ความคิดเห็นทั้งหมด : 12

ทำอย่างไรให้คุณครูมุ่งสอนนักเรียนในเวลาเรียนอย่างเต็มที่ โดยที่ไม่ต้องไปเรียนเสริมจากนอกโรงเรียน


   ทำอย่างไรให้คุณครูมุ่งสอนนักเรียนในเวลาเรียนอย่างเต็มที่ โดยที่ไม่ต้องไปเรียนเสริมจากนอกโรงเรียน ช่วยกันออกความเห็นหน่อย ในฐานะพี่ๆนศพ.ที่เคยผ่านการเรียนม.ต้นและม.ปลายกันมาแล้ว เป็นห่วงทั้งนักเรียนที่ทุนน้อยและเป็นห่วงผู้ปกครองที่ต้องจ่ายเงินกับการเรียนพิเศษ ซึ่งต้องจ่ายมากกว่าค่าเทอมหลายเท่า

Posted by : ห่วงอนาคตของชาติ , E-mail : (hs9fyh@hotmail.com) ,
Date : 2003-05-05 , Time : 15:15:25 , From IP : 203.113.76.10


ความคิดเห็นที่ : 1


   ปัญหาใหญ่เลยเนอะ
ก็เหมือนกับทุกปัญหาล่ะครับ คงต้องแก้จากทุกส่วน ทั้งจากนโยบายจากรัฐ ว่าจะส่งเสริมอาชีพครู และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างไร
ระบบการศึกษา เช่น โรงเรียนมีพอให้เด็ก ไม่ต้องแย่งกัน (โครงการนี้มีแล้ว ที่ให้ทุกอำเภอ(หรือจังหวัดหว่า)มีโรงเรียนที่สมบูรณ์พร้อม ไม่ต้องแย่งกันเข้าโรงเรึียนจังหวัด) , ระบบการสอบที่เท่าเทียมกัน มีประสิทธิภาพ วัดผลได้ , และที่สำคัญ ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่ควรจะต้องเป็นที่ใช้ได้ผลจริง

ทางด้านประชาชน ควรมีทัศนคติเกี่ยวกับวิชาชีพครูที่ดี พ่อแม่ ควรให้ความสำคัญกับครูที่โรงเรียน ไม่ใช่หงอครู แต่ร่วมมือกับครู ในด้านการเรียนการสอน และการพัฒนาเด็กร่วมกัน ซึ่งเรื่องนี้ก็ขึ้นกับทางโรงเรียนด้วยว่า ผู้บริหารของโรงเรียนจะสนับสนุนหรือไม่ และครูที่สอนๆกันนั้น ยังมีไฟอีกหรือเปล่่า

...
ที่จริงนะ โรงเรียนในหาดใหญ่ ก็มีครูที่เป็นปัญหาเหมือนกัน ในโรงเรียนดังๆนี่ล่ะ ผมคิดว่า คนที่เป็นพ่อแม่แถวนี้ อาจจะเคยได้ยินมาเหมือนกัน แล้วแก้ไขกันอย่างไรบ้าง รอให้รัฐบาลช่วยแก้ก็คงไม่ทันการ

คุณๆพ่อแม่ แก้ปัญหากันอย่างไรหรือครับ


Posted by : ArLim , Date : 2003-05-05 , Time : 20:56:16 , From IP : 172.29.2.149

ความคิดเห็นที่ : 2


   เรื่องบางเรื่องมันก็ต้องใช้เวลานานโขอยู่
เหมือนกับระบบการศึกษาไทยนี่แหละค่ะ
กว่าจะพัฒนา ไม่รู้จะต้องเปลี่ยนอีกกี่รัฐบาล
ตอนนี้ก็คงต้องทำเท่าที่ทำได้

แต่เรื่องอาจารย์นี่ลำบากใจเหมือนกัน

ที่โรงเรียนตอนมัธยม เค้ามีวิธีแก้ปัญหาอย่างนี้ค่ะ
คือ อาจารย์ที่สอนอยู่ในชั้นไหน วิชาอะไรก็ตาม
ห้ามเปิดสอนพิเศษในชั้นนั้น เพื่อความยุติธรรมทั่วถึงกันค่ะ



