 , From IP : 172.29.7.201

ความคิดเห็นที่ : 8


   ยินดีด้วยค่ะ จะมีน้องใหม่ๆ มาเดินใน รพ.เพิ่มขึ้นแล้ว เป็นคุณหมอที่ดีและน่ารักกันทุกคนนะคะ

Posted by : nurse , Date : 2005-02-22 , Time : 15:14:31 , From IP : 172.29.1.183

ความคิดเห็นที่ : 9


   เป็นไปได้ไหมว่า การกล่าวคำปฏิญาน อาจเป็นกลยุทธ เพื่อตอกย้ำคุณค่าความดีที่ควรจะเป็น ให้มันลงไปลึกไปถึงมโนธรรม หรือsuperego ในตัวของเรา
ทีนี้ถ้าเราไม่เห็นด้วย หรือต่อต้านเล็กๆ ไม่ว่าจะด้วยการให้เหตุผลอย่างไรก็ตาม ก็คงมาจากพื้นฐานของความไม่มั่นใจในมโนธรรมที่เรามีอยู่ได้ไหม เอ หรือว่า มันจะเป็นการต่อต้านเล็กๆ ในแบบฉบับของวัยรุ่น ที่ชอบวุ่นวาย ถ้าแบบนี้ก็คงไม่น่ากลัวจริงไหม


Posted by : pisces , Date : 2005-02-22 , Time : 22:57:24 , From IP : 172.29.7.54

ความคิดเห็นที่ : 10


   ขออนุญาตทุกท่าน ขอ discuss ประเด็นกับท่าน phoenix นะครับ

ประเด็นที่ผมยกตัวอย่างขึ้นมาก็คือ ไม่อยากให้น้อง ๆ ยึดติดกับเสื้อกาวน์จนมากเกินไปครับ อยากให้เรียนรู้และเข้าถึงความเป็นแพทย์ที่ดี และทำประโยชน์ให้เต็มที่มากกว่า

มองในมุมกลับนะครับ คนที่เขาไม่กล่าวคำปฏิญาณตน อาจไม่เห็นความสำคัญของคำกล่าวนี้ก็ได้ ผมว่าคนคนหนึ่งที่จะเป็นแพทย์ที่ดีได้นั้นต้องเกิดจาก

1. การมีพื้นฐานทางครอบครัวและสังคมที่ดี
2. มุมมองของตัวเองต่อโลกในด้านดี
3. การอบรมสั่งสอนจากอาจารย์ที่ดี ได้เห็นตัวอย่างที่ดี
4. มีความรู้ความสามารถ และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
5. เสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามรถนำมารวบรวมไว้ในคำปฏิญาณไม่กี่ประโยคแน่นอน

หลายคนที่ไม่ยอมกล่าวคำปฏิญาณ อาจ "ดูแคลน" คำปฏิญาณด้วยเหตุผลเหล่านี้ก็ได้ เพราะลำพังสามข้อแรกก็หายากแล้ว จะให้ไปทำข้อสี่ข้อห้าก็คงลำบาก ไม่ใช่ว่า "ไม่กล้า" หรอกนะครับ

คิดอีกแง่ ดีเสียอีกที่ให้รู้กันไปว่าใครคิดว่าจะทำไม่ได้อย่างที่พูด แต่รุ่นผมน่ะ พวกที่พูดดัง ๆ กันหลายต่อหลายคนก็เห็นทรยศอุดมการณ์กันไปเรียบร้อยแล้ว แต่พวกปากหนักไม่ยอมพูดนี่แหละตัวดีนัก คนหนึ่งจบแล้วไปทำงานให้กับองค์กรการกุศล อีกคนก็ฝังต้วอยู่โรงพยาบาลชุมชน ผมว่ายังไงมันก็เอาแน่ไม่ได้หรอกครับ คำพูดแค่นี้ผูกมัดคนไม่ได้ ถ้าอยากให้แพทย์ที่เราผลิตออกไปเป็นคนดี ต้องอยู่ที่การปลูกฝังครับ ไม่ใช่ทำแบบนึกขึ้นมาได้ว่าต้องการหมอดี ๆ นะ แล้วไม่รู้จะทำยังไงก็เลยจับเอามากล่าวคำสาบานกันวุ่นวาย

ไปเน้นที่กระบวนการดีกว่าครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , E-mail : (untamed@spymac.com) ,
Date : 2005-02-23 , Time : 00:21:36 , From IP : 203.147.28.177


ความคิดเห็นที่ : 11


   เราไม่ทราบจริงครับว่าใครที่พูดดังๆออกมาจะทำตามที่พูดสักกี่คน แต่นี่ไม่ใช่สมการแบบ reversible

คำปฏิญาณนั้นจะถูก "ดูแคลน" โดยใครได้อย่างไร? เพราะเป็นคำพูดของ "คนๆนั้น" เอง?

ที่ที่คำปฏิญาณจะ "ดูเหมือน" ศักดิ์สิทธิ์ซะยิ่งกว่าเซ็นสัญญา หรือลงนามรับรอง ก็ตรงที่ว่า "ไม่มี" ใครจะรู้ได้ว่าเราผิดยกเว้นตัวเราเองนี่แหละครับ เป็นการท้าทาย "conscience" ชองปัจเจกบุคคล คนดีๆที่คุณพี่น้องฯกล่าวถึง เขาจะดูแคลนคำปฏิญาณเหล่านี้จริงหรือ?

ขอยกคำปฏิญาณเจนีวาที่เป็นสากลมาให้ดูนะครับ

คำปฏิญญาเจนีวา

ถ้อยแถลง

ในโอกาสที่ได้รับการพิจารณาให้เข้าเป็นสมาชิกของวิชาชีพทางการแพทย์นี้ ข้าพเจ้าขอให้สัตย์ ปฏิญญาว่า

ข้าพเจ้าจะอุทิศตนเพื่อให้บริการเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างเต็มที่ ข้าพเจ้าจะเคารพครูบาอาจารย์และระลึกถึงพระคุณของท่าน

ข้าพเจ้าจะประกอบวิชาชีพด้วยความรับผิดชอบและคำนึงถึงศักดิ์ศรี ข้าพเจ้าจะคำนึงถึงสุขภาพของผู้ป่วยเป็นข้อแรก

ข้าพเจ้าจะรักษาความลับของผู้ป่วยอย่างแน่วแน่ ข้าพเจ้าจะผดุงไว้ซึ่งเกียรติยศและธรรมเนียมที่ปฏิบัติตามแบบอย่างที่ดีของวิชาชีพ

ข้าพเจ้าจะถือเพื่อนร่วมวิชาชีพประดุจพี่น้อง ข้าพเจ้าจะไม่ยอมให้ศาสนา เชื้อชาติ พรรคการเมือง หรือกฎเกณฑ์ของสังคม มาแทรกระหว่าง หน้าที่กับผู้ป่วยข้าพเจ้าจะคงความเคารพนับถืออย่างสูงสุดต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิ แม้จะมีการคุกคาม

ข้าพเจ้าจะไม่นำความรู้ทางการแพทย์มาใช้ในทางที่ผิดต่อเพื่อนมนุษย์ ข้าพเจ้าขอให้ปฏิญญาดังกล่าวข้างต้นนี้อย่างจริงจัง เปิดเผย ด้วยเกียรติของข้าพเจ้า


คุณพี่น้องลองช่วยกรุณาวิเคราะห์ให้ฟังว่าประโยคใด ตรงไหนที่พวกเราพึงดูแคลนบ้าง? และเหตุผลข้อใดข้างต้น สนับสนุนการที่เราควรจะเหยียดหยามปฏิญญาวิชาชีพของอาชีพเราที่ทำมาเป็นเวลานับครึ่งศตวรรษนี้ดี? (คำปฏิญญาเจนีว่าถูก revised ใหม่จาก Hippocrates oath ตอนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง)

คำปฏิญญาของวิชาชีพนั้นไม่ใช่คำสาบาน เป็นคำพูดเรียบง่าย ธรรมดา ไม่ได้มีเงื่อนไขว่าถ้าไม่ทำแล้วจะเกิดกาลกิณี เกิดฟ้าผ่า หรือตกนรกอะไรเลยครับ แค่บ่งบอกว่าที่เราตั้งใจเรียนมาตลอดหกปีนี้ หรือต่อๆไปเรา "ตั้งใจ" จะทำอะไร และแน่วแน่พอที่จะ "พูดออกมาดังๆ" แค่นั้น

ผมเองจำไม่ได้หรอกครับว่าตอนนั้นรู้สึก In มากมายกับคำเหล่านี้แค่ไหน แต่ที่แน่ๆไม่ได้รู้สึก skeptic หรือ ตะขิดตะขวงใจตรงไหนที่จะพูดประโยคเหล่านี้ออกมา ไม่ได้หวาดระแวงหรือดูหมิ่นเหยียดหยามสิ่งที่พ่อหมอ แม่หมอ ปู่หมอทำมาหลาย generations นั้นมันไร้ค่าไร้ความหมาย ก็แค่พูดออกมาแล้วยังสบายใจ ยิ้มได้ ดำรงชีวิตต่อไปได้ ก็แค่นั้น ไม่ต้องสรรหาเหตุผลมาอธิบายเพื่อนว่าทำไมวันนั้นจึงได้ไม่พูด ไม่ปฏิญาณ และจริงอย่างที่คุณพี่น้องฯสรุปไว้ก็คือสิ่งเหล่านี้มันเป็นคำพูด ถ้าจิตใจเราบริสุทธิ์ ไม่ได้มีอะไรติดหลังมัน "ไม่ต้องหาคำอธิบาย" ว่าทำไม่ทำหรือไม่ทำ จะไม่พูดเพราะปวดฟันก็ได้ จะไม่พูดเพราะเจ็บลิ้นก็ได้ แต่เหตุผลอย่างเช่น "ไม่รู้ว่าจะทำได้อย่างที่พูดจริงหรือเปล่า"
"ไม่มีทางผูกมัดการกระทำของคนได้โดยคำพูดที่ถูกบังคับให้พูดเพียงไม่กี่คำ"
"อุดมการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คำปฏิญาณเปลี่ยนคนไม่ได้" นั้น มันแปลกตรงที่ทำไมต้องสร้างขึ้นมาอธิบาย อธิบายให้ใคร? ให้ตนเองหรือ? ณ ขณะนั้น

มันก็คงมีคนที่พูดดังๆแต่ไขว้นิ้วอยู่ข้างหลังบ้างเหมือนกัน ไม่มีใครทราบหรอกครับ แต่การแก้ตัวในสิ่งที่ถ้าเราไม่มีอะไรต้องแก้ตัวนั้นมันทะแม่งๆแค่นั้น ก็อย่างที่ผมพูดไว้ประโยคแรกก่อนวิเคราะห์ว่า "ขออนุญาตวิเคราะห์ psychological profile ของน้องที่ไม่ยอมกล่าวคำปฏิภาณซักหน่อยเถอะ คงไม่ทราบหรอกครับว่าจริงๆแล้วเป็นยังไง แต่น่าสนใจในแต่ละคำอธิบายพอสมควร (ผมว่า) เป้น exercise ว่าจะโดนใจเบื้องลึกของใครหรือไม่ แต่ทั่วๆไปไม่น่าจะมีใครกระทบกระเทือนอะไรนี่ครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-23 , Time : 01:51:55 , From IP : 172.29.7.158

ความคิดเห็นที่ : 12


   มีพิธีรับเสื้อด้วยเหรอ ครับ หรือว่าจัดกันเอง เอ สมัยผม จัดกันเอง หนุกดี รู้สึกว่าตัวเอง เวอร์มากกกกกกก อิอิอิ


Posted by : Dr K , Date : 2005-02-23 , Time : 14:01:55 , From IP : 202.28.181.9

ความคิดเห็นที่ : 13


   สมัยพี่ก็มีแค่ไปถ่ายรูปกันที่ลานพระรูปง่ะ
ไม่เห็นได้ดอกไม้ ตุ๊กตาตัวโตๆๆแบบนี้เลยน่ะ
อิจฉาจัง แงๆๆๆ


Posted by : med 19 , Date : 2005-02-23 , Time : 16:49:15 , From IP : 202.129.18.132

ความคิดเห็นที่ : 14


   พี่ก็ไม่มีการให้ดอกไม้ หรือให้ตุ๊กตาเหมือนกัน อิจฉาเหมือนกัน แต่ยังงัยก็ไม่นึกเสียดาย เพราะมันก็ยังเป็นวันที่เรารู้สึกภูมิใจ สนุก มีความสุข ดี้ด้าและประทับใจมากๆ เพราะถือว่าเป็นวันวันหนึ่งที่มีการรวมตัวกันได้มากที่สุดในชีวิตการเป็นนศพของเราเลยทีเดียว

Posted by : med16 , Date : 2005-02-25 , Time : 21:35:36 , From IP : 172.29.7.213

ความคิดเห็นที่ : 15


   คือว่าอยู่เวรติดกันหลายวัน ไม่มีเวลามาตอบความเห็นอาจารย์ phoenix ขออภัยด้วยครับ

สิ่งที่ผมอยากจะบอกใคร ๆ ที่เข้ามาอ่านหัวข้อนี้ก็คือ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งสำคัญในการเป็นแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อกาวน์หรือคำปฏิญาณก่อนรับใบประกอบโรคศิลป์

แน่นอนว่าเสื้อผ้าเป็นสิ่งจำเป็น หากจะต้องเดินไป OPD หรือ OR ...ไม่ใส่ก็โดนจับ

เช่นเดียวกันกับใบประกอบโรคศิลป์ (หรือหมายเลขกำกับใบประกอบโรคศิลป์) นั้นจำเป็นสำหรับแพทย์เพื่อใช้ทำงาน ...ไม่มีก็เป็นหมอเถื่อน

แต่ไม่จำเป็นต้องใส่เสื้อกาวน์แบบนี้ ก็เป็นแพทย์ได้ ไม่ต้องกล่าวคำปฏิญาณ (ที่พูดกันมาสองพันกว่าปีแล้ว แต่ถูกแก้ไขเพียงครั้งเดียว ...อะไรจะช่างโบราณถึงเพียงนี้) ก็เป็นแพทย์ได้

หากผมจะบอกว่าสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าคำปฏิญาณนี้แพทย์หลายต่อหลายคนได้มาจากพื้นฐานครอบครัวที่อบรมมา จากอาจารย์หลายท่านที่เป็นต้นแบบ จากรุ่นพี่หลาย ๆ คนที่เป็นตัวอย่าง และจากประสบการณ์ที่ผ่านพบมาก่อนจะถูกเกณฑ์มาเข้าพิธีกล่าวคำปฏิญาณโดยบังคับเช่นนี้ สิ่งเหล่านั้นต่างหากที่เป็นเบ้าหลอมแพทย์คนหนึ่งให้ออกมาเป็นแพทย์ที่ดี หาใช่คำพูดที่พูดกันในเวลาไม่ถึงสองนาทีไม่

สรุปง่าย ๆ แม้ไม่ต้องปฏิญาณ คนส่วนหนึ่งที่ได้รับการอบรมศึกษามาดีก็เป็นแพทย์ที่ดีอยู่แล้ว แล้วทำไมต้องมาบังคับให้ต้องพูดคำพูดที่ไม่มีใครคิดจะเอาไปติดไว้บนหัวเตียงหรือที่โต๊ะทำงานกันด้วย มิหนำซ้ำไม่นานก็ลืม

ลองออกแบบสอบถามแพทย์ที่จบมาสักสองสามปี ว่าใครจำคำปฏิญานได้บ้างดูก็ได้ครับ หรือไม่ก็ทำ prospective randomiaed control trial study ให้สุ่มนักเรียนแพทย์กลุ่มหนึ่งกล่าวคำปฏิญาณ อีกกลุ่มไม่กล่าวคำปฏิญาณ จากนั้นให้ทำงานไปสักสองสามปี แล้วให้ใครสักคนมาประเมินโดยไม่ทราบมาก่อนว่าคนไหนบ้างที่ได้กล่าวคำปฏิญาณ ดูว่าใครจะเป็นแพทย์ที่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมมากกว่ากัน ...น่าจะได้ข้อสรุปสำหรับหัวข้อที่ผมกับอาจารย์ phoenix ได้ discuss กันมาตั้งหลายวันนี้ได้

แต่ถึงยังไง ผมก็ยังยืนยันว่า 1.พื้นฐานของคน 2.การเรียนรู้ 3.การได้เห็นตัวอย่าง(ทั้งดีและไม่ดี) และ 4.ประสบการณ์ จะเป็นตัวกำหนดว่าคนคนนี้จะประพฤติตัวดีหรือไม่ดีอย่างไร

สำหรับผม คิดไม่เหมือนอาจารย์ phoenix ตรงที่ว่า ถ้าจิตใจบริสุทธิ์ ก็ไม่ต้องพูดก็ได้ครับ พูดกับไม่พูดก็ไม่ต่างกัน คนที่ตะโกนดังกว่าชาวบ้านนี้สิ ต้องคิดให้หนักว่าทำไมถึงได้ทำร้าย vocal cord กันด้วยคำพูดที่เลื่อนลอยเช่นนี้

ถ้าพูดแล้วดี ทำไมวันจริงไม่ให้พูดสักสองจบเลยล่ะครับ หรือจะเอาสามจบแบบตั้งนโมก็ได้

หรือว่าใครสักคนกลัวว่า "...รุ่นนี้ท่าทางไม่ค่อยดีแฮะ จับมาปฏิญาณสักหน่อยดีกว่า เผื่อจะดีขึ้นมาบ้าง"

ผมว่ามาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน ให้เด็กได้เรียนรู้ชีวิตการเป็นแพทย์ หรือหาต้นแบบที่ดีไว้เป็นอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ ให้เด็กได้เอาอย่างน่าจะดีกว่านะครับ

ไม่รู้อาจารย์ phoenix ว่ายังไงครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-03-02 , Time : 12:23:42 , From IP : 203.147.28.174

ความคิดเห็นที่ : 16


   เห็นด้วยครับว่าความสำคัญ "ไม่ได้" อยู่ที่จะกล่าวหรือไม่กล่าวปฏิญาณ ขออนุญาตเรียบเรียงการสื่อใหม่

ผมคิดว่าเรา "ไม่มีทางทราบ" ว่าหลังจากกล่าวปฏิญาณไปอย่างนั้นอย่างนี้ คนๆนั้นจะทำหรือไม่ทำ ดังนั้น action นี้ไม่สามารถนำมาเป็นสรณะว่าคนที่กล่าวเป็นคนดี คนที่ไม่กล่าวเป็นคนไม่ดี และอย่างที่ยกตัวอย่างไว้ การไม่กล่าวนั้นมีได้หลายร้อยสาเหตุที่ไม่ได้เกี่ยวแม้แต่นิดเดียวกับการเป็นแพทย์ คนอาจจะปวดฟัน เจ็บปาก ท้องอืด เผลอหลับใน ฯลฯ แต่ที่ผมว่าน่าสนใจก็ต่อเมื่อมีบางคน volunteer เหตุผลจำเพาะออกมาต่างหากว่า "ทำไม" เขาไม่กล่าว เพราะเหตุผลที่ยกมานั้น มันได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึง "ที่มา" ของการไม่กล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

เช่น ถ้าเราจะ exaggerate สักหน่อย มีคนบอกว่าเขาไม่กล่าวปฏิญาณเพราะชาตินี้เขาเรียนหมอมาก็เพื่อเงิน เงิน เงิน อย่างเดียวเท่านั้น ถ้าเป็นอย่างนี้คนฟังก็น่าจะเกิดเร้าความสนใจได้ใช่ไหมครับ หรือมีคนบอกว่าที่เขาไม่กล่าวปฏิญาณเพราะเขาไม่เห็นด้วยหรือเห็นตรงกันข้ามกับปรัชญาของสมเด็จพระราชบิดาฯ ผมว่าคุณพี่น้องฯเองได้ยิน ก็น่าจะรู้วสึกยังไงๆกับคนนี้แล้ว (รึเปล่า) ฉะนั้นประเด็นที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ไม่ใช่เรื่อง กล่าวหรือไม่กล่าวปฏิญาณ มันมีนัยสำคัญได้แค่ไหน หรือพฤติกรรมการเรียนการสอนควรจะเป็นอย่างไร แต่เป็นการวิเคราะห์ที่ค่อนข้าง specific หลังจากเราได้ทราบว่า "คนๆนี้" ไม่กล่างเพราะอะไร

ขอ quote อีกที
"ไม่รู้ว่าจะทำได้อย่างที่พูดจริงหรือเปล่า"
"ไม่มีทางผูกมัดการกระทำของคนได้โดยคำพูดที่ถูกบังคับให้พูดเพียงไม่กี่คำ"
"อุดมการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คำปฏิญาณเปลี่ยนคนไม่ได้"

และขออนุญาตเอามาวางคู่กับสิ่งที่คนๆนี้เลือกที่จะไม่กล่าวโดยใช้เหตุผลข้างต้น

ข้าพเจ้าจะอุทิศตนเพื่อให้บริการเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างเต็มที่ ข้าพเจ้าจะเคารพครูบาอาจารย์และระลึกถึงพระคุณของท่าน
ข้าพเจ้าจะประกอบวิชาชีพด้วยความรับผิดชอบและคำนึงถึงศักดิ์ศรี ข้าพเจ้าจะคำนึงถึงสุขภาพของผู้ป่วยเป็นข้อแรก
ข้าพเจ้าจะรักษาความลับของผู้ป่วยอย่างแน่วแน่ ข้าพเจ้าจะผดุงไว้ซึ่งเกียรติยศและธรรมเนียมที่ปฏิบัติตามแบบอย่างที่ดีของวิชาชีพ
ข้าพเจ้าจะถือเพื่อนร่วมวิชาชีพประดุจพี่น้อง ข้าพเจ้าจะไม่ยอมให้ศาสนา เชื้อชาติ พรรคการเมือง หรือกฎเกณฑ์ของสังคม มาแทรกระหว่าง หน้าที่กับผู้ป่วยข้าพเจ้าจะคงความเคารพนับถืออย่างสูงสุดต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิ แม้จะมีการคุกคาม
ข้าพเจ้าจะไม่นำความรู้ทางการแพทย์มาใช้ในทางที่ผิดต่อเพื่อนมนุษย์ ข้าพเจ้าขอให้ปฏิญญาดังกล่าวข้างต้นนี้อย่างจริงจัง เปิดเผย ด้วยเกียรติของข้าพเจ้า


สถานการณ์ในขณะนี้ assume ว่าเหตุผลที่ปฏิเสธที่จะกล่าวปฏิญญานั้น "เป็นเหตุผลที่แท้จริง" ถ้าเราเอามา match กันทีละข้อ ผมเองคิดว่าน่าเป็นกังวลครับ ผมไม่เป็นกังวลสำหรับคนอื่นที่ไม่กล่าวเพราะเหตุผล unknown แต่ผมเป็นกังวลเฉพาะสามท่านข้างบนที่ผมทราบเหตุผล และภาวนาว่าท่านคงพูดเล่นๆ เพราะความคะนองแค่นั้น ไม่ได้ "หมายความอย่างลึกซึ้งจริงจังเพราะเหตุนั้นจริงๆ"

พวกเราไม่ใคร่ได้เข้าแถว ชูสามนิ้วปฏิญาณหรือให้ปฏิญญากันบ่อยๆใช่ไหมครับ พิธีปฏิญญาเป็นเพทย์นั้นเกิดขึ้น once in the life time ผมไม่ทราบว่าบรรยากาศมันศักดิ์สิทธิ์ขนาดไหน เวลาที่นี่ให้ปฏิญญา แต่ความรู้สึกหลังจากที่เราได้ทำอะไรอย่างจริงจังมาหกปี เรากำลัง transform จากสภาพนักเรียนมาเป็นคนที่กำลังจะช่วยชีวิตพ่อแม่ของคนที่ยืนอยู่ข้างๆเรา สำหรับคนทั่วๆไปอาจจะรู้สึกว่านี่เป็นเรื่องจริงจังพอสมควร เพราะเหตุนี้เวลาที่มีคนให้เหตุผลว่าเขาทำ หรือ "ไม่ทำ" อะไรในพิธีนี้ ผมถึงว่า "น่าสนใจ" และควรแก่การ "ใส่ใจ" ลอง exaggerate ดูอีกนิดนึงก็ได้ครับ ถ้านักศึกษา 170 คนของเราในวันกล่าวปฏิญญาเป็นแพทย์ ปรากฏว่ามีเสียงคนกล่าวออกมาดังๆแค่หรอมแหรม สองสามคน ที่เหลือเอา finger cross หลบหน้าหลบตา หรือ (ขอยืมคำของคุณพี่น้องฯ) ยิ้มหยัน ดูแคลน คำกล่าว และคนที่กำลังกล่าวปฏิญญา เราควรจะรู้สึกอย่างไร? เฉยๆ ตลกขบขัน ปลื้มใจ?

ผมขอ "เห็นด้วย" กับคุณพี่น้อง ถ้าจิตใจบริสุทธิ์ ก็ไม่ต้องพูดก็ได้ครับ พูดกับไม่พูดก็ไม่ต่างกัน ตราบใดที่ผมยังไม่ได้ยินเหตุผลจากปากออกมาแปลกๆ ผมยินดีพอสมควรที่จะยกประโยชน์ให้ แต่มัน "คนละกรณี" กับคนที่ให้เหตุผลมาสามอย่างข้างต้นรึเปล่า?

