ความคิดเห็นทั้งหมด : 19

Debate LXXXIII: The Pride of PSU


   เมื่อเร็วๆนี้มีคนโยนคำถามนี้มา (ท่ามกลางห่าลูกเห็บ หิมะ สายฝน) ผมว่าน่าสนใจ และน่าหาคำตอบ ไปๆมาๆความสำคัญของคำถามนี้เกือบจะเรียกได้ว่าเป็น "รากแก้ว" ของวัฒนธรรมองค์กรของเราทีเดียว

วัฒนธรรมองค์กรนั้นป็น "คุณค่าภายใน" หมายถึงไม่ได้อยู่กับโครงสร้าง ทำเล เสียงตามสาย หรือชุดเครื่องแบบ เป็นสิ่งที่เวลาสมาชิกในองค์กรเกิดความรู้สึกหลงทาง สามารถยึดเป็นห่วงชูชีพ ยึดเป็นหลัก เกาะพัก หายใจให้หายเหนื่อย แล้วก็เดินทางต่อไปได้

มอ. เราอยู่ในภูมิประเทศที่ unique หลายด้าน อยู่ในสถานการณ์ที่ unique หลายด้าน อยู่ใน "ยุค" ที่ unique หลายด้าน จะมองมันเป็นอุปสรรคก็ได้ หรือจะมองมันเป็นความท้าทายก็ได้ เพราะความสำเร็จบนอุปสรรคเหล่านี้มันมีความหมายยิ่งนัก

สมาชิกชุมชน (ที่เราปวารณาตนมา "รับใช้") ของเรามีหลายเชื้อชาติและศาสนา หลายความเชื่อ อยู่ในบริเวณที่ Prone ต่อมหาอุบัติภัยนานาชนิดทั้งธรรมชาติและมนุษยชาติ เราอยู่ห่างไกลจาก "ตลาด" นักเรียนมัธยมที่เกรดสูงๆ หรือมีสภาพแวดล้อมที่พร้อมมูลกว่า เรามีงบประมาณที่ต้องรัดเข็มขัดจึงจะอยู่ริอดขณะที่คนอื่นเก็บแค่ค่าเช่าที่จอดรถก็พอมีเงินส่ง staff ไปเมืองนอกได้อย่างไม่จำกัด อุปสรรคเหล่านี้ไม่ใช่อุปสรรคเล็กน้อย ในฐานะของสมาชิกองค์เราต้องการคนที่ serious จริงจัง และตั้งใจจริงจัง และมีความต้องการ มี "คุณค่า" ร่วมกันทำงาน เราจึงจะมีโอกาสที่จะบรรลุความสำเร็จ

โชคดีที่ปรัชญาวิชาชีพของเรา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อชาติศาสนาความเชื่อ เพราะคุณภาพชีวิตเป้นความต้องการสากล มหาอุบัติแบบไหนๆเกิดมาก็มีทางแก้ที่เป็นหลักการเหมือนๆกัน บัณฑิตที่เราต้องการจะผลิต คุณภาพที่แท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเกรด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ computer skill หรือ knowledgable of fashion รุ่นล่าสุดของมือถือ ของ PDA และอาชีพเรานั้นอยู่ได้เองโดยที่เงินเป็นเป้าหมายรองได้ เราก็ยังสามารถ "survive" โดยมี morality intact

แต่ก่อนอื่นเราคงมาตีโจทย์ให้แตกก่อน อย่างคำถามที่มีคนถามข้างต้นว่า ตกลงความภาคภูมิใจของบัณฑิต มอ. อยู่ที่ไหน อยู่ที่เสื้อคอปกสามชั้น ที่ขลิบขอบกระโปรง ที่ปลาโลมาหน้าตึก ที่ตึกของเราสีแดง หรืออย่างไร? จากทรัพยากรที่เรามี เราจะ distinguish ตัวเองได้โดยอะไร? ประกาหนึ่งคือการที่ใครจะ stand out ออกมาจากกลุ่มได้ อาจจะต้อง think out of the box เพราะอะไรที่มัน in-trend คนอื่นที่เขามีทรัพยากรมากกว่า พร้อมมากกว่าก็แย่งไปทำหมดแล้ว

กลับมาที่ย่อหน้าสอง ผมกำลังคิดว่า "คุณค่าภายใน" ที่ว่านี้อาจจะเป็นคำตอบที่เราแสวงหาก็ได้ เดี๋ยวนี้ดูเหมือนการราวน์บน ward มันไม่ค่อย in-trend เท่านั่งเคาะ keyboard จากหอพัก ความสามารถในการอ่าน non-verbal ของผู้ป่วยดูจะเป็น lost art เพาะมันไม่ชัดเจน download ได้อย่าง pdf file ศิลปการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ผู้รับคำสั่ง ผู้จ้าง ครู ลูกศิษย์มันเบลอๆ ไม่ cool เหมือนกับการที่ทุกคน "เท่ากันหมด" กิริยามารยาทเป็นของฟุ่มเฟือยทั้งเวลาและน้ำลาย aggressive แสดงออกถึงอำนาจ ความเก่งกล้าสามารถ ความนอบน้อมถ่อมตนมีไว้เพื่อให้อีกฝ่ายขย่มใส่ต่อ

แต่มันไม่ค่อย work นะผมว่า

ถ้ามันไม่ work ผมว่าเราน่าจะลองอีกอย่างดูดีหรือไม่ บัณฑิตที่ไหนๆจะเป็นอย่างไรก็ช่าง ของเราเอาที่วันๆเฝ้า ward พูดคุยอยู่เป็นเพื่อนคนไข้ รักคนไข้ ทำงานร่วมกับพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล นักกายภาพ สามารถมีปฏิสัมพันธ์อันดีกับคนทุกระดับ พูดจาได้สุภาพนอบน้อมถ่อมตน เร่งพัฒนาวิชาการของตนเองเพื่อประโยชน์คนไข้ ไม่ต้องเน้นเกรด ไม่ต้องเน้นชุด ไม่ต้องเน้นการแข่งขันชิงรางวัล

อาจจะไม่ค่อย cool เท่าไหร่ แต่อาจจะ work ก็เป็นได้

เห็นว่าอย่างไรครับ

Be mature, Be positive, and Be civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-07 , Time : 20:04:51 , From IP : 172.29.7.247

ความคิดเห็นที่ : 1


   พูดถึง pround ในฐานะที่เป็นบัณฑิตจากม.อ. หรือว่าตัวตนของตัวเองล่ะครับ

เป้าหมายในฐานะโรงเรียนแพทย์ ย่อมเป็นแพทย์ที่มีคุณภาพและเป็นมาตรฐาน และสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้
บัณฑิตที่จะได้ตามความต้องการนี้ จึงต้องมีใจที่เข้าถึงจุดประสงค์หลักนี้ และมีความต้องการไปในทางเดียวกัน หรือทางสถาบันก็ต้องปลูกฝังให้เข้าถึงและพร้อมทั้งกายใจ

ผมว่าสถาบันเรามี pride และบัณฑิตที่ได้เรียนรู้แก่นนี้จากสถาบันก็ย่อมที่จะ pround ในตัวเองและสถาบันเป็นแน่

