ความคิดเห็นทั้งหมด : 27

**สำคัญ**เหตุการณ์นี้ที่เกิดบน ward แสดงว่านักศึกษาแพทย์เป็นส่วนสำคัญของ team รักษา


   http://66.102.7.104/search?q=cache:az8dSZ5qQUUJ:medassocthai.org/journal/files/Vol87_No12_1542.pdf+%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2+%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A2&hl=th%20target=nw

Link ยาวสุดๆ เดี๋ยวจะ paste ให้อ่าน
ตีพิมพ์ ใน J Med Assoc Thai Vol. 87 No.12 2004 (เร็วๆนี้)


Posted by : OmniSci , Date : 2005-01-30 , Time : 10:30:59 , From IP : 172.29.7.164

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ผมรับผู้ป่วย SLE ไว้ เพื่อการศึกษาเรียนรู้วันหนึ่งกลุ่มของผมได้เลือกที่จะมีการสอนข้างเตียง (bed side teachnig) จากผู้ป่วยรายนี้ (หญิงไทย อายุ35 ปี ภูมิลำเนา เชียงใหม่) ซึ่งผมได้ขออนุญาตผู้ป่วยล่วงหน้าแล้ว ผู้ป่วยไม่ขัดข้องประการใดมีนักศึกษาแพทย์ในกลุ่ม 8 คน เริ่มจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายพร้อม ๆ กัน หลังจากนั้นก็มีการซักถามกับอาจารย์แพทย์ (discussion) และสรุปหลังจากเรียนจบคาบ ผมไปหาผู้ป่วยเพื่อที่จะขอบคุณ พบผู้ป่วยน้ำตาคลอและเสียงสั่น ๆ ผมจึงโดด lectureเพื่ออยู่กับผู้ป่วยผู้ป่วยเล่าให้ฟังว่า “เริ่มติดต่อโรงพยาบาลเพราะมีแผลเรื้อรังบริเวณหลังมือ, ข้อพับ, ข้อศอก ร่วมกับมีอาการปวดข้อนิ้วมือ รักษามาประมาณ 6-7 เดือน ไม่หาย อยากนอนโรงพยาบาลเนื่องจากเชื่อว่าจะได้รับการดูแล และตรวจอย่างจริง ๆ จัง ๆ แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ”“ในที่สุดเมื่อเรามีความมุ่งมั่น พระเจ้าก็เห็นใจ ได้เข้านอนในโรงพยาบาลอย่างสมใจ”ขาทั้ง 2 ข้างจู่ ๆ ก็ไม่มีแรงเอาดื้อ ๆ และได้รับการใส่สายถึง 2 อันหลังจากย้ายมาเพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่โรงพยาบาลนี้ ก็มีการทำการตรวจ (investigation)อีรุงตุงนังไปหมด (จริง ๆ ก็ยังไม่ได้คำตอบ แต่พี่แพทย์อธิบายให้ผู้ป่วยว่าน่าจะเป็น SLE แล้วได้เริ่มการรักษา)หลังนอนโรงพยาบาลขาเริ่มมีแรงมากขึ้น แต่รู้สึกเหนื่อยหอบเพิ่มขึ้น พี่แพทย์เจ้าของไข้ตรวจพบว่าผู้ป่วยมีน้ำอยู่ในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial space) แต่เนื่องจากปริมาณน้ำใน pericardial cavity ยังน้อย และส่วนใหญ่อยู่ทางด้านหลัง (posterior) อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ (cardiologist) จึงไม่อยากเจาะเอาน้ำออก ซึ่งแพทย์เจ้าของไข้ได้อธิบายให้ผู้ป่วยรับทราบร่วมกับบอกว่าจะไม่ทำอะไรกับอาการเหนื่อยนี้ นอกจากรอให้น้ำซึมกลับไปเอง

Posted by : OmniSci , Date : 2005-01-30 , Time : 10:32:59 , From IP : 172.29.7.164

ความคิดเห็นที่ : 2


   อาทิตย์ที่ผมรับผู้ป่วย อาจารย์เจ้าของไข้ลากิจอีก 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยมีความประสงค์จะย้ายไปอยู่ห้องพิเศษเพราะตัวผู้ป่วยเองรู้สึกว่าหากอากาศบริสุทธิ์ได้พักผ่อนเพียงพอ อาการน่าจะดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้รับการอนุมัติอีกเช่นเคยพี่แพทย์ได้ให้เหตุผลว่า ไม่มีอาจารย์แพทย์ตามไปดู และอาจารย์แพทย์ท่านอื่นบอกว่าตนไม่เชี่ยวชาญโรคนี้ส่วนเรื่องผิวหนังก็มีการเลื่อนการตรวจออกไปเรื่อย ๆ จากจะมาเย็นนี้เป็นพรุ่งนี้ เป็นสัปดาห์หน้า จนในที่สุดผู้ป่วยได้เข้า skin conference ผู้ป่วยบอกว่า “มีแพทย์ตั้งหลายคน เถียงกันยกใหญ่ แต่ไม่มีใครตรวจ แม้แต่เปิดแผลดูก็ไม่มี” สุดท้ายก็มีคนเข็นกลับมาที่เตียง โดยที่ผู้ป่วยยังไม่รู้เลยว่าเข้าไปนั่งในห้องนั้นทำไมผู้ป่วยบอกว่าเป็นโรคชื่อฝรั่ง ฉะนั้น คงเป็นโรคของฝรั่ง คงไม่ค่อยเจอในคนไทย ถ้าผู้ป่วยเป็นฝรั่งคงรักษาได้แต่โชคร้ายนะที่ผู้ป่วยเป็นคนไทย แพทย์ไทยจึงทำอะไรไม่ได้มากนัก และคงเป็นโรคติดต่อร้ายแรง เพราะมีอาจารย์หลายคนมาดู วันหนึ่งมากันไม่ซ้ำหน้าเลย แต่หลังจากดูเสร็จก็หายไป ไม่มีการทำอะไรเพิ่มเติม อีกทั้งยังมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับโรคที่ตัวเองเป็นหลายครั้งหลายคราว ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าคงมีเวลาเหลืออีกไม่นานนัก จึงอยากทำอะไรหลาย ๆ อย่างเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต และหวังว่าโรคที่ตัวเองเป็นคงให้ความรู้กับแพทย์ได้มากมายก่อนที่ผู้ป่วยจะจากไป

