ความคิดเห็นทั้งหมด : 19

ลองอ่านดูน่ะ เรื่องการเมือง มีความคิดเห็นอย่างไรบ้างหรือกับการเลือกตั้งครั้งนี้ แล้วจะเลือกใครดีล่ะ


   
++ตรัง นี้คือเป้าหมายของอำนาจนายกประเทศไทย
ผู้เขียน: ทีมการเมือง

ตรัง.. เป็นจังหวัดที่มหัศจรรย์มาก เป็นต้นกำหนดยางพาราต้นแรก ปลูกที่นี้ ให้กับประเทศ เป็นท่าเรือที่สำคํญฝั่งอันดามันที่สุดสมัยนั้นและ ร5.ยังเสด็จยุโรปก็ต้องใช้ท่าเรือที่นี่.. เป็นที่เดียวที่มีน้ำตกน้ำเค็ม เป็นที่เดียวที่เหลือฝูงปลาพยูนในประเทศ เป็นที่เดียวที่มีถ้ำมรกตกลางทะเลที่สวยที่สุด และต่างๆ ส่วนในด้านบุคคล เป็นจังหวัดที่ผลิตนายกมาถึง2คนแล้ว และมีนายกที่เป็นถึง2สมัยด้วย อีกทั้งยังมีบุคคลที่ได้รับบารมีมากล้นจากพระบรมศานุวงศ์ด้วย มีรัฐมนตรีมาหลายคน อีกทั้งยังมีชื่ออยู่ในกินเนสบุ๊กในงานวิวาห์ใต้สมุทร์ด้วยซ้ำไป มาที่การเลือกตั้ง ตรังถือเป็นเมืองหลวงของนายชวน เขามองว่าถ้าตรังเสียอำนาจไป ประเทศอาจสั่นคลอนด้วยอำนาจบาดใหญ่นายกทักษิณคนนี้ได้ ดูจากการกระทำที่ผ่านๆมา และการเลือกตั้งคราวที่แล้วไทยรักไทยได้ เกือบ100% ทั่วประเทศ ซึ่งอันตรายมากๆ แต่ภาคใต้ก็ไม่ได้ซักที่เดียว ดังนั้นคนไทยภาคอื่นๆก็ควรเข้าใจว่า เราตรังอาจรู้ว่าเสียมากกว่าได้ แต่เราก็ต้องผดุงอำนาจประชาธิปไตยไว้เพื่อประเทศไทย ที่มั่นคงต่อไป




Posted by : เด็กตรัง , Date : 2004-12-23 , Time : 01:53:00 , From IP : 172.29.4.241

ความคิดเห็นที่ : 1


   ทักษิณ

Posted by : อืม , Date : 2004-12-23 , Time : 05:27:56 , From IP : 172.29.4.207

ความคิดเห็นที่ : 2


   คิดมากไปหรือเปล่า

Posted by : การเมือง , Date : 2004-12-23 , Time : 08:11:41 , From IP : 172.29.2.163

ความคิดเห็นที่ : 3


   ที่เขาคุยกันว่า ยังไงชาวใต้ก็ต้องเลือกผมทั้งน้ำตา เพราะราคายางพาราดีกว่าสมัยไหนๆ จริงๆแล้วราคายางพาราไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเลย ลองเทียบเป็นเงินสกุลอื่นๆดูซิ สมัยไหนๆราคาก็เท่ากับ 1 US dollar ทั้งน้าน ต้องใช้วิจารณญาณในการฟังมากกว่าปกติหลายเท่านัก :-)

Posted by : คนใต้ , Date : 2004-12-23 , Time : 08:49:40 , From IP : 172.29.3.217

ความคิดเห็นที่ : 4


   ราคายางดี ไม่เห็นชมคุณลุงชื่อ(อะไรนะนึกไม่ออก) ที่เป็นชาวนครฯอะ ที่ได้รางวัลจากตปท.อะ ช่วยนำเสนอให้ราคายางดี เอาความดีใส่ตัว น่าเกลียดจัง

Posted by : 111 , Date : 2004-12-23 , Time : 12:21:22 , From IP : 172.29.7.21

ความคิดเห็นที่ : 5


   ถ้าผมเป็นคนตรัง.... จะกลับไปบ้านไปเลือกประชาธิปัตย์ละ.... เสียดายไม่ได้เป็นคนตรัง

Posted by : ครับผม , Date : 2004-12-23 , Time : 12:26:41 , From IP : 172.29.3.176

ความคิดเห็นที่ : 6


   จังหวัดตรังจะยังคงได้ ส.ส. จาก ป.ช.ป. ครบทุกเขตแน่นอน ทั้งสมัยนี้และสมัยหน้า คนปักษ์ใต้มีคุณสมบัติพิเศษคือมองการเมืองได้ทะลุปรุโปร่ง รากฐานทางการเมืองแบบที่ค้ำชูนายชวน หลีกภัย มายี่สิบปีจะไม่ถูกสั่นคลอนง่ายๆด้วยลมปากของใครแน่นอน

Posted by : มีดโกน , Date : 2004-12-23 , Time : 13:35:46 , From IP : 172.29.4.68

ความคิดเห็นที่ : 7


   เชียร์คนตรังให้เลือก ปชป.