การที่จะทำอย่างที่คุณ Phoenix บอก(แล้วเห็นว่า work)นั้น ผู้เล่าเรียนก็ต้องมีจุดประสงค์ของตนเองที่เข้ามาเรียนเหมือนกับของทางสถาบันที่เขาตั้งใจให้เราเป็น

ถ้านั่งพิมพ์คอม เข้า internet อย่างเดียวไม่ดูคนไข้ ต่อไปเราก็จบเป็น webmaster ไม่ใช่แพทย์แล้วล่ะครับ (ซึ่งก็คงจะ pround ในตนเอง แต่สถาบันนี่...คงไม่)



Posted by : ArLim , Date : 2005-02-08 , Time : 04:57:15 , From IP : ppp-210.86.142.220.r

ความคิดเห็นที่ : 2


   วัฒนธรรมจะเกิดขึ้นได้คงต้องช่วยกันทั้งทางสถาบันและสมาชิกองค์กร ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำข้างเดียวก็คงไม่ work

จะเป็นเพราะ LO มันล้นหลาม เวลามันจำกัดหรืออย่างไร แต่การที่นักศึกษาสามารถเปิดอภิปรายเรื่อง "คุณค่า" ที่เป็นนามธรรม ที่เป็นเรื่องภายในอย่างจริงจังใน session ต่างๆน่าจะเกิดประโยชน์ได้บ้าง เพราะเรากำลังพูดถึงเรื่อง "เจตคติ"

"เจตคติ" นี่จะเกิดขึ้นมันคล้ายๆ psychomotor เหมือนกันตรงที่มันไม่เกี่ยวกับ "การรู้" แต่เกี่ยวกับ "ความซาบซึ้ง" คล้ายๆที่คุณ ArLim บอกคือเหมือนกันศึกษาศาสนาพุทธแบบ scholar กับแบบพุทธมามกะนั่นแหละ คือข้อสำคัญนอกเหนือจากท่องบ่นแล้ว (ส่วน cognitive) ต้องใคร่ครวญปฏิบัติ และ observe ผลแห่งการกระทำนั้นๆอย่าง serious ๗ริงจัง ขั้นตอนการ critical reflect ผลแห่งการกระทำนี้แหละสำคัญ เป็นอะไรที่เพิ่มมาเหนือจากแค่ "กระทำเป็น routine" ซึ่งตรงนั้นมันจะได้ psychomotor เช่น ไหว้ได้สวยงามเพราะทำทุกวัน โค้งได้สวยงามเพราะทำทุกวัน คุยกับผป.ได้ทุกรูปแบบเพราะทำทุกวัน แต่เจตคติที่แท้จริงยังไม่เกิดถ้าตอนเราไหว้เรายังไม่ได้รู้สึกเคารพนบนอบคนที่เราไหว้ รู้สึกผูกพันนับถือคนที่เราโค้ง หรือสามารถอ่านคนไข้และหยิบกระดาษ tissue ส่งให้เพราะทราบว่าคนไข้กำลังจะร้องไห้อยู่ ณ วินาทีต่อไป

เจตคติจะเกิดขึ้นจากการใช้ "ปัญญา" ใคร่ครวญอย่างลึกซึ้งถึงการคิด การแสดงออกทั้งหมด กาย วาจา ใจ ทบทวนว่าทำไปเพื่ออะไร ทบทวนว่าอะไรคือ consequence ที่เกิดขึ้นต่อตัวเรา ต่อครอบครัวว ต่อคนรอบข้าง และสังคม สรุปว่าดีแล้ว น่าสรรเสริญ เป็นมงคล เป็นกำลังใจในการที่จะทำต่อไป ปรับปรุงต่อไป ให้ดีๆยิ่งขึ้นไปอีก เป็นแรงผลักดันที่อยากจะจูงใจ ชักชวนคนอื่นให้กระทำตามเพราะเห็นว่ามันดีงาม มีประโยชน์น่าทำ ตราบใดที่เรายังไม่ได้ใช้ "ปัญญา" ควบคู่กับความชำนาญที่เกิดขึ้นจากงานน routine ของเรา เราจะได้แค่ psychomotor เท่านั้น และอาจจะเข้าใจผิดว่าเราได้เจตคติไปแล้ว ซึ่งยังไม่ใช่

communication technique ต่างๆ ที่เรียนมาเยอะแยะ บางคนก็นำมาใช้ นำมาพัฒนาตนเองได้ดี จะเป็นแค่ psychomotor เท่านั้น ยังไมได้ "ซึม" เข้าไปในระดับจิตใต้สำนึกหรือ express ออกมาได้ว่าทำไมถึงทำยังงั้น มันดีอย่างไร ปัญหานี้อาจจะเกิดเยอะในวัฒนธรรมแห่ง "check-list culture" นั่นคือมีรายการของ "สิ่งที่ดีที่ควรทำ" อยู่ใน log book แล้วก็ทำไปแล้วก็ติ๊กไป เวลาที่จะมา critical appraise มันหดหายไปอย่างน่าตกใจ กิจกรรมดีๆที่เราได้อุตส่าห์ทำไปมันหายหดคุณค่าไปอย่างน่าเสียดาย เพราะเราไม่ได้ซาบซึ้งกับมันอย่างที่เราควรจะได้

อาชีพของเราควรจะเป็น privilege ที่นักศึกษา หมอ พยาบาลกลับบ้านไปอย่างเหน็ดเหนื่อยก็จริง แต่ควรที่เราสามารถจะตักตวง และ "อิ่มบุญ" จากกิจกรรม daily routine ของเราให้ได้ น่าเสียดายมากถ้าเดินไปเดินมาบน ward ทุกวันแล้วไม่มีใครรู้สึกเลยว่าเราได้มีส่วนในการช่วยเหลือคนที่ลำบากเป็นทุกข์ให้ดีขึ้น สบายใจยิ่งขึ้น หรือแม้แต่ "ตายดี" อย่างที่หวังไว้หรือใกล้เคียงที่สุด น่าเสียดายมากที่เราจะมาปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยแล้วสิ่งที่ได้ไปแต่ละวันกลายเป็น dissent ความเหลียด ความไม่พอใจ การทะเลาะเบาะแว้ง การกระทบกระทั่งจากการทำงานร่วมกับผู้อื่นมากระเทือนดวงจิตแห่ง "อิ่มบุญ" ของเรา

เป็นของฟรีที่ตักตวงได้ทุกวันแท้ๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-08 , Time : 06:00:30 , From IP : 172.29.7.30

ความคิดเห็นที่ : 3


   ขอเล่าด้วยคน เป็นเรื่องจริงที่ประสบกับตัวเอง ณ คลินิคอายุรกรรม ดิฉันได้ไปหาหมอโรคหัวใจ ที่หน้าห้องตรวจหลังจากน้องพยาบาลเรียกให้ไปนั่งบนเก้าอี้ซึ่งพร้อมที่จะเข้าห้องตรวจ หลังจากคนไข้ก่อนหน้าดิฉันเดินออกมา ดิฉันก็เดินเข้าห้องตรวจทันที่แล้วนั่งลงบนเก้าอี้ข้างหน้าหมอ