Posted by : OmniSci , Date : 2005-01-30 , Time : 10:33:31 , From IP : 172.29.7.164

ความคิดเห็นที่ : 3


   [อยากได้ข้อมูลเพิ่ม จึงตั้งคำถามให้กับนักศึกษาแพทย์ผู้นั้น]
1. ผลของการโดด lecture (ถูกทำโทษ ติเตียน หรือไม่มีผู้ใดสังเกต) ?
คิดว่าอาจารย์คงไม่รู้ เพราะไม่มีการ check ชื่อ และอาจารย์ไม่ได้ถามถึง2. มุมมองของเพื่อน? มีการเอาเรื่องนี้มาพูดคุยกันระหว่างเพื่อนบ้างไหม แล้วมีการให้ความเห็นในลักษณะใด?
มี เพราะเพื่อนคงสงสัยว่าเดินด้วยกันอยู่ดี ๆ แล้วหายไปไหน จึงได้มีโอกาสเล่าให้เพื่อนฟัง แต่พอเล่าได้สักพักดูเหมือนไม่มีใครอยากฟัง เลยหยุด
3. ทำไมจึงคิดว่าต้องยืนฟัง?
สงสารเค้า อยากทำให้เค้าสบายใจเร็วที่สุด ที่ต้องยืนฟังเพราะจะได้มองหน้าผู้ป่วยได้ (ผู้ป่วยนอน)
4. ที่คุณเขียนบรรยาย เป็นที่ผู้ป่วยเล่าใช่ไหม และใช้เวลานานเท่าไร รู้ไหมทำไมเขาจึงเล่าให้ทั้งหมดเพราะคุณแสดงความสนใจ ?
ผู้ป่วยเล่า แต่ผมป้อนคำถาม โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงสาเหตุที่ผู้ป่วยเล่าให้ฟัง เป็นเพราะ ก. เจอหน้ากันทุกวัน ข. เคยถามผู้ป่วยก่อนว่า วันนี้เป็นอย่างไรอยากให้ทำอะไรบ้าง แล้วไปบอกพี่ ค. เขาคงอยากเล่าเพราะการแสดงออกของเรา การยืน น้ำเสียงการตั้งคำถาม สีหน้า
5. หลังจากนั้น คุณพยายามทำอะไรเพื่อคลายความ “สับสน” ของผู้ป่วย
ขอโทษผู้ป่วย แล้วพยายามบอกผู้ป่วยว่า เขาเข้าใจผิด
6. เขาสบายใจขึ้นไหมหลังจากระบายแล้ว
คิดว่าเค้าคงดีขึ้นนะ เพราะว่าเค้ายิ้ม และบอกว่าจะรักษาให้หายก่อนแล้วค่อยไปเชียงใหม่
7. ถ้าเจอสถานการณ์นี้อีก คุณจะปฏิบัติเช่นนี้อีกไหม หรือจะทำอะไรเพิ่ม หรือจะปรับปรุงในรูปแบบใด
คงต้องป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกคงหัดสังเกตสีหน้าผู้ป่วยมากขึ้นเช่นถ้ารอยยิ้มบนใบหน้าหายไป คงต้องทำอะไรสักอย่าง


ข้อคิดเห็น1. สถานการณ์นี้พบบ่อยไหมในโรงพยาบาลของท่าน และถ้าไม่พบ, ทำไม ?
นักศึกษาแพทย์ผู้นี้มีทางเลือกอื่นไหม ถ้าเขาไม่อยากขาด ‘lecture’3. ถ้าเขาถูกทำโทษเพราะขาดการเรียน ?
สำหรับผู้อ่าน- นักศึกษาแพทย์มีส่วนในการดูแลผู้ป่วยหรือไม่- เผอิญได้อ่านเรื่องในLancet Nov 2004 ที่นักศึกษาแพทย์(ที่? นิวยอร์ค) เผชิญกับผู้ป่วยที่แอบเข้ามาอยู่ในประเทศ อายุมาก พูดเป็นแต่ภาษาจีน และมีภาวะไตวาย ต้องได้รับการล้างไต ผู้ป่วยไม่เข้าใจการดูแลรักษาโดยเฉพาะในรูปแบบที่ผู้รักษาไม่เต็มใจ ผู้ป่วยไม่มีเงินและไม่มีเพื่อนหรือญาติช่วยดูแล ซึ่งนักศึกษานี้บรรยายว่าเหมือนอยู่ในคุกทั้งกายและใจ นักศึกษารำพึงว่าในฐานะนักศึกษา เขาให้ได้แต่ “เวลา หูฟัง และ เสียงพูด” ส่วนผู้ให้ความเห็นอีกท่านปรารภว่า ไม่ควรใช้การเป็นแพทย์ (professionalism) มาปิดบังการใช้อำนาจหรือการดูหมิ่นผู้ต้องการความช่วยเหลือ


Posted by : OmniSci , Date : 2005-01-30 , Time : 10:36:44 , From IP : 172.29.7.164

ความคิดเห็นที่ : 4


   ส่วนอันนี้เป็น pdf ถ้าอยากได้
http://medassocthai.org/journal/files/Vol87_No12_1542.pdf.