Posted by : แมวดำ , Date : 2004-12-23 , Time : 14:25:52 , From IP : 172.29.1.209

ความคิดเห็นที่ : 8


   โห เชียร์ปชป กันหมดเลย อย่างงี้คนที่เชียร์ทรท จะกล้าโพสต์ไม๊เนี่ย

สิทธิส่วนบุคคลนี่เนอะ


Posted by : สาวน้อยร้อยชั่ง , Date : 2004-12-23 , Time : 15:06:14 , From IP : 172.29.4.194

ความคิดเห็นที่ : 9


   เพื่อถ่วงดุลอำนาจของประชาธิปไตย โปรดเลือก ปชป. เน้อ คนอีสาน

Posted by : รักประเทศ , Date : 2004-12-23 , Time : 15:13:32 , From IP : 172.29.1.186

ความคิดเห็นที่ : 10


   ตรังไม่เห็นมีอะไรเลย

Posted by : ดดด , E-mail : (ดดดด) ,
Date : 2004-12-23 , Time : 16:06:40 , From IP : 172.29.2.173


ความคิดเห็นที่ : 11


   ทักษิณจะชนะการเลือกตั้งใหญ่ในต้นปีหน้า แต่ผลกระทบจากกระแสขาลงของไทยรักไทยจะทำให้ชนะไม่เกิน 350 เสียง จากนั้นภายในเวลาไม่ถึง 3 ปี ระบบการบริงานเงินทุนของไทยจะประสบความล้มเหลวอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการให้กู้ยืมเงินอย่างขาดการคัดกรอง ซึ่งในตอนนั้นรัฐบาลจะประกาศลอยตัวค่าเงินบาทอีกครั้ง ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ของไทยทรุดหนัก นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้น กระแสการเมืองจะบีบให้นายก( ทักษิณ ) ต้องลาออกหรืออาจถึงขั้นต้องลี้ภัยการเมืองข้ามชาติ ประชาธิปัตย์ซึ่งได้คาดการณ์ถึงผลลัพธ์นี้ล่วงหน้าจะดันอภิสิทธิ์ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค และชนะการเลือกตั้งใหญ่หลังไทยรักไทยประกาศยุบสภา เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นเพียงฉากหนึ่งในเกมส์การเมืองที่ถูกกำหนดไว้แล้ว โดยเสนาธิการมันสมองระดับอัจฉริยะนามว่า คาร์ โลฟ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการยุทธศาสตร์การเลือกตั้งให้ประธานาธิบดีจอร์จ W บุชสามารถเฉือนชนะผู้แข่งขันในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาของอเมริกา
การเมืองคือธุรกิจ ธุรกิจคือสงคราม สงครามคือการทำลายล้าง ผู้ล่าคือเหล่านักลงทุนระดับชาติ เหยื่อคือประชากรตาดำๆ ด้อยการศึกษา
พรรคไหนจะยึดตรังได้ ก็แค่เหตุการณ์เสี้ยงหนึ่งของแผนการลงทุนครั้งใหญ่นี้เท่านั้น ไม่มีความสำคัญหรือผลกระทบต่อประเทศชาติแต่อย่างใด


Posted by : หงส์อ่อน , Date : 2004-12-23 , Time : 17:07:43 , From IP : 172.29.2.93

ความคิดเห็นที่ : 12


   นโยบายหาเสียงและวีธีการหาเสียงสามารถบอกคุณภาพประเทศได้ จากการที่ผมติดตามข่าวสารบ้านเมืองมา การหาเสียง10ปีที่แล้วเป็นยังงัย ตอนนี้ก็เป็นอย่างนั้น เมื่อปี40ที่มีรัฐธรรมนูญใหม่ผมหวังมากๆว่าการเมืองไทยจดีขึ้น แต่ ณ วันนี้ ผมยังไม่ทราบเลยว่า ถ้าไทยรักไทยหรือประชาธิปัตมาเป็นรัฐบาลจะมีวีธีการที่เป็นรูปธรรมอย่างไรในการแก้ปัญหา3จังหวัดชายแดน หรือมีนโยบายภาษีอย่างไร นโยบายต่างประเทศต่ออาเซียน จีน เมกา จะมีทิศทางอย่างไร การศึกษาของประเทศจะกลายเป็นสินค้าเหมือนอย่างในเมการึป่าว หรือทางพรรคมองสถานการณ์ของราคาน้ำมันอย่างไรและจะส่งผลต่อไทยอย่างไร ผมฟังดูการหาเสียงก็ไม่มีพรรคใดเลยที่กล่าวถึงนโยบายเช่นนี้

Posted by : OIC , Date : 2004-12-23 , Time : 18:15:23 , From IP : 172.29.4.94

ความคิดเห็นที่ : 13


    จริงๆแล้วผมว่าการเมืองเราก็พัฒนาไปตามลำดับนะครับ วันนี้เรามีคนกลางมาคอยกำกับดูแลการเลือกตั้ง การนับคะแนนก็ใช้วิธีการรวบรวมมานับที่เดียว มีระบบปารตี้ลิสต์ให้สำหรับคนดีๆอยากเป็นสส.แต่หาเสียงไม่เก่ง(ไม่ใช่นักเลือกตั้ง ไม่มีหัวคะแนน ไม่มีอิทธิพล )
ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ทำอย่างไรจะให้คนไปใช้สิทธิกันเยอะๆ
จากการสังเกตของผม คนมีการศึกษาจะไปใช้สิทธิกันน้อย ( สงสัยไม่ค่อยว่าง ) แต่ชาวบ้านตาสีตาสาจะไปใช้สิทธิกันเยอะ ( อาจจะเป็นเพราะหัวคะแนนเขาเกณฑ์กันไป มีรถรับส่งอีกต่างหาก )


อย่างไรก็ตาม ผมต้องไปใช้สิทธิแน่นอน และจะไม่เลือกทั้งทรท.และปชป.