"ใครเรียกคุณเข้ามา " คุณหมอท่านทักทาย
ดิฉันอึ้ง งงมาก ก็เลยตอบไปว่า "ก็เห็นคนไข้ก่อนหน้านี้ออกไปแล้วดิฉันจึงเข้ามา
"ผมไม่ได้เรียก" หมอตอบอีก
"งั้นดิฉันออกไปก่อนนะคะ" หมอท่านไม่พูดอะไร ดิฉันจึงเดือนออกไปนั่งที่เก้าอี้ตัวเดิม ในขณะที่คุยกันนั้นคุณหมอท่านนั่งอ่านแฟ้มประวัติตลอดโดยไม่ได้ละสายตาขึ้นมามองดิฉันเลย

สักพักท่านจึงเรียก "เข้ามาได้" ดิฉันจึงเดินเข้าไปอีกรอบ
จึงได้เริ่มลงมือตรวจ ผลการตรวจวันนั้นจบลงที่ว่า "อาการแบบบนี้ผมไม่เคยเรียนมา คุณเป็นปกติดี " นี่คือคำพูดของหมอ

ดิฉันไม่ได้ติดใจเรื่องการวินิจฉัยโรค แต่ข้องใจเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้ คุณหมอท่านนี้ไม่ใช่หมอจบใหม่ วัยวุฒิพอสมควรแล้ว ช่างสวนทางกับความคิดของคุณ Phonix โดยสิ้นเชิง ก็ได้แต่ภาวนาว่าหมอรุ่นใหม่อย่าเป็นแบบนี้เลย ที่ใช้คำว่า ภาวนา ก็เพราะว่าดิฉันไม่ได้อยู่ในกระบวนการผลิตแพทย์ ก็เลยถือโอกาสฝากเรื่องนี้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

อ้อ! ลืมบอกไปเรื่องหนึ่ง ในวันนั้นคุณหมอท่านนี้ได้เอาใบอ่านผลชิ้นเนื้อ (มีสีเขียว) ซึ่งมีขนาดเท่า กระดาษ A4 มาปะไว้บนหน้าแฟ้มผู้ป่วยด้านหน้าสุด แล้วเย็บด้วย Max ทั้ง 4 มุม หลังจากที่ดิฉันถือแฟ้มออกมาให้ที่เคาน์เตอร์ด้านนอก น้องเขาก็ต้องมานั่งแกะออก เพราะอ่านชื่อคนไข้ไม่ได้

คุณหมอท่านปกติหรือเปล่า ดูพฤติกรรมเหมือนคนโรคจิต แล้วมาเป็นหมอได้อย่างไร ??????

ดิฉันจำชื่อไม่ได้แล้ว แต่จำได้ว่าชื่อของท่านมี 3 พยางค์ และมีอักษร ว อยู่ด้วย
ไม่ได้ตั้งใจจะใบ้แต่จำได้แค่นั้นจริงๆ








Posted by : ขอเล่าด้วยคน , Date : 2005-02-08 , Time : 09:38:25 , From IP : 172.29.7.193

ความคิดเห็นที่ : 4


   อยากให้ อ. Phoenix เอาความรู้ที่เรียนมา มาทำให้คณะแพทย์เราพัฒนาขึ้น มากกว่าที่กระทำอยู่ เสียดายความเก่งของอาจารย์จริงๆๆ

Posted by : เด็กๆ , Date : 2005-02-08 , Time : 12:15:11 , From IP : 172.29.1.241

ความคิดเห็นที่ : 5


   เชื่อเถอะครับว่า ผมได้พิจารณาดูอย่างนานมากแล้วว่เปรียบเทียบกับการที่ผมจะทำ lab ศึกษา transplantation immunology ณ บรรยากาศ งบประมาณประเทศ และเทียบกับงานที่สถาบันหลักอื่นๆกำลังทำอยู่ในขณะนี้ ประโยชนที่ได้ที่เห็นจะเป็นแค่ผมมี paper ส่วนตัวออกมา เอาไว้ขอ ผศ. รศ. อะไรทำนองนั้น ผมคิดว่าจากที่ได้ไปเห็นมา ใน basic science field ถ้าไม่ได้เกี่ยวกับโรคเขตร้อนหรืออะไรที่เป็นของเราเฉพาะ global knowledge น่าจะยากมากที่จะ breakthrough จากห้องทดลองของเรา ณ รพ.ส่วนภูมภาค (ถ้าศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์อาจจะได้)

นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมไปทำ palliative care และงานอื่นๆในขณะนี้เช่น evidence-based medicine, ethics, health promotion เป็นต้น สิ่งที่ผมได้ไปเรียนมาประการหนึ่งคือ การประเมิน ข้อมูลที่เรามี การประเมินความ "คุ้ม" ว่าอะไรคือสิ่งที่เราสามารถจะ "รีด" ประโยชน์จากความรู้ ความสามารถของตนเองได้มากที่สุดภายในเวลา 30 ปีที่เหลือก่อนเกษียณ

ผมสนใจในการประเมินของคุณเด็กๆครับว่า คุณทราบความรู้ความสามารถผมในรายละเอียดขนาดไหน หรือรู้ว่าผมรู้อะไรอยู่บ้างจึงสามารถหาข้อสรุปได้ว่าผมจัดสัดส่วนของความสามารถนั้นไม่ optimal ยินดีที่จะรับฟังการวิเคราะห์แนะนำครับ

คุณเด็กๆสามารถให้การปรึกษาผมเป็นการส่วนตัวก็ได้ ถ้าคิดว่ามันไม่ตรงกับหัวข้อกระทู้ บางทีถ้าสนใจเรื่องการพัฒนาคณะ ผมคิดว่าอย่างน้อยเรา share คุณค่าอะไรบางอย่างร่วมกัน การสนทนาของเราน่าจะสร้างสรรค์ทีเดียว



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-08 , Time : 12:27:49 , From IP : 172.29.3.185

ความคิดเห็นที่ : 6


   เหตุผลที่แท้จริงของการไปเรียนต่างประเทศคืออะไร
มีทางเป็นไปได้ไหมที่เราจะมีความภาคภูมิใจในตนเองและสถาบันอย่างมีเหตุผลโดยไม่ต้องไปเมืองนอก
เราด้อยกว่าเขาจริงหรือ (จริงนั่นแหละ)
before and after ของเหตุผลที่ไป และ ไปกลับมา เหมือนกันไหม
การไปเมืองนอกทำให้เราภูมิใจหรือเปล่า


และ ถ้ากำลังจะต้องไปเนี่ย ต้องไปเอาอะไรกลับมาถึงคุ้มที่สุดครับ


Posted by : OmniSci , Date : 2005-02-08 , Time : 14:59:02 , From IP : 172.29.7.229

