ความคิดเห็นทั้งหมด : 7

การไหว้.....วัฒนธรรม??


   การไหว้ ได้รับรู้และเข้าใจมาตั้งแต่เด็กว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดี ตอนเป็นเด็กสามารถยกมือไหว้ใครๆ ได้ แม้บางครั้งเป็นการไหว้ที่ไม่มีความหมายก็ตาม แต่ผู้ใหญ่กลับชอบและชื่นชม โตขึ้นมาถ้ายังเป็นแบบเดิมก็ยังคงได้รับการชื่นชม แต่ถ้ามีเงื่อนไขสงวนไว้ให้ผู้ที่เราเคารพนับถือ(เพราะมักไม่ค่อยได้เห็นการไหว้ทักทายกันมานานแล้ว ยกเว้นมาเจอกันในสถานที่ซึ่งต่างออกไปจากเดิม และไม่เคยเห็นผู้ใหญ่ยกมืไหว้เด็กก่อน หรือหมอไหว้คนไข้ก่อนเป็นการทักทาย?) กลับถูกผู้ที่สูงวัยกว่ามองว่าไม่มีความเคารพนบนอบ(relatively esp เวลามาด้วยกันตั้งแต่ 2 และไม่เกิน 3 คน เพราะสังเกตเห็นได้ชัด)

เคยคุยเรื่องนี้กับเพื่อนๆ (ที่ assume ว่าได้รับการปลูกฝังวัฒนธรรมที่(ว่ากันว่า)ดีงามของไทยนี้มาพอๆกัน(อย่างพอสมควรมาตั้งนานนม) แต่ก็ไม่วายเกิดความขัดแย้งในความคิด... เถียงกันแทบแย่ จนต้องรีบหยุดกันไปด้วยความกังขาว่า ทำไมจึงเห็นและปฏิบัติต่างกัน "เป็นวัฒนธรรมที่งามทำไปไม่เสียหาย" "ไหว้เมื่อรู้สึกนับถือ ถ้าไม่(ด้วยเหตุผลใดสุดแล้วแต่) แม้เพื่อทักทายก็ยาก" "..."

แล้วคนไทยอีกหลายๆคนล่ะ ???


Posted by : boksir , Date : 2005-02-03 , Time : 00:26:06 , From IP : 203.172.125.121

ความคิดเห็นที่ : 1


   ในบรรดาประเทศที่ไหว้เป็น พูดอย่างไม่กลัว bias ผมว่าคนไทยไหว้สวยที่สุด

น่าจะเป็นเพราะไหว้ของที่อื่นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีการ เช่น ทางศาสนา การสวดมนต์ ภาวนา แต่ไหว้ไทยซึ่งเราใช้ในการแสดงความนอบน้อมด้วยอีกอย่างหนึ่งทำให้เรามี "gesture" ที่ (ผมว่า) ดูดีสวยงาม

การไหว้ของเราว่าตั้งแต่การยกมือขึ้นประนม ยกขึ้นจรดหว่างคิ้ว ค้อมศีรษะลง (บวกลบก้มหลัง) เก็บศอกแนบข้างลำตัว (ตรงนี้ของบางประเทศอื่นกลับกางศอกออก แปลกดี) พร้อมจังหวะที่แช่มช้าสำรวม นั้นเป็นอย่างที่คุณ boksir ว่าจริงๆคือ น่าอนุรักษ์ และเป็นที่น่าเสียดายที่ความ "ช้า" ในปัจจุบันจะมากลายเป็น contradict ไป ตอนมัธยมเคยได้มีโอกาสเข้าไปในชมรมศิลปวัฒนธรรม มีการสอนไหว้ผู้ใหญ่ ไหว้เบญจางคประดิษฐ์ที่ประชุมเนินทั้งห้าจรดแม่พระธรณีเป็นแบบอย่างไหว้พระ (สร้างปัญหาสำคัญเด็กแขนยาวอย่างผมที่ไม่สามารถทำศอกต่อเข่าแล้วหน้าผากอยู่ระหว่างฝ่ามือได้ !!!)