Posted by : ร่วมด้วยช่วยกัน , Date : 2004-12-23 , Time : 21:20:48 , From IP : 172.29.7.231

ความคิดเห็นที่ : 14


   รัฐบาลพรรค ปชป. สร้างตราปาบมหาศาลให้กับประเทศไทย

ทศวรรษที่ 2530 เป็นทศวรรษแห่งการขยายตัวที่รวดเร็วของไทย คือ มากกว่า 8% เกือบทุกปี ประเทศไทยมีเงินไหลเข้าจากต่างประเทศอย่างมหาศาลทั้งในรูปเงินกู้และเงินลงทุน ในขณะที่มีเงินไหลเข้าอย่างรุนแรงนั้น นโยบายของประเทศมิได้มีการปรับตัวเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น การวางกฎเกณฑ์ ควบคุมสถาบันการเงินเป็นไปด้วยความหละหลวม และความผิดพลาดที่สำคัญก็คือการดำเนินนโยบายตรึงค่าเงินบาทไว้กับดอลลาร์เป็นเวลานานทำให้ขาดกลไกสำคัญที่จะช่วยลดแรงกดดันจากการไหลเข้าของเงิน และยังเท่ากับเป็นการค้ำประกันและส่งเสริมการกู้เงินระยะสั้นจากต่างประเทศ เมื่อรวมเข้ากับการเปิดเสรีทางการเงินและการที่ดอกเบี้ยภายในประเทศสูงกว่าภายนอกมาก ก็ยิ่งทำให้การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเติบโตจนเกินควบคุม สภาพคล่องที่ล้นเพราะเงินไหลเข้าได้ทำให้เกิดฟองสบู่ในราคาอสังหาริมทรัพย์และราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่พุ่งสูงขึ้นจนเกินเหตุผล ภาคสถาบันการเงินเมื่อมีสภาพคล่องมากก็ปล่อยกู้อย่าง หละหลวม มีการทุจริตและการลงทุนในโครงการที่ไม่คุ้มค่าเป็นจำนวนมาก

ในที่สุดเมื่อสถานการณ์สุกงอม อสังหาริมทรัพย์เริ่มขายไม่ออกอย่างรุนแรง สถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มประสบปัญหาหนี้เสีย หนี้สินต่าง ประเทศเพิ่มขึ้นจนเข้าใกล้ 60%ของ GDP และดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศที่ขาดดุลมาโดยตลอดก็เพิ่มขึ้นจนถึง ขีดอันตราย กองทุนต่างประเทศก็เข้ามา ฉวยโอกาสหากำไรโดยการเข้าโจมตีค่าเงินผสมโรงกับนักลงทุนในประเทศที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงของตัวเอง กดดันให้รัฐบาลต้องยอมลดค่าเงินบาท การลดค่าเงินทำให้เกิดการขาดทุน และมีหนี้สินเพิ่มขึ้นทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนนักลงทุนต่างประเทศบางกลุ่มก็ขาดทุนกันอย่างรุนแรง ในขณะที่เกิดวิกฤติทางการเงิน ก็มีเงินไหลออกนอกประเทศอย่างฉับพลัน เจ้าหนี้ต่างประเทศเรียกหนี้คืนและไม่ยอมต่อสัญญาเงินกู้เกิดเป็นปรากฎการณ์สภาพคล่องเหือด ฟองสบู่แตก

## รัฐบาล ชาติชาย (สิงหา 2531-กุมภา 2534)

เป็นยุคของการเปิดเสรีทางการลงทุน ชักชวนต่างชาติมาลงทุน เศรษฐกิจขยายตัวรวดเร็ว และเริ่มมีการสะสมฟองสบู่ โดยเฉพาะที่ดินที่มีการเก็งกำไรกันมาก
อัตราการขยายตัวประมาณ 11~13%ของ GDP
ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบประมาณ 3~ 8% ของ GD P
หนี้ต่างประเทศรวม (ปี 2533) 29600 ล้านดอลลาร์

## รัฐบาล อานันท์1 (มี.ค. 25 34-เม.ย. 2535) อานันท์2(มิ.ย 2535-ก.ย.2535)
รัฐบาลได้สร้างภาพพจน์ต่อต่างประเทศด้วยการเปิดเสรีทางการค้า มีการลดภาษีนำเข้าหลายรายการเช่น รถยนต์ ไทยขาดดุลการค้ามากขึ้น
อัตราการขยายตัวประมา ณ 8.5 %ของ GDP
ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบประมาณ 5.5~ 7.5% ของ GDP
หนี้ต่างประเทศรวม (ปี 2535) 43621 ล้านดอลลาร์

## รัฐบาล ชวน 1 (ก.ย.35-พ.ค.38)

*นโยบายเปิดเสรีทางการ เงิน

โดยหวังให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาค อนุญาติให้มีการปล่อยสินเชื่อวิเทศธนกิจ BIBF แต่ได้คงนโยบายค่าเงินตายตัวโดยผูกติดไว้กับดอลลาร์ ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถปรับตัวได้ อีกทั้งการกู้เงินต่างประเทศประเภท BIBF นั้นก็ได้มีการผ่อนคลายมาตรการกำกับที่มีอยู่เดิมให้ไม่ต้องมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐาน BIS

*นโยบายเปิดเสรีทางสาธารณูปโภค

รัฐบาลขณะนั้นมีนโยบายจำกัด บทบาทของภาครัฐ โดยให้สัมปทานกับเอกชนและเรียกเก็บค่าสัมปทานล่วงหน้า เช่น โทรคมนาคม ทางด่วน (สบายครับ นอกจากไม่เปลืองงบแล้ว ยังได้เงินเข้ารัฐ ทั้งไม่ต้องเสี่ยงโดนด่าว่าขายสมบัติชาติ หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนเหมือนระดมทุนจากตลาดทุน )

การเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการลงทุนในสาธารณูปโภคและการเปิดเสรีภาคการเงินเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการกู้ยืมเงินจากนอกประเทศโดยภาคเอกชนเพิ่มขึ้นมาก มีการกู้เงินจากนอกประเทศเข้ามาฝากกินส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย เก็งกำไรในที่ดินและในตลาดหุ้น สถาบันการเงินก็กู้เงินเข้ามาปล่อยกู้อย่างหละหลวม มีการใช้เงินกู้ไปในการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า
ในเวลาไม่กี่ปีหนี้สินต่างประเทศของไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปี 2537 IMF ได้เริ่มเตือนประเทศไทยให้เปลี่ยนนโยบายการเงินและได้เตือนซ้ำอีกในปี 38 แต่ไม่ได้รับความสนใจ
ระยะนี้อัตราการขยายตัวของไทยยังคงอยู่ในระดับสูงคือประมาณ 8~9% ของ GDP แต่ช่วงนี้ก็มีดุลบัญชีเดินสะพัดที่ติดลบรุนแรงทุกปีเช่นกัน (-5~ -5.5 %ของ GDP ) ส่วนหนี้ต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก (ปี 2538 ไทยมีหนี้ต่างประเทศ 82,568 ล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ หนึ่งเท่าตัวในช่วงเวลา 3 ปีของรัฐบาล )

## รัฐบาลบรรหาร (ก.ค.2538-ก.ย.39)

ช่วงรัฐบาลบรรหาร เริ่มมีการเสื่อมลงของ อสังหาริมทรัพย์และหนี้สินในสถาบันการเงิน ตลาดหุ้นตกต่ำลง การส่งออกกุ้งถูกกีดกันจากกฎหมายสิ่งแวดล้อมของสหรัฐ ประจวบกับค่าเงินดอลลาร์ได้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เงินบาทที่ผูกติดไว้กับดอลลาร์ก็สูงตามไปด้วย ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลงไปอีก ปี 2538 และ 2539 ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยตกต่ำเข้าขั้นวิกฤต สองปีติดต่อกัน คือ -8.2 และ -8.1 ตามลำดับทำให้เงินบาทอยู่ในฐานะที่ล่อแหลมต่อการถูกโจมตี
มี.ค. 2539 สถาบันจัดอันดับ Moody’s ได้เตือนว่าจะลดอันดับหนี้ระยะสั้นของไทย และการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแก้ไขปัญหา BBC โดยเพิ่มทุนใหม่โดยไม่ได้ลดทุนเก่าเสียก่อน ยิ่งซ้ำเติมให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่น และกระบวนการขนเงินกลับก็ได้เริ่มต้นขึ้น
ก.ย. 2539 สถาบันจัดอันดับ Moody’s ได้ลดอันดับ พันธบัตรระยะสั้นของไทย
ในช่วงรัฐบาลบรรหาร นักเก็งกำไรต่างชาติได้เข้ามาโจมตีค่าเงินหลายครั้งแต่ยังไม่รุนแรงนักเป็นการหยั่งเชิงว่า ธปท. จะเปลี่ยนนโยบายค่าเงินหรือไม่
**ถึงตรงนี้คงจะกล่าวได้ว่า มีนโยบายทางการเงินการคลังที่ควรได้รับการแก้ไข แต่รัฐบาลไทยในอดีต ไม่ได้มีการตัดสินใจใดๆ คือ
1.ไม่ได้ดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดพอ
2.ไม่ได้ดำเนินนโยบายทางการคลังที่เข้มงวดและเกินดุลมากพอ
3.ไม่ได้เตรียมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้เพียงพอ ต่อการไหลออกของเงินกู้และใช้ในยามวิกฤติ ขณะนั้นทุนสำรองของชาติมีเพียงพอสำหรับชำระสินค้าขาเข้าราว 4 เดือนเท่านั้น และยังเป็นเงินที่กู้มาเกือบทั้งหมด
4.ไม่ได้เปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนทั้งๆ ที่ IMF ได้เคยเตือน ในปี 2537 2538(ชวน1) และ 2539(บรรหาร)
5.ไม่ได้มีนโยบายสะกัดกั้นการกู้เงินระยะสั้น (ในระยะหลังการกู้เงินจากต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นการกู้ระยะสั้น)

## รัฐบาลชวลิต(พย.39-พ.ย.40)
ต้นปี 2540 รัฐบาลได้ตัดงบประมาณแผ่นดินลงอย่างรุนแรงถึง 2 ครั้งเพื่อชะลอเศรษฐกิจและเพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด

ในปี 2540 ธุรกิจอสังหาริมทรัย์ก็ได้กลายเป็นหนี้เสียในสถาบันการเงินมากขึ้นอุตสาหกรรมบางอย่างก็แสดงอาการเป็นฟองสบู่ เกิดเป็นหนี้เสียเช่นกัน ในเดือน มี.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศว่ามีบริษัทเงินทุน 10 แห่งต้องเพิ่มทุนด่วน ประชาชนที่ได้ข่าวหนี้เสีย ก็แห่กันมาถอนเงินฝาก บ. เงินทุนขาดสภาพคล่องจึงหันไปขอความช่วยเหลือจากกองทุนฟื้นฟู เดือน ก.ค. บริษัทเงินทุน 16 แห่งถูกระงับกิจการเป็นการชั่วคราว และอีก 42 แห่งในเดือน สิงหา เพื่อให้ ธ.ป.ท. เข้าไปตรวจสอบ

***การโจมตี ค่าเงินของต่างชาติ

14 ก.พ. 2540 (เดือนที่ 3 ของรัฐบาลชวลิต) มีการโจมตีค่าเงินโดยกองทุนต่างชาติอย่างรุนแรง ด้วยความกลัวว่าระบบการเงินจะพัง ธปท.ได้ทำสัญญา swap เพื่อปกป้องค่าเงินบาทไปถึง 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ (ขณะนั้นไทยมีหนี้ต่างประเทศ 91000 ล้านดอลลาร์ ) ครั้งนั้นแม้ ธปท. จะแกล้งสั่งจำกัดการแลกเปลี่ยนเงินบาทของธนาคารในประเทศ จนทำให้กองทุนต่างชาติต้องไปตั้งโต๊ะขอซื้อเงินบาทที่สิงคโปร์ในราคาแพงและขาดทุนไปตามกัน แต่กองทุนต่างชาติมิได้ล่าถอยแต่กลับไปเตรียมเงินบาทเพื่อกลับมาใหม่