ความคิดเห็นที่ : 7


   เป็นไปได้แน่นอนครับ

และการไปเรียนที่ A ไม่ได้แปลว่า B-Z ด้อยกว่า เพียงแต่ "ต่างกัน" เท่านั้น ความภาคภูมิใจนั้นเกิดจาก reconciliation ระหว่าง ideology และ ความเป็นจริง "ที่สุด" คืออะไรนั้น ขอวิจารณ์โดยที่ยังไม่ได้แก่มากในขณะนี้ว่า ผมเชื่อว่ามันเปลี่ยนตาม maturity เปลี่ยนตามโลกทัศน์ เปลี่ยนตามบริบทที่เราได้ไปอ่าน ไปเห็นมาครับ

ขอเชื่อมโยงกลับมาที่ประเด็นกระทู้หลักหน่อยนะครับ (จะได้รักษา theme ไว้)

เมื่อพวกเราได้ตั้งใจสอบเข้าหรือสมัครมาเรียน ณ สถาบันแห่งไหนก็ตาม มีสอง objectives ที่เราอาจจะนำมาใช้เป็น Guide หนึ่งคือสถาบันแห่งนั้นเขาตั้งใจจะให้อะไรเราบ้าง และสองคือตัวเราเองต้องการจะได้อะไรจากการทุ่มเทเวลาส่วนหนึ่ง (6 ปีนี่ผมว่าเป็นเวลาที่ค่อนข้างมีนัยสำคัญพอสมควร) ของเราบ้าง

ในอุดมคติทั้งสองฝ่ายควรจะเหมือนกัน ในทางปฏิบัติเราอาจจะต้องปรับให้มันคล้ายกัน ไม่ขัดแย้งกัน และไปด้วยกันได้มากที่สุด การศึกษาระดับ undergraduate กับ post-graduate นั้นผมว่ามันต่างกันพอสมควรในด้านปรัชญาและหลักการศึกษา สำหรับ undergraduate นั้นเพื่อนำมาประกอบอาชีพ สร้างหลักฐานที่มั่นคงให้ตนเองและครอบครัว ตรงนี้สำหรับบางคนอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ตนเอง "ถนัด" หรือทำได้ดีที่สุด แต่อาจจะเป็นสิ่งที่คิดว่า "มีประโยชน์ที่สุด" มากกว่า เช่น จริงๆแล้วเราอาจจะอยากเป็นนักวาดรูป แต่ประเมินแล้วสงสัยว่าจะไส้แห้ง เสร็จแล้วคิดว่าตนเองทำอะไรดี เรียนอะไรดี เลยมาเรียนหมอดีกว่า เป็นต้น

ส่วน post-graduate นั้น เป็นการเรียนหลังจากที่เราเริ่มแก่พอสมควร มีประสบการณ์ชีวิตพอสมควร มีฐานความรู้จาก under-graduate แน่นพอประมาณ ในอุดมคติแล้ว post-graduate learning จะเป็นการเรียนตาม personality หรือตาม preference มากกว่าความจำเป็นทางสังคมอย่าง under-graduate เป็นการเรียนเพื่อจะ pursue บางสิ่งบางอย่างที่เราสนใจ ที่เราอยากจะทำโดยอิสระ ดังนั้นรูปแบบของ post-graduate จะจำเพาะทางเอามากๆ ชีวิต surgeon ก็คงจะไม่เหมือนชีวิตอายุรแพทย์ ชีวิตจิตแพทย์ไม่เหมือนชีวิตนิติเวชแพทย์ เป็นต้น

post-graduate สิ่นสุดเมื่อไหร่? เมื่อเราหมดลมหายใจครับ การศึกษาไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเราจะทำความเข้าใจตัวเองไปเรื่อยๆ เข้าใจตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดความอยากรู้และ explore ในรายละเอียด ตรงนี้แต่ละคนคงจะมีความพึงพอใจไม่เหมือนกัน

ชีวิตการศึกษา post-graduate นั้นก็ยังต้องบูรณาการกับบริบทการทำงานวิชาชีพที่ได้เงินเดือน ที่ได้รายได้ประจำอยู่ดี บางคนโชคดีที่มันไปด้วยกันได้ บางคนกลายเป็นการศึกษาภาคค่ำ บางคนกลายเป็นงานอดิเรกที่บ้าน แต่ก้หนีไม่พ้นประเด็นสำคัญคือการค้นหาตนเอง ค้นหาว่าอะไรคือสิ่งที่เราคิดว่า "ใช่" นี่แหละครับ

ผมคิดว่าชีวิตของปัจเจกบุคคลนั้นซับซ้อนมาก ใครเลยจะรู้ได้ว่านาย ก. ทำเรื่องนี้นี่แหละ "ดีที่สุด" หรือ ดีที่สุดสำหรับ "อะไร หรือ ใคร?" นี่คือเหตุผลของ Principle of Autonomy หรือหลักจริยศาสตร์ข้อแรกสุด สำคัญมากที่เราไม่ควรจะไปคิดว่าชีวิตใครคนอื่นดำเนินไปนั้นเหมาะแล้ว หรืออย่างไร เพราะเราไม่ "สามารถ" จะทำอย่างนั้นได้ และเราก็ "ไม่ควร" ทำด้วย ที่เราทำได้คือการประเมินตนเอง ถามตนเองว่าเรารู้จักตัวเราเองดีพอรึยัง เรา "ทำอะไรได้บ้าง"

โจทย์ที่ผมโยนลงมาเรื่อง Pride of PSU ก็คือประเด็นนี้แหละครับ เราเรียนแพทย์ที่ มอ.นี่ ไม่ว่าจะเป็น under-graduate หรือ post-graduate อะไรคือสิ่งที่เราน่าจะทำได้ ที่เราจะมองกลับมาได้ด้วยความภาคภูมิใจ ชี้ให้ลูกหลานหรือเล่าให้ฟังว่านั่นคือสิ่งที่เราได้ทำไป




Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-08 , Time : 15:51:52 , From IP : 172.29.3.109

ความคิดเห็นที่ : 8


   แล้วคุณ Phoenix ก็ไขความกระจ่างของกระทู้นี้ขึ้นอีก
ขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ

แล้วนักเรียน เขาจะหาสิ่งที่ตนเองคิดว่า "ใช่" เมื่อไหร่
ได้ยินคำบ่น คำเรียกหา คำถามถูกเขียน ถูกโพสท์ทิ้งมากมายในอินเตอร์เน็ตร่ำร้องหาถึงตัวตนของตน สิ่งที่ตนเองอยากกระทำ หรือสิ่งที่ตนเองต้องการ

แต่ไม่เห็นใครที่จะกล้าค้นหาตัวเองจริงๆจังๆ อาจจะเพราะกรอบของครอบครัว สังคม และจารีตประเพณี ที่วางไว้

แล้วอย่างนี้ post-graduate จะเริ่มเมื่อไหร่ล่ะ
หากเราเรียนหมอจบพบ. บางคนก็รู้ตัว บางคนก็ไม่รู้ตัว ไปตามกรอบตามกระแสต่อ เรียนเฉพาะทาง.. จบบอร์ดมา อาจต่อสาขาย่อยอีก ... หรืออาจมืดมน ทำงานไปเรื่อยๆ ....
การค้นหาตนเองจึงควรต้องเริ่มต้นให้เร็วที่สุด ตั้งแต่เริ่มเรียนรู้ชีวิตเลยได้ยิ่งดี

. . .