ยิ่งพอมาเรียนที่ศิริราช เรามีประเพณีดั้งเดิมเก่าแก่ที่เอาดัดแปลงเข้ากับบรรยากาศการทำงานคือ "การโค้ง" ผมว่าหมอที่จบจากศิริราชจำนวนมากจะ "ติด" ใช้วิธีโค้งในการแสดงคารวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเดินสวนในโรงพยาบาล เพราะใน รพ. เต็มไปด้วยอาจารย์แพทย์ พี่แพทย์ น้องแพทย์ หลานแพทย์ ที่เดินกันขวักไขว่ไปมาด้วยมาเร็วสูง การไหว้เต็มรูปแบบทำให้การจราจรชะงักงันได้อย่างมโหฬาร แต่อย่างน้อยตอนรับน้อง ไหว้ครู เราก็ยัง spare เวลากิจกรรมให้มีการไหว้เต็มรูปแบบเกิดขึ้นอยู่

วงดนตรีไทยก็มีวัฒนธรรมในการกรายบไหว้เครื่องมือก่อนการเล่นและหลังการเล่นเสร็จทุกครั้ง ที่คนดนตรีรุ่นเก่าจะทราบ แต่น่าเสียดายที่รุ่นใหม่อาจจะละเลย (พิจารณาจากบางครั้งเครื่องมือถูกวางระเกะระกะ แถมลางทีแตกชำรุดเสียหายซะด้วย) ศิลปการละเล่นบางอย่างของไทยก็ยังมีการไหว้ที่สวยงามเช่นไหว้ครูของมวยไทย

สำหรับเรื่องที่ผุ้ตั้งกระทู้เริ่มขึ้นมา ผมคงสรุปว่าใครที่ยังพอ concern เรื่องนี้ก็ช่วยกันทุนุถนอมศิลปวัฒนธรรมอันนี้ต่อไปเถิดครับ ทำแล้วก็รักษาจิตใจที่เบิกบานแจ่มใสไว้ ทำใจกับบางอย่างที่กำลังจะสูญเสียแต่ยึดมั่นในสิ่งที่เราคิดว่าถูก เสียดายก็จริงแต่อย่าเศร้าหมองเกินไปเลย



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-03 , Time : 00:58:48 , From IP : 172.29.7.157

ความคิดเห็นที่ : 2


   ว่ากำลังจะคุยเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน ช่างใจตรงกันกับ คุณ boksir จริงๆ

น่าจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง

เรื่องมีอยู่ว่า ไปเดินซื้อของกับครอบครัวที่ Lotus บังเอิญ ไปพบคนไข้ (อายุสัก 40++ แก่กว่าผม) ที่ดูแลกันอยู่ follow up มา 2 ปีได้ มากับครอบครัวเหมือนกัน (ภรรยากับลูก) บังเอิญสบตาพร้อมกัน ผมก็ยิ้มและ "ผงก" ศรีษะให้ แต่ทางนั้น พอเห็นผมก็ยกมือไหว้ ผมรีบรับไหว้แทบไม่ทัน (ไม่ได้คาดว่าทางนั้นจะไหว้) เขาชวนคุยนิดหน่อยแล้วจากไป ทีนี้ผมก็มาคิดว่า อะไรเหมาะสมที่สุดสำหรับการทักทายเช่นนี้