14 พ.ค. ได้มีการโจมตีค่าเงินบาทครั้งใหญ่อีกครั้ง ธปท.ได้ต่อสู้โดยทำสัญญา swap ไปกว่าหมื่นล้านดอลลาร์ จนทำให้ทุนสำรองสุทธิ เหลือเพียง 2.5 พันล้านดอลลาร์(ทุนสำรองสุทธิ คือทุนสำรอง หักด้วยภาระ swap แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุนสำรองจริงๆเหลือเท่านั้น เพราะการส่งมอบภาระ swap ทำที่เวลาต่างๆ กันในอนาคต ส่วนจะเสียหายเท่าไรก็อยู่ที่อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อถึงกำหนดส่งมอบ)

ตามรายงาน ศ.ป.ร.(ที่ตั้งโดย ป.ช.ป.) การต่อสู้ครั้งใหญ่ทั้งสองครั้ง ธ.ป.ท รายงานแต่ชัยชนะแต่ไม่ได้รายงานยอด swap ให้ ร.ม.ต. คลังทราบเพราะถือว่าเป็นบัญชีซื้อขายของฝ่ายการธนาคาร และไม่ได้กระทบกับเงินสำรองในทันที อีกทั้งต้องการซ่อนไม่ให้ ตลาดเงินและประชาชนรู้ (จริงๆแล้ว ร.ม.ต. คลังกับพลเอกชวลิตจะทราบหรือไม่ กระผมไม่อาจรู้ได้)

25 มิ.ย. ดร.ทนง (ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่ง ร.ม.ต. คลัง แทน ดร. อำนวย)ได้สั่งให้ ธ.ป.ท. รายงานสถานะเงินสำรองสุทธิ และเข้ารายงาน พลเอกชวลิต ในวันที่ 29 มิ.ย. จากนั้น พลเอกชวลิต ได้ตัดสินใจลดค่าเงินบาทโดยการปล่อยลอยตัว ในวันที่ 2 ก.ค. 40 (เหตุผลคือเงินสำรองสุทธิลดลงมากจนไม่อยู่ในสถานะที่จะปกป้องค่าเงินได้อีก และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด)

เป็นอันสรุปว่า ธปท. ได้ทำให้เกิดความเสียหายจากการที่พยายามตั้งค่าเงินไว้สูงเกินไป และได้ทำสัญญา swap เพื่อต่อสู้กับการโจมตีค่าเงินบาท เป็นวงเงินรวมทั้งหมดเกือบ 30,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งภายหลังเมื่อ ธปท. ได้ชำระภาระ swap หมดแล้วพบว่ามีขนาดความเสียหาย 188,760 ล้านบาท หรือทำสัญญา swap 30,000 ล้านเหรียญแล้วขาดทุนเฉลี่ยเหรียญละ 6.3 บาท (ไม่ใช่เสียหายทั้ง จำนวนสัญญาสามหมื่นล้านเหรียญ หรือ แปดแสนกว่าล้านอย่างที่มีคนบางกลุ่มพยายามทำให้ประชาชนเข้าใจอย่างนั้น)

การลดค่าเงินโดยการปล่อยลอยตัว แม้จะทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเป็นบวก(นับจากเดือนกันยายน 2540 ไทยมีดุลการค้าเป็นบวก 800~ 1000 ล้านดอลลาร์ต่อเนื่องทุกเดือน) แต่ก็ทำให้ธุรกิจที่กู้เงินต่างประเทศและธนาคารต่างๆ มีหนี้สินสูงขึ้นทันที

เมื่อเงินสำรองสุทธิ ลดต่ำลงมากทำให้รัฐบาลต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF เพื่อของวงเงินสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน IMF ได้ตั้งวงเงินกู้ให้ไทยเพียง 17.2 พันล้านดอลลาร์(ให้เป็นงวดๆ หาก LOT ไม่ถูกใจเมื่อไหร่ก็ไม่ให้) ซึ่งทำให้เจ้าหนี้ต่างประเทศคาดว่าวงเงินเพียงเท่านั้นแม้จะเพียงพอต่อรัฐบาลแต่จะไม่เพียงพอต่อการคุ้มกันการทวงหนี้ของภาคเอกชน เมื่อวงเงินคุ้มกันไม่มากพอ การทวงหนี้ในภาคเอกชนจึงดำเนินต่อไปอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดการลดค่าเงินอย่างรุนแรง และปัญหาการขาดสภาพคล่องที่นำไปสู่การล้มละลายของธุรกิจจำนวนมากตามมา

ช่วงเดือน สิงหา ถึงตุลา ได้มีการปลุกกระแสสังคมอย่างหนักว่าประเทศไทยกำลังจะล้มละลายเพราะรัฐบาลชวลิต จากกระแสต่อต้าน พลเอกชวลิตได้ตัดสินใจลาออก ขณะนั้นเงินบาทอยู่ที่ 36.85 บาท