ขออีกประเด็น
แล้วนักเรียนเขาต้องการความภาคภูมิใจในสถาบันจริงหรือเปล่า ?
. . .


Posted by : ArLim , Date : 2005-02-08 , Time : 16:47:42 , From IP : ppp-210.86.142.220.r

ความคิดเห็นที่ : 9


   ยิ่งนักศึกษารุ่นหลังๆผมว่ายิ่งได้เปรียบครับ เพราะมีการพูดถึง LO พูดถึง concept ของ adult learning พูดถึง student-centred มากยิ่งขึ้น

รุ่นผมนั้น ผมถูก "ฝัง" หัวว่าลูกต้องเรียนหมอ หลายต้องเรียนหมอมาตั้งแต่ชั้นประถม เผอิญเริ่มต้นผมเป็น severe CS (Concrete sequential) ขอเพียงบอกเป้าหมาย บอกกำหนดเวลามา รับประกันว่าทำได้ จริงๆผมชอบวาดรูป ชอบอ่านหนังสือ วรรณคดีไทยเกือบทุกเรื่องผมมีในห้องสมุดที่บ้าน วรรณคดีจีนอย่างไซอิ๋ว ซ้องกั๋ง (วีรบุรุษเขาเหลียงซาน) ซิยินกุ้ย วรรณคดีฝรั่งอย่าง Lord of the Rings, Grim Brother tales, Anderson tales, etc จนถ้าเป็น re-do ผมว่าผมน่าจะไปได้ดีด้านอักษรศาสตร์ หรือสถาปัตยกรรม ออกไปทางศิลป์โน่น แต่การที่เรียนสายวิทย์มาตั้งแต่มัธยมต้นก็ช่วย shape concrete sequential มากขึ้นเรื่อยๆเหมือนกัน

อย่างที่คุณ ArLim ว่า การศึกษาตนเองนั้นใช้เวลาเยอะครับ แต่ข้อสำคัญคือ มันไม่สายเกินไปหรอกครับ ว่าจะเริ่มตอนที่เข้าวัยกลายคนแล้ว ผมว่ามันคุ้มเสมอที่จะเริ่ม แต่ถ้าเริ่มเร็วก็จะเป็นข้อได้เปรียบ เพราะเราจะเข้า phase post-graduate ได้เร็วขึ้น แสวงความเป็นตัวตนได้แต่เนิ่นๆ ตรงนั้นแหละที่เราจะกำลังทำงานที่ตัวตนสนใจอย่างแท้จริง และสามารถมีความสุขกับงานได้ ไม่ต้องแสดงความคับแค้นขมขื่นกับชีวิตประจำวัน เผลอๆอาจจะทุกข์ใจกว่าคนไข้มะเร็งที่กำลังจะเสียชีวิตบน ward ซะอีก ถ้าประเมินจากที่บางคนได้แสดงออกมาบนนี้ อย่านึกว่าคนไข้เขาไม่ทราบนะครับว่า หมอ พยาบาล นศพ. ที่เดินไปเดินมาบนหอผู้ป่วยนี่ มีความสุขหรือทุกข์แค่ไหน เวลาที่มีปฏิสัมพันธ์กับคนไข้

แล้วมันคุ้มกันหรือที่มาเดินทำงานอย่างเป็นทุกข์ในโรงพยาบาล ถ้าไม่ชอบก็เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นตามตัวตนของตนเองน่าจะดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย ที่เหลือก็มาช่วยกันคิดต่อนะครับว่า เราน่าจะทำอะไรกันดี จึงเป้น pride of PSU



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-08 , Time : 17:12:13 , From IP : 203.156.59.25

ความคิดเห็นที่ : 10


    "ความรู้สึกที่เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน"
พอจะเป็นจุดเริ่มที่ดีได้มั้ยคะ

อย่างที่อาจารย์ว่าค่ะ 6 ปี เป็นเวลาที่มีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ ความคิด สถานภาพ และอื่นๆ ที่ก่อหล่อหลอมเป็นตัวตนของเรา
เมื่อแรกเข้าเราเป็นเพียงเด็กน้อยไม่ประสา แต่เมื่อ 6 ปีผ่านไปเราจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมด้วยคุณวุฒิ และความรับผิดชอบ โดยสถานภาพกำหนด ความคาดหวังต่างๆจะถูกถมทับบนบ่าเรา อยู่แต่ว่าเราเต็มใจจะรับมันไว้ด้วยตระหนักว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของเราหรือไม่ ตราบใดที่เราไม่เห็นว่ามันอยู่เป็นเนื้อเดียวของเรามันก็จะกลายเป็นภาระบนบ่าให้แบกรับ ต้องทนทุกข์กันไป

หนูเองไม่สงสัยในเจตนาของคณาจารย์ที่ปฏิบัติเหมือนศิษย์เป็นลูกหลาน ไม่ว่าจะactให้เกิดกระทบ ปรับ เปลี่ยนอย่างไร โดยเจตนาไม่ใช่ฟาดฟันให้ศิษย์ดับดิ้นไปแน่ๆ แต่เห็นอยู่ว่าน่าจะเป็นเพราะ "ช่องว่าง" ระหว่างเราเท่านั้นเองค่ะ
ความคลาดเคลื่อนในเจตนาหนูเข้าใจว่า เป็นเพราะระยะทางระหว่างเราออกจะห่างกันไป เลยทำให้ความเข้าใจระหว่างเราดูจะห่างไปด้วย บางทีเลยดูห่างกันเหมือน"ไม่ใช่พวกเดียวกัน"

จะแปลกไปไหมคะถ้าจะลองเสนอว่าระยะทางอาจถูกถมให้เต็มได้ด้วย "เวลา"
มีเวลาให้กันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น ก็จะได้รู้สึกว่ามีความรับผิดชอบในกันและกันมากขึ้น จะได้ มีแรงมีกำลังสร้างสรรค์อะไรๆร่วมกันมากขึ้น

ต่างคนต่างไปไร้ทิศทาง ดูมีกำลังน้อยกว่าทางเดียวกันไปด้วยกัน พร้อมๆกันมั้ยคะ?

The pride of PSU is "PSU".