ประเด็น
1.คนไข้ไหว้หมอ ในที่สาธารณะ คงยึดตามคุณวุฒิ เป็นเรื่องเหมาะสมแล้วหรือเปล่า โดยไม่ต้องคำนึงถึง วัยวุฒิ หรือเราจะยกมือไหว้ก่อน เราอยากให้เขายกมือไหว้เราไหม
2.วัฒนธรรมของแพทย์ในการทักทายกัน เป็นอย่างที่ อ.นกไฟว่าไว้ ผมก็ถูกสอนโดย อ.ในกิจการนักศึกษา สมัยผมเป็น นศพ. (ตอนนี้ อ. ท่านนั้นเป็น หนภ. แล้ว คาดว่าท่านคงมาจาก ศิริราช) ให้โค้งคำนับกันเป็นปกติ ไม่ถึงกับไหว้ ผมก็คงติดมาเหมือนกัน เจอ อ. แพทย์ นอก รพ. เรา โค้งคำนับท่าน นั้น ถือว่าเหมาะสมเพียงพอแล้ว (กรณีที่เราต้องการทักทายด้วยใจจริง-บางคนวิ่งหนี) หรือถ้าเป็นข้างนอก ต้องยกมือไหว้ ผมเห็นที่จุฬา นสพ. ก็ยกมือไหว้นะ ต่างกับศิริราช
3.บังเอิญต้องไปติดต่อ ข้อร้องให้คนอื่นช่วยทำธุระบางอย่าง ที่เราเป็นเบี้ยล่าง (ขอเปรียบเทียบชัดๆ) ผู้นั้นเป็นใหญ่มีอำนาจในที่ทำงานของเขามาก แต่เขาเป็นคนไข้ที่เราดูแลมาตลอด อายุก็มากกว่าเรา แต่ฐานะเปลี่ยนไป เราจะยกมือไหว้ หรือไม่ยกมือไหว้ หรือเปล่า

อยากเปรียบเทียบ เรายกมือไหว้ สามเณร ที่เป็นคนไข้ของเราได้อย่างไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะท่านถือศีลสูงกว่าเรา (กรณีพทธศาสนิกแพทย์)

ช่วยคิดหน่อย


Posted by : OmniSci , Date : 2005-02-03 , Time : 06:48:24 , From IP : 172.29.7.113

ความคิดเห็นที่ : 3


   ผมคิดว่าเราอาจจะเห็นสถานการณ์ที่มีความต่างๆกันดังนี้
๑) ไหว้หมด เป็นการไหว้ตามที่ได้รับการสั่วสอนมา และ เป็นการไหว้ "assuming status" หรือ ไหว้ "ภาวะ"
๒) ไหว้เพราะเคารพนับถือ ไม่นับถือก็ไม่ไหว้
๓) ไม่ไหว้ เพราะ ฯลฯ

"ไหว้ภาวะ" นี่คล้ายกับเรื่องประเพณีและวัฒนธรรม คนตะวันออกให้เกียรติภาวะเยอะกว่าคนตะวันตกมาก เช่น วัยภาวะ วุฒิภาวะ อาชีวภาวะ ดังนั้นเราจะไหว้ "assuming status" เยอะ เช่น ไหว้คนสูงอายุ (เพราะอายุมากกว่าเรา ก็เป็นเหตุผลพอเพียงแล้ว) ไหว้พระ เณร ครู หมอ (assuming ภาวะนั้นๆน่านับถือ เคารพ หรือบูชา)

ถ้าจะโทษ หรือหาข้อ excuse ให้การเกิดไหว้แบบที่สอง คงเป็นเพราะเดี๋ยวนี้เราเริ่มเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เรา "assume goodness according to status" ได้น้อยลงเยอะ คนสูงอายุบางท่านก็ "แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน" แค่นั้นจริงๆ เมื่อรู้ก็ไหว้ไม่ลง พระ เณร ครู หมอ ก็อีหรอบเดียวกัน

