ความคิดเห็นทั้งหมด : 2

Debate LXXXII: Blame Culture the Myth


   เคยเห็นไหมครับ เวลาเด็กเล็กๆสะดุดขาโต๊ะหกล้มร้องไห้จ้า แม่รีบเข้ามาทำเป็นใช้มือตีขาโต๊ะ พลางพูด "นี่แหนะๆ เจ้าขาโต๊ะ มายืนเกะกะขวางทาง" แล้วก็ไปปลอบลูก "โอ๋ๆ ไม่เป็นไรนะลูก แม่ตีมันให้แล้ว"

Blame culture นั้นจะว่าไปเป็น defence mechanism อย่างหนึ่ง ที่เราใช้ในการ "คงคุณค่า" (ส่วนใหญ่ก็ของเราเองนี่แหละครับ) เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าเราดี หรืออย่างน้อยคนอื่นก็แย่ (ล่ะวะ) ดีกรีมากน้อยผมว่าทุกคนน่าจะเคยใช้กันบ้าง (อันนี้เดา)

ดีหรือไม่?

ถ้ามันติดเป็นนิสัยคงจะไม่ดี เพราะอะไรๆไม่ดี มันไม่เคยเข้าตัวเราเลย มันถูกผลักออกไปหมด เราเก๊าะไม่ต้องเปลี่ยน ไม่ต้องเรียน ไม่ต้องพัฒนา ข้อสำคัญคือพอเรา blame คนอื่นแล้ว เราก็จะเกิดความรู้สึก negative กับคนนั้น ไม่ว่าถูกหรือผิดมันก็เป็นการ "เสียโอกาส" ทั้งสิ้น

เคยมีคนไข้อยู่คนนึง เล่าให้ฟัง (ด้วยความคับแค้น ประสมเคียดแค้นด้วยรึเปล่าไม่แน่ใจ) ว่า "หมอไม่ได้นัดซักกะหน่อย พอเรามาหาอีกที กถามว่าทำไมไม่มาตามนัด เนี่ย สายไปแล้ว เป็นเยอะแล้ว" ที่เขาเจ็บใจมากก็ตรงใบ refer เขียนว่า "case recurrent CA penis, the patient lost follow up and therefore delay treatment" เผอิญผป. (ถึงแม้จะแต่งตัวธรรมดา ค่อนข้างเก่า) เป็นพ่อค้าส่งออกกล้วยไม้ไปมาเลเซีย ไอ้ภาษาอังกฤษขนาดนี่ เขาก็เลยทราบว่าหมอคนเดิมว่าเขาว่าอะไร มาอยู่ ward เรา รายนี้เลยไม่ใคร่ไว้ใจทีมเรา คอย test ความสัมพันธ์เป็นระยะๆ พอเราทราบเลยต้องบอกๆให้ทีมรู้ว่า case นี้เขาจะ test เราหน่อยนะ อย่าชิงรำคาญ หรือหงุดหงิด เพราะมันมีประวัติยังงี้ๆ

หรือบางคนใจบุญสุนทาน ทำทานบ่อย แต่พอเข้ากลุ่มสนทนากลับใช้เวลาส่วนใหญ่ก่นด่าคนอื่นที่ไม่ได้ทำอย่างตน แทนที่จะเสพย์บุญกลับเสพย์ทุกข์แทนคนอื่นเสียฉิบ กรรมมาบังแท้ๆ

บางคนติดเป็นนิสัย วันนี้ต้องขอแทงคนอื่นสักแผลสองแผล ให้รู้สึกว่าคนอื่นด้อย ตรงนี้จิตแพทย์อาจจะใคราะห์ว่าเนื่องจากตนเองหาดีลำบาก เลยต้อง convince ว่าคนอื่นมันก็ไม่ได้ดีอะไร งั้นเรายัง OK อยู่

เกิดจากอะไร กลายเป็นนิสัยได้ไหม แก้ได้รึเปล่า (หรือควรแก้รึเปล่า)

