ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

หมอเก่าประสบการณ์สูง กับหมอจบใหม่ใครเก่งกว่ากัน???


   คำถามยอดฮิตของหลาย ๆ คน

บางคนเห็นว่าหมอจบมาก่อน ทำเวชปฏิบัติมาก ประสบการณ์สูง การรักษาคนไข้น่าจะได้เปรียบกว่า

อีกฝ่ายก็เห็นว่า หมอจบใหม่มีความรู้ทันสมัยกว่าหมอเก่า ๆ น่าจะเอาความรู้มาใช้รักษาคนไข้ได้ดีกว่า

วันนี้มีบทวิจัยเป็น Systematic Review ลงใน Annals of Internal Medicine ฉบับล่าสุดครับ หัวข้อ The Relationship between Clinical Experience and Quality of Health Care

หมอส่วนใหญ่เป็นสาขาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหัตถการมาก (Internist, Pediatrician, GP) แต่เขาก็รวมข้อมูลจาก Surgeon, Ortho และอื่น ๆ ด้วยเหมือนกัน

ผลวิจัย พบว่าหมอเก่า ยิ่งทำเวชปฏิบัตินานไป มีโอกาสที่ Quality of care จะลดน้อยลง เมื่อเทียบกับหมอที่จบมาไม่นาน

Quality of care ที่เขาทดสอบมีหลายแขนงมากครับ ทั้งเรื่องความรู้ของ Guidline ใน health screening, blood transfusion, ความรู้เกี่ยวกับ HIV/AIDS, evidence-based treatment, การวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยเบาหวาน/หัวใจขาดเลือด/หัวใจวาย/ความดันเลือดสูง , การตัดสินใจส่ง diagnostic work-up, ข้อบ่งชี้ในการให้เคมีบำบัด (อันนี้เฉพาะ oncologists), Staging ของ breast และ colorectal cancer (สำหรับ oncologist และ surgeon) และหัวข้ออื่น ๆ อีกเยอะ

น่าสนใจดีครับ เพราะผลมันออกมาขัดกับความเชื่อคนทั่วไปว่าหมอแก่ ประสบการณ์สูง น่าจะรักษาคนไข้ได้ดีกว่า

ที่เอามาล่าสู่กันฟัง ไม่มีเจตนาแย้งอะไรกับหมอรุ่นเก่านะครับ แค่ต้องการให้เห็นความสำคัญของ CME และมองหมอรุ่นใหม่ ๆ ในด้านนี้บ้างครับ (อ่อนประสบการณ์หน่อย แต่ความรู้ดีครับ )


Posted by : med , Date : 2005-02-19 , Time : 08:58:14 , From IP : 61.19.150.150

ความคิดเห็นที่ : 1


   เราสามารถ download full-text ของ paper นี้ได้จากฐาน e-journal ของคณะฯ ผมว่ามีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน section methodology และในส่วน discussion

ประการแรก quality of care หรือสิ่งที่ต้องการวัดนั้นเป็นนามธรรม นามธรรมนั้นวัดยาก หมายความว่าจำเป็นต้องเอา surrogate outcomes หรือ proxy มาวัด โดยหวังว่า parameter เหล่านี้จะสะท้อนผลที่ต้องการวัดได้

ประการที่สอง การแปลผลต้องคำนึงถึง "กลไก" หรือ mechanism ของ parameter ที่ใช้ว่าสามารถอธิบายออกมาอย่างที่แปลจริงๆ ใน่นี้ได้แก่ experience นั้นจะเกี่ยวกับ deterioration ของความรู้ หรือจริงๆแล้วคือการไม่ได้ catch up สิ่งที่พึ่งสรุป พึ่งสอน พึ่งค้นพบในระยะหลัง เพราะสองอย่างนี้มีนัยไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นอย่างแรกเรียกว่า "ความถดถอยขอความสามารถในการรับรู้ตามวัย ตามเวลา" แต่อย่างหลังคือ "การขาด skill ในการทำ continuous medical education

ประการที่สาม paper นี้จริงๆได้อภิปรายด้าน confounders และ bias ในการ design หลายอย่าง และข้อสรุปนั้นผมว่าไม่ได้เหมือนอย่างที่สรุปข้างต้นซะทีเดียว

============================================

ประเด็นหัวข้อที่นำมาใช้เป็น parameter เพื่อแสดง quality of care ใน paper นี้ได้แก่ 1. knowledge, 2. adherence to standard practice for Dx screen and prevention, 3. adherence to standard of appropriate therapy, และ 4. outcome of treatment

