ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

ศักดิ์ศรีชาติที่มากับคลื่นซึนามิ


   กรณีที่ประเทศไทยปฏิเสธรับเงินช่วยเหลือเหยื่อคลื่นซึนามิจากต่างชาติ กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งที่ถกเถียงในวงการเมืองตอนนี้

หลายกระแสบอกว่าประเทศไทยชอบทำตัวเป็นคนจนผู้ยิ่งใหญ่ ทำไมไม่รับเงินจากต่างชาติแล้วเอาไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ในความเห็นของข้าพเจ้า ก็เพราะหลายท่านคิดอย่างนี้นี่สิ ประเทศเราจึงกลายเป็นลูกไล่ประเทศทางยุโรปเค้าตลอดมา
ในความคิดของข้าพเจ้า คิดว่าเราควรที่จะรับเฉพาะความรู้ เทคโนโลยี ที่เรายังไม่สามารถเข้าถึงได้ เพื่อมาประยุกต์ใช้สร้างความปลอดภัยสำหรับอนาคต ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
ในความคิดและความเห็นของข้าพเจ้า เราไม่ควรอย่างยิ่งที่จะรับความช่วยเหลือที่เป็นตัวเงินมา เพราะจะกลายเป็นว่าเราต้องแบมือขอเงินเขา และต้องกลายเป็นลูกไล่เขาตลอดไปหรืออย่างไร แล้วถามว่าจะมีวันไหนมั้ย ที่ประเทศมหาอำนาจจะยอมรับในศักดิ์และศรีในความเป็นชาติของเรา

หลายคนอาจจะคิดว่ามองโลกในแง่ร้าย แต่ลองคิดดู ผู้คนในประเทศยุโรป รัฐบาลในประเทศยุโรป ที่เอาเงินของเค้ามาให้เรา ลึกๆเค้าจะคิดอะไรอยู่ เค้าอาจจะต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจริง แต่ถามจริงๆว่าในใจลึกๆของเค้าจะไม่มองประเทศอย่างเราๆเป็นลูกไล่เค้าหรอ เหมือนกับว่าเค้าเอาเงินมาโปรยแล้วประเทศอย่างเราๆก็รีบกระโดดคว้าตะครุบกัน ......... มันมีศักดิ์ศรีแล้วหรือ ในเมื่อประเทศเค้ากับประเทศเราก็มีศักดิ์ศรีความเป็นชาติเท่ากันไม่ใช่หรอ ทำไมเราต้องหวังพึ่งเงินของคนอื่นในเมื่อประเทศไทยเราก็เต็มไปด้วยผู้คนที่มีน้ำใจงดงามกันอยู่แล้ว

จะหาว่าความเห็นของข้าพเจ้า ใจจืด ใจดำ ไม่นึกถึงผู้ประสบภัย คิดถึงแต่เรื่องศักดิ์ศรี ก็ไม่ถูกนัก เพราะข้าพเจ้าคิดว่า เฉพาะคนในชาติเรา รวมเงินบริจาค ทั้งสิ่งของ และเครื่องใช้ต่างๆ บวกเข้ากับเงินอุดหนุนของรัฐบาล ก็น่าจะมีจำนวนและมูลค่ามหาศาลเพียงพอต่อการช่วยเหลืออยู่แล้ว

ปัญหาที่สำคัญที่สุดตอนนี้ไม่ใช่อยู่ที่จำนวนเงิน หรือจำนวนสิ่งของต่างๆว่ามีจำนวนเพียงพอหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่น่ามีปัญหา
ปัญหาที่น่าจะสำคัญที่สุดสำหรับตอนนี้คือ ปัญหาที่เราจะบริหารทุนที่มีอยู่นั้นแจกจ่ายให้ถึงมือผู้ประสบภัยอย่างทั่วถึงกันได้อย่างไร เราจะบริหารทุนนั้นอย่างไร ให้ไม่กลายไปเป็นทุนส่วนตัวของใครบางคน เงินที่บริจาคๆกันไปนั้น เคยคิดหรือไม่ว่า เค้าเอาไปบริจาคจริงเท่าไร ส่วนที่เหลือเค้าเก็บไว้ที่ไหน