Be Mature, Be Positive, and Be Civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-01 , Time : 20:50:50 , From IP : 172.29.7.54

ความคิดเห็นที่ : 1


   blame cultureมันถูกถ่ายทอดมานานหลายต่อหลายรุ่น โดยที่ผ่านมาไม่มีใครรับรู้ว่ามันมีdefect เพราะทำตามๆกันมา ในแบบที่ถูกสอนมาแบบนี้ ก็ทำแบบนี้ต่อไป เป็นrole modelเลยนะเนี่ย แถมคิดว่ามันดีด้วยนะ เพราะทุกรุ่นในอดีต ก็อยู่รอดปลอดถัยมาตลอด จนนานวันเข้าจำนวนคนแบบนี้ก็มากขึ้นกลายเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม ก็น่าคิดนะถ้าเราจะbreak cultureแบบนี้
เอาเป็นว่าคงต้องเริ่มที่เราจะทำ
ทีนี้มาลงลึกกันที่ นิสัยที่ติดตัวมา คิดว่ามีความลึกหลายระดับ วิถีเปลี่ยนก็จะยากง่ายต่างกัน

ถ้าป็นนิสัยที่เพิ่งก่อกำเนิดมา ยังไม่from เป็น personality ชัดเจน หรือ กำลังก่อร่างสร้างบุคคลิก ก็คงก่อนช่วยวัยรุ่นจะผ่านพ้นไปหน่ะ ก็น่าจะพอปรับเปลี่ยนได้
ถ้า
ได้รับการกล่อมเกลา หรือให้เครื่องมือแบบอย่างที่จะให้เขาฝึกใช้ คือ mature defence mechanism ทีดีเพียงพอ และสม่ำเสมอ บวกเมตตาและปราถนานิดๆโดยหวังว่าเขาจะดี และพัฒนาได้ (แบบแม่ปรารถนาต่อตัวลูกเลยทีเดียว)
คนคนนั้นต้องรู้คัว ยอมรับdefectตนเอง ต้องในระดับมีinsightรู้ตัวเลยทีเดียว
คนคนนั้นต้องมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง เพราะถ้าไม่ร่วมมือที่จะมีaction แบบใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม ทุกอย่างก็จบ

แล้วถ้าเป็นนิสัยที่ฝังรากลึกมานาน แบบไม้แก่ดัดยากหล่ะ
คงต้องใช้ความแก่ของประสบการณ์ชีวิตที่ทำให้เขาได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะจากการโทษคนอื่น หรือ........เป็นตัวนำทางให้มองเห็นตนเอง
แต่การเปลี่ยนแปลงอาจยากหน่อยหล่ะมั้ง เพราะเขาจะไม่ชินกับdefenseแบบใหม่ที่เราจะให้เขาฝึกใช้ เผลอทีไรก็จะกลับไปใช้defence แบบเดิมที่ตนเองใช้มานานจนเคยชินมาตลอดชีวิตทุกที เพราะมันรู้สึกว่า ใช้defenceแบบเดิมมันง่ายกว่าทุกทีสิน่า
ลองอีแบบนี้ ถ้าไม่มีใครสะท้อนให้เห็น ไม่ยอมรับ ไม่พร้อมที่จะเปลี่ยน ก็ยากเกินแกง ก็ปล่อยไปเถอะ เปลี่ยนยาก มัน fixed personalityเป็นแบบถาวรไปเสียแล้ว หมดหวังเลยหล่ะทีนี้


Posted by : pisces , Date : 2005-02-01 , Time : 23:52:47 , From IP : 172.29.7.143

ความคิดเห็นที่ : 2


   ในบรรดาคุณสมบัติและโทษสมบัติของ mechanism แบบ blame culture สิ่งหนึ่งทีสำคัญที่สุดคือเป็น inhibition of insight นั่นคือการขวางกั้นการวิเคราะห์เพื่อเข้าใจตนเอง

