ความคิดเห็นทั้งหมด : 7

หมอชี้ท้องอืด-ที่แท้ ไส้ติ่งแตก ดช.ดับ-พ่อโร่แจ้งจับ


   หมอชี้ท้องอืด-ที่แท้ ไส้ติ่งแตก ดช.ดับ-พ่อโร่แจ้งจับ


โวยลั่นวินิจฉัยโรคผิด ปล่อยให้ทรมานอยู่3วัน พอทรุดก็กู้ชีวิตไม่ไหว!

ด.ต.แจ้งความเอาผิดร.พ.วชิระภูเก็ต วินิจฉัยโรคผิดทำให้ลูกชายเสียชีวิต เผยลูกชายวัย 9 ขวบ นักเรียนชั้นป.3 ปวดท้องอย่างรุนแรง พาส่งร.พ.หมอเอกซเรย์แล้วบอกกับญาติว่าเป็นโรคท้องอืด-ท้องผูกธรรมดา สั่งยาสวนทวารมาให้ เมื่อมาถึงบ้านก็ทำตามที่หมอสั่ง แต่ลูกก็ไม่หาย กระทั่งปวดท้องอย่างหนัก จึงพาไปหาหมอที่ร.พ.เดิม แต่คราวนี้หมอคนใหม่นำเข้าห้องผ่าตัดด่วน ระบุว่าไส้ติ่งแตก กระทั่งเสียชีวิตในเวลาต่อมา พ่อโวยหมอวินิจฉัยโรคผิด แจ้งตร.ดำเนินคดี ส่วนผู้บริหารร.พ.วชิระภูเก็ต อ้างกำลังสอบสวนหาสาเหตุอยู่

เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ด.ต.วิญญู บุญมี อายุ 43 ปี เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน สภ.อ.เมืองภูเก็ต อยู่บ้านเลขที่ 323/171 ถนนเยาวราช อ.เมือง จ.ภูเก็ต เข้าแจ้งความกับร.ต.ท.อภิชาติ เรนชนะ ร้อยเวรสภ.อ.เมืองภูเก็ต ให้ดำเนินคดีกับร.พ.วชิระภูเก็ต ว่ากระทำการโดยประมาท ทำให้ด.ช.กัมปนาท บุญมี อายุ 9 ขวบ นักเรียนชั้นประถม 3 ลูกชายของตนเสียชีวิต

ด.ต.วิญญูกล่าวว่า เมื่อวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา ด.ช.กัมปนาทมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง นางสายหยุด ภรรยาของตนจึงนำตัวเข้ารักษาที่ร.พ.มิชชั่นภูเก็ต ในเบื้องต้นแพทย์ระบุว่ลำไส้อักเสบและให้ยากลับมารับประทานที่บ้าน แต่ด.ช.กัมปนาทยังคงปวดท้องอยู่ ต่อมาวันที่ 9 ก.พ ก็ปวดหนักกว่าเดิม พวกตนจึงนำตัวส่งร.พ.วชิระภูเก็ต เมื่อเวลา 23.00 น. แพทย์ได้ส่งตัวเข้าห้องเอกซเรย์ ซึ่งแพทย์หญิงที่รับตัวไว้บอกกับญาติว่าเป็นโรคท้องอืดหรือท้องผูก และสั่งยาสวนทวารให้มาเมื่อกลับมาถึงบ้านญาติได้สวนทวารมีอุจจาระไหลออกมาเพียงเล็กน้อยและให้นอนหลับพักผ่อน

ด.ต.วิญญูกล่าวว่า ต่อมาวันที่ 10 ก.พ. ภรรยาโทรศัพท์ไปบอกว่า ด.ช.กัมปนาทปวดท้องอย่างหนัก จนเวลาประมาณ 23.00 น. ก็นอนหมดเรี่ยวแรงอยู่บนเตียง ตนเอะใจจึงนำตัวไปร.พ.วชิระภูเก็ตอีกครั้ง ซึ่งแพทย์เวรคนใหม่ส่งตัวเข้าห้องพิเศษ โดยด.ช.กัมปนาทมีอาการปวดท้องทั้งคืน จนรุ่งเช้าวันที่ 11 ก.พ. แพทย์มาบอกว่าต้องเข้าห้องผ่าตัดด่วนเพราะมีแผลในกระเพาะอาหาร โดยเข้ารับการผ่าตัดเมื่อเวลา 14.00 น. ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง หลังผ่าตัดแพทย์มาบอกว่า ดช.กัมปนาทไส้ติ่งแตก และส่งตัวเข้ารักษาที่ห้องไอซียู แต่อาการทรุดหนักลงเรื่อยๆ จนกระทั่งเวลา 20.00 น. ก็เสียชีวิต