ถ้าจะวิจัยเรื่องนี้ ผมว่า sampling อย่างที่คุณพี่น้องว่าจะมี selection bias เพราะกลุ่ม control และ experiment มี cross over contamination ระหว่างกลุ่มและจากกลุ่มที่ผมยกตัวอย่างแต่แรก (คือปวดฟัน ปวดท้อง ฯลฯ) เราต้องเอาเฉพาะคนที่เผอิญเรา "ทราบ" ว่าเขามีเหตุผลจำเพาะใน shade เดียวกับสามประการข้างต้นนี่ครับมาศึกษา cohort ไปในอนาคต เป็น prospective cohort ที่ population ทั้งหมดคือกลุ่มคนที่ให้ negative rational ต่อการกล่าวปฏิญญา และเพื่อ sake แห่งการครบเอามาเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้ positive rational ต่อการกล่าวปฏิญญา เสนอว่าควรจะ rule out กลุ่มที่ไม่ชัดเจนออกให้หมด (พูดดังๆ แต่ตามเพื่อนไปเฉยๆ ทำปากเหมือนพูดแต่หยอกกับเพื่อนอยู่ ฯลฯ) แต่ design อย่างที่คุณพี่น้องว่านั้นมันจะคนละประเดนกับที่ผมอยากจะสื่ออยู่ครับ




Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-02 , Time : 13:34:22 , From IP : 172.29.7.188

ความคิดเห็นที่ : 17


   ขออภัยอาจารย์ phoenix ด้วยนะครับ หมู่นี้งานยุ่ง ทั้งงานหลวง งานครอบครัว ไม่ได้เข้ามาดูทุกวัน

คงต้องมองย้อนไปถึงหัวเรื่องของกระทู้ก่อน สิ่งที่ผมอยากบอกให้ทุก ๆ คน รวมถึงอาจารย์ phoenix ด้วยว่าไม่ควรมองว่า "พิธีรรม" เป็นสิ่งจำเป็น คำปฏิญาณนั้นจะคิดคำให้สวยหรูเพียงใดก็ได้ จะบังคับให้คนพูดเรียงตัวกันเป็นคน ๆ ไปก็ได้ จะแถมคำสาบแช่งให้สินชีพตักษัยในสามสิบหก-เจ็ดสิบสองชั่วโมงก็ยังได้

แต่มันไม่สามารถเปลี่ยนคนได้อย่างแน่นอน ไม่มีใครที่ผ่านพิธีปฏิญาณ (หรือพิธีรับมอบเสื้อกาวน์) แล้วเปลี่ยนไปเป็นคนละคนด้แน่ อุดมการณ์ของใครสักคนต้องผ่านการสั่งสมและกลั่นกรองมาชั่วชีวิต

เรื่อง study ที่บอกนั่นพอดีอยากจะแซวเล่น ๆ นะครับ มัน bias แหง ๆ อยู่แล้วล่ะครับอาจารย์ phoenix ...คงจะประจวบเหมาะพอดีที่คนที่ยืนอยู่ข้าง ๆ ผมมันดันไม่ยอมพูดพอดี ครั้นจะเอาพวกนี้มาเป็น sample ในการศึกษาก็คงทำไม่ได้อย่างที่อาจารย์ phoenix ว่า


เอางี้แล้วกันนะครับอาจารย์ phoenix มองแบบลูกทุ่งก็แล้วกันนะครับ ไม่ว่าจะจับเอาลูกศิษย์ของเรามากล่าวคำปฏิญาณหรือไม่ ก็ไม่มีทางทำให้เขาเปลี่ยนได้ ไม่ว่าเขาจะยกเหตุผลใดมา (อ้าง) ก็ตาม ไม่ว่าจะปวดฟัน หรือว่ามันขัดกับแนวความคิดของเขาก็ตาม

ไม่เช่นนั้นเราคงต้องจัดพิธีกรรมขึ้นมาอีกเรื่อย ๆ เพื่อให้รองรับความศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการสร้างแพทย์คนหนึ่งขึ้นมา ถ้าสร้างเด็กด้วยกระบวนการที่ดีและเหมาะสม พิธีกรรมก็ไม่มีความจำเป็น แม้อาจารย์ phoenix จะมองว่ามีความสำคัญก็ตาม

ขอเปิดอีกประเด็นนะครับ คำปฏิญาณนี้ไม่เปิดโอกาสให้คนคนหนึ่งมีประตูสำรองที่จะเปิดออกไปจากกรอบนี้เลย นั่นอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งของคนที่บอกว่า "ไม่รู้จะทำได้อย่างที่พูดหรือเปล่า" เขาอาจเป็นหมอที่ดี ดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถ แต่วันหนึ่งเกิดเหตุให้เขาต้องลด "บริการเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างเต็มที่" ลงไป (ประโยคแรกเลยนะครับอาจารย์ phoenix) เพื่อดูแลลูกที่พิการ เลี้ยงดูบุพการีที่เป็นอัมพาต หาเงินมาใช้หนี้ ...จะถือว่าเขาทำผิดเลยหรือครับ ???

ประโยคต่อมา "ข้าพเจ้าจะเคารพครูบาอาจารย์และระลึกถึงพระคุณของท่าน" ...อันนี้ต้องถามอาจารย์ส่วนหนึ่ง (ซึ่งเป็นส่วนน้อย) ดูนะครับว่าถ้าท่านไม่ได้ทำตัวดีให้นักเรียนได้เคารพหรือได้ระลึกถึงพระคุณแล้ว ลูกศิษย์ผิดด้วยหรือครับ ???

อันนี้เป็นช่องว่างอันหนึ่งที่คำปฏิญาณนี้ไม่ได้ครอบคลุมถึง เราตั้งใจยกให้คนที่กล่าวคำนี้รับเอาความรับผิดชอบไปเสียทั้งหมดโดยที่อนุมานว่าปริมณฑลที่แวดล้อมคนคนนั้นสมบูรณ์และเพียบพร้อมไปเสียทั้งหมด ซึ่งไม่ถูกต้องในโลกของความเป็นจริง (นึกถึงกฎสามข้อของหุ่นยนต์ของอาซิมอฟ ที่ใครชอบคิดว่าไม่มีช่องว่าง แต่อาซิมอฟก็เอาเรื่องกฎสามข้อนี้มาหากินได้เรื่อย ๆ )

ถ้าอยากให้คนกล่าวคำปฏิญาณอย่างเต็มใจ ก็ต้องให้คนที่กล่าวมีความเชื่อมั่นเสียก่อนครับ ไม่ใช่ไปหาเรื่องเอากับคนที่ไม่พูด ผมว่าก็ไม่ fair กับพวกเขาเหมือนกัน


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-03-03 , Time : 22:47:12 , From IP : 203.147.28.130

ความคิดเห็นที่ : 18


   อืม... ผมสื่อไม่ดี และยังไม่ได้ส่งสารที่ต้องการข้ามไปได้

ผมไม่ pro พิธีกรรมครับ ที่เราเริ่มอภิปรายมาทั้งหมดนี้ ผมว่าไม่เกี่ยวกับ "ระบบ" หรือ "รูปแบบ" ถ้ากลับไปที่จุดเริ่มที่ "ผม" แสดงความเห็นนั้นจะ จำเพาะ แค่สามเหตุผล สามประเด็นที่ผม quoted มาสองครั้งแค่นั้น ส่วนที่เหลือว่าปฏิญญาช่วยหรือไม่ช่วยนั้น ผมไม่ได้ลงไปวิเคราะห์เลยครับ รู้สึกว่าคุณกำลังพูดถึง "ระบบ และรูปแบบ" แต่ผมกำลังวิเคราะห์แค่ "case ตัวอย่าง" ที่ยกมาสามเหตุผล สามประเด็น ไม่ได้ตั้งใจจะ generalize ไปยัง population

อันนั้นเป็นการ clarify ประเด็นที่ผมเริ่ม ต่อไปเป็นการแสดงความเห็นสำหรับ "ประเด็นเปิดใหม่" ของตัวอย่างเพิ่มเติมที่คุณพี่น้องฯ ยกมา

quote

แต่วันหนึ่งเกิดเหตุให้เขาต้องลด "บริการเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างเต็มที่" ลงไป (ประโยคแรกเลยนะครับอาจารย์ phoenix) เพื่อดูแลลูกที่พิการ เลี้ยงดูบุพการีที่เป็นอัมพาต หาเงินมาใช้หนี้ ...จะถือว่าเขาทำผิดเลยหรือครับ ???

ผมเข้าใจว่าประโยคนี้คุณพี่น้องคิดว่าเป็นประเด็น conflict กับปฏิญญาข้อที่หนึ่ง

ข้าพเจ้าจะอุทิศตนเพื่อให้บริการเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างเต็มที่
ใช่ไหมครับ?

ผมไม่เห็นความขัดแย้งนะครับ ข้อปฏิญญาไม่ได้บอกให้เรา "บูชายัญ" พ่อแม่ที่ป่วยโดยต้องตั้งหน้าตั้งตารักษาเพื่อนมนุษย์โดยไม่ได้นับคนรอบข้างของเราเป็นส่วนหนึ่ง การที่เราอุทิศตนรักษา "เพื่อนมนุษย์" อย่างเต็มที่นั้นไม่ได้เน้นที่ "จำนวน" แต่อยู่ที่คำ "เต็มที่" มากกว่า คือเท่าที่เรามีความสามารถด้านแรงกาย แรงใจ แรงเวลา ปฏิญญาข้อที่หนึ่งไม่ได้บ่งชี้ด้วยว่าเราต้องรักษาเพือนมนุษย์จนล้มละลายขายตน ฉะนั้นการเก็บ "ค่ารักษา" หรือ doctor fee ก็เป็นเรื่องที่ถูกจริยธรรม ตราบใดที่ส่วนเกินจากต้นทุนนั้นไม่ได้ serve vanity หรือเกินความจำเป็น

quote
ประโยคต่อมา "ข้าพเจ้าจะเคารพครูบาอาจารย์และระลึกถึงพระคุณของท่าน" ...อันนี้ต้องถามอาจารย์ส่วนหนึ่ง (ซึ่งเป็นส่วนน้อย) ดูนะครับว่าถ้าท่านไม่ได้ทำตัวดีให้นักเรียนได้เคารพหรือได้ระลึกถึงพระคุณแล้ว ลูกศิษย์ผิดด้วยหรือครับ ???

ครูบาอาจารย์ท่านนั้นได้ "สอน" คุณหมอรึเปล่าครับ? ผมไม่ทราบว่าพุทธภาษิต "กตัญญูเป็นเครื่องหมายเห่งคนดี" นั้นในปัจจุบันยัง popular ขนาดไหน แต่ครูบาอาจารย์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงคนประกอบอาชีพครูแค่นั้นครับ หมายถึงคนที่เคย "ทำหน้าที่ครู" กับตัวคุณหมอเองมาก่อน อาจจะเป็นครูแพทย์ พี่แพทย์ รวมทั้งอาจารย์ใหญ่ที่อุทิศร่างให้ผ่าศพ ที่กล่าวมานี้คือ "ครูบาอาจารย์" ตามความหมายนี้ ซึ่งไม่ได้รวมถึงพฤตินัยด้านอื่นของท่านเหล่านี้นะครับว่าเราต้องพิจารณาเรื่องนั้นก่อนจึงจะกตัญญู มิฉะนั้นมันจะลงไปรอยที่น่าเกลียดเช่น พ่อแม่เราเกิดชอบกินเหล้า แล้วแปลว่าเราไม่ต้องกตัญญูเพราะท่านไม่ใช่ role model ตัดความสำคัญที่ท่านเคยชุบเลี้ยง ป้อนข้าวป้อนน้ำให้นม ว่างๆก็หันมาประณามว่าท่านไม่ได้ทำตัวให้ดี ให้เป็นที่เคารพ

ประเด็นนี้ผมขอคิดอย่างนี้ครับ "ครูบาอาจารย์" คือคนที่มี "พฤติกรรม" ครูต่อเรา และเราต้องกตัญญู โดยไม่ต้องคำนึงถึง personal character ครับ ถ้าเราตั้งเงื่อนไขอื่นๆว่าเราจะกตัญญูแต่เฉพาะคนที่สมบูรณ์แบบ นั่นเกือบจะมีความหมายพอๆกับว่าชาตินี้เราไม่ต้องกตัญญูใครเลย ยกเว้นเรารู้จักพระอริยเจ้า พระอรหันต์

แม้แต่กฏสามข้อของ Asimov ในที่สุดก็มีกฏข้อที่ศูนย์ออกมา จิสการ์ดจึงสามารถแปลคำ "mankind" มาใส่แทน "man" ในกฏข้อที่หนึ่ง mankind ในที่นี้ผมข้ออนุญาตอุปมาอุปไมยว่าเป็น Metaphysics ของ "กฏ" นั่นคือ goodness หรือ "จริยธรรม" ครับ

ตรงนี้จะหาว่าผมหัวโบราณก็ได้ แต่ผมคิดว่าผมไม่ติดกับพิธีกรรม ผมเคย debate เรื่องพิธีแต่งงาน เรืองการมีชีวิตคู่มาแล้ว คนที่คุ้นเคยในที่นี้จะทราบว่าผมเป็น liberal แต่สำหรับสองประเด็นข้างบน ผมยังเชื่อครับว่า 1) ปฎิญญาบรรทัดแรก ไม่ได้บอกให้เรา sacrifice ความพอดีส่วนตัว และ 2) กตัญญูตามความหมายที่ได้ชี้แจง เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี และเราควรจะ Promote กตัญญู ไม่ promote ความ "อกตัญญู" และครูบาอาจารย์ในที่นี้ไม่ใช่คนที่ประกอบอาชีพครู แต่เป็นที่มีคุณธรรมแห่งครู สั่งสอนศิษย์ ตัวผมเองไม่เคยเคารพใครแค่หมวกที่เขาสรวมอยู่แล้ว รวมทั้งพระสงฆ์องค์เจ้าที่ผมไม่รู้จัก ไม่เคยทราบความดีของท่านมาก่อน ถ้าจะไหว้คือท่านอายุมากเป็นไหว้ความชราของท่านแค่นั้น

แต่อย่างที่เราทราบกันดีว่าการกตัญญูหรือไม่กับใครนั้นเป็นสิทธิส่วนบุคคลครับ คุรพี่น้องมีสิทธิ 100% ที่จะไม่เห็นด้วย และคุณไม่จำเป็นต้องใช้เกณฑ์อะไรเหมือนอย่างที่ผมใช้แม้อต่นิดเดียว เรื่องนี้มันเป็น virtue มันเป็น "มงคลเฉพาะบุคคล" มันไม่ใช่กฏหมาย ไม่ใช่แม้แต่กฏสังคม และไม่เกี่ยวอะไรเลยกับการ fair หรือ ไม่แฟร์ ที่ผมวิเคราะห์ในสามเหตุผลแรก ผมได้บอกไปแล้วว่ามันมี possiblity ที่ทะแม่งๆอย่างที่ว่า เป็น chance of interpretation ถ้าคนพูดบริสุทธิ์ใจ ไอ้ chance เหล่านี้มันก็เป็นเพียง chance แหละครับ ไม่ใช่เรื่องจริง มโนสำนึกอยู่ในใจของแต่ละคน จริงๆแล้วเราไม่มีความจำเป็นต้องให้คนอื่น approve เรา เพียงเพราะ chance มันมีอยู่

สรุปกตัญญูนั้นมันเป็นมงคล เป็นนามธรรมครับ ไม่ต้องให้ใครมา approve หรือ declare ว่าถูกต้องยินดี อกตัญญูก็เช่นกัน เป็นอัปมงคลส่วนตัวครับ เป็นนามธรรม ไม่มีพระแขวนป้องกัน หรือการใช้ rule lawyer มาประกาศว่าใช่หรือไม่ใช่ด้วย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-03 , Time : 23:44:55 , From IP : 172.29.7.186

ความคิดเห็นที่ : 19


   ประเด็นการทำไม่ได้ตามคำปฏิญญาแล้วหมายความว่าอย่างไรนี้น่าสนใจ ขอ explore ต่อ

ปฏิญญาไม่เหมือนการสาบาน หรือโองการแช่งน้ำ ทั้งหมดแค่กล่าวว่าเรา "ตั้งใจ" จะทำอะไรแค่นั้นเท่านั้น

"ตั้งใจ" ในที่นี่เป็นจุดเริ่มของ "ฉันทา" ในอิทธิบาทสี่ครับ ลองคนเราเริ่มมี skeptic ตั้งแต่เริ่มแรกว่า เอ... ถ้าเราจะไม่ตั้งใจ ตั้งความปราถนาอย่างที่สมเด็จพระราชบิดาได้ทรงมีพระราชดำรัสไว้จะ safe กว่า

กระนั้นหรือ??? safe กว่าอะไร? การทำได้ หรือไม่ได้นั้น มีผลอย่างไรบ้าง "จาก" บุคคลที่สามครับ?

ผมขอเรียนอย่างนี้ครับ การกระทำอะไรก็แล้วแต่มันมีเหตุผลที่ wholesome และ unwholesome ทั้งนั้น มันเป็นแค่ chances ว่ามันเป็นอะไร เหตุผลที่แท้จริงเราทราบคนเดียว คนที่ "ตั้งใจ" จะทำตามปฏิญญามากน้อยแค่ไหน หรือผลสุดท้ายจะทำตามได้มากน้อยแค่ไหนมีคนทราบอยู่คนเดียวครับ การที่ใครจะไม่กล่าวคำปฏิญญาตอนรับปริญญาจะช่วยให้สบายใจมากน้อยแค่ไหนตอนที่ต่อมาทำผิดปฏิญญา ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะ "ช่วย" ได้มากน้อยแค่ไหน จะมีใครรำพึงหรือไม่ว่า "อืม... โชคดีของเราจริงๆที่ตอนนั้นไม่ได้กล่าวปฏิญญา ไม่งั้นเราก็ไม่สามารถทำอะไรที่มันตรงข้ามกับคำปฏิญญาทั้งสามสี่บรรทัดนั้นได้อย่างโล่งใจ"

หรือไม่? อย่างไร?

สุดท้ายนี้ ไม่มีใครกำลังจะ "เอาเรื่อง" อะไรกับใครหรอกครับ คุณพี่น้องฯ นั้นไม่มีการ Unfair เกิดขึ้น Chaos ของทุกอย่างมันอยู่ใน "ใจ" ของปัจเจกบุคคลเท่านั้น



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-04 , Time : 00:06:41 , From IP : 172.29.7.186

ความคิดเห็นที่ : 20


   ถึงอย่างไรผมก็ยังยืนยันความคิดเดิมครับ คนที่อาจารย์ phoenix เห็นว่า "น่ากลัว เพราะแสดงว่า กับอุดมการณ์ในคำปฏิภาณ" ในความเห็นของผมนั้นไม่ใช่คนที่น่ากลัวครับ อย่างน้อยคนกลุ่มนี้ก็กล้าพูดออกมาว่าคำปฏิญาณนั้นเปลี่ยนเขาไม่ได้ ผมว่าพวกนี้เป็น "คนจริง" เสียด้วยซ้ำ

โดยส่วนตัว ไม่ว่าเขาหรือเธอคนนั้นจะไม่กล่าวคำปฏิญาณเหล่านี้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ก็ไม่มีความสำคัญใด ๆ และยิ่งถ้าจะมองว่าใครสักคนจะเป็นคนที่ "น่ากลัว" เพราะไม่กล่าวคำปฏิญาณ ก็คงเหมาะสมสักเท่าใด มองจากด้านที่ว่านักเรียนแพทย์เป็นผลผลิตของสถาบัน สิ่งที่จะหล่อหลอมให้เขาอุทิศตน เคารพ คำนึงถึงผู้อื่น ฯลฯ นั้นเป็นผลผลิตของกระบวนการที่ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ มามากมาย ตั้งแต่ก่อนการคัดเลือกคนเข้าสู่ระบบ การฝึกฝนขัดเกลา การมีตัวอย่างที่ดี ฯ ถ้าผมสร้างผลผลิตที่ได้มาตรฐานแล้ว การ "ติดฉลาก" ด้วยคำปฏิญาณก็ไม่มีความจำเป็น

ไม่มีเลยก็ยังได้ แจกให้ไปพูดกันเองที่บ้าน หน้ากระจก หรือทำเป็นตะกรุดห้อยเอวก็ได้ ถ้าถามผมว่ารู้สึกอย่างไรหากไม่มีใครกล่าวคำปฏิญาณเลยสักคนในวันนั้น (วันซ้อมอาจดังจนลั่นห้องก็ได้) บอกได้เลยครับว่าหลังจากผ่านประสบการณ์ทำงานมาระยะหนึ่ง พิธีกรรมวันนั้นแทบไม่มีความหมายกับใครเลย

มีหรือไม่มีก็ได้ พูดหรือไม่พูดอะไรก็ได้ บอกว่าไม่พูดเพราะอะไรก็ได้ เพราะสิ่งที่อยู่ในคำปฏิญาณนั้น (ถ้ามี) มันจะถูกสร้างขึ้นมาในกระบวนการคิดของคนคนหนึ่งมาตั้งแต่ก่อนกล่าวคำพูดเหล่านั้นแล้ว (และหลังจากนั้นอีกต่อไปจนเขาจะหยุดทำงานสาขานี้)

ผมอาจรู้สึกดีเสียอีกที่ศิษย์ของผมคิดขึ้นมาได้ว่าถ้าเขาจะไม่กล่าวคำเหล่านั้น เขามีเหตุผลเช่นใด ถ้าเหตุผลที่เขายกมาจะน่ากลัว ก็คงต้องโทษสถาบัน โทษตัวเอง ว่ารับคนแบบนี้เข้ามาได้อย่างไร คนในสถาบันต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง กระบวนการผลิตจะต้องปรับปรุงอย่างไร

บางท่านอาจรู้สึกดี หากจะมีใครสักคนบอกว่า ที่เขาไม่ใส่ใจในพิธีกรรมนั้นเป็นเพราะสถาบันแห่งนี้ได้สร้างเขาขึ้นมาอย่างดี และไม่ต้องใช้คำพูดใด ๆ มาบอกเพิ่มอีก เพราะสิ่งเหล่านี้ได้อยูในใจเขาอยู่แล้ว ...ความเป็นจริงไม่มีใครพูดเช่นนั้นหรอกครับ

และหากจะวิเคราะห์ถึงกรณีว่าใครที่เขาไม่ยอมพูดวาจาปฏิญาณนั้นมีเหตุผลเช่นใด ก็คงต้องดูกันหลายต่อหลายกรณีมาก คงต้องระวังไว้ด้วยนะครับว่าอาจจะมากจนต้องกลับมาถามตัวเองว่าปีต่อไปจะจัดดีไหม ?

ประเด็นแรก; ไม่รู้ว่าจะทำได้อย่างที่พูดหรือเปล่า ...ผมว่ามันตรงไปตรงมาครับอาจารย์ phoenix ถ้าคิดว่าทำไม่ได้ พูดหรือไม่พูดก็ไม่มีความหมาย

ประเด็นที่สอง; "...อันที่สองนี่แปลก ถ้ามันไม่ผูกมัดอย่างว่า พูดไปก็ไม่เสียหาย อันนี้คล้ายๆกับถูกท้าให้สาบานแต่ไม่กล้า แต่ยังปากแข็งว่าไม่เชื่อในคำสาบาน" ผมว่าก็คล้าย ๆ กับอันแรกนั่นแหละครับ ถ้าพูดแล้วคิดว่ามันผูกมัดไม่ได้ พูดหรือไม่พูดก็ไม่ต่างกัน แต่ดูเหมือนอาจารย์ phoenix จะยึดถึอเอาว่าน่าจะพูดให้ไม่เสียหาย ...มองมุมกลับได้ครับในกรณีนี้

ประเด็นที่สาม; เรื่องที่ว่าอาจารย์ phoenix บอกว่าน่ากลัวนั่นแหละครับ " ... นั้น มันแปลกตรงที่ทำไมต้องสร้างขึ้นมาอธิบาย อธิบายให้ใคร? ให้ตนเองหรือ? ณ ขณะนั้น...มันก็คงมีคนที่พูดดังๆแต่ไขว้นิ้วอยู่ข้างหลังบ้างเหมือนกัน ไม่มีใครทราบหรอกครับ แต่การแก้ตัวในสิ่งที่ถ้าเราไม่มีอะไรต้องแก้ตัวนั้นมันทะแม่งๆ
" คงต้องถามกลับว่าอาจารย์ phoenix หวังอะไรกับคำพูดชุดนี้ ถ้าหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก็บอกได้ว่า กับคนคนนี้คงไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ (ไม่ได้ให้เป็นด้านลบแต่เพียงอย่างเดียวนะครับ เขาอาจดีอยู่แล้ว และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอะไรก็ได้ แต่ถ้าหวังว่าให้พูดกันให้หมดพิธี สำหรับคนคนนี้ก็คงไม่ประสบความสำเร็จ) ถ้ามองแบบความน่าจะเป็น ก็ยังมีโอกาส 50-50 ที่จะออกด้านดีนะครับ

"ปีหน้าตอนสอบสัมภาษณ์ นศพ. ผมเสนอให้ทุกคนลอง "พูดดังๆ" กล่าวคำปฏิภาณของการเป้นแพทย์ หรือจะเอา Hippocrates oath ก็ได้ แล้วดูซิว่าจะมีปฏิกิริยาแบบไหนบ้าง (จริงๆอยากเสนอให้มีการสวดปฏิภาณอันนี้ตอนเช้า เวลาเคารพธงชาติก็ดีเหมือนกันนะครับ)" ...อาจารย์จะเอาอย่างนี้เลยหรือครับ ...แหะ แหะ ;) ผมว่าถ้าเป็นวันสัมภาษณ์ เดาได้เลยครับว่าใครก็ต้องพูด แล้วรับรองเลยครับว่าคำควบกล้ำ การเว้นจังหวะ แถมน้ำเสียงจะแสดงอารมณ์อย่างถึงขีดสุดแน่ แต่ขอถามต่อนะครับว่าจะได้อะไรขึ้นมา แล้วยิ่งถ้าให้พูดทุกเช้า นั่นไม่ยิ่งจะทำให้ใครต่อใครคิดว่าเราไม่มีทางทำให้คนเป็นแพทย์ที่ดีด้วยวิธีอื่นแล้วหรือ ???