ขอบคุณ อ.ธาดา ยิบอินซอย ที่มองเห็นประเด็นนี้


Posted by : OmniSci , Date : 2005-01-30 , Time : 10:38:17 , From IP : 172.29.7.164

ความคิดเห็นที่ : 5


   อืมมมม
น่าจะเป็น มอ. เรานี่แหละ


Posted by : OmniSci , Date : 2005-01-30 , Time : 10:40:48 , From IP : 172.29.7.164

ความคิดเห็นที่ : 6


   ที่มอ.เราตัดนักศึกษาแพทย์ออกจากทีมรักษามาตั้งนานแล้ว

Posted by : Maxim , Date : 2005-01-30 , Time : 11:05:54 , From IP : 203.156.190.37

ความคิดเห็นที่ : 7


   นี่คือการ approach ผู้ป่วยแบบ holistic ใช่ไหมครับ

Posted by : ArLim , Date : 2005-01-30 , Time : 11:57:47 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 8


   Original quote: (English version by Tada Yipintsoi
===========================================
===========================================
A Patient and a Medical Student
Tada Yipintsoi MB**
Songklanakarind Hospital

I heard a gist of the story. Since I know the medical student and his family I asked him to relate the events in writing. This was what he wrote in Thai.

Our group (year 5 medical student, a year before becoming an extern) chose a 35 years old female patient who has systemic lupus erythematosis as a study subject. She consented. We presented her to ourtutor and discussed her case. After that, just prior to attending a lecture, I went to thank her for allowing us to learn about her andher disease. I found her crying. So I decided to listen to her problems and missed the lecture.

Her story: She was told she had a complicated illness and had the impression that the only hope was to be treated in a medical-school-hospital. After many attemps, she thank the angels that she finally was admitted. A lot of tests was done. Many doctors came and examined her. Once she was short of breath and eventually a cardiologist was consulted who told her that she had "fluid around her heart" (pericardial effusion) but the amountwas not large, the space was not easily accessible and it may resolve by itself, so no specific treatment was necessary (that was what she was told).Then, because of the skin involvement, she was seen at a skin conference, where many doctors discussed with one another. None talked to her nor even had a cursory look. She returned to the ward none the wiser.

Finally she said that she must have a rare Western disease, because the many doctors used that strange label (presumably SLE). So far, some explanation of her disease had been given by the resident MD buthe had to wait other"s decision. She wish she knew the severity of her disease so that she can be prepared forthe eventuality. End of story by this medical student.

I then wrote him asking him to clarify certain points. Aside from these questions, there was noprompting in any portion of his story.

My questions
1. Penalty from missing lecture?
This was not noticed by the lecturer.

2. Did you relate this events to your friend. What were their responses?
They noticed my absence. What I related did not seem to interest them.

3. What was your posture while listening to the patient?
She was lying down and I stood next to the bed to be able to observe her facial expression.

4. Did she just pour her feeling out and why you? How long did it take?The conversation lasted an hour. Yes, I did occasionally prompt her with questions.She probably found me sympathetic as I often asked her whether I could be of help and at times will relate "her request" to my senior (i.e. resident MD in charge of the patient).

5. What else did you do to help the dilemma and how did she respond?
I apologise for all of us and told her that most of her apprehensions resulted from mis-communi-cation. She eventually smiled, and said she will wait till the treatment works before returning to herhome which is nearly 2000 km from the present medical school hospital.

6. If you were in this situation again, how would you improve the encounter.I must try and prevent this occurrence. I must try and recognize early signs from the patient’sbody language. Alack of a welcoming sign when visited may need careful attention.
--------------------------------------------------------------------------------
Page 2
J Med Assoc Thai Vol. 87 No.12 20041543

Comment-How often does one see and experience this scenerio at one"s OPD or wards as one rushes about? If not often, why?-What options are opened to this chap if he does not want to miss his lecture?-If there was a roll call and he was penalized?

To the reader:-Should medical students have a role in patients’ care? Finally, happened to read an article of a similar vein in November Lancet 2004. Amedical studentrelated his experience with an old illegal with chronic renal failure, who could only speak Chinese and no one tolook after. He labelled this patient as being in "a prison of mind and body". He then discussed his role as a medical student in that he can only offer “my time, my ear and my voice”. An editorial added: professionalism should not be a veil for protecting a doctor"s paternalism and power.

Keywords : Ethical problem, Bed side teaching, Doctor-patient relationshipJ Med Assoc Thai 2004; 87(12): 1542-5Full text. e-Journal: http://www.medassocthai.org/journal
===========================================
===========================================
คิดว่าน่าอ่านทั้งสองภาษาครับ




Posted by : Phoenix , Date : 2005-01-30 , Time : 12:59:05 , From IP : 172.29.7.135

ความคิดเห็นที่ : 9


   มีหลายประเด็นที่น่าสนใจจากเรื่องนี้

ที่ นศพ. คนนี้ทำไปเป็น self-directed learning อย่างหนึ่ง เขาใช้วิจารณญานว่า ณ ขณะนั้นในฐานะเจ้าของร่างกาย เขาควรจะอยู่ที่ไหน ทำอะไรมากที่สุด โดย "virtue" ที่ใช้นำคือ "คนไข้" ถ้าจะให้วิจารณ์ตรงนี้ ผมว่านี่เป็นตัวอย่างของ pure motivation ตามหลักปรัชญาของ SDL ที่ดูจะเปน myth มานาน

นศพ.คนนี้ได้ทำ "อะไร"?

3. ทำไมจึงคิดว่าต้องยืนฟัง?
สงสารเค้า อยากทำให้เค้าสบายใจเร็วที่สุด ที่ต้องยืนฟังเพราะจะได้มองหน้าผู้ป่วยได้ (ผู้ป่วยนอน)

"ฟัง" เพื่อ "ให้เค้าสบายใจ" การที่ นศพ. ตระหนักว่าการมีอยู่ของ นศพ. กิจกรรมที่ไปซักประวัติตรวจร่างกาย มีปฏิสัมพันธ์ หรือแม้แต่แค่ "ฟัง" ก็ช่วยผู้ป่วยได้ มีผลอย่างไรต่อเจตคติ ต่อพฤติกรรม? ขณะนี้เขาได้ทราบว่า ในฐานะ "นศพ." เขามีบทบาทในการที่ช่วยผู้ป่วยให้สบายใจขึ้น ถ้าการที่ผป.ดีขึ้น อยู่ใน mission objective ของทีมการรักษา แค่คิดได้ขนาดนี้ ไม่ว่าจะมีการ declare อย่างเป็นทางการหรือไม่ นศพ.คนนี้ "ได้อยู่ในทีม" การรักษาไปเรียบร้อยแล้ว

เมื่อไหร่จะทราบว่าผป.ต้องการบริการนี้?