ด.ต.วิญญูกล่าวว่า หลังจากลูกชายเสียชีวิต ทำให้ทางญาติๆ ไม่พอใจ ถือว่าเป็นความผิดพลาดของแพทย์ที่วินิจฉัยอาการผิดตั้งแต่ต้นจึงให้ตนเข้าแจ้งความให้ดำเนินคดีกับร.พ.วชิระภูเก็ต เพราะหากวินิจฉัยว่าปวดท้องเพราะไส้ติ่งตั้งแต่แรกคงรักษาทันไม่ใช่ปล่อยให้ไส้ติ่งแตกตายเช่นนี้

ภายหลังรับแจ้งความเจ้าหน้าที่เดินทางไปชันสูตรพลิกศพ ด.ช.กัมปนาท ที่ร.พ.วชิระภูเก็ต พบว่าในบันทึกแพทย์ระบุสาเหตุการเสียชีวิตว่าเกิดจากอาการไส้ติ่งแตก เมื่อตำรวจสอบถามหารายชื่อแพทย์ที่รักษาตัว เจ้าหน้าที่ร.พ.พยายามบ่ายเบี่ยงบอกให้ติดต่อผู้บริหารเอง ซึ่งต่อมาได้มีผู้บริหารร.พ.คนหนึ่งมาพูดคุยกับญาติ โดยกล่าวว่ายังอยู่ระหว่างการสอบสวนหาสาเหตุว่าการเสียชีวิตของด.ช.กัมปนาท เป็นเพราะความบกพร่องของแพทย์หรือไม่ แล้วจะเข้าให้ปากคำต่อไป

ที่มาจากหนังสือพิมพ์


โดย : dbzthai
อีเมล์ :
วันที่ : 2005-02-13 09:24:41



ปล. เอามาให้อ่านกันนะ เจอใน mthai จ้า


Posted by : หมูตุ๋น , Date : 2005-02-14 , Time : 12:00:00 , From IP : p39-rasskalf1.S.cslo

ความคิดเห็นที่ : 1


   เอามาโพส เองก็ ขอ ซักหน่อยละกันนะ..อ่านเจอ แล้วมันทำให้เราหดหู่มาก
เห็นใจทั้งสองฝ่าย เพื่อนๆคนอื่นคิดไงกันบ้าง

ไส้ติ่งในเด็ก อายุ 9 ขวบนี่ diag ยากมากรึเปล่าอันนี้ไม่รู้นะ แต่เท่าที่ความรู้มีอยู่ตอนนี้ เราคิดว่า เวลาเด็กปวดท้องมันเป็นปกติ อยู่แล้วที่เค้าจะบอกอาการเรายาก ว่าปวดตรงจุดไหนกันแน่ ....แต่ หมอ ก็ ไม่น่าจะบกพร่องนะ ควร ส่ง lab กับ ให้รอดูอาการก่อน ไม่น่าจะปล่อยกลับบ้าน ทั้งๆ ที่ยังปวดมากแบบนี้

อีกอย่าง ความสัมพันธ์ กับญาติ ก็สำคัญมาก เราว่าเป็นอะไรที่เรียนรู้ ในตำราไม่ได้ ต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ จริงๆ ถ้าใช้เวลาชี้แจง ญาติให้เข้าใจ เกี่ยวกับโรคที่เป็น ซักนิด ปัญหาฟ้องร้องคงน้อยลงเยอะ

หมอไม่ใช่ฆาตกรโดยสันดาน......ถ้า ทำคนตายขึ้นมาจริงๆ เราว่า ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในใจ ก็ฆ่า เค้าให้ตายทั้งเป็นอยู่แล้วอ่ะ กฏหมายเอาผิดซ้ำอีก สังคมประนาม อีกเฮ้อ ..... หนักใจๆ จะพยายามเป็น หมอที่ดี ผิดพลาดน้อยที่สุดละกัน ...