เรื่องการใช้คำ การเล่นคำและความหมายของคำนั้น ขอยกไป ไม่กล่าวถึงก็แล้วกันนะครับ ดูเหมือนว่าอาจารย์ phoenix จะใช้วิธีเล่นกับความหมายของคำ ซึ่งถ้าผม discuss ต่อก็จะกลายเป็นยืดยาวไป และผมคงตีความได้ไม่ดีเท่าอาจารย์ phoenix แน่ :)



Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-03-06 , Time : 14:45:59 , From IP : 203.147.28.166

ความคิดเห็นที่ : 21


   เหตุผลที่คน volunteer ให้กับตอนที่ทราบว่าจะมีคนแปลนั้นมีบริบทต่างกันครับ ศัพท์วิจัยคือ Bias

แน่นอนที่สุดที่ "บริบท" ตอนที่คนถูกถามว่าทำไมจึงทำหรือไม่นั้นจะมีผลกระทบต่อ "content" ที่แสดงออก ไม่มากก็น้อย ถามตอนสอบสัมภาษณ์นั้นได้คำตอบไมเหมือนกับสอบถามตนเองหน้ากระจกฉันใดก็ฉันนั้น

ผมไม่แน่ใจในคุณภาพของ "คนจริง" ที่ว่าครับ คนที่มีพื้นฐาน volunteer เจตคติว่าไม่เห็นด้วย จะทำไม่ได้ หรือจะไม่ทำ ไว้ก่อน ในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งของคำปฏิญญานั้นเป็นเช่นไร และผมไม่เห็นด้วยครับในประเด็นที่ว่า ไม่ว่าเขาหรือเธอคนนั้นจะไม่กล่าวคำปฏิญาณเหล่านี้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ก็ไม่มีความสำคัญใด ๆ ผมว่าบางเหตุผลไม่มีความสำคัญจริง แต่บางเหตุผลมีความนัยที่สำคัญครับ สำคัญต่อสถาบันวิชาชีพ เพียงแต่โอกาสที่เราจะหาบริบทที่คนยอมให้ Id ตนเองพลั้งปากออกมาโดยไม่มี superego control นั้นยากจริงๆ ไม่เผลอคงไม่พูดออกมา

ที่ผมเห็นว่า "บางเหตุผล" โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นเหตุผลที่ "จริงใจ" มีนัยสำคัญนั้น ผมว่าตัวอย่างมันชัดเจนครับ ผมคิดว่าส่วนหนึ่งคุณพี่น้องก็เห็นด้วยจากประโยคที่ว่า "ผมอาจรู้สึกดีเสียอีกที่ศิษย์ของผมคิดขึ้นมาได้ว่าถ้าเขาจะไม่กล่าวคำเหล่านั้น เขามีเหตุผลเช่นใด ถ้าเหตุผลที่เขายกมาจะน่ากลัว ก็คงต้องโทษสถาบัน โทษตัวเอง ว่ารับคนแบบนี้เข้ามาได้อย่างไร คนในสถาบันต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง กระบวนการผลิตจะต้องปรับปรุงอย่างไร อย่างน้อยที่สุดคุณพี่น้องก็เห็นด้วยว่าเป็นเรื่องผิดพลาดเกิดขึ้น และจำเป็นต้องแก้ไข ไม่ตอนเลือกเข้ามาเรียน ก็ตอนผลิต

ผมคิดว่า การแปล ความหมายของคุณพี่น้อง ของทั้งสามประเด็นนั้น เกรงว่าไม่ได้ผนวกความหมายระดับนัยยะเข้าไปด้วย ค่อนข้างสั้น เลยฟังดูไม่เป็นไร ลองดูนะครับ

ประเด็นแรก; ไม่รู้ว่าจะทำได้อย่างที่พูดหรือเปล่า ...ผมว่ามันตรงไปตรงมาครับอาจารย์ phoenix ถ้าคิดว่าทำไม่ได้ พูดหรือไม่พูดก็ไม่มีความหมาย
ความหมายที่จะมีไม่ได้อยู่ตรงอักษรว่า "ทำไม่ได้ ก็ไม่พูดครับ" มันอยู่ที่เนื้อหา ว่าเขากำลังพูดถึงอะไรที่เขาทำไม่ได้ เช่น เขาเล่นหมากรุกไม่ได้ เขาก็เลยไม่พูดว่าเล่นเป็น ก้ไม่แปลก แต่ถ้า "เนื้อหา" ที่เขาบอกว่าทำไม่ได้นั้นคือ เขาไม่สามารถเสียสละให้แก่คนไข้ เขาไม่สามารถกตัญญูครูบาอาจารย์ ต่างหากที่ทำให้ "ความหมาย" มันต่างไป ตรงนี้อาจจะชัดเจนขึ้นถ้าคุณพี่น้องลองยก "controversial point หรือ ข้อยกเว้น" ที่หมออาจจะไม่ต้องทำเพื่อคนไข้ หรือกตัญญูครูบาอาจารย์มาเพิ่มก็ได้ครับ สองประเด็นนี้ซึ่งเป็นหลักปรัชญาของสมเด็จพระราชบิดาฯ ผมว่าถ้ามีนักศึกษาแพทย์คนไหนประกาศว่าทำไม่ได้ ผมคิดว่ามีนัยสำคัญครับ

ประเด็นที่สามนั้น อย่างที่ผมเรียนให้คุณพี่น้องทราบฯ ผมไม่ได้หวังอะไรกับพิธีกรรมนี้ครับ แค่อยากวิเคราะห์ว่าอะไรหนอที่อยู่ในใจของคุณหมอคนนั้น ที่ตะขิดตะขวงใจในการพูดว่าเขาจะต้องบริการคนไข้ เขาจะรักษาความลับคนไข้ เขาจะกตัญญรู้คุณคน

เรื่องนี้เราอาจจะดูว่าเป็นการเล่นคำ ผมเห็นด้วยครับว่าเรา "สามารถ" ดูว่ามันเป็นการเล่นคำก็ได้ ไร้สาระก็ได้ แต่ผมก็คิดอีกอย่างหนึ่งครับ การที่เด็กรุ่นใหม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่เห็นหัวผู้ใหญ่ ไม่มีสัมมาคารวะ ไม่มีวัฒนธรรม เห็นความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ เห็น sexual exploitation เป็นเรื่อง cool นั้น เพราะมันเป็นเรื่องธรรมดาในภาพยนต์ ในหนังสือ ใหสื่อต่างๆรึเปล่า (ไม่รู้?) แต่อาจจะมีเค้าอยู่บ้างไหม? การที่เรามีคำพูดอย่างเช่น "ไอ้ลาว" หรือ "เห็นงู เห็นแขก ตีแขกก่อน" หรือ "ไอ้หรั่งหัวแดง" นั้นมีนัยยะถึง racism ลึกๆอยู่ในความ "ไม่รู้ตัว" อยู่ใน "จิตใต้สำนึก" หรือไม่?

NORM นั้นเกิดจากความเคยชินครับ เดิมการคลานเข่า กราบไหว้เป็น norm เดี๋ยวนี้เราเดิน "ถากหัว" บุพการีแล้วอาจจะยังหัวเราะกิ๊กกั๊ก ก่นด่าครูบาอาจารย์แต่ไม่สามารถเชื่อมโยงกับคำกตัญญูได้ เกี่ยงว่าครูทำตัวไม่ดี ต่อให้สอนตนเองได้ดีมาแค่ไหน ตูข้าก็ไม่นับถือ ไม่ไหว้ให้เสียมืออันสูงส่ง กระนั้นหรือ? แล้ว NORM แบบไหนที่เราทุกคนต้องการ มันก็คงจะออกมาจากความเชื่อเหล่านี้แหละครับ ออกมาเป็นการกระทำ พฤติกรรม ออกมาเป็นสิ่งที่เราจะสอนให้ลูกหลานเราต่อๆไป

ขอยืมคำพุดของ "ครูศร" ในภาพยนต์ "ระนาดเอก" มาทวนนิดนึง ต้นไม้ใหญ่นั้นจะอยู่ต้านทานกระแสลมกรรโชกรุนแรงได้นั้น มันต้องมีรากที่หยั่งลึก เราจะถอนมันทิ้ง หรือจะขอเป็นต้นอ้ออย่างในนิทานอีสป ลู่ตามกระแส "โลกาภิวัฒน์" ไปซะทุกประการนั้น สมควรแล้วแค่ไหนก็น่าสนใจที่เราแต่ละคนจะพิจารณา หรือจะเชื่อแลหะครับ จริงไหมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-08 , Time : 20:18:52 , From IP : 172.29.7.79

ความคิดเห็นที่ : 22


   ขอโทษ ไม่ใช่เรื่อง "ระนาดเอก" แต่เป็นเรื่อง "โหมโรง" ครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-08 , Time : 20:25:42 , From IP : 172.29.7.79

ความคิดเห็นที่ : 23


   หมู่นี้อยู่เวรบ่อยครับ เลยไม่ค่อยได้เข้ามาอ่านบ่อยนัก ขออภัยอาจารย์ phoenix อีกครั้ง ...ไม่ทราบว่าอาจารย์อยู่เวรบ่อยแค่ไหนครับ เผื่อว่าวันหลังจะมา discuss กันเรื่องการอยู่เวรบ้าง

มองมุมของผมนะครับ "นัย" หรือไม่ "นัย" จริง ๆ แล้วไม่มีส่วนสำคัญในสาระของการกล่าวคำปฏิญาณ จะเอาปืนจ่อหัวให้พูด หรือท่องจนขึ้นใจแล้วมาพูดจากนั้นก็ไม่ลืมอีกเลยจนตลอดชีวิตก็ไม่ต่างกัน

ถ้าพูดแค่ให้จบพิธีไปแล้วรับใบประกอบโรคศิลป์ไปทำงาน เสร็จแล้วก็คงไม่ต้องมาคอยตอบคำถามว่า "ไหงลื้อไม่พูดวะ?" ...อย่าลืมนะครับว่าที่คุยกันมาตั้งเป็นเดือนนี้ยังไม่เคยยกประเด็นว่าทำไมถึงกล่าวคำปฏิญาณมาพูดถึงกันเลย แล้วก็คงไม่มีใครคิดจะถามด้วย

หรือเราอยากให้นักเรียนของเรากล่าวคำปฏิญาณโดยพร้อมเพรียงกันเพื่อจะได้ไม่ต้องตอบคำถามว่า "ทำไมลื้อพูดดังจังเลยวะ?" (เพราะคงไม่มีใครถาม) แล้วหลังจากน้นไปก็แล้วแต่ผลกรรม (การกระทำ) ของคนกล่าวเองว่าจะเป็นแบบไหน

มองย้อนไปก็ต้องมาดูที่วัตถุดิบและกระบานการผลิตของเราอย่างที่ผมบอกไว้ตั้งแต่คำตอบก่อนหน้านี้ว่าให้เน้นเรื่องนี้จะดีกว่า อย่าไปเอาประเด็นของคนที่ไม่พูดคำปฏิญาณเพียงสองสามคนแล้วมาบอกว่ามันมีความหมายโดยนัยอันยิ่งใหญ่เลย

ถ้าถามว่าลูกหลานที่เราผลิตออกมานั้นก็มีทั้งดีและไม่ดีปะปนกันไปอยู่แล้ว ถ้าจะหวังว่าการปฏิญาณตนจะเป็นการ "ปิดฝา" หรือ "ติดฉลาก" เพื่อรับประกันคุณภาพนั้นคงไม่ได้ ถ้าพิธีนั้นไม่ได้เป็นตัวรับประกัน ก็อย่าไปคาดหวังกับพิธีนั้นเลยครับ

มีหมอเราตั้งเยอะแยะที่จบออกไปแล้วกวังแต่ผลประโยชน์ ทำงานแย่ แต่ไม่มีใครถามหรอกครับว่าวันที่กล่าวคำปฏิญาณนั้นคุณไปอยู่เสียที่ไหน ...จะบอกว่าปวดฟัน หรือตอบว่าผมไม่คิดว่าจะทำเพื่อปวงชนอยู่แล้วก็คงไม่ต่างกัน หรือจะบอกว่าว "วันนั้นผมพูดดังที่สุดในรุ่นเลยนะ" ก็ไม่ได้สื่อความหมายใดกับสิ่งที่ทำในปัจจุบันเลย


ถามเล่น ๆ นะครับอาจารย์ phoenix ที่ต่างบ้านต่างเมืองเขามีพิธีนี้บ้างไหมครับ ? จะบอกว่าเห็นแต่เมืองเราที่ทำอย่างนี้ก็คงไม่ได้ เลยอยากทราบว่าเมืองนอกเขามีความเห็นเบเรื่องแบบนี้อย่างไร ไม่ได้ว่าจะให้เดินตามฝรั่งนะครับ แต่อย่างน้อยก็จะได้รู้ว่าบ้านเขาเป็นยังไง


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-03-13 , Time : 23:48:59 , From IP : 203.147.28.188

ความคิดเห็นที่ : 24


   ดูเหมือนสิ่งต่างๆในโลกแทบจะไม่มีคุณค่าในตัวมันเองเอาซะเลย (esp คนที่มีความสามารถในการวิเคราะห์หาเหตุผล)
ชีวิตจะง่ายกว่ามั๊ย ถ้ารู้จักมองเรื่องรอบตัวเราให้เห็น ว่า นั่นเป็นสิ่งดี(คงไม่ต้องอาศัย vision มากมาย) หรือนี่ไม่ดีนะ แล้วก็ลงมือทำ หรือละเว้น ในกรณีที่ไม่ซับซ้อนหรือมีหลายเรื่องหลายราวให้เราต้องเลือกที่จะทำหรือไม่ทำในเวลาเดียวกัน(ซึ่งเหตุผลคงจะจำเป็นมากขึ้น) คงไม่ต้องใช้กันตลอดเวลา ...เหตุผลส่วนมากมักสนับสนุนผลประโยชน์ แล้วเราอาจต้องมาข้องใจกับเหตุผลที่ประกาศออกไปเพื่อต้องการยืนยันกับใครๆและตัวเราเอง
คนเราอย่ในโลกที่สับสน ระบบที่ซับซ้อนจนแยกความดี ความถูกต้อง กับ ความชั่วความไม่ถูกต้อง ออกจากกันไม่ได้แล้วอย่างนั้นหรือ ??

อยากได้ยินเหตุผลที่ว่า "ทำเพราะป็นสิ่งดี" "ไม่ทำเพราะเป็นสิ่งไม่ดี" (กรณีไม่ได้ปวดฟัน และอื่นๆเทือกเดียวกัน) ให้มากขึ้นกว่าทุกวันนี้





Posted by : brace , Date : 2005-03-14 , Time : 01:11:02 , From IP : 203.172.101.94

ความคิดเห็นที่ : 25


   สาเหตุที่ผม "จงใจ" ไม่อภิปรายว่ากล่าวปฏิญญาหมายความว่าอย่างไร เพราะนั่นไม่ได้เป็นประเด็นที่เราสองคนต่อบทสนทนามาถึงตรงนี้ครับ (หรือเป็นฝั่งเดียวของคุณพี่น้องฯ) ถ้าเราทบทวน event & consequences จะพบว่ามาจากที่ผม "วิเคราะห์" ว่าคนที่ ไม่กล่าว และให้เหตุผลสามอย่าง อย่างที่ยกตัวอย่างมา "อาจจะ" มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง เป็นสมมติฐาน เป็นความน่าจะเป็น ไม่ใช่ข้อสรุป หมายความว่าเป็นไปได้ที่จะเป็นจากสาเหตุอื่นๆอีกมากมาย และ "ไม่ได้" ตั้งใจจะหมายความว่ามันเป็น formula ว่าอย่างในการ "กล่าว"

พิธีการเหล่านี้ "ไม่มีทางประกัน" ผลลัพธ์ได้หรอกครับ รวมทั้งพิธีกรรมทุกชนิดบนโลกนี้ งานแต่งงาน การบวช การรับปริญญา งานศพ พิธีกรรมทางศาสนาทุกชนิด ดังนั้นมันเป็นแค่ผลทาง "จิตใจ" ไม่มีกลไกซ่อนเร้นอยู่ในพิธีกรรมเหล่านี้ บางครั้งเราสามารถ observe ผลทางจิตใจเหล่านี้ได้ครับ เช่น บางคนก็แอบไขว้นิ้วตอนทำพืธี บางคนแกล้งพูดอ้อมๆแอ้มๆ บางคน ฯลฯ จะมีผลทางจิตใจมากน้อยแค่ไหน ดูได้จากผล "สะท้อนกลับ" เวลาทำผิดพิธีกรรมว่าคนๆไหนจะร้อนตัวขนาดไหน chaos นั้นมันอยู่ "ในใจ" ครับ

Hippocratic oath ทำมาในต่างประเทศก่อนเราแน่นอนครับ ฟังชื่อก็รู้ว่ามันแฝงนมเนย (กรีกโยเกิร์ต) อ้อ อีกประการหนึ่ง การที่ของบางอย่างแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นพันๆปี ไม่ได้หมายความว่ามันเชย หรือไร้ค่าเสมอไป แต่อาจจะเป็นไปได้ว่ามันเป็น universal goodness จริงๆ เหมือนอย่างอริยสัจสี่ที่คงอยู่และไม่เปลี่ยนมากว่า 2500+ ปี หลักปรัชญาทางการแพทย์นั้นไม่แปลกเลยที่ตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชบิดาถึงได้สอดคล้องกับของใครๆชาติไหนๆก็ตาม มันคงเป็นเพราะนี่เป็น "คุณค่าสากล" ของความเป็นแพทย์กระมัง และคุณค่าสากลนี้แหละครับที่ผมว่าคนที่ "จงใจ" ไม่กล่าวนั้น ถ้า เขามี conflict กับ contents ในบทปฏิญญานั้นจริงๆ มัน "เกือบ" จะเหมือนกับว่าท่านผู้นั้นไม่เห็นด้วยว่าอาชีพเรา "น่าจะ" ทำอย่างนี้ (ไม่ใช่ "ต้อง" นะครับ บทปฏิญญาไม่มีบทลงโทษ หรือการสาปแช่ง อย่างเดียวที่จะมีผลคือมโนสำนึกเวลาจงใจ "ไม่ทำ" ของแต่ละคนเท่านั้น มากน้อยไม่เท่ากัน) ไม่เห็นด้วยกับ Hippocrates ไม่เห็นด้วยกับสมเด็จพระราชบิดา

ในโรงเรียนหรือสถาบันที่เก่าแก่ต่างประเทศ มีการกล่าวปฏิญญาทั้งนั้นแหละครับ หนังสือคู่มือ postgraduate ที่ผมได้ตอนไปเรียนยังมี digital oath เลย แต่ที่ที่มี tradition เขาจะมีการมารวมตัวกันกล่าวจริงๆ เช่น โถงใน cambridge ที่มี statue Sir Isaac Newton อยู่ ใครเคยดูภาพยนต์เรื่อง Chariot of Fire อาจจะจำได้ ส่วนในอเมริกาโรงเรียนกลุ่ม Ivy league หรือที่คล้ายๆกัน พิธีกรรมเหล่านี้เหมือนกับว่าเด้กที่จบจากสถาบันนี้ จบไปอย่างไม่มี skeptic ต่อปรัชญาของโรงเรียน จบอย่างมี full conscience และยืดอกพูดสัญญาอะไรบางอย่างโดยไม่มีข้อผูกมัด มีเพียงแค่ความภาคภูมิใจในตนเองที่จะพูดเช่นนั้น มีเพียงแค่ความภาคภูมิใจในสถาบันและวิชาชีพที่ตนเองกำลังจะออกมาปฏิบัติที่จะเป็นแรงผลักดัน นั่นคือเป้าหมายที่แท้จริง ส่วนใครจะทำหลอกๆ ใครจะทำเล่นๆ ใครจะไขว้นิ้ว ใครจะดูหมิ่น ดูแคลน Hippocrates oath เพราะมันล้าสมัย มันไม่ได้มีความหมายสำหรับคนนั้นๆ ก็ไม่มีใครว่าอะไร หรือจับใส่กุญแจมือ หรือไม่ให้ใบปริญญาหรอกครับ

เวลาเราจะทำอะไรสำคัญๆสักครั้งนึง สมัยก่อนเรื่อง "ใจ" สำคัญมากครับ (สมัยนี้คนหัว "โบราณ" อย่างผมก็ยังสำคัญอยู่) คนจะออกทัพจับศึกจะมีการไปไหว้รดน้ำมนต์จากหลวงพ่อที่วัด เป้าเสกกระหม่อมกัน ขอบารมี ขอพระพุทธคุณ นั่นเป็นจิตวิทยาปกติครับ เป็นเรื่องอธิบายยากเหมือนกันสำหรับคนที่ "ไม่เชื่อ" เรื่องผลแห่งกำลังใจบางครั้งมันช่วยหักห้ามตัวเราไม่ให้ทำอะไรง่ายๆ ตามใจตนเอง เช่น การประกาศในที่สาธารณะว่าเราจะเลิกบุหรี่ บางคนก็ไม่มีผลอะไร แต่บางคนอายที่จะล้มเหลว นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ จะเปรียบเทียบกับการประกาศในที่สาธารณะว่าต่อไปนี้เราจะรักษาผู้ป่วยเต็มที่ เราจะรักษาความลับผู้ป่วย เราจะกตัญญูรู้คุณครูบาอาจารย์นั้น บางคนก็ไม่ได้รู้สึกรู้สมอะไร บางคนก็อาจจะเกิดอายขึ้นมา กลุ่มหลังนี่คือเขามี "จิตใจ" ที่ตอบสนองต่อพิธีกรรม กลุ่มแรกเขาไม่มี ก็แค่นั้น

ขอเน้นอีกที "จุดตั้งต้น" ของที่เราสองคนเริ่มแลกเปลี่ยนกันนั้น ผมต้องการเพียง specific case ที่ "อาจจะ" คิดอะไรอยู่ที่ "ไม่กล่าวปฏิญญา" และให้เหตุผลอย่างที่ยกมา ผมไม่ได้ต้องการจะ generalize หรือ stereotype ว่าคนที่กล่าวดีอย่างไร หรือคนที่ไม่กล่าวไม่ดีไปหมด แต่พอเรา "รู้เหตุผล" ออกมาให้วิเคราะห์ ผมก็วิเคราะห์ตามข้อมูลที่เพิ่มเติมเท่านั้น แต่คุณพี่น้องฯ ดูอยากจะ generalize การแปลผลนี้ออกเป็น universal หรือ protocol ว่ามีหรือไม่มีความหมายแค่ไหน ซึ่วงเราจะเดินขนากันในประเด็นนี้



Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-14 , Time : 08:43:35 , From IP : 172.29.3.62

ความคิดเห็นที่ : 26


   สาเหตุที่ผม "จงใจ" ไม่อภิปรายว่ากล่าวปฏิญญาหมายความว่าอย่างไร เพราะนั่นไม่ได้เป็นประเด็นที่เราสองคนต่อบทสนทนามาถึงตรงนี้ครับ (หรือเป็นฝั่งเดียวของคุณพี่น้องฯ) ถ้าเราทบทวน event & consequences จะพบว่ามาจากที่ผม "วิเคราะห์" ว่าคนที่ ไม่กล่าว และให้เหตุผลสามอย่าง อย่างที่ยกตัวอย่างมา "อาจจะ" มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง เป็นสมมติฐาน เป็นความน่าจะเป็น ไม่ใช่ข้อสรุป หมายความว่าเป็นไปได้ที่จะเป็นจากสาเหตุอื่นๆอีกมากมาย และ "ไม่ได้" ตั้งใจจะหมายความว่ามันเป็น formula ว่าอย่างในการ "กล่าว"

พิธีการเหล่านี้ "ไม่มีทางประกัน" ผลลัพธ์ได้หรอกครับ รวมทั้งพิธีกรรมทุกชนิดบนโลกนี้ งานแต่งงาน การบวช การรับปริญญา งานศพ พิธีกรรมทางศาสนาทุกชนิด ดังนั้นมันเป็นแค่ผลทาง "จิตใจ" ไม่มีกลไกซ่อนเร้นอยู่ในพิธีกรรมเหล่านี้ บางครั้งเราสามารถ observe ผลทางจิตใจเหล่านี้ได้ครับ เช่น บางคนก็แอบไขว้นิ้วตอนทำพืธี บางคนแกล้งพูดอ้อมๆแอ้มๆ บางคน ฯลฯ จะมีผลทางจิตใจมากน้อยแค่ไหน ดูได้จากผล "สะท้อนกลับ" เวลาทำผิดพิธีกรรมว่าคนๆไหนจะร้อนตัวขนาดไหน chaos นั้นมันอยู่ "ในใจ" ครับ

Hippocratic oath ทำมาในต่างประเทศก่อนเราแน่นอนครับ ฟังชื่อก็รู้ว่ามันแฝงนมเนย (กรีกโยเกิร์ต) อ้อ อีกประการหนึ่ง การที่ของบางอย่างแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นพันๆปี ไม่ได้หมายความว่ามันเชย หรือไร้ค่าเสมอไป แต่อาจจะเป็นไปได้ว่ามันเป็น universal goodness จริงๆ เหมือนอย่างอริยสัจสี่ที่คงอยู่และไม่เปลี่ยนมากว่า 2500+ ปี หลักปรัชญาทางการแพทย์นั้นไม่แปลกเลยที่ตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชบิดาถึงได้สอดคล้องกับของใครๆชาติไหนๆก็ตาม มันคงเป็นเพราะนี่เป็น "คุณค่าสากล" ของความเป็นแพทย์กระมัง และคุณค่าสากลนี้แหละครับที่ผมว่าคนที่ "จงใจ" ไม่กล่าวนั้น ถ้า เขามี conflict กับ contents ในบทปฏิญญา นั้นจริงๆ มัน "เกือบ" จะเหมือนกับว่าท่านผู้นั้นไม่เห็นด้วยว่าอาชีพเรา "น่าจะ" ทำอย่างนี้ (ไม่ใช่ "ต้อง" นะครับ บทปฏิญญาไม่มีบทลงโทษ หรือการสาปแช่ง อย่างเดียวที่จะมีผลคือมโนสำนึกเวลาจงใจ "ไม่ทำ" ของแต่ละคนเท่านั้น มากน้อยไม่เท่ากัน) ไม่เห็นด้วยกับ Hippocrates ไม่เห็นด้วยกับสมเด็จพระราชบิดา

ในโรงเรียนหรือสถาบันที่เก่าแก่ต่างประเทศ มีการกล่าวปฏิญญาทั้งนั้นแหละครับ หนังสือคู่มือ postgraduate ที่ผมได้ตอนไปเรียนยังมี digital oath เลย แต่ที่ที่มี tradition เขาจะมีการมารวมตัวกันกล่าวจริงๆ เช่น โถงใน cambridge ที่มี statue Sir Isaac Newton อยู่ ใครเคยดูภาพยนต์เรื่อง Chariot of Fire อาจจะจำได้ ส่วนในอเมริกาโรงเรียนกลุ่ม Ivy league หรือที่คล้ายๆกัน พิธีกรรมเหล่านี้เหมือนกับว่าเด้กที่จบจากสถาบันนี้ จบไปอย่างไม่มี skeptic ต่อปรัชญาของโรงเรียน จบอย่างมี full conscience และยืดอกพูดสัญญาอะไรบางอย่างโดยไม่มีข้อผูกมัด มีเพียงแค่ความภาคภูมิใจในตนเองที่จะพูดเช่นนั้น มีเพียงแค่ความภาคภูมิใจในสถาบันและวิชาชีพที่ตนเองกำลังจะออกมาปฏิบัติที่จะเป็นแรงผลักดัน นั่นคือเป้าหมายที่แท้จริง ส่วนใครจะทำหลอกๆ ใครจะทำเล่นๆ ใครจะไขว้นิ้ว ใครจะดูหมิ่น ดูแคลน Hippocrates oath เพราะมันล้าสมัย มันไม่ได้มีความหมายสำหรับคนนั้นๆ ก็ไม่มีใครว่าอะไร หรือจับใส่กุญแจมือ หรือไม่ให้ใบปริญญาหรอกครับ

เวลาเราจะทำอะไรสำคัญๆสักครั้งนึง สมัยก่อนเรื่อง "ใจ" สำคัญมากครับ (สมัยนี้คนหัว "โบราณ" อย่างผมก็ยังสำคัญอยู่) คนจะออกทัพจับศึกจะมีการไปไหว้รดน้ำมนต์จากหลวงพ่อที่วัด เป้าเสกกระหม่อมกัน ขอบารมี ขอพระพุทธคุณ นั่นเป็นจิตวิทยาปกติครับ เป็นเรื่องอธิบายยากเหมือนกันสำหรับคนที่ "ไม่เชื่อ" เรื่องผลแห่งกำลังใจบางครั้งมันช่วยหักห้ามตัวเราไม่ให้ทำอะไรง่ายๆ ตามใจตนเอง เช่น การประกาศในที่สาธารณะว่าเราจะเลิกบุหรี่ บางคนก็ไม่มีผลอะไร แต่บางคนอายที่จะล้มเหลว นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ จะเปรียบเทียบกับการประกาศในที่สาธารณะว่าต่อไปนี้เราจะรักษาผู้ป่วยเต็มที่ เราจะรักษาความลับผู้ป่วย เราจะกตัญญูรู้คุณครูบาอาจารย์นั้น บางคนก็ไม่ได้รู้สึกรู้สมอะไร บางคนก็อาจจะเกิดอายขึ้นมา กลุ่มหลังนี่คือเขามี "จิตใจ" ที่ตอบสนองต่อพิธีกรรม กลุ่มแรกเขาไม่มี ก็แค่นั้น

ขอเน้นอีกที "จุดตั้งต้น" ของที่เราสองคนเริ่มแลกเปลี่ยนกันนั้น ผมต้องการเพียง specific case ที่ "อาจจะ" คิดอะไรอยู่ที่ "ไม่กล่าวปฏิญญา" และให้เหตุผลอย่างที่ยกมา ผมไม่ได้ต้องการจะ generalize หรือ stereotype ว่าคนที่กล่าวดีอย่างไร หรือคนที่ไม่กล่าวไม่ดีไปหมด แต่พอเรา "รู้เหตุผล" ออกมาให้วิเคราะห์ ผมก็วิเคราะห์ตามข้อมูลที่เพิ่มเติมเท่านั้น แต่คุณพี่น้องฯ ดูอยากจะ generalize การแปลผลนี้ออกเป็น universal หรือ protocol ว่ามีหรือไม่มีความหมายแค่ไหน ซึ่วงเราจะเดินขนากันในประเด็นนี้





Posted by : Phoenix , Date : 2005-03-14 , Time : 08:47:20 , From IP : 172.29.3.62

ความคิดเห็นที่ : 27


   วันก่อนเข้ามาตอบครั้งหนึ่ง แต่ไม่ทันดูว่าเครื่อง disconnect ไปแล้ว พอกด send และ refresh ที่พิมพ์ไว้เลยหายไปหมดเลยครับ

คือผมอ่านกลับไปกลับมาหลายครั้ง เริ่มไม่แน่ใจว่าอาจารย์ phoenix นั้น ไม่ยึดติดกับพิธีกรรม หรือว่าเป็นคนหัวเก่าที่ต้องให้มีพิธีกรรมที่รุ่มร่ามเหมือนคนรุ่นก่อน ๆ หรือเปล่า

ไม่ว่าจะมองเรื่องนี้เป็น 3 individual cases หรือมองอย่าง generalized ก็คงไม่ต่างกันครับ อย่างที่ได้บอกตั้งแต่คำตอบแรก ๆ และได้ยืนยันมาโดยตลอด ไม่ว่าจะให้เหตุผลในการพูด หรือไม่พูด ไว้อย่างไร สิ่งนั้นก็ไม่ได้เป็นตราประทับเหมือนเครื่องหมายรับประกันสินค้า เพราะแม้จะให้คนส่วนใหญ่ได้พูดออกมาตามคำปฏิญาณ (ไม่ว่าจะถูกบ้างไม่ถูกบ้างก็ตาม) แต่เราก็ยังไม่มีอะไรมารับประกันได้ว่าวันใดวันหนึ่งข้างหน้า เขาหรือเธอเหล่านั้นจะเปลี่ยนใจไปจากคำปฏิญาณนี้หรือเปล่า

ก็แค่ประโยคแรกที่อาจารย์ phoenix พิมพ์มาให้อ่านกัน นั่นก็ทำไม่ได้กันไปส่วนหนึ่งแล้วนะครับ ...เหมือนอย่างที่อาจารย์บอกนั่นแหละครับ มันไม่มีมาตรการลงโทษ แม้กระทั่งการไม่กล่าวคำปฏิญาณเองก็ยังไม่มีบทลงโทษเลย นับประสาอะไรกับการผิดคำสัญญาที่ไม่มีอะไรเป็นข้อผูกมัด ฉะนั้น ไม่ต้องจัดเลยก็ได้ครับ

แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าอาจารย์แพทย์อย่างพวกเราได้สั่งสอนและเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็ก ๆ แล้วล่ะก็ พิธีกรรมใด ๆ ก็ยิ่งไม่จำเป็นเข้าไปใหญ่นะครับ

พูดถึงต้นแบบ เพิ่งรู้นะครับว่าเขามีอนุสาวรีย์ของ ไอแซก นิวตั้น ให้กล่าวคำปฏิญาณต่อหน้าอยูด้วย...