ไปๆมาๆอาจจะเป็นเพราะคนที่ role model เกิดการ "วิกฤติศรัทธา" ในการ assume good manner แบบ universal คนรุ่นหลังยิ่งเห็นความจำเป็น ความน่าทำ ความควรทำการเคารพแบบ universal หายไปเยอะ ผมว่ารุ่นหลังนี่เรามีโอกาสเห็นแม้แต่การ assume no goodness แทน คือสามารถเดิน "ถากหัว" ผู้สูงอายุ ครู พระ เณร หมอ ได้อย่างไม่สะทกสะท้าน นัยว่าไม่ชนให้กระเด็น เดินเกะกะความทางอยู่ได้ก็เป็นบุญแล้ว ทำนองนั้น

มากขึ้นเรื่อยๆรึเปล่า?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-03 , Time : 08:02:26 , From IP : 172.29.7.234

ความคิดเห็นที่ : 4


   ชอบสำนวนคุณpheonixในคราวหลังจังเลย อ่านแล้วรู้สึกว่าอยู่ในอารมณ์ที่ต่างจากครั้งแรกใน Topic นี้ เพิ่งเห็นสำนวน"ถากหัว " ที่จริงอาจารย์ก็ยังอายุไม่มาก แต่ช่างจำสำนวนที่คนทั่วไปเกือบเลิกใช้แล้ว อ่านแล้วเห็นภาพและชวนขำจริงๆ
ส่วนเรื่องการไหว้นั้น เดี๋ยวนี้ก็เริ่มมีการนำมาใช้ทักทายกันในยามเช้าที่มาพบปะก่อนเริ่มงานกันมากขึ้น ในหมู่ครูบาอาจารย์ในรรประถมและมัธยม ยังคงใช้การไหว้กันอยู่มาก แต่สำหรับเด็กรุ่นใหม่นั้นรู้สึกว่าไหว้ทักทายผู้ใหญ่น้อยลง ขอให้เขียนคำว่า ไหว้ ให้ถูกต้องต่อไปนานๆก็แล้วกัน


Posted by : ผ่านมาอ่าน , Date : 2005-02-03 , Time : 15:44:59 , From IP : 172.29.3.147

ความคิดเห็นที่ : 5


    จะมีกี่คนที่ไหว้ได้สวย เพราะเห็นบางคนไหว้แล้วดูไม่ได้เลย ต้องพยายามนะคะเพราะนี่คือวัฒนธรรมของประเทศไทย

Posted by : wawa , E-mail : (1) ,
Date : 2005-02-03 , Time : 17:50:28 , From IP : 172.29.2.127


ความคิดเห็นที่ : 6


   ใจผมคิดว่าถ้าจประเมินเรื่องไหว้นี่ ไล่มาจากเจตคติก่อนดีไหมครับ แล้วค่อยเอาท่า

เรื่องนี้มันเป็น psychomotor บวก attitude ที่ประการหลังคือ essence ของการกระทำ ส่วนไหว้สวยนั้นพวกประกวดนางงาม หรือโรงเรียนสอนบุคลิกภาพเขาอสนฝึกให้ "รูป" สวยได้แต่อาจจะ "แค่นั้น"

ผมว่ามีคนไหว้ ถึงไม่สวยก็เอาใจช่วยไว้หน่อย บอกเขาว่าที่สวยทำยังไง หรือทำให้ดู ขณะนี้ยังไม่ค่อยเข้าถึงบริบท "ดูไม่ได้" ว่าเป็นยังไงครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-03 , Time : 18:38:28 , From IP : 172.29.7.148

ความคิดเห็นที่ : 7


    การไหว้เป็นวัฒนธรรมประเพณีของไทยที่เก่าแก่ การไหว้ คือ การนำมือทั้ง 2มือมาประกบกันให้คล้ายดอกบัว นิ้วมือติดกัน แต่สมัยนี้การประฌมมือของปัจจุบันนี้ไม่ถูกต้อง และการไหว้ของคนปัจจุบันไหว้แบบนิ้วมือแตกออก

Posted by : ด.ญ.ภิญญดา , E-mail : (ไม่มี) ,
Date : 2007-02-19 , Time : 12:55:26 , From IP : 203-144-165-130.stat


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<