## รัฐบาล ชวน 2 (พย.40-กพ 44)

หลังจากที่ ได้เข้ามาบริหารประเทศด้วยเสียงเชียร์อันดังกระหึ่มของบรรดานักวิชาการและสื่อแล้ว รัฐบาลก็ได้พยายามหยุดยั้งการไหลออกของเงินด้วยการขึ้นดอกเบี้ย แต่เนื่องจากขาดความเชื่อมั่น แม้จะขึ้นดอกเบี้ยการไหลออกของเงินก็ยังไม่ลดลง ยังคงมีการเรียกหนี้คืนอย่างหนักจากต่างประเทศ ค่าเงินบาทได้ไหลลงต่อเนื่องและทำจุดต่ำสุดที่ 57.5 บาทต่อดอลลาร์ในเดือน มกราคม 2541 ก่อนจะกลับขึ้นมาอยู่ในระดับประมาณ 40 บาทเมื่อสิ้นไตรมาสที่ 1 แต่รัฐบาลก็ยังคงตั้งเป้าที่จะทำให้ค่าเงินเข็งขึ้นไปอีก และคงนโยบายดอกเบี้ยสูงต่อไป ทั้งๆที่เงินบาทได้เข้าสู่ระดับสมดุลและเศรษกิจชะลอลงอย่างรุนแรงแล้ว

ความพยายามที่จะทำให้เงินแข็งขึ้นโดยใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงและควบคุมฐานเงินทำให้เงินฝืดเป็นเวลานาน เพื่อช่วยธุรกิจขนาดใหญ่ และสถาบันการเงินที่กู้เงินต่างประเทศมาก และทำให้ธนาคารสามารถหากำไรจากการไม่ปล่อยสินเชื่อได้ โดยนำเงินมาฝากกับ ธ.ป.ท. แต่การใช้นโยบายนี้เป็นเวลานานเกินไปก็มีผลข้างเคียงคือ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง และปัญหาการขาดสภาพคล่องในธุรกิจขนาดเล็กรุนแรงมากขึ้น ช่วงนั้นมีธุรกิจล้มละลายเดือนหนึ่งๆ นับพันราย

ช่วงปลายเดือน ก.ค. ปี 2541 รัฐบาลได้เริ่มลดอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารลงเรื่อยๆ ธนาคารเองก็ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน และยังไม่มีทีท่าว่าจะปล่อยเงินกู้เข้าสู่ระบบเศรษกิจเพิ่มขึ้นแต่อย่างไร เนื่องจากธนาคารถูกบังคับให้ต้องกันสำรองให้ได้ ตามเกณฑ์ 8.5% ต่อสินทรัพย์เสี่ยง

สำหรับสถาบันทางการเงินที่ถูกปิดกิจการชั่วคราวและอยู่ในการดูแลของ ป.ร.ส. นั้น มี 56 แห่งไม่สามารถสำรองตามเกณฑ์ 15 %(หลังจากถูกตรวจสอบบัญชีและประเมินราคาสินทรัพย์โดย บ.สอบบัญชีต่างชาติแล้ว)จึงถูกปิดกิจการถาวร ปล่อยรอดมาเพียง BIC และ KK ซึ่งแข็งแรงถึงขนาดเข้าประมูลสินทรัพย์ ป.ร.ส. แข่งกับต่างชาติได้ (กรณีที่ใช้เกณฑ์การสำรองหนี้เสียที่เข้มงวดกว่าปกตินี้รัฐบาลอธิบายว่า เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่กลับมาเป็นปัญหาอีก) จากนั้นรัฐได้รีบจัดให้ประมูลขายสินทรัพย์และหนี้ที่ติดอยู่กับ ป.ร.ส. ออกไปทั้งหมด ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาชาวต่างชาติโดยไม่มีการประนอมหนี้แต่อย่างไร ด้วยผลประโยชน์ที่ขัดแย้ง ที่ปรึกษาต่างชาติได้ตั้งกฎเกณฑ์ที่เอื้อให้พวกตัวเองและกีดกันคู่แข่งขัน ในการประมูลปี 2541 ได้ราคาต่ำเพียง 20% เท่านั้น (รัฐบาลให้เหตุผลว่าที่รีบขายออกไปเพราะต้องการขายก่อนประเทศอื่นที่มี ปัญหาเช่นกัน เช่นเกาหลี อินโด และจะทำให้ได้เงินเข้าประเทศ)

การปิดสถาบันการเงินทำให้ ธุรกิจที่กู้เงิน ถูกปิดวงเงิน ทรัพย์สินถูกยึดติดไปกับหนี้ ไม่มีเงินหมุนเวียน กลายเป็นหนี้เสีย ลุกลามไปยังสถาบันการเงินอื่น ทั้งสินทรัพย์ที่ได้ถูกประมูลไป แล้วขายออกมาในราคาถูกกว่าท้องตลาดก็มีส่วนทำให้สินทรัพย์ที่ตกต่ำอยู่แล้วตกต่ำลงไปอีกและย้อนกลับมาเป็นภาระให้ธนาคารต้องกันสำรองมากขึ้น (สินทรัพย์ที่ราคาต่ำลง ทำให้หลักประกันไม่คุ้มมูลหนี้ หนี้สินที่ให้กู้จึงจัดเป็นหนี้เสีย ต้องตั้งสำรอง นำไปสู่การลดลงของกองทุน ซึ่งธนาคารเกือบทุกแห่งต้องลดทุนลงจนสูญเสียความเป็นเจ้าของ)

ความเสียหายจากฟองสบู่แตกในครั้งนั้นมีความเสียหายเท่าไรไม่อาจประเมินได้แน่ชัด เฉพาะความเสียหายในภาคสถาบันการเงินก็มีมูลค่านับล้านล้านบาท ยังไม่รวมการที่รัฐต้องยอมลดค่าสัมปทานให้กับธุรกิจเอกชน การล้มละลายของธุรกิจนับหมื่นแห่ง รวมถึงธุรกิจไทยที่ต้องตกไปอยู่ในมือต่างชาติ