Posted by : Lucifer , Date : 2005-02-08 , Time : 19:30:13 , From IP : 172.29.4.53

ความคิดเห็นที่ : 11


   มันมีเหตุผลอยู่ครับว่าทำไมปราชญ์ถึงเรียกสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ว่า "อริยสัจ" หรือความจริงแท้แน่นอน

นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อใครก็ตาม พูดจาภาษาไหนๆ พิจารณาอย่างถ่องแท้ถึงการดำเนิน ครรลอง มรรคา สุดท้ายจะได้ข้อสรปเดียวกันหมด เสมือนกับแม่น้ำหลายร้อยพันสายที่สุดก็กลายเป็น "หนึ่ง" ณ ปากน้ำรวมเป็นมหานที มหาสมุทรนั้นเอง

ปรัชญาวิชาชีพของเราก็เหมือนกัน แม้ว่าต่างชาติ ต่างภาษา ต่างยุคสมัยตั้งแต่ Hippocrates มาถึงสมเด็จพระราชบิดา หรือหลุยส์ ปาสเตอร์ มาถึงเอ็ดเวอร์ด เจนเนอร์ เมอร์คิวรีมาถึงฮูโต๋ หลายกระแส หลายความเชื่อ ถ้าลองทุนแสวงหาคุณค่าที่ share ร่วมกันในที่สุดก็จะดำเนเมาอยู่ ณ จุดๆเดียวกัน

เวลานั้นเป็นแค่ parallel frame เท่านั้น บางคนสามารถผ่านเวลา บางคนก็ปล่อยให้เวลาผ่าน ไม่ได้การันตีอะไร ตราบใดที่คนๆนั้นไม่ได้ตั้ง purpose ไว้ให้ชัดเจน หรือตั้งไว้เพียงสั้นๆ แค่ขอใส่เสื้อชุดนี้ แค่ขออยู่หอขนาดนี้ แค่ขอเงินเดือนเท่านี้ เมื่อวัตถุประสงค์มันสั้น ชีวิตมันก็เหมือนประกายของพลุคือแวบเดียวก็สูญหาย แต่การมีชีวิตอยู่ของคนบางคน "ambition" ของท่านเหล่านั้นกลายเป็นเปลวเพลิงให้คนรุ่นหลังใช้ส่องทางอีกมากมายนับ generations ไม่ถ้วน เหมือนอย่างที่เรารู้จักชื่อของท่านที่ผมกล่าวถึงนั่นแหละครับ ที่ดับไปอาจเพียงดวงวิญญาณของท่าน แต่แรงบันดาลใจที่ท่านทิ้งไว้ มันเป็นมฤดกโลก

แล้วแต่ว่าใครอยากจะมาลอง share เส้นทางที่ว่านี้หรือไม่ It is absolutely your choice



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-08 , Time : 20:01:21 , From IP : 172.29.7.218

ความคิดเห็นที่ : 12


   หมายถึงความทะเยอทะยาน ในตัวเองใช่ไหมครับ

บางครั้งก็กลับทำให้หลงทางได้เหมือนกัน เที่ยวแสวงหาแต่สิ่งภายนอกจนลืมสิ่งที่อยู่ภายใน ความภาคภูมิใจในสถาบัน ดูผิวเผิน เหมือน ต้องมีสิ่งภายนอกที่จับต้องได้ที่ยิ่งใหญ่ทันสมัย มีเพื่อนร่วมสถาบันมีชื่อเสียง มีความพร้อมในเทคโนโลยี ที่เหนือกว่าทั่วไป จนบางครั้งอาจคิดว่า เอ... มอ. มีอะไร น่าภูมิใจบ้างนะ คิดไม่ออก


แต่ความภาคภูมิใจมี่แท้จริง มันจะอยู่ในตัวเราเองมากกว่า คือความเป็นตัวตนของ สงขลานครินทร์ แบบที่ป้า Lucifer ว่า The pride of PSU is "PSU". ดูเหมือนกำปั้นทุบดิน แต่ผมว่านั่นแหละคือคำตอบ

แต่เอาเข้าจริงๆ ก็เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจนะครับ สิ่งภายนอกกับสิ่งภายใน รูปธรรมจับต้องได้กับ นามธรรม ดูเหมือนมันมีอะไร สัมพันธ์กันอยู่

"ความรู้สึกที่เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน" ที่ป้า Lucifer เกริ่นนำ หรืออะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นในความทรงจำดีๆของผู้อยู่ในสถาบันนั้นซึ่งกันและกัน มันคล้ายกับความผูกพันธ์ ใช่ไหม พอเอ่ยถึง มอ. ก็มีความรู้สึกแห่งความทรงจำที่ดีๆออกมา รู้สึกมีความสุขที่ได้คิดถึง อันนั้นพอจะเป็น The pride of PSU ได้หรือเปล่า?

อาจรวมไปถึงแรงบันดาลใจจากอาจารย์บางท่าน ที่ทำให้ประสบความสำเร็จก็เป็นความภาคภูมิใจของผู้นั้นก็เป็นได้

งง ไหมเนี่ย ชักจะยากขึ้นแล้วสิ ขอฝึก ความคิดอีกสักพักละกัน





Posted by : OmniSci , Date : 2005-02-08 , Time : 21:18:13 , From IP : 172.29.7.131

ความคิดเห็นที่ : 13


   สำหรับบางคน ambition ไม่ได้เกิดด้วยตัวเองนี่คะ

จริงอยู่ที่ว่าก่อนการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องมี Insight
และบางทีก่อนจะ Insight ได้ ก็ต้องมีการชักพา เหนี่ยวนำ ก่อน
เช่นอย่างที่อาจารย์ว่า คือ

"การมีชีวิตอยู่ของคนบางคน "ambition" ของท่านเหล่านั้นกลายเป็นเปลวเพลิงให้คนรุ่นหลังใช้ส่องทางอีกมากมายนับ generations ไม่ถ้วน"

นั่นจะแปลว่า คนที่เต็มไปด้วย ambition นั้นมีอิทธิพลต่อ ปัญญา และเส้นทางของคนอื่นได้ไหมคะ ถ้าอย่างนั้นเมื่อคนที่เต็มไปด้วยแรงใจไฟฝันอะไรก็ตามได้รู้ตัวเองและพร้อมจะทิ้งรอยไว้ให้คนอื่นเดินตามก็ควรเป็นคนเริ่มอะไรหลายๆอย่างซึ่งรวมถึงการกล่อมเกลาgenerationต่อไปด้วย และถ้าทิ้งรอยไว้แล้วเพียงรอให้ความบังเอิญชักสายตา ปล่อยเส้นเวลาให้ยาวขึ้นเรื่อยๆ ก็เกิดสงสัยว่าอีกนานเท่าไรจะตามกันทันคะ แล้วจะมีวันได้เดินร่วมทางกันบ้างไหม หนูอาจจะยังเด็กเกินกว่าที่จะมั่นคงอยู่คนเดียวบนทางที่ -- ก็ ใช่ "เลือกเอง" แต่อย่างน้อยมีคนประคับประคองให้อุ่นใจบ้าง คนๆนั้น trust ได้ว่า จะไม่ทิ้งเวลาเหลียวกลับไปหา ให้เดินบนหนามยังเห็นเงาหลังว่ามาถูกทางบ้าง เป็นการร้องขอมากเกินจำเป็นหรือเปล่าคะ

ที่สุดของปลายทางคือความจริงแท้แน่นอน -- นั่นไม่แย้งเลยจนนิดเดียวค่ะ แต่ระหว่างทางนี่สิ มันมีทางแยกนะคะ มีปีศาจ พญามาร หลายรูปหลายรอยด้วย แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ถ้าต้องการไปถึงจุดเดียวกันที่ว่า จะไม่หลงเตลิดจนหาทางออกที่ว่านั้นไม่เจอ

ก็ยังทุบดินอีกว่า The pride of PSU is "PSU"

