ความคิดเห็นทั้งหมด : 14

เกี่ยวกับหนังสือในห้องสมุด


   ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นสักนิด เกี่ยวกับหนังสือในห้องห้องสมุดของคณะ ที่จริงก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขนานแล้ว เพราะปริมาณหนังสือในห้องสมุดมีไม่เพียงพอต่อการใช้โดยเฉพาะหนังสือภาษาไทย คิดว่าการเรียนในระบบที่มุ่งให้นักศึกษาเรียนด้วยตนเองนี้สื่อการเรียนรู้น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรจะเพียงพอและหลากหลาย แต่ทำไมรู้สึกว่าเรื่องพวกนี้ไม่ถูกแก้ไขสักที ที่จริงปัญหานี้ก็คิดว่านักศึกษาพูดกันมากแล้ว ประเมินรายวิชาถูกครั้งก็มีเขียนไปทุกครั้ง แต่ไหนแต่ไรมา หนังสือที่ใช้เสนอในPBLเป็นอันต้องแย่งชิงกันทุกครั้ง สัปดาห์ไหนมีPBLเรื่องอะไรก็อย่าหวังว่าจะเจอหนังสือเรื่องนั้นในชั้นวางอีก และอีกประเด็นหนึ่งก็คือไม่เข้าใจว่าทางคณะไม่สนับสนุนให้นักศึกษาอ่านหนังสือภาษาไทยหรืออย่างไร จึงได้พบแต่หนังสือเก่าๆตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2530 ใช้อ้างอิงอะไรไม่ได้ แถมแต่ละเล่มก็มีไม่กี่copy หรือเป็นเพราะเหตุผลที่ต้องการให้นักศึกษาฝึกทักษะภาษาอังกฤษ?จึงบังคับให้อ่าน text ซึ่งเหตุผลประเภทนี้คงจะไม่คุ้มเท่าใดนักกับโอกาสเรียนรู้ที่ต้องเสียไป อันที่จริงหนังสือภาษาไทยดีๆที่ตีพิมพ์ออกมาใหม่ก็มีเยอะ

คณะแพทย์มีเงินทำอะไรตั้งหลายอย่าง แต่คิดว่าปัญหาส่วนนี้ก็สำคัญเหมือนกัน ไม่รู้ว่าจะเป็นการร้องขอมากเกินไปหรือเปล่า แต่ก็อยากให้กรุณาพิจารณาตรงส่วนนี้ด้วย


Posted by : นักศึกษา , Date : 2004-12-21 , Time : 12:49:44 , From IP : 172.29.4.68

ความคิดเห็นที่ : 1


   Forget it ,man.

Posted by : O2 , Date : 2004-12-21 , Time : 12:53:54 , From IP : 172.29.3.176

ความคิดเห็นที่ : 2


   เห็นด้วยกับคุณนักศึกษา คิดว่าท่านรองคณบดี อาจารย์มยุรีคงรับฟังและหาทางจัดหาหนังสือภาษาไทยมาใส่เพิ่มเติมทั้งระดับปรีคลีนิกและระดับคลินิกให้เพียงพอกับความต้องการใช้งาน นอกจากนี้หนังสือและตำราภาษาไทยราคาถูกกว่าtext book มาก ราคาtext boox 1 เล่มซื้อตำราภาษาไทยได้ตั้ง20-30เล่ม เป็นการอุดหนุนอาจารย์ไทยด้วย ไม่ใช่อะไรๆก็จะรอให้อาจารย์ให้ความอนุเคราะห์บริจาคให้ทุกที บางทีอาจารย์ก็รอจนขายเหลือและเริ่มเก่าจึงจะตัดใจบริจาคให้ (ทีของฝรั่งราคาแสนแพง มีอาจารย์อ่านรู้เรื่องแค่ 2 คนทั้งคณะ ห้องสมุดยังซื้อเสียหลายเล่ม เปรียบเปรยเฉยๆ อันที่จริงซื้อด้วยเงินคนละส่วนกัน) แต่นักศึกษาก็ควรซื้อหนังสือที่ได้ใช้ประโยชน์นานๆหรือเป็นเรื่องที่นักศึกษาสนใจไว้เป็นของส่วนตัวด้วย หรือจะซีหร็อกก็ได้ถ้าไม่มีตังค์จริงๆแต่อย่าไปซื้อกาแฟหรือไก่ทอดแพงๆกินล่ะถ้าไม่มีตังค์ขนาดต้องมาซีหร็อกงานลิขสิทธ์ของคนไทยที่ปกติก็มีน้อยชิ้นเต็มที อย่างไรก็ตามขอสนับสนุนความเห็นของคุณนักศึกษานะ