Posted by : หมูตุ๋น , Date : 2005-02-14 , Time : 12:00:00 , From IP : p39-rasskalf1.S.cslo

ความคิดเห็นที่ : 2


   ประเด็นที่ "เรียนได้"จากข่าวที่รากฏทางหน้าหนังสือพิมพ์ในเรื่องนี้มิใช่ ใครผิดใครถูก หรือทำไมมาประนามแพทย์ สิ่งที่น่าเรียนในเรื่องของเด็กปวดท้องที่ผมพอจับได้จากข่าว และตรงกับประสบการณ์ของตนที่ทำเวชปฎิบัติมาก็คือ
ก. การเปลี่ยนสถานพยาบาล เมื่อการวินิจฉัยแรกเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อย และหาก "ผู้วินิจฉัยที่สอง" ฉุกคิดว่าการปวดท้องนั้นได้ดำเนินมานานระยะหนึ่งแล้ว ทวีความรุนแรงขึ้น และไม่สามารถทำให้ทุเลาด้วยยาแก้ปวดจากสถานพยาบาลแรก สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็น "ธงแดง" ที่เตือนให้ความระมัดระวังกับการวินิจฉัยให้มากขึ้น
ข. เมื่อมี "ธงแดง" พยายามไม่ด่วนที่จะโยนการวินิจฉัยลงไปใน "ลำไส้อักเสบ" ซึ่งเป็นตระกร้าใบใหญ่ของการวินิจฉัยที่จริง ๆ แล้วมีความหมายว่า "หมอก็ไม่รู้เป็นอะไร ลองกินยาและใช้เวลาดู"
ค. หากเราจะหมายความ "ลำไส้อักเสบ" ว่าหมายถึง "acute gastroenteritis" ให้พึงรู้ไว้ว่า acute gastroenteritis กับ acute appendicitis ในเด็กนั้น มี อาการและอาการแสดงในระยะต้น เหมือนกันทุกประการ
ง. plain abdominal x-rays มิใช่การสืบค้นที่ดีในการวินิจฉัยเด็กปวดท้อง และนั่นรวมไปถึงการส่งตรวจ CBC UA เหล่านี้มิใช่การวินิจฉัยที่สามารถ exclude โรคได้ แบบตัดขาด ความหมายของ CBC ในกรณีที่มีการเพิ่มของเม็ดเลือดขาวและมีการ shift ของ PMN บอกเพียงแค่อาจมีการอักเสบติดเชื้อ ในกรณีที่ไม่มีการเพิ่มของเม็ดเลือดขาว อาจลดความน่าจะเป็นของไส้ติ่งอักเสบ แต่ไม่แยกโรค
.
ในความเห็นส่วนตัวของผม การส่งตรวจปัสสาวะไม่มีประโยชน์ใด ๆ ในกรณีเด็กปวดท้องเฉียบพลัน
.
ในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ การส่งตรวจที่มีความจำเพาะพอสมควรในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบคือ การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasonography) การส่งตรวจดังกล่าวนี้ความไวอาจไม่สูงนัก การส่งตรวจทางรังสีที่ถือเป็นมาตรฐานทองในปัจจุบันคือ CT scan อย่างไรก็ตาม การส่งตรวจดังกล่าวเมื่อคำนึงถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคม ไม่ใช่การส่งตรวจที่เหม่าะสมสำหรับการวินิจฉัยทั่ว ๆ ไป
จ. เครื่องมือที่ดีที่สุดในปัจจุบันยังเป็น awareness
ฉ. ในกรณีที่จะบอกเขาว่า "หมอสงสัยว่าลูกคุณเป็นลำไส้อักเสบ หมอให้ยาบรรเทาอาการปวดท้องไปกิน" กรุณาพูดต่อว่า "หากอาการไม่ดีขึ้นใน 6-8 ชั่วโมง ขอให้คุณพาเด็กมาให้หมอดูอีกสักครั้ง" และจดที่คุณพูดนั่นลงไปในเวชระเบียนด้วย
ช. หากมีธงแดงอื่น เช่น ไข้สูง อาเจียนมาก ถ่ายออกเลือด ฯลฯ กรุณาอย่าลังเลที่จะขออนุญาตผู้ปกครองนำผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการ ผมมักจะใช้ "เวลา" เป็น diagnostic tool อย่างหนึ่ง และเชื่อว่ามันมีความไว ความจำเพาะ และความปลอดภัยสูงที่สุด