Posted by : สาวน้อยร้อยชั่ง , Date : 2003-05-05 , Time : 22:02:19 , From IP : 203.113.71.169

ความคิดเห็นที่ : 3


   อย่างแรกสุดที่จะทำได้(แค่ลดแต่ไม่หมดไป)คือการเลิกระบบGPA และPR
วิธีการที่สามารถลดได้จนเกือบเป็นศูนย์คือ สร้างระบบการศึกษารายคน หมายความว่าใครอยากเรียนอะไรต้องได้เรียน ใครเรียนได้แค่ไหนก็แค่นั้น แต่ต้องอาศัยค่านิยมทางสังคมช่วยมากๆคือสังคมต้องมีความเคารพในความเป็นมนุษย์ให้แก่ทุกๆอาชีพเท่าๆกัน (แต่มันก็เป็นแค่ความฝันเป็นได้แค่นามธรรม)ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลย


Posted by : Rpoo , Date : 2003-05-05 , Time : 23:11:06 , From IP : 203.157.14.247

ความคิดเห็นที่ : 4


   อาจจะทำได้โดยให้ครูทำงานหนักกว่านี้อีกนิด แต่เพิ่มค่าตอบแทนให้

อาชีพครู (ทุกสาขา) มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก เพราะเป็นตัวที่มีผลต่อ product คือ performance ของนักเรียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (ไม่ว่าจะเป็นแบบเก่า หรือ PBL ก็ตาม) แต่กระบวนการเป็นครูที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องการไม่เพียงแต่ devotion และ determination ของครู ยังต้องการคนที่เก่งมากๆด้วย ไม่น้อยไปกว่าสายอาชีพที่ popular อืนๆ เช่น วิศว แพทย์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ หากแต่เงินเดือน ค่าตอบแทน นั้นเป็นคนละ scale ก็ไม่น่าแปลกใจที่พองานไม่ได้มี demanding มาก ครูที่มี energy เหลือมีความสามารถก็ไปสอนพิเศษเพิ่มเติมหาลำไพ่

งานครูที่ครบเครื่องนั้นหนักทีเดียว และ ไม่มีทาง เสร็จในเวลาราชการ เน้น "ไม่มีทาง" ทั้งการเตรียมการสอนและการประเมินต่างๆ เป็นงานที่มี demanding สูงและใช้เวลาทั้งสิ้น รวมทั้งใช้ความสามารถด้วย งานอะไรก็ตามที่ต้องการสูง มีไม่กี่คนที่ทำได้ดี และต้องการการทุ่มเท คุณก็ต้อง expect สิ่งตอบแทนสำหรับคนคุณภาพ สิ่งนี้เกิดขึ้นจริงในประเทศที่เห็นการศึกษาสำคัญ ครูใหญ่โรงเรียนเด็กประถมมัธยมได้เงินเดือน-ม่น้อยหรืออาจจะมากกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยทีเดียว เพราะถือว่า level of responsibility นั้นสูงมาก

งานครูจะต้องถูกมองเปนงานที่มีเกียรติและเป็นงานสำหรับคนที่สู้งานหนัก แต่ค่าตอบแทนก็คุ้ม นั่นหมายถึงเราต้องมีระบบประเมินโรงเรียนที่เป็น independent organization มาจัดการประเมินโรงเรียนจริงๆจังๆ เงินที่ต้องใช้เพิ่มเติมต้องมาจากภาษี เพราะนี่เป็นการสร้างประเทศที่ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อครูต้องทำงานหนักและเป็นไปตามหลักการที่ได้วางวัตถุประสงค์ไว้ในโรงเรียน เด็กก็ไม่ต้องเรียนพิเศษ ครูก็หมดแรงไม่มีเวลาไปสอนพิเศษ (ซึ่งถึงสอนก็ไม่มีคนเรียน) ผู้ปกครองไม่ต้องแบ่งชั้นวรรณะกันว่าใครมีเงินส่งไปเรียนพิเศษที่ฮ่องกง LA หรือแค่ว่ายน้ำหน้าปากซอย เด็กเราก็จะมีคุณภาพดี แน่นอนระบบที่ว่าต้องเป็น top-down ทาจากรัฐบาลเท่านั้น และต้องเป็นการเปลี่ยนโดยดูทางหนีทีไล่และพร้อมๆกันหลายอย่าง infrastructure ต้องแน่นด้วย ไม่ใช่นึกจะเปลี่ยนก็เปลี่ยนตูมแล้วเละ ครูที่ถูกประเมินจะไม่เคยชินในระยะต้นๆแน่นอน แต่ถ้าเงินเดือนเพิ่มมาก ถูกประเมินซะหน่อยก็ไม่น่าจะต้องโวยวาย




Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-05 , Time : 23:50:54 , From IP : 172.29.3.203

ความคิดเห็นที่ : 5


   ออกกฎหมายจดทะเบียน อย่างถูกต้องครับ แอบๆสอนไม่ได้ และต้องกำหนดเพดานค่าเล่าเรียนอย่างสมเหตุสมผลครับ

Posted by : ไม่รุ , Date : 2003-05-06 , Time : 01:17:42 , From IP : 172.29.2.115

ความคิดเห็นที่ : 6


   ต่อเนื่องมาจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยอีกนะครับ
คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กๆสมัยนี้ต้องแข่งกันเรียนตั้งแต่ยังอยู่อนุบาล เด็กประถม ซึ่งไม่น่าจำเป็นที่จะต้องยัดความรู้ด้านวิชาการ ให้มากกว่าประสบการณ์การใช้ชีวิตที่ควรรู้
การพัฒนาด้านการศึกษาและการเรียนรู้ของเด็กแต่ละวัยต่างกันไม่ใช่หรือครับ
ครูในแต่ละระดับชั้นของโรงเรียน หลักสูตรการเรียนการสอนก็ควรต่างกัน ไม่ใช่ว่า ประถมก็ต้องเรียนเนื้อหาหนักๆ เพื่อเตรียมเรียนของมัธยม เด็กมัธยมต้นก็เรียนหนักๆและเรียนล่วงหน้าเพื่อเตรีมขึ้นม.ปลาย อย่างนี้ผมว่าไม่ถูกหลักเท่าไหร่
ปรากฏการณ์นี้คงเกิดขึ้นในช่วงเอ็นท์ระบบใหม่ล่ะมั้งครับ (ไม่รู้ว่าของเก่าเป็นเหมือนกันหรือเปล่า... แต่ิคิดว่าในสมัยที่ยังต้องเรียนโรงเรียนวัด คงไม่มีอย่างนี้เป็นแน่)
ผมคิดว่า ทางผู้ปกครองและทางโรงเรียน ครูผู้สอนควรจะร่วมมือกันพัฒนาเด็ก เป็นอีกแรงนะครับ
ครูดีๆมีเยอะครับ เท่าที่เคยพบมา
แต่ครูแย่ๆก็เยอะครับ นี่ก็เจอมาทั้งกับตัวและกับน้อง
แย่จนไม่คิดว่าจะมีครูเช่นนี้ (โรงเรียนดังๆในเมืองนี่ล่ะ)

เท่าที่ทราบ ผู้ปกครองคนไหนแข็ง ก็ไปต่อว่าครูได้
ผู้ปกครองคนไหน กลัวครู กลัวโรงเรียน ก็บอกลูกให้อดทนต่อไป

หรือไม่ก็ต้องย้ายโรงเรียนไปอยู่โรงเรียนเล็กๆแทน

นี่เป็นปัญหาระดับชุมชนด้วยนะครับ
อยากรู้จังว่า พ่อแม่แถวนี้ เขามีปัญหาหรือแก้ปัญหากันอย่างไร















Posted by : ArLim , Date : 2003-05-06 , Time : 02:13:52 , From IP : maliwan.psu.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 7


   ....คิดว่าน่าจะเพิ่มเงินเดือนครูก่อนอื่นนะคะ

Posted by : Dahlia , Date : 2003-05-07 , Time : 04:23:08 , From IP : 203.146.239.113