นิวตั้นคนนี้ เคยมีปัญหาเรื่องขโมยผลงานวิชาการ; John Flamsteed ในงานเขียน Principia Mathematica ...เคยตั้งคณะกรรมการภายใต้การกำกับดูแลของตัวเองเพื่อไต่สวนข้อขัดแย้งระหว่างตนเองกับนักวิทยาศาสตร์ผู้อื่น;Gottfried Leibniz แล้วสรุปว่า Leibniz ผิด สมัยทำงานที่ Royal Sociaty

ผมว่า เรื่องบางเรื่องก็ตัดสินผิดถูกแบบหน้าไพ่สองด้านไม่ได้หรอกครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-04-06 , Time : 22:53:58 , From IP : 203.147.28.176

ความคิดเห็นที่ : 28


   ผมไม่แน่ใจว่าคดีของนิวตันที่ถูกยกมานั้นมีผลอย่างไรต่อประเด็นที่เราพูดถึง และการตัดสินนั้นมีรากฐานบนหลักฐานอะไรบ้างที่เราจะพอนำมาเป็นประโยชน์ในการอ้างอิง ณ ประเด็นของเรานี้ คุณพี่น้องฯอาจจะลองขยายความสักนิดก็ดีครับ ที่แน่ๆก็คือ ถ้าจะเอาคดีนี้มาเป็นสาเหตุของการที่เราจะไม่ recognize คุณความดีของ Sir Isaac Newton ต่อโลกปัจจุบัน (นี่ผมพยายามจะลากให้เข้ากับที่ที่เราเคย discuss กันมา อาจจะไม่ได้ตรงกับที่คุณพี่น้องฯตั้งใจ) ผมว่ามันยิ่งชัดเจนว่า "ความผิด" ของคนๆหนึ่ง ไม่สามารถจะมา negate ความดีของคนๆนั้นที่เคยทำมาต่อเราได้

คำปฎิญญานั้นอาจจะไม่มีความหมายใดๆเลย นั่นก็จบไปแล้วครับ มันจะเริ่มมีความหมายเมื่อมีใครรู้สึกไม่สบายใจที่จะกล่าว มันเริ่มมีความหมายเมื่อใครรู้สึกขนลุกเกรียวเมื่อกล่าว มันเริ่มมีความหมายเมื่อมีคนพยายามหาคำอธิบายเอาจริงเอาจังว่า "ทำไม" ถึงไม่ควรกล่าว มันเริ่มมีความหมายเมื่อคนบางคนจำได้ว่าเคยกล่าวคำเหล่านี้แล้วเกิดความรู้สึกผิดชอบเกิดขึ้น แล้วยับยั้งบางสิ่งบางอย่างที่ตนเองกำลังจะทำลงไป

ผม ไม่เคย" คิดจะตัดสินใครจากการพูดบนนี้เลยครับ คนที่ตัดสินตลอดเวลาในทางปฏิบัติแล้วก็คือทุกๆคนตัดสินตนเอง ภายในศีรษะของตนเอง ไม่มีความจำเป็นต้อง defence หรือ offence ใคร ไม่มีใครที่เราจะต้องกล่าวขวั reference เพื่อเพิ่ม credit หรือ discredit การทำ self reflection นั้นมีประโยชน์และสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นเวลาที่เราสามารถซื่อตรงต่อตนเองได้ดีมากที่สุด

ผมเองก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจริงๆตัวผมเป็นอย่างไร เคร่งครัดพิธีกรรม? ไม่ติดกับพิธีกรรม? แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นของเราที่กำลังอภิปรายเลย และอาจจะลำบากมากที่จะหาข้อสรุปต่อคำถามนั้น จากการที่ผมเคยวิเคราะห์ตนเองมา ผมมีการเปลี่ยนแปลงเยอะในช่วงเวลาที่ผ่านมา และผมเข้าข้างตนเองว่าการเปลียนแปลงนั้นหมายถึง "การได้รับการศึกษา" (นิยามของ "การศึกษา" เกิดขึ้น เมื่อ เรามีการ "เปลี่ยนแปลง" ด้านความคิด ความรู้ คงวามเข้าใจ ความชำนาญ หรือเจตคติ ถ้า "ไม่มีการเปลี่ยนแปลง" อะไรเลยใน session ใดๆกับตัวเราร แปลว่า ณ ช่วงเวลานั้นไม่มีการศึกษาเกิดขึ้น)

ผมคิดว่า onus ของคำปฏิญญา ไม่ได้อยู่ที่ว่าเราทำได้ "กี่ส่วน" ครับ ตรงนี้มันมองได้หลากหลายประเด็น หลายอารมณ์มาก ประเด็นอยู่ที่ว่าเรา "เห็นด้วย" หรือ "ไม่เห็นด้วย" ในหลักการที่ว่าโดยรวม บริบทมันต้องมีผลกระทบในทางปฏิบัติแน่นอน แต่อย่างน้อย "แม่บท" ก็สำคัญ เหมือนๆกับหลักจริยธรรมแหละครับ คนทำได้ครบถ้วน 100% ก็ใกล้เยงกับพระอรหันต์ แต่การที่ปุถุชนคนธรรมดาทำขนาดนั้นไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าเราจะ ดูถูก ดูแคลน หลักจริยธรรม คำสอน หรือศาสนา ว่ามันอุดมคติเกินไป ว่ามันมีข้อยกเว้นเต็มไปหมด ของพันนี้บางครนสามารถนำมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวได้ บางคนนำมาเป็นหลักเกาะขณะที่จิตใจ vulnerable ได้ ขณะที่อยู่ใน End of Life ก็ยังได้ ว่าเรามีที่ยึดเหนี่ยว มีที่ยึดเกาะ

ในช่วงชีวิตเรา เรามี "พิธีกรรม" เกิดขึ้นมากมาย บางครั้งก็ trivial บางครั้งก็ major ขึ้นอยู่กับ "นิยาม" ของพิธีกรรมก็ได้กระมัง ผมคิดว่ากระบวนการอะไรก็ตามที่มีผลต่อภวังค์จิต โดยสืบเนื่องจากการกระทำ ก็เรียกพิธีกรรมได้ นักกีฬาสูดลมหายใจลึกๆสิบรอบ เดินวนสิบสามครั้ง พูดให้กำลังใจตนเองก่อนออกวิ่ง ล้วนแต่เป็น "พิธีกรรมส่วนตัว" ทั้งสิ้น บางคนก็จะต้องการให้คนอื่น "ยอมรับ" เพื่อให้ความคิดของตนนั้น "ถูก" ก็เป็นพิธีกรรมแบบหนึ่ง การพูดออกมาดังๆว่าเราเป็นคนดี เราเป็นคนดี เราเป็นคนดี เพื่อให้จิตใจเราสงบก็เป็นพิธีกรรมได้อย่างหนึ่งผมคิดว่าตัวผมเองมีพิธีกรรม trivial แบบที่ว่าเต็มไปหมด ไม่ทราบว่าคุณพี่น้องฯมีบ้างหรือไม่



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-06 , Time : 23:26:31 , From IP : 172.29.7.92

ความคิดเห็นที่ : 29


   คำปฏิญาณ จะไม่มีความหมายก็ต่อเมื่อเราละทิ้งมันครับ !

แต่ถ้าใครสักคนสามารถฝังสิ่งที่เป็นแก่นของคำปฏิญาณลงไปในจิตใจของกลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายได้ นั่นจะเป็นสิ่งที่ถูกฝังแน่นกว่าจะมากล่าวคำปฏิญาณหลายเท่านัก

หากจะให้หาตัวอย่างเปรียบเทียบ ก็ลองคิดถึงพวกคลั่งลัทธิทั้งหลาย ; ฟร้านซ์ ดาวิเดียน โอมชินริเกียว หรือจะให้อ่อน ๆ หน่อยก็ลองนึกถึงพวกที่แห่ตามกระแสอะไรสักอย่างแล้วหลงในวังวนจนไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาทำอยู่นั้นมันไม่ถูก (แม้บางครั้งจะเป็นเพียง "สัมพัทธ์" ว่าไม่ถูก) ก็ตาม ...เอาตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ สักเรื่องนะครับ

คนรู้จักคนหนึ่ง เขาเชื่อเรื่องแนวคิดหนึ่งเอามาก ๆ (ขอไม่เอ่ยนามนะครับ) ไม่ทานข้าว ทานแต่ธัญญพืช ไม่ดื่มน้ำเปล่า ต้องเป็นน้ำผลไม้คั้นเท่านั้น แค่นั้นยังไม่พอ ดันลามไปถึงลูก คือไม่ยอมพาลูกไปฉีดวัคซีน เรื่องนี้จะไม่เป็นปัญหา ถ้าลูกของครอบครัวนี้ไม่บังเอิญไปเป็นโรคใด ๆ สักโรคที่ถูก cover ด้วยวัคซีนที่เขาควรจะได้รับ แต่ไม่ได้

คนบ้านนี้ไม่เคยปฏิญาณว่าจะเชื่อมั่นและยึดมันในสิ่งนี้ เขาฝังสิ่งนี้เข้าไปในตัวเขา และปลูกฝังมันต่อให้ลูกของเขาอีกที ...แล้วอย่าลืมนะครับว่าวันนี้บางคนอาจมองว่าคนบ้านนี้ผิด แต่อีกหลายชั่วอายุคนต่อจากรุ่นเราไป สิ่งเหล่านี้อาจถูกก็ได้ (หรืออาจเป็นในทางกลับกัน)

แล้วเรื่องใด ๆ ในโลกเรานี้ก็อย่าหวังให้มันเป็น "สัมบูรณ์" ไปได้เลยครับอาจารย์ phoenix แทบทุกอย่างมันค่อนไปทาง "สัมพัทธ์" เสียทั้งนั้น ประสาชาวบ้านก็บอกว่าเป็น สีเทา ๆ จะแก่จะอ่อนก็อีกเรื่องหนึ่ง ...กำลังนึกว่าจะรวมเอาเรื่อง "คำปฏิญาณ" เข้าไปด้วยได้ไหม พอดีเห็นว่าอาจารย์ phoenix บอกว่ากล่าวกันมาสองสามพันปีแล้ว ก็เลยไม่รู้ว่าจะยึดถือให้ rigid ไปได้หรือไม่

สำหรับผม ถ้าไม่สามารถยึดเรื่องคำปฏิญาณให้เป็น "สัมบูรณ์" ได้ ก็ใช้วิธีฝังเข้าไปในหัวคนกลุ่มนั้นดีกว่าครับ มันจะเปลี่ยนแปลงยังไงในหัวก็คงต้องแล้วแต่ประสบการณ์ในชีวิตของแต่ละคนที่แตกต่างกัน


ปัญหาของนิวตั้นก็คือ เขา "ขโมย" ผลงานวิชาการของ Flamsteed ครับ ใน Principia Mathematica ที่ถือว่าเป็นผลงานที่ตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก และเป็นผลงานที่ถือว่าเป็นคุณความดีของเขานั้น ไม่ได้อ้างถึงข้อมูลของ Flamsteed เลย ทั้งที่ 1st edition นั้นใช้ข้อมูลของ Flamsteed มาอ้าง (ครั้งหลัง ๆ มีการตีพิมพ์ข้อมูลนั้น แต่ไม่ได้อ้างชื่อผู้เป็นเจ้าของข้อมูล)

พวกเราเองก็ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เมื่อประมาณช่วงปีสองห้าสี่ศูนย์(ถ้าจำไม่ผิด) หรือไม่ก็ปีสามเก้า ไม่เกินปีสี่หนึ่ง ก็เคยมีเรื่องตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชั้นนำฉบับหนึ่งเรื่องการคัดลอกผลงานวิชาการโดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มา ไม่ทราบว่าอาจารย์ phoenix ได้เคยอ่านไหม ผมคุ้น ๆ ว่าเป็นภาษาไทยนะครับ แต่หลัง ๆ ชักไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นภาษาอังกฤษหรือเปล่า


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-04-11 , Time : 22:12:30 , From IP : 203.147.28.147

ความคิดเห็นที่ : 30


   สำหรับกรณี "ข้อเท็จจริง" ของ Newton นั้น ผมมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุป แต่ผมก็ยังไม่สามารถโยงกรณีนี้เข้ากับประเด็นของเราได้อยู่ดีน่ะครับ ไม่ทราบว่าคุณพี่น้องฯ อยากจะสื่อว่าอย่างไร? ถ้า Newton เคย breach plagiarize แล้ว แปลว่า....? (ชักอยากรู้จริงๆ เพราะผมคิดว่าคุณพี่น้องฯกำลังพยายามจะสื่ออะไรบางอย่าง แต่ผมยังไม่ get น่ะครับ)

ขณะที่ "ความจริง" เป็นเช่นไรนั้นยกไว้ก่อน แต่ประเด็นเรื่องนี้ (Newton) มาคิดยังนี้ครับ ในช่วงชีวิตคน มีใครบ้างที่ไม่เคยกระทำผิด สำหรับทางพุทธ สิ่งที่เขาทำผิดนั้นเขาจะได้หรือได้รับผลกรรมไปแล้วอย่างแน่นอน ถ้าเรื่องนี้นำมาเกี่ยวกับ Hippocratic oath (ซึ่งไม่ทราบจริงๆว่าคุณพี่น้องฯตั้งใจจะมีนัยทางนั้นหรือไม่) ผมว่า "กตัญญูกตเวที" ต่อครูบาอาจารย์นั้น ไม่เกี่ยวกับ personal characteristics ครับ ลูกหลานของโจรก็ยังสมควรจะกตัญญูกตเวทีต่อโจร เพราะเป็นพ่อแม่เลี้ยงดูกันมา ลูกศิษย์ลูกหาของครูบาอาจารย์ก็ยังสมควรจะกตัญญูกตเวทีต่อครูถึงแม้ครูบาอาจารย์ท่านนั้นจะกินเหล้าเมายานอกเวลา เพราะยังไงๆเราก็เคยได้รับเลี้ยงดูอุปถัมป์ร่ำเรียนมา คำ "กตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี" นั้น ไม่ได้มี small print เป็นข้อยกเว้นไว้ ว่าต้องตรวจสอบประวัติก่อน

ผมเรียนให้คุณพี่น้องฯมาแต่แรกว่า "ปฎิญญา" นั้นไม่มีอำนาจ rigid อะไรแน่นอน มันเป็นคุณค่าทางวิชาชีพ เป็นนามธรรม เป็น"Goodness" แต่ที่มันคงอยู่มาเป็นพันๆปี (หรือผม "เชื่อ" ว่ามันเป็นวัตรของคนในอาชีพนี้ตั้งแต่เริ่มมีอาชีพนี้) เพราะนี่เป็น universal goodness ครับ ขอ quote Geneva Declaration อีกครั้ง (ยิ่ง quote บ่อยๆยิ่งดี)

คำปฏิญญาเจนีวา

ถ้อยแถลง

ในโอกาสที่ได้รับการพิจารณาให้เข้าเป็นสมาชิกของวิชาชีพทางการแพทย์นี้ ข้าพเจ้าขอให้สัตย์ ปฏิญญาว่า

ข้าพเจ้าจะอุทิศตนเพื่อให้บริการเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างเต็มที่ ข้าพเจ้าจะเคารพครูบาอาจารย์และระลึกถึงพระคุณของท่าน

ข้าพเจ้าจะประกอบวิชาชีพด้วยความรับผิดชอบและคำนึงถึงศักดิ์ศรี ข้าพเจ้าจะคำนึงถึงสุขภาพของผู้ป่วยเป็นข้อแรก

ข้าพเจ้าจะรักษาความลับของผู้ป่วยอย่างแน่วแน่ ข้าพเจ้าจะผดุงไว้ซึ่งเกียรติยศและธรรมเนียมที่ปฏิบัติตามแบบอย่างที่ดีของวิชาชีพ

ข้าพเจ้าจะถือเพื่อนร่วมวิชาชีพประดุจพี่น้อง ข้าพเจ้าจะไม่ยอมให้ศาสนา เชื้อชาติ พรรคการเมือง หรือกฎเกณฑ์ของสังคม มาแทรกระหว่าง หน้าที่กับผู้ป่วยข้าพเจ้าจะคงความเคารพนับถืออย่างสูงสุดต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิ แม้จะมีการคุกคาม

ข้าพเจ้าจะไม่นำความรู้ทางการแพทย์มาใช้ในทางที่ผิดต่อเพื่อนมนุษย์ ข้าพเจ้าขอให้ปฏิญญาดังกล่าวข้างต้นนี้อย่างจริงจัง เปิดเผย ด้วยเกียรติของข้าพเจ้า


อ่านกี่รอบๆ ผมก็ยังมองไม่เห็นประดยคหรือวลีที่จะมีแพทย์คนไหนดูถูก ดูแคลนว่าเชย ไร้สาระ ทำไม่ได้หรอก อะไรเลย

กรรมวิธี "ฝังหัว" ธรรมะ หรือ ปรัชญา นั้นมีหลายวิธีครับ ที่ classic คือท่องบ่นตอนเคารพธงชาติ หรือสวดภาวนาสมาธิก่อนนอน ตอนเด็กๆก็ไม่เข้าใจ พอเริ่มอ่านออกเขียนได้ก็ชัดสนใจว่าเราพูดว่าอะไร ที่สุดบางคนก็ซึมเข้าไปในจิตใจความคิดวิญญาณ แต่บางคนอาจจะเกิด conflict ขัดแย้ง ไม่เชื่อ ก็แล้วแต่ และผมเห็นด้วยกับคุณพี่น้องอย่างยิ่งที่ว่า คำปฏิญาณ จะไม่มีความหมายก็ต่อเมื่อเราละทิ้งมันครับ แต่ผมอยากจะเติมอีกนิดนึงว่า คำปฏิญญา จะไม่มีความหมายเมื่อเราไม่เชื่อในสิ่งที่เราจะกล่าว และเมื่อเราละทิ้งไป "ความหมาย" ของสิ่งที่เรากล่าวนั้นมันเริ่มตั้งแต่ตอนเราพูดออกไปแล้วครับ ไม่ใช่พึ่งมีตอนเราจะทำ หรือปฏิเสธไม่ทำ ยิ่งแสวงหาเหตุผลเพื่อจะไม่ทำ ไม่เชื่อ ซะตั้งแต่แรก ยิ่งแสดงว่าคำปฏิญญานั้นๆ มันไม่เข้ากับระบบความคิดของคนๆนั้น (มากกว่าคนที่ไม่ได้กล่าว แล้วไม่ได้คิดอะไรเสียอีก) เพราะมันไม่เพียงแต่ "ไม่ relevant" อย่างเดียว จริงๆแล้วมัน relevant แต่เขา "ไม่เห็นด้วยกับความหมาย" ในคำปฏิญญานั้นๆ

สำหรับพวก cult แปลกๆต่างๆนั้น ผมมีความเห็นแตกต่างจากคุณพี่น้องฯครับ ก้ไม่ได้มีประสบการณ์ตรงอะไร แต่ในหลายๆ cults ที่กล้าเปิดเผยตัวต่อ public นั้น การทำ ritual rite เป็น common theme ที่คนใน cults เหล่านี้จะมีการทำ chanting บทสวด หรือบทความเชื่อ เกือบจะเหมือนเป็นการสะกดจิตหมู่

การมี "อุดมคติ" นั้นมีประโยชน์ครับ มันเป็น road map กว้างๆ ดีกว่าไม่มีเลย ผมทราบดีว่าเราเดินอยู่บนเส้นทางสีเทา เพราะตัวผมเองก็ไม่ได้ดีเด่ ไร้ข้อบกพร่องแต่อย่างใด แต่หนทางที่เราจะพัฒนาตนเองนั้น ผมไม่เชื่อว่าการอ้าง "เขาทำอย่างนี้กัน" หรือ "แค่นี้ก็ดีพอแล้ว หรือมันจะดีเกินไป ผิดมนุษย์มนา" จะเป็นวิธีคิดที่สร้างสรรค์ที่สุด มีประโยชน์ที่สุด หรือจะมีส่วนช่วยวงการแพทย์ มีส่วนช่วยผดุงจรรยาบรรณวิชาชีพของเราในอนาคต เราอาจจะไม่ต้องหวังให้โลกนี้มัน "สัมบูรณ์" ก็จริง แต่เราน่าจะมี "สัมบูรณ์" เพื่อที่เราจะได้พยายาม "เข้าใกล้" มันให้มากที่สุด "เท่าที่ในบริบทจะอำนวย" ซึ่งผมหวังว่าหมอรุ่นน้องๆผมจะไม่เริ่มต้นจากดูหมิ่นดูแคลนเนื้อหาใน Geneva Declaration หรอกครับ เพราะมันสอดคล้องกับหลักปรัชญาแพทย์ตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชบิดาเป็นอย่างดี




Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-12 , Time : 10:01:43 , From IP : ppp-203.118.113.244.

