ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

เราจะรับมือในเรื่อง disaster อย่างไรกัน[บ้างครับ


   ผมสังเกตุว่าในช่วงเวลานี้นั้นมีเหตุการณ์ที่เรียกว่า disaster มากขึ้น
ตั้งแต่ สึนามี ตึกถล่ม วางระเบิดเมื่อวานนี้ รถไฟใต้ดินชนกัน ต่างๆ
มีผู้ประสบภัยในหลักร้อยรายหรือพันรายมากขึ้น การจัดการเกี่ยวกับระบบและสถานการณ์ดังกล่าวนี้ยังขาดประสบการณ์และออกมาอย่างไม่มีระบบ จะเห็นว่ามีการประสานงานที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เราในฐานะแพทย์สมัยนี้คงจะต้องมี knowledge ในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้น ในต่างประเทศจะมี การเรียนการสอนเรื่อง disaster medicine ในหลักสูตร emergency medicine ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมในเรื่อง disaster ต่างๆ ทั้ง natural disaster , และ การก่อการร้าย อาวุธสงครามการใช้สารพิษต่างๆ การช่วยผู้บาดเจ็บจากกองวัสดุที่ถล่มลงมา
ในอนาคตความรูในด้านนี้น่าจะมีการพูดถึงกันมากขึ้นและควรได้รับการเอาใจใส่จากบุคคลากรทางการแพทย์มากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ในบ้านเรารุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การมีองค์กรกลางแห่งชาติน่าจะทำให้การจัดการเรื่องเหล่านี้เป็นไปอย่างมีระบบ อยากให้พวกเราสนใจเรื่องเหล่านี้ตั้งแต่เนิ่นๆครับ


Posted by : คั่วจง , Date : 2005-01-17 , Time : 18:00:18 , From IP : 203-150-218-197.inte

ความคิดเห็นที่ : 1


   อาจจะเป็นโชคดี (ในอดีต) ของประเทศไทยที่เราอยู่ห่างจากมหาอุบัติภัยทางธรรมชาติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว วาตภัย หิมะถล่ม สึนามิ และสงครามที่มี casualties สูงๆเกิดในระยะเวลาสั้นๆ แน่นทำให้เราห่างจากการเตรียมตัวสำหรับเรื่องแบบนี้

ยุโรปและอเมริกาเคยร่วมสงครามและอยู่ในจุดศูนย์กลางของเหตุการณ์ต่างๆ มีอุบัติภัย scale ใหญ่ๆ เช่นไฟไหมืชิคาโก Chernobil disaster Black Plaque ฯลฯ มีคนเคยเห็นความฉิบหายวายป่วงจากเหตุเหล่านี้โดยตรง "ความกลัว" จึงเป็นแรงผลักดันที่รุนแรงที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ ความกลัวนี้ก็เหมือนกับภูมิคุ้มกัน คือเมื่อแรงกระตุ้นมันหายไปนานๆ memory cells ก็สลายตัวไป ต้องมา boost กันใหม่เป็นระยะๆ

ยกตัวอย่างแผน evacuate ถ้ามีไฟไหม้นั้น แผนพวกนี้มีไว้สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกิดบ่อยหรอกครับ แต่เกิดทีถ้ามีอะไรขลุกขลัก มักจะลงเอยด้วยการสูญเสีย "ที่ไม่จำเป็น หรือป้องกันได้" เสมอ นั่นเป็น Logic ของการซ้อมแผนพวกนี้อย่างสม่ำเสมอ แต่คนเรากมื่อไม่มีอะไรมักจะเห็นว่าเรื่องพวกนี้ redundant และเป็นการเสียงานเสียการประจำที่กำลังทำอยู่

ใน web กระทู้ด้านล่างมี link สำหับ download แผนต่อต้านอุบัติภัยดีๆหลายฉบับครับ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มี module ที่ครอบคลุมหมดทั้ง logistic (ไม่ได้แปลว่าตรรกะนะครับ เป็น term ทาง military strategy หมายถึง chain of supply หรือระบบลำเลียงทุกอย่าง) และคนที่เกี่ยวข้องทุก section ได้แก่ ภาครัฐ NG0 ส่วนโรงพยาบาลนั้นเป็นแค่หน่วยย่อยหนึ่งที่จำเป็นในระบบทั้งหมดแค่นั้น