ยินดีแลกเปลี่ยนต่อเรื่องเด็กปวดท้องครับ แต่ไม่รับคุยเรื่องปัญหารายป่วยที่ภูเก็ต เนื่องจากไม่มีข้อมูลและไม่ใช่เรื่องสุภาพที่จะไปวิพากษ์ใครย้อนหลังเลยครัีบ เพียงแต่อยากเอาประเด็นนี้จับให้มาเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษา
.
http://www.psu.ac.th/kidsurgery/CAIped/l10.HTM


Posted by : Shonigega , Date : 2005-02-14 , Time : 17:53:33 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 3


   เข้ามาเรียนรู้ด้วยคนครับ

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับ ฉ. (เผื่อไว้ไม่เสียหาย)

ท่านพี่มีคำแนะนำน้องๆ เกี่ยวกับ medical record ในกรณีที่เด็กปวดท้องนี้เพิ่มเติมหรือเปล่าครับ


Posted by : OmniSci , Date : 2005-02-14 , Time : 21:24:43 , From IP : 172.29.7.107

ความคิดเห็นที่ : 4


   ผมเห็นด้วยครับ ที่เราสามารถเรียนรู้จาก case นี้ได้มาก
และไม่ควรวิจารณ์ทั้งที่ไม่มีข้อมูล เราไม่ได้อยู่ในสถานการณ์จริง
เด็ก 9 ขวบ ไม่เด็กไปที่จะบอกข้อมูลบางอย่างหรอกครับ
----------------------------------------------------------
1. ฟังคนไข้ให้มากขึ้น
2. พูดเรื่องที่ตัวเองรู้และอยากบอกให้น้อยลง
แต่พูดเรื่องที่คนไข้ต้องการรู้ และอยากฟังให้มากขึ้น
3. อย่ารักษาแค่ตามอาการ แต่ต้องรักษาที่สาเหตุ และสืบหา
ให้ดีก่อน จะบอกว่า "ไม่มีอะไร ไม่ต้องกังวล"
4. การ advice สังเกตอาการต่อ และการปฏิบัติตัวเบื้องต้น เป็นสิ่งจำเป็น
5. ทุกครั้งที่รักษาคนไข้ ต้องรักษาญาติด้วยเสมอ
----------------------------------------------------------
นี่คือสิ่งที่ผมได้จากข่าวนี้ และขอฝากที่สำคัญที่สุดไว้อีก 2 ข้อ
1. อย่าประมาท ให้คิดว่าทุกสิ่งสามารถเกิดได้เสมอ เพียงแต่จะเกิดเมื่อไหร่
เท่านั้น
2. เมื่อสิ่งนั้นเกิดแล้ว จงมีสติ ตั้งสติให้มั่น เพื่อคุมและแก้ปัญหา
ทุกปัญหามีทางออกเสมอ.....



Posted by : Jugusleang , Date : 2005-02-14 , Time : 21:27:39 , From IP : 172.29.3.119

ความคิดเห็นที่ : 5


   you are the best pediatric surgern.Mr Shonigega

Posted by : momi , Date : 2005-02-15 , Time : 01:10:30 , From IP : 172.29.7.86

ความคิดเห็นที่ : 6


   การ บันทึกเป็นสิ่งสำคัญนะ ยิ่งตอนนี้เห็นหลายท่านที่ว่างเว้นจากการบันทึกมานาน ทำไมพยาบาลต้องเขียนอาการของคนไข้ทุกวัน แล้วทำไมหมอมาดูคนไข้ทุกวันแล้วไม่บันทึกล่ะ เป็นประโยชน์ต่อการที่คนอื่นจะมาดูแลต่อนะ อย่าคิดว่าไม่สำคัญนะ ขอชื่นชมหมอ อัสมา อรชุมา ทีปวิทย์ อรรถพล อ.พิสุทธิ์ อ.บุญจริง และหลายคนที่ไม่ได้เอ่ยถึง ปฏิบัติตัวด้านการบันทึกได้ดีค่ะ น่าเอาเป็นเยี่ยงอย่างนะคะ