ต่อให้รับเงินจากต่างชาติมาอีกกี่ล้านดอลลาร์แต่ถ้ายังมีวิธีการบริหารแบบเดิมๆ ก็ฤาแต่จะเพิ่มทรัพย์สินของใครบางคนซะเท่านั้นแหละ

ซุ่ย-ย้ง


Posted by : ซุ่ย-ย้ง , Date : 2005-01-12 , Time : 13:54:25 , From IP : 172.29.4.196

ความคิดเห็นที่ : 1


   "ปัญหาที่สำคัญที่สุดตอนนี้ไม่ใช่อยู่ที่จำนวนเงิน หรือจำนวนสิ่งของต่างๆว่ามี
จำนวนเพียงพอหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่น่ามีปัญหา ปัญหาที่น่าจะสำคัญที่สุด
สำหรับตอนนี้คือ ปัญหาที่เราจะบริหารทุนที่มีอยู่นั้นแจกจ่ายให้ถึงมือผู้ประสบภัย
อย่างทั่วถึงกันได้อย่างไร เราจะบริหารทุนนั้นอย่างไร ให้ไม่กลายไปเป็นทุนส่วน
ตัวของใครบางคน เงินที่บริจาคๆกันไปนั้น เคยคิดหรือไม่ว่า เค้าเอาไปบริจาคจริง
เท่าไร ส่วนที่เหลือเค้าเก็บไว้ที่ไหน
. ต่อให้รับเงินจากต่างชาติมาอีกกี่ล้านดอลลาร์แต่ถ้ายังมีวิธีการบริหารแบบเดิมๆ ก็ฤาแต่จะเพิ่มทรัพย์สินของใครบางคนซะเท่านั้นแหละ "

. อ่านมาทั้งหมดผมเห็นด้วยมากกับข้อความด้านบนนี้เท่านั้นครับ แต่ในส่วนอื่น
ผมอยากให้คุณลองมองในซอกเล็กซอกน้อยจากการไม่รับเงินของรัฐบาลนี้ดูสัก
หน่อย อย่างเช่น กรณีของประเทศในกลุ่มยุโรป ท่านบอกไม่รับเงินแต่ขอเปลี่ยน
เป็นได้สิทธิ์ทางภาษีกุ้งแทน มานั้งพิจารณาถึงความจำเป็นในระยะสั้น-กลางเกี่ยวกับเรื่องกุ้ง ของคนในพื้นที่ 6 จังหวัดที่ประสบปัญหา มันเกี่ยวกันตรงไหนเหรอครับ
มองดูคล้าย ๆ กำลังพลิกวิกฤติเป็นโอกาสเพื่อพวกพ้องอีกแล้วหรืออย่างไร ลองมาคิดง่าย ๆ ครับ อาหารกุ้งนี้ใครเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ แล้วกุ้งนี้ใครเป็นคนส่งเสริมให้
เลี้ยง แถมยังมีไปเลี้ยงในต่างประเทศอีกด้วย แต่พอเวลาส่งออกไปยุโรปนี้ โควต้า
ชาวบ้านตาดำ ๆ นะมันหายไปไหน โดนใครแบ่งส่วนไป สุดท้ายคนที่ได้ประโยชน์
จากการไม่รับเงินแต่รับเป็น สิทธิ์ทางภาษีกุ้งนะใครกันแน่ครับ ประชาชนน่ะได้รับ
ประโยชน์น้อยมาก ยิ่งคนในพื้นที่ประสบภัยด้วยแล้วจะได้ประโยชน์อะไร
. การไม่รับเป็นเงินผมจะเห็นด้วยถ้ารับเป็นความช่วยเหลือที่จำเป็นกับคนในพื้นที่ประสบภัยก่อนเป็นอันดับหนึ่ง เช่น ประเทศไหนมีเทคโนโลยีในการสร้างบ้านแบบน็อคดาวน์ ก็ให้เค้ามาสร้างให้ ประเทศไหนมีความสามารถในเทคโนโลยีการป้องกันภัยก็ให้เค้ามาติดระบบและสอนให้ ขออย่างเดียวอย่าพยายามเบี่ยงเบนไปเข้ากระเป๋าพวกพ้องเลย