4. ที่คุณเขียนบรรยาย เป็นที่ผู้ป่วยเล่าใช่ไหม และใช้เวลานานเท่าไร รู้ไหมทำไมเขาจึงเล่าให้ทั้งหมดเพราะคุณแสดงความสนใจ ?
ผู้ป่วยเล่า แต่ผมป้อนคำถาม โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงสาเหตุที่ผู้ป่วยเล่าให้ฟัง เป็นเพราะ ก. เจอหน้ากันทุกวัน ข. เคยถามผู้ป่วยก่อนว่า วันนี้เป็นอย่างไรอยากให้ทำอะไรบ้าง แล้วไปบอกพี่ ค. เขาคงอยากเล่าเพราะการแสดงออกของเรา การยืน น้ำเสียงการตั้งคำถาม สีหน้า

ไม่ต้องถามก็ทราบได้ นศพ. แพทย์ พยาบาล ไปทำงาน ณ รพ.ทุกวัน มีการสร้าง bond ขึ้นเรียบร้อยระหว่างทีมรักษากับผป. ที่ต้องทำก็เพียงแค่ สังเกตสีหน้า ของผป. แน่นอนที่สุดที่เขาก็กำลัง "สังเกต" ของเราด้วยเหมือนกัน นี้เปนปฏิกิริยาปกติทั่วๆไป เรามีการสังเกตและประเมินคนที่เรากำลังมีปฏิสัมพันธ์ด้วยตลอดเวลา และออกมาเป็น "คุณค่า" ของความสัมพันธ์นั้นๆ

ทำไมเขาถึง "ขอโทษ" เป็นความผิดของ นศพ. คนนี้หรือไม่ ที่ผป.รู้สึกอย่างที่ระบาย?

คำตอบคงไม่ใช่ความผิดของ นศพ. แต่เขาสามารถ detect อารมณ์ ของผป.ในรายนี้ได้ว่าขณะนั้น นอกเหนือจากความกังวลอะไรแล้ว เขายังมี ANGER ความโกรธปนอยู่ ออกมาเป็นการแสดงออกที่เห็น ก่อนที่ นศพจะอธิบาย (logic approach) เขาได้พยายามรักษา "อารมณ์" (emotional approach) ก่อน ด้วย simple word คือ gesture ประกอบกับ nonverbal อื่นๆ ได้แก่ การเข้าไปยืนฟังอย่างเห็นใจ อย่างสงบ และให้ ผป. ได้ observe นศพ.อย่างเต็มใจถึงความจริงใจและเจตนา
+===========================================++

ถ้า นศพ.ท่านนี้อยู่ที่ มอ. ผมดีใจครับ และอยากให้ นศพ.คนนี้ช่วยเล่าเหตุการณ์เรื่องนี้ให้เพื่อนๆฟังอีกหลายๆคน ถึงแม้มีหรือไม่มี สนใจหรือไม่สนใจ แต่ข้อมูลอย่างน้อยก็เข้าไปอยู่ในส่วนรับรู้ ว่าขณะที่เรามี subjects (คือ ผป.) เหมือนๆกัน เดินไปมาบน รพ.เหมือนๆกัน แต่เราสามารถ "ได้เรียน" ต่างกันอย่างมากมาย เราสามารถมี maturity ต่างกันอย่างมากมาย และเราก็จะจบการศึกษาอย่าง "ต่างกัน" อย่างมากมาย นศพ.คนนี้จะได้เกียรตินิยมหรือไม่ ได้เกรดเท่าไหร่ คงไม่สำคัญเท่าไหร่แล้วละครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-01-30 , Time : 13:21:40 , From IP : 172.29.7.135

ความคิดเห็นที่ : 10


   ขอเข้าประเด็นที่สอง คือบริบทของทีมให้การรักษาจากมุมมองของ ผป.รายนี้

การเรียนแบบใช้ผป.เป็นศูนย์กลางบางทีเราก็ต้องการจะ demonstrate clinical findings ของตัวผป. ฉะนั้นก็มีการ round ประเภทนี้ ได้แก่ bed-side teaching หรือ demonstrated patient interview รวมไปถึง interactive clinical demonstration อย่างในรายที่กล่าวถึง ประเด็นสำคัญ "ที่สุด" คือ ขณะที่เราเรียนจาก ผป. เรายังคงต้องรักษาปรัชญาเดิมของอาชีพของเราคือ ประโยชน์ (และโทษ) ต่อตัว ผป.เป็นสิ่งที่เราคำนึงถึงมากที่สุดตลอดเวลา

เวลาที่เราจะ round bedside team-leader จะต้องมี clear objective ว่าเราจะจำเป็นต้องทำอะไรที่ข้างๆเตียง ผป.บ้าง ผป.จะได้อะไร และ ผป.จะเสียอะไร จากการที่เราไปอยู่ ณ ที่นั้น ไม่ว่าจะเพียงคนเดียว สองคน หรือสิบห้าคน ต้องนำมาคำนึงถึงอยู่ตลอดเวลา และถ้าความจำเป็นที่เราต้องรบกวน ผป. ณ ข้างเตียงนั้นหมดไป ก็ควรจะ retreat ออกมาอยู่ที่อื่นทันที เช่น ตอนที่อาจารย์ต้องการจะถาม นศพ. ตอนที่เราจะ discuss technicle terms กับแพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน นั่นหลังจากที่เราต้องสรุปผลการเยี่ยมข้างเตียงให้ ผป.ฟังก่อนด้วยว่าได้ใจความว่าอย่างไร การดำเนินรคของคุณเปนไปตามวางแผนหรือไม่ เราจะทำอะไรต่อ เพราะนั่นคือสิ่งที่ ผป.ทุกคนต้องการทราบ และดีที่สุดจาก first hand responsibility คือทีมแพทย์ ไม่ใช่ส่งต่อจากพยาบาล