Posted by : jj , Date : 2005-02-18 , Time : 19:32:25 , From IP : 172.29.1.151

ความคิดเห็นที่ : 7


   ถึงคุณหมูตุ๋น ขอโทษนะถ้าจะถามว่า เพิ่งจบมาหรือเปล่า เราว่าคุณไม่น่าจะตำหนิว่าเป็นความบกพร่องของหมอคนนั้นนะ
เพราะคุณก็ยังไม่ทราบสถาณการณ์ที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร ที่แม่บอกว่าปวดมาก เราฟังเองก็ยังไม่รู้เลยว่าจริงๆแล้วปวด
มากแค่ไหน เพราะโดยปกติแล้วการให้ข่าวมักจะพยายามบอกว่าหมอพลาดแทรกอยูในคำพูดแต่ละคำ เหมือนเป็นข้อกล่าวหา การที่เรามามอง
case ย้อนกลับไปเช่นนี้ก็เป็นที่ได้เปรียบอยู่แล้ว , ในชีวิตความเป็นหมอทุกคนย่อมมีความผิดพลาดได้เสมอ ทุกอย่างไม่
ตรงไปตรงมาเหมือนในตำราเรียนหรอก และทุกคนไม่อยากผิดพลาด เราเชื่อว่าทุกคนที่เป็นหมออยู่ในทุกวันนี้อยู่ด้วย
ความหวาดกลัวส่วนนึง เพราะทุกๆ diagnosisหรือ procedure มีโอกาสมาพร้อมกับความผิดพลาดเสมอ
ขอยกตัวอย่าง 1 case (เพิ่งเจอเมื่อ~ 1 เดือนผ่านมา) ผู้ป่วยชาย อายุประมาณ 15 ปี ขับ MC ล้ม สลบประมาณ 3 นาที ไป
รพ. ชุมชน แรกรับ GCS 15 มีแผลถลอกที่หน้าเล็กน้อย soft tissue no swelling ,no associated injury อย่าง
อื่น มีอาการปวดหัวอย่างเดียว(ไม่ทราบ pain score) ได้ admit observe neuro sign 24 hr ให้กลับบ้าน บิดาไม่สบายใจที่ลูกอาการปวดหัว
ไม่ดีขึ้น จึงพาไป CT - brain รพ.เอกชน หลังกลับจากรพ. พบเป็น epidural hematoma -ทำ craniotomy evacuate
clot ต่อ ------เราขอยกตัวอย่างเป็น case study สำหรับคนที่มาอ่านแล้วกันนะ คำว่าปวดหัวไม่ดีขึ้น-มักจะเจอ
ได้บ่อยๆใน case neuro ที่มานอน observe [ diag: cerebral concussion ] ~50% (สำหรับชาวบ้านแถบนี้)
เราเองก็เป็นหมอเพิ่งจบมาเหมือนกันอยู่ในรพ.ใหญ่ เจอ case missed diagnosis หลาย case เหมือน
กันแต่ไม่เป็นข่าว บาง case ต้องอาศัยระยะเวลาจริงๆถึงจะ diag ได้ ซึ่งหมอคนแรกๆก็ไม่ผิดหรอก การ admit observe
อาการ ในรพ.ใหญ่ๆไม่ใช่เรื่องง่าย การให้กลับไป obeserve อาการที่บ้าน โดยญาติและ pt accept ก็ไม่ใช่ของง่าย
เหมือนกัน เช่น เวลาบอก pt หรือ ญาติว่า หมอคิดว่าอาการของผู้ป่วยเหมือน โรคลำไส้อักเสบมากที่สุดแต่ยังไงก็ยังมีโอกาส
เป็น ไส้ติ่งอักเสบได้อยู่ แต่โอกาสที่จะเกิดน้อย ช่วงแรกอาการทั้งสองโรคมักมาด้วยอาการเดียวกันได้ อยากให้กลับไป
สังเกตุอาการที่บ้านต่อ ถ้ามีอาการดังนี้ 1-2-3 ...ให้มาพบแพทย์ ------ หลังจากนั้นมักได้รับคำตอบกลับมาว่า
และทำไมไม่นอนสังเกตุอาการในรพ. ล่ะ อธิบายไปซักกี่เหตุผลก็เหมือนกับญาติจะไม่เข้าใจ เพราะเหตุว่าโรคที่เราสงสัย
อันดับ 2 มันดูน่ากลัว .....ขอยกตัวอย่างเพียงเท่านี้นะ


Posted by : Schizophrenia , Date : 2005-03-06 , Time : 05:04:19 , From IP : 203.156.50.38

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<