Posted by : ขอแทรกหน่อย , Date : 2005-01-12 , Time : 16:39:31 , From IP : 172.29.1.174

ความคิดเห็นที่ : 2


   ผมคิดว่าน่าจะมีการประเมิน "ความเร่งด่วน" เพื่อจัดลำดับความสำคัญ ในการตัดสินใจพอสมควร

ถ้าใครได้ลอง search วิธีการบริหารจัดการเวลาเกิดมหาภัยพิบัติต่างๆ อ่านดูวิธีที่องค์กรที่มีประสบการณ์เยอะๆพูดถึงเรื่องสิ่งของบริจาค เราจะพบว่ามีหลายอย่างๆที่เราอาจจะไม่ได้ใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ บางอย่างอาจจะลำบากในการเก็บรักษา หาระบบ security หรือแม้แต่การตัดสินใจในการ distribute ยิ่งผู้บริจาคมีมากมายหลายกระแส มีใจเป็นกุศล แต่อาจจะขาดข้อมูลในพื้นที่ และไม่สามารถประเมินได้แท้จริงว่าผู้ประสบภัยพิบัติ ณ ขณะนั้นๆ กำลังต้องการอะไรมากที่สุด การบรจาคของที่ versatile มากที่สุด เช่น เงิน ก็อาจจะทำให้ทุกบาททุกสตางค์กลายเป็นสิ่งที่มีคนกำลังต้องการจริงๆ

ไม่ว่าจะเป็นบริจาคของ เทคโนโลยี หรือเงิน เราต้องมีคนบริหารจัดการทั้งสิ้นแหละครับ และถ้าเรากังวลเรื่องการคอรับชัน คนเราก็สามารถจะกินได้ทั้งเงินสด กินหิน กินปูน กินเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหาประโยชนได้จาก contract ในการก่อสร้างตั้งเมืองใหม่ขึ้นมาได้อยู่ดี แต่อย่างหนึ่งก็คือไม่น่าจะมีรัฐบาลไหนประกาศว่าตนเอง Incompetent ในการ handle เงินบริจาคจึงขอรับเป็นอย่างอื่นแทน เพาะรัฐบาลต้อง handle เงินงบประมาณประเทศเป็นหมื่นๆล้านบาททุกๆปี รัฐบาลที่หน้าที่โดยตรงในการ distribute เงินภาษีให้ประชาชนทั่วทั้งประเทศอย่างยุติธรรมและมีธรรมาภิบาล ตรงนี้จะเป็นหลักการเดียวกันหรือไม่? จะเป็น acid-test ของ competency ในการรับบริหารจัดการอย่างที่มีหน้าที่หรือไม่?

ศักดิ์ศรีนั้นง่ายขณะที่เรามีบ้านอยู่อาศัย มีอาหารการกินสมบูรณ์ มีคอมพิงเตอร์ให้ access internet แสดงความเห็นกัน แต่ถ้าในยามที่เราไม่มีอะไรเลย มีคนเดือนร้อนจริงที่ไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีบ้าน ไม่มีกิน เสียสมาชิกของครอบครัวไปในทันทีทันใด priority อาจจะเปลี่ยนไปได้หรือไม่? ขอได้เปรียบทางการค้าของคนไทยที่เหลือเมือ่เปรียบเทียบกับคนที่กำลังต้องการจริงๆ สิ่งไหนจะสำคัญกว่ากัน? ของบริจาคที่ต่างประเทศตั้งใจจะให้ เขาต้องการจะให้ใคร? พ่อค้าส่งออกในประเทศ หรือผู้ประสบภัย?