อย่างที่คุณ OmniSci ได้กรุณาขยายความด้วย ตัดอะไรก็ตัดขาด ตัดใยความผูกพันนี่ตัดยังไงคะ ใยที่มองไม่เห็นแต่ร้อยรัดพันเกี่ยวกันไว้ ด้วย "เรา" เป็นพวกเดียวกัน เจริญ - เติบโต มาด้วยกัน โจทย์ที่ควรตอบคือ "ใย" ที่ว่าจะเกี่ยวจะสานกันยังไง ต่อเส้นต่อสายได้แข็งแรง ยาวนานแค่ไหน จะมีใครร่วมสาน ร่วมสร้าง ต่อไปจนถึงปลายทางหรือไม่ ฟังดูเป็นโจทย์ที่น่าคิดต่อไหมคะ


Posted by : Lucifer , Date : 2005-02-08 , Time : 22:01:07 , From IP : 172.29.4.53

ความคิดเห็นที่ : 14


   ขอแทรกนิดนึง
อย่าลืมประเด็นแฝงอีกอันที่ ArLim ตั้งไว้นะครับ น่าสนใจมีเดียว

....แล้วนักเรียนเขาต้องการความภาคภูมิใจในสถาบันจริงหรือเปล่า ?


หรือนัยว่า สถาบันเราเป็นแค่ สถานบริการทางความรู้ เข้ามารับบริการ แล้วจากไป ก็เพียงพอ

ประโยชน์อะไรที่ต้อง pround ด้วยเล่า?







Posted by : OmniSci , Date : 2005-02-08 , Time : 22:38:26 , From IP : 172.29.7.131

ความคิดเห็นที่ : 15


   -ตัวผมเองเสียดายประสบการณ์ที่อาจารย์Phoenixเคยได้รับมา(หมายถึงเรื่องimmunotransplantation )แล้วไม่ได้ถ่ายทอดต่อให้ผู้อื่น แต่มันก็เป็นเหตุผลส่วนตัวของอาจารย์ครับ ผมคงไม่บังอาจให้คำแนะนำใดๆมากกว่านี้
-ส่วนเรื่องความภูมิใจในสถาบันนั้น ผมเองคิดว่านอกจากขึ้นกับตัวผู้ที่ทำงานแล้วยังขึ้นกับสถาบันนั้นว่า ได้ทำให้ผู้มาทำงานบังเกิดความรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันแค่ไหน



Posted by : megumi , Date : 2005-02-08 , Time : 22:50:58 , From IP : 172.29.3.247

ความคิดเห็นที่ : 16


   "บันทึกของคนเดินทาง"



Posted by : Lucifer , Date : 2005-02-08 , Time : 23:13:28 , From IP : 172.29.4.53

ความคิดเห็นที่ : 17


   มันมี symbolic pride กับ the actual pride ครับ....

+++++++++++++++++++
อ้อ...คุณ Megumi ครับ,
มีประสบการณ์อีกมากมายของคนอื่นที่เรา "เสียดาย" เช่น เบื้องหลังความเร็จของ Bobby Fisher, แรงบันดาลใจของแม่ชีเทเรซ่า, ไปจนถึงความสงบทางใจของท่านพระพุทธทาส ณ สวนโมกข์, ไปจนถึงความพึงพอใจสมถะของเหล่าจื๊อ และความสุขตามอัตภาพของชาวนา ชาวสวน
บางทีผมก็อยากจะ share ประสบการณ์ที่ผมอยู่กับภรรยาตอนคลอดลูกสาวทั้งสองคนให้ฟัง แต่มัน "ถ่ายทอดไม่ได้" ถึง "essence" ของประสบการณ์เหล่านี้ รวมทั้งการบรรยายใดๆก็คงไม่ช่วยเท่าไหร่ถึงย่อหน้าข้างต้นด้วยครับ
+++++++++++++++++++++++

กลับมาต่อ

เราได้ยินคำว่า "ภาคภูมิใจ" กับสถาบัน ชาติ เผ่า ฯลฯ มากมาย และมานานจนบางทีเรารู้สึกว่าถ้าเรามีสักอันนึงก็จะดีไม่น้อย บางที่ก็เลยคิดหาวิธี "สร้าง" มันขึ้นมาซะเลย ให้ร้องเพลงประจำก๊กซ้ำๆไปเรื่อยๆ ให้พูดออกมาดังๆว่าภาคภูมิใจๆๆๆ ให้มันได้รับความลำบากเข็ญใจทุลักทุเลจะให้เกิดความรู้สึกประทับใจว่าเราก็ "ฝ่าฟัน" มาได้กะเขาเหมือนกัน เป็นหนึ่งในยอดฝีมือผู้ผ่านด่าน 18 ยอดมนุษย์ทองคำ 20 มนุษย์ไม้วัดเส้าหลินสำเร็จ

อะไรคือ "รากก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ" กันแน่?

มนุษย์เรานี่ไม่ว่าจะทำอะไร มันเริ่มมาจากอัตตาก่อนทั้งนั้น มันช่วยไม่ได้ครับ เพราะ Instinct มันบอกว่าจำเป็นที่เราต้อง serve ความต้องการพื้นฐานจึงอยู่รอด ความหิว กระหาย ง่วง กลัว ปลอดภัย สืบพันธุ์ achievement ที่เรา "บรรลุ" สิ่งวต่างๆเหล่านี้ทำให้เรารู้สึก secure และมั่นใจ สูงขึ้นมาอีกนิดก็ถ้ามันสำเร็จยากหน่อย ความดีใจ ความ secure ความมั่นใจก็เพิ่มขึ้นอีกนิด ยิ่ง effort ที่เราต้องใส่ลงไปมากขึ้นเท่าไหร่ยิ่งดี

ถ้าสูงขึ้นมาอีกขั้นก็คือนอกเหนือจาก effort ที่ต้องใส่เข้าไปเยอะๆ ต้องทำอยู่เป็นเวลานานๆ แล้ว ถ้ามันเกิดเป็นสิ่งที่มี "คุณค่า" ทางจิตวิญญาณของเราด้วยยิ่งสุดยอด อาจจะรู้สึกอย่างที่ Jerry Mcguire บอกนางเอกนั่นแหละครับว่า "You complete me"

ไอ้ความ overwhelm ของ achievement อันนี้แหละที่ฝังอยู่ในมโนสำนึก ในความทรงจำที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งของ self ของเรา พอเราสามารถดดนอะไรไปกระตุ้นความทรงจำจุดนี้ เรารู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ รู้สึกถึงความสำเร็จ รู้สึกถึงความหวลไห้อยากจะกลับไปลิ้มรสความรู้สึกแบบนั้นสดๆอีกสักจึ๊กนึง นี่แหละที่ผมพูดถึง ความภูมิใจ ถ้าเรามีแบบนี้จริงๆ ตรงนี้คือ actual pride แต่ถ้าเป็นอะไรที่เตือนความจำ อันนั้นเป็น surrogate stimulants หรือ symbolic pride

บางสถาบันใช้วิธีรับน้องโหดๆ คงคิดว่าน้องรอดมาได้ เขาคงจะจำว่านี้เป็น achievement แห่งชีวิต จะได้ภูมิใจ (ในความ sadist และ idiot ของพี่ๆ) เป็น symbolic ที่ย้อนกลับมาคิดทีไรก้หลั่งน้ำตาแห่ง achievement มาทุกครั้ง บางสถาบันใช้วิธีมีกฏระเบียบสุดเฮียบสุดโหดตลอดหลักสูตร บางสถาบันเน้นด้านผลการเรียน เกรด ฯลฯ ทุกอย่างล้วนเป็นอุบายที่ทำให้คนรู้สึกว่ามันต้องใช้ effort อย่างมากจึงจะสำเร็จ เป็นกลเม็ดที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจใน "สถาบัน"

มีวิธีอื่นอีกไหม ถ้าเราไม่นับไอ้พวก artificial pride stimulants เหล่านี้?