Posted by : พร่ำบ่นจริงๆ , Date : 2004-12-21 , Time : 16:03:27 , From IP : 172.29.3.124

ความคิดเห็นที่ : 3


   เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้มแข็งเรื่องภาษาอังกฤษ และที่สำคัญ การศึกษาต่อเนื่องในอนาคตนักศึกษาจะต้องอ่านภาษาอังกฤษ เนื่องจากความรู้ใหม่ๆจะเกิดขึ้นตลอดเวลา หากเรายังมัวนั่งอ่านหนังสือที่แปลมาเราจะไปถึงไหนกันครับ ภาษาไทยส่วนหนึ่งของอาจารย์เราก็มีเขียนให้แล้ว คิดว่าหากเราอ่านภาษาอังกฤษชินแล้วต่อไปอ่านจะง่ายยิ่งขึ้นครับ แนะนำให้อ่าน textbook ภาษาอังกฤษจะดีกว่า

Posted by : พี่หมมอ , Date : 2004-12-21 , Time : 17:25:07 , From IP : 172.29.2.207

ความคิดเห็นที่ : 4


   ไม่แปลกใจที่ทำไมเด็กสมัยนี้จบปริญญาโทแล้วภาษาอังกฤษยังไม่ได้เรื่อง เพราะแม้แต่นักศึกษาแพทย์ก็ยังมีความคิดเช่นนี้ เห็นด้วยว่านักศึกษาต้องอ่าน textbook ภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ภาษาไทย

Posted by : หมอรุ่นเก่า , Date : 2004-12-21 , Time : 21:29:07 , From IP : 203.150.217.112

ความคิดเห็นที่ : 5


   อยากให้นศพ.ที่มีปัญหาเรื่องนี้ ลองไปใช้เวลาเดินดูที่ชั้นหนังสือ แล้วลองพลิกเล่มต่างๆทีอยู่ในส่วนที่ต้องการค้น อ่านสารบัญว่าเรื่องในเล่มมีที่ต้องการไหม แล้วอ่านคร่าวๆว่ามีสาระในส่วนที่ต้องการไหม แล้วลองหาดูอีกจากเล่มต่อๆไป จากนั้นก็หาเวลาอ่านให้รู้เรื่อง จะรู้ว่ามีความแตกต่างของความรู้ความคิดเห็น อันนี้จะดีกว่าอ่านภาษาไทย 1 เล่ม ก็จะได้แค่ความคิดเห็นเดียว อ่านให้มากๆเถิด แล้วจะรู้ว่ามีหลายๆเล่มที่ยังขาดการ review ที่ดี ขาด evidence base

Posted by : อาจารย์ , Date : 2004-12-22 , Time : 08:46:09 , From IP : 172.29.3.147

ความคิดเห็นที่ : 6


   หนังสือภาษาไทยส่วนใหญ่ก็แปลมาจากภาษาอังกฤษนะครับ เนื้อหาคงไม่ต่างกันมากเท่าไร แต่กว่าคนไทยจะแปลหมดทั้งเล่ม ต่างชาติก็ออก Edition ใหม่แล้ว หนังสือภาษาไทยเลยดูเก่าไป ความรู้ที่ได้จาก Text book จึงใหม่กว่า อีกประการหนึ่งคือคนที่แปลมาใช่ว่าจะแปลถูกซะที่ไหน (แต่ก็ใช่ว่าเราจะแปลถูก) Text book ราคาถูกก็มีเยอะ ให้สังเกตที่เขียนว่า International Edition หรือ For intenational student อะไรประมาณเนี่ยราคาจะค่อนข้างถูกที่เดียว
อย่างไรก็ดีเห็นด้วยว่าหนังสือดี ๆ มีไม่ค่อยพอ ถ้าไม่อยากซื้อเพิ่มจริง ๆ ก็ขอให้มีหนังสืออ้างอิง(ห้ามยืม)อย่างน้อย 1 copy ในหนังสือแต่ละเล่ม อย่างน้อยเพื่อนคนอื่นจะได้เอาไปถ่ายเอกสารไว้อ่านได้
ขอบคุณที่ทนอ่านครับ