คำศัพท์
*เงินสำรองระหว่างประเทศ คือเงินที่มีสำรองไว้ใช้จ่ายกับต่างประเทศ ประกอบไปด้วย เงินเหลือใช้ และเงินที่กู้เขามา
*ดุลบัญชีเดินสะพัด คือ ดุลการค้าบวก ดุลบริการ เป็นตัววัดว่าการค้าขายทุกชนิดของประเทศมีกำไรหรือขาดทุนเท่าใด เสมือนเป็นงบกำไรขาดทุนของประเทศ ถ้าบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ส่วนที่ขาดดุลจะถูกปิดด้วยทุนสำรองของประเทศ หรือด้วยการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ(ทั้ง เงินกู้และเงินลงทุน)

*ดุลการชำระเงิน เป็นตัวเลขแสดงเงินไหลเข้าออกสุทธิในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งก็คือ ดุลบัญชีเดินสะพัด บวกด้วยเงินไหลเข้าจากการกู้เงิน หรือนำมาลงทุน หักด้วยเงินไหลออก เพื่อนำไปชำระหนี้ หรือเงินทุนไหลกลับในรูปเงินปันผลหรือขายหุ้นแล้วเอาคืนไป ดุลการชำระเงินจึงเป็นเหมือนกระแสเงิน Cash Flow ของประเทศ กรณีของประเทศไทยรัฐบาลในอดีต ได้ให้ความสำคัญกับดุลการชำระเงินมากเกินไป เมื่อดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบจึงไม่ได้มีความพยายามที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศหรือยอมลดค่าเงิน แต่ได้ทำการกู้เพิ่มซึ่งเป็นการกลบเกลื่อนปัญหาของประเทศ

### ปุจฉา ###
1.) หากรัฐบาลไทยในอดีตได้ตัดสินใจเปลี่ยนนโยบายค่าเงิน หรือได้ทำการชะลอเศรษฐกิจลงบ้าง เมื่อเห็นว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศติดลบมากเกินไป โดยเฉพาะหากกระทำก่อนที่หนี้ต่างประเทศจะอยู่ในระดับสูง สถานการณ์จะเปลี่ยนไปอย่างไร และการโจมตีค่าเงินจะเกิดขึ้นหรือไม่
2.) เมื่อมีการโจมตีค่าเงิน หาก ธ.ป.ท. ตัดสินใจไม่ปกป้องค่าเงินแต่ยอมให้ค่าเงินลดลงในทันที ปัญหาการไหลออกของเงินกู้การล้มละลายของธุรกิจอันเนื่องมาจากการขาดสภาพคล่องที่รุนแรงและภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น การตกต่ำของสินทรัพย์ หนี้เน่าใน ภาคสถาบันการเงินจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือเปลี่ยนไปอย่างไร
3.) การโจมตีค่าเงินอย่างรุนแรงทั้งสองครั้ง หากรัฐบาลในขณะนั้นไม่ใช่ รัฐบาลพลเอกชวลิต แต่เป็นรัฐบาลอื่น เช่นรัฐบาลชวน ท่านคาดว่าจะมีการตัดสินใจต่อสู้กับการโจมตีค่าเงินหรือไม่
4..) หากกล่าวว่าการตัดสินใจลดค่าเงินด้วยการ เปลี่ยนระบบ การเงินของประทศ ไปเป็น Managed Float System(ลอยตัวภายใต้การจัดการ) ในสถานการณ์ขณะนั้น โดยรัฐบาล พลเอกชวลิต เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด ฉะนั้นทางเลือกอื่นคืออะไร ในแนวทางนั้นจะสามารถแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงเกินไปได้หรือไม่ รวมถึงจะต่อสู้กับการโจมตีค่าเงินของต่างชาติต่อไปอย่างไร
5.)การใช้ข้อมูลเท็จ ปลุกกระดม สร้างกระแสให้เกิดความหวาดกลัว เพื่อโค่นล้มรัฐบาล พลเอกชวลิต รวมถึงการไปพูดโจมตีถึงต่างประเทศ มีส่วนทำให้ค่าเงินบาทรูดลงไปที่ 57.5 บาทต่อ ดอลลาร์หรือไม่

สรุปมีพรรคเดียวเท่านั้นที่ทำความเลวเช่นนี้ให้เกิดกับประเทศชาติได้ คือ พรรคมาร ปชป. นี้เท่านั้น และตอนนี้ พรรคนี้ ก็กำลังใช้คารมกลับขาวเป็นดำ กับดำเป็นขาว เพื่อสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศชาติอีก

ไม่มีพรรคการเมืองใดจะเลวเท่าพรรคนี้อีกแล้ว เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ พวกนี้ก็จะทำได้ทุกอย่าง ร่วมมือกับโจรโกงเงินชาวบ้าน เช่น นายเอกยุทธ พรรคนี้ก็ทำ


Posted by : med , E-mail : (eee) ,
Date : 2004-12-24 , Time : 15:48:33 , From IP : 172.29.4.60


ความคิดเห็นที่ : 15


   คุณ MED ทำไมถึงได้ใช้ถ้อยคำได้รุนแรงนัก
ถ้าคุณเป็น medicine จริงคงรู้นะว่าการ retrospective แล้วหาข้อผิดพลาดของคนอื่นมันง่ายขนาดไหน ตามความเห็นถ้าคุณเป็นหมอแล้วทำคนตาย(เหมือนรัฐบาลเชาวลิต) แล้วคุณกลับไป review ประวัติผู้ป่วยบอกว่าคนโน้นคนนี้เคยรักษาผิดเหมือนกัน แล้วโยนความผิดให้คนที่วินิจฉัยผิดครั้งก่อนเสียอย่างนั้นหรือ


Posted by : Med 2 , Date : 2004-12-24 , Time : 17:26:57 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 16