ผมเห็นด้วยว่าเราควรจะฉวยโอกาสเรียนรู้จาก tragedy and disaster ที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด อย่างน้อยขอให้ประสบการณ์เหล่านี้มีผลทำให้เราสามารถช่วยชีวิตคนอีกจำนวนมากในครั้งต่อไปจากการมีแผนที่รัดกุม การซ้อมที่จริงจัง เพราะทำท่าว่ามหาอุบัติภัยทั้งทางธรรมชาติและจากเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น รถใต้ดิน รถไฟฟ้า มันเริ่มใกล้ตัว และเป็นข่าวประจำเดือน ประจำอาทิตย์มากขึ้นเรื่อยๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2005-01-17 , Time : 18:25:07 , From IP : 172.29.7.129

ความคิดเห็นที่ : 2


   ช่วยกันคิดหน่อยก็ดีค่ะ

วันที่แผ่นดินไหว 26 ธันวา โรงพยาบาลเรา ก็ขนย้ายผู้ป่วยกันอย่างวุ่นวาย
อย่างไม่มีระบบเหมือนกัน ในฐานะคนทงานบนตึกสูงเราจะร่วมด้วยช่วยกัน
ดูแลตนเองและผู้ป่วยได้อย่างไร จะมีการเตรียมตัวมีแผนที่แตกต่างกับแผน
หนีไฟ หรือก่อการร้ายอย่างไร น่าสนใจมากทีเดียวค่ะ จากประสบการณ์ครั้งนี้
ทำให้เห็นว่า การเคลื่อนย้ายนั้นเอาเข้าจริงมีความลำบาก เมื่อแผนไม่แน่ชัด
คนไข้ไม่ยอมรอให้เราบอกให้เขาย้าย คนที่ย้ายตัวเองได้ก็จะย้ายออกไปเอง
ส่วนเจ้าหน้าที่ก็ตกอยู่ในภาะวะไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นจะให้ความมั่นใจว่า
ไม่มีอะไรก็ไม่ได้ โกลาหลอยู่มากทีเดียวค่ะ


Posted by : ... , Date : 2005-01-17 , Time : 18:49:37 , From IP : 172.29.1.117

ความคิดเห็นที่ : 3


   ขอ share ประสบการณ์นิดนึงก็แล้วกันนะครับ

เมื่อสี่ห้าปีที่แล้ว ชะตากรรมทำให้ผมมีหน้าที่เป้น safety officer ของภาควิชาที่กำลังฝึกงานอยู่ หนึ่งในหน้าที่คือการนัดจัดการซ้อมหนีไฟประจำปี ซึ่งเป็นทั้ง regulation ของมหาวิทยาลัยและกฏหมายของประเทศ ทุกๆภาควิชา (หรือหน่วยงาน) จะบังคับว่ามี safety officer หนึ่งคน รายงานตรงต่อทีม safety office ของมหาวิทยาลัย เรื่องที่รายงานได้แก่ incident report ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในภาควิชาฯ near-miss incident ก็ด้วย (เช่น น้ำหกหนึ่งถังในหอผู้ป่วย ยังไม่มีใครลื่นหกล้มก็จริง แต่ต้อง report ว่าเกิดขึ้น เพราะอะไร เมือ่ไหร่ ใครพบ ป้องกันแก้ไขอย่างไร ให้ office กลางทราบ) review safety manual ของภาควิชาฯให้ updated กับของมหาวิทยาลัยและรัฐบาล