ความคิดเห็นที่ : 8


   เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจครับ

ปัญหาของทางโรงเรียนและรัฐ คือไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนมาจ้างครู
-ผมว่าคล้ายกับปัญหาของหมอนะ แต่ว่าหมอมีโอกาสที่ดีกว่าเพราะว่ามีเงินพิเศษหลายอย่าง อย่างนี้เราน่าจะมีเงินพิเศษให้ครูบ้างเนอะ? แต่ก็จะเข้าปัญหาเดิมคือเอาเงินจากไหน ครูทั้งประเทศมีเยอะกว่าหมอซะมากด้วย

-ปัญหาเรื่องเงินแก้ไม่ยากโดยการเก็บเงินเพิ่มจากนักเรียนและผลักดันให้โรงเรียนออกนอกระบบ(เหมือนมหาลัยเลย) ทำให้แต่ละโรงเรียนรู้จักการบริหารกันเองเกิดการแข่งขัน และต้องประหยัดงบประมาณควบคุมงบประมาณเองทั้งหมด การควบคุมงบของโรงเรียนน่าจะง่ายกว่า รพ.นะครับ เพราะ่ว่าสามารถคำนวนง่ายกว่าว่านักเรียน 1 คนใช้งบปีละเท่าไร และไม่มีปัญหาเรื่องการ refer นักเรียนจากโรงเรียนอื่นด้วย

-โรงเรียนไหนควบคุมไม่ได้ก็ให้ล้มไป หรือว่ารัฐบาลจะเข้ามาอุ้มต่อก็ตามสบาย

หรือว่าเอาให้ดีผมว่าตั้งโครงการ เรียนปีละ 30 บาทเลยดีมั้ย 555

ผมล้อเล่นน่ะครับ


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2003-05-07 , Time : 21:35:15 , From IP : 172.29.2.115

ความคิดเห็นที่ : 9


   งบควรเอามาจากเงินภาษีครับ ดังที่กล่าวแล้วการศึกษานั้นเพื่อสร้างชาติ ฉะนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องรับผิดชอบ พวกสินค้าฟุ่มเฟือยทั้งหลายแหล่ก็เก็บภาษีให้สมกับคำ "ฟุ่มเฟือย" คือ Assume ว่ามีกะตังถึงใช้ เช่น รถยนต์ cc สูงๆ เครื่องประดับ เหล้าบุหรี่ เก็บกันเข้าไป ใครทนภาษีไม่ได้ลดการใช้พวกนี้ลงก็ไม่เป็นปัญหา เพราะเราก็อยากให้ลดอยู่แล้ว

ว่าแต่ว่านายกทักษิณเองได้ข่าวแกไม่ใคร่พอใจเวลาคนถามว่าแกเสียภาษีเท่าไหร่ สงสัยกลัวคนตกตะลึง (ไม่แน่ใจว่าน้อยหรือมาก)

ครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีอิทธิพลต่อความเจริญของชาติไม่แพ้อาชีพใดๆทั้งสิ้น และสมควรจะได้ค่าตอบแทนที่แสดงถึงความสำคัญนั้นอย่างยิ่งยวด เศรษฐีจะได้เลิกส่งลูกไปเรียนต่างประเทศเพราะ gap ของมาตรฐานการศึกษาที่ห่างกันหลายปีแสง



Posted by : Phoenix , Date : 2003-05-07 , Time : 23:02:56 , From IP : 172.29.3.223

ความคิดเห็นที่ : 10


   เอาเงินไปให้มันดิ

Posted by : เจ๋งป่าว , Date : 2003-05-09 , Time : 16:36:36 , From IP : 202.28.80.4