การเชิญ ผป.มา demonstration ยิ่งสำคัญ บรรยากาศยิ่ง Intimidate กว่า ฉะนั้นเราต้องวางแผนให้ดีว่าเราต้องการหรือจำเป็นต้องใช้ presence ของ ผป. จริงๆแค่ไหน ตอนไหน อธิบายให้เข้าใจล่วงหน้า เมื่อ ผป. เข้ามาแล้ว ก็แนะนำผป. ให้รู้จักกับทีม ขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ และเมื่อหมดความจำเป็น ก็สรุปให้ ผป.ฟังว่าทีมแพทย์มีความเห็นว่าอะไรหรือจะบอกให้ฟังทีหลัง ขอบคุณ ผป. และเชิญกลับไปพักผ่อนก่อนที่จะ discuss กันต่อทาง technical

ขั้นตอนต่างๆเหล่านี้ อาจจะฟังดูยาวและสับสนบ้าง วิธีที่ง่ายที่สุดก็จินตนาการว่า ผป.คนที่เรากำลังมุงข้างเตียง หรือเชิญมา demonstrate เป็นบุรพการีของพวกเราเอง แค่นี้ก็อาจจะพอได้



Posted by : Phoenix , Date : 2005-01-30 , Time : 14:30:07 , From IP : 172.29.7.236

ความคิดเห็นที่ : 11


   แล้วการเรียน bedside มีโทษหรือเปล่า ถ้ามีอาจารย์ที่สอนเป็นถึงระดับ ศ. แต่เวลาพูดdiscuss กับนศพ.ไม่ได้คิดเลยว่าผป.ก็มีความรู้สึกและได้ยินสิ่งที่เขาพูด เช่นพูดว่า อาการขนาดนี้ ไม่ทำอะไรแล้ว ไม่มีประโยชน์ ให้กลับบ้านไปเถอะ อะไรทำนองนี้...ใครควรจะเป็นคนบอกเขาว่าเขาไม่ควรเป็น role model

Posted by : แสดงความเห็นด้วยคน , Date : 2005-01-30 , Time : 14:49:41 , From IP : 172.29.7.246

ความคิดเห็นที่ : 12


   Maxim or Maxxim นั้นเป็นยี่ห้อกาแฟหรือหนังสือกันครับ

ขอบคุณ อ. นกไฟ สำหรับ English English ของ อ.ธาดา

จริงหรือเปล่าที่ นศพ.ไม่ได้อยู่ในทีมรักษา ตัวอย่างนี้ก็เป็นตัวอย่างที่ดีแล้วไม่ใช่หรือ ว่า สำคัญยิ่งยวดเชียว

แล้วอะไรทำให้ บาง นศพ คิดว่าตัวเองอยู่นอกทีม

1.ระบบไม่ดี
2.นศพ. คิดไปเอง หรือไม่ยอมคิด

อย่าง SDL คืออะไร ช่วงที่เป็ร SDL คือข่วงที่ต้องกลับหอพัก ไป search internet แล้ว copy/ paste ทำรายงาน

SDL ห้ามอยู่บนหอผู้ป่วยหรือเปล่า

ผมเองก็ห่างจากการ ดูแล นศพ เหลือเกิน สุดจะคาดเดาว่าคิดอะไรอยู่


Posted by : OmniSci , Date : 2005-01-30 , Time : 15:08:17 , From IP : 172.29.7.79

ความคิดเห็นที่ : 13


   ส่วนบริบทของทีมให้การรักษาจากมุมมองของ ผป. ที่ อ. นกไฟ ได้อธิบาย

ข้อสรุปเป็นเช่นนั้นจริงๆ ว่า ขอให้คิดว่าผู้ป่วยเป็น ญาติที่เรารัก นับถือ และถ้ารวมไปถึงให้คิดว่าเราเป็นคนจ่ายเงินรักษาเองด้วย จะยิ่งดีใหญ่ จะเข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องอธิบายอะไรหลายๆอย่างให้คนไข้ฟัง ทำไมต้องทำอย่างนี้ (นอกจากคนไข้แล้ว คนจ่ายตังค์คงอยากจะรู้เหมือนกัน)




Posted by : OmniSci , Date : 2005-01-30 , Time : 15:14:54 , From IP : 172.29.7.79

ความคิดเห็นที่ : 14


   Role model เป็นแค่หนึ่งในบรรดาเครื่องมือการเรียนรู้ครับ สำหรับ adolescence learner ค่อนข้างจำเป็นมาก แต่สำหรับ adult learner ผมเองคิดว่าบทบาทอาจจะลดลง (เนื่องจาก personality ได้ formed ไปเรียบร้อยแล้ว)

ตรงนี้เคยอภิปรายกันหลายครั้งว่านักศึกษาแพทย์เป็นแบบไหน mature รึยัง หรือยังพูดจาอ้อแอ้ เดินโอนเอนเกาะโต๊ะเกาะเตียงอยู่ ใจผมคิดว่า นศพ. ควร (และส่วนใหญ่) เป็น adult learner แล้ว ถึงแม้ว่าอายุตอนเริ่มต้นยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตาม แต่เพราะ มันจำเป็น

เราไม่สามารถจะคาดหวังว่า นศพ. จะ turn adult ตอนวันรับปริญญา ขบวนการเปลี่ยนแปลงจากวัยรุ่นเป็นผู้ใหญ่ต้องใช้เวลาพอสมควร ฉะนั้นน่าจะเริ่มตอนไหนดี คำตอบน่าจะเป็น "เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้" อาจจะมีอะไรที่น่าเสียดายที่เราต้องหมดวัยคิกขุอาโนเนะเร็วจังเลย แต่นั่นเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนกับการที่เรากำลังกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีอาชีพน่านับถือเคารพในสังคม (ถ้าเราดำรงคงไว้ซึ่งปรัชญาวิชาชีพได้) ผมว่ามันคุ้มกัน

ดังนั้นมันสำคัญมากตรงที่ ศ. หรือ อ. หรือ นพ. ท่านใดเปนหรือไม่เป็น role model สำหรับเรา? ถ้า scenario เปลี่ยนมาเป็นอย่างที่ผมว่า การที่เราสามารถใช้วิจารณญานว่า ศ. อ. หรือ นพ. ท่านนั้นทำตัวไม่เหมาะสม ตัวเราเองที่คิดอย่างนั้นนั่นแหละครับที่กลายเป็น role model ของตนเอง