ความคิดเห็นที่ : 31


   ประเด็นที่ผมขอเพิ่มเติมก็คือข้อความในคำปฏิญาณ (ใด ๆ) นั้นเป็นคำพูดที่ดีด้วยกันทั้งนั้นครับ ข้อความเหล่านี้นอกจากจะครอบคลุม ปิดช่องโหว่ แล้วยังสื่อความหมายได้ดี (ถ้าไม่ดีจริง อาจารย์ phoenix ก็คงไม่ลอกมาให้อ่านกันตั้งหลายรอบหรอกครับ)

ถ้ามีคำสาบแช่งต่อท้าย ก็จะกลายเป็นคำสาบาน
ถ้ามีบทลงโทษ ก็จะกลายเป็นกฎหมาย

คำปฏิญาณนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ข้อดีก็คือเป็นคำกล่าวที่พูดขึ้นได้ลอย ๆ โดยไม่มีเงื่อนไขบังคับต่อท้าย ไม่มีบทลงโทษต่อท้าย เหมือนเป็นการเชิญชวนอยู่ในตัวเอง

คนส่วนหนึ่งจะ "against" ก็ต่อเมื่อถูกบังคับให้พูด เพราะคำปฏิญาณที่เรากล่าวถึงมาตลอดนั้นจะต้องถูกกล่าวขึ้นมาด้วยความเต็มใจ เหมือนอย่างที่อาจารย์ phoenix บอกว่าที่ IVY liague หรือที่ Cambridge เขาทำกัน ผมว่าคงไม่มีใครมาใช้ความพยายามให้สมาชิก "ต้อง" กล่าวดัง ๆ เป็นแน่

ถ้าใครจะพูด ก็ให้เขาพูดออกมาด้วยความเต็มใจ ถ้าใครจะไม่พูด ก็คงมีเหตุผลส่วนตัวของเขา แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ถ้าเขาปฏิบัติผิด (ไม่ว่าเป็นผิดจรรยา หรือผิดกฎหมาย) ก็จะมีบทลงโทษรออยู่แล้ว เรามีทั้งสมาคมวิชาชีพ และกฎหมายบ้านเมือง ที่คอยควบคุมการปฏิบัติอยู่แล้ว และคงไม่มีใครคาดหวังว่าการผ่านพิธีปฏิญาณ จะเป็นการรับประกันใด ๆ ได้เลยครับ เพราะมิฉะนั้นแล้ว เราคงต้องจัดพิธีกรรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกมาก (ทั้งที่ความจริงควรจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็ก ๆ ของเราจะดีกว่า) ทั้งพิธีรับ Stethoscope พิธีลงมีดผ่าตัดครั้งแรก ฯลฯ

มาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ไปเสีย ซึ่งดูแล้วออกไปในทางไสยศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์

แล้วทีนี้ก็ต้องย้อนกลับมาดูว่าเรากำลังมองที่แก่นของพิธี หรือมองว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำ

ถ้าไม่ทำแล้วอาจมีปัญหาในการสอบสัมภาษณ์ได้ "...ปีหน้าตอนสอบสัมภาษณ์ นศพ. ผมเสนอให้ทุกคนลอง "พูดดังๆ" กล่าวคำปฏิภาณของการเป้นแพทย์"

ถ้าจะมองว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ ก็ต้องมีบทลงโทษต่อท้าย
ถ้าจะให้เป็นไสยศาสตร์ ก็ต้องมีคำสาบแช่ง

แต่เมื่อใดก็ตามที่ยังไม่มีทั้งสองสิ่งนี้ คำปฏิญาณนี้ก็ยังเป็นแบบเปิดอยู่นั่นเองครับ ไม่ว่าจะพูดหรือไม่ หรือไม่พูดเพราะอะไร ก็เป็นประเด็นส่วนตัวครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-04-17 , Time : 22:08:35 , From IP : 203.147.28.155

ความคิดเห็นที่ : 32


   ผมเห็นด้วยครับที่ว่าถ้าทำอะไร "เกินไป" สิ่งนั้นมันจะถดถอยความหมายลงไป จนกลายเป็นไม่มีความหมายได้

ดังนั้น "ปฏิญญา" สำหรับวิชาชีพจึงได้ทำกันครั้งเดียวในชีวิตคือตอนจบการศึกษากระมังครับ ถ้าเมื่อไหร่ต้องกล่าวปฏิญญากันทุกครั้งที่เดินข้ามถนน หรืออาบน้ำมันก็คงกลายเป็นอะไรอื่นไป และผมเห็นด้วยว่าเรามีทั้งกฏหมายอยู่แล้ว และเราไม่ได้อิงไสยศาสตร์ ฉนั้นที่เราเอากลางๆแค่ "กล่าวปฏิญญา" พอจะนับเป็นทางสายกลางได้ไหมล่ะครับ? ไม่ตึง ไม่หย่อน หกปีกล่าวครั้ง ทีเดียวในชีวิต ส่วนตัวแล้วใครจะ finger cross ใครจะแค่พึมพัม ใครจะไม่กล่าวเลย ไม่มีใครมาคอยจับผิดลงโทษกันอยู่แล้ว ผมคิดว่าคงไม่ถึงกับเอามาประกอบการสอบสัภาษณ์อะไรนั่นหรอกครับในทางปฏิบัติ เพราะมันไม่มี evidence-based ที่เราสามารถจะพยากรณ์ออกมาได้ชัดเจน

จริงๆแล้วผมเคยแนะนำสมาชิกทีม PCT ของผม (ทีมใจและกาย Palliative care ของภาคศัลย์) ลองหัดทำ reflection การกระทำของเราตอนเลิกงานว่าที่เราทำไปนั้นเป็นมงคลหรือไม่ เป็นความดีหรือไม่ มีคนไข้ได้ประโยชน์หรือเปล่า ไม่ต้องประกาศดังๆ แต่ผมว่าบางครั้งพวกเราเองไม่ได้ "ตักตวงบุญ" หรือ "คุณความดี" จากเนื้องาน บางคนจับเอาแต่ความหนัก ภาระ หรือความไม่ชอบเป็นสรณะ จนในที่สุดต้องหา surrogate outcomes ออกมาจากวิชาชีพ ไปหาลาภยศสรรเสริญด้านอื่นๆ หา parameter ของความสำเร็จที่จับต้องได้ ออกมาในรูปแบบต่างๆ บางทีก็มีผลต่อนิยามของ professionalism ไปได้

ของที่คิดมาหลายพันปีนั้นไม่ได้แปลว่า obsolete หรือล้าสมัยเสมอไปครับ ของบางอย่างที่เป็นภูมิปัญญาแต่โบราณและก็ยังเป็น contemporary อญุ่จนถึงปัจจุบัน ที่เราเรียกว่า classic นั่นแหละครับ ทันสมัยอยู่ตลอดทนทานต่อเวลา เช่น อริยสัจจ์ ทั้งสี่ประการเป็นต้น ไม่ต้องแก้ ไม่ต้อง edit



Posted by : Phoenix , Date : 2005-04-17 , Time : 22:37:12 , From IP : 203.156.119.179

ความคิดเห็นที่ : 33


   ผมนึกว่าอาจารย์จะให้นักเรียนที่มาสัมภาษณ์กล่าวปฏิญาณจริง ๆ เสียอีก เห็นอาจารย์ phoenix บอกไว้ตอนต้น ๆ แต่ไม่เป็นไรครับ ไม่ต้องกล่าวตอนสัมภาษณ์ก็คงไม่เป็นไร

ผมว่าคงต้องคุยกันอีกนานล่ะครับ เพราะยังไงก็คงไม่ได้ข้อสรุปของเรื่องที่เราสองคนคุยกันอยู่ดี แต่ถ้าลองคิดอย่างนี้นะครับว่าหากเราจะไม่จัดพิธีนี้ไปซะเลย คือเอาเป็นว่าเกิดมีผู้บริหารหรือคณะผู้บริหารมาเห็นกระทู้นี้เข้าแล้วเกิดบ้าจี้ตามผม สั่งยกเลิกพิธีนี้ไปเลย...

อาจารย์ phoenix ว่าจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางไม่พึงประสงค์ในบัณฑิตแพทย์ที่เราผลิตออกไปหรือเปล่า

หรือไม่อย่างนั้น ปู่แพทย์ ทวดแพทย์ ร่อนก่อนหน้าเราที่ไม่มีพิธีนี้ ท่านมีมลทินหรือไม่ที่สมัยนั้นไม่มีพิธีกรรมนี้ในโรงเรียนแพทย์ที่ท่านเรียน

ที่ที่ผมทำงานอยู่ทุกวันนี้ก็ไม่มีพิธีนี้เหมือนกัน สิ่งที่คณะแพทย์ของเรากังวลนั้นไม่ใช่เรื่องที่เด็กของเราจะเข้าพิธีนี้ กล่าวคำปฏิญาณเหล่านี้ ปฏิบัติได้ตามนี้ หรือไม่ สิ่งสำคัญที่สุดที่เราจะต้องมองก็คือ บุคลิกลักษณะ คุณลักษณะ และประสบการณ์เรียนรู้ต่างหาก ที่จะหล่อหลอมเด็ก ๆ รุ่นหลังของเราให้เป็นแพทย์ที่ดี

ไม่รู้ว่าที่อื่นเขาจะมีบ้างไหมที่ไม่ได้จัดพิธีกรรมนี้ อาจารย์ phoenix พอจะทราบบ้างไหมครับ ไม่รู้ว่าเขามีแนวความคิดกับเรื่องนี้อย่างไร (ถ้ามีที่ที่เขาไม่จัด เขาคิดอย่างไร) ผมว่าน่าสนใจดีนะครับ

...แค่นี้ก่อนนะครับ ขออนุญาตลาไปดู TV champion ก่อนนะครับ นาน ๆ จะมีโอกาสได้ดูสักที ช่วงนี้เวรยุ่งน่ะครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-05-07 , Time : 21:03:05 , From IP : 203.147.28.155

ความคิดเห็นที่ : 34


   ผมคิดว่าประเด็นล่าสุดนี่ออกไปนอกต้นเหตุและมุมที่ได้ว่าไว้ตอนต้นครับ

เราไม่ได้พูดกันถึงเรื่อง "การกล่าวปฏิญญา" แต่เรากำลังพูดกันถึงเรื่องดารที่บางคน "จงใจไม่กล่าวคำปฏิญญา" ซึ่งแรงบันดาลใจรวมทั้งผลสะท้อนของทั้งสองพฤติกรรมนี้ต่างกันแน่นอนครับ คล้ายๆกับที่ศาสนายิวดิสสอนว่า "จงอย่าทำอะไรกับผู้อื่นอย่างที่ตนเองไม่อยากถูกกระทำ" มันไม่เหมือนกับที่ reverse เป็น "จงกระทำกับผู้อื่นเหมือนกับที่ตนเองอยากถูกกระทำ" มันเป็นเรื่องของ action และ inaction

ผมคิดว่าสมัยปู่แพทย์ พ่อแพทย์ หรือวิชาใดๆก็ตามในอดีต ถ้าเชื่อในพุทธภาษิตที่ว่า "กตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี" คงไม่มีใครตะขิดตะขวงใจตั้งแง่ว่า จะขอกตัญญูเฉพาะคนที่ตนเองเห็นว่าเป็นคนดีจริงๆนะ ส่วนคนที่ประพฤติไม่ดี ต่อให้มีบุญคุณกับเราอย่างไรก็ไม่ต้องไปนับถือกราบไหว้มันก็ได้ อยากโง่สอนตูเองนี่หว่า

ผมคิดว่าปู่แพทย์ พ่อแพทย์ พี่แพทย์เห็นด้วยกับพระราชดำรัสสมเด็จพระราชบิดาซึ่งตรงกับปฏิญญาข้อหนึ่งที่เราจะทำเพื่อประโยชน์ของคนไข้ ไม่มีใครอ้างว่าขอไม่ปฏิบัติเพราะกลัวว่าจะต้องทิ้งลูก ทิ้งเมีย ทิ้งครอบครัว ไม่เอาใจใส่ดูแล

ผมคิดว่าเราทั้งสองคนเข้าใจตรงกันว่าเรื่องคำปฏิญญานี้มีนัยต่อเมื่อ "ไม่เห็นด้วย" หรือ "ไม่ถือปฏิบัติตาม" ผมเลยไม่แน่ใจประเด็นใหม่ที่ว่า หรือไม่อย่างนั้น ปู่แพทย์ ทวดแพทย์ ร่อนก่อนหน้าเราที่ไม่มีพิธีนี้ ท่านมีมลทินหรือไม่ที่สมัยนั้นไม่มีพิธีกรรมนี้ในโรงเรียนแพทย์ที่ท่านเรียน ตรงนี้มาจากไหน เริ่มต้นมาอย่างไร กล่าวคำปฏิญญาไม่ได้เป็นเกราะป้องกันมลทินครับ เป็นการประกาศความเชื่อเฉยๆ (profess = declare what we strongly believe) ประเด็นที่ผมตั้งใจพูดถึงคือการที่มีคน "จงใจไม่กล่าว" คำปฏิญญา" และประกอบเหตุผลเริ่มต้นว่า
"ไม่รู้ว่าจะทำได้อย่างที่พูดจริงหรือเปล่า"
"ไม่มีทางผูกมัดการกระทำของคนได้โดยคำพูดที่ถูกบังคับให้พูดเพียงไม่กี่คำ"
"อุดมการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คำปฏิญาณเปลี่ยนคนไม่ได้"

นั่นต่างหาก ตรงนี้ที่เป็นจุดเริ่มต้นของกระทู้อภิปรายนี้


ผมคิดว่าระหว่างคณะฯแพทย์สถาบันใดๆจัดพิธีนี้มาแต่ต้น หรือไม่จัดพิธีนี้มาแต่ต้นจะมีความน่าสนใจเท่ากับการที่สถาบันที่ไหนๆเปลี่ยนแวปฏิบัติของตนเอง เช่นจากที่เคยจัดๆอยู่ทุกปีแล้วคณบดีประกาศว่าต่อไปนี้เราจะไม่กล่าวปฏิญญานี้อีกต่อไป หรือไม่เคยจัดมาเลยแล้วประกาศว่าเราจะเริ่มทำบ้าง น่าสนใจใน "แรงบันดาลใจ" ครับ เหมือนอย่างที่ผมตั้งข้อสังเกต (และเปนจุดเริ่มต้นในการอภิปรายของเรา) นั่นแหละครับ ผมไม่สนฝจคนที่กล่าวพึมพัมๆ กล่าวเต็มใจ ไม่กล่าวเลย แต่ผมสนใจในคนที่ไม่กล่าวและให้เหตุผลประกอบอย่างที่ให้มา ว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ

ในขณะที่ผมไม่เคย research ว่ามีคณะแพทย์ที่ไหน ไม่กล่าวหรือประกาศไม่เห็นด้วยกับ Geneva Oath นี้ผมสนใจในสิ่งที่เราหาข้อมูลง่ายๆตรงนี้มากกว่าคือคนในบอร์ดนี่แหละครับ นอกเหนือจากเหตุผลขยายว่าทำไม่ถึงไม่กล่าวที่ให้มาแล้ว (รวมทั้งอีกอันนึงที่ผมไม่แน่ใจว่าคุณพี่น้องฯ ขยายความให้ฟังกันรึยังที่ว่า หลายคนที่ไม่ยอมกล่าวคำปฏิญาณ อาจ "ดูแคลน" คำปฏิญาณด้วยเหตุผลเหล่านี้ก็ได้ คือผมไม่แน่ใจว่าเข้าใจคำว่า "ดูแคลน" คำปฏิญญาข้อไหน อย่างไรน่ะครับ) คุณพี่น้องอยากจะเสนอข้อสนับสนุนอื่นๆอีกไหมครับที่ไม่เห็นด้วยกับการกล่าวคำปฏิญญานี้

อย่างไรก็ดีผม "ไม่เห็นด้วย" ที่ว่า สิ่งที่คณะแพทย์ของเรากังวลนั้นไม่ใช่เรื่องที่เด็กของเราจะเข้าพิธีนี้ กล่าวคำปฏิญาณเหล่านี้ ปฏิบัติได้ตามนี้ หรือไม่ ครับ ที่จริงถ้าเป็นไปได้ผมอยากจะให้คุณพี่น้องฯมีเวลาไปร่วมงานแพทยศาสตร์ศึกษาที่ศูนย์วิจัยเดือนสองเดือนข้างนี้ว่าด้วยเรื่อง Professionalism คุณพี่น้องฯจะได้รับฟังข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับ "อะไรที่เป็นภาวะคุกคามสถาบันแพทย์มากที่สุด" ของเราในขณะนี้ นั่นคือการที่พฤตอกรรมของแพทย์ออกไป "นอก" ลู่นอกทาง พูดง่ายๆก็คือ พทย์จำนวนมากขึ้นที่ ไม่สามารถปฏิบัติตามจรรยาบรรรณ ของวิชาชีพ"ภาพพจน์วงการแพทย์ตกต่ำลง มีแพทย์ที่เป็น commercial doctor มากขึ้น มีแพทย์ที่อกตัญญูต่อสถาบัน ต่อประเทศชาติ ต่อพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่สอนสั่งความประพฤติๆมากขึ้น มีแพทย์ที่ไม่รักษาความลับของผู้ป่วย มีแพทย์ที่คำนึงถึงประโยชน์ตนเองก่อนของผ้ป่วย มีโรงพยาบาลที่ไม่เน้นคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแต่เน้นเงินที่จะหาได้มากกว่า มีแพทย์ที่ไม่ให้เกียรติเพื่อนแพทย์ ให้ความทับถมซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้แหละครับที่ consortium 13 institutes แพทยศาสตร์พยายามที่หาทาง address เรื่องนี้อยู่ และทั้งหมดก็อยู่ใน "คำปฏิญญา" ที่มีคนดูแคลบนนี่แหละครับ ไม่เพียงแต่คณะแพทย์มอ.ที่ "กังวล" เรื่องนี้ แต่ทุกสถาบัน รวมทั้งที่ต่างประเทศ ในสิงค์โปร์ ณี่ปุ่น มาเลเซีย ที่มีการประชุมแพทยศาสตร์ศึกษา ทุกคนที่มาต่างแสดงความเป็น "กังวล" เรืองนี้ทั้งสิ้น คุณพี่น้องฯอาจจะช่วยขยายความสักนิดว่าที่คณะแพทยเราไม่ควรกังวลว่าบัณฑิตเราไม่สามารถทำตามข้อความอย่างที่มีในคำปฏิญญา หมายความว่าอย่างไรก็น่าจะมีประโยชน์ครับ เพราะจะช่วยแก้ปัญหาให้ 13 consortiums ได้แล้วว่าเราหมดปัญหาที่กังวลกันแล้ว



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-07 , Time : 22:47:44 , From IP : 172.29.7.116

ความคิดเห็นที่ : 35


   ผมคิดว่าหลังจากที่ได้อ่านคำแปลเรื่อง "นัย" ของการกล่าวปฏิญยาอันล่าสุดนี่ ผมเห็นว่าน่าจะขออนุญาตขยายความเมสักนิดนึงครับ

หรือไม่อย่างนั้น ปู่แพทย์ ทวดแพทย์ รุ่นก่อนหน้าเราที่ไม่มีพิธีนี้ ท่านมีมลทินหรือไม่ที่สมัยนั้นไม่มีพิธีกรรมนี้ในโรงเรียนแพทย์ที่ท่านเรียน

พิธีการกล่าวปฏิญญานั้น ไม่ได้มีเพื่อป้องกันมลทิน ล้างมลทิน การันตีรับประกันมลทินไม่เกาะสีไม่ตกครับ เหมือนๆกับหลักจริยธรรม หรือหลักกฏหมายเช่นเดียวกัน ความถูกผิดชอบชั่วดี นั้นมันมีก่อนที่มีคนรวบรวมหลักจริยธรรมไว้ซะอีก การฆ่าสัตว์ ขโมยของ พูดปด เป็นสิ่งพึงละเว้นเพราะมีโทษทำให้เกิดทุกข์มาตั้งแต่ก่อนที่พระพุทธเจ้าท่านใส่ไว้ในศีล 5 และคนที่ถือประพฤติปฏิบัติละเว้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงมาแต่ก่อนยุคพระพุทธเจ้าก็สามารถอยู่บนวิถีแห่งมงคล แห่งความปลอดทุกข์นี้ทั้งนั้น คนที่ลักขโทย ทำร้ายคนอื่นนั้นก็ทำผิดถึงแม้ว่ายุคนั้นๆยังไม่มีกฏหมายเรื่องนี้อยู่ "ผิด" ในที่นี้คือผิด "จริย" ครับ

ทีนี้ "ก่อน Hipposcratic oath หรือ Geneva oath" นี่ มีใครมีความเห็นตรงกันข้ามหรือแตกต่างจาก "เนื้อหาใจความ" ในคำปฏิญญานี้หรือไม่ และความเห็นที่ผิดเพี้ยนไปนี้มีใครนับเป็นข้อพึงปฏิบัติมาหรือไม่ (หรือควรจะนับอย่างที่ว่า) ผมว่าตรนี้น่าสนใจที่จะอภิปรายครับ และผมอยากจะให้มีการยกตัวอย่าง ที่เห็นชัดๆว่าเริ่มมีการแก้ไขจาก Hipposcratic oath ก็เห็นจะเป็น concept of euthanasia นี่แหละ ที่เหือส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เพี้ยนไปไกล

ถ้าผมจะ "เดา" ความเห็นของปู่แพทย์ พ่อแพทย์ ต่อเนื้อหาความนัยของปฏิญญานี้ว่าเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร ผมขอเดาว่าท่านเห็นด้วยครับ คุณพี่น้องฯคิดว่าปู่แพทย์ พ่อแพทย์เราส่วนใหญ่มีความรู้สึกอย่างไรครับเวลาท่านกล่าวคำปฏิญญา หรือท่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับเนื้อหาในคำปฏิญญา? ท่านจะ "ดูแคลน" หรือไม่?





Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-08 , Time : 03:06:34 , From IP : 172.29.7.44

ความคิดเห็นที่ : 36


   อ่านมาถึงหลักสามสิบ ผมว่าอาจารย์ phoenix ก็ยังคงไม่เข้าใจในสิ่งที่ผมอยากบอกอยู่ดี

ถ้างั้นเอาอย่างนี้ก็ได้ครับ ผมขอยอมรับว่าพรรคพวกเพื่อนผมที่ยกตัวอย่างขึ้นมาทั้งสามคนนั้นมันเป็นพวกนอกรีต สมควรถูกประนาม ไม่เคารพในสิ่งที่ถูกที่ควร ดันไม่ยอมพูดในเวลาที่ต้องพูด แถมมาให้เหตุผลแบบน่ากระทืบตอนโดนถาม ถ้าให้ดีก็คงต้องให้ไปตรวจสภาพจิต หรือไม่ก็ไม่ควรให้ใบอนุญาตไปตั้งแต่แรก

แล้วจากนั้นค่อย ๆ คิดในสิ่งที่ผมจะบอกต่อไปนี้

...เราเคยเห็นแพทย์ที่ทำแท้งอย่างผิดกฎหมายหรือไม่ ?
...เราเคยเห็นแพทย์ไม่มา round ward ที่ตัวเองรับผิดชอบติดต่อกันห้าวันในช่วงหยุดสงกรานต์ (และไม่มีใครมา round แทน) หรือไม่ ?
...เราเคยเห็นแพทย์ที่รับ consult โดยให้ส่ง chart ไปที่ห้องพักแพทย์ และตอบใบ consult รวมทั้งสั่งการรักษาโดยไม่เห็นผู้ป่วยเลย จนตลอด survice ของเขาหรือไม่ ?
...เราเคยเห็นแพทย์ที่ได้ชื่อว่าตรวจคนไข้ OPD วันละเป็นร้อย แต่ตรวจจริงไม่ถึงยี่สิบราย ที่เหลือให้ resident ตรวจแทน แต่ลงทะเบียนเป็น staff ตรวจ หรือไม่ ?
...เราเคยเห็นแพทย์ที่อยู่เวรแล้วตามตัวไม่ได้เลยหรือไม่ ?
...เราเคยเห็นแพทย์ที่รับ consult ทางโทรศัพท์ แล้ววันรุ่งขึ้นก็มาจดชื่อ HN ผู้ป่วยไปเบิกค่าทำหัตถการ (ที่คนอื่นทำ แต่เบิกไม่ได้) หรือไม่ ?
...เราเคยเห็นแพทย์ที่ไม่เคยเขียน progress note เลยหรือไม่ ?

ถึงตรงนี้ ผมเริ่มคิดได้ว่า...
...ถ้าคำปฏิญาณที่ผมได้ยินวันนั้นมันดังจริง ๆ อย่างที่หูผมได้ยิน ก็แสดงว่ามีคนเปลี่ยนใจไปจากคำปฏิญาณเสียหลายคนแล้ว
...หรือไม่ก็คนที่อยู่ข้าง ๆ บังเอิญตะโกนดังมาก ๆ เสียงมันถึงได้ฟังแล้วดังถึงขนาดนั้นได้


สำหรับเรื่อง euthanasia ผมแนะนำให้ใครที่มีโอกาสได้อ่านกระทู้นี้ไปอ่านหนังสือเรื่อง "Wir Treffen Uns Wieder In Meinem paradies" เขียนโดย Christel Zachert และ Isabelle Zachert แปลเป็นไทยโดยคุณ แก้ว พิกุล ใช้ชื่อว่า "เราจะพบกันอีก...ที่สวรรค์ของฉัน

แล้วท่านจะรู้ว่า พวกเรานั้น แท้จริงแล้วก็ทำได้เพียงเป็นผู้ "เล่นเป็นพระเจ้า" เท่านั้น พระเจ้าที่แท้จริงนั้นอยู่นอกเหนือจากการรับรูทั้งปวงของมนุษย์ (หากพระเจ้าจะมีจริง)

โดยแนวความคิดนั้น เรื่อง euthanasia นั้น ไม่ได้บิดเบือน Hippocratic oath หรืออยู่นอกกรอบของ Hippocratic oath หรือจะแก้ไข Hippocratic oath แต่อย่างใด

ถ้า "ข้าพเจ้าจะอุทิศตนเพื่อให้บริการเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างเต็มที่ ... ประกอบวิชาชีพด้วยความรับผิดชอบและคำนึงถึงศักดิ์ศรี ...คำนึงถึงสุขภาพของผู้ป่วยเป็นข้อแรก" ทั้งสามหัวข้อนี้อยู่ใน Hippocratic oath อย่างที่อาจารย์ phoenix บอกมาจริง euthanasia ก็เป็นสิ่งที่เราสามารถกระทำ เมื่อเราได้ให้บริการเพื่อนมนุษย์อย่างเต็มที่ ด้วยความรับผิดชอบ และสมศักดิ์ศรี ...ทั้งของเราเองและของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มิใช่เพียงของแพทย์แต่เพียงประการเดียว แต่ต้องกระทำโดยมีหลักการและมีการควบคุมอย่างเหมาะสมและเข้มงวด ไม่ให้นำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม


ผมอยากเสนออีกประเด็นเรื่องสิทธิผู้ป่วยที่เห็นติดกันอยู่เต็มโรงพยาบาล แต่เอาไว้โอกาสหน้าแล้วกันนะครับ อาจารย์ phoenix อย่าลืมเตือนด้วยนะครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-05-09 , Time : 22:23:38 , From IP : 203.147.28.142

ความคิดเห็นที่ : 37


   ผมเกรงว่าคุณพี่น้องอาจจะอ่านตกฉบับเต็มของ Hippocratic oath ไป ขออนุญาตนำมาลง (ฉบับแปลเป็นไทยแล้วจาก original oath ไม่ใช้ฉบับ Geneva Declaration)

“ข้าพเจ้าขอให้คำปฏิญญาสาบานต่อเทพเจ้าแห่งการแพทย์ทั้งหลาย อันมี โปโลเอส คูลาปิอุสไฮเจียและพานาเซีย รวมทั้งพระเจ้าและเทพธิดาทั้งปวง

ขออัญเชิญมาเป็นสักขีพยานว่าข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามคำปฏิญญาสาบานนี้จนสุดความสามารถและจนเต็มสติปัญญาของข้าพเจ้า

ต่อครูอาจารย์ที่สอนศิลปวิทยาการนี้แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะเคารพ นับถือเทิดทูนท่านไว้เสมอด้วยบิดามารดา ท่านจะมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะแบ่งปันสมบัติอันเป็นของข้าพเจ้าให้แก่ท่านเมื่อท่านปรารถนา ข้าพเจ้าจะปฏิบัติต่อบุตรธิดาของท่านเสมอด้วยญาติพี่น้องของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะสั่งสอนศิลปวิทยาการให้แก่บุตรธิดาของท่านที่ต้องการจะศึกษาอบรมโดยไม่เรียกร้องสินจ้าง หรือมีเงื่อนไขแต่ข้อหนึ่งข้อใดเลย

ข้าพเจ้าจะสั่งสอนข้อที่พึงปฏิบัติ โดยการบอกกล่าว หรือโดยทางหนึ่งทางใดแก่บุตรของข้าพเจ้า แก่บุตรของครูอาจารย์ของข้าพเจ้า และแก่ศิษย์ที่รับว่าจะปฏิบัติตามคำปฏิญญาสาบาน และเป็นผู้ที่มีเงื่อนไขว่าจะปฏิบัติอยู่ในกรอบของคำปฏิญญาของวิชาชีพทางแพทย์ แต่จะไม่สอนแก่บุคคลอื่นนอกเหนือไปจากนี้

ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามกฎ ตามอำนาจหน้าที่ ตามเงื่อนไขซึ่งจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขต่อผู้เจ็บไข้ได้ป่วย จะปกป้องเขา เหล่านั้นให้พ้นจากอันตรายและ ความหลงผิด ข้าพเจ้าจะไม่ให้ยาพิษ เพื่อให้เขาตาย ถึงแม้ว่าจะถูกขอร้องก็ตาม และไม่ยอมให้คำปรึกษาแนะนำโดยมีนัยดังกล่าวแล้ว ในทำนองเดียวกันข้าพเจ้าจะไม่ทำแท้งให้แก่ผู้หญิงใด และจะระวังรักษาชีวิตและศิลปศาสตร์ของข้าพเจ้าให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ปราศจากมลทิน หรือเปล่าประโยชน์

ข้าพเจ้าจะไม่ผ่าตัดผู้หนึ่งผู้ใดเพื่อลาภสักการะเพชรนิลจินดา แต่จะมอบหมายให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติอยู่แล้วกระทำ ข้าพเจ้าเข้าไปในบ้านใดก็ตาม จะเข้าไปเพื่อประโยชน์สุขของผู้ที่เจ็บไข้ จะไม่เข้าไปโดยมีเจตนาที่จะกระทำผิด เพื่อการฉ้อฉลหรือเพื่อการเย้ายวนของกามารมณ์กับสตรีหรือบุรุษแม้จะเป็นนายหรือทาสก็ตาม