ความคิดเห็นที่ : 11


   อยากเรียนมีไรป่าว


Posted by : กุ้ง , Date : 2006-01-22 , Time : 18:48:33 , From IP : 125.24.3.82

ความคิดเห็นที่ : 12


   มันเหมือนกับการมองเห็นรุ้งกินน้ำครั้งละหลายๆเส้น คือ แทบจะเป็นไปไม่ได้ ปัญหาหลักถ้ามองกันจริงๆอาจไม่ได้อยู่ที่ครูโดยตรง แต่สำคัญที่ตัวนักเรียน สมมุติว่าถ้าครูสอนและให้ความรู้กับนักเรียนเต็มที่ แต่เด็กคิดว่าไม่สำคัญจะฟังไปทำไม เดี๋ยวไปเรียนพิเศษเอาก็ได้ ซึ่งปัญหาตรงนี้ไม่ใช่ความผิดของใครแค่กลุ่มอาชีพใดอาชีพหนึ่ง แต่ให้เป็นความรับผิดชอบที่คนไทยควรที่จะให้ความสำคัญที่มาพร้อมกับค่านิยมที่ควรจะปลูกฝังเยาวชนให้ตั้งใจเรียน โดยสนใจที่ใฝ่หาความรู้ภายในห้องเรียนให้ได้มากที่สุด ตามหลักความเป็นจริงหลายคนอาจมองว่าถ้าเป็นแบบนี้เยาวชนก็ต้องนั่งอยู่ในกรอบที่มีคนมาคอยสอนแค่นั้นเองหรือ แล้วต่อไปประเทศไทยจะพัฒนาไปได้อย่างไรเล่า ข้าพเจ้าอยากจะเรียนให้ทราบว่าคำว่าการศึกษาไม่ได้จำกัดแค่ในห้องเรียน แต่ใยจะต้องไปเสียเงินทองกับการเรียนพิเศษนอกห้องเรียนที่มีเนื้อหาการสอนแบบเดียวกับการเรียนในห้องเรียนล่ะ ปัจจุบันรูปแบบการสอนมีมากมายให้เลือกสอนตามความต้องการของทั้งเยาวชนและครูซึ่งเป็นผู้ให้ความรู้ ข้าพเจ้ามองว่าทำไมเราไม่มาปรับเปลี่ยนการสอนแบบใหม่ไม่ต้องมานั่งเครียด รู้ไม๊การให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางน่ะเป็นสิ่งที่ดี แต่ความรู้สึกของคนเป็นนักเรียนอ่ะมันแย่มากๆเลย เพราะว่ามันเหมือนกับว่าเราเป็นผู้กำหนดชีวิตของทั้งครูและสถาบันการศึกษา เกรดของนักเรียนจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าอาจารย์ที่สอนให้ความรู้เป็นอย่างไร สถาบันนี้มีคุณภาพมากแค่ไหน ฉะนั้นในถ้านะที่ข้าพเจ้าก็เยาวชนคนหนึ่งในประเทศไทย ไม่ได้อยากจะตำหนิใคร โดยฉะเพราะครู อาจารย์ซึ่งถือเป็นผู้ที่มีบุญคุณมากมายแก่ข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าอยากให้ทุกคนช่วยหันหลังมามองและเห็นความสำคัญกับสิ่งเล็กๆน้อยๆพวกนี้หน่อย เพราะบางทีข้าพเจ้าอาจจะได้ไม่ต้องไปเสียเงินเรียนพิเศษมากมาย ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ข้าพเจ้ามองว่ามันเป็นเรื่องปกติของเด็กมัธยมที่เวลาจะปิดหรือเปิดเทอมต้องมาหาที่เรียนเพื่อเสริมความรู้ แต่ความคิดของข้าพเจ้าที่เรียนพิเศษนั้นคือ ในห้องเรียนข้าพเจ้าคิดว่าทุกโรงเรียนในประเทศไทยคงไม่ได้สอนบทเรียนเดียวกันเป็นแน่ดังนั้นข้าพเจ้าจึงอยากเรียนเพื่อรู้ เพื่อเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นๆอีกหลายคนได้เรียน และที่สำคัญเพื่อเป็นความรู้ในตอนที่ข้าพเจ้าสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วย ...


ขอบคุนนะคะที่ทนอ่านมา


Posted by : หอวัง38 , E-mail : (powerpink_13@hotmail.com) ,
Date : 2007-01-28 , Time : 10:11:28 , From IP : 125-25-203-245.adsl.


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.039 seconds. <<<<<