การซ้อมหนีภัยที่ต้องมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบทุกหน่วยมันมีเหตุผลอยู่ครับ คือการหนีภัยจะมี "ที่รวมคน" (assembly point) ที่จำเพาะของหน่วยงาน เช่น ภาคศัลย์ ไปอยู่ที่หน้าเสาธง ภาค med ไปอยู่ที่บ่อระบายน้ำ ฯลฯ ไม่ใช่ให้ไปตามยถากรรม เนื่องจากพอ move ไปแล้ว จะต้องมีการ check ชื่อครับว่าคนที่ควรไปอยู่ ได้ไปอยู่ครบหรือไม่ จะได้ไม่มีกรณีใครเป็นลมหรือติดอยู่ในห้องน้ำคนเดียว ตายอย่างโดดเดี่ยว เส้นทางหนีไฟจากทุกๆจุด "ต้อง" มีป้ายบอกที่ชัดเจน และทางหนีไฟต้อง "ไม่มี" ของอะไรไปวางเช่น กล่องกระดาษ หรืออะไรที่จะเป็นอุปสรรค ถ้าเป็นโรงพยาบาลเจ้าหน้าที่ทุกเวรจะต้องมี assigned position ที่จะเป็นคน organize การขนย้ายผู้ป่วย (ไม่ใช่พอ evacaute ประกาศปุ๊บ หมอและพยาบาลมาอยู่ที่สนามหญ้าหมดยกเว้นคนไข้อยู่บนตึก!!!) หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่แต่ละ unit ก็จะติดต่อประสานกับ safety officer ส่วนกลาง ซึ่งจะเป็นคนหาข้อมูลว่าไสเหตุที่ต้อง evacaute นั้นคืออะไร แก้ไขอย่างไร และปลอดภัยแล้วหรือยัง แปลว่าอาจจะต้องประสานกับหน่วยดับเพลิงในกรณีที่เป็นไฟไหม้ ถามข้อมูลจากหัวหน้าตำรวจดับเพลิงว่าทุกอย่าง OK แล้ว ย้ายคืนได้ หรือถ้าในเวลาเท่าไหร่ยังไม่สามารถเคลียร์ได้ เช่น 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง จะทำยังไงกับผู้ป่วยที่กำลังบีบ bag ช่วยหายใจ ต้อง refer ไปที่ไหน โดยใคร จะเริ่มติดต่อกับ affiliated hospital เมื่อไหร่เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ลำพังเป้นแผนอย่างเดียวก็อาจจะลด effectiveness ลงถ้าขาดการซ้อมจริง เพราะจะมีคนไม่รู้ตำแหน่งหน้าที่ของตนเองปนอยู่ ทำให้ flow ที่วางไว้ไม่ work

ในกรณีแผ่นดินไหว ข้อมูลของประเทศไทยค่อนข้างจะ hopeless ทีเดียว กว่าจะมียืนยันว่าปลอดภัยแล้ว หรือกำลังมี after-shock มาอีกกี่สิบกี่ร้อยลูก คงยืนรอกันเหงือกแห้ง



Posted by : Phoenix , Date : 2005-01-17 , Time : 19:55:33 , From IP : 172.29.7.129

ความคิดเห็นที่ : 4


   -น่าสนใจทีเดียว เราควรดำเนินการขั้นต่อไปอย่างไรดี หรือจะบอกว่าพยายามอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น ไม่เหมือนในต่างประเทศเลยไม่ทำอะไรเลย ขออยู่เฉยๆดีกว่า
ส่วนความเห็นของผม ผมว่าเราควรจัดอบรมบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความรู้ความเข้าใจ จนมีความมั่นใจว่าเมื่ออยู่ในสถานะการณ์จริงเราสามารถช่วยตัวเองและผู้ป่วยได้ (เหมือนจัดอบรมการCPR )



Posted by : megumi , Date : 2005-01-17 , Time : 22:04:13 , From IP : 172.29.7.23

ความคิดเห็นที่ : 5


   TYPE="application/x-oleobject"
CODEBASE="http://activex.microsoft.com/activex/controls/mplayer/en/nsmp2inf.cab#Version=6,4,5,715"
standby="Loading Microsoft Windows Media Player components..." VIEWASTEXT>












TYPE="application/x-mplayer2"
pluginspage="http://www.microsoft.com/Windows/MediaPlayer/"
Name="objMediaPlayer"
Width="300"
autoSize="false"
showdisplay="false"
displaySize="0"
Height="70"
center="true"
AutoStart="True">



Posted by : test , Date : 2005-04-16 , Time : 21:39:39 , From IP : 172.29.4.63

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<