Posted by : DogTor , Date : 2004-12-22 , Time : 18:20:22 , From IP : 172.29.2.108

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผม่วาปริมาณหนังสือของ block มันมากเกินพอแล้วนะครับ ลองคิดดูว่าสมัยก่อนไม่มี block ปรืมาณหนังสือน้อยกว่านี้มาก พี่ๆเค้ายังเรียนกันมาได้ แบ่งปันหนังสือกันมาอ่านได้เลยครับ ผมว่ามันอยู่ที่ว่าพวกน้องๆจะแบ่งกันไหมมากกว่า ถ้าหากยืมไปแล้วอ่านคนเดียว ก็คงเป้นปัญหาทีตัวน้องๆเอง ระบบ PBL อย่างที่รู้ๆอยู่ว่าเป้นระบบที่ต้องช่วยกันเรียน เข้าใจด้วยนะครับ
หนังสือ block ลองนับดูว่ามีที่ไหนที่เค้าซื้อเล่มเดียวเยอะขนาดนี้ มีเป้น 30 ชุดกระมัง
แล้วที่ ขอภาษาไทย พี่ว่าเลิกคิดไปเลย มัน nonsense มาก ตำราการแพทย์อย่างที่รู้ว่า มาจากต่างชาติทั้งนั้น ถ้ามัวแต่รออ่านภาษาไทยก็คงตามเค้าไม่ทันกันพอดี อีกอย่างนอกจากการ update ความรู้ แล้วก็ควรฝึกการอ่านภาษาอังกฤษบ้าง แม้จะคิดว่าตัวเองเก่งพอแล้วก็ตาม
อ่านจากภาษาไทยไม่ได้รับความเชื่อถือนะครับ


Posted by : surachAI_ER , Date : 2004-12-23 , Time : 11:35:48 , From IP : 172.29.1.97

ความคิดเห็นที่ : 8


   เค้าต้องการจะให้น้องอ่านฝึกอ่านตำราภาษาอังกฤษตะหากล่ะครับ ลองดูซิครับ เวลาเลิก PBL เข้าห้องสมุดแล้วลองเปลี่ยนเป้าหมายดูซักนิด แทนที่จะพุ่งเข้าไปที่ชั้นหนังสือภาษาไทยพิมพ์ปี 28 เปลี่ยนเป็นไปหาที่ชั้นตำราภาษาอังกฤษ แล้วน้องก็จะรู้ว่าหนังสือมันมีเหลือมากพอจนเอามากองความสูงเท่าตัวน้องได้เลย นั่นคือส่วนที่คณะเตรียมไว้รองรับน้องครับ แต่กลับไม่มีใครสนใจ ซักวันหนึ่งที่เราโตขึ้น มันจะไม่ใช่เพียงแค่หนังสือแล้วที่เราจะต้องอ่าน แต่จะต้องเป็น journal งานวิจัยต่างๆที่มีความรู้ทันสมัย ซึ่งมันก็มักจะเป็นงานวิจัยจากซีกโลกนู้นที่เค้าใช้ภาษาอังกฤษกัน ถ้าน้องมัวแต่รอให้เค้าตีพิมพ์เป็นภาษาไทย ความรู้ที่ได้ก็คงจะเก่าไปสิบปีแล้วครับ!!!

Posted by : Euphoria , Date : 2004-12-23 , Time : 16:27:30 , From IP : 172.29.2.193

ความคิดเห็นที่ : 9


   ผมว่าเรื่องนี้มันเป็น เรื่องของการปรับตัวนะตอนเเรกผมก็อ่าน หนังสือภาษาไทยเหมือนกัน แต่พอพบว่ามีหนังสือภาษาไทยเล่มหนึ่งของ เรา แปลtext ผิดอย่างร้ายแรงผมจึงเลิกให้ความเชื่อถือเลยครับ คิดดูนะครับถ้าเรามีหมอที่อ่าน หนังสือภาษาไทยผิดๆ 30 คน ไปรักษา คนไข้คนละ 10,000 ในรอบ ไม่กี่ปี จะมีชาวบ้าน 3 ล้านคนที่ได้รับการวินิจฉัยผิดๆ และ ถ้าชาวบ้าน แต่ละคน มีญาติ คนละ 5 คนก็จะมีคนไม่ให้ความเชื่อถือสถาบันเรา ถึง 15 ล้านคน (ผมรู้ว่าเวอร์ไป แต่คุณก็คงรู้นะว่าที่ผมพูดไม่ได้ผิดไปทั้งหมด)