ปัญหาคือ จะเอาอะไรมาเป็น key index ของแต่ละอย่าง และอีกอย่างคือที่ว่า standard หรือ guidelines ที่เป็น metaanalysis, systematic review, หรือ available proved evidence level Ia นั้นมันเพิ่งมีมานานแค่ไหน ถูกสอนในโรงเรียนแพทย์ตอนช่วงไหน และ available ให้แก่ Public หรือหมอรุ่นเก่าที่จบไปแล้ว 20 ปีจากแหล่งใดบ้าง ความสามารถในการ access ต่อแหล่งต่างๆเหล่านี้ หรือ computer competency gap เป็นเช่นไร

และที่ควรคำนึงก็คือ ในประเด็นที่ยัง ไม่ได้มีการศึกษา ออก guildeline ระหว่างแพทย์ที่มีประสบการณ์มากๆ กับแพทย์ที่พึ่งจบใหม่ใครจะ handle issues ที่เป็น controversy หรือข้อมูลไม่ครบ ไม่มี เหล่านี้ได้ดีกว่ากัน คิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่กับเรื่องที่มี guildelines เรียบร้อยแล้ว?

ในบรรดาการศึกษา 62 papers มี pattern หนึ่งที่น่าสนใจคือ concave apperance ที่ quality ที่วัดจะเพิ่มขึ้นช่วงหนึ่งก่อน ถึง peak แล้วค่อย drop ลงตามเวลาที่ยาวออกไปของอายุหรือ experience ที่เพิ่มขึ้น น่าเสียดายที่ pattern ที่ว่านี้พบแค่ 2 จากทั้งหมด แต่ความหมายถ้าแปลตรงๆ ทื่อๆ เลยจากการศึกษามากกว่า 50% ของ review นี้ก็คือ peak performance ของแพทย์ที่ดีที่สุดคือบรรดา "หมอจบใหม่" ทั้งหมดนี่แหละ เพราะหลังจากนั้นหมอจะเริ่ม decay เน่าสลายลง พอแปลออกมาแบบนี้ทำให้เราต้องรีบกลับไป check ดูว่า methodology มันชักจะยังไงๆแล้ว

===========================================

โชคดีที่ recommendation หลังสรุปออกมาเป็นการเน้นที่ความจำเป็นถึงความสำคัญในการทำ continuous medical education ครับ เพราะเรามีข้อมูล และ guildeline ที่ถูกรวบรวมในภายหลังมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลเหล่านี้ควรจะทำให้อยู่ใน format ที่ accessible ต่อแพทย์ทั้วๆไป และแพทย์ทั่วๆไป (ไม่ว่าจะจบตอนไหน) ก็จะมีปัญหาเช่นเดียวกันถ้าไม่ได้ทำ continuous education นี้ ความแตกต่าง ไม่ใช่อยู่ที่ความนานของการจบแพทย์ อีกต่อไป แต่อยู่ที่ willing to continue education of individual แทน

อีกประการที่การศึกษานี้ต้องทำตลอดการวิเคราะห์คือลบปัจจัยด้าน expert ออกก่อน เพราะแพทย์ที่จบมานานๆหลายท่าน ไม่ได้เป็น GP แต่เป็นแพทย์เฉพาะทาง ปัญหาด้าน general ท่านตอบไม่ได้ก็จริงแต่ ปัญหาใน field ของท่าน ท่านอาจจะเป็น world authority อยู่ก็ได้ นั่นคือถ้าใครมีปัญหานี้มาปรึกษาท่าน ก็จะได้รับการดูแลแนะนำที่ดีที่สุด (เผลอๆดีกว่า standard guidleine !!!)

Updated knowlegible นั้นไม่ใช่ default หรือ status quo ของแพทย์จบรุ่นไหนๆก็ตาม แต่เป็นคุณสมบัติที่ acquire มากๆครับสำหรับแพทย์รุ่นไหนๆก็ตาม







Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-19 , Time : 18:15:48 , From IP : 203.156.59.119

ความคิดเห็นที่ : 2


   อิอิ

Posted by : """ , Date : 2005-02-20 , Time : 01:25:36 , From IP : 172.29.4.173

ความคิดเห็นที่ : 3


   

Posted by : smb , Date : 2005-02-20 , Time : 01:28:58 , From IP : 172.29.4.173

ความคิดเห็นที่ : 4


   รูป อา รัย ลา น่าน

Posted by : bfy , Date : 2005-02-20 , Time : 01:37:01 , From IP : 172.29.4.164

ความคิดเห็นที่ : 5


   

Posted by : ... , Date : 2005-02-20 , Time : 09:37:34 , From IP : 172.29.3.247

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<