ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

การจำกัดการเรียนรู้


   มีหลายๆครั้งในระหว่างการเรียนวิชา Intro to Med นี้ แล้วมีความอยากรู้เกี่ยวกับ case หรือ แนวทางการรักษา เกิดขึ้นระหว่าง discussion หรือ สังเกตการณ์ ซึ่งมักจะได้รับคำตอบว่า "มันยากเกินระดับนศพ" "ตรงนั้นไม่ต้องรู้หรอก ไว้ขึ้นคลินิกก่อน" หรืออะไรเทือกนี้ เห็นด้วยว่าบางเรื่องที่เราสนใจก็อาจไม่ตรงกับวัตถุการเรียนรู้หรือเกินเลยไปบ้าง แต่ก็ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต(แม้จะไม่ใช่ในกระดาษข้อสอบของ blockก็ตาม) และยังช่วยกระตุ้นความสนใจอีกด้วย การตอบคำถามที่นศพ.สนใจ และชี้แนะให้ค้นคว้าต่อจะไม่ดีกว่าหรือคะ
ไม่ถึงกับไม่พอใจนะคะ รู้สึกเสียดายมากกว่า ที่มีโอกาสได้พบ resource ตามเวลาที่คณะจัดให้ซึ่งปกติ(ตามประสบการณ์ส่วนตัว)มีโอกาสได้ไม่บ่อยและนานอย่างนี้พราะภารกิจของแต่ละท่านบวกกับความพร้อมของตัวเราเองใน block ที่ผ่านมา
นศพ.หลายคนมีความรู้พื้นฐานดี หลายคนหลงลืมไปบ้าง หลายคนขาดการเชื่อมโยง ความรู้ความน่าตื่นเต้นเล็กๆน้อยๆจากการได้มีโอกาสแหย่ตัวเองเข้าไปในส่วนของทางคลินิก บวกการได้รับการชี้แนะนั้น อาจจะช่วยปะติดปะต่อ หรือต่อยอดให้ได้เช่นกันในทุกโอกาสที่มี ไม่น่าจะจำกัดกันเฉพาะ case กระดาษเท่านั้น
เป็นเพียงการแสดงความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ที่ประสพ และต้องขออภัยหากหลายท่านคิดว่าไม่เหมาะสม ณ ที่นี้


Posted by : brace , Date : 2005-02-20 , Time : 01:40:45 , From IP : 203.172.70.10

ความคิดเห็นที่ : 1


   คำว่า "ไม่ต้องรู้" นั้น ผมเดาว่าไม่น่าจะหมายถึงไม่ควรรู้ หรือต้องไม่รู้ และคงจะมีบริบทที่ว่า "ไม่ต้องรู้ (ตอนนี้)" แฝงอยู่

ดังนั้นจึงไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใดที่น้องจะติดตามแสวงหาคำตอบด้วยตนเองต่อ ถ้าความสนใจนั้นแรงกล้าจริงๆ ผมคิดว่าอีกบริบทที่อาจจะเป็นเหตุผลก็คือ ยังมี Learning objectives อื่นๆหลงเหลืออยู่ภายใน assignment นั้นที่จำเป็นต้องทำให้เสร็จสิ้น

ส่วนเวลา SDL หรือเวลาส่วนตัวของน้องหลังจากที่เสร็จงานที่ได้รับมอบหมาย จะศึกษาค้นคว้าเรื่องอะไรก็น่าจะไม่มีข้อห้ามอะไรครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-20 , Time : 03:31:28 , From IP : 172.29.7.209

>>>>> แล้วตามด้วยคำศัพท์ที่คุ้นเคยอีกหลายคำ ได้แก่ after load, preload, contractility ผมดีใจมากที่จำได้ ต่อจากนั้น ผมก็ไปเปิดดูในแฟ้มดู order ของพี่ ผมพยายามคิดว่า สิ่งที่พี่ให้การรักษา congestive heart failure นั้น มันเกี่ยวของกับ preload, afterload, contractility ตรงไหน ตอนนั้นมันเหมือนกับว่าผมไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับการรักษา congestive heart failure แต่มันเหมือนผมกำลัง recall ความรู้ที่ผมมีเอามาใช้ หลังจากนั้น ผมก็กลับไปเปิดตำราถึงแนวทางการรักษา ปรากฏว่าสิ่งที่ผมคิดคล้าย ๆ กับสิ่งที่เขียนอยู่ในตำราเลย ดังนั้นผมจึงอยากบอกน้อง ๆ ว่า """""""""""""""อยากรู้อะไรก็จงใฝ่คว้ามันเถอะ แต่อย่าลืมว่าขณะนั้นตนควรทำอะไรก่อน-หลัง """""""""" " />
ความคิดเห็นที่ : 2