ศักดิ์ศรีที่แท้จริงคือการซื่อสัตย์ต่อตนเอง เจียมตนอย่างที่ตนมี รับรู้ว่าเรากำลังเดือดร้อน เราถึงเริ่มขอความช่วยเหลือ เราถึงยอมรับความช่วยเหลือ ไม่เป็นความลับอะไรมากมายที่เรายังต้องกู้เงินมาสร้างถนน สร้างสะพานอยู่ตั้งแต่ก่อนเกิดภัยพิบัติ จู่ๆหลังเกิดภัยพิบัติทำไมเราจะเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ไม่ต้องการเงินช่วยไปได้?

เงินนั้นสามารถใช้ให้เกิดประโยฃน์ได้เยอะ ไม่ทราบว่าจะช่วยให้กล้ำกลืนศักดฺศรีได้หรอืไม่ ถ้าเราสามารถตั้งกองทุนการศึกษา กองทุนกู้สร้างบ้านดอกเบี้ยต่ำ กองทุนสร้างโรงเรียน กองทุนช่วยเด็กกำพร้า ฯลฯ

ไม่ได้ถามคนศักดิ์ศรีเยอะครับ ท่านอยู่สูงเกินไป อาจจะถามจากคนกำลังต้องการความช่วยเหลือ ไม่รู้ว่าตรงตามความปราถนาคนใจบุญที่เขาอยากจะบริจาคหรือไม่?



Posted by : Phoenix , Date : 2005-01-12 , Time : 20:06:47 , From IP : 203.156.40.154

ความคิดเห็นที่ : 3


   เห็นด้วยกับลุงนกไฟอย่างยิ่ง ท่านนายกฯ ทักษิณ น่าจะนึกถึงคนที่เค้าลำบากก่อน ส่วนการบริหารเงินเป็นคนละเรื่องกับการรับบริจาค ส่วนเรื่องภาษีกุ้ง ผมเห็นด้วยไม่ว่าใครจะได้ผลประโยชน์น้อยใหญ่ช่างหัวพ่อหัวแม่มัน แต่อย่างน้อยเกษตรกรก็ได้ผลประโยชน์ในระยะกลางและระยะยาว เพราะฉะนั้นผมเห็นด้วยที่จะให้รับเงินบริจาคและเรื่องภาษีกุ้ง

Posted by : คนหนึ่ง , Date : 2005-01-13 , Time : 11:12:03 , From IP : 61.19.199.142

ความคิดเห็นที่ : 4


   ทักษิณให้สัมภาษณ์ใน Talk Asia รายการของ CNN เมื่อวันเสาร์ ถูกถามคำถามเดียวกันเรื่องปฏิเสธ donated cash เนื่องจากนี่เป็นรายการที่ออกข่าวทั่วโลก เราอาจจะถือได้ว่านี่เป็น official statement โดย Prime Minister แห่งประเทศไทย

เหตุผลที่ท่านให้เหมือนกับที่ออกมาในข่าว แต่ท่านนายกพูดว่า เนื่องจากเงินที่บริจาคมาทั้งหมดนั้นมีน้อย ไม่ทั่วถึง และน่าจะให้เงินไปกับประเทศที่เสียหายมากกว่า แต่ประเทศไทยยินดีรับในรูปแบบอื่นๆแทน

ประเด็นตรงนี้น่าศึกษาและคิดไตร่ตรอง

ประการแรก เงินบริจาคกำลังมาเรื่อยๆ ขณะนี้เราไม่มีทางทราบว่า net donation จะถึงระดับไหน และ community ทั่วโลกก็กำลังฟังว่าที่บริจาคมาแล้วมันขาดเหลืออย่างไร ทราบจากการที่มียอดบริจาคทยอยกันมาหลายระลอก