Posted by : i will go pataya , Date : 2004-12-23 , Time : 19:23:27 , From IP : 172.29.2.75

ความคิดเห็นที่ : 10


   คณะฯ ลงทุนซื้อฐานข้อมูลที่เราสามารถ download full text journals มาอ่านได้ปีๆละหลายล้านบาท ผมว่าเราอาจจะหยุดเพื่อพิจารณาว่าเราได้ใช้ "คุ้ม" หรือยัง?

การเรียนแพทย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ เรายังไงๆก็ใช้ textbook ภาษาอังกฤษประกอบมาตลอด ตั้งแต่สมัยก่อนที่ใช้ Grant Atlas, Grant Method, Moor Embryology หรือ Guyton & Ganong Physiology โครงการตำราศิริราชเคยฮึดเขียนตำราประกอบภาษาไทย ปรากฏว่าความรู้ในปัจจุบันมันไปเร็วมาก edition ใหม่ๆที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง concept ออกมาเร็วมาก จนคนแปลเองก็หมดพลังในการแปล เพราะแต่ละท่านแค่ติดตามเรื่องใน field ของตัวเองให้ทันสมัยก็หืดขึ้นคอแล้ว แปลหนังสือยิ่งใช้เวลามากกว่าอ่านเยอะ

คำนึงถึงผลพลอยได้ที่หาก นศพ. สามารถอ่านภาษาอังกฤษได้แตกฉานเหมาะแก่ระดับบัณฑิตปริญญาโท ประโยชน์ในอนาคตนั้นมากมายมหาศาล อย่าได้รังเกียจว่ามันไม่ใช่ภาษาไทย เรื่องนี้ไม่ควรจะเป็นอุปสรรคในการเปิดตนเองต่อความรู้ ถึงจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความเพียรพยายาม และความอดทนในระยะเริ่มต้น ผลลัพธ์มันคุ้มกันเยอะ เปิด Dictionary เยอะๆยิ่งดีครับ น้องรู้ไหม หนังสือประเภทที่ขายดีที่สุดในประเทศอังกฤษเองก็คือกลุ่มพจนานุกรมหรือ Dictionary นี่แหละ เพราะภาษามันเปลี่ยน ความหมายมันพัฒนาตลอด แม้แต่เจ้าของภาษาเขาเองยังเห็นความสำคัญที่จะต้องเข้าใจเรื่องภาษษ เพราะนี่เป็นพื้นฐานในการสื่อสาร และมนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคมที่อยู่ได้โดยปฏิสัมพันธ์และสื่อสาร แลกเปลีร่ยนความรู้นี่แหละครับ เปิด English-Thai dictionary อย่างเดียวก็ไม่พอ ผมว่าควรจะเปิดอ่าน Oxford หรือ Longman English-English dictionary เราจะได้ศัพทฺเพิ่มเติมเป็นทวีคูณ จนถึงระดับหนึ่งมันจะง่ายขึ้นๆ จนน้องสามารถอ่าน Harry Potter หรือ Lord of The Ring ต้นฉบับได้เอง จะสนุกสนานและเปิดโลกทัศน์ได้อีกเยอะทีเดียว



Posted by : Phoenix , Date : 2004-12-23 , Time : 22:25:38 , From IP : ppp-203.118.112.21.r

ความคิดเห็นที่ : 11


   ผมไว่ ไอ้หนังสือภาษาไทยอ่ะก็จำเป็นในระดับหนึ่ง ถ้าได้อ่านภาไทยคร่าวๆแล้วไปอ่านtextต่อ จะเร็วขึ้น(สำหรับผมเอองนะ)

ส่วนไอ้ที่หนังสือภาษาไทยไม่พอ ส่วนหนึ่งก็คือมีน้อย อีกส่วนคือ ใน 1 เล่มคุณอ่านทีเดียวทั้งเล่มหรือเปล่า ผมมั่นใจว่าไม่ได้อ่านหมด อ่านแค่ 20-30 หน้า ถามว่าไอ้20-30 หน้านี่ อ่าน7 วันหรือเปล่า ผมก็ว่าแค่ครึ่งวันก็น่าจะจบ แล้วก็ดองหนังสือไว้ที่ตัวเองอย่างเปล่าประโยชน์จนครบกำหนดคือ