ข้าพเจ้าจะเก็บงำความลับที่ได้จากการปฏิบัติงาน หรือนอกเหนือจากการปฏิบัติงานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะพิจารณาและรับฟังเรื่องราวชีวิตของมวลชนไม่บังควรที่จะนำมาเปิดเผยในที่ทั่วไป ข้าพเจ้าจะเก็บรักษาไว้เป็นความลับจะไม่เปิดเผยเป็นอันขาด

ณ บัดนี้ ถ้าหากว่าข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตามคำปฏิญญาสาบานนี้ ด้วยความสัตย์ซื่อโดยไม่ฝ่าฝืนแล้ว ขอให้สัมฤทธิ์ผลแห่งความสุขสำราญในชีวิต ได้รับความสำเร็จ ในการปฏิบัติเวชกิจและได้รับการยกย่องนับถือจากชุมชนชั่วกาลนาน ถ้าข้าพเจ้าหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามคำปฏิญญาสาบานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าประสบเหตุการณ์ตรงกันข้าม ข้าพเจ้าขอสัญญา”



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-09 , Time : 23:41:43 , From IP : 172.29.7.44

ความคิดเห็นที่ : 38


   จากที่เน้น bold

Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-09 , Time : 23:42:31 , From IP : 172.29.7.44

ความคิดเห็นที่ : 39


   จากที่เน้น bold ไว้ ผมว่า Hippocrates แสดงความเห็นค่อนข้างชัดเจนเกี่ยวกับ euthanasia และเจตคติต่อการทำ abortion (ไม่ได้มีข้อยกเว้นซะด้วยซ้ำถึง therapeutic abortion) สองประโยคประโยคนี้มีการปรับออกจาก Geneva Declaration ที่แพทย์ (เกือบ) ทั่วโลกนำมากล่าวปฏิญญาทีหลัง

ตัวอย่างที่คุณพี่น้องฯว่านั้นเป็นอีก subset นึงนอกจากที่เราคุยกันครับ คือกลุ่มปากว่าตาขยิบ กลุ่มนี้ก็เป็นอีกกลุ่มใหญ่ และผมยังไม่แน่ใจว่าจะมีอะไรมาแก้ไขได้หรือไม่ และเราไม่รู้ครับจนกว่าเขาจะ break oath ขึ้นมา ถ้าเราจะพูดถึงกลุ่มนี้ด้วยสามารถเปิดได้กระทู้ต่างหากกันเลยทีเดียว

จะต่างกับคนที่จงใจไม่กล่าว เพราะจะไม่ทำตามตั้งแต่แรกนิดหน่อยครับ คนแบบนั้นคงไม่ต้องไปกระทืบให้เปื้อนเท้า แต่เห็นด้วยว่าควรจะเชิญให้ออกหรือว่าไม่ให้ใบประกอบฯถ้าทราบซะก่อน และไม่ได้ผิดเพราะ "ดันไม่ยอมพูด เวลาที่ต้องพูด" นะครับ มันอยู่ที่ "เหตุผลเบื้องหลังที่เขาคิดว่าทำไมจะไม่พูดจริงๆต่างหาก" นั่นคือประเด็นที่ผมต้องการชี้

ส่วน "ข้าพเจ้าจะอุทิศตนเพื่อให้บริการเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างเต็มที่ ... ประกอบวิชาชีพด้วยความรับผิดชอบและคำนึงถึงศักดิ์ศรี ...คำนึงถึงสุขภาพของผู้ป่วยเป็นข้อแรก นั้นอยู่ใน ปฏิญาณสากล ว่าด้วยมารยาทแพทย์ (Declaration of Geneva) ครับ ภาษาของ Hippocrates จะห้าวกว่า แถมยังมีคล้ายๆโองการแช่งน้ำกลายๆ ตอนท้ายด้วย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-09 , Time : 23:54:55 , From IP : 172.29.7.44

ความคิดเห็นที่ : 40


   ทีละเรื่องนะครับอาจารย์ phoenix

1. เรื่องคำสาบานของฮิปโปฯ นั้นคงเอามายึดเป็นหลักตายตัวอะไรไม่ได้หรอกครับอาจารย์ ถึงตรงนี้ก็คิดได้เพียงแค่ว่าเป็นมุมมองในยุคก่อน ซึ่งอะไรหลาย ๆ อย่างไม่กระจ่างเท่าปัจจุบัน ไม่ว่าทั้งการทำแท้ง การุณยฆาต นี่ยังไม่รวมเรื่องการคุมกำเนิดอีกเรื่องหนึ่งนะครับ ซึ่งสมัยท่านฮิปโปนั้นคงไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญนัก จึงไม่ได้กล่าวถึงไว้ แต่ในสมัยถัดมา ศาสนจักรบางแห่งไม่ยอมรับแนวความคิดเรื่องการคุมกำเนิด เพิ่งจะมายอมรับในระยะหลังนี้เอง แล้วก็อย่างที่ผมเคยบอกไว้ว่าในบทของท่านฮิปโปนั้นท่านเล่นยกเอาเทพเจ้าสารพัดมาประกอบ แถมมีคำสาบแช่งต่อท้าย มันก็เลยกลายเป็นคำสาบานไป แล้วนี่แหละครับ ที่ทำให้ออกแนวไสยศาสตร์อย่างที่ผมเคยบอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ ทีนี้ลองแยกเป็นเรื่อง ๆ นะครับ จะได้เห็นชัดขึ้น
1.1 ประเด็นเรื่องการทำแท้ง เอาเฉพาะในบ้านเรานะครับ ข้อกำหนดเรื่องนี้ก็ยังไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมดอย่างเหมาะสม ซึ่งต้องมีการแก้ไขกันต่อไป จะให้ไม่ทำเลยอย่างที่ท่านฮิปโปฯ ว่าก็คงไม่ถูก จะให้ทำอย่างเสรีอย่างบางบ้านบางเมืองเขาทำกันก็คงไม่ไหว หรือจะเอาแค่กฎระเบียบปัจจุบันนี้ก็คงไม่พอ เพราะเรายังเห็นเขาทำแท้งผิดกฎหมายกันอยู่เยอะแยะ โดยที่บางส่วนก็ถูกหลักวิชา บางส่วนก็ไม่ถูกหลักวิชา เพราะฉะนั้น ถ้าบริบททางสังคมมันเปลี่ยนไป มุมมองก็ต้องเปลี่ยนไป จะยึดติดกับสิ่งที่อดีตมองว่าเป็นสิ่งดีตลอดไม่ได้
1.2 เรื่องการุณยฆาต อันนี้สมัยก่อนเขาคิดยังไงคงไปสืบทราบได้ยาก แต่ในปัจจุบัน อย่างที่เราทราบกันว่าภาวะคุกคามบางอย่างที่เป็น "malignant" นั้น ในบางสภาวะเราไม่สามารถจัดการกับมันได้ ไม่ใช่เฉพาะ "โรค" อย่างเดียวนะครับ "การบาดเจ็บ" บางอย่างด้วย ทุกวันนี้เราพยายามเล่นเป็นพระเจ้านั้นบอกเราว่าบางครั้งเราเพียงยืดเวลาของความเจ็บปวดให้นานขึ้นโดยที่ไม่ได้เปลี่ยนจุดหมายปลายทางของผู้ที่อยู่ในความดูแลของเราเลย แต่จะให้ทำในบ้านเราก็คงจะยากเอามาก ๆ เลยทีเดียว โดยเฉพาะกับวิสัยของคนไทยที่เป็นประเภทสู้ไม่ถอย ถ้าไม่ใช่ญาติที่เราต้องมาดูแลด้วยตัวเอง และกับสภาพสังคมไทยที่ยังไม่ยอมรับเรื่องแบบนี้
ดังนั้น สองเรื่องนี้ ถ้าจะให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคมบ้านเรา ก็คงต้องใช้เวลานานพอสมควร และคงจะต้องมีการตรวจสอบดูแลให้ดีและถี่ถ้วน
ลุงฮิปโปฯไม่ใช่พระเจ้า ไม่ใช่ต้นแบบที่ไร้ที่ติ ไม่ใช่ผู้ปลูกฝังแนวความคิดแบบนี้แล้วจะมีคนคิดเห็นเป็นอย่างอื่นไม่ได้ครับ

2. คำสาบานของท่านฮิปโปฯ ที่อาจารย์ phoenix บอกนั้นมันเป็นเหมือนโลกพระศรีอารย์มากกว่าโลกของความเป็นจริง เป็นไปได้ว่าในยุคนั้นสังคมไม่ได้เปิดกว้างแบบปัจจุบัน เมืองเล็ก ๆ คนไม่มาก ใช้คำสาบานของท่านฮิปโปก็คงพอ แต่ก็เช่นเดียวกันกับที่ผมเคยบอกอาจารย์ไว้ก่อนหน้านี้ เมื่อคนมากขึ้น ความหลากหลายก็มากขึ้น การควบคุมก็คงใช้คำสาบานนี้เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องใช้กฎหมาย สมาคมวิชาชีพ มาตรฐานการรักษา มาเป็นเครื่องมือดูแลแทน

3. ถ้าอาจารย์จะให้ยึดใบอนุญาต หรือไม่ให้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกับคนที่ให้เหตุผลดังที่เราได้วิเคราะห์กันมาตั้งยืดยาว อาจารย์ก็ต้องไปตามยึดใบประกอบวิชาชีพในคนที่โกหกตอนให้เหตุผลด้วยนะครับ ผมว่าเผลอ ๆ อาจมากกว่าพวกให้เหตุผลกวน ๆ เสียอีก หรือไม่ก็ต้องให้กล่าวเป็นรายบุคคลก่อนรับใบประกอบฯ จะได้ยืนยันกันให้แน่ ๆ ว่าจะพูดหรือไม่ ผมว่าก็คงจะลดจำนวนคนที่ไม่พูดลงได้ แต่ก็คงได้คนที่โกหกมากขึ้น ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาหรือเปล่า

4. น่าสนใจนะครับ เรื่องที่อาจารย์เสนอให้เปิดกระทู้ใหม่ จะได้มีเรื่องใหม่ ๆ มาคุยกันเพิ่มเติมบ้าง ได้ประสบการณ์ดีครับ ยังไงก็ฝากอาจารย์ด้วยนะครับ ผมมันเหมือนคนแปลกหน้าใน board นี้ ถ้าได้อาจารย์ phoenix มาเปิดประเด็นคงมีคนสนใจมากหน่อย

5. ขออนุญาตแนะนำหนังสืออีกเล่มนะครับ "ผมขอใช้สิทธิ์ที่จะตาย" คนเขียนเขานิยามว่า "เรื่องจริงช็อคโลก การเผชิญหน้าอันแสนเจ็บปวดระหว่างศัลธรรมกับความเป็นมนุษย์" โดย Vincent Humbert แปลเป็นไทยโดย วาสนะ สุนทรปุระ เพิ่งจะพิมพ์ไม่นานนี้เอง เดินหาตามร้านหนังสือน่าจะมีให้ซื้ออยู่นะครับ ...เห็นอาจารย์เขียนว่าทำทีม PCT palliative care อยู่ น่าสนใจดีนะครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-05-12 , Time : 00:30:35 , From IP : p68-lirnrtmt1.S.cslo

ความคิดเห็นที่ : 41


   เข้าใจผิดครับ ผมไม่เห็นด้วยกับ Hippocretic oath ทั้งหมดว่าเข้ากันได้กับสถานการณ์ปัจจุบัน ผมเพียงแต่แย้งที่คุณพี่น้องฯบอกว่า "โดยแนวความคิดนั้น เรื่อง euthanasia นั้น ไม่ได้บิดเบือน Hippocratic oath หรืออยู่นอกกรอบของ Hippocratic oath หรือจะแก้ไข Hippocratic oath แต่อย่างใด" ถ้าจะ quote คำปฏิญญาที่ไม่ขัดแย้งกับ euthanasia ต้องเป็น version หลัง คือฉบับ Geneva Declaration

ขณะนี้ที่ผมทำ PCT Palliative care อยู่ ประเด็นสำคัญที่สุดคือเรายัง "ไม่ทราบ" ครับว่าคนไทยเรามีนิยาม "ตายดี" หรือไม่ อย่างไร แม้แต่ของฝรั่งเองมีการศึกษาเรื่องนี้มาก่อนเรามานาน ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปเป็น item อย่างชัดเจนครับ และเป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่ต่อการล่วงละเมิด autonomy ของผู้ป่วยอย่างมากทีเดียวในการที่เราคิดว่าเราทราบ universal definition of good dead เพราะคนไข้แต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ การศึกษา การอบรมสั่งสอน การมองคุณค่า ฯลฯ ทำให้แต่ละคนเกิดนิยามของ "ตายดี" ไปได้ต่างๆนานา ผมเกรงว่าตัวผมเองยังไม่กล้าสรุปครับว่าคนไทยเป็นแบบสู้ไม่ถอย หรือยอมรับการึณฆาตมากน้อยแค่ไหน เรากำลังมีชุดโครงการวิจัยร่วมเรื่องมุมมองความตายของคนไทย และมุมมองความเชื่อของคนไทยชาวเขาเรื่องความตายอยู่ อีกประมาณปีนึงคงจะมีรายงานออกมา อันนี้เป็น project ร่วมระหว่างทีม palliative มอ. กับที่อื่นที่สามสี่ที่ ทุนของ สวสส.ครับ

แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ที่น่าสนใจคือเนื้อหา "ส่วนใหญ่" ของ Hippocratic oath นั้นก็ยังถูก preserve ไว้ใน Geneva Declaration นะครับ อีกประการนึงคือ คำในคำปฏิญญานั้นไม่ได้เป็นการวิจารณ์สภาพสังคมยุคไหนๆนะครับ แต่เป็น virtue หรือปรัชญาความเชื่อเรื่อง "ความดีงามถูกต้อง" อะไรพวกนี้มีผลกระทบจากระบอบสังคมได้บ้างก็จริง แต่แก่นมักจะไม่เปลี่ยนไปเยอะหรอกครับ อริยสัจสี่ยังอยู่มาได้สองพันห้าร้อยกว่าปีแล้ว ผมว่า "คุณค่า" ของมันยังคงสมัย และล้ำสมัยไปอีกนาน และที่ได้เรียนไว้แล้วก็คือ Geneva declaration หรือคำปฏิญญาที่มหาวิทยาลัยแพทย์ต่างๆนำมาใช้กันนั้น ไม่ใช่เพื่อ "ควบคุม" ความประพฤติครับ มันเป็นสัญญลักษณ์เท่านั้นเองว่า หลังจากว่าที่บัณฑฺตได้ผ่านการอบรมมาหกปีเนี่ย สิ่งที่พูดต่อไปนี้ปู่แพทย์พ่อแพทย์หวังว่าเราสามารถจะพูดได้เต็มปากเต็มคำและตั้งใจที่จะทำตามจริงๆ core contents จากพระราชดำรัสของสมเด็จพระราบิดาฯก็ไม่ได้แตกต่างอะไรออกไปเลยครับ และผมคิดว่าปรัชญาคุณค่าของการแพทย์ที่ว่านี้ก็จะยังเหมือนเดิมส่วนใหญ่ไปอีกนานเท่านาน ผมไม่คิดว่าคำอ้าง "ยุคสัมยเปลี่ยนไป" นั้นจะทำให้คุณค่าแพทย์มันต่างออกไปได้ไกลมากเท่าไหร่หรอกครับ แต่ผมเห็นด้วยว่ามีคนพยายามคิดว่ามันต่าง และบางคนก็ได้ปฏิบัติตนเสมือนว่ามันได้เปลี่ยนไปแล้วด้วย

การยึดใบประกอบฯอะไรนั่นผมเข้าใจว่าเราเข้าใจตรงกันใช่ไหมครับว่าเป็นแค่คำ exaggeration ?

ขอบพระคุณสำหรับหนังสือที่แนะนำครับ ถ้าว่างจะหามาอ่าน ผมมีหนังสือค้างยังไม่ได้อ่านอีกเป็นจำนวนมาก ถ้าคุณพี่น้องฯอ่านมาแล้วจะ synopsis มา share กันบ้างก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง ผมคิดว่าประเด็นเรื่อว palliative care นี้น่าสนใจ และข้อสำคัญเป็นหนึ่งใน model ที่ดีที่สุดในการเรียนการสอน medical professionalism ทีเดียว และการันตีว่าเนื้อหาไม่เพี้ยนจาก Geneva Declaration หรือคำปฏิญญายุคปัจจุบันเลยครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-12 , Time : 01:32:25 , From IP : 203.156.36.196

ความคิดเห็นที่ : 42


   เป็นความเข้าใจผิดของผมเองครับอาจารย์ phoenix ทีแรกว่าจะเขียนถึงคำปฏิญาณเจนีวา แต่ไม่รู้นึกไง เขียนไปเขียนมากลายเป็นไปเหมาเป็นของฮิปโปฯ ไปเสีย

สำหรับคำปฏิญาณเจนีวานั้นผมยอมรับเหมือนที่อาจารย์ว่าก็คือไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับยุคสมัยหรือวันเวลา คือแทบไม่ต้องยกอะไรมาเปรียบเทียบก็มีความเป็นสากลและนำไปใช้ได้อยู่เสมอ ส่วนตัวผมคิดว่าหากจะมีการเปลี่ยนแปลง ก็อาจแค่เพิ่มเติมประเด็นเข้าไป คงไม่ไปตัดของเดิมออกแน่

แต่ประเด็นที่อาจารย์ยกมาก็คือคำสาบานของฮิปโปฯ ซึ่งผมก็ได้บอกไปดังที่ได้กล่าวในคำตอบก่อนหน้า (หัวข้อ 1. ในการตอบครั้งก่อน) เอามาใช้ในยุคสมัยนี้ไม่ได้แน่ ...อาจารย์ phoenix ยังไม่ได้ให้คำตอบในข้อนี้ว่าเห็นด้วยหรือไม่กับที่ผมบอก


เรื่องต่อมาที่ผมอยาก discuss กับอาจารย์ก็คือเรื่องมุมมองของคนไทยต่อความตาย

ผมว่าเรื่องนี้ในปัจจุบัน แทบจะเป็น individual case เลยก็ว่าได้ครับ ปัจจัยที่มีผลต่อมุมมองของคนในเรื่องนี้มีมากมาย แม้กระทั่งคำแนะนำจากแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องในขณะนั้น ก็ยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลสำคัญในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย-ผู้บาดเจ็บ และผู้ใกล้ชิด

ผมว่าถ้าจะทำเรื่องนี้จริง ๆ ก็ต้องมีกฎระเบียบที่เคร่งครัด มาตรฐานที่เหมาะสม รวมถึงการทำความเข้าใจกับแต่ละกรณีอย่างดีเสียก่อน คงต้องใช้เวลาอีกนานครับ


อาจารย์ลองฟัง (อ่าน) เรื่อง "ผมขอใช้สิทธิ์ที่จะตาย" ดูอย่างคร่าว ๆ ก่อนนะครับ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นผู้รอดชีวิตจาก multiple trauma ซึ่งตอนแรกคิดว่าเป็น vegetative condition ที่เกิดจาก severe brain injury แต่อยู่มาวันหนึ่ง มารดาที่ไปเฝ้าอยู่สังเกตว่าลูกชายมีการขยับมือ บีบมือข้างหนึ่งได้ มารดาก็เลยใช้วิธีอ่านตัวอักษรทีละตัว A B C D ... (ภาษาฝรั่งเศส)แล้วถ้าลูกชายบีบมือตอนไหนก็จะจดเอาไว้ แล้วมาเรียงเป็นคำ เป็นประโยคอีกที (ถ้าเป็นภาษาไทยคงยากกว่านี้มาก) ผู้ป่วยรายนี้สามารถฟังเสียงได้ รับรู้การสัมผัสได้ แต่การรับรู้อย่างอื่นสูญเสียไปหมด เขาไม่สามารถได้กลิ่น ลิ้มรส หรือมองเห็นได้ (จริง ๆ แล้วเท่าที่อ่านดู น่าจะได้แค่ hand movement หรือ ligth perception ซึ่งแทบจะใช้ประโยชน์จากการมองนี้ไม่ได้เลย) เขาขยับนิ้วมือขวาได้เพียงเล็กน้อย เป็นเพียงอย่างเดียวที่เขาสามารถทำได้

เขาอยู่ในสภาพนี้สามปีกว่า โดยไม่ improve เลย จากเดิมเป็นชายหนุ่ม อาสาสมัครป้องกันภัย เป็นคนที่มีความหวังในอนาคต มีแฟนสาว มาเป็นหมดหวังจากอุบัติเหตุรุนแรง กลับมามีความหวังเนื่องจากเริ่มมีการตอบสนอง แล้วก็กลายเป็นหมดหวังอีกครั้งเนื่องจากไม่มีอะไรดีขึ้นอีกเลย

ไม่มีใครที่สามารถช่วยให้เขาพ้นทุกข์ (ตาย) ได้ เขาทำไม่ได้แม้กระทั่งฆ่าตัวตาย

เคยเขียนจดหมายไปถึงประธานาธิบดีให้ช่วย แต่โดยกฎหมายฝรั่งเศส ไม่สามารถทำได้

สุดท้าย มารดาของเขาต้องเป็นคนทำ และถูกดำเนินคดีข้อหาฆาตกรรม


โอกาสหน้าจะมาเล่าเรื่องจาก "เราจะพบกันอีก ที่สวรรค์ของฉัน" ครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-05-14 , Time : 00:16:08 , From IP : p68-lirnrtmt1.S.cslo

ความคิดเห็นที่ : 43


   เกี่ยวกับเรื่ง "เราจะนำมาใช้ได้หรือไม่ได้" นั้น ขึ้นอยู่กับบริบทครับ

ถ้า สำหรับสังคม และ/หรือปัจเจก ที่เชื่อเรื่องคำสาบาน สาบแช่ง การสาบานก็จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม เผลอๆจะศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าออกเป็นกฏหมายซะด้วยซ้ำ คำนึงถึงสามเหลี่ยมพฤติกรรม (ความรู้ข้อมูล---เจตคติ---พฤติกรรม) ถามว่าจะใช้อะไรพฤติกรรมถึงเปลี่ยนก็คงต้องเข้าใจสมการว่าอะไรทำให้ "เป้าหมาย" ของเรามีทิศทางในการประพฤติอย่างไร คำว่า "ยุคปัจจุบัน" นี่กว้างครับ ถามผมตอนนี้ว่าอะไรมีผลต่อวัยรุ่น ต่อวัยเกินรุ่น ต่อวัย(ใจยัง)รุ่น ผมว่าเราคงแทบจะต้อง approach เป็นรายๆ เหมือนเรื่องการตายที่ยกมาแหละครับ หยั่งตอนนี้ถ้าโฆษณาไปพร้อมๆกับการใส่ wrist band ก็อาจจะ work กว่าการกล่าวปฏิญญา หรือในวงเล็บถ้าทำตามข้อหนึ่งรัฐบาลจ่าย 100,000 บาท ทำตาม oath ข้อสองครบหนึ่งปี ส่ง SMS ชิงรายวัลอีกสักแสนบาท คนอาจจะเข้าใจดีกว่า ร่วมมือมากกว่ารึเปล่า ไม่แน่ใจ

การศึกษาเรื่อง "ความตาย" โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง "การรับรู้" หรือ "คุณค่า" ของความตายนั้น เป็น issue ของอาจารย์ทางฝ่ายสังคมศาสตร์ของทีมเรา แต่ผมคิดล่วงหน้าไว้อย่างนี้ครับ เราไม่ได้ต้องการจะหา "universal rule" ว่า "คนไทย" รับรู้เรื่องตายอย่างไร (และ retrospective study อาจจะให้ประโยชน์ในแง่ academic exercise only นำเอาค่านิยมจากการศึกษาย้อนหลังไป 100 ปีมา appplied กับ 2005 bankokians อาจจะไม่ work) แต่เราจะได้เรียนรู้ว่า "มันสามารถหลากหลายได้ขนาดไหน" มากกว่า เราคงจะพยายาม หาข้อมูลเพิ่อ เปิดโลกทรรศน์ ครับว่าผู้ป่วยของเราสามารถ exert autonomy ที่ต่างไปจากเราได้กี่มากน้อย เพื่อที่เราจะได้ไม่เผลอเอา judgement ของเราเองไปครอบ ไม่เผลอเอา social value (ที่เราเข้าใจ) ไปตัดสิน ที่น่าสนใจคือแล้วเรายังต้อง apply เอากฏจริยธรรมเป็นกรอบเข้าไปด้วย (ไม่งั้นจะออกเป็นการศึกษาเรื่อง anarchism แทนน่ะครับ)

ฟังเรื่องที่คุณพี่น้องฯยกตัวอย่างมา ผมนึกถึงภาพยนต์เรื่อง "Lorenzo oil" ครับเด็กเป็น ADL ที่เป็น genetic disorder มีการสลายตัวสลายการทำงานของ myelinated nerves ทั่วรายงานจากภาวะผิดปกติของ fat metabolism สมัยก่อนผป.ทุกคนจะเสียชีวิตอย่างช้าๆโดยสูญเสีย function ของระบบประสาทไปทีละอย่างสองอย่าง พูดไม่ได้ มองไม่เห็น ขยับไม่ได้ ทีละน้อยๆ แต่ที่สุด miracles ก็ดูเหมือนจะเกิดขึ้นเมื่อพ่อของเด็กพยายามศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจนสามารถคิดค้น oil สะกัดพิเศษมาให้ผป.ทานและดูเหมือนจะชะลออาการโรคนี้ได้อย่างมาก ถึงแม้ลูกเขาจะไม่ได้รับประโยชน์เต็มที่ แต่เด็กอีกเป็นหมื่นๆแสนๆคนก้ได้มีโอกาส appreciate กับ "มหัสจรรย์" เรื่องนี้ ฉะนั้น ความหวัง นั้น ออกมาได้หลายรูปแบบครับ ออกมาในด้านเราจะปล่อยให้คนที่เรารักตายไปอย่างสงบเพราะเราเชื่อแบบนี้ เพราะผป.เชื่อแบบนี้ หรือเราจะเกิดการฮึดสู้เต็มที่ ผลสุดท้ายพระเจ้า (หรือกฏแห่งกรรม) จะเป็นคนเขียน script ตอนจบครับ เรามีหน้าที่ "หวัง และกระทำ" ไปตามบริบท ตามวิบาก แค่นั้น

จะรอฟังเรื่องราวต่อจากคุณพี่น้องฯครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-14 , Time : 03:51:15 , From IP : 172.29.7.37

ความคิดเห็นที่ : 44


   ผมว่าจะเล่าเรื่อง "ความเชื่อ" หลายครั้งแล้ว แต่ไม่ได้เล่า กลัวว่าจะไปเข้าทางความคิดอาจารย์ phoenix แต่ไหน ๆ มาถึงนี่แล้ว เล่าให้ฟังเลยก็แล้วกันนะครับ