ประการที่สอง ในส่วน private section มีจำนวนมากที่บรจาคเป็นเงิน เพราะชาวบ้านไม่รู้จะให้เป็นอะไรก็ให้เป็นเงิน และยอดตรงนี้ก็ไม่น้อยเลย ในประเทศอังกฤษประเทศเดียว ยอดแรกคือ 35 ล้านปอนด์ (ปอนด์นึงประมาณ 80 บาท) และต่อๆมาทยอยเพิ่มอีกเป็นร้อยล้านปอนด์ รัฐบาลอังกฤษคงจะไม่สามารถขอรับเงินตรงนั้ไปแปรเป็นรูปอื่นก่อนส่งมาให้พื้นที่ได้ independent organization เช่น Red Cross หรือ OXFAM เปนจุดที่ชาวบ้านจะบริจาค คนยุโรปไม่ใคร่เชื่อว่ารัฐบาลเป็นคนกลางที่ดีที่สุดในการ handle เงินบริจาคที่ตรวจสอบย้อนหลังยากแบบนี้เท่าไหร่นัก ดังนั้นการที่เราปฏิเสธเงินสด แทบจะเป็นการปิดรับการบรจาคจาก Private section และบังคับให้ต้องไป deal ระหว่างรัฐแทน

ประการที่สาม การรับบริจาคเป็นเทคโนโลยี ไม่สามารถป้องกันพวกเงื่อนไขพ่วงได้เลย ในยุคนี้เทคโนโลยีต่างๆจะมาเป็น package และยากมากที่ออกแบบเป็น universal compatibility นั่นคือถ้าเราใช้ IBM แล้วจะไปหาอะไรอย่างอื่นที่ optimal compatible อาจจะจะยาก logistic ทั้ง software and hardware จะไม่ค่อยเข้ากัน สมัยก่อนรัฐบาลญี่ป่นให้ทุนการศึกษาฟรีๆแก่คนรัดับหัวกระทิของเราไปเรียนก็เพราะผลการไกลมันมาก คนพวกนี้กลับมาในประเทศิอีกสิบปียี่สิบปีก็เป็นผู้บริหารที่มีความ "ถนัด" กับระบบญี่ป่น มี connection กับญี่ปุ่น โดย subconscious ก็จะ prefer Japanese package ไปเอง

ประการที่สี่ ขณะนี้ burden หรือความทุกข์ยากของประชาชนในประเทศของท่านนายกอยู่ใน first phase เท่านั้น การที่ท่านเกิดเห็นใจคนอินโดนีเซีย (ที่มีน้ำมัน อยู่ใน OPEC) นั้นก็ดี แต่โดยความเห็นส่วนตัวของผม นั่นไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนชาวไทยเลือกตั้งรัฐบาลไปรักษาประโยชน์ของคนอินโดนีเซียหริอศรีลังกา แต่เป็นรักษาผลประโยชน์ของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่กำลังเดือดร้อน

ประการที่ห้า ประเทศที่บริจาคทั้งของและเงิน เขาจะไม่ทุ่มเทกำลังมากนักนะครับในการที่จะ customize หรือแปรรูปของบริจาคให้เป็นสิ่งที่ผู้รับต้องการเป๊ะๆ OK อาจจะในหลักการทั่วไป เช่น เป็นของที่ไม่เสียง่าย เป็นของจำเปนที่ชาวบ้านทั่วๆไปต้องใช้ แต่ในระดับนโยบายประเทศนั้น หมายถึงเขาต้องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอะไรก่อน เพราะมันกระทบต่อแผนงบประมาณบริหารประเทศของเขา ผมไม่แน่ใจว่าการที่เราสร้างเงื่อนไขให้เกิดความซับซ้อนในการบริหารการบริจาคแบบนั้นจะดีหรือไม่ดีอย่างไร อีกอย่างอย่างที่ท่านนายกได้ observe ไว้ถูกต้องคือ มีคนต้องการความช่วยเหลือจำนวนมากนอกเหนือจากเรา ตรงนี้ไม่ใช่การต่อรองที่เราจะให้อะไรกลับ ดังนั้นประเทศต่างๆที่ส่งของบริจาคเข้ามา "ไม่จำเป็น" ต้อง mind ความจู้จี้ของเราเท่าไหร่นัก มีคนรอบข้างอีกจำนวนมากที่จะไม่ choosy และยินดีรับของอะไรก็ได้ที่มาเพื่อช่วยคนในประเทศของเขา






Posted by : Phoenix , Date : 2005-01-16 , Time : 22:09:03 , From IP : 172.29.7.46

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<