วิงวอนว่า คนที่อ่านจบแล้วก็เอามาคืนห้องสมุดด้วยสิครับ คนอื่นจะได้อ่านต่อ
ไม่รู้ว่าจะดองไว้ทำ กิมจิ รึเปล่า
หรือถ้าอยากเก็บไว้อ้างอิงเวลาสำเสนอ ก็น่าจะถ่ายเอกสารเฉพาะส่วนแล้วก็จดอ้างอิงไป


เห็นใจคนอื่นบ้าง
ทรัพยากรมีไม่มาก น่าจะเอื้อเฟื้อกันบ้าง


Posted by : แปะ , Date : 2004-12-24 , Time : 11:25:29 , From IP : 172.29.2.150

ความคิดเห็นที่ : 12


   เรื่องยืมหนังสือนี่ ขอแนะนำแบบนี้ครับ

ห้องสมุดนอกเหนือจากเขาทำเป็นที่เก็บรวบรวมหนังสือแล้ว เขายังทำเป็นที่อ่านหนังสือด้วย แถมบรรยากาศยังปราศจาก (หรือจำกัด) ข้อรบกวน เช่น ทีวี วิทยุ แก๊งชวนคุยชวนโม้ ฯลฯ ผมเห็นด้วยกับคุณแปะว่า ถ้าเราสามารถจัดระเบียบสักนิดว่าเราจะอ่านไอ้ที่กำลังจะยืมไปจริงๆ อ่านมันในห้องสมุดนั่นแหละครับดีที่สุด ไม่ต้องไป photocopy ด้วย บางคนเข้าใจผิดว่าการ photocopy ไปแล้วคือการอ่าน แล้วก็เลยมี collection ของ photocopy สูงท่วมหัวแถมฝุ่นจับอีกต่างหาก ถ้าจะให้ดีอ่านจากหนังสือแล้วทำโน้ตย่อเองจะประหยัดทั้งค่า photocopy และการ elaborate เป็นโน้ตของเราเองนี่แหละที่จะทำให้เข้าใจและจำได้ดีที่สุด

ถ้า นศพ.คนไหนจบไปโดยไม่รู้จักหน้า ไม่รู้จักชื่อบรรณารักษ์ห้องสมุด ผมว่าเสียค่าเทอมไปเปล่าๆซะเยอะ เพราะเราเอาเงินมาลงทุนเรื่อง resource นี่เยอะทีเดียว ไอ้ internet น่ะมันก็ดีอยู่หรอก แต่เหมือนกัน คือไปๆมามาเราก็ download มา save ไว้ใน hard disk แล้วก็เกิด illusion ว่าเราเข้าใจแล้ว อ่านแล้ว เก็บเอาไว้หลาย gigabytes ก็ไม่ได้เก่งอะไรขึ้นมา

มีระบบที่ช่วยเรื่องการดองหนังสือคือ ระบบการจอง โดยหนังสือที่ยืมไป ถ้าอยู่ใน hot list เวลามีคนมาหาในห้องสมุดแล้วปรากฏว่ามีคนยืมไปแล้ว ก็จะมี email ไปทวงหนังสือคืน และกำหนดเวลาหนังสือ hot list นี้จะสั้นครับ แค่ 3 วันเป็นอย่างมากเป็นต้น ถ้าทวงแล้วไม่คืนค่าปรับจะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว (สมกับเป็น premium edition!!) ส่วนการคืน (ไม่ทราบเดี๋ยวนี้เป็นยังไง) ก็สิ้นสุดเมื่อวันทำการของวันรุ่งขึ้น เช่น กำหนดยืมถึง 31 ตุลาคม ห้องสมุดก็อาจจะเช็คตอนเช้าวันที่ 1 พฤศจิกายน แต่ต้องเตรียมที่หย่อนหนังสือคืนเอาไปหน้าห้องสมุดที่ accessible นอกเวลาด้วยนะครับ อย่างนี้เวลายืมก็จะเต็มเม็ดเต็มหน่วยดี และไม่ต้องเปลืองแรงงานคนนั่งปั๊มคืนตลอดเวลาด้วย