การเรียนที่ไหนๆก็สมารถมีโทษได้ทั้งสิ้นครับ ถ้าเจตคติเราเบี่ยงเบนออกนอกเส้นทาง ไม่ว่าจะมีคนไข้อยู่ตรงหน้าหรือไม่ เช่น ไม่รู้แล้วลอกข้อสอบ ไม่เรียนแล้วหวังออกตามโพย ไม่ดูคนไข้แล้วหวังจะรู้แต่ทฤษฎี ไม่ PR แล้วหวังจะรู้ว่า Prostate gland เป็นยังไง haemorrhoid เป็นยังไง rectal shelf เป็นยังไง ศึกษาหมกมุ่นเรื่องหาเงินหลังจบ ทุ่มเทพลังงานส่วนใหญ่เรียกร้องเพื่อตนเอง รวมไปถึง bed-side SDL PBL CRT Lecture Lab round, etc



Posted by : Phoenix , Date : 2005-01-30 , Time : 16:02:56 , From IP : 172.29.7.236

ความคิดเห็นที่ : 15


   ลุงนกครับ.... ทีมในการรักษาคนไข้คืออะไรครับ.....
คิดว่า นศพ.รู้แต่สิทธิแต่ไม่รู้ว่าหน้าที่ที่ควรทำเวลานั้นคืออะไร
ถ้า SDL คือการไปหาข้อมูลที่หอก็แย่นะครับ....
ความรู้เราสามารถหาได้เรื่อยๆ... พบคนไข้แล้วค่อยกลับมาหาได้
แต่Clinical skill ต้องผึกฝนครับ....
Clinical skill ที่ฝึกที่หอได้คือ
1. ตอแหล case
2. นอนกลางวัน
3. game online
4. ความรู้ที่ยังไมมี clinical application


Posted by : นะครับ.... , Date : 2005-01-30 , Time : 21:24:13 , From IP : proxy3.chula.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 16


   ลุงนกครับ.... ทีมในการรักษาคนไข้คืออะไรครับ.....
คิดว่า นศพ.รู้แต่สิทธิแต่ไม่รู้ว่าหน้าที่ที่ควรทำเวลานั้นคืออะไร
ถ้า SDL คือการไปหาข้อมูลที่หอก็แย่นะครับ....
ความรู้เราสามารถหาได้เรื่อยๆ... พบคนไข้แล้วค่อยกลับมาหาได้
แต่Clinical skill ต้องผึกฝนครับ....
Clinical skill ที่ฝึกที่หอได้คือ
1. ตอแหล case
2. นอนกลางวัน
3. game online
4. ความรู้ที่ยังไมมี clinical application


Posted by : นะครับ.... , Date : 2005-01-30 , Time : 21:24:44 , From IP : proxy3.chula.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 17


   น่าจะเริ่มจากคำ SDL Self-Directed Learning หมายถึงอะไรก่อนกระมัง

นักศึกษาแพทย์มีหน้าที่ทำอะไร Learning หรือศึกษาเล่าเรียนอันนั้นใช่หรือไม่ ถ้าไม่เข้าใจตรงนี้คงจะลำบากแน่นอน อุตส่าห์ตะเกียกตะกายสอบแข่งขันเข้ามา เรียนชั้นประถมมัธยมมา 12 ปี เสียค่าเล่าเรียน ค่าเทอม ค่าหนังสือเสื้อผ้า ถ้าไม่รู้ว่าเข้ามหาวิทยาลัยเพื่อมาเรียน

Self-Directed ตั้งทิศทางด้วยตนเอง ตรงนี้เป็นจุดเด่นของ adult learning ก็คือการคำนึงว่า นักศึกษามีวุฒิภาวะพอที่จะรับผิดชอบตนเองทราบว่าเรามาเรียนอะไร และทำยังไงถึงเรียนสำเร็จ แล้วตอนเวลานั้นๆเราอยากจะเรียนอะไรมากที่สุด ก็ direct ตนเองไปทำยังงั้น

ประเด็นสำคัญก็คือ นักศึกษาแพทย์เราทราบหรือไม่ว่าจะเป็นแพทย์ที่ดีได้นั้น achievement อย่างหนึ่งที่ "ต้องมี" คือ "ความรักคนไข้" ถ้าโจทย์ประเด็นนี้ไม่เคยอยู่ใน vision ของท่านทั้งหลาย ผมว่าทิศทางคงจะเบลอ เข็มทิศคงจะเบี้ยว

จะรักใครสักคน ก็ต้องเริ่มจากไปทำความรู้จักเขาก่อน รู้จักอย่างเดียวไม่พอ ต้องคุ้นเคย รู้จักจริงๆ ที่สุดก็ปราถนาให้เขาเป็นสุข ตรงนี้ยังไงๆก็ทำไม่ได้จากหอ หรือทาง internet

สงสัยต้องมี block "รักคนไข้" เพิ่มมาอีก block นึง (finger-cross)



Posted by : Phoenix , Date : 2005-01-30 , Time : 21:48:33 , From IP : 172.29.7.142

ความคิดเห็นที่ : 18


   อย่างคุณนกไฟว่านศพ.นั้นจำเป็นต้องเป็น adult learner แล้ว
แต่เพราะยังไม่เป็นนี่ล่ะครับ
จะทำอย่างไรให้เด็กกลายเป็นผู้ใหญ่ได้
. . .