เรียนรู้ พัฒนา เปลี่ยนแปลง ศึกษา นั้นจะให้ดีที่สุดตามทฤษฎีปรัชญาการเรียนแบบผู้ใหญ่ (andragogy) ต้องเพิ่มจาก "ตนเอง" ก่อน ถ้าเอาของพุทธมาเปรียบคงจะเป็น "ฉันทา" ความพึงพอใจ เห็นดี เห็นชอบ ที่จะทำกระมัง

จริงๆ blame culture ก็ใช้ฉันทานำเหมือนกัน แต่ฐานนั้นมาจาก Id หรือตัวตนดิบ เป็นส่วนที่ hold "self value" อยู่ ดังนั้นฉันทาตรงนี้ควรจะต้องอาศัยอีกสองปรัชญามาช่วย (รึอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้) นั่นคือ ปรัชญาของมหายาน (Bodhisattava vow การปวารณาตนบำเพ็ญชีวิตอย่างโพธิสัตว์ นั่นคือ อยู่เพื่อช่วยเหลือคนอื่นให้พ้นทุกข์) หรือใกล้ตัวเข้ามาอีกนิดก็ปรัชญาของสมเด็จพระราชบิดาก็ได้ คนละ wording แต่ความหมายเหมือนกันเป๊ะ

เรียนเพื่อ "ตนเอง" ได้ไหมล่ะ? ได้เหมือนกันครับ นั่นคือแบบ Theravadin หรือเถรวาท (ที่พวกมหายานเรียกเราว่า "หินยาน" นั่นแหละ) ก็จะวกกลับมาที่ self searching (การค้นหาตนเอง ศึกษาตนเองนะครับ ไม่ใช่ Self searching journal ของ อ. เป้า)

สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดใน blame culture คือจะไม่เน้นที่ "เนื้อหา" แต่เป็นเน้นที่ "คนอื่น" คนอื่นผิด คนอื่นต้องแก้ คนอื่นต้องทำ และตนเองนั้นจะเล่นบท victim role ตลอด คือ เพราะคนอื่นทำเราเป็นยังงี้ เพราะคนอื่นไม่แก้เราก็เลยซวยไป ปัญหาของเราน่าจะต้องแก้โดยคนอื่นก่อน เราไม่เคยผิด เคยแต่ซวยหรือตกเป็นผู้รับเคราะห์จากผลแห่งการกระทำของ "คนอื่น"

นั่นเป็น phase แรกที่ blame mechanism แค่เริ่มๆ ต่อเมื่อติดเป็นนิสัยแล้วยิ่งน่ากลัว

เพราะถ้าใช้ Blame culture แบบ active ไม่ใช่ passive ก็จะเป็นการ search หาความผิดภายนอก เพื่อ justify ส่งที่ตนเองกำลังจะทำแทน งานจะไม่เสร็จก็เริ่มหาคนผืด เราขี้เกียจ ไม่อยากมีจริยธรรมก็แสวงหาคนที่เลวกว่า คนที่ทำเหมือนกัน หรือแม้แต่สร้างคนที่เลวกว่าขึ้นมาเพื่อ justify สิ่งที่เรา "อยาก" จะทำแต่รู้อยู่ว่ามันไม่ถูกต้อง ถ้าเมื่อไหร่ blame culture ได้ progress มาถึงขั้น active แบบนี้ อย่างที่คุณ Pisces ว่าคือ น่าจะสายเกินไปแล้ว หรือยากที่จะเปลี่ยน

แต่ "องคุลีมาลย์" ยังเปลี่ยนได้เลยนี่ เราก็ยังมี optimism ได้อยู่บ้าง

สงสัยต้องเพิ่ม Be mature, Be positive, be civilzied และ Having Insightซะแล้ว




Posted by : Phoenix , Date : 2005-02-02 , Time : 07:03:03 , From IP : 172.29.7.246

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<