Posted by : Phoenix , Date : 2004-12-24 , Time : 14:45:31 , From IP : ppp-203.118.122.25.r

ความคิดเห็นที่ : 13


   ผมก็เห็นด้วยครับ ว่าหนังสือภาษาไทยมีความจำเป็น(สำหรับผม)เหมือนกัน เพราะในความเป็นจริงก็คือคณะเราไม่ได้สอนระบบ inter เรายังlectureภาษาไทย,แจกเอกสารภาษาไทยกันอยู่ การห้ามนักศึกษาอ่านภาษาไทยเป็นทางเลือกที่สุดโต่ง ก็น่าจะห้ามอาจารย์แต่งเอกสารวิชาการภาษาไทยด้วยเสียเลยจะได้สุดโต่งสมเหตุสมผลกัน

ภาษาอังกฤษมีความจำเป็นผมก็ทราบและก็ใช่ว่าผมจะไม่อ่าน และทางคณะจะสนับสนุนให้อ่าน textbook ผมก็เห็นด้วยครับ แต่จะให้ผมเริ่มต้นทุกอย่างที่ภาษาอังกฤษมันคงจะเป็นไปไม่ได้ มันเป็นข้อจำกัดของผม(และอีกหลายๆคน) ความรู้บางอย่างที่มัน basic และไม่เปลี่ยนแปลงผมก็จะเริ่มต้นกับภาษาไทย แต่ถ้าสังเกตว่ามันจะเก่าแล้วหรือมีกลไกบางอย่างที่จะค้นพบใหม่ก็จะไป text มาอ่าน ยกตัวอย่างถ้าผมอยากรู้เรื่อง peptic ulcer ความรู้เรื่องกายวิภาคหรือเนื้อเยื่อหรือลักษณะทางพยาธิธรรมดาก็จะพึ่งตำราภาษาไทย แต่สำหรับกลไกทางสรีระหรือปัจจัยการเกิดโรคที่มันupdateก็จะพึ่งtext ถ้าจะให้ภาษาอังกฤษแต่หัวข้อแรกมันจะไม่มีทางทันครับ และสำหรับความรู้บางเรื่องที่มันซับซ้อนมากๆ (ยกตัวอย่างเช่น thalassemia&genetics)ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง review ภาษาไทยไปก่อนจึงจะอ่าน text รู้เรื่อง ซึ่งผมไม่เชื่อว่าจะมีใครที่จบ พบ. โดยไม่พึ่งภาษาไทยเลย

ขอสนับสนุนการอ่าน text ครับแต่กรุณามีแหล่งความรู้ทางเลือกให้บ้าง คณะควรสนับสนุนการอ่าน text แต่ไม่ควรใช้ภูมิปัญญาดังกล่าวด้วยนโยบายกีดกันภาษาไทยออกจากห้องสมุด








Posted by : ความคิดของผม , Date : 2004-12-25 , Time : 21:15:08 , From IP : 61.19.201.198

ความคิดเห็นที่ : 14


   อืม คิดว่าหนังสือภาษาไทยในห้องสมุดค่อนข้างเก่าไปจริงๆค่ะ บางเล่มตั้งแต่ปี 2520 กว่าๆอย่างนี้แค่เห็นก็ไม่น่าอ่านแล้ว ถ้ามีหนังสือใหม่ๆเข้ามาก็จะยิ่งดีกว่านี้นะคะเพราะแม้ว่าการอ่าน text จะได้เนื้อหาที่ถูกต้องและครบถ้วนกว่า แต่หนังสือไทยดีๆก็มีหลายเล่มนะคะที่ทำให้การทำความเข้าใจง่ายขึ้น :> สำหรับ text คิดว่ามีเพียงพอแล้วค่ะ ในการค้นที่ผ่านมาก็มีหนังสือดีๆหลายเล่มจนต้องเลือกแล้วเลือกอีกว่าจะอ่านเล่มไหน เพียงแต่อาจมี copy น้อยไป ก็หันไปใช้บริการร้านถ่ายเอกสารใกล้ๆ คนอื่นๆจะได้ใช้ด้วย

Posted by : หนุนหนังสือ , Date : 2005-02-13 , Time : 15:59:56 , From IP : 202.5.88.130.rev-ip.

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.005 seconds. <<<<<