   ใช้คำพูดได้เหมาะกับวุฒิภาวะจิงๆคุณmed พรรคมาร ปชป.
ขออนุญาตนำความเห็นของคนอื่นๆจากบอร์ดอื่นมาให้อ่านดูนะคับ


ฝากไว้ให้คิด
ไม่รู้สิว่าจะเลือกพรรคไหน แต่ถามหน่อยเหอะว่าระหว่างเลือกพรรคที่เก่งพูด เอาจังเอาจัง ประเทศก้าวหน้า เศรษฐกิจเริ่มจะดี แต่มีปัญหาไม่สงบสุขในประเทศ คนไทยต้องมาฆ่ากันเอง มีปัญหาคอรัปชั่น เจ้าหน้าที่รับเงินใต้โต๊ะ กับ ประเทศเจริญอย่างค่อยเป็นค่อยไป ต่างชาติไม่ค่อยรู้จัก มีความรัก สามัคคีในประเทศ เศรษฐกิจไม่ดีเท่าที่ควร คุณจะเลือกอย่งไหนคงไม่ต้องอ้างอิงถึงพรรคก็คงจะรู้นะ
แต่อยากให้ยอมรับกันนิดนึงว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม คุณอย่าลืมพื้นหลังของบรรพบุรุษสิ แล้วปัญหาที่เกิดตอนนี้ไม่ใช่เพราะผู้นำแข็งกร้าวเกินไปเหรอ ถ้ามีการยืดหยุ่นกันบ้าง คนไทยคงไม่ต้องมาฆ่ากันอย่างนี้ แล้วพวกคุณรู้ป่ะว่าที่เค้าต้องการแยกเป็นรัฐอิสระเพราะอะไร เพราะเค้าไม่ต้องการอยู่ภายใต้การปกครองของผู้นำอย่างนี้ เก่งก็ยอมรับนะ แต่คนเก่งใช่จะเป็นคนดี ไม่ได้อ้างอิงถึงใครนะ แต่นี่มันคือสัจธรรมจริงๆๆ ลองมองย้อนไปดูเรื่องราวในอดีตสิ ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศ คนไทยต้องฆ่ากันเองมันเกิดจากอะไรถ้าไม่ใช่ผู้นำประเทศ คุณคงไม่ลืมเหตุการณ์ที่นิสิตนักศึกษา ออกมาเดินประท้วงขับไล่รัฐบาลหรอกนะ มันเกิดจากการที่ใช้มาตราการที่แข็งเกินไป ประเทศไทยประชาธิปไตยนะ ไม่ใช่เผด็จการ คุณจะเลือกพรรคไหนก็คิดดูแล้วกัน แต่สำหรับเรา ขออยู่แบบสงบสุขดีกว่า เลือกนักธุรกิจมาปกครองประเทศประเทศก้าวหน้าเร็วก็จริง เพราะพวกนี้มีหัวการค้า แต่การลงทุนอะไรไป ไม่มีหรอกที่ไม่หวังสิ่งตอบแทนสำหรับผู้ทำการค้า แล้วที่คุณว่าถ้าเลือกพรรค....ประเทศจะกลับสู่เหตุการณ์เดิมๆๆ คงเคยได้ยินว่าเก่าแต่เก๋านะ ค่อยเป็นค่อยไป ประเทศสงบๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆไม่ต้องมาฆ่ากันเอง


Posted by : OIC , Date : 2004-12-25 , Time : 01:36:09 , From IP : 172.29.4.94

ความคิดเห็นที่ : 17


    ถ้านายกทักษิณแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ จะเลือก แต่ถ้ายังไม่กล้าไล่คนที่ทำผิดซึ่งอยู่ในพรรค เพียวแค่หวังจะได้ที่นั่งส.ส. ในจังหวัดนั้นละก้อ อย่างหวังจะได้เสียงจากคนทั้งประเทศเลย และพรรคประชาธิปัตย์ ทำเป็นหวังเสียงเก่าที่มีคนเก่าคนแก่ที่จงรักพรรคดีอยู่ละก้อ ระวังพรรคจะได้เสียงน้อยลง จนเถียงในสภาไม่ออกละกัน เพราะคนแก่ที่ว่าอ่ะ ก้อตายไปหมดแล้ว เหลือแต่คนที่มีสติปัญญา ถ้าไม่มีผลงานก้อไม่มีใครอยากเลือกนะจะบอกให้

Posted by : ran , Date : 2004-12-26 , Time : 17:09:53 , From IP : 172.29.2.129

ความคิดเห็นที่ : 18


   ระหว่างพูดเก่ง ดีแต่ด่า เวลาถึงคิวตัวเองไม่เป็น ไม่ได้เรื่อง เลี่ยงบาลีไปเรื่อย กับลงมือทำ ถูกบ้าง ผิดบ้าง ผมขอเลือกอย่างหลัง

Posted by : E-san แท้ , Date : 2004-12-27 , Time : 13:13:22 , From IP : 202.5.87.186.rev-ip.

ความคิดเห็นที่ : 19


   คน E-san เคยเทคาแนนให้พรรคดอกทานตะวันจนชนะเลือกตั้ง มีนายพลเปนนายกและรองนายยกคือพตท. พาประเทศสู่หายนะเปนที่กล่าวขานกันในนาม วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ครั้งนั้นพื้นที่กระแสอย่างกทม.เลือกปชป.จนพลังธรรมต้องสูญพันธุ์ หลังจากครบวาระชวน2 เหล้าเก่าๆก็มารวมตัวกันเทรวมในขวดใหม่ ในนามทรท. ยังจำกันได้รึป่าว?

Posted by : OIC , Date : 2004-12-27 , Time : 14:48:58 , From IP : 172.29.4.94

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<