   ผมว่า "ไม่ต้องรู้" คงหมายถึงความปรารถนาดีของอาจารย์ที่คุม discussion
ผมจำได้สมัยตอนผมเรียนชั้น preclinic ผมอยากรู้ไปหมดเลย แต่สิ่งหนึ่งในโลกของความจริงตอนนั้น คือ ผมกำลังอยู่ปี 3 ผมควรเรียนรู้ในสิ่งที่ต้องเรียนตอนนั้น ผมก็รู้สึกหงิดหงิดเหมือนกัน รู้ไหมว่าผมทำอย่างไร ผมหยิบคู่มือ block ขึ้นมากางดู แล้วผมก็อ่านสิ่งที่คู่มือเขียนไว้จนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ แล้วเวลาที่เหลือ ช่วง SDL ผมก็อ่านในสิ่งที่อยากรู้เหลือเกิน ตอนนั้นมันไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะคงไม่มีในข้อสอบ แต่พอผมขึ้นมาชั้น clinic ก็พบว่า ผมสามารถเชื่อมโยงอะไรหลาย ๆ สิ่งได้ ยกตัวอย่างเช่น ตอน block cardio and respiratory ผมยังจำสมการ blood prssure ได้ พอผมขึ้น med เจอคนไข้ congestive heaet failure ครั้งแรก สิ่งแรกที่ผมนึกถึง ทำอย่างไรจะเพิ่ม cardiac output ได้ ผมก็นึกถึงสมการตอนเรียน preclinic ก็จำได้ว่า cardiac output = stroke volumn x heart rate >>>>>> แล้วตามด้วยคำศัพท์ที่คุ้นเคยอีกหลายคำ ได้แก่ after load, preload, contractility ผมดีใจมากที่จำได้ ต่อจากนั้น ผมก็ไปเปิดดูในแฟ้มดู order ของพี่ ผมพยายามคิดว่า สิ่งที่พี่ให้การรักษา congestive heart failure นั้น มันเกี่ยวของกับ preload, afterload, contractility ตรงไหน ตอนนั้นมันเหมือนกับว่าผมไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับการรักษา congestive heart failure แต่มันเหมือนผมกำลัง recall ความรู้ที่ผมมีเอามาใช้ หลังจากนั้น ผมก็กลับไปเปิดตำราถึงแนวทางการรักษา ปรากฏว่าสิ่งที่ผมคิดคล้าย ๆ กับสิ่งที่เขียนอยู่ในตำราเลย ดังนั้นผมจึงอยากบอกน้อง ๆ ว่า """""""""""""""อยากรู้อะไรก็จงใฝ่คว้ามันเถอะ แต่อย่าลืมว่าขณะนั้นตนควรทำอะไรก่อน-หลัง """"""""""


Posted by : Ray , Date : 2005-02-20 , Time : 10:41:24 , From IP : 172.29.4.229

ความคิดเห็นที่ : 3


   เคยฟังคุณยายหรือคุณแม่เล่าประสบการณ์ต่างๆในอดีตหรือเรื่องราวที่เรายังไม่เคยเจอไหม บางครั้งนั่งตาโตหูผึ่งและได้เรียนรู้รวมทั้งจดจำไปนานแสนนาน เรื่องที่นศพ.กำลังสงสัยหรือสนใจถือเป็นจังหวะที่ดีที่อาจารย์สามารถเติมจี๊กซอว์อีกตัวหรืออีกหลายๆตัวที่ตีกรอบแคบเข้ามาให้เลือก อาจทำให้เกิดความเข้าใจ เกิดแรงจูงใจหรือเกิดจุดประกายให้เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง แต่ก็ต้องคำนึงถึงจังหวะในการตอบและเงื่อนไขของเวลาด้วย และนี่คงเป็นศิลปในการเป็นครูอย่างหนึ่งเหมือนกัน ไม่รู้ว่าเป็นมาเองหรือจะไปฝึกหัดมาได้ยังไงเพราะอาจารย์ส่วนใหญ่เรียนหมอมาทั้งนั้น นักศึกษาคงต้องฝึกฝนศิลปในการเรียนกับอาจารย์ที่เป็นหมอด้วย หลังเวลาเรียนยังพอมีจังหวะนะถ้าวิ่งทันอาจารย์นะ

Posted by : รักคนช่างสงสัย , Date : 2005-02-21 , Time : 12:19:02 , From IP : 172.29.3.249

ความคิดเห็นที่ : 4


   ( ^o^)

Posted by : <-_->zz , Date : 2005-02-21 , Time : 23:47:16 , From IP : 202.183.188.131

ความคิดเห็นที่ : 5


   ดีจังที่ได้ยิน ความคิดดีๆ อย่างนี้

ใจเย็นๆ ครับ

อาจารย์ ไม่ได้ปิดกั้น ความรู้เราสักหน่อย

เรา สามารถ หาความรู้ได้เอง จริงไหมครับ


Posted by : AK , Date : 2005-02-24 , Time : 13:58:27 , From IP : 210-4-139-129.inter.

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<