ก็คงมีครับ ถ้าเรา "สะท้อน" ตนเองบ่อยๆ และงานที่ผ่านมาแต่ละวันเราได้ทำ "อย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ" ตรงนี้ก็สามารถไม่ต่างจาก dsicipline สุดโหดของ Sandhurst หรือ Eton ได้ แต่ผมอยากจะยกอีกประเด็นของสาเหตุของ pride ที่ไม่ใคร่มีสถาบันไหน address นั่นคือ "คุณค่าทางจิตวิญญาณ" ของคนเรา

สาเหตุที่เขาไม่เน้น เพราะตรงนี้มัน artificial induce ยากกว่ากันเยอะครับ ถ้าตั้งเป็น KPI คนคิดกลยุทธ์คงจะปวดศีรษะเยอะเลย แต่ปรากฏว่าข้อนี้มันอาจจะง่ายที่สุดก็ได้ ถ้า "ปัจเจก" บุคคลต้องการจะมี

Spiritual value เป็นของส่วนตั๊วส่วนตัวครับ คุณค่าทางจิตวิญญาณเป็นบรณาการขั้นสุดยอดของประสบการณ์ ความเชื่อ ความศรัทธา การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอน การวิเคราะห์เจาะลึกของสิ่งที่ได้เรียนรู้ กลั่นออกมาเป็นคุณค่าที่เป็น abstract ที่มครคนไหนก็จับต้องไม่ได้ และขนาดเจ้าของเองก็จับต้องไม่ได้ แค่ รู้สึกได้ แค่นั้น บอกเล่าให้ใครรู้ก็ยาก พอๆกับเรื่องความรู้สึกเวลาลูกเราคลอดออกมาแว้แรก เวลาที่ครอบครัวเรามี happy time จริงๆที่ใดที่หนึ่งแม้เพียงชั่ววูบ ความทรงจำความรู้สึกเหล่านี้เป็น pride อย่างหนึ่งก็ว่าได้ เป็น Pride of humanity

มีหรือไม่มี แตกต่างกันไหม? เอาไว้ต่ออีกที อันนี้ชักจะยาวเฟื้อย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-08 , Time : 23:39:25 , From IP : 172.29.7.212

ความคิดเห็นที่ : 18


   "วัฒนธรรมองค์กร"
"คุณค่าภายใน"
"think out of the box "
"กรอบของครอบครัว สังคม และจารีตประเพณี "
"ความภาคภูมิใจในสถาบัน"
"ทางผ่าน"
"กล้าค้นหาตัวตนของตนเอง"
"บันทึกของคนเดินทาง"

??????????????????



Posted by : Lucifer , Date : 2005-02-08 , Time : 23:49:35 , From IP : 172.29.4.53

ความคิดเห็นที่ : 19


   ทีนี้เรามี pride ไว้ทำไม หรืออะไรคือเหตุผลที่เรา "ควรอยาก" จะ proud กะเขาบ้าง?

มีคนเคยกล่าวคำคม (ที่ถูกต้องจริงแท้แน่นอน) ว่า "คนที่ไม่เคยทำอะไรผิด ก็คือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย" คนที่ไม่เคยสามารถจะ relate อะไรให้เกิด pride ได้ ก็แทบจะเสมือนว่าเขา (ยัง) ไม่เคย achieve อะไรเลยนั่นเอง คำว่า "ยัง" ในวงเล็บให้ความหมายของประโยคนี้ทั้งแบบ "ดี" และ "ไม่ดี"

บางคนเพราะ "ไม่เคย" มี purpose เมื่อไม่มีเป้า ก็ไม่มี "สำเร็จ" ทำไปอีกกี่ร้อยพันปีก็ไม่สำเร็จสักที ทำไปยังงั้นๆ
แต่บางคนเป็นเพราะ purpose นั้นเป็น absolute หรือ ideal จึงอยู่ในภาวะแห่งการแสวงหามาโดยตลอด

ถ้าหาก achievement อันนั้นมันเป็นระดับ "จิตวิญญาณ" มันจะยากที่จะลืมเลือนหรือสูญหายไปครับ เพราะอย่างที่เรียนให้ทราบ คุณค่าทางจิตวิญญาณมันถูกหล่อหลอมจากทุกอย่างที่เป็นเรา ยังไง้ยังไงเราก็เป็นเรา ไม่ใช่ตึก ไม่ใช่ห้องเรียน ไม่ใช่ศาลพระภูมิ ที่แตกสลายหายไปหรือถูกสร้างของใหม่ทับของเก่า ถ้าเราสามารถ proud จากตรงนี้ได้มันจะอยู่นาน (แม้จะไม่ถาวรตามกฏแห่ง impermanence ก็ตาม) ถ้าเราแสวงหา symbolic pride ที่กลับมาหา spiritual value ตรงนี้ มันจะไม่ fake ไม่ artificial ไม่ปลอม ขอเพียงใครมีตรงนี้ ก็จะค่อนข้างปลอดภัยจากการสูญเสียความมั่นใจ ก็จะค่อนข้างปลอดภัยจากการเสียขวัญเพราะ spirit ได้ achieve อะไรบางอย่างที่หนักแน่นมั่นคงมากก่อนแล้ว

แต่ถ้าเรามี spirit ที่บอบบาง มี inferior complex มีความผิด ความสำนึก ความ guilt ความคิดอัปมงคล บางที่เราก็สร้าง fake pride ขึ้นมา protect self ว่าเราก็มี achievement เหมือนกันนะ แต่ fake ก็คือ fake แหละครับ จะโกหกใครก็ได้ เราไม่สามารถจะโกหกตัวเองได้ ดังนั้นกลับมาที่พูดไว้แต่แรก เราต้องมี Insight ที่ดีซะก่อน รู้และเข้าใจตนเองเพื่อตั้งเข็มทิศและความสำเร็จที่มีรากก้วอยู่บนความเป็นจริง บวกความทะเยอทะยานที่จะ free spirit หรือ เติมจิตวิญญาณให้เต็มให้ได้ เมื่อนั้น มี หรือ ไม่มี pride มันไม่สำคัญอีกต่อไป จะ PSU หรือยี่ห้อไหน pride นั้นเป็นที่จิตใจของเราเองรับทราบ

นานเท่าที่เราอยากให้มันมีอยู่




Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-09 , Time : 00:08:51 , From IP : 172.29.7.212

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.016 seconds. <<<<<