ความคิดเห็นทั้งหมด : 8

จะขึ้นคลินิกแล้วมีหนังสืออะไรน่าซื้อบ้างครับ


   รบกวนถามพี่ๆหลายๆความเห็นครับ ว่าปี4ต้องใช้หนังสือเล่มไหนบ้าง เล่มไหนคุ้มเล่มไหนไม่คุ้ม แล้วtextแพงๆอย่างHarrisonมีความจำเป็นแค่ไหนครับ หมายถึงคุ้มค่าที่จะซื้อหรือเปล่า(ใช้เล่มอื่นแทนหรือหาซีร็อกเอาแทนได้หรือเปล่าครับ) แล้วหนังสือแบบนี้จะเก็บไว้ใช้ได้นานสักแค่ไหน

ขอบคุณครับ


Posted by : นศพ.ปี3 , Date : 2005-02-07 , Time : 18:55:27 , From IP : 172.29.4.200

ความคิดเห็นที่ : 1


   ทางวิชาการเดี๋ยวคงมีคำแนะนำตามมา
แต่หลักโดยทั่วไป ยืมเอาจากห้องสมุดดีกว่า 7 วันคืนที มีวินัยในการอ่าน การยืมการคืน แล้วจด note ย่อแต่ส่วนที่สำคัญพกเก็บไว้ใช้ ยามจำเป็น โดยเฉพาะกรณีที่ "จดจำ" ไม่ได้

ที่แนะนำจากห้องสมุดเพราะเชื่อว่า ส่วนที่มีอยู่นั้น update ที่สุด (เท่าที่ทำเป็นเล่ม) และคาดว่ามีพอกับ นศพ. ที่ไม่คิดจะซื้อเอง

ส่วน update สุดๆ คือ internet ก็เลือกบริโภคได้ตามสมควรแก่วัยครับ

แต่หนังสือที่อยากแนะนำ ก่อนขึ้น ward คือ มงคลชีวิต 38 ประการ ไม่ว่าจะเป็นจากแหล่งใด อ่านเล่นๆ ยามว่าง (นั่งขี้ก็อ่านได้) เอาไว้เป็น "มงคล" กับตัว
จะได้เติบโตและมีพัฒนาการควบคู่กันไป จนเป็นหมอที่ "เก่งและดี" ครับ

ขอโทษด้วยถ้าไม่ถูกใจ


Posted by : OmniSci , Date : 2005-02-07 , Time : 19:39:08 , From IP : 172.29.7.146

ความคิดเห็นที่ : 2


   Evident based clinical practice ทางอายุรกรรม ปี 2548 ครับ update สุด แต่รู้สึกจะเหมือนกับปีก่อน ถ้าไม่มีเล่มก่อนก็ซื้อไว้ซะ

Posted by : s , Date : 2005-02-07 , Time : 21:30:35 , From IP : 172.29.4.229

ความคิดเห็นที่ : 3


   คิดว่าทางฝ่ายวิชาการของสโมฯน่าจะจัดการแนะนำนะครับ

แต่ถ้าให้แนะนำเป็นการส่วนตัวก็ ควรขึ้นวอร์ด หารูปแบบการเรียน จัดตารางเวลาก่อน (เวลาที่สามารถเข้าห้องสมุด) แล้วค่อยซื้อหนังสือก็ยังไม่สาย

แต่ถ้าเงินเยอะ อยากซื้อมาเก็บไว้ก็ไม่ว่ากันครับ
บางคนได้ซื้อเก็บไว้กับตัวแล้วอุ่นใจน่ะ


Posted by : ArLim , Date : 2005-02-08 , Time : 05:00:38 , From IP : ppp-210.86.142.220.r

ความคิดเห็นที่ : 4


   ก่อนซื้อหนังสือผมคิดว่าอาจจะมีประโยชน์ถ้าเราได้พิจารณา learning style ของตัวเองก่อน