มีชาวตะวันตกผิวขาว กับชาวพื้นเมืองในดินแดนไกลปืนเที่ยงแห่งหนึ่งเป็นเพื่อนกัน ความเชื่อแต่ดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองนั้นมีอยู่ว่าถ้าใครกินไก่ป่าแล้วจะต้องตาย แต่ถ้าเก็บไข่มาฟักเป็นตัว แล้วเลี้ยงไว้จนโต แล้วเอามากินจะไม่เป็นไร คนผิวขาวไม่เชื่อ ก็จับไก่ป่ามากินบ้าง จับไก่เลี้ยงมากินบ้าง ...อยู่มาวันหนึ่งนึกอยากลองใจเพื่อนคนพื้นเมือง ก็แอบไปจับเอาไก่ป่ามาทำอาหารเลี้ยงเพื่อน เพื่อนก็ทานอย่างเอร็ดอร่อย (ไม่ตาย) คนขาวก็เก็บเรื่องนี้ไว้หลายปี จนกระทั่งวันหนึ่งก็เปิดเผยกับเพื่อนว่าไก่ที่เอามาทำอาหารให้ทานเมื่อหลายปีก่อนนั้น ตัวหนึ่งเป็นไก่ป่า ...เพื่อนที่เป็นคนพื้นเมืองได้ยินอย่างนั้นก็ตกใจมาก จากนั้นอีกไม่ถึงชั่วโมงก็สิ้นใจตาย

ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องแต่ง แต่ถ้าเป็นเรื่องจริง ผมว่านี่ก็เป็นตัวอย่างที่เหลือเชื่อเกี่ยวกับความเชื่อของคนครับ

ในสังคมไทยปัจจุบัน ผมว่าความเชื่อที่เหนียวแน่นกับคำพูดปฏิญาณหรือคำสาบานนี่ดูเหมือนจะลดน้อยถอยลงไปนะครับ

...พวกไม่พูดคำปฏิญาณที่เรา discuss กันมาตั้งแต่ต้น อาจมีความเชื่อกับสิ่งเหล่านี้มากกว่าคนที่พูด (แต่โกหก) ก็ได้นะครับ


สำหรับเรื่องความตาย ในมุมมองของผม (เพียงคนเดียว) นะครับ

เรื่อง "euthanasia" นั้น ผมว่าไปยึดเอา "ความตาย" ในมุมมองของคนทั่วไปเป็นที่ตั้งแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ครับ ...ไม่ได้ว่าไม่ให้เอามาคิดนะครับ คือให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ของระบบได้ แต่ต้องมีความเป็นวิชาการเป็นแกนหลัก


ต้องแยกให้ได้ระหว่าง "ความตายที่ปรารถนา" กับ "ความตายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้" และ "ความตายที่ปฏิเสธไม่ได้" นะครับ


ความตายที่ปรารถนา คือการเดินไปเสาะแสวงหาความตาย ใครสักคนเป็นโรคร้ายทีมิอาจรักษาได้ และจะเสียชีวิตในอีก ... ข้างหน้า เดินไปที่ตึกสูงและกระโดดลงมา หรือไปที่ประเทศไหนสักแห่งในโลกที่เขาสามารถตายได้อย่างสมเกียรติของความเจ็บป่วย และให้ใครสักคนกระทำการให้เขาได้ตายอย่างที่เขาต้องการ

เรื่องนี้หากมองว่ายากก็ยาก หากมองว่าพอมีทางออกก็ยังทำได้ ถ้าจะทำ ฝ่ายวิชาการ (แพทย์) ต้องมีเกณฑ์ที่ตั้งไว้อย่างเหมาะสม ต้องมีการยอมรับถึงภาวะที่เราเข้าใจร่วมกันว่าท้ายที่สุด ผู้ป่วยจะต้องพบกับสถานการณ์อย่างไร คำว่าเรา ก็คงต้องเป็นทั้งผู้ป่วย ญาติ แพทย์ ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายศีลธรรม ให้หลักวิชาการนำมาก่อน เช่น multiple metastasis, unresectable, not curable, end stage เป็นต้น สำหรับญาติและผู้ป่วยก็ต้องให้การยอมรับในสภาวะนี้ กฏหมายก็ต้องไม่ปล่อยให้มีช่องว่างจนเกินไป มีความรัดกุมในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายศีลธรรมก็ต้องหาทางออกให้กรณีแบบนี้ (ซึ่งตอนนี้ผมก็คิดไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร)


ความตายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือการวางแผนล่วงหน้าสำหรับความตาย เช่น ใครสักคนอาจเขียนจดหมายน้อยใส่กระเป๋าเสื้อไว้ว่า "ถ้าข้าพเจ้า unconscious ไม่ว่ากรณีใด ๆ ห้าม intubation เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นโรคร้ายที่มิอาจรักษาได้ และจะเสียชีวิตในอีก ... ข้างหน้า"

ผมว่าอันนี้เป็นความประสงค์ของผู้ป่วย ส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับความประสงค์ของผู้ป่วย แต่ส่วนหนึ่งก็ต้องเข้าใจว่าความรู้และความเห็นของผู้ป่วยอาจไม่ได้ตั้งอยู่บนความเป็นวิทยาศาสตร์และความเข้าใจในโรคหรือความผิดปกติที่เขาเป็นเสียทั้งหมด เราคงไม่หยุดรักษาคนที่เป็นโรคไม่ร้ายแรง หรือโรคที่สามารถรักษาได้เพียงแค่ผู้ป่วยสั่งไม่ให้รักษา ดังนั้น เรื่องนี้ องค์ความรู้ และความเข้าใจในผู้ป่วยและผู้ให้การรักษาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ผมอาจปฏิเสธ หรือแนะนำให้ญาติ+ผู้ป่วย ไม่รักษาเนื้องอกบางชนิด ในผู้ป่วยที่อายุแปดสิบปี เก้าสิบปี ถ้าไม่คุยกันให้เข้าใจก็จะเกิดปัญหาขึ้นแน่ ไม่รายหนึ่งก็รายใด


ความตายที่ปฏิเสธไม่ได้ คือไม่ว่าจะมีการดิ้นรนเพียงใด คนคนหนึ่งก็ไม่สามารถจะถอยกลับมาจากความตายได้ เช่น ใครสักคนเป็นโรคร้ายทีมิอาจรักษาได้ ได้เดินทางมาถึงวันที่เขา หรือเราไม่สามารถโต้แย้งได้ว่าจุดนี้เป็นจุดที่มิอาจรักษาโรคของเขาได้ ไม่มี technology ใด ๆ ที่จะถูกผลิตออกมาได้ทัน ไม่มียาใดที่ไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างทดลองหรือกำลังจะออกวางตลาด ที่จะใช้รักษาเขาได้

สำหรับความตายที่ปฏิเสธไม่ได้นั้น ผมว่าเป็นสิ่งที่ต้องได้ครับความยอมรับจากหลาย ๆ ฝ่าย ทั้งฝ่ายวิชาการ(แพทย์) ฝ่ายผู้ป่วยและญาติ ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายศีลธรรม และจากสังคม เพราะมันเหมือนขั้นตอนที่ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป คิดง่าย ๆ ก็เหมือนกับเราเฝ้าให้ chemotherapy, radiation therapy ในผู้ป่วยที่แทบทุกเดือนจะมี metastasis ใหม่ ๆ มาอยู่เรื่อย ๆ ไม่รักษาก็ผิด รักษาไปรักษามาก็รู้ว่า poor prognosis แต่เมื่อไหร่จะหยุดดี ? อันนี้ผมว่าต้องคุยกันยาวครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-05-18 , Time : 00:16:47 , From IP : p97-lirnrtmt1.S.cslo

ความคิดเห็นที่ : 45


   มีมากมายหลายประเด็นที่ทำให้ euthanasia เป็น controversy และ "หลักวิชา" เพียงอย่างเดียวไม่อาจจะ "ครอบคลุม" ได้ทุกสถานการณ์

จริยธรรม และกฏหมาย นั้นทางทฤษฎีดูเหมือนน่าจะสอดคล้องไปด้วยกันถึงจะดี แต่ก้นบึ้งของหลักการนั้นบางทีก็ก่อให้เกิดปัญหาที่แก้ยาก (หรือไม่ได้) ตัวอย่างเช่นกฏหมายนั้นจะต้อง applied กับประชาชน "ทุกคน" ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ฐานะเศรษฐกิจ ความเชื่อหรือวัฒนธรรม แต่หลักการข้อที่หนึ่งของจริยธรรมคือ Principle of autonomy นั้นเน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพความคิดอ่านของ "ปัจเจกบุคคล" อย่างสุดๆ

บางครั้งความต้องการของปัจจเจกบุคคลมันหลีกเลี่ยงมิได้ที่จะเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางการเงิน ฐานะ และโอกาส เช่น cryopreservation technique ถ้าสมบูรณ์แบบที่เราสามารถจะแช่แข็งร่างมนุษย์ไว้ได้นานเท่านาน euthanasia ก็อาจจะกลายเป็นเรื่องล้าสมัยหรือผิดจริยธรรม ปัญหาอยู่ที่ในตอนแรกการจะทำ cryopreservation อาจจะต้องใช้จำนวนมากมายหลายล้านบาทบวกค่า maintenance (liquid nitrogen นี่ก็คือซื้อของเอาระเหยเล่นนี่เอง และแพงระยับทีเดียว) ฉะนั้นถ้ากฏหมาย ban euthanasia บนรากฐานอันนี้ รัฐนั้นๆก็ต้องไปหาทุน หาเงินมาเพื่อที่ใครก็ได้ที่เป็นประชาชมีสิทธิทำ cryopreservation

นอกจากนี้มีอะไรที่มัน 100% บ้างครับในเวชศาสตร์? ที่เราเรียกๆกันว่า miracle หรือสิ่งมหัศจรรย์ คนตายแล้วฟื้น คนโคม่าไปหลายสิบปีแล้วกลับมาใหม่ ฯลฯ เราจะออกกฏหมาย แล้วพอมีข้อยกเว้นเหล่านี้จะยักไหล่แบบมือบอกว่า sorry, I do not know แค่นั้นเป็นความ "ยุติรรม" พอแล้วหรือไม่? มีโรคอะไรที่การแพทย์ (ทั่วโลก) ลงมติเห็นพ้องว่าไม่มีทางรักษา (รวมทั้ง alternative medicine ด้วยนะครับ) แค่ฝังเข็ม acupuncture อย่างเดียว การแพทย์ก็งงไปสิบแปดตลบแล้วว่ามัน work อย่างไร? "เมื่อไหร่" จึงจะมี declaration ว่าโรคนี้ โรคนั้นเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายขาด?

หรืออีกมุมมองหนึ่ง ถ้าคนๆหนึ่งใช้ชีวิตและประสบความสำเร็จทุกอย่าง มีความ "อิ่ม" ในชีวิตตลอดจนไปถึงจิตวิญญาณ แล้วปราถนาความตายอย่าสงบ ทั้งๆที่ก้ไม่ได้เป็นโรคระยะสุดท้ายอะไร จะทำได้หรือไม่? จะขอให้แพทย์ช่วย terminate เขาอย่าง painless อย่าง humane มากที่สุดได้หรือไม่? แล้วเราจะรู้ๆได้อย่างไรว่าคนๆนี้ไม่ได้วิกลจริต หรือคลั่งศาสนาแปลกๆ หรือที่แท้จริงเขารู้อะไรที่ปุถุชนคนธรรมดาไม่รู้ คนส่วนใหญ่ก็ยังโง่เขลาได้ (แต่คิดว่าตนเองถูก เหมือนครั้งหนึ่งที่มีคนทรมายกาลิเลโอที่บังอาจจบอกว่าโลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล) ดังนั้นที่ว่า knowlege is a virtue, is an optimal standard นั้นเป็น t หรือเป็น truth?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-18 , Time : 00:47:51 , From IP : 172.29.7.234

ความคิดเห็นที่ : 46


   คำสุดท้ายจะเขียนว่า เป็น fact หรือเป็น truth?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-18 , Time : 00:50:28 , From IP : 172.29.7.234

ความคิดเห็นที่ : 47


   โอโฮ อาจารย์ นอนไม่หลับหรือครับ นี่ผมเพิ่ง post ไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมงเองนะครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-05-18 , Time : 00:59:42 , From IP : p97-lirnrtmt1.S.cslo

ความคิดเห็นที่ : 48


   เปล่าครับ ลูกพึ่งหลับหมด พึ่งจะเริ่มทำงานตะหาก



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-18 , Time : 01:06:12 , From IP : 172.29.7.234

ความคิดเห็นที่ : 49


   คือผมว่าถ้ามองมุมใดมุมหนึ่งแต่เพียงด้านเดียว ก็คงไม่ได้ข้อสรุปน่ะครับอาจารย์

ตัวอย่างที่อาจารย์ยกมาก็คือ " miracle"

ซึ่งหากผมจะขออนุญาตอ้างตัวเองเป็นศาสนจักรใด ๆ สักอย่าง ก็อาจบอกว่านี่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องของสิ่งที่อยู่นอกเหนือความเข้าใจของมนุษย์ที่ต่ำต้อย

หรือมองในมุมที่อาจารย์ phoenix มองก็จะบอกว่า ไม่มีอะไรร้อยเปอร์เซนต์ใน medicine (ผมมักจะบอกว่าถ้าไม่มีอะไรร้อยเปอร์เซนต์ใน medicine ก็ไม่มีอะไรศูนย์เปอร์เซนต์ใน surgery)

มองอีกด้านหนึ่ง เราจะให้เหตุการณ์ที่เป็นข้อยกเว้น หนึ่งหรือสองในหกพันกว่าล้าน มามีผลทำให้คนอีกมากมายต้องทนทุกข็ทรมานกับสภาวะที่ hopeless และนับถอยหลังด้วยความเจ็บปวดสู่ความตาย ทั้งที่คนส่วนหนึ่งพร้อมที่จะตายอย่างสมเกียรติหรือ

หรือมองในแง่เศรษฐศาสตร์-การบริหาร อันนี้ยิ่งไม่คุ้มค่าเข้าไปใหญ่

ถ้าเป็นนักการเมือง ก็ต้องบอกว่า นี่จะเป็นประเด็นที่ผมใช้หาเสียงได้ในสมัยหน้าอย่างแน่นอน


ดังนั้น ผมถึงต้องการให้มีอะไรสักอย่างที่เป็นหลัก ซึ่งก็คงไม่พ้นหลักวิชาการเป็นแน่ แต่จะปรับ-แก้ไข-เข้มงวด-ผ่อนปรน ให้เป็นอย่างไร ก็คงต้องให้ส่วนอื่น ๆ มาช่วยแก้ข้ปรับปรุงกัน คือถ้าจะให้แต่ละคนเอาตัวเองเป็นหลัก ก็จะไม่มีทางเริ่มต้นทำได้แน่ (ไม่รู้ว่าอาจารย์อยากให้มีหรือไม่) คิดแบบที่เรามีประสบการณ์กันก็คือแบบสหวิทยาบูรณาการนั่นแหละครับ


cryopreservation ที่เขาทำก็ไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ ผมจะเดินไปขอให้เขาแช่แข็งผมได้นี่ครับ รู้สึกว่าต้อง "ตาย" ทางการแพทย์ก่อน เขาถึงจะเอาผมไปแช่ได้นี่ครับ แล้วที่ทราบมา มันมี promotion พิเศษที่ตัดเอาเฉพาะหัวไปแช่ด้วย ค่าแช่ถูกลง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าถ้าฟื้นขึ้นมาได้จริง จะอยู่กันยังไง

ทีนี้ ถ้า cryopresrvation นั้นเอาคนที่ "ตาย" แล้ว ไปทำ ประเด็น euthanasia ก็ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้นะครับ



Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-05-18 , Time : 01:50:55 , From IP : p97-lirnrtmt1.S.cslo

ความคิดเห็นที่ : 50


   ผมเข้าใจไม่ตรงกันนะครับ เรายังไม่คิดว่าจะพัฒนาการ revive คนจาก dead ได้ หรือคิดว่าจะทำในอนาคต (ปลุกผันี่ คงจะมีการอภอรายเชิงศาสนากันน่าดู) แต่โดยเทคนิกปัจจุบันเรา freeze cell ที่ไม่ตายให้แข็ง แล้ว recover ให้กลับสู่สภาพก่อน freeze ได้น่ะครับ ถ้าจะให้ "ยุ่งยาก" น้อยที่สุด น่าจะเป็น freeze ร่างกายก่อนตายครับ รอให้มีเทคโนโลลยีรักษาหายค่อยแปลุกมารักษา ส่วนเทคโนโยลี revive หลังจากตายไปแล้วนี้ แค่คิดก็เริ่มหนาวแล้ว มันเหมือน can of worm จริงๆ

Miracle ในสายตาของ science ก็คือ knowledge which has yet to explain แค่นั้น สมัยก่อนยาปฏิชีวนะนี้ก้เป็น miracle พระอิตย์เป็น miracle ฉะนั้นบรรดา case miracle พวกนี้ภายหลังมันมีคำอธิยายมาหมด (เกือบ)

เราจะคำนวณ cost effectiveness ได้ก็ต้องรู้ number needed to treat ก่อน จะรู้ number needed to treat ก็ต้องรู้ prvalence incidence ซะก่อน ตรงนี้จะหาบันทึกที่ qualified มาเพียงพออย่างมีนัยสำคัญนั้นยาก (แต่ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้) เพียงแต่ reference พวกนี้มันอาจจะไปอยู่ตามหนังสทอ magazine แปลกแต่จริง มหัศจรรย์ล้ำลึก อะไรทำนองนั้น

ในขณะที่ผมเห็นว่า euthanasia นั้นเราน่าจะพิจารณาเป็นรายๆพอไหว แต่จะให้ออกเป็นกฏหมายนั้น คงต้องอาศัยกระบวนการที่เข้มงวด เคร่งครัด และมี infrastructure ดีพอที่จะ regulate and police regulation นั้นๆได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จินตนาการที่รัฐจะตั้ง independent committee มาแต่ละ episode งานนี้ลำบากยากเข็ญแน่นอน จนเราอาจจะต้องพูดกันถึงเรื่อง practicality และการป้องกันการ exploit ระบบ โดยเฉพาะในบรรยากาศที่ organ donor ขาดแคลนสุดๆ คนรวยๆก็เป็นมะเร็งมากขึ้นเรื่อยๆ ระวัง euthanasia จะเปิดตลาดมืด organ แบบหนังสือของ Robin Cook เรื่อง Coma



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-18 , Time : 17:49:10 , From IP : 172.29.7.190

ความคิดเห็นที่ : 51


   เรื่อง cryopreservation ในปัจจุบันนี้ยังทำกันเฉพาะในคนที่ตายแล้วนะครับอาจารย์ ไม่ได้ทำในคนสด ๆ เป็น ๆ นั่นก็คือเมื่อมีการประกาศการตาย บริษัทห้องเย็นก็จะรีบมารับศพไปแช่แข็งเอาไว้

นั่นก็คือ ในความเป็นจริง การแช่เย็นนั้นไม่ใช่รักษาร่างกายของคนที่ยังไม่ตายนะครับ เราหวัง long future miracle เลยว่าในอนาคตคงจะมีวิธีชุบชีวิตของร่างที่แช่ไว้ได้ อย่างที่บอกไว้ไงครับอาจารย์ มี option สำหรับคนที่เงินไม่มาก ให้ chop เอาเฉพาะหัวมาแช่ วันหน้าค่อยว่ากันใหม่ เงิหมดเมื่อไหรก็ไม่ต้องเติมไนโตรเจน...

ขืนเอาคนเป็น ๆ ไปทำ จะโดนจับฐานฆ่าคนตายได้นะครับ ถ้าละลายน้ำแข็งแล้วเจ้าตัวเกิดไม่ฟื้นขึ้นมา

แต่ในกรณีที่เราพูดถึงกันนั้นคงต่างไปเล็กน้อย
1. ถ้าจะทำจริง ๆ ก็ต้องมี criteria ให้ชัดเจนว่าเป็น end stage disease, uncontrolled malignant disease, ... ซึ่งอันนี้แหละครับที่ฝ่ายวิชาการ (แพทย์) จะออกมามีบทบาทที่เหมาะสมได้
2. ต้องเป็นประสงค์ของผู้ป่วยเอง ความตายแบบนี้ไม่ใช่ว่าใครก็เดินไปหยิบยื่นให้ใครคนใดก็ได้ ไม่ใช่ว่าเราจะกำหนดว่าคนนั้นคนนี้ไม่สมควรได้รับการรักษา แล้วปล่อยให้ตายหรือฆ่าให้ตาย
3. ต้อง exclude การตายทางการแพทย์ออกไปเสียก่อน (brain death) ผู้ป่วย brain death นั้นเป็นผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว การ disconnect respirator, disconnect inotropic drug ไม่ใช่ euthanasia

สำหรับย่อหน้าสุดท้าย (ซึ่งพอพิมพ์ใน internet แล้วมันไม่เคยย่อหน้าให้สักที) ที่อาจารย์บอกว่าน่าจะให้พิจารณาเป็นราย ๆ นั้นผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเลยครับ เพียงแต่ถ้าจะทำเรื่องนี้ มันต้องเป็นกฎหมายเท่านั้นครับ เพราะถ้าจะทำ euthanasia กันจริง ๆ ก็คือจะต้องมีการ "ฆ่า" เกิดขึ้น ซึ่งถ้าไม่ทำเป็นกฎหมายแล้วก็ถึงกับเข้าไปกินข้าวกล้องกันในคุกเลยนะครับ ดีไม่ดีคนทำอาจโดน non-euthanasia ไปเสียให้ตายตกไปตามกัน

เพียงแต่ว่าเมื่อสร้างกฎขึ้นมาแล้ว ก็ต้องมา "พิจารณาเป็นราย ๆ ไป" อีกที ถ้ากรณีเหล่านี้เกิดไม่มาก ปีละครั้งสองครั้ง ก็ให้หน่วยงานใหญ่ ๆ ที่เป็นส่วนกลาง เช่น แพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข มหาเถรสมาคม NGOสิทธิมนุษยชน ฯ และผู้ป่วยและญาติพี่น้องที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณา

ถ้ากรณีเหล่านี้เกิดมากขึ้น ก็อาจตั้งเป็นกรณีศึกษา หรือ guideline แล้วให้หน่วยงานย่อย ๆ ลงมาไปพิจารณากัน เช่น สสจ. เจ้าคณะจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้นำชุมชน ร่วมกับผู้ป่วยและญาติพี่น้องเป็นผู้ตัดสินใจ ถ้าไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ก็นำไปพิจารณากันในส่วนกลางกันต่อไป

ผมว่าท้ายที่สุดน่าจะมีทางออกได้ ส่วนที่ยากที่สุดก็เพียงแค่การเริ่มต้นเท่านั้นเอง

ถ้ากลัวว่าใครจะเอาตับ ไต ปอด หัวใจ ไขกระดูก ไปขาย ก็ตั้งกฎกันขึ้นมาเลยว่าผู้ที่ผ่าน euthanasia ไม่สามารถเป็น organ donor ได้


ลืมไปอย่างหนึ่งครับ ...ผมไม่ได้บอกว่าผมสนับสนุนหรือคัดค้านนะครับอาจารย์ phoenix เพียงแต่เสนอทางออกให้เท่านั้นเอง

บอกตามตรง ผมเองก็ยังสองจิตสองใจกับเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน ไม่รู้ว่าจะสนับสนุนหรือคัดค้านทางไหน อยากรอดูอีกสักพักน่ะครับอาจารย์


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-05-19 , Time : 21:51:05 , From IP : p25-adslsnilf1.S.csl

ความคิดเห็นที่ : 52


   งั้นเรากำลังพูดถึงคนละ experiment ครับ เทคโนโลยีที่ผมพูดถึงแล้วจะทำให้ euthanasia เป็น absolute unethical นั้น ผมหมายถึงการ freeze คนเป็นที่ยังไม่ตาย และมีโรคที่รักษาไม่หาย ซึ่งถ้าทำได้ก้จะไม่เป็นการฆ่านี่ครับ แค่ "หยุด" ทุกอย่างไว้ชั่วคราว โดยสามารถ recover ใหม่ at least ก็ฟื้นมาเป็นมะเร็งเหมือนเดิม จะโดนข้อหาฆาตกรรมได้อย่างไร มันก็เหมือน operation อย่างหนึ่ง มี complications ได้ เข้าผ่าตัดมีตาย มีเสียชีวิต มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ จะโดนจับก็ตรงทำไปโดยไม่รู้ว่าพดถึงวอะไรอยู่ ทำไม่เป็น ไม่มีหลักวิชามารองรับแล้วโกหกให้เขาทำอย่างนั้นมากกว่า

แต่ "ถ้า" เทคโนโลยีนี้ available ในอนาคต นั่นแปลว่าบรรดาโรคที่ list ว่าอาจจะเป็นสาเหตุควรแก่การทำ euthanasia นั้นจะหมด indication ไป สาเหตุที่ผมพูดถึงเทคโนโลยีที่ว่านี้เพราะเรากำลังอภิปรายกันเรื่อง euthanasia ซึ่งไม่เกี่ยวกบเศณษฐีบางคนที่ตายแล้ว สั่งเสียให้ freeze ศพตนเองไว้ หวัง miracle ทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน เรื่องเก็บไว้ทั้งตัว หรือแค่หัวนั่นคงเป็นแล้วแต่ครับ การแพทย์ในปัจจุบันเท่าที่ทราบไม่ได้ register วิธีนี้เป็น alternative อย่างแพร่หลาย เป็นแค่สิทธิส่วนตัวของเศณษฐีที่จะทำอะไรกับศพตัวเองก็ตามใจ

criteria สองสามข้อที่คุณพี่น้องฯว่ามานั้น แต่กต่างจากตำรา ethics ที่เกี่ยวกับ end-of-life ที่ผมอ่านนิดหน่อยครับ ที่ที่ทำ active euthanasia นั้นก็มี และที่เขียนไว้ชัดเจนเช่น การ withdraw food and water เป็น euthanasia ที่ humane ที่สุดก็มีบอกไว้ชัดเจน (ในประเทศที่ OK นะครับ เดี๋ยวจะไปกันใหญ่) อย่างที่เป็นข่าวในอเมริกานั้นก็เป็นการ withdrawal of feeding tube เป็น step แรกของ euthansia อย่างหนึ่ง ตรงที่ผมไม่เข้าใจชัดเจนก็ตรงคำว่า "การตายทางการแพทย์" นี่แหละครับ นิยามมันคืออะไรเพราะเป็นคำใหม่ที่เราพึ่งเริ่มใช้กัน ณ ที่นี้

อย่างที่เราทราบกันดีว่า "ความประสงค์" ของผู้ป่วยนั้นมาได้สองทางใหญ่ๆ คือ ๑) thought ๒) feel หรือนัยหนึ่ง ตรรกะกับอารมณ์ และปกติความประสงค์นี่เปลี่ยนแปลงได้ไปๆมาๆ ผมไม่แน่ใจว่าคุณพี่น้องฯได้เคยเจอผู้ป่วยที่เคยตัดสินใจอย่างหนึ่งแล้วอีกวันเปลี่ยนใจหรือไม่ แต่ในประสบการณ์ที่ conference palliative care ที่เราจัดกันมา ผป.บางคนเช้าบอกว่า NR บ่ายเปลี่ยนเป็นเอา full course ดีกว่า ตรงนี้สำคัญตรงที่ euthanasia นั้น ตัดสินใจและทำได้ครั้งเดียวครับ reverse ไม่ได้ คำถามคือ "ตอนไหน" จะดีที่สุด เป็นการตัดสินที่ ผป. ต้องการมากที่สุด ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงอีก ประเด็นนี้จะใช้หลักการอะไรมาจับดี?




Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-19 , Time : 23:34:00 , From IP : 172.29.7.34

ความคิดเห็นที่ : 53


   เฉพาะในปัจจุบัน ไม่ว่าอย่างไรก็ทำแช่แข็งในคนเป็น ๆ ไม่ได้ครับอาจารย์ ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าจะเอามาโยงกับเรื่องการุณยฆาตที่เราพูดถึงกัน ผมว่าน่าจะมาพูดกันถึงเรื่องในปัจจุบันนะครับ มองอนาคตไกล ๆ คาดหวังว่าสักวันจะมียารักษาโรคนั้นโรคนี้ แต่ปัจจุบันยังไม่อนุญาตให้ทำในคนเป็น ๆ ผมว่าจะไม่ได้ข้อสรุปเอา เพราะต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่าอาจารย์จะมองอนาคตไปไกลแค่ไหน

หากจะเอาอนาคตแค่มีกฎหมายยอมให้แช่แข็งในคนเป็น ๆ ได้ บวกกับเทคโนโลยี่ที่พัฒนาไปจนสามารถทำในคนเป็น ๆ ได้จนเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย ...น้อยจนเป็นหัตถการที่มีความปลอดภัยในระดับที่ยอมรับกันได้ อันนี้ก็คงต้องขึ้นกับเงินในกระเป๋าคนที่จะถูกแช่ ว่ามีพอไหม รัฐคงไม่เข้ามาช่วยแช่ให้แน่ ๆ หรือจะเอาอนาคตไกลขนาดที่ genetic engineering ทำได้ดีจนไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่รักษาไม่ได้ ...อันนี้ก็ต้องจินตนาการกันต่อว่าจะควบคุมจำนวนประชากรโลกกันยังไง เพราะเล่นเกิดเอาเกิดเอา แต่ไม่ยักตายกันสักที

ผมถึงมองเฉพาะปัจจุบันเป็นหลักครับอาจารย์ ไม่อยากคาดการณ์ในอนาคตให้ไกลเกินไป

ถ้าในปัจจุบัน เรายังรักษา metastatic carcinoma ที่กระจัดกระจายไปทั่วตัวไม่ได้ เรายังรักษา sarcoma ให้หายขาดไม่ได้ เราก็จะต้องมาพูดถึงการุณยฆาตกันอยู่ (หากจะมีใครเสนอให้พูดถึงกัน) miracle ที่อาจารย์กล่าวถึงว่าอาจมีได้ในอนาคต ไม่สามารถใช้รักษาคนเหล่านี้ในปัจจุบันได้นะครับ


ส่วนเรื่องการตาย อันดับแรกต้องบอกให้ได้ก่อนว่าคนคนนั้น "ตาย" ไปแล้วหรือยัง ไม่นับกลุ่มที่เหลือแต่โครงกระดูกนะครับ คนกลุ่มหนึ่งถูกเรียกว่าตาย ในทางการแพทย์ แต่ในทางการรับรู้ของคนอีกจำนวนหนึ่ง ไม่ได้เรียกว่าตาย

ถ้า brain death แล้ว จะ withdraw อะไรออกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น้ำ-อาหาร-อากาศ ก็ได้ เพราะถือว่าคนคนนั้นตายแล้ว ..ในทางทฤษฎีนะครับ สำหรับทางปฎิบัติคงต้องขึ้นกับเงื่อนไขหลายอย่างว่าจะทำอย่างไร อันนี้แหละครับที่ผมหมายถึงความตาย "ทางการแพทย์" ไม่ใช่ความตายอย่างที่คนทั่วไปรับรู้กัน ซึ่งผมว่าถ้าจะ euthanasia กันก็ต้อง rule out ก่อน คือให้แน่ใจว่าคนคนนี้ตายแล้ว ไม่ต้องไปทำให้ตายซ้ำอีก

ประเด็น brain death ผมมี review มาเสนอให้อาจารย์นะครับ เรื่องสั้น ๆ แต่ผมว่าน่าสนใจดีครับ

Brain death worldwide Accept fact but no global consensus in diagnostic criteria ลงใน Neurology 2002;58:20-25


ส่วนเรื่อง "ความประสงค์" นั้น อย่างที่อาจารย์ถามมา ขอตอบว่าเจอบ่อยมากครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยหรือญาติไปได้รับข้อมูลจากที่อื่น ๆ มา ไม่ว่าจะเป็นทางญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง เตียงข้าง ๆ อ่านข่าว ฯ และไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์หรือไสยศาสตร์ ...ส่วนตัว ผมว่าเราต้องยอมรับการตัดสินใจของผู้ป่วยนะครับอาจารย์ ไม่ว่ามันจะเปลี่ยนไปบ่อยหรือมากแค่ไหนก็ตาม ถ้ายังอยู่ในภาวะที่มีสติสัปชัญญะครบถ้วน และคงไม่ต้องกังวลว่า euthanasia นั้นทำได้ครั้งเดียว เพราะถ้าทำเสร็จแล้วคงไม่มีใครมาเปลี่ยนใจแน่ แต่ก่อนจะทำนั้นต้องผ่านขั้นตอนต่าง ๆ มาให้เรียบร้อยก่อน และคงต้องมีเส้นที่ขีดกรอบไว้ว่า ถ้ามันได้ทำไปถึงไหนแล้วจะเปลี่ยนใจไม่ได้

นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่สนับสนุนว่าทำไมเราถึงต้องทำให้มันเป็นกฎหมายไงครับอาจารย์



Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-05-23 , Time : 00:14:49 , From IP : p98-lirnrtmt1.S.cslo

ความคิดเห็นที่ : 54


   ในปัจจุบันการุณฆาตยังห่างจากการยอมรับ worldwide อยู่อีกไกล ผมไม่เห็นว่าเราจะพูดถึงการุณฆาตในปัจจุบันได้สักเท่าไหร่ อีกประการพิจารณาจากการศึกษาวิจัย stem cell และ cloning ในปัจจุบันที่ห้ามยากขึ้นเรื่อยๆ ความหมายของ autonomy และสิทธิผู้ป่วยเหนือร่างกายตนเองมันเด่นชัดมากขึ้น สำคัญมากขึ้น การที่ ผป.จะ consent ให้ทำตนเองให้สลบแทบจะมีขีดแบ่งกับการอนุญาตให้ freeze ที่เบาบางเต็มที ผมทำงานเกี่ยวกัย cryopreservation cells มาเกือบสิบปีที่อังกฤษ ตอนนี้ผมคิดว่าเทคโนโลยีการ preserve body นั้น ไม่ใช่ If แต่เป็น when ยกเว้นคุณพี่น้องมีข้อมูลที่คัดค้านออกมาใหม่ใน development ของ cryopreservation ที่ผมอาจจะ update ไม่ทัน

รัฐจะออกเงินช่วยอะไรแค่ไหน ผมว่าเขาก็คิดตาม cost effectiveness แหละครับ ดูจากสาเหตุการตายหลักในโลกที่เจริญแล้วในขณะนี้คือมะเร็ง และการก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของ molecular oncology ผมว่าพวกผู้นำประเทศต่างๆถ้ารู้ว่าตนเองมีสิทธิก่อนที่จะได้รักษาชีวิตด้วยเทคโนโลยี ผมของเดาอย่างค่อนข้างมั่นใจว่าพวกนี้คงจะโน้มน้าวสมาชิกสภาของตนเอง (ซึ่งคงจะคิดอยู่ในใจว่าตนเองก็อยากจะเบิกได้เรื่องนี้เหมือนกัน) ให้ผ่านกฏหมายนี้ได้ไม่ยากเย็นนัก ผมจินตนาการไม่ออกเลยว่าทักษิญจะ ban cryopreservation ถ้าเทคโนโลยีนี้ available เรื่องนี้มันยิ่งกว่า cloning อีกนะครับ เพราะมันเป็นตัวเราเอง Clinton ก็เป็น ca colon ไคลี มิโนก็เป็น ca breast super elite มากมายเป็นมะเร็งที่กำลัง "รอ" เทคโนโลยีการรักษา มาพนันกันก็ได้ว่าถ้าเทคโนโลยีนี้สำเร็จจริง มันจะออกเป็นกฏหมายถูกต้องได้รวดเร็วขนาดไหน

เมื่อไหร่ก็ตามที่อะไรเป็นกฏหมาย มันจะต้องเป็นอะไรที่สามารถ reinforce ได้ เรื่อง euthanasia นี่ยากเย็นครับ practice ในประเทศไทย (รวมทั้งประเทศที่เจริญแล้วมากๆกว่าเรา) ก็ยังมีปีญหาเรื่อง informed consent อย่างมากว่า ได้อธิบายหมดหรือไม่หมด เข้าใจหรือไม่เข้าใจ และผู้ป่วยหรือคนไข้จะเป็น victim ที่ง่ายมากในการจำยอม sign เอกสารใดๆที่แพทย์ยื่นให้ ขณะทำการรักษา ไม่ต้องพูดถึงขณะที่ความเป็นความตายกำลังเห็นอยู่รำไร

ประเด็นเรื่องเปลี่ยนใจนี่แหละครับ ที่เราต้องคิด "เผื่อ" คนไข้ ว่าเมื่อไหร่เป็น final เพราะเรื่องนี้มัน irreversible คนไข้นั้นอยู่ใน vulnerable state ณ จุดนี้ ใครและเมื่อไหร่ อย่างไร เป็นคนประเมินว่า ผป. จะได้ประโยชนสูงสุดจากการ OK ฆ่าฉันโดยที่ไม่เปลี่ยนใจ โดยที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ โดยที่ pain free, suffering-free (ซึ่งเป็น contradiction อยู่แล้วในรายที่ขอ euthansia) เพราะฉะนั้นร้อยทั้งร้อยกลุ่มนี้จะมี depression อยู่แน่ๆ ขณะที่ ผป.มี depression นั้น reliability of suicidal idea น่าเชื่อถือขนาดไหนล่ะครับ?

อีกประการผมเชื่อว่าต้องใช้ "ทีม" ในการประเมิน criteria อย่างแน่นอน ไม่ใช่คนๆเดียวเปิดคู่มือและประเมินด้วยตนเอง ถ้าเมื่อไหร่การประเมินนั้น sophisticated กฏหมายนั้นจะกลายเป็น legislation for the elitists ทันที มีการแบ่งชั้นวรรณะ ของ availability ของ รพ. และ ทรัพยากร เป็นการ standardize อะไรบางอย่างที่เราควรจะสงสัยตั้งแต่เราว่าจริงๆแล้วเรามี authority หรือไม่? ถ้าคนไข้คนนี้ไปรักษาแล้วดีขึ้นได้ที่อเมริกา เราจะทำ euthanasia ให้หรือไม่เพียงเพราะเขาไม่มีค่ารักษาพยาบาล หมอของเรากี่เปอร์เซนต์ที่ qualified จะบอกว่าโรคนี้ โรคนั้น beyond the current knowledge of treatable or relievable? จะทำอย่างไรถ้า declare ไปแล้ว ที่ศิริราชเกิดบอกว่ารักษาได้ หรือว่าทุกรายต้อง counter sign โดยกรรมการการุณฆาต

ข้อสำคัญที่สุดคือ การออกกฏหมายจะเป็นการยัดเยียด acceptability ลงคอหอยคนที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่ ทั้งหมอและคนไข้? หมอที่ยึดใน hiipocratic oath ก็จะต่อต้าน และใช้หลัก Life is beyond human authority ที่จะ take stop at will การออกกฏหมายลักษณะนี้เป็นการละเมิด civil right ของคนอื่นหรือไม่? คนที่ไม่เห็นด้วยมีทั้งญาติ ทั้งหมอ ทั้งโรงพยาบาล อะรไปนการที่ทำให้นักกฏหมายคิดว่าตนเองสามารถ breach right of belief system ด้วยการทำ controversial issue เป็น universal state-approved issue?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-05-23 , Time : 02:10:52 , From IP : 172.29.7.207

ความคิดเห็นที่ : 55


   ที่ผมบอกว่าทำไม่ได้นั้นไม่ได้หมายความในเชิงเทคนิคนะครับอาจารย์ แต่หมายความเชิงกฎหมาย ศีลธรรม และสังคม ผมก็พอทราบมาบ้างว่าถ้าจะทำกัน (เหมือนทำ clone มนุษยย์) ก็คงทำได้ ทางเทคนิคคงไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหานัก แต่ถ้าจะทำจริงก็ต้องถกกันในเชิงกฎหมายและศีลธรรมอีกพอควร

ส่วนเรื่องทีมที่อาจารย์บอก ถ้าย้อนกลับไปดูความเห็นก่อน ๆ นี้ ผมก็เคยได้เสนอไปแล้วว่าต้องมีกฎหมายมารองรับ และคนที่จะตัดสินใจก็คงจะไม่ใช่เฉพาะแพทย์กับผู้ป่วย ต้องอาศัยคน-ความรู้ มาประกอบกันอีกหลายฝ่าย


ขออภัยอาจารย์นะครับ วันนี้คงต้องพอแค่นี้ก่อน วันนี้ connect ได้ความเร็วต่ำมาก แล้วก็กำลังยุ่ง ๆ อยู่กับเรื่องจะซื้อ PPC สักเครื่อง ไปเปิด website แล้วมัน load ช้าจริง ๆ เปิดหลายหน้าพร้อมกันไม่ไหวครับ

ปลาย ๆ สัปดาห์จะมาเขียนเพิ่มอีกที อาจารย์อย่าเพิ่ง delete favorites ไปเสียก่อนนะครับ จะไปประชุมที่ กทม. แล้วจะเลยไปซื่อ PPC สักเครื่อง


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-05-23 , Time : 20:21:38 , From IP : p67-lirnrtmt1.S.cslo

ความคิดเห็นที่ : 56


   มาตอบต่อนะครับอาจารย์ ประเด็นที่อาจารย์บอกมานั้นก็เหมือนกับที่ตอบไปครั้งก่อนว่าเทคโนโลยี่ปัจจุบันนั้นคงไม่ยากเกินไปนักที่จะก้าวไปถึงการแช่แข็งภายใต้ไนโตรเจนเหลวแบบเป็น ๆ แต่ที่ผมบอกมาตลอดก็คือการทำไม่ได้นั้นถูกจำกัดโดยกฎหมายครับ คงไม่เหมือนการรักษาโรคอะไรบางอย่างแล้วเกิด complication เช่นผ่า appendicitis หรือ MRM แล้วตาย เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นภาวะที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ใน "การรักษาตามมาตรฐาน" แต่ไอ้การที่อยู่ดี ๆ เอาคนเป็น ๆ ไปยัดใส่ในถังไนโตรเจนเหลวนี่ ผมว่ายังไงก็คงไม่มีราชวิทยาลัยของประเทศไหนรับรองแน่ว่าเป็นการรักษาตามมาตรฐาน แล้วขืนใครอุตริไปทำเข้าล่ะก็ ได้โดนยึดใบอนุญาตกันเป็นแน่ครับอาจารย์

ประเด็นถัดมาที่อาจารย์ยกขึ้นมาว่าผู้นำประเทศหรือคนดังทั้งหลายที่เขาไม่สบายและอยากจะ delay ความตายไปโดยเอาไปแช่ไว้ก่อน มีทางรักษาเมื่อไหร่ค่อยละลายออกมา (...เหมือนหนังเรื่อง Vanilla sky เลย) อันนี้ผมก็ยังคงตอบเหมือนที่เคยตอบไปก่อนหน้านี้ว่าน่าจะเป็นเรื่องของทรัพย์ใครทรัพย์มัน มากกว่าจะถูกเฉไฉให้เป็นเรื่องของกฎหมายที่อนุญาตให้แช่กันทั้งประเทศ ขืนประเทศไหนบ้าจี้ทำอย่างนั้น ไม่นานงบประมาณประเทศก็ต้องหมดไปกับไนโตรเจนเหลวเป็นแน่แท้ หรือไม่งั้นสักพัก พอละลายกันออกมาแล้ว ประชากรจะได้ล้นประเทศกัน

อย่างมากก็คงได้แบบทำมัมมี่น่ะครับ มีเงิน มีอำนาจก็สร้างปิรามิดของตัวเอง ทำมัมมี่ให้ตัวเอง จ้างสฟิงค์มาเฝ้าเอง จะฟาโรห์หรือไม่ฟาโรห์ก็คงต้องเป็นแบบเดียวกัน

มีเรื่องสั้นสยองขวัญอยู่เรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องการแช่แข็งนี่แหละครับ พูดถึงเรื่องในอนาคตว่ามีเศรษฐีคนหนึ่ง เป็นมะเร็ง รักษาไม่หาย ก็เลยให้บริษัทที่เขารับแช่แข็งช่วยแช่เขาเอาไว้ก่อน โดยหวังว่าสักวันหนึ่งถ้ามียารักษาให้หาย จะได้เอามารักษาเขา ...ไม่รู้หลับไปนานเท่าไหร่ อยู่มาวันหนึ่งก็มีคนมาละลายให้เขาฟื้นขึ้นมา พอตื่นขึ้นก็พบกับคนคนหนึ่งนั่งรออยู่ เศรษฐีก็ถามว่าที่ปลุกเขาขึ้นมานั้นเพราะมียารักษามะเร็งแล้วใช่ไหม? คนที่นั่งรออยู่ตอบว่า ไม่ใช่หรอก มะเร็งน่ะยังรักษาไม่ได้ หัวใจคุณยังดีอยู่ พอดีผมมีปัญหาเรื่องหัวใจวาย ต้องการหัวใจใหม่ ก็เลยปลุกคุณขึ้นมา


เรื่องต่อมาก็คือเรื่องเปลี่ยนใจ อันนี้ยังไงก็ต้องยอมรับสิทธิ์ของผู้ป่วยครับ ถ้าคิดให้เรียบง่ายหน่อยก็ให้คิดถึงพินัยกรรมเอาไว้ครับ พินัยกรรมอันสุดท้ายเท่านั้นที่จะได้รับการยอมรับ ประสงค์ในการตายก็คงเป็นเช่นเดียวกัน ผู้ป่วยอาจได้รับคำแนะนำจากหมอผีหรือหมอดู ซึ่งใครบางคนอาจบอกว่าไร้สาระ แต่กับผู้ป่วย นั่นอาจเป็น alternative treatment อย่างหนึ่ง ซึ่งเราที่ไม่ใช่ผู้ป่วยคงไม่มีสิทธิ์ไปบอกว่า อันนั้นไม่ใช่การรักษา คุณควรจะตายไปตามที่คุณประสงค์ได้แล้ว ...!!!

เมื่อปี 2543 ผมดูรายการสารคดีของ HBO (มีสารคดีด้วยนะครับ ไม่ใช่มีแต่ box office อย่างเดียว) บอกไว้ว่าประมาณ 20% ของผู้ป่วย Carcinoma ในสหรัฐอเมริกา เคยได้รับการรักษาโดย alternative method อย่างน้อยช่วงหนึ่งในชีวิต ลองไป search paper ดูก็พบว่าจริงอย่างที่เขาว่า

ถ้ามองต่อมาว่าผู้ป่วยจะเปลี่ยนใจ ไม่ว่าจากเหตุใดก็ตาม ก็คงต้องให้สิทธิ์เขา

เหมือนที่อาจารย์ว่า "ข้อสำคัญที่สุดคือ การออกกฏหมายจะเป็นการยัดเยียด acceptability ลงคอหอยคนที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่ ทั้งหมอและคนไข้?..." เรื่องนี้ถ้าจะให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด เบื้องต้นก็จะต้องเป็นประสงค์ของผู้ป่วย ผ่านการปรึกษาหารือกับญาติพี่น้อง เห็นชอบกันแล้วก็ต้องปรึกษาแพทย์ แล้วมาเข้าสู่ระบบกันอีกที ส่วนระบบจะเป็นเช่นไร ผมก็ได้ยกมาแล้วในการตอบครั้งก่อน ๆ และก็ยังยืนยันว่าต้องมีกฎหมายมารองรับก่อน ไม่งั้นก็ทำไม่ได้

แล้วกฎหมายที่อาจารย์พยายามบอกว่า "อะรไปนการที่ทำให้นักกฏหมายคิดว่าตนเองสามารถ breach right of belief system ด้วยการทำ controversial issue เป็น universal state-approved issue? " นั้นคงไม่ได้เป็นอย่างนั้นทั้งหมด เราคงไม่กำหนดว่า "ผู้ป่วย brain metastasis เกินหนึ่งก้อน ถือว่าเป็น poor prognosis ไม่ต้องฉายแสง ไม่ต้องผ่าตัด(สมมติ)" หน้าที่ของแพทย์คือต้องรักษา แต่ถ้าเราคิดจะทำการุณยฆาตกันจริง ๆ ทั้งหมดทั้งปวงก็ต้องมาจาก patient initiation เท่านั้น ไป induced ไม่ได้เลยอย่างเด็ดขาด

กฎหมายนั้นครอบคลุมคนทั้งหมดในรัฐก็จริง แต่หลักการ การปฏิบัติ ก็เขียนขึ้นมากำกับได้นะครับ

ไม่อย่างนั้นเราก็คงต้องอ่านข่าวกระโดดตึก กินยาพิษ ยิงตัวเอง เพราะเป็นโรคร้าย รักษาไม่หาย กันอยู่ต่อไป

อาจารย์คิดว่าตายแบบนี้ดีกว่าให้ตายอย่างสงบไหมล่ะครับ


Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-05-29 , Time : 00:02:40 , From IP : p67-lirnrtmt1.S.cslo

ความคิดเห็นที่ : 57


   ผมยอมรัยว่าไม่ได้อ่าน (เรื่องที่ทั้งสองท่านโต้ตอบกัน) จนจบหรอกนะครับ (เพราะมีภารกิจที่สำคัญกว่าต้องทำอีกมาก อย่างการไปดูคนไข้บนวอร์ด) ........แต่ได้อ่านดูต้น ๆ แล้ว และพอเห็นว่าเรื่องมันยาวเกินและค่อนข้างไร้สาระด้วย....เลยเอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า......แค่นี้นะครับ (หากร่ายมากไปเกรงจะเปลืองเนื้อที่เว็ปบอร์ดคณะ)

Posted by : นศพ. ธรรมดา ๆ คนหนึ่ง (ที่ไม่ม , Date : 2005-07-15 , Time : 12:51:04 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 58


   ลองอ่านดูสิครับคุณ นศพ.ธรรมดาคนหนึ่ง แล้วคุณอาจมีความพิเศษอะไรบางอย่างขึ้นมาก็ได้ ถ้าอ่านไม่จบก็อย่าเพิ่งไปสรุปว่าเรื่องที่เขาคุยกันมันไร้สาระครับ

Posted by : พี่น้องและผองเพื่อน , Date : 2005-07-15 , Time : 16:54:47 , From IP : 58.147.4.68

ความคิดเห็นที่ : 59


   ผมเห็นด้วยกับคุณ นศพ. ว่าถ้ายังไม่สามารถจัดการภาระที่เป็น priority หลักได้ อาจจะต้องเอาเรื่องนั้นมาก่อนครับ ตรงนี้ขึ้นอยู่ความสามารถในการจัดการ รับรู้ และให้ความสำคัญ แต่ละคนคงต้องบริหารกันเอง

ส่วนประเด็นว่าอะไรมีหรือไม่มีสาระนั้น ผมยกให้เป็นเรื่องของคนที่ "ได้อ่าน ได้วิเคราะห์" ดีไหมครับ คนไม่มีนักเรียนคนไหนเห็นด้วยกับการที่อาจารย์อ่าน title ของรายงานแล้วให้คะแนนศูนย์หรือบอกว่าเขียนอะไรมาไม่มีสาระ

โดยส่วนตัวของผม "ถ้าพอมีเวลา" ผมอ่านหมดตั้งแต่ถุงกล้วยแขกไปถึงด้านในปกหลังของเอนไซโคลปีเดียบริแทนนิกา ผมยังไม่เคยเจออะไรที่ "ไร้สาระ" จริงๆเลย แม้แต่หนังสือปกขาว ที่เป็นเช่นนั้นเพราะสิ่งเหล่านี้คือ "ความคิด" ของคนๆหนึ่งครับ ผมคิดว่าอาชีพของเราจำเป็นที่ต้องมีความเข้าใจ หรืออย่างน้อยที่สุดสามารถ "รับฟัง" เรื่องราวของคนอื่นๆได้โดยไม่ judgemental เพราะถ้าเราไม่ทำอย่างนี้แล้ว เราจะเข้าใจพื้นฐานความคิดของคนไข้ได้อย่างไร ถ้าเราไม่เข้าใจพื้นฐานความคิดของคนไข้แล้ว เราจะทำให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างไร ถ้าเรามีเจตคติว่าเรื่องที่เราไม่สนใจเป็นเรื่องไร้สาระ เราจะสามาระ "ฟัง" เรื่องของคนไข้ได้ครบ "ทั้งเรื่อง" หรือไม่ เวลาที่เขาอยากจะเล่าเรื่องของลูก เรื่องของความทุกข์ทางครอบครัว ทางการงาน ฯลฯ ร้อยแปดพันประการ

อ้อ พอจะบอกได้คร่าวๆครับว่าที่เราเขียนกันมายืดยาวนี่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ hippocratic oath และปฏิญญาการเป็นแพทย์ของเจนีวาครับ เผื่อว่าคุณ นศพ.ธรรมดาอาจจะสนใจว่ามีสาระเกี่ยวกับตัวเรารึเปล่าก็แล้วแต่ครับ





Posted by : Phoenix , Date : 2005-07-16 , Time : 22:42:55 , From IP : ppp-203.118.113.32.r

ความคิดเห็นที่ : 60


   เราไม่ได้เรียนที่นี่หรอกนะ..แต่เราเราหาข้อมูลของหนังเรื่องlorenZo oil น่ะ
ก็เลยมาเจอเวปนี้เข้า เราชอบมากเลยนะหนังเรื่องนี้( แต่หาDVD ไม่ได้ )เป็นความรักของพ่อกับแมที่ยิ่งใหญ่มาก ที่พยายามจะช่วยชีวิตลูกของเขาไว้ ทั้งที่คนอื่น รวมทั้งหมอด้วยเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เขาพูดเหมือนว่าแน่ใจเหรอว่าเด็กที่เป็นโรค ALD จะอยากมีชีวิตอยู่ต่อ แล้วใครจะตอบคำถามนี้ล่ะ..ก็ต้องตัวเด็กเองสิ..ใช่ป่ะ
เราคิดว่าชีวิตคนเรานั้นมหัศจรรย์ที่สุดเลยล่ะ ชีวิตที่เกิดมาจากความรัก(อาจจะไม่ใช่ตอนปฏิสนธิ แต่อย่างน้อยก็ตอนที่อยู่ในท้องแม่ล่ะ) มีความพยายาม มีสิ่งที่พบเจอมากมาย มีหลากรูปแบบ มีหลากอารมณ์ ชีวิตที่งดงาม คือชีวิตที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมาย แต่ไม่ได้มีแต่เรื่องราวดีๆเสมอไปหรอก นั่นแหละความงดงามของชีวิต


Posted by : gladiolus , E-mail : (juristics@hotmail.com) ,
Date : 2006-06-23 , Time : 23:48:18 , From IP : 202.28.21.4


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.021 seconds. <<<<<