Posted by : ArLim , Date : 2005-01-31 , Time : 03:12:58 , From IP : ppp-210.86.142.220.r

ความคิดเห็นที่ : 19


   คนอื่นมีบทบาท "ชี้ให้เห็น" ความจำเป็นเท่านั้นแหละครับ ที่เหลือเป็นเรื่องของตัว นศพ. เองที่จะต้องทำเองทั้งหมด

ว่าแต่ concept ที่ว่าการที่จะเป็นแพทย์แล้วต้องเป็นผู้ใหญ่ด้วยนี่มันลึกลับมากหรือครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-01-31 , Time : 04:02:39 , From IP : 172.29.7.73

ความคิดเห็นที่ : 20


   เรื่องนี้ ถ้ามองอีกแง่มีผลกระทบกับหลายฝ่าย
อยากให้ดูถึง"ที่มาที่ไป"ของข้อมูล ว่าเป็น"ความจริง"มากน้อยแค่ไหน

เท่าที่ทราบมา ถ้า"ผู้ให้ข้อมูล" (ไม่ใช่ผู้เขียนวารสาร)ไม่น่าเชื่อถือ .. ข้อมูลที่ได้ก็จะไม่น่าเชื่อถือครับ

เพราะผู้ให้ข้อมูลบางคน
--มีแก่นนิดเดียว แต่ไปขยายความโดยใช้ ความคิด และอารมณ์ ของตัวเองใส่เข้าไป
--การให้ข้อมูลในเรื่องนี้ อาจเป็นแค่ อยากให้เหตุผล ว่าทำไมไม่เข้า lecture
...แล้วพยายามหาเหตุผลมา support (มากเกินไป) แต่ไม่คิดว่าเรื่องจะบานปลายเพียงนี้
--บางคนรู้ว่าสิ่งที่"ถูกต้อง" คืออะไร เวลาจะ"บอก"อะไรใคร ก็บอกได้ถูกหมด แต่ "การกระทำ" อีกเรื่องครับ
(เหมือนเวลาสอบสัมภาษณ์ ว่า"ทำไมมาเรียนหมอ" คิดว่าทุกคนบอกได้ไหมครับ แต่เวลากระทำ ก็อีกเรื่อง!! เรื่องนี้ต้องดูกันยาวๆครับ)

คงมีความจริง เพียงบางส่วน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด


Posted by : ลองกลับไปอ่านใหม่ , Date : 2005-01-31 , Time : 08:51:23 , From IP : 172.29.3.64

ความคิดเห็นที่ : 21


   "ความเป็นจริง" นั้น คงเป็นเรื่องรอง ครับ เรากำลัง "สนใจ" ในสิ่งที่บทความนี้กำลังนำเสนอ

และเราไม่ได้ไปสืบเสาะหา นศพ. ท่านนั้นมาเพื่อได้รับรางวัล นศพ. ดีเด่น จึงไม่ต้องเป็นห่วงครับ

เพียงแต่ถ้า นศพ.แบบนี้มีอยู่จริง ก็น่าดีใจครับ

ประเด็นที่สำคัญน่าสนใจนั้นมีอยู่

ก็คงน่าเสียใจหาก นศพ. "แบบนี้" เป็นเพียงเรื่องเล่า







Posted by : OmniSci , Date : 2005-01-31 , Time : 09:15:37 , From IP : 172.29.7.108

ความคิดเห็นที่ : 22


   และผมยืนยัน ว่า
นศพ. "สมัยผม" และรุ่นพี่ผม

นศพ. "แบบนี้" มีให้เห็นเป็น "ปกติ"


Posted by : OmniSci , Date : 2005-01-31 , Time : 09:29:59 , From IP : 172.29.7.108

ความคิดเห็นที่ : 23


   ...ต้องไม่บรรยายหรือใช้คำพูดที่อาจก่อให้ผู้ป่วยเกิดความไม่สบายใจ อับอายหรือหวาดกลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำพูดที่เกี่ยวกับการพยากรณ์โรคไปในทางที่ไม่ดี หลีกเลี่ยงการตำหนิหรือวิจารณ์แพทย์อื่น เพราะจะทำให้ความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วยเสียไป การหัวเราะในที่ประชุมก็ต้องระวังมิให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าเป็นการหัวเราะเยาะ ...ภายหลังจากการประชุม ถ้ามีข้อคิดเห็นใดที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยก็ควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบด้วย เพราะผู้ป่วยย่อมมีความกังวลและต้องการทราบ และควรให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าการนำเสนอนั้นเป็นประโยชน์ต่อตน...
(การนำเสนอปัญหาผู้ป่วยในที่ประชุม -จินตนา ศิรินาวิน,สาธิต วรรณแสง "ทักษะทางคลินิก")
คิดว่า หลักง่ายๆ เอาใจเขามาใส่ใจเรา


Posted by : ดาวเสาร์ , Date : 2005-01-31 , Time : 11:45:18 , From IP : 172.29.4.69

ความคิดเห็นที่ : 24


   ความสำคัญของ title ของบทความนี้มีมากทีเดียว เพราะจะเป็น "จุดตั้งต้น" ของเจตคติในการเป็นแพทย์ได้

gem ของเรื่องนี้ผมไม่คิดว่าจะอยู่ที่เหตุการณ์จริงๆเกิดขึ้นมาอย่างไรเป๊ะๆ แต่เป็นที่ "message" ที่บทความนี้ต้องการจะสื่อ "บทบาท" ของ นศพ. ในทีมผู้ให้การรักษา นั้นสำคัญมาก ถ้าเราไม่ตระหนักตรงนี้ ไม่เพียงแต่ตัวนักศึกษาจะไม่ได้สิ่งที่ควรจะได้ แต่อาจจะเกิดผลเสียต่อผป.ได้

เวลาที่ทุกๆคนทางฝั่ง รพ. เข้าไปมี (หรือไม่มี) ปฏิสัมพันธ์กับ ผป. จะเกิด "ผลกระทบ" ต่อผลการรักษาตลอดเวลา ไม่เพียงแต่การเข้าไปพูดคุย แต่การเมินเฉย เพิกเฉย ก็มีผลด้วยเช่นกัน กิริยามารยาทของ นศพ. หมอ อาจารย์ที่แสดงต่อ ผป. แสดงต่อกันและกัน แสดงต่อพยาบาล และสมาชิกของทีมคนอื่นๆ เหล่านี้จะถูกสังเกตโดยผป. และทีมเราก็จะถูกประเมิน และออกมาเป็น "คุณค่า" ของความสัมพันธ์ในมุมมองของผป.กับทีมของเรา