สาเหตุเพราะการที่เราซื้อหนังสือนั้น ประเด็นหลักคงจะเป็นเราต้องการ "อ่านมัน เมื่อไหร่ก็ได้ ที่ตัวเราต้องการ ซึ่งรวมไปถึงเวลาที่หนังสือสาธารณะไม่อำนวย" วิธีการอ่านหนังสือแบบนี้ ไม่ได้เป้น "ความถนัด" ของทุกคน ซึ่งตรงนี้บางคนก็รู้ตัวเองดีอยู่ บางคนไม่ บางคนก็อาจจะสังเกตพบว่ามีหนังสือที่ซื้อ (ตามเพื่อน) แล้วไม่ได้อ่านมากกว่า 50% ของหนัวสือที่มี อันนี้แปลว่าควรประเมินใหม่

ถ้าชอบและคิดว่าจะได้อ่านจริงๆ บวกกับการประเมินงบประมาณ ผมชอบซื้อหนังสือทุกเล่มที่ขวางหน้า และไล่มาจาก "ความชอบ" ไม่ใช่ความสำคัญครับ หนังสือสำคัญที่ทุกคนมีแต่ถ้าเราไม่ชอบ ก็ไม่ได้อ่านและเสียประโยชน์ที่จะซื้อ เช่น Harrison ผมซื้อแต่ไม่ได้อ่านเลย (ซื้อตามเพื่อน) neuroanatomy Guyton physiology Moore embryology พวกนี้อ่านหมด แต่ไม่มีใครซื้อเลย ผลการศึกษาพฤติกรรมนี้ก็คือ ซื้อหนังสือที่ตนชอบ จะคุ้มที่สุด

และถ้าได้อ่านแล้ว ผมว่ามันมีประโยชน์ทั้งสิ้นครับ ไม่ว่ามันจะ relevant มากน้อยแค่ไหน ผมคิดว่าหนังสือทุกชนิดมีประโยชน์ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ขอเพียงให้ได้อ่านก่อนเถอะ (สำคัญที่สุด)

แต่ขอเตือนอีกครั้ง ถ้าไม่ใช่หนอนหนังสือประเภทต้องอ่านของตัวเองเท่านั้น มีคนจำนวนมากที่อ่านหนังสือห้องสมุดเป็น อ่านโน้ตย่อเป็น ฟังติวเป็น แทบจะไม่ต้องซื้อหนังสือเลยก็มีอยู่จำนวนมาก อย่าซื้อเพราะเพื่อนมี (ถ้าเพื่อนจริงเรายืมมันก้ได้นิ ถ้าเราไม่ได้ใช้บ่อยๆ)



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-08 , Time : 11:46:03 , From IP : 172.29.3.185

ความคิดเห็นที่ : 5


   ถ้าจะแนะนำหนังสือที่ผมเห็นว่าสำคัญนะครับ
ก็คงเป็น Dorland medical dictionary pocketbook และ Thai-English dictionary เล่มเหมาะมือสักเล่ม
เก็บไว้เป็นอาวุธประจำตัวครับ สำหรับใช้อ่านหนังสือ text อื่นๆ หรือฟัง term ไม่เข้าใจก็มาเปิดหาได้


แต่วันก่อนมีคนฝากขายหนังสือมือสองเป็น Dorland สองเล่ม ก็ไม่เห็นมีใครซื้อเลย

ก็อย่างที่คุณ Phoenix ว่า ซื้อตามที่ชอบครับ
แต่จะชอบได้ก็ต่อเมื่อ เราได้อ่านเล่มนั้นแล้ว หรือเราสนใจในเรื่องนั้นจริงๆ


Posted by : ArLim , Date : 2005-02-08 , Time : 16:52:34 , From IP : ppp-210.86.142.220.r

ความคิดเห็นที่ : 6


   พี่แนะนำสองเล่มเท่านั้นครับสำหรับการ round ward med คือ Pocket medicine และก็ monkey drug reference เล่มเล็กๆ ใส่กระเป๋าซ้ายขวาเอาไว้นะ สองอันนี่ซื้อได้ที่ บ้านอาจารย์ฉลาด ขอรับ อย่างอื่นๆก็ตามใจครับ ซื้อมากๆไปแล้วไม่อ่านเดี๋ยวป้าแกรวยไป เก็บตังไว้กินข้าวดีกว่า

Posted by : หลานลุงนก , Date : 2005-02-08 , Time : 21:02:02 , From IP : 172.29.4.100

ความคิดเห็นที่ : 7


   จากประสปการณ์ เวลามีอารมณ์จะอ่านหนังสือ (ซึ่งมีไม่บ่อยนัก) หรือจะเปิดหาเนื้อหาอะไรสักอย่าง แล้วไม่มีหนังสืออยู่ใกล้ๆ แบบว่าหยิบอ่านได้ทันที (อย่างเช่นของตัวเองหรือของเมท หรือห้องข้างๆที่ติดต่อถึงกันได้สะดวก) แล้วจะเกิดความเซ็ง ขัดใจว่ากำลังมีอารมณ์จะอ่าน แต่ไม่ได้อ่าน ครั้นจะเดินไปยืมหนังสือจากห้องสมุด ก็ขี้เกียจ เก็บไว้อ่านวันหลัง ก็จะเกิดภาวะหมดไฟที่จะอ่านเรื่องนั้นๆในวันหลัง ทำให้สุดท้ายไม่ได้อ่าน ก็เลยกลายเป็น guideline ว่าถ้าพอมีกะตังค์ ควรจะหาซื้อหนังสือเอาไว้เป็นของตัวเอง โดยเฉพาะหนังสือ basic ของแต่ละ ward อย่างเช่น ชาญวิทย์ตั้น สำหรับศัลย์ ตำราอายุรศาสตร์ สำหรับ med ถึงแม้หนังสือเหล่านี้ อาจารย์จะไม่ reccommend เลยก็ตาม แต่เป็นหนังสือที่ นศพ. มีกันมากที่สุด และเป็นเล่มที่ได้อ่านกันมากที่สุดด้วย เวลาจะอ่านจะได้หยิบอ่านได้ทันท่วงที ไม่เสียอารมณ์

Posted by : s , Date : 2005-02-08 , Time : 22:44:07 , From IP : 172.29.4.168

ความคิดเห็นที่ : 8


   ฝ่ายวิชาการสโมสรได้วางกิจกรรมในเรื่องการแนะนำหนังสือที่น่าอ่าน น่าซื้อแก่น้องๆ ที่จะขึ้นชั้นคลินิกไว้แล้วครับ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จัดขึ้นในตอนต้นของการเปิดเทอมเลยครับ
ถ้าให้แนะนำส่วนตัวบ้าง ก็อยากจะบอกว่าหนังสืออะไรที่ใครว่าดีอย่าเพิ่งรีบซื้อครับ ต้องลองอ่านเองดูก่อนทุกเล่ม เพราะหนังสือแต่ละเล่มเหมาะกับคนไม่เหมือนกัน คนบางคนอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วบอกว่าดี อีกคนไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยครับ โดยส่วนใหญ่หนังสือทุกเล่มลองว่าถ้าออกวางขายแล้ว ข้อมูลรวมทั้งรายละเอียดต่างๆ ก็มีความถูกต้องน่าเชื่อถือเท่าๆกันครับ เพียงแต่มีรูปแบบการนำเสนอที่ต่างกัน ดังนั้นเราควรค้นหาหนังสือที่เหมาะกับเราจริงๆครับ โดยการลองอ่านดูก่อน
อย่างไรเสียถ้าไม่เป็นการรีบร้อนจนเกินไปอยากให้รอโครงการจากทางฝ่ายวิชาการสโมสรที่เตรียมจะจัดให้ตอนเปิดเทอมครับ พี่คิดว่าจะมีประโยชน์ในการเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของน้องๆ ในการเลือกซื้อหนังสือได้แน่นอนครับ
ปล.อย่าเพิ่งไปรีบอ่านช่วงปิดเทอมเลยครับ เที่ยวกับพักผ่อนตุนไว้ก่อนดีกว่าเชื่อพี่


Posted by : GraveDigger , E-mail : (Samo_Med@yahoo.com) ,
Date : 2005-02-09 , Time : 10:08:54 , From IP : 203.118.75.114


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.007 seconds. <<<<<