เวลา นศพ. เข้าไปหาผป. การแนะนำตัวว่าเป็นนักศึกษาแพทย์นั้น เกือบจะเสมือนการแนะนำตัวนักเรียนกับครูนั่นทีเดียว ในอดีตที่เราเคยไหว้ "อาจารย์ใหญ่" ก่อนทำ gross anatomy dissection อย่างไร สิ่งนั้นก็แทบจะไม่แตกต่างจาก "อาจารย์" ผู้ป่วยที่ยังพูดจากับเราได้อยู่ การพูดจาแสดงออกกับพยาบาลเวลาเราออกคำสั่งการรักษา ผป.ก็จะสังเกตความสัมพันธ์ภายในทีมของเราว่าเป็นอย่างไร เวลานักศึกษาแพทย์รายงานคนไข้ให้อาจารย์ฟัง feedback ของอาจารย์ต่อตัวนักเรียนแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาทำต่อหน้าคนไข้คนนั้น ก็จะมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผป.กับ นศพ.ที่ต้องดูแลคนไข้รายนั้นต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้นจะเป็นที่น่าเสียดายมากหาก นศพ.ท่านใด ยังมี barrier ในการที่ท่านจะมาปฏิบัติงาน ศึกษาหาความรู้บนหอผู้ป่วยอยู่ ไม่ว่าจะโทษหรือไม่โทษระบบก็ตาม การ miss ครั้งนี้จะเป็นการ miss ครั้งใหญ่ที่สุดของการเรียนแพทย์ของท่านทีเดียว ทั้งโอกาสที่จะเรียนรู้กัลผป.จริง และโอกาสที่เราจะได้คลุกคลีกับเพื่อนร่วมงานสายปฏิบัติงาน vertical & horizontal ถ้าเป็นเพื่อนกันตอนนี้ในอนาคตเราอาจจะลืม "วรรณะเทียม" ที่บางคนสร้างหลอนหลอกตนเองลงไปได้ อีกหน่อยเราก็จะมี "เพื่อนร่วมงาน" มากขึ้นแทนที่จะเป็นแค่ "ผู้ร่วมงาน" เฉยๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-01-31 , Time : 15:11:52 , From IP : 172.29.3.109

ความคิดเห็นที่ : 25


   ผมไม่เห็นด้วยกับคุณ Phoenix ทั้งหมด
เราคงต้องแยกแยะเหตุการณ์ว่า

-จริงหรือไม่จริง เพราะผู้ที่อยู่ในเนื้อเรื่องที่กล่าวถึงมี "หลายฝ่าย"
เป็นผู้ที่ผิดจริงหรือไม่ ไม่ทำตัวเป็นแพทย์ที่ดีหรือไม่ ไม่ ฯลฯ
...จึงทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาพดังกล่าว (แต่ นศพ detect ได้ จนต้องโดดlecture)
...ข้อเขียนดังกล่าวน่าจะมีผลกระทบต่อสังคมใกล้ตัว ของคนที่ถูกกล่าวถึง

-หรือต้องการให้เหตุการณ์นี้เป็น "ตัวอย่าง" หรือ "ตุ๊กตา" ที่จะเรียนรู้ สิ่งที่ควร หรือไม่ควรทำ (โดยไม่มีประเด็นจะว่ากล่าวผู้ใด ทุกอย่างเป็นสิ่งจำลองทั้งสิ้น)

บทบาทของ นศพ ผมว่าทุกคนรู้ดี เพียงแต่มี "ข้ออ้าง"หลายหลากที่จะกระทำหรือไม่กระทำ กับสิ่งที่ต้องทำนั้น


Posted by : go so big , Date : 2005-01-31 , Time : 15:32:08 , From IP : 172.29.3.223

ความคิดเห็นที่ : 26


   เห็นด้วยครับว่าเรามีหลายวิธีที่จะ "เรียน" จากบทความนี้ได้

จะเรียนยังไงก็ตาม ขอให้ผลลัพธ์มันทำให้เป็นผลบวก ก็น่าจะใช้ได้ทั้งสิ้น อย่างที่คุณ Omnisci ว่า คือในบริบทนี้เราไม่ได้ต้องการจะตาม นศพ.มาให้รางวัลจากคณะฯ (ถึงแม้ว่าส่วนตัวใครอยากจะให้ก็ตามที) และไม่ต้องการจะตั้งกรรมการสอบสวนทีมแพทย์ที่ตามเนื้อเรื่องจะก่อให้เกิด distress

เดินห่างออกมาสองก้าว แล้วสรุปว่า นศพ.สามารถและมีส่วนร่วมในทีมการรักษาพยาบาล กับให้เราพยายามมี courtesy กับผป.เวลาราวน์หรือ demonstration ก็น่าจะ happy ending ส่วนใครจะตามไป interrogate นศพ.ท่านนี้ว่าทำไมโดด lecture ที่ว่ามาเป็นการแก้ตัวรึเปล่านั้น ผมว่าคงจะไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของ อ.ธาดา ที่นำมาลงให้เราอ่านกันกระมังครับ

อย่างน้อยที่สุด ถึงเป็นแค่ข้ออ้าง ก็เป็นข้ออ้างที่น่ารักที่สุดในรอบปี เท่าที่เคยฟังจากคนโดด lecture อาจารย์น่าจะใจอ่อนลงสักนิด



Posted by : Phoenix , Date : 2005-01-31 , Time : 16:00:29 , From IP : 172.29.3.109

ความคิดเห็นที่ : 27


   คนที่ใกล้ชิดผู้ป่วย มีเวลาให้กับผู้ป่วย คนที่ทำให้ผู้ป่วยไว้วางใจที่จะเล่าปัญหาต่างๆให้ฟังใด้ นับว่าเป็นบันไดสำคัญที่จะเป็นแพทย์ที่ดีใด้ในอนาคต

Posted by : ขอคิดด้วยคน , Date : 2005-02-28 , Time : 14:54:32 , From IP : 202.28.181.9

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.